อนุทินล่าสุด


นางสาว มนฑกานต์ เรืองหิรัญ
เขียนเมื่อ

รูปแบบการเรียนการสอนแบบเศรษฐกิจพอเพียง

 


“เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็มแต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็มและลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป”

(พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากวารสารชัยพัฒนา)

                จากพระราชดำรัสดังกล่าว จะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นส่วนสำคัญ เป็นรากฐานของชีวิตของประเทศ แล้วคุณครูทราบหรือไม่ว่าเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร และวิธีนำเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาในการจัดกิจกรรมกับเด็ก ๆ นั้น ทำได้อย่างไร

เศรษฐกิจพอเพียง คืออะไร

 

                “เศรษฐกิจพอเพียง” (Suffciency Economy) เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย บนพื้นฐานของทางสายกลาง ซึ่งประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ (พอประมาณ, มีเหตุผล, มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี) และ 2 เงื่อนไข (เงื่อนไขความรู้ คือ รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง, เงื่อนไขคุณธรรม คือ ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน มีสติปัญญา แบ่งปัน)


แนวทางการจัดกิจกรรมที่เชื่อมโยงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคุณธรรม 8 ประการ

 

- ควรจัดกิจกรรมโดยยึดจุดมุ่งหมายหลัก ซึ่งได้แก่กระบวนการพึ่งตนเอง

- ควรจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คือให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ และได้เรียนรู้กระบวนการต่าง ๆ ที่จำเป็น ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจในสิ่งที่เรียนอย่างแท้จริง

- ควรจัดกิจกรรมให้มีการเรียนรู้ทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติควบคู่กันไปอย่างสมดุล และส่งเสริมการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ให้มาก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสามารถและความชำนาญในการใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์

- ควรจัดสภาพแวดล้อม กิจกรรมประจำวันและวิถีชีวิตของครูและบุคลากรในสถานศึกษา ให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้เรียนในเรื่องต่าง ๆ ที่ต้องการจะปลูกฝังให้แก่ผู้เรียน (ทิศนา แขมมณี, 2543)

อ้างอิงจากการอบรมเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียงและคุณธรรม 8 ประการกับการจัดกิจกรรมเด็กปฐมวัย” ดร.พัชรี ผลโยธิน  ดร.วรนาท รักสกุลไทย และทีมงาน โรงเรียนเกษมพิทยา

 

 

การนำหลักความพอเพียงปรับประยุกต์ใช้กับเด็กปฐมวัย

1.ใช้เป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติในการจัดกิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรมหลัก

2. สอดแทรกเชื่อมโยงจากประสบการณ์ตรงทั้งในและนอกห้องเรียน

แนวคิดและการทำความเข้าใจ

1.ศึกษาทำความเข้าใจหลักความพอเพียงที่ประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกัน ในเงื่อนไข ความรู้คู่คุณธรรม

2. นำหลัก ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกัน มาใช้เป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติจริงในการจัดกิจกรรมและจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัย

3. ไม่นำคุณลักษณะที่พึงประสงค์หรือคุณธรรมที่ต้องการปลูกฝังให้กับเด็กปฐมวัยมาเป็นตัวแปรตามหรือเป็นจุดหมายของการจัดกิจกรรม

เทคนิคการนำไปประยุกต์ใช้

                  เมื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับการทำงานของระบบที่ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตสามารถนำมาใช้เป็นหลักคิดได้ดังนี้

วัตถุประสงค์และปัจจัยนำเข้าคือ กิจกรรม แผนประสบการณ์ จุดประสงค์ทั้งด้านพุทธพิสัย จิตพิสัยและทักษะพิสัย

กระบวนการ คือ การนำหลักความพอประมาณ มีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันมาขับเคลื่อนเป็นกลไกของระบบ

ผลผลิต คือ  กิจกรรมที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ ประสบการณ์ของเด็กปฐมวัยที่เกิดจากการประยุกต์ใช้หลักความพอประมาณ ความมีเหตุผลและการสร้างภูมิคุ้มกันซึ่งมีกรอบความรู้และคุณธรรมสอดแทรกเชื่อมโยงทุกกิจกรรม

อ้างอิงจากงานวิทยานิพนธ์ ศษ.ม หลักสูตรและการสอนปฐมวัย 2552/มสธ.และประสบการณ์ตรงในการสอนระดับปฐมวัย   * เยาวนาตร อินทร์สำเภา อาจารย์พิเศษ สาขาการศึกษาปฐมวัย มรร. ฉะเชิงเทรา*

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท