คำตอบ


ความอยากรู้และความสงสัย

na2

น.ส. MED BI
เขียนเมื่อ
คำตอบ

จากตัวเล็ก  

ฟังแล้วก็ เฮอ หายใจเข้าก็เฮอ หายใจออกก็เฮอ น่าสงสารเจ้าหน้าที่ OPM จังเลยนะคะ พากันทำงานตัวเป็นเกลียวหัวเป็นน๊อต  (เหมือนปิดทองหลังพระ) แต่ยังทำให้คนอื่นต้องเดือดร้อน ร้อนใจ ทุกข์ใจไปตามๆ ไปด้วย แสดงว่า ชาว OPM เป็นดาวเด่นนะ เพราะมีคนคอยมองอยู่) จริง ๆ ก็ไม่ได้เป็นตัวจริงของพยาบาล OPM หรอกนะคะ เป็นแค่ตัวช่วยก็แล้วกัน (ที่ได้มีโอกาสไปสัมผัสกับชาว OPM )
Q: อยากทราบว่าพยาบาลทีปฎิบัติงานที่OPDMEDมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง
A:พยาบาลก็มีการมอบหมายงานอย่างชัดเจนนะคะ (มีใบมอบหมายงานนะคะ จะบอกให้ เหมือนใน IPD นั้นแหละคะ
มี Incharge/ Leader  ทำหน้าที่หัวหน้างาน บริหารจัดการ,       
   Member (1,2)  ทำหน้าที่ตรวจสอบ และประเมินความพร้อม เฝ้าระวังอาการผุ้ป่วยที่ซับซ้อนและพิจารณาลำดับตามความรุนแรงของอาการเจ็บป่วย
   Member (3,4) ทำหน้าที่ตรวจสอบคำสั่งแพทย์
   ผู้ช่วยเหลือก็มีการมอบหมายงานนะคะ
Q: สำหรับการลงตรวจของแพทย์เลยช่วงบ่ายไม่มีใครอยู่ที่โอพีดีสักคน
A: ช่วงบ่ายพี่ ๆ เค้ามีตรวจที่ศูนย์ท้องร่วงนะคะ ไม่ได้ปิด เพียงแต่ย้ายที่ตรวจ และก็มีทีมไปตรวจสอบความพร้อมของเวชระเบียนผุ้ป่วยนัดวันต่อไป (ซึ่งทำ CQI ไปยกนึงแล้ว_____ช่วงนี้เลยไม่จำเป็นต้องตรวจแฟ้มมาก)
Q: เคยสังเกตุบ้างไหมว่าแพทย์ลงตรวจกี่โมง
A: เค้ามีข้อมูลเป็นตัวเลขเลยนะคะ  สามารถวิเคราะห์ได้เลยว่าแพทย์คนไหนลงกี่โมง ตรวจได้กี่ราย  รวมระยะเวลาตรวจกี่ชั่วโมง (ข้อมูลพัฒนาไปได้ระยะแล้วนะคะ)   แต่ต้องเข้าใจนะคะว่า  แพทย์อายุรกรรมของเรามีภารกิจมากมาย  ต้องดูผู้ป่วยในก่อน จึงจะมาตรวจที่ OPD ได้
จากใจ  ขอบพระคุณอย่างสูงนะคะที่มีความเป็นห่วงกัน เพราะนึกว่า หน่วยงานจะไม่มีคนเหลียวมอง แสดงว่า พวกเราชาวบำราศฯ ยังมีความเป็นห่วงกันอยู่   (ดีใจจริง ๆคะ)
ข้อคิด   เคยถามตัวเองไหมคะ ว่าระหว่างการพัฒนางาน/ระบบ กับ พัฒนาคน อย่างไหนจะต้องพัฒนาก่อน
ในความคิดของคนตัวเล็ก ๆ นะคะ (ตอนนี้ก็ไม่เล็กหรอกคะ) การทำงานอะไรก็ตาม ถ้าได้ใจคนทำงานหละก้อ  รับรองงานไปโล้ด  แต่กว่าจะได้ใจนะ ขอให้เราลงไปสัมผัสความทุกข์ (การทำงานของผู้ปฏิบัติ) เถอะ ทำด้วยพัฒนาไปด้วยจะบอกให้มันส์ มากกกกก
เดี๋ยวระบบงานที่ดี ๆ ก็มาเอง
แต่แม้บางคน ก็แก้ยากนะ  สักระยะนึงคงอายแก่ใจแล้วก็โดนเรากลืนไปด้วยสักวัน 
ส่วนในการพัฒนางานนะคะ  จะได้แนวคิดจากผู้ปฏิบัติมากมาย  แค่เราไปนำทางให้นิดเดียว  รับรองผู้ปฏิบัติทุ่มสุดตัว (ไม่ได้โชว์นะคะ  พี่สุพรรณ  พี่อำนวยพร พี่เดชา พี่พงศธร แล้วก็น้องฉ่าย  ร่วมมือร่วมใจกันดีมากเลย)
 มีอีกเยอะคะ ที่อยากจะเล่า เอาไว้คราวหน้าดีกว่า 
อยากเล่าให้ฟังเกี่ยวกับการที่ได้มีโอกาสไปประชุมภาคีการจัดการความรู้ภาคราชการ ครั้งที่ 4 (ไปครั้งแรก)  ประทับใจมากและได้เรียนรู้จากองค์กรอื่นมากมายทั้งในประเทศ และนอกประเทศ  ปัญหาก็เหมือนเรานั่นแหละ แต่พวกเราชาวบำราศฯ ยังมีไฟอยู่นะ  วิทยากรได้บรรยายเกี่ยวกับผลการเรียนรู้การไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น(เกี่ยวกับ KM) ตอนแรกก็ไม่รู้หรอกว่า KM คืออะไรแน่ นิยามว่าอย่างไร (เหมือนหลายคนที่ไปด้วยกัน) วิทยากรไปดูงานบริษัท Eisai, Fukoku, Sony, and Nissan ขอสรุปแนวทางการทำ KM ของเค้านะคะ:
การประยุกต์ KM ใน  4 บริษัท คือ
  1. ความม่งมั่นและให้การสนับสนุนของผู้บริหารระดับสูง
  2. การริเริมสร้างสรรและการมีส่วนร่วมของผ้บริหารระดับกลาง
  3. การสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.) แบบเปิดโล่ง และไม่เป็นทางการ
  4. ใช้วงจร SECI มาประยุกต์อย่างเป็นธรรมชาติในเนื้องานและส่งผลต่อวัตถุประสงค์ขององค์กร การใช้วงจร SECI  ง่าย ๆ คือการทำ QC หรือ CQI  หรือ QCC  หรือ PDCA นั่นแหละ  แต่การดำเนินการของเค้าจะมีระบบมาก หรือมากกว่าก็ไม่แน่ใจนะ เพราะคล้ายกันมาก จะบอกว่าชาวบำราศฯ ของเรามีทั้งหมด 4 ข้อเลยนะ     แต่ก็ถ่วงน้ำหนักเองแล้วกัน   ที่บอกเนี้ยจะโยงเข้าสู่ระบบงาน OPM แต่มีปัญหาที่ยังแก้ไม่ค่อยได้คือ,,,,,,,,,,,,,,,,,,, คิดเองนะคะ แต่ขอย้ำนะคะว่า ใจเจ้าหน้าที่เค้าเต็มร้อยนะคะ ให้ยาหอมนิดนึง พี่ ๆ เค้าสู้ตายเลย

ป.ล. ไม่ทราบว่าตอบคำถามตรงจุดหรือเปล่า   

อ้อ ห้องไหนไม่เรียบร้อยก็รายงานหัวหน้า หรือพี่ ๆ พยาบาลจัดการได้เลยคะ  ร่วมด้วยช่วยกัน พัฒนาองค์กร อย่าคิดอะไรมาก  ทำบูญเยอะ ๆ  จะได้สวย จะได้รวย (เพราะทำแล้วสบายใจ ไม่ต้องคาใจ หงุดหงิดให้เสียอารมณ์ ทำให้ไม่สวยไงคะ)  น้อง ๆ (NA)เค้าก็เต็มใจทำงานทุกคนนะ 

เราถือว่า  เราหยิบเอาสิ่งที่ผิดพลาดมาเป็นโอกาสพัฒนา  (ทองก้อนใหญ่เชียวนะ)  ขอบคุณณณณณ  มีอะไรก็รีบบอกกันนะคะ จะได้พัฒนาไปด้วยกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท