ประวัติภาคอีสาน


 อ้างถึง  1. ปรางทิพย์
เมื่อ จ. 21 พฤษภาคม 2550 @ 01:11 [266506] [ลบ] ถามว่าประวัติภาคอีสาน  เป็นมาอย่างไร

ผมเพิ่งจะเรียนรู้เรื่องบล็อก จึงเพิ่งเห็นคำถาม/คำตอบที่ม่วนสนุกในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรียนรู้กันและกัน

         ในกระทู้ ความเป็นมาของ  ประวัติภาคอีสาน ที่จริงคำนี้เรียกมาไม่นานมานี้เองครับ  คำว่า อีสาน ไม่ใช่ชื่อชนชาติ หรือเชื้อชาติ แต่เป็นการนำชื่อทิศอีสาน (ทิศตะวันออกเฉียง)  มาตั้งเป็นชื่อมณฑลอีสาน  เมื่อปี พ.ศ. 2443  ก่อนหน้านั้นเรียกหัวเมืองลาว เมื่อพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ทรงปฏิรูปการปกครองจากเมืองขึ้นแบบโบราณ  ทรงส่งข้าหลวงใหญ่กำกับราชการอยูที่เมืองจำปาศักดิ์ เมื่อ พ.ศ. 2433  เพื่อดูแลหัวเมืองลาวให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น ดังนี้

       1. หัวเมืองลาวตะวันออก  เช่น  จำปาศักดิ์  สีทันดร  อัตปือ  สาละวัน  สุรินทร์  สังขะ  เดชอุดม  เป็นต้น

       2. หัวเมืองลาวตะวันออกเฉียงเหนือ  เช่น อุบลราชธานี  กาฬสินธุ์  มหาสารคาม ร้อยเอ็ด  ยโสธร  ศรีสะเกษ เป็นต้น

        3. หัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ  เช่น    หนองคาย  เชียงขวาง  บริคัณฑนิคม  คำเกิด  คำม่วน  สกลนคร  มุกดาหาร  ขอนแก่น  เป็นต้น

        4. หัวเมืองลาวฝ่ายกลาง  เช่น  นครราชสีมา  ชนบท  ภูเขียว

(เรียบเรียงจาก อุบลราชธานี 200 ปี, 2535)

       ต่อมา พ.ศ. 2440 (รศ. 116) ทรงโปรดเกล้าตรา พรบ.ปกครองท้องที่ ก็มีคำเรียก มณฑลลาวกาว ลาวเฉียง  ลาวเหนือ เป็นต้น 

        เหตุผลระหว่างการรุกคืบเอาดินแดนลาวของฝรั่งเศส  หรือพระราโชบายการปฏิรูปการการปกครองของ รัชกาลที่ 5 จะเป็นประการใดก็ตาม   พ.ศ. 2442  ทรงให้มีการยกเลิก  การเรียกว่า ลาว สำหรับคนในภูมิภาคนี้ "แต่นี้สืบไปให้เจ้าหน้าที่แต่ละแผนก  ทุกหัวเมืองใหญ่น้อย  ในมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ  เมื่อจะมีการสำรวจสำมะโนครัว  หรือหากมีราษฎรมาติดต่อที่จะใช้แบบพิมพ์ทางราชการ  ให้ปฏิบัติใหม่โดยการกรอกในช่องสัญชาตินั้นว่า  ชาติไทยบังคับสยาม  ทั้งสิ้น  ห้ามมิให้ลงหรือเขียนในช่องสัญชาติว่า  ชาติลาว  ชาติเขมณ  ส่วย  ผู้ไทย ฯลฯ ดังที่เคยปฏิบัติมาก่อนเป็นอันขาด..."  (อุบลราชธานี 200 ปี : 30) ในหนังสือ "อีสาน" สำนักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรม/มติชน โดยสุจิตต์  วงศ์เทศ สรุปไว้ว่า  ผู้คนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็ได้รับการประกาศว่าเป็นคนไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่นั้นมา 

       พ.ศ. 2443 ทรงดำรัสว่าชื่อมณฑลบางมณฑล  เช่น มณฑลตะวันออก  มณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ  มณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ  เป็นคำยาวเรียกยาก  ทรงพระราชดำริว่า  ชื่อทิศของโบราณมีอยู่เป็นคำสั้นเรียกง่าย  จึงโปรดเกล้า ฯ เปลี่ยนชื่อมณฑล เช่น  มณฑลตะวันออก เป็น มณฑลบูรพา  มณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นมณฑลอีสาน  เป็นต้น

        ปัจจุบันเมื่อแบ่งเป็นภาคเหนือ  ใต้  กลาง  ตะวันออก  ตะวันออกเฉียงเหนือ  จึงเรียกประชาชนจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่า  ชาวอีสาน ที่จริงแล้วความจริงก็คือความจริง  คนไทยท้องถิ่นต่าง ๆ ล้วนเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจาก ชนชาติต่าง ๆ ทั้งสิ้น เช่น มอญ ลาว เขมร กะเหรี่ยง  ไทยใหญ่ มลายู เป็นต้น

        ผมเกิดมาสมัยเด็กมักได้ยินคำดุเด็กให้กลัวว่า  "ไทย มา ไทยมา...ไทยสิมาตอนหำ..เซาฮ้องไห้ถะแม" ถ้าไปทำงานกรุงเทพ ฯ ก็ว่า "ไปไทย  ไทเที่ยวไทย" คนโบราณเขาพูดไว้เข้าใจง่ายชัดเจน  ดังนั้นคนไทยอีสาน  อย่าอายที่จะยอมรับว่า เว่าลาว  ฟังหมอลำ กินปลาแดก เพราะเราเป็นคนไทยภูมิภาคท้องถิ่นที่พูดภาษาไทยลาว  มีประเพณีฮีต 12  คลอง 14  ที่แสนงาม  มีศิลปะดนตรีร้องรำที่แสนม่วนและงามสะออน  อยากให้แยกความเข้าใจให้ดีครับ  เพราะคำว่าอีสานเพิ่งมีนำมาใช้พร้อม ๆ กับการปฏิรูปการปกครองไทย  ในสมัยฝรั่งเศสคืบรุกเข้าครองแผ่นดินของชนลาวมานี่เอง และสามารถศึกษาได้จากหนังสือประวัติศาสตร์การปกครองในรัชการที่ 5 ได้ทั่วไป

         การแบ่งเขตปกครองประเทศสมัยใหม่  กับสายเลือดวงศ์วานเชื้อ  เราต้องยอมรับและผูกพันธ์ด้วยความรู้สึก ทั้งสำนึกในคุณแผ่นดินและเคารพในเชื้อสายและประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของตนเอง....ด้วยความรักชาติไทยเราครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น

คำตอบ (1)

ออต ญาณพิสิษฐ์
เขียนเมื่อ
  • ขอบพระคุณอาจารย์มากครับ


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท