นาย ชัยวัฒน์ ตรีโรจนานนท์


ผู้อำนวยการสถานศึกษา
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอฮอด (กศน.ฮอด)
Username
nfechaiwattree
สมาชิกเลขที่
30631
เป็นสมาชิกเมื่อ
เข้าระบบเมื่อ
-
(ไม่มีตั้งแต่ พ.ศ. 2564)
ประวัติย่อ

เกิด 14 กุมภาพันธ์ 2494  ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา 
การศึกษา  ป.1-2 ที่โรงเรียนบ้านเกาะโพธิ์  ป.3-4 โรงเรียนวัดหัวสวน อำเภอบางคล้า  ป.5-7 โรงเรียนเทศบาล 1 วัดแหลมใต้ (สุตะสุนทร) ม.ศ.1-3 โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ฉะเชิงเทรา ม.ศ.4-6 โรงเรียนพณิชยการธนบุรี (รุ่นที่ 12) สอบเทียบสายสามัญ (ม.ศ.5) และสมัครสอบ พ.กศ. 2520, พ.ม. 2523  ป.ตรี บริหารการศึกษา มสธ. 2525 ป.โท การศึกษานอกระบบ ม.ช. 2535
การทำงาน 2512-2514 พนักงานบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จำกัด
                     2515-2519 ครูโรงเรียนฝึกฝนอาชีพเคลื่อนที่ 45 กรมอาชีวศึกษา  
                     2520-2523 ครูศูนย์การศึกษาประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ กรมสามัญศึกษา
                     2523-2539 ครูศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ กรมการศึกษานอกโรงเรียน
                     2539-ปัจจุบัน  ผู้บริหารสถานศึกษา สำนักบริหาร กศน.
ประสบการณ์อบรมและศึกษาดูงาน  ศึกษาดูงานการศึกษานอกระบบและนวัตกรรมการศึกษา ประเทศอินโดนีเซีย 2525 ศึกษาดูงานด้านสวัสดิการสังคมที่ประเทศฮ่องกง และกวางเจา

ครอบครัว  ภรรยาเป็นอดีตครู คศ.3 ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันเกษียณอายุราชการแล้ว มีบุตร 2 คน หญิงจบป.ตรีสื่อสารมวลชน ม.เชียงใหม่  ป.โทวารสารศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์  มีความชำนาญด้านการวิจัยและด้านการโฆษณา เนื่องจากตรงกับสายวิชาที่ศึกษา และเป็นทีมงานวิจัยของ ม.ธรรมศาสตร์มาระยะหนึ่ง ปัจจุบันเป็นอาจารย์คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ใครสนใจจะเอาไปร่วมงานด้วยติดต่อได้นะครับ ส่วนชาย จบ ป.ตรีด้านธรณีวิทยา ม.เชียงใหม่ และกำลังศึกษา ป.โท ด้านเดียวกันที่ Oregon University  คาดว่าจะจบปี 51

งานที่ภาคภูมิใจ  มีหลายเรื่อง แต่ที่อยากบอกคือการได้เข้าร่วมกับคณะเลขานุการโครงการนำร่องจัดทำหลักสูตรประถมศึกษาเพื่อชุมชนชาวไทยภูเขา พุทธศักราช 2524  ร่วมกับท่าน สว.เตือนใจ ดีเทศน์และคณะ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่เหมาะสมกับชุมชนบนดอยเป็นอย่างยิ่ง  แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไปเสียแล้ว นอกจากนี้ ยังเป็นผู้บุกเบิกเรื่องการขอสวัสดิการให้แก่ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน (ครูดอย+ครูพื้นที่ปกติ) ให้มีค่ารักษาพยาบาล   และเป็นผู้เสนอที่ประชุมขออาหารกลางวันให้กับเด็กดอยที่อยู่ในความดูแลของ กศน. จนเด็กดอยทุกคนที่เรียนอยู่ในศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง" ทั่วประเทศได้รับอาหารกลางวันเดือนละ 22 วัน ตลอดทั้งปี

อยากให้ กศน.ทัดหน้าเทียมตาหน่วยงานอื่น ๆ มีศักยภาพในการทำงานที่เป็นที่ยอมรับ และสามารถบุกเบิกให้ปรากฎเช่นที่เคยเป็นมาสมัยท่านอาจารย์ ดร.โกวิท  วรพิพัฒน์  ท่านอาจารย์สุนทร   สุนันทชัย ฯลฯ  ที่ กศน.เป็นต้นแบบด้านการเรียนรู้ทางไกล จน มสธ.ไปไกลสุดกู่ แต่ กศน.หยุดอยู่กับที่ ค่อนข้างจะถดถอยด้วยซ้ำไป   แม้แต่คำว่า "เรียนรู้ร่วมกัน สร้างสรรค์ชุมชน" ก็เริ่มต้นมาจาก กศน. ตอนนี้ไปโลดแล่นอยู่ที่ไหน ใคร ๆ ก็คงทราบกระมัง  ช่วยกันหน่อยนะครับ พา กศน.ไปให้ถึงฝั่งเถิด 

     ขอทำความเข้าใจนิดนะครับ  ที่ใช้คำว่าลูกหม้อ กศน. มิใช่หมายถึงความเก่งกาจในงาน กศน.นะครับ เพราะงาน กศน.ไม่เคยหยุดนิ่ง มีนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปด้วยกันกับคนทุกระดับอยู่เสมอ  จึงหมายเพียงแต่ให้รู้ว่าเป็นคนที่อยู่กับ กศน.นาน ตั้งแต่เริ่มรับราชการจนถึงปัจจุบันเท่านั้นเองครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท