pipi
miss นางสาวพิเรืองรอง อ๋อย ศรีวิบูลย์

อนุทินล่าสุด


pipi
เขียนเมื่อ

สารนิพนธ์เรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กรณีศึกษา ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพรงมะเดื่อ ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม”



ความเห็น (2)

ชื่อโครงการวิจัย เรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กรณีศึกษา ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพรงมะเดื่อ ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม” ประเภทของงานวิจัย งานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นการใช้ข้อมูลทางคณิตศาสตร์ และสถิติ สาขาวิชาที่วิจัย สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์ ผู้ดำเนินการวิจัย นางสาวพิเรืองรอง ศรีวิบูลย์ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
งานสาธารณสุขมูลฐาน หรืองานสาธารณสุขในรูปแบบที่ประชาชนมีส่วนร่วมนั้น แสดงให้เห็นถึงประชาชนสามารถดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ในด้านสุขภาพอนามัย ซึ่งเกิดจากเหตุผลความจำเป็นในเรื่องการขาดแคลนบุคลากร ผู้ให้บริการ และเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ในการบริการสาธารณสุข ประกอบกับประชาชนในบางพื้นที่อยู่ไกลในพื้นที่ทุรกันดาร ไม่สามารถเดินทางมารับบริการได้ทันและทั่วถึง รวดเร็วตามความต้องการ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้พยายามศึกษา ทดลองรูปแบบต่าง ๆเพื่อให้สามารถขยายบริการและดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชน ให้เข้าถึง ครอบคลุมมากที่สุดนับตั้งแต่การฝึกอบรมพัฒนาความรู้ของหมอตำแยให้สามารถบริการให้ความช่วยเหลือเพื่อนบ้านและครอบครัวได้อย่างถูกต้อง มีคุณภาพและปลอดภัย แล้วเรียกชื่อใหม่ว่า “ผดุงครรภ์โบราณ” เมื่อปี 2500 ในด้านการรักษาความสะอาดของบ้านเรือนและการจัดหาน้ำสะอาดสำหรับใช้ดื่มในระยะนั้นก็ได้นำประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการในรูปแบบของคณะกรรมการ เรียกชื่อว่า“กรรมการพัฒนาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน” โดยขยายให้มีสถานอนามัยให้เต็มในทุกตำบล มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จัดระบบนิเทศงาน ขยายกิจกรรมบริการประชาชน และเน้นการเยี่ยมบ้านที่มีผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส แต่ผลที่ได้ยังไม่ดีเท่าที่ควร จึงได้มีการทบทวนนโยบายใหม่ จากเหตุผลที่มองเห็นว่าอัตราการใช้บริการที่ยังต่ำและขาดความร่วมมือของชุมชนจึงได้นำเอาประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน โดยคัดเลือกชาวบ้านเข้ามารับการฝึกอบรม โดยทำหน้าที่ทุกอย่างรวมทั้งให้บริการรักษาพยาบาลขั้นต้น เรียกว่าอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และ ทำหน้าที่กระจายความรู้ด้านสาธารณสุขรับข่าวสารการเจ็บป่วย โรคระบาด ฯลฯ จากชาวบ้านชุมชน แจ้งแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เรียกว่าผู้สื่อข่าวสารสาธารณสุข (ผสส.) อาสาสมัครสาธารณสุขนี้ดำเนินการแบบผสมผสานทั้งงานรักษาพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรค ในหมู่บ้านชุมชนของตนเอง โดยได้รับ การสนับสนุนวิชาการจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เมื่อดำเนินการได้ประมาณ 1 ปี พบว่า มีอัตราการครอบคลุมของผู้ใช้ และผู้รับบริการด้านสาธารณสุข ที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ต่อมาใน พ.ศ. 2537 กระทรวงสาธารณสุข จึงได้จัดอบรม ผสส. เพิ่มเติมความรู้แล้วยกฐานะเป็น อสม. เพื่อลดปัญหาการแบ่งระดับ ของ อสม.และ ผสส. ทำให้มีอาสาสมัครเหลือเพียงประเภทเดียว สามารถแบ่งงานกันทำอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ถึงแม้ว่าการจัดบริการสาธารณสุขที่ดีเต็มรูปแบบ ทั้งด้านเครื่องมือ เครื่องใช้ บุคลากรและการจัดการเต็มที่แล้วก็ตาม ความครอบคลุมของการให้บริการสาธารณสุขก็ยังเป็นปัญหา และไม่เพิ่มขึ้นเท่าที่ควร ถ้าหากขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเฉพาะในชนบทที่ประชาชนมีฐานะความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจและระดับการศึกษาในระดับต่ำ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดแผนงานสาธารณสุขมูลฐาน ตั้งแต่แผนพัฒนาการสาธารณสุข ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2520 – 2524) โดยเน้นหนักการฝึกอบรมครู ฝึกสาธารณสุขมูลฐาน การอบรม อสม. ให้ครอบคลุม ร้อยละ 50 ของหมู่บ้านในชนบท และสนับสนุนเวชภัณฑ์ มูลค่า 500 บาท เพื่อเป็นการจัดตั้งกองทุนยา และเวชภัณฑ์ประจำหมู่บ้าน และใน พ.ศ.2520 องค์การอนามัยโลกได้มีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจนว่าประชาชนทุกคนในโลกจะต้องสุขภาพดีถ้วนหน้า (Health for All) ภายในปี ค.ศ.2000 หรือ 2543 ซึ่งหมายถึงการที่ทุกคนมีชีวิตยืนยาว และอยู่อย่างมีคุณภาพไม่เจ็บป่วยด้วยสาเหตุที่ไม่จำเป็น และสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทัดเทียมกัน และเหมาะสมตามสภาพของโรคที่ควรจะเป็น สามารถดำเนินชีวิตอยู่ซึ่งสร้างประโยชน์ให้สังคมได้อย่างมีคุณค่า ในแผนพัฒนาการสาธารณสุข ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2530-2534) ได้เน้นการพัฒนาทางคุณภาพ ส่งเสริมและขยายโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมบริการ สาธารณสุขในหมู่บ้าน เน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยใช้เกณฑ์ความจำเป็นขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมให้มีการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีระหว่างชุมชน ต่อมาในแผนพัฒนาการสธารณสุข ฉบับที่7(พ.ศ.2535 – 2539 )ได้ดำเนินกิจกรรมต่อจากแผนพัฒนาการสาธารณสุข ฉบับที่ 6 และมุ่งเน้นให้ทุกครอบครัวมีความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเอง (Self Care) และบรรลุคุณภาพชีวิต โดยเพิ่มกิจกรรมใหม่ของงานสาธารณสุขมูลฐาน อีก 6 องค์ประกอบ รวมเป็น 14 องค์ประกอบ องค์ประกอบที่เพิ่มขึ้นใหม่ได้แก่การป้องกันและแก้ไขมลภาวะและสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษภัย การคุ้มครองผู้บริโภค การควบคุมและลดอุบัติเหตุ อุบัติภัยและโรคไม่ติดต่อ การป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ ตลอดจนการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขโดยชุมชน และในแผนพัฒนาการสาธารณสุข ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540 – 2544 ) ได้เน้นการนำวิธีการสาธารณสุขมูลฐาน เป็นยุทธวิธีการนำไปสู่การมีสุขภาพดีถ้วนหน้า โดยส่งเสริมการจัดบริการให้ครอบคลุมและสามารถเข้าถึงได้เมื่อต้องการ การมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน การประสานร่วมกันทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมของกระทรวงหลัก และให้มีการใช้วิทยาการและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพคุ้มค่า

บทบาทหน้าที่ของ อสม. อสม. มีบทบาทในการเป็นผู้นำการดำเนินงานพัฒนาสุขภาพอนามัย และคุณภาพชีวิตของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change agents) พฤติกรรมด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชน และมีหน้าที่ แก้ข่าวร้าย กระจายข่าวดี ชี้บริการ ประสานงานสาธารณสุข บำบัดทุกข์ประชาชน ดำรงตนเป็นตัวอย่างที่ดี โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้ 1. เป็นผู้สื่อข่าวสารสาธารณสุขระหว่างเจ้าหน้าที่และประชาชนในหมู่บ้าน นัดหมายเพื่อนบ้านมารับบริการสาธารณสุข แจ้งข่าวสารสาธารณสุข เช่น การเกิดโรคติดต่อที่สำคัญ หรือโรคระบาดในท้องถิ่น ตลอดจนข่าวความเคลื่อนไหวในกิจกรรมสาธารณสุข รับข่าวสารสาธารณสุขแล้ว แจ้งให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในท้องถิ่นทราบอย่างรีบด่วนในเรื่องสำคัญ เช่น เรื่องโรคระบาดหรือโรคติดต่อต่าง ๆ รับข่าวสารแล้ว จดบันทึกไว้ในสมุดบันทึกผลการปฏิบัติงานของ อสม.

2.  เป็นผู้ให้คำแนะนำถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนบ้านและเป็นแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว ในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ การใช้สถานบริการสาธารณสุข  และการใช้ยาการรักษาอนามัยของร่างกาย การให้ภูมิคุ้มกันโรค การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและการจัดหาน้ำสะอาดโภชนาการและสุขาภิบาลอาหาร การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อประจำถิ่น การอนามัยแม่และเด็ก  และการวางแผนครอบครัว การดูแลรักษาและป้องกันสุขภาพเหงือกและฟัน การดูแลและส่งเสริมสุขภาพจิต  การป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ การป้องกันและแก้ไขมลภาวะและสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษเป็นภัย การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข  การจัดหายาจำเป็นไว้ใช้ในชุมชน และการส่งเสริมการใช้สมุนไพรและแพทย์แผนไทย ฯลฯ
  1. เป็นผู้ให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชน ได้แก่ การส่งต่อผู้ป่วยและการติดตามดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อมาจากสถานบริการ การจ่ายยาเม็ดคุมกำเนิดในรายที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ตรวจแล้ว และจ่ายถุงยางอนามัย การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เช่น เกี่ยวกับการทำแผลสด กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ฯลฯ การรักษาพยาบาลเบื้องต้นตามอาการ
  2. หมุนเวียนกันปฏิบัติงานที่ ศสมช. โดยมีกิจกรรมที่ควรดำเนินการ ได้แก่ 4.1 จัดทำศูนย์ข้อมูลข่าวสารของหมู่บ้าน 4.2 ถ่ายทอดความรู้และจัดกิจกรรมตามปัญหาของชุมชน 4.3 ให้บริการที่จำเป็นใน 14 กิจกรรมสาธารณสุขมูลฐาน
  3. เป็นแกนนำในการชักชวนเพื่อนบ้านเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนางานสาธารณสุขของชุมชน และพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยใช้กระบวนการ จปฐ. (ความจำเป็นพื้นฐาน) และรวมกลุ่มในการพัฒนาสังคมด้านต่าง ๆ
  4. ดูแลสิทธิประโยชน์ด้านสาธารณสุขของประชาชนในหมู่บ้าน โดยเป็นแกนนำในการประสานงานกับกลุ่มผู้นำชุมชนและองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กระตุ้นให้มีการวางแผนและดำเนินงานเพื่อพัฒนางานสาธารณสุขของหมู่บ้าน ปัจจุบันพบว่าการดำเนินงานด้านการสาธารณสุขมูลฐานในชุมชนยังไม่มีประสิทธิภาพมากนัก เนื่องจากประชาชนขาดการมีส่วนร่วม ชุมชนไม่มีความพร้อม และยังประสบปัญหาเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการทำงานของ อสม. การปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพสูงจะอยู่ในช่วงเวลาสั้น ๆ และประสิทธิภาพการทำงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จะลดลงมาอยู่ในระดับหนึ่ง หลังจากนั้นจะลดลงไปเรื่อย ๆ ทำให้ระบบการจัดการสาธารณสุขที่จำเป็น โดยชุมชนไม่สามารถดำเนินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหาการปฏิบัติงานโดยชาวบ้านไม่ให้ความเชื่อถือ ผสส./อสม. และ ผสส./อสม. เองก็ขาดความมั่นใจในการปฏิบัติงาน เนื่องจากขาดความรู้ ผสส./อสม. เวลาปฏิบัติงาน ส่วนใหญ่ไม่หวังสิ่งตอบแทนแต่ต้องการให้เจ้าหน้าที่ให้ความรู้โดยการจัดอบรมเพิ่ม อาจเป็นเดือนละครั้งดีกว่าอ่านคู่มือหรือตำรา เพราะไม่มีเวลาและน่าเบื่อ นอกจากนี้เครื่องใช้วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ควรได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง และถ้า อสม. ได้รับเงินเดือนหรือสิ่งตอบแทนมากกว่าที่เป็นอยู่ อาจทำให้การปฏิบัติงานดีขึ้น รวมทั้งการมียานพาหนะติดต่องาน แบบฟอร์มรายงานควรง่ายและสั้นกว่านี้ ควรลดงานของ อสม. โดยทำแบบผสมผสานและให้ความร่วมมือจากชุมชนมาขึ้น ปัญหาที่กล่าวมาแล้ว แม้ว่าจะไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกจังหวัด แต่ก็เป็นข้อมูลเบื้องต้นว่า โครงการสาธารณสุขมูลฐานอาจไม่บรรลุตามเป้าหมาย ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือ หรือมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานของ อสม. ยังขาดความมั่นใจในการปฏิบัติงาน ของ อสม. จะทำให้ อสม.ซึ่งเป็นบุคคลหลักในการดำเนินงานที่มีปัญหาในหมู่บ้าน การปฏิบัติงานของ อสม.ก็จะขาดความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพ ได้ ซึ่งการปฏิบัติงานของ อสม. นั้นแตกต่างจากงานอื่น ๆทั่วไป เพราะงานของ อสม. เป็นลักษณะอาสาสมัคร ไม่ได้รับค่าตอบแทนการปฏิบัติงานเป็นเงินเดือนผลประโยชน์ตอบแทนที่ได้รับมีเพียงการสนับสนุนด้านวิชาการ การฝึกอบรม การนิเทศงาน การให้สิทธิ์รักษาพยาบาลฟรีแก่ตนเองและครอบครัว การนำเอาระยะเวลาในการปฏิบัติงาน อสม. ไปเทียบโอนในการศึกษาหลักสูตรของกรมการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ซึ่งปัจจุบัน ได้มีการให้โควตาพิเศษแก่ อสม. หรือลูก ในการเข้าศึกษาในหลักสูตร / สถานศึกษาของกระทรวงสาธารณสุขแม้ในช่วงที่ศึกษารัฐบาลได้จัดสรรเงินค่าตอบแทนการปฏิบัติงานของ อสม. คนละ 600 บาท ต่อคนเป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่ เมษายน – กันยายน 2552 ก็ตาม แต่ อสม. ทุกคนต้องอาศัยรายได้จากการทำงานอื่นซึ่งเป็นอาชีพหลักของตน เพื่อให้ ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานในกิจกรรมงานสาธารณสุขมูลฐาน มีการสร้างสุขภาพตามกลวิธีสาธารณสุขมูลฐานมากกว่าการรักษาผู้ป่วย ซึ่งมีต้นทุนและผลกระทบที่สูงกว่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลต่อเนื่องยืนยาว ต่อไป

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐาน ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 2. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐาน ของอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สมมุติฐานการวิจัย ปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ เพศอายุ อาชีพ รายได้ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส จำนวนสมาชิกในครอบครัว ระยะเวลาที่อาศัยในชุมชน ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง การดำรงตำแหน่งอื่นในชุมชน วิธีการทำงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน การได้รับการอบรมอย่างต่อเนื่องการได้รับการนิเทศงานจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ความพอใจในสวัสดิการต่าง ๆ ที่รัฐบาลจัดให้ความพึงพอใจในการดำรงตำแหน่ง การได้รับรางวัลและการเชิดชูเกียรติของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตลอดจนระดับแรงจูงใจ มีผลต่อการปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กรอบแนวคิดการวิจัย ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการทำงานของอาสาสมัครสาธารณะสุขประจำหมู่บ้าน ขอบเขตการวิจัย 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล โพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม จำนวน 200 คน

  1.2   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้     เนื่องจากลุ่มประชากรในการศึกษาครั้งนี้ มีจำนวนมาก และหลากหลายพื้นที่ ผู้ศึกษาจึงได้ทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มพื้นที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพรงมะเดื่อออกเป็นหมู่บ้าน 11 หมู่บ้าน คือ บ้านหัวทุ่ง บ้านหนองลาดหญ้า บ้านหนองหมา บ้านห้วยหนองกร่าง บ้านอ้อมพยศ บ้านหนองแหน  บ้านหุบรัก บ้านทุ่งคล้อ บ้านใหม่ บ้านหนองแขม บ้านหนองนางแช่
  1. ตัวแปรในการศึกษา 2.1 ตัวแปรต้น ประชาชนที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันในด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพรงมะเดื่อ
          2.2  ตัวแปรตาม  การมีส่วนร่วมของประชาชนในการทำงานของอาสาสมัครสาธารณะสุขประจำหมู่บ้าน
    

    2.2.1 เป็นผู้สื่อข่าวสารสาธารณสุขระหว่างเจ้าหน้าที่และประชาชนในหมู่บ้าน 2.2.2 เป็นผู้ให้คำแนะนำถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนบ้านและเป็นแกนนำสุขภาพประจำ ครอบครัว 2.2.3 เป็นผู้ให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชน การปฐมพยาบาลเบื้องต้น 2.2.4 ถ่ายทอดความรู้และจัดกิจกรรมตามปัญหาของชุมชน 2.2.5 เป็นแกนนำในการชักชวนเพื่อนบ้านเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนางานสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน 2.2.6 ดูแลสิทธิประโยชน์ด้านสาธารณสุขของประชาชนในหมู่บ้าน โดยเป็นแกนนำใน การประสานงานกับกลุ่มผู้นำชุมชนและองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กระตุ้นให้มีการวางแผนและดำเนินงานเพื่อพัฒนางานสาธารณสุขของหมู่บ้าน นิยามศัพท์เฉพาะ การสาธารณสุขมูลฐาน (Primary Health Care) หมายถึง รูปแบบหรือกลวิธีทาง สาธารณสุขที่เพิ่มขึ้นจากระบบการบริการสาธารณสุขที่มีอยู่เดิมโดยให้ความสำคัญในการ ดำเนินงานสาธารณสุขระดับตำบลและหมู่บ้าน ด้วยการผสมผสานการให้บริการทั้งทางด้านการ รักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการฟื้นฟูสภาพ ที่ดำเนินการโดยประชาชน เองซึ่งประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมในการวางแผน การดำเนินงานและการประเมินผล โดยได้รับการ สนับสนุนจากภาครัฐบาลด้านวิชาการ ข้อมูลข่าวสาร การให้การศึกษาฝึกอบรม และระบบการส่ง ต่อผู้ป่วย โดยอาศัยทรัพยากรในท้องถิ่นเป็นหลักและอาศัยการพัฒนาสาธารณสุขผสมผสานไปกับ การพัฒนาของกระทรวงอื่น ๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองและพึ่งพาตนเองได้ การสาธารณสุขมูลฐานมีกิจกรรมทั้งสิ้น 14 กิจกรรม ดังนี้

  2. การโภชนาการ (Nutrition)
  3. การสุขศึกษา (Education)
  4. การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและการจัดหาน้ำสะอาด (Water Supply and Sanitation)
  5. การควบคุมโรคประจำถิ่น (Surveillance for Local Disease Contort)
  6. การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (Immunization)
  7. การรักษาพยาบาลเบื้องต้น (Simple Treatment)
  8. การจัดหายาที่จำเป็นไว้ใช้ในชุมชน (Essential Drugs)
  9. การอนามัยแม่และเด็กและการวางแผนครอบครัว (Maternal and Child Health and Family Planning)
  10. การสุขภาพจิต (Mental Health)
  11. การทันตสาธารณสุข (Dental Health)
  12. การป้องกันและแก้ไขมลภาวะและสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษเป็นภัย (Environmental Health)
  13. การคุ้มครองผู้บริโภค (Consumer Protection)
  14. การป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุ อุบัติภัย และโรคไม่ติดต่อ (Accident and Non-Communicable Disease Control)
  15. การป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ (AIDS) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (Village Health volunteers) หมายถึง ประชาชนที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับการอบรมเพิ่มเติมความรู้ทางด้านสาธารณสุข เมื่อผ่านการอบรมแล้วจะทำหน้าที่ในลักษณะอาสาสมัคร โดยมีหน้าที่ในการแจ้งข่าวสารด้านสาธารณสุข เช่น การเกิดคนป่วย การเกิดโรคระบาด คนตาย เป็นต้น ไปแจ้งแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และนำข่าวสารจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาบอกเพื่อนบ้านที่อยู่ในความรับผิดชอบ อีกทั้งคอยช่วยเหลือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการให้บริการสาธารณสุขแบบผสมผสาน เช่น การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย และการรักษาพยาบาลขั้นต้นด้วย การมีส่วนร่วม หมายถึง การมีส่วนร่วมของประชาชน หมายถึง การเปิดโอกาส ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการคิดริเริ่ม การพิจารณาตัดสินใจ การปฏิบัติและรับผิดชอบในเรื่องต่าง ๆ อันมีผลกระทบถึงตัวประชาชนเอง การที่จะสามารถทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อแก้ไขปัญหาและนำมาซึ่งสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อแก้ไขปัญหาและนำมาซึ่งสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนที่ดีขึ้นได้นั้น ผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องยอมรับปรัชญาพัฒนาชุมชนที่ว่า มนุษย์ทุกคนมีความปรารถนาที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเป็นสุขได้รับการปฏิบัติ อย่างเป็นธรรมและเป็นที่ยอมรับของผู้อื่นและพร้อมที่จะอุทิศตนเพื่อกิจกรรมของชุมชน ขณะเดียวกันต้องยอมรับความบริสุทธิ์ใจด้วยว่ามนุษย์นั้นสามารถพัฒนาได้ถ้ามีโอกาสและได้รับการชี้แจงอย่างถูกต้อง ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.ทราบถึงปัญหาสภาพการปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐาน ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ หมู่บ้าน สามารถนำปัญหามาปรับปรุงแก้ไขต่อไป 2.ทราบถึงความต้องการของประชาชนในการปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐาน ของอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
  16. ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยที่อาจนำไปใช้ประกอบการวางแผนการดำเนินการพัฒนา คุณภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการคัดเลือก จัดหา การฝึกอบรม การติดตาม นิเทศงาน และปรับปรุงกลวิธีในการดำเนินงาน ทำให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เป็นที่น่าเชื่อถือ สร้างความมั่นใจในการให้ความรู้ คำแนะนำต่างๆในการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ที่รับผิดชอบได้ผลตามเป้าหมายที่วางไว้ได้มากขึ้น เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แนวคิดและทฤษฎี แนวความคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของการมีส่วนร่วมไว้แตกต่างกันดังนี้ อีสตัน เดวิด (Easton David 1971:202) กล่าวว่าการมีส่วนร่วมเป็นกิจกรรมที่มีลักษณะสำคัญของกระบวนการทางการเมืองและกระบวนการในการจัดการต่อปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารงานของสังคมยุคใหม่ที่เน้นปัจจัยในด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นสำคัญ การมีส่วนร่วมของ ประชาชนโดยเฉพาะการเสนอข้อเรียกร้อง (Demand) และการสนับสนุน (Support) คีท (Keith.1972:136) กล่าวว่าการมีส่วนร่วม หมายถึงการเกี่ยวข้องทางจิตใจและอารมณ์ (Mental and Emotion Involvement) ของบุคคลหนึ่งในสถานการณ์กลุ่ม (Group Situation) ซึ่งผลของการเกี่ยวข้องดังกล่าวเป็นเหตุเร้าใจให้กระทำให้บรรลุจุดมุ่งหมายของกลุ่มนั้นกับทั้งทำให้เกิดความรู้สึกรับผิดชอบกับกลุ่มดังกล่าวด้วย ความหมายของการมีส่วนร่วมของประชาชน นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของการมีส่วนร่วมของประชาชนไว้แตกต่างกันดังนี้ รีเดอร์ (Reeder,W.W, 1974:39) กล่าวว่าการมีส่วนร่วมของประชาชน หมายถึง การมีส่วนร่วมในการปะทะสังสรรค์ทางสังคม ซึ่งรวมทั้งการมีส่วนร่วมของปัจเจกบุคคล และการมีส่วนร่วมของกลุ่ม ลีล (Lele,U.) (ความหมายของการมีส่วนร่วม. ออน-ไลน์:2550) กล่าวว่าการมีส่วนร่วมของประชาชน หมายถึง การที่ประชาชนมีความรู้สึกไวต่อสิ่งต่างๆ ที่ตนได้รับและสามารถที่จะตอบสนองต่อโครงการพัฒนาต่างๆ และสนับสนุนการริเริ่มโครงการต่างๆ ในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี เดอร์ตัน (Turton,A.) (ความหมายของการมีส่วนร่วม. ออน-ไลน์.2550) กล่าวว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนหมายถึงการรวมความสนในของแต่ละคน ซึ่งมีความเกี่ยวพันกันทางด้านความรู้สึกในกิจกรรมต่างๆ ในลักษณะของความร่วมมือ ร่วมกำลังจนกระทั่งเกิดการรวมกันเป็นกลุ่มขึ้น ยุวัฒน์ วุฒิเมธี (2541:32)กล่าวว่าการมีส่วนร่วมของประชาชน หมายถึง การเปิดโอกาส ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการคิดริเริ่ม การพิจารณาตัดสินใจ การปฏิบัติและรับผิดชอบในเรื่องต่าง ๆ อันมีผลกระทบถึงตัวประชาชนเอง การที่จะสามารถทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อแก้ไขปัญหาและนำมาซึ่งสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อแก้ไขปัญหาและนำมาซึ่งสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนที่ดีขึ้นได้นั้น ผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องยอมรับปรัชญาพัฒนาชุมชนที่ว่า มนุษย์ทุกคนมีความปรารถนาที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเป็นสุขได้รับการปฏิบัติ อย่างเป็นธรรมและเป็นที่ยอมรับของผู้อื่นและพร้อมที่จะอุทิศตนเพื่อกิจกรรมของชุมชน ขณะเดียวกันต้องยอมรับความบริสุทธิ์ใจด้วยว่ามนุษย์นั้นสามารถพัฒนาได้ถ้ามีโอกาสและได้รับการชี้แจงอย่างถูกต้อง ศิริกุล กสิวิวัฒน์ (2546:20) กล่าวว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนหมายถึงการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกิจกรรมการพัฒนาด้วยความสมัครใจ ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด เพื่อพัฒนาชุมชนของตนเองด้วยความรู้สึกรับผิดชอบร่วมกัน การมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นกิจกรรมที่มีลักษณะสำคัญของกระบวนการทางการเมืองและกระบวนการในการจัดการต่อปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารงานของสังคมยุคใหม่ที่เน้นปัจจัยในด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการเสนอข้อเรียกร้อง (Demand) และการสนับสนุน (Support) เป็นสิ่งที่แสดงความสำคัญ และวิธีการบริหารจัดการสังคมและชุมชนร่วมกัน การที่จะทำให้สังคมและระบบการเมืองอยู่ในดุลยภาพได้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยปัจจัยในด้านการ มีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการและการนำเสนอข้อมูล ตลอดจนการตรวจสอบระบบของสังคม ซึ่งถ้าหากระบบการเมืองปราศจากสิ่งเหล่านี้แล้วก็ไม่สามารถที่จะดำรงอยู่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้นถือว่าเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญยิ่ง ลักษณะของการมีส่วนร่วม Cohen and Uphoff(1977:6 อ้างใน นันท์วัฒน์ บรมานันท์,2541) กล่าวลักษณะของการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนา โดยทั่วไปนั้นประชาชนอาจเข้าร่วมในกระบวนการตัดสินใจว่าจะทำอะไร เข้าร่วมในการนำโครงการไปปฏิบัติโดยเสียทรัพยากรต่างๆ เช่น แรงงาน วัสดุ เงิน หรือร่วมมือในองค์การหรือกิจกรรมเฉพาะด้าน เข้าร่วมในผลประโยชน์ที่เกิดจากการพัฒนาและร่วมในการประเมินผลโครงการ ในส่วนของประชุม รอดประเสริฐ (2529:30) กล่าวถึงลักษณะการมีส่วนร่วม ดังนี้
     1.การมีส่วนร่วมของชุมชนในการตัดสินใจ
     2.การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินการ
     3.การมีส่วนร่วมของชุมชนในผลประโยชน์
    
    นอกจากลักษณะของการมีส่วนร่วม ดังรายละเอียดข้างต้นแล้ว ยังมีผลการศึกษาของ Lee.J.Cary(1970:147 อ้างใน นันท์วัฒน์ บรมานันท์,2541) ที่กล่าวถึง ลักษณะการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยแบ่งตามบทบาทและหน้าที่ของผู้เข้าร่วมในกิจกรรมการพัฒนา ดังนี้
     1.เป็นสมาชิก (Membership)
     2.ผู้เข้าร่วมประชุม (Attendance at Meeting)
     3.เป็นผู้บริจาคเงิน (Financial Contribution)
     4.เป็นกรรมการ (Membership on Committees)
     5.เป็นประธาน (Leader)
    
    ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วม
     อำนาจ อนันตชัย (2526:16) ได้อธิบายถึงการที่ตนมีความร่วมมือกับงานต่างๆด้วยความเต็มใจนั้น เนื่องจากปัจจัยที่สำคัญ 5 ประการ คือ
     1.ความต้องการที่จะร่วมทำงานกลุ่ม
     2.ความต้องการที่จะเป็นผู้มีความสำคัญ
     3.ความต้องการที่จะได้รับผลประโยชน์
     4.ความต้องการที่จะทดลองกระทำ
     5.ความต้องการที่จะแก้ตัวที่จะทดแทนความผิดพลาดที่เคยทำมาในอดีต
    

    งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โกศล สายใจ (2536 : 87)(อ้างถึง ประภาพันธ์ ช่างเรือน 2552 : 30-31) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม กรณีศึกษา:ชุมชนตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ในด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์จากการพัฒนามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ส่วนด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผลการดำเนินงาน พบว่า การมีว่าการมีส่วนร่วมในการประเมินผลดำเนินงานนั้นมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ธัญญพล สุคันธรส (2548 : บทคัดย่อ) (อ้างถึง ประภาพันธ์ ช่างเรือน 2552 : 31) ได้ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชากรในการพัฒนาเทศบาลเมืองอโยธยา ให้เป็นเมืองน่าอยู่ ผลการศึกษาพบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก นอกจากนี้ยังพบว่า ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ของครอบครัวต่อเดือน (ก่อนหักค่าใช้จ่าย) และสถานภาพทางสังคมที่แตกต่างกัน ทำให้การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเทศบาลเมืองอโยธยาน่าอยู่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 วัฒนพร คชภูมิ (2540 : 137) (อ้างถึง ประภาพันธ์ ช่างเรือน 2552 : 31) ได้ศึกษาการจัดการเรียนรู้ขององค์กรชุมชนในชนบท: ในกรณีศึกษาชุมชนตาคลี อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ พบว่าการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการตัดสินใจนั้นมีความสำคัญสำหรับประชาชน ในการใช้วิจารณญาณในการตัดสินปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมด้วยตนเอง ดังนั้นการกำหนดความต้องการในชุมชนของตน จึงเป็นความสามารถของประชาชนที่จะมองเห็นปัญหาในชุมชนของตนที่มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของตนและกำหนดในสิ่งที่ตนเองต้องการ ดังนั้นประชาชน จึงต้องมีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผนพัฒนาชุมชนกับเพื่อนบ้านในชุมชน เพื่อเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานในการพัฒนาชุมชน นอกจากนี้ยังเป็นการร่วมคิดและตัดสินใจ เมื่อประชาชนในชุมชนเสนอความต้องการในกิจกรรมการพัฒนาของคนส่วนใหญ่ที่ต้องการ จิรศักดิ์ สีใจเจริญ (2543 : บทคัดย่อ) (อ้างถึง ประภาพันธ์ ช่างเรือน 2552 : 32) ได้ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ศึกษาเฉพาะกรณีบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน พบว่าการเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารงานจะเข้าร่วมโดยสมัครใจมากกว่าถูกผู้อื่นชักชวน ประชาชนมีความพึงพอใจต่อการเปิดโอกาสขององค์การบริหารส่วนตำบล ให้เข้าไปมีส่วนร่วมระดับปานกลางค่อนข้างสูง สาเหตุของการเข้าไปมีส่วนร่วม ได้แก่การที่จะมีโอกาสได้ร่วมรับผิดชอบเทศบาลตำบลของตนเอง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็ง และจะทำให้องค์การบริหารส่วนตำบล นั้นมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเป็นวิธีการหนึ่งในการควบคุมการทำงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ศิริขวัญ อุทา (2546 : บทคัดย่อ) (อ้างถึง ประภาพันธ์ ช่างเรือน 2552 : 33) ได้ศึกษากระบวนการจัดทำแผนชุมชนอย่างมีส่วนร่วมในจังหวัดลำพูน โดยศึกาเงื่อนไข ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการทำแผนชุมชนอย่างมีส่วนร่วมและกระบวนติดตามผลการดำเนินงานตามแผน ซึ่งทำการศึกษาพื้นที 5 ตำบล ในจังหวัดลำพูน ประยุกต์ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสังเกต ทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การจัดเวทีสรุป บทเรียนและการสัมภาษณ์ โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างพบกระบวนการจัดทำแผนชุมชนอย่างมีส่วนร่วมในจังหวัดลำพูนทั้ง 5 แห่งนั้นมีกระบวนการที่คล้ายกันคือ การจัดเวทีสร้างความเข้าใจเรื่องแผนชุมชม การรวบรวมข้อมูลระดับชุมชนการวิเคราะห์/การจัดทำแผนระดับหมู่บ้าน ระดับตำบลและการสรุปบทเรียน ส่วนที่แตกต่างคือการคัดเลือกแกนนำก่อนการเข้าร่วมทำแผน การจัดทำแผนระดับชุมชน/หมู่บ้านการรวบรวมข้อมูล มีทั้งการใช้แบบสอบถาม การพูดคุย และการจัดเวทีชาวบ้าน เงื่อนไขที่สำคัญต่อการจัดทำแผนชุมชนอย่างมีส่วนร่วม ได้แก่ ปัจจัยภายนอก เช่น โครงการกองทุนชุมชนจังหวัดลำพูน ทำให้เกิดการจัดทำแผนชุมชนในตำบล ปัจจัยภายใน เช่น แนวคิด ทักษะ ความรู้ ความเข้าใจของวิทยากรการเข้าใจของแกนนำชุมชน และสมาชิกชุมชนที่เข้าร่วม พบว่าสมาชิกชุมชนคาดหวังผู้นำชุมชนดำเนินการในการติดตามแผ่นที่วางไว้ ผ่านการพูดคุยกับชาวบ้าน การสอบถามจากผู้ที่เกี่ยวข้องและการเข้าร่วมการประชุมกับเทศบาลตำบลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล สุพจน์ จิตสงวนสุข (2543 : บทคัดย่อ) ศึกษาการปฏิบัติงานสาธารณะสุขมูลฐาน ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะทางประชากร จิตสำนึกต่อแนวคิดและหลักการสาธารณะสุขมูลฐาน การรับรู้ความสามารถแห่งตนในการดำเนินงานและกา

อ่านแล้วจะกลับมาคอมเม้นท์อีกครั้ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท