รูปคนยอง


Username
boybanzaza
สมาชิกเลขที่
132894
เป็นสมาชิกเมื่อ
เข้าระบบเมื่อ
-
(ไม่มีตั้งแต่ พ.ศ. 2564)
ประวัติย่อ

                                     ประเพณีไหว้พระธาตุจอมยอง

 ไพฑูรย์ ดอกบัวแก้ว

พระธาตุหรือพระเจดีย์ที่สำคัญในเมืองยอง คือพระธาตุจอมยองซึ่งเป็นที่เคารพสักการะ

ของพุทธศาสนิกชน ทั้งที่อยู่ในเขตเมืองยองและชาวไทลื้อในเมืองเชียงรุ่ง สิบสองพันนา ประวัติ

ความเป็นมาของพระธาตุจอมยองที่แต่งขึ้นใหม่ หลังจากสมัยของตำนานเมืองยองน้อยผ่านไปแล้ว

กล่าวว่าสถานที่ตั้งของพระธาตุจอมยองนั้น มีลักษณะเป็นภูเขารูปเรือสำเภาคว่ำ ดังปรากฏใน

ตำนานเมืองยองว่า ดอยมหิยังคะแห่งนี้มีแม่น้ำใหญ่ไหลมารวมกัน ต่อมาได้ตื้นเขินกลายเป็นป่ามี

สัตว์ชุกชม ต่อมานายพรานได้จุดไฟเผาป่า ทำให้หญ้ายองปลิวไปทั่ว เมืองแห่งนี้จึงได้ชื่อว่าเมือง

ยอง

ในสมัยที่ท้าวลูหรือท้าววิรูปกครองบ้านเมือง ได้รบชนะชาวเมืองเขมรัฐ จึงขยายอาณาเขต

ออกไปอีก 28 เมือง จนกระทั่งถึงสมัยของท้าวงามครองเมืองยอง ทรงถูกสุนันทะกุมารแห่งเมืองอา

รวี ทำอุบายมอมเหล้าแล้วฆ่าเสียพร้อมด้วยบริวารที่บริเวณหนองแสน เจ้าสุนันทะได้ครองเมืองยอง

สืบต่อมา จนกระทั่งถึงเจ้าเมืองลำดับที่ 5 เป็นสมัยที่พระพุทธเจ้าโคตมะทรงเสด็จโปรดสัตว์มาถึง

เมืองยอง ทรงประทานพระเกศาไว้ให้ 4 เส้น และกล่าวว่าใต้ภูดอยมหิยังคะมีคีมทองคำ 2 ตัวใหญ่

เท่าลำเรือ ปลาไนทองคำ 2 ตัวใหญ่เท่าผืนสาด ปลาช่อนใหญ่ 2 ตัวใหญ่เท่าลำตาล แมงดาใหญ่ 2

ตัวใหญ่เท่าหมอน แมงเหนี่ยง 2 ตัวใหญ่เท่าดอกบัว ปลาไหลเผือก 2 ตัวใหญ่เท่าลำมะพร้าว

หลังจากพระพุทธองค์ปรินิพพานแล้ว พระอรหันต์ได้นำเอาพระเกศาธาตุอีก 4 เส้น พร้อม

ด้วยพระบรมสารีริกธาตุคือกระดูกด้ามมีดซ้าย (ไหปลาร้าซ้าย) กระดูกหน้าแข้งข้อเท้าขวาและพระ

ธาตุย่อย 1 ตวง มาบรรจุไว้ที่ดอยมหิยังคะ ซึ่งตรงกับสมัยของพระยาสุลังควุฒิ พระองค์จึงสร้างพระ

ธาตุจอมยองขึ้น และสาปแช่งผู้ที่มากวาดต้อนชาวเมืองยอง อยู่ต่อมาอีก 110 ปีก็หมดเชื้อพระวงศ์

เมืองยอง พระยาอโศกแห่งเมืองปาฏลีบุตรเสด็จมาถึงเมืองยอง พระองค์ทรงบูชาพระธาตุจอมยอง

และโปรดให้สร้างวิหารหลวง รวมทั้งหลั่งน้ำมอบเมืองยองถวายเป็นสมบัติของพระธาตุจอมยอง

โดยถือว่าประชาชนในเมืองยองเป็นข้ารับใช้พระธาตุ ทรงกำหนดให้หมู่บ้านต่างๆเปลี่ยนเวรกันอุ

ปัฏฐานพระธาตุ และแต่งตั้งพระเถระรูปหนึ่งเป็นสังฆโมลี ส่วนกิจการบ้านเมืองได้แต่งตั้งให้

อำมาตย์พ่อเมือง 4 คนเป็นผู้ดูแล

ประเพณีไหว้พระธาตุจอมยอง ตรงกับเดือนเจียง (เดือน 1) ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ ซึ่ง

พุทธศาสนิกชนจะพากันเดินทางขึ้นไปบนยอดดอยมหิยังคะ เพื่อกราบไหว้องค์พระธาตุจอมยอง

ประเพณีดังกล่าวนี้ยังมีชาวไทลื้อจากเมืองเชียงรุ่งมาร่วมงานด้วย รวมทั้งเชื้อสายเจ้าเมืองเชียงรุ่ง ซึ่ง

เป็นเจ้าศรัทธาสร้างถาวรวัตถุถวายองค์พระธาตุด้วย ดังปรากฏในคำขับลื้อสำนวนหนึ่งว่า

ประเพณีไหว้พระธาตุจอมยองไพฑูรย์ ดอกบัวแก้วพระธาตุหรือพระเจดีย์ที่สำคัญในเมือง

ยอง คือพระธาตุจอมยองซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชน ทั้งที่อยู่ในเขต

เมืองยองและชาวไทลื้อในเมืองเชียงรุ่ง สิบสองพันนา ประวัติความเป็นมาของพระธาตุ

จอมยองที่แต่งขึ้นใหม่ หลังจากสมัยของตำนานเมืองยองน้อยผ่านไปแล้วกล่าวว่าสถาน

ที่ตั้งของพระธาตุจอมยองนั้น มีลักษณะเป็นภูเขารูปเรือสำเภาคว่ำ ดังปรากฏในตำนาน

เมืองยองว่า ดอยมหิยังคะแห่งนี้มีแม่น้ำใหญ่ไหลมารวมกัน ต่อมาได้ตื้นเขินกลายเป็นป่า

มีสัตว์ชุกชม ต่อมานายพรานได้จุดไฟเผาป่า ทำให้หญ้ายองปลิวไปทั่ว เมืองแห่งนี้จึงได้

ชื่อว่าเมืองยองในสมัยที่ท้าวลูหรือท้าววิรูปกครองบ้านเมือง ได้รบชนะชาวเมืองเขมรัฐ จึง

ขยายอาณาเขตออกไปอีก 28 เมือง จนกระทั่งถึงสมัยของท้าวงามครองเมืองยอง ทรง

ถูกสุนันทะกุมารแห่งเมืองอารวี ทำอุบายมอมเหล้าแล้วฆ่าเสียพร้อมด้วยบริวารที่บริเวณ

หนองแสน เจ้าสุนันทะได้ครองเมืองยองสืบต่อมา จนกระทั่งถึงเจ้าเมืองลำดับที่ 5 เป็น

สมัยที่พระพุทธเจ้าโคตมะทรงเสด็จโปรดสัตว์มาถึงเมืองยอง ทรงประทานพระเกศาไว้ให้

4 เส้น และกล่าวว่าใต้ภูดอยมหิยังคะมีคีมทองคำ 2 ตัวใหญ่เท่าลำเรือ ปลาไนทองคำ 2

ตัวใหญ่เท่าผืนสาด ปลาช่อนใหญ่ 2 ตัวใหญ่เท่าลำตาล แมงดาใหญ่ 2ตัวใหญ่เท่า

หมอน แมงเหนี่ยง 2 ตัวใหญ่เท่าดอกบัว ปลาไหลเผือก 2 ตัวใหญ่เท่าลำมะพร้าวหลัง

จากพระพุทธองค์ปรินิพพานแล้ว พระอรหันต์ได้นำเอาพระเกศาธาตุอีก 4 เส้น พร้อมด้วย

พระบรมสารีริกธาตุคือกระดูกด้ามมีดซ้าย (ไหปลาร้าซ้าย) กระดูกหน้าแข้งข้อเท้าขวา

และพระธาตุย่อย 1 ตวง มาบรรจุไว้ที่ดอยมหิยังคะ ซึ่งตรงกับสมัยของพระยาสุลังควุฒิ

พระองค์จึงสร้างพระธาตุจอมยองขึ้น และสาปแช่งผู้ที่มากวาดต้อนชาวเมืองยอง อยู่ต่อ

มาอีก 110 ปีก็หมดเชื้อพระวงศ์เมืองยอง พระยาอโศกแห่งเมืองปาฏลีบุตรเสด็จมาถึง

เมืองยอง พระองค์ทรงบูชาพระธาตุจอมยองและโปรดให้สร้างวิหารหลวง รวมทั้งหลั่งน้ำ

มอบเมืองยองถวายเป็นสมบัติของพระธาตุจอมยองโดยถือว่าประชาชนในเมืองยองเป็น

ข้ารับใช้พระธาตุ ทรงกำหนดให้หมู่บ้านต่างๆเปลี่ยนเวรกันอุปัฏฐานพระธาตุ และแต่งตั้ง

พระเถระรูปหนึ่งเป็นสังฆโมลี ส่วนกิจการบ้านเมืองได้แต่งตั้งให้อำมาตย์พ่อเมือง 4 คน

เป็นผู้ดูแลประเพณีไหว้พระธาตุจอมยอง ตรงกับเดือนเจียง (เดือน 1) ในวันเพ็ญขึ้น 15

ค่ำ ซึ่งพุทธศาสนิกชนจะพากันเดินทางขึ้นไปบนยอดดอยมหิยังคะ เพื่อกราบไหว้องค์

พระธาตุจอมยองประเพณีดังกล่าวนี้ยังมีชาวไทลื้อจากเมืองเชียงรุ่งมาร่วมงานด้วย รวม

ทั้งเชื้อสายเจ้าเมืองเชียงรุ่ง ซึ่งเป็นเจ้าศรัทธาสร้างถาวรวัตถุถวายองค์พระธาตุด้วย ดัง

ปรากฏในคำขับลื้อสำนวนหนึ่งว่า

เต้อนิข้อยติยอมือ ตังสองโหไหว้วานก่ายขาบ ไหว้นบน้อมคงยิ่งเกศา มีตังเกศาแก้วจุฬามณี

เทศ มายเมดตั้งควงฟ้าตาวติงสา เป็นที่อินทาเจ้าเหนอโห ลงก่อคึดต่อไว้เมื่อหน้า แฮนแต่พญา เต้อนิ

ข้อยติซาซายอมือไหว้ จอมยองมหาธาตุ มีตังเทวราชแฝงใฝ่เฝ้ามีไว้ …

ยามนั้นจิ่งจักมีหม่อมมหาชัน เป็นลูกกษัตรา ท้าวราชาเจงฮุ่ง ลงมาสร้างแต่งแถม ก็เป๋น

ที่สุด เบ่าลุกเถินเสซ้ำ ยังบ่ได้ต่างที ท่านก็เม้นเสห้องชุมพู สามสาแม่นเมื่อปีกาบไจ้ งูน้อยสอดสน

นับเป็นปีเมืองไต ปีมะเส็งแก่นมีเป็นหมั้น…

เดินสามไตปล่อยม้า เดินห้าเพิ่นจักแก้ดธาตุจอมยอง เดินเจ๋งยามวอนดูสา ติดลั่งเจ้าน่างช้าง

สร้างแต่ปอยราม เดินเจ็ดกลี้ดูงามเข้าเบิก เป็นรีตด้วยเมิงนั้น ตามแห่งประเวณีกันนิแล้ว แก้วน้อง

ออนย่องใจพี่เฮย

ประเพณีไหว้พระธาตุจอมยองนี้ ได้รับการสืบทอดมาจนกระทั่งปัจจุบัน รวมทั้งมีการ

บูรณะองค์พระธาตุให้มีความสวยงาม และพี่น้องชาวยองจากเมืองลำพูนก็ได้เดินทางมาร่วมงาน

ไหว้พระธาตุจอมยอง ร่วมกับพี่น้องชาวยองในพม่า ทั้งนี้โดยการนำของพระมหา เขื่อนคำ อดีตเจ้า

อาวาสวัดพระพุทธบาทตากผ้า ผู้มีสายเลือดชาวยองอย่างเต็มเปี่ยม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท