กิจกรรมบำบัดในผู้ป่วยจิตเวช


สวัสดีค่ะอาจารย์ อยากจะขอคำแนะนำเกี่ยวกับกิจกรรมบำบัดในผู้ป่วยจิตเวช ที่สามารถใช้ได้ง่ายๆในโรงพยาบาลต่างจังหวัดค่ะ ขอบคุณค่ะ


ความเห็น (18)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

ขอบคุณสำหรับคำถามครับ

ผมได้สรุปโครงการหนึ่งมาให้ และกำลังจะเตรียมพัฒนา Recovery and ecological model for mental health rehabilitation ไปจัด workshop ที่สถาบันสุขภาพจิตกัลยาราชนครินทร์เดือนหน้า ติดต่อได้ที่ 08-52240707 หากมีข้อสงสัยครับ

โครงการกิจกรรมบำบัดเพื่อสุขภาพจิต หัวหน้าโครงการ                 อาจารย์ ดร. ศุภลักษณ์ เข็มทองวัตถุประสงค์หลักของโครงการ1.       เพื่อพัฒนาตัวอย่างระบบการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดเฉพาะทางสุขภาพจิต ซึ่งจัดตั้งขึ้นในสถาบันการศึกษาที่กำลังจะริเริ่มให้มีการจัดการเรียนการสอนทางคลินิกกิจกรรมบำบัด2.       เพื่อคัดกรองและส่งเสริมการมีภาวะสุขภาพจิตที่ดีในประชากรไทย อันได้แก่ บุคคลทั่วไป และบุคคลที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรังทางระบบต่างๆ 3.       เพื่อเพิ่มเครือข่ายการให้คำปรึกษาแก่สถาบันต่างๆของประเทศไทย ที่ให้การฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางจิตสังคม

รายละเอียดโดยสังเขปของโครงการ

อาจารย์หรือนักกิจกรรมบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางสุขภาพจิต ให้การบริการแก่บุคคลทุกเพศทุกวัย ดังต่อไปนี้1.       บุคคลที่ประกอบอาชีพจนไม่สามารถมีเวลาพักผ่อนและเวลาการทำกิจกรรมยามว่าง2.       บุคคลที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรังทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ3.       บุคคลที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรังทางระบบประสาท4.       บุคคลที่มีความบกพร่องทางจิตสังคม เช่น โรคเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า กลัว อารมณ์เศร้าอย่างรุนแรง บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมทางสังคมเปลี่ยนแปลง โรคจิตประสาทระยะแรก โรคใช้สารเสพติดมากผิดปกติ เป็นต้น  5.       บุคคลที่มีเวลาว่างมากจนเกินไปและมีความรู้สึกท้อแท้ต่อการประกอบอาชีพเสริม6.       บุคคลที่อยู่ในสภาวะการเจ็บป่วยขั้นสุดท้ายของชีวิต7.       ญาติหรือผู้แทนของชุมชนที่ต้องการรับคำปรึกษาเพื่อพัฒนาสุขภาพจิตของบุคคลที่รู้จักหรืออยู่ในชุมชนและมีอาการต่างๆ ข้างต้น โปรแกรมการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดเพื่อสุขภาพจิต มีโดยสรุปคือ 1.       การให้คำปรึกษาเพื่อวางระบบการจัดโปรแกรมการดูแลสุขภาพจิต (Self Management Program on Mental Health and Well-Being) ในระดับผู้ป่วยเฉพาะราย กลุ่มหรือชุมชน ตัวอย่างเนื้อหาของโปรแกรม ได้แก่ การสำรวจกิจกรรมและสภาวะทางสุขภาพจิตในชีวิตประจำวัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมการดูแลตนเอง กิจกรรมการทำงานหรือการเรียน และกิจกรรมการใช้เวลาว่างในระดับร่างกาย สังคม และการพักผ่อน 2.       การให้การฝึกอบรม (Workshop Training) หรือการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา (Psychological support and counseling) ในระดับของเทคนิคการใช้สงวนพลังงานและการทำงานเพื่อการมีภาวะที่ดีทางสุขภาพจิต  (Work simplification / energy conservation techniques for enhancing mental health/well-being)3.       การให้การฝึกอบรม (Workshop Training) หรือการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา (Psychological support and counseling) ในระดับการปรับตัวด้วยกิจกรรมการดำเนินชีวิตต่อสภาพอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น การจัดการความเหนื่อยล้า  (Fatigue management)  การจัดการความเครียดและความเจ็บปวดทั่วไป  (Stress and pain management strategies) การจัดการอารมณ์โกรธ (Anger management) 4.       การให้การฝึกอบรม (Workshop Training) หรือการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา (Psychological support and counseling) ในระดับการฝึกฝนตนเองเพื่อให้มีความสามารถจัดการใช้เวลาทำกิจกรรมดำเนินชีวิตอย่างสมดุลย์ (Maximize personal independence in self-care, leisure and work roles) 5.       การให้การฝึกอบรม (Workshop Training) หรือการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา (Psychological support and counseling) ในระดับชุมชนเกี่ยวกับการมีรูปแบบชีวิตที่เสริมสร้างการมีพฤติกรรมทางสุขภาพที่ดี ได้แก่ โภชนาการดี ออกกำลังกายดี ควบคุมภาวะความเครียดดี และมีกิจกรรมที่มีความคุณค่าแก่ชีวิต (Educate communities about healthier lifestyles and behaviours)6.       การจัดกิจกรรมนันทนาการ (Run fun activities) เพื่อเด็กและผู้สูงอายุที่มีอาการเจ็บป่วยมากจนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ 7.       การให้ความรู้และฝึกฝนแก่บุคคลต่างๆ ด้านทักษะการดำเนินชีวิตทางสังคม (Life skill training) เช่น การจัดการแก้ไขปัญหา (Problem solving skill training) การจัดการเรื่องค่าใช้จ่ายของตนเอง (Budgeting) การติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น  (Communication and social skills training) การสำรวจกิจกรรมยามว่างที่ตนเองชอบ (Exploring leisure and recreation options) การเรียนรู้อาการความบกพร่องทางจิตสังคมและผลข้างเคียงของการใช้ยา (Managing side-effects of medication for psychosocial dysfunctions)

การสัมมนากลุ่มด้วยกิจกรรมที่มีความหมาย เพื่อการประคับประคองญาติหรือชุมชน ที่มีความเศร้าจากเหตุการณ์การเสียชีวิตของบุคคลหรือกลุ่มคนอันเป็นที่รัก (Bereavement support for individuals, and families by encouraging meaningful activities)



ความเห็น (18)
ขอบคุณค่ะ ได้มีโอกาสอ่านโครงการของอาจารย์มาหลายวันแล้วแต่ไม่มีโอกาสขอบคุณ เป็นโครงการที่น่าสนใจมาก และน่าเข้าร่วมโครงการ แล้วจะติดต่อไปที่สถาบันสุขภาพจิตกัลยาราชนครินทร์ อีกทีนะคะ

อยากทราบกิจกรรม สำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ค่ะ ผู้ป่วยมีอาการนอนไม่หลับหลายวันติดกันค่ะ

และอยากทราบคำแนะนำต่างๆด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

แนะนำให้คุณเดอะอ่านที่ http://gotoknow.org/blog/otpop/330530 และ http://gotoknow.org/blog/otpop/321250

หากไม่เข้าใจ คงต้องมีการประเมินทางกิจกรรมบำบัด โดยนัดหมายที่คลินิกต่อไป เพราะกิจกรรมบำบัดแต่ละผู้ป่วยแตกต่างกันตามสาเหตุและกลไลของร่างกายครับ

คือมิ้นเป็นคนคิดมากนอนไม่ค่อยหลับแล้วมีอยู่วันหนึ่งแฟนบอกเป็นมะเร็งยิ่งคิดมากนอนไม่หลับคิดอย่างเดียวถ้าไม่มีเขาเราจะอยู่ได้ยังไง

มีอยู่วันนึงไปเที่ยวแล้วโดนเพื่อนหลอกให้กินยาอีกินไปครึ่งเม็ด

แล้วเพื่อนก้อไม่บอกว่ามันจะมีอาการอย่างงี้กินไปได้ประมาณ20นาที

อยู่ๆก้อมีอาการวูปตามัวๆมองไรไม่เห็นเลยวิ่งไปหาเพื่อนแล้วขอความช่วย

เพื่อนบอกใจเย็นอาการเป็นอย่างงี้แหละมันอยู่เฉยไม่ได้นะค่ะต้องเต้นหรือต้องดืมน้ำเยอะตลอดหลังจากนั้นพอตื่นมาเหมือนมีอะไรกัดตามร่างกาย

มันเจ็บๆแสบหลังจากนั้นฝังใจตลอดจนถึงทุกวันนี้ตั้งแต่ตอนนั้นชีวิตมิ้นเปลี่ยนไปเหมือนวิญาญไม่ค่อยอยู่กับตัวบางครั้งเดินไปงี้เหมือนตัวลอยได้

เบ่าตัวมากค่ะเวลาเห็นข่าวคนตายหรือไรที่ร้ายเหมือนอ่อนไหวเหมือนจะบ้าค่ะตอนนี้มิ้นอยู่ไม่เป็นสุขเลยค่ะทำงานก้อไม่ได้ระแวงไปหมดกลัวตายตลอดเวลาค่ะเพื่อนๆพี่ๆช่วยแนะนำหน่อยค่ะ

แนะนำให้คุณมิ้นมาประเมินและรับคำปรึกษากิจกรรมบำบัดจิตสังคมได้ครับ ผมจะอยู่ที่คลินิกกิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัด เชิงสะพานปิ่นเกล้า ทุกวันจันทร์ 8.00-12.00 น.

รบกวนคุณหมอคะ

คือแฟนเขามีอาการไม่เหมือนคนปกติ เช่น หวาดระแวง

หูแว่ว ซึมเศร้า บางคืนนอนไม่หลับ ไม่กล้าที่จะอยู่กับคนหมู่มาก

ซึ่งแพทย์ประจำตัวลงความเห็นว่า เป็นโรคซึมเศร้า

แต่เจ้สงสัยว่าเข้าจะมีอาการทางประสาทร่วมด้วยหรือเปล่า

ปัจจุบันเขาก็สามารถทำงานได้บ้าง(ธุรกิจส่วนตัว) ขับรถไ้ด้

ออกกำลังกายเป็นประจำ เรียนหนังสือได้จนจบปริญญาตรีเมื่อปีที่แล้ว

แต่อาการที่เป็นอยู่มันทำให้คนที่พูดคุยด้วย หรือญาติพี่น้อง สังเกตุเห็นถึงความผิดปกติ

จึงอยากให้คุณหมอช่วยประเมินอาการด้วยคะ ###รบกวนคุณหมอช่วยแนะนำหน่อย ขอบคุณมากคะ

คลินิกกิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัด ของคุณหมอน่าสนใจมาก

แต่อยากทราบข้อมูลว่ามีกิจกรรมอะไรบ้าง และบำบัดอย่างไร

ขอบคุณคะ

ขอบคุณครับคุณเจ้

แนะนำให้พาแฟนมาประเมินทางกิจกรรมบำบัด ได้แก่ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงสุขภาวะและการพัฒนาจิตสังคม การสำรวจความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต และการสำรวจความมั่นใจในการฝึกแก้ไขปัญหา การจัดการความคิดตนเอง และการนำกิจกรรมรอบๆตัวมาพัฒนาคุณภาพชีวิต

ผมจะลงคลินิกทุกวันจันทร์ช่วง 8.00-12.00 น. ณ อาคารคณะกายภาพบำบัด เชิงสะพานปิ่นเกล้า นัดหมายที่ 08-522-40707

คลิกอ่านรายละเอียดคลินิกกิจกรรมบำบัดที่ http://www.pt.mahidol.ac.th/ptclinic/

อยากถามDr.Popว่าผู้ป่วยจิตเภทที่บกพร่องทักษะการใช้ชีวิตในสังคม เช่น ไม่ค่อยพูด แยกตัว เวลาพูดไม่สบตา ควรจะจัดกลุ่มกิจกรรมบะบัดอะไรดีคะ ถึงจะเหมาะสม ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบค่ะ

ขอบคุณมากครับคุณอ้อม ขออภัยที่ตอบช้า

คำถามน่าสนใจครับ ผู้รับบริการหลายรายทั้งบกพร่องทางร่างกาย และ/หรือ จิตสังคม ที่ไม่สามารถมีส่วนร่วมทำกิจกรรมทางสังคมได้ ตามที่คุณอ้อมยกตัวอย่าง

กระบวนการเพิ่มการมีส่วนร่วมทำกิจกรรมทางสังคมในผู้รับบริการข้างต้น ต้องวางแผนงานเป็นทีมสหวิชาชีพ (แพทย์ พยาบาล นักกิจกรรมบำบัด นักกายภาพบำบัด นักจิตวิทยา และนักแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย) และจัดกิจกรรมดังนี้

1. กิจกรรรมการสร้างสัมพันธภาพภายในตัวเอง ผู้บำบัดควรดึงความคิด ความสนใจ ความเชื่อ และความมีคุณค่า ของคนหนึ่งคน ให้แสดงออกผ่านกิจกรรมที่ใช้ภาษาพูดหรือท่าทาง ไม่มีการเร่งบังคับให้พูดหรือคิดมากจนเกินไป เช่น วาดรูปแสดงความรักในตนเอง ติดกระดาษสีบนขวดแก้วที่แสดงความคิดในตนเอง เลือกเสียงเพลงที่แสดงความสนใจของตนเอง เป็นต้น หากผู้บำบัดประเมินว่าผู้รับบริการมีการพัฒนาการสื่อสาร ได้แก่ การสบตา การยิ้ม การแสดงท่าทางสีหน้าเหมาะสม การพูด ที่พอใช้ ก็ให้เข้ากิจกรรมถัดไป

2. กิจกรรมการสร้างสัมพันธภาพระหว่างสองคน ผู้บำบัดชวนผู้รับบริการทำกิจกรรมที่มีเป้าหมาย มีความหมาย มีคุณค่า และมีความสุข และได้ผลิตผลของกิจกรรมภายในเวลาไม่เกิน 30 นาที ระหว่างทำกิจกรรมผู้บำบัดควรชวนแสดงความคิดและสื่อสารทั้งภาษาพูดและท่าทาง เช่น ทำภาพปะติด วาดรูปสีน้ำ ทำตุ๊กตาแขวน เป็นต้น หากผู้บำบัดประเมินว่าผู้รับบริการมีการพัฒนาการสื่อสาร ได้แก่ การสบตา การยิ้ม การแสดงท่าทางสีหน้าเหมาะสม การพูดที่ดี ก็ให้เข้ากิจกรรมถัดไป

3. กิจกรรมการสร้างสัมพันธภาพแบบกลุ่ม (มากกว่าสองคนแต่ไม่เกิน 5 คน) ผู้บำบัดเป็นผู้นำกลุ่ม คัดกรองและคัดเลือกผู้รับบริการที่มีความสามารถทางสังคมมากสลับกับน้อย (จะได้ช่วยเป็นต้นแบบซึ่งกันและกัน) โดยใช้กิจกรรมแบ่งขั้นตอนให้ช่วยกันทำทีละขั้นตอน หรือหากความสามารถใกล้เคียงกัน ผู้บำบัดต้องเป็นผู้กระตุ้นให้แสดงออกทางความคิด การสื่อสาร และการทำกิจกรรมที่ต่างคนต่างทำแต่ละขั้นตอนไปพร้อมๆ กัน มีผลิตผลของกิจกรรมภายในเวลาไม่เกิน 45 นาที เช่น ทำผ้าบาติกร่วมกัน 1 ผืน ทำงานไม้ ทำร่วมกัน 1 ชิ้น เป็นต้น หากผู้บำบัดประเมินว่าผู้รับบริการมีการพัฒนาการสื่อสาร ได้แก่ การสบตา การยิ้ม การแสดงท่าทางสีหน้าเหมาะสม การพูดที่ดี การตัดสินใจ การแสดงความช่วยเหลือกัน ระหว่างบุคคล ก็ให้เข้ากิจกรรมถัดไป

4. กิจกรรมการสร้างสัมพันธภาพแบบกลุ่มมากกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 10 คน คล้ายกับข้อ 3 แต่มีการจัดแบ่งหน้าที่และจำนวนผลผลิตที่มากขึ้นตามความเหมาะสม มีการเพิ่มให้ผู้รับบริการเป็นผู้นำ และผู้ช่วยผู้นำในแต่ละหน้าที่กลุ่มกิจกรรมที่ไม่เกิน 60 นาที ผู้บำบัดเป็นผู้สังเกตการณ์

5. กิจกรรมการสร้างสัมพันธภาพแบบกลุ่มบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่น คล้ายกับข้อ 4 แต่มีการระดมความคิดและวางแผนการทำงานที่ซับซ้อน มีระบบการกระทำกิจกรรมที่ชัดเจน และกล้าพูดกล้าทำมากขึ้นเพื่อมุ่งเป้าหมายเดียวคือ ช่วยเหลือผู้อื่น โดยไม่กำหนดเวลา จำนวนผู้ทำกิจกรรม และขั้นตอนการทำกิจกรรม ผู้บำบัดเป็นผู้ร่วมทำกิจกรรมและเป็นผู้ตามระบบการบริหารกลุ่มกิจกรรมของผู้รับบริการเองอย่างอิสระ

สุภาวดี นักศึกาพบาลศาสตร์ ม.มหิดล

อยากรบกวนDr.Pop ช่วยยกตัวอย่างการทำกิจกรรมกลุ่มนันทการสำหรับผู้ป่วยโรคจิต

ขอบคุณครับคุณสุภาวดี

ตัวอย่างการทำกิจกรรมกลุ่มนันทนาการ มี 3 รูปแบบสากล ได้แก่

1. การจัดกิจกรรมกลุ่มนันทนาการโดยนักกิจกรรมบำบัดได้ประเมินความต้องการ เจตจำนงค์ ความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต และความสนใจตัดสินใจเลือกเข้ามีส่วนร่วมทางสังคมในกลุ่มกิจกรรมที่ให้ความเพลิดเพลิน ความผ่อนคลาย ความสนุกสนาน และความสุข และร่วมมือกับพยาบาลและนักนันทนาการบำบัดในการจัดกิจกรรมกลุ่มและสังเกตทักษะการทำกิจกรรมนันทนาการในสถานพยาบาล หรือร่วมมือกับผู้ดูแล/ญาติ/เพื่อนในสถานการณ์ชีวิต

2. การจัดกิจกรรมกลุ่มนันทนาการพื้นฐานโดยนักนันทนาการบำบัดหรือพยาบาลที่เชี่ยวชาญจิตวิทยาของการจัดกลุ่มนันทนาการ ได้แก่ กลุ่มกีฬา กลุ่มดนตรี กลุ่มศิลปะ กลุ่มทำครัว กลุ่มพืชสวน กลุ่มหัตถกรรม กลุ่มท่องเที่ยว และกลุ่มเลี้ยงสัตว์

3. การจัดกิจกรรมกลุ่มนันทนาการในชีวิตโดยบุคคลทั่วไปที่สนใจ อาสาสมัคร และริเริ่มกลุ่มกิจกรรมที่น่าสนใจให้กับกลุ่มคนใดๆ ไม่มีการแยกจัดกลุ่มเฉพาะผู้ป่วยทางจิตสังคม เช่น กลุ่มนันทนาการในครอบครัว กลุ่มนันทนาการกับเพื่อน กลุ่มนันทนาการในโรงเรียน/วัด/ชุมชน กลุ่มนันทนาการในงานเทศกาล/ประเพณี/วัฒนธรรม กลุ่มนันทนาการในงานการกุศล กลุ่มนันทนาการท่องเที่ยว/กีฬา กลุ่มนันทนาการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม เป็นต้น

มีีอาการ มึนหัว ปวดหัว จุกแน่นลิ้นปี่ อยากได้คำแนะนำทำยังไงให้หาย

ขอบคุณครับคุณชนิดา

ผมแนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยละเอียดมากขึ้นว่ามีผลจากระบบร่างกายหรือจิตใจ จะได้วางแผนการรักษาได้ถูกต้องครับ

รบกวนถามDr.Popหน่อยค่ะ น้องสาวดิฉันป่วยเป็นโรคจิตทานยา มาประมาณ 1 ปี กับอีก 6เดือนเเล้ว อาการดีขึ้นก็เลยหยุดยาไป 2 เดือน อาการกำเริบมีอาการก้าวร้าว เบื่ออาหาร ไม่ยอมทานยา พอจะมีวิธีบ้างไหมค่ะที่จะทำให้น้องสาว กินยา พอไม่กินยา เเกจะมีอาการเกร็งกล้ามเนื้อ ตัวชา ตาเหลือก ต้องบำบัดวิธีใดบ้างค่ะเพราะน้องสาวไม่ยอมทานยาเลย รบกวนDr.Popช่วยชี้เเนะคำแนะนำหรือสถานบำบัดให้หน่อยน่ะค่ะ(ขอบคุณค่ะ)

 

ขอบคุณคำถามจากคุณ pp ครับ

แนะนำให้พาน้องสาวพบจิตแพทย์ท่านเดิมที่ให้การรักษาด้วยยา เพราะอาการที่กล่าวมาเป็นผลข้างเคียงทางระบบประสาทสรีรวิทยา เมื่ออยู่ในสภาวะไม่ทานยา วิธีการที่น่าจะทำได้คือ การให้กำลังใจและบอกความจริงในการไปพบแพทย์เพื่อให้ยารักษาตามอาการในปัจจุบัน หากน้องสาวไม่เข้าใจและไม่ยอมไป คงต้องปรึกษาเจ้าหน้าที่หรือแพทย์ที่สถานพยาบาลที่เคยรักษาอยู่ว่าจะแนะนำให้นำตัวผู้รับบริการไปได้อย่างไร

 

ขอคำแนะนำในการจัดกิจกรรมกลุ่มบำบัด แก่ผู้ป่วยจิตเวช ค่ะ ให้อยู่ในทักษะการพักผ่อน ที่ทำง่ายๆ แต่ไม่ใช่เกมส์หรือการแข่งขันค่ะ

ขอบคุณมากๆ ค่ะ

ขอบคุณครับคุณ YING

กิจกรรมกลุ่มบำบัดจิตเวชในการเพิ่มทักษะการพักผ่อน เช่น

1. การฝึกคิดทบทวนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้เวลาว่างอย่างไรเพื่อการพักผ่อน ซึ่งแนวคิดการพักผ่อน คือ การใช้เวลาว่างเพื่อการทำกิจกรรมเพื่อร่างกาย สังคม สร้างสรรค์ หรืออื่นๆ ที่ไม่ใช่การนอนหลับและการทำกิจกรรมที่ไม่ออกแรง เช่น การดูทีวี การฟังวิทยุ

2. เมื่อทำข้อ 1 และได้ข้อสรุป ก็แนะนำให้กลุ่มจัดทำตารางการทำกิจกรรมการพักผ่อนที่สามารถทำได้ในบริบทของศูนย์ฟื้นฟูจิตเวช และลองจัดสถานีการทดลองทำกิจกรรมการพักผ่อนประมาณ 3-5 สถานี และให้ลองฝึกพักผ่อนในรูปแบบต่างๆ ในแต่ละสถานีๆ ละ 15-30 นาที แล้ววนเปลี่ยนสถานีใน 2 สัปดาห์ ทั้งนี้ทดสอบความคิดความเข้าใจโดยใช้คำถามปลายเปิดถึงความรู้สึกบวกลบก่อนและหลังพักผ่อนในแต่ละสถานี ผู้จัดกิจกรรมสามารถฝึกจับชีพจรเพื่อทดสอบการผ่อนคลายที่มีอัตราการเต้นที่ควรลดลงไม่น้อยกว่า 60 และไม่มากกว่า 90 ครั้งต่อนาที หากกรณีฝึกไปแล้ว 4 สัปดาห์ไม่ผ่อนคลายก็ต้องแยกฝึก Biofeedback และ Progressive muscle relaxation ครั้งละ 20 นาที จำนวน 4-8 ครั้งต่อเนื่องกันใน 1 สัปดาห์

3. การฝึกทักษะการผ่อนคลายจากข้อ 1-2 แล้ว ก็ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มเพื่อฝึกทักษะการพักผ่อนจากสถานการณ์ชีวิต เช่น ทักษะการพักผ่อนเพื่อจัดการความเครียด ทักษะการพักผ่อนเพื่อจัดการอารมณ์โกรธ ทักษะการพักผ่อนเพื่อจัดการความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการพักผ่อนเพื่อความสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้เวลาว่าง เป็นต้น

4. หากจัดกลุ่มข้อ 3 แล้วไม่มีความก้าวหน้าทางการบำบัดฟื้นฟู แนะนำให้ปรึกษานักกิจกรรมบำบัดเพื่อประเมินทักษะชีวิตอย่างละเอียดพร้อมให้คำแนะนำในการจัดกลุ่มกิจกรรมบำบัดแบบพลวัติและการสานพลังชีวิตต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท