การทำนวัตกรรมประกอบการสอนภาษาไทย


ฉัฐรินทร์

ดิฉันเป็นครูภาษาไทยในโรงเรียนแห่งหนึ่งของจ.ราชบุรี กำลังคิดทำผลงานประกอบการสอน   แต่ยังคิดไม่ตกว่าจะทำแนวทางใด  ระหว่างช่วงชั้นที่ 3 กับช่วงชั้นที่4 ดิฉันจบทางด้านวรรณคดี  ไม่ได้เรียนด้านการสอน ตอนเรียนก็ทำวิจัยด้านวรรณคดีโดยตรง  ถนัดด้านการเขียน การวิเคราะห์เนื้อหามากว่า   อาจารย์พอจะมีวิธีการใดบ้างที่จะเสนอแนะแนวทางในการทำผลงาน คศ.3 เพื่อประโยชน์ต่อผู้เรียนและครูผู้สอน  ข้อพิจารณาประการหนึ่งคือ ครูภาษาไทยส่วนใหญ่ไม่นิยมทำผลงานช่วงชั้นที่ 4 สาเหตุเพราะอะไร   ขณะนี้กำลังตระเตรียมเอกสาร  รอการอบรมเพื่อขอประเมินวิทยฐานะช่วงปลายปีนี้  ขอความกรุณาอาจารย์ไขข้อข้องใจด้วยนะคะ  ชื่นชมในผลงานอาจารย์มากค่ะ   ขอบคุณค่ะ



ความเห็น (15)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

ภาทิพ
เขียนเมื่อ

สวัสดีค่ะ 

ยินดียิ่งที่ได้รับเกียรติในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    ก่อนนี้คราใดที่ดิฉันได้รับการถามจากเพื่อนครูว่า  ถ้าพี่จะทำ อาจารย์ 3 พี่จะทำเรื่องอะไรดี   ดิฉันจะหมดศรัทธาทันที  เพราะสำหรับดิฉันการทำผลงานอาจารย์ 3 คือ การนำผลงานที่เคยนำไปใช้กับนักเรียนแล้วเห็นว่าได้ผล  นำมาพัฒนาต่อยอดอย่างมีระบบระเบียบ แล้วขอผลงานทางวิชาการ   ไม่ใช่ว่า  จะทำผลงานวิชาการเพื่อขออาจารย์ 3  ให้กับตัวเอง คือให้เด็กเต็มที่ เกิดผลดี แล้วให้ตัวเอง

       ไม่จริงที่ว่า ครูทำผลงาน  ช่วงชั้นที่ ๔ น้อย  เพราะในแวดวงดิฉันถ้าเป็นขยันและมีเทคนิคการสอนดี  สอน ม.ปลายแล้วทำงานวิชาการผ่านไปหลายคนค่ะ  ที่ไม่ปรากฏคือเขาไม่ทำ 

       คำแนะนำสำหรับคุณ

        1. สำรวจว่าที่ได้ทุ่มเทให้กับเด็กในช่วงที่ผ่านมาคืออะไร  ชอบทำสื่อ  ผลิตสื่อ     ชอบออกแบบการเรียนการสอน   ชอบสรุปเขียนตำรา  สรุปเนื้อหากฎเกณฑ์    ชอบสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมจากเนื้อหาที่นักเรียนเรียนรู้จากหนังสือ  คือเจาะลึกเฉพาะเรื่องประเภทวรรณคดีมรดก ?
เพราะการทำผลงานในสิ่งที่เราถนัด และกระจ่างจะทำให้ผลงานนั้นบกพร่องน้อยที่สุด  และมีคุณค่าต่อผู้อื่นมากที่สุด

       2.  เนื้อเรื่องเนื้อหาหรือกิจกรรมที่เป็นปัญหาของเด็กคืออะไร  สภาพของเด็กที่สอนเป็นอย่างไร   เราจะแก้อะไร  ตรงไหน แก้อย่างไร  นี่ล่ะคือผลงานทางวิชาการ   ถ้าสภาพแวดล้อมของเด็กเรามุ่งเน้นมหาวิทยาลัย   สิ่งต้องที่ครูต้องจัดทำคืออะไร 

      3. สภาพชุมชน  เป็นชุมชนที่มีวิถีชีวิต  ภูมิปัญาที่เด่นชัดควรอนุรักษ์  สืบทอด  ต่อยอด  หรือไม่  เช่นอยู่ในสังคมของหนังใหญ่  และครูสามารถประสานกับชุมได้  ครูก็นำหนังใหญ่เข้ามาเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาไทยของครู  เอามาเดินเรื่องอย่างมีเหตุผล  (สอนด้วยหนังใหญ่)  เด็กได้แสดงออก  ได้สืบทอดวัฒนธรรม  เด็กสนใจ

    ปัญหาคือดิฉันไม่ทราบว่า  วิถีชีวิตของโรงเรียนครูอยู่อย่างไร  ขอความกระจ่างในเรื่องของบริบทด้วย  จะช่วยได้มากกว่านี้ค่ะ 

      หมู่บ้าน อำเภอที่ตั้งของโรงเรียน  ฐานะทางสังคมโดยทั่วไปของเด็ก   ความพร้อมของโรงเรียน   วิชาที่สอน หมายถึงวิชาหลัก ม. ไหน

 



ความเห็น (16)

ขอแก้ไขคำผิดนะคะ  เพราะรีบตอบ พิมพ์ตกไปเยอะเลย

 

ไม่จริงที่ว่า ครูทำผลงาน  ช่วงชั้นที่ ๔ น้อย  เพราะในแวดวงดิฉันถ้าเป็นคนขยันและมีเทคนิคการสอนดี  สอน ม.ปลายแล้วทำงานวิชาการผ่านไปหลายคนค่ะ  ที่ไม่ปรากฏคือเขาไม่ทำ 

 2.  เนื้อเรื่องเนื้อหาหรือกิจกรรมที่เป็นปัญหาของเด็กคืออะไร  สภาพของเด็กที่สอนเป็นอย่างไร   เราจะแก้อะไร  ตรงไหน แก้อย่างไร  นี่ล่ะคือผลงานทางวิชาการ   ถ้าสภาพแวดล้อมของเด็กเรามุ่งเน้นมหาวิทยาลัย   สิ่งที่ครูต้องจัดทำคืออะไร 

จู๋มสอนภาษาไทย ม.6 ค่ะ สอนนักเรียนโดยใช้เนื้อหาตามหนังสือของกระทรวงศึกษาธิการเพราะเห็นว่าเป็นเนื้อหาที่ครอบคลุมตามหลักสูตรแล้ว จึงได้จัดทำสื่อการสอน/นวัตกรรม โดยการนำเนื้อหามาส่วนใหญ่มาจากหนังสือมาจัดอยู่ในรูปแบบคอมพิวเตอร์ืช่วยสอน(เรียนรู้ผ่านระบบคอมพิวเตอร์) ใช้แล้วได้ผลดี อยากทราบว่า สื่อหรือนวัตกรรมดังกล่าวเราสามารถนำมารายงานผลการใช้เพื่อเข้าสู่ตำแหน่ง คศ. ๓ ได้หรือไม่..

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

เป็นครูคนหนึ่งที่สอน ม.3 ตอนแรกรู้สึกท้อค่ะแต่พอได้อ่านบันทึกแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากอาจารย์ก็ทำให้มีกำลังใจขึ้นมากค่ะ

รับทำสื่อผลงานคศ.3 ราคากันเอง (แผน นวัตกรรม รายงานการใช้ 5 บท)

สำหรับรอบมี.ค. 53 นี้รับเพียง 3 ท่าน

มีสัญญาว่าจ้างอย่างถูกต้อง รับแก้ไขผลงานที่ได้ปรับปรุงหรือเยียวยา

ส่งงานทางไปรษณีย์ แบบ พกง. หรือทางอีเมลล์ แล้วแต่สะดวก

ราคาตกลงกันได้ ไม่แพงอย่างที่คิด พร้อมปริ๊นท์งานให้ดู 1 ชุด

[email protected]

สวัสดีค่ะครูจุ๋ม  ชื่อเหมือนครูภาทิพเลย   เรื่องทำผลงานทางวิชาการนี่ครูภาทิพให้ความรู้ไม่ได้เลยจริงๆค่ะ   ลองสอบถามคนที่เขาตรวจงานหรือประเมินดูนะคะ

 

ครูภาทิพได้แต่ทำอะไรที่ไร้สาระไร้เป้าหมายอย่างนี้เท่านั้น

 

 

สวัสดีค่ะครูชมพู  ดีใจด้วยค่ะที่บันทึกของครูภาทิพช่วยหนูได้บ้าง

 

บันทึกที่ 4  นี้ครูภาทิพไม่เกี่ยวข้องนะคะ  แต่จะไม่ลบ  เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับคุณครูท่านอื่นๆ

 

 

 

ดิฉันกำลังทำหนังสืออ่านเพิ่มเติม (เตรียมทำ คศ.๓ด้วย และนำไปสอนจริงด้วยค่ะ)เรื่องที่มาของสำนวนคำพังเพย เพื่อใช้สอนในวิชาภาษาไทยเพิ่มเติม ม.๒ แต่ดิฉันยังสรุปไม่ได้ว่าควรจะทำหนังสือเล่มละเรื่อง(ที่มา) หรือควรรวมไว้ในเล่มเดียว หรือเลือกหัวข้อที่มาของสำนวนเฉพาะที่น่าสนใจ ดิฉันขอคำแนะนำจากคุณครูด้วยนะคะ

ผู้กำลังรอผลปรับปรุง

ควรทำหนังสือเล่มละเรื่องครับ เพราะได้รับคำแนะนำในการปรับปรุง ในคู่มือและรายงานเขียนเกี่ยวกับเรื่องใดแผนการสอนและนวัตกรรมควรเป็นไปในทางเดียวกัน โดยเฉพาะหนังสืออ่านเพิ่มเติมการใช้คำถามและแบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียนเป็นสิ่งที่ต้องเกี่ยวเนื่องกับนวัตกรรมและเน้นการใช้คำถามขั้นการนำไปใช้ การคิดวิเคระห์ การสังเคราะห์ การประเมินค่า ในขั้นความรู้ ความจำใช้น้อยมาก งานวิจัยที่เกี่ยวข้องก็ต้องเป็นเรื่องของหนังสืออ่านเพิ่มเติมไม่ควรเกิน 10 ปี

สวัสดีค่ะครูอนงค์  ได้รับคำตอบจากเจ้าของบันทึกที่ ๗ แล้วนะคะ

ขอบคุณมากค่ะที่นำความรู้มาบอกกล่าวผู้อื่น   กุศลใดยิ่งใหญ่กว่าการให้ไม่มี

สวัสดีค่ะอาจารย์ ภาทิพ

ดิฉันเรียนศึกษาศาสตร์ภาษาไทยค่ะ ตอนนี้ต้องทำรายงานเรื่องนวัตกรรมการสอนภาษาไทย แต่ดิฉันต้องสอนเด็กญี่ปุ่นค่ะเด็กประถมค่ะ คืออยากจะขอคำแนะนำจากอาจารย์ค่ะ ว่านวัตกรรมความหมายมันจริงๆคืออะไรเอาแบบแคบๆแล้วเข้าใจค่ะ

เพราะในความเข้าใจของดิฉันตอนนี้คือ นวัตกรรมไม่ใช่สื่อแต่ก็คล้ายสื่อการสอนแต่เหมือนการนำเอาสื่อที่มีอยู่แล้วมาปรับปรุงให้เข้ากับการเรียนการสอน อ้อ แผนการเรียนการสอนคือ สอนนักเรียนญี่ปุ่นพูดภาษาไทย โดยเน้นในเรื่อง สีและ7วันในหนึ่งสัปดาห์ค่ะ เวลา1ชั่วโมงค่ะ อาจารย์พอจะแนะนำนวัตกรรมที่พอจะนำมาใช้ในการสอนครั้งนี้ด้วยค่ะ ขอขอบพระคุณมากค่ะ และก็ขอขอบพระคุณครั้งที่แล้วเรื่องการสอนวรรณคดีไทย ทำส่งไปแล้วเป็นที่น่าพอใจสำหรับอาจารย์ที่สอนค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ

ฌิชา

นวัตกรรม ในความคิดของครูภาทิพ  วิธีการ/รูปแบบ/สื่อ/กระบวนการที่ครูคิดค้น หรือพัฒนาขึ้นเพื่อ 

  • แก้ไขปัญหาของผู้เรียน
  • พัฒนาต่อยอดการเรียนรู้ของผู้เรียน
  • เพิ่มเสริมเติมเต็มให้ผู้เรียนได้ความรู้มีทักษะเต็มศักยภาพ

ครูภาทิพไม่มั่นใจที่แนะนำนวัตกรรมได้  เนื่องจากไม่ทราบธรรมชาติและโครงสร้างภาษาญี่ปุ่น

 

        หากจะแนะนำให้นักเรียนญี่ปุ่นพูดภาษาไทย   ก็คงเริ่มจากสิ่งใกล้ตัวเขา

หรือเริ่มจากสิ่งที่เขาสนใจ   อาจจะทำเป็นบทบาทสมมมุติของ ดารา นักร้อง

 หรือจัดสถานการณ์ขึ้นมา  

 

        หากจะนำบทสนทนามาจาก  คู่กรรมก็น่าสนุกนะคะ   โกโบริ  กับอังศุมาลิน      

ได้ความรู้เรื่องภาษาญี่ปุ่นมาว่า   ภาษาพูดของญี่ปุ่นไม่ค่อยมีตัวสะกด

ฉะนั้นการสอนเบื้องต้นคือต้องสอนเรื่องตัวสะกดทั้ง 8 แม่ให้แน่นก่อน

สอนทีละคำเน้นเสียงสะกด ช้าๆ

เช่น   กาง  ง (ให้เสียงขึ้นจมูก)  เกง ง

       คุณ   = คุน เนอะ

      กาย  = กาย เยอะ

      บอก = บอก  เกอะ

     

ฉะนั้นถ้าจะทำนวัตกรรม   แบบฝึกหัดการออกเสียงตัวสะกด ทั้ง 8 มาตรา

ตัวแบบฝึก  อาจจะหาเพลง  สนุกสนานที่คำสะกดมากๆ  เป็นเพลงช้า  เขาจะได้เปล่งเสียงทัน  เช่น โอ๊ยๆ  

   ได้ผลอย่างไรอย่าลืมมาเล่าสู่กันฟังนะคะ  ขอให้ดชคดีค่ะ

 

สู้ต่อไปนะคุณครู

ขอบพระคุณมากค่ะ

จะนำข้อแนะนำเหล่านี้ไปปรับปรุงใช้ค่ะ แต่การใช้เพลงเป็นความคิดที่น่าสนใจมากๆค่ะ

เพราะเป็นการเร้าความสนใจและทำให้นักเรียน จดจำคำศัพท์และได้ฝึกการขยับปากด้วย

ขอบคุณค่ะ

รับทำผลงานทางวิชาการ ครูค.ศ. 3 ระดับช่วงชั้นที่ 1 - 3 ครบวงจร

มีสื่อนวัตกรรมให้เลือกมากมายหลายรูปแบบตามแต่ท่านจะตกลง

ส่งงานให้ตรวจทานเป็นระยะๆ เพื่อนำกับมาแก้ไข ราคา 25,000 บาท

แบ่งการชำระเป็นงวดๆ ได้รับงานก่อน แล้วค่อยจ่าย

ไม่ส่งพกง. ส่งงานให้เลยค่ะ แล้วค่อยมีการจ่ายเงิน สบายใจได้

หมดปัญหาทิ้งงาน โกงเงินแน่นอนค่ะ

บริการรับแก้ไขงานเยียวยาทุกรุ่น ระยะเวลาการทำผลงาน 1 - 2 เดือน (รับเพิ่มอีก 2 คน)

หรือต้องการตัวอย่างผลงานที่ผ่านการประเมินแล้วสามารถขอดูตัวอย่างได้ค่ะ

รับรอบกันยา 53 นี้รับเพิ่มอีกเพียง 1 คน ด่วน!! รีบๆ กันหน่อยนะค่ะ

สวัสดีคะ  อาจารย์ภาทิพ

ดิฉันส่งผลงานครูคศ.3 เรื่องการพัฒนาทักษะการแต่งคำประพันธ์ประเภทกลอนสุภาพและกาพย์ยานี11โดยใช้แบบฝึกทักษะ ระดับม.3 และผลงานไม่ผ่าน ดิฉันไปอบรมเยียวยามาแล้ว  คิดจะทำเรื่องใหม่   หรือเรื่องเดิม  และจะเปลี่ยนเป็นใช้วิธีการสอนเป็นนวัตกรรม หรือใช้นวัตกรรมอย่างไหนดีคะ  บางครั้งดิฉันท้อมาก ยอมรับว่าทำเอง  นำมาสอนเด็กจริง  ดิฉันชอบการแต่งคำประพันธ์มากไม่เก่งนะคะแต่ใจรักในงานประพันธ์ ขอความอนุเคราะห์ช่วยชี้แนะด้วยค่ะจะเป็นพระคุณยิ่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท