วิพากษ์ กับ วิจารณ์ ต่างกันอย่างไร


นมัสการพระคุณเจ้า

ในการทำหลักสูตรใหม่ของสถาบันอุดมศึกษาจะมีข้อกำหนดให้ต้องผ่านกระบวนการ "วิพากษ์หลักสูตร" เหตุใดจึงไม่จัด "วิจารณ์" หลักสูตร เหมือนกับที่มีการทำ "ประชาพิจารณ์"

ใคร่ขอความรู้จากพระคุณเจ้าว่าคำ "วิพากษ์" กับ "วิจารณ์" ต่างกันอย่างไร เมื่อไรควรใช้คำวิพากษ์ เมื่อไรควรใช้วิจารณ์ ขอบพระคุณครับ



ความเห็น (5)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

BM.chaiwut
เขียนเมื่อ

อาจารย์สุรเชษฐ...

คำถามง่ายๆ แต่ตอบยาก...ก็ลองไปค้นมาตอบนิดหน่อย

จาก ปทานุกรม ปาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต ฉบับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ

ในหน้า ๖๙๙ ได้อธิบายไว้ว่า

วิจารณา, -ณํ ...ปัญญาเลือกเฟ้น ตรวจตรา จัดแจง

Vicaranna -nam ... investigation, determination, arrangement, planning, looking after, scheme

และในหน้า ๖๘๘ ได้อธิบายไว้ว่า

วากฺยํ... คำอันบุคคลพึงกล่าว พากย์

Vakyam.....a speech, a sentence 

..........

 นั่นที่ตอบตามคัมภีร์ ถ้าจะตอบตามความเห็นส่วนตัว

วิจารณ์ คำนี้ใช้ตรงศัพท์ก็คือ ตรวจสอบ ใคร่ควรอย่างถี่ถ้วน

วิพากย์ คำนี้ มี วิ อีกตัวเป็น อุปสัค ซึ่งบ่งความหมายว่า วิเศษ แจ้ง ต่าง...ในกรณีนี้ วิ+วากษ์ (พากย์) = วิพากษ์ ก็คือ คำพูดที่แยกแยะ ถ้อยคำนำไปสู่ความเข้าใจ...

แต่ รวมความหมายแล้ว ทั้งสองคำ วิพากย์และวิจารณ์ใช้แทนกันได้

บางครั้งก็นิยมใช้ซ้ำตามสำนวนไทยเป็น วิพากษ์วิจารณ์ ดังเช่นสำนวนไทยอื่นๆ รุกไล่ กีดกัน เบียดบัง โหดร้าย (ลักษณะคำโดด แล้วนำคำที่มีความหมายเหมือนกันมาพูดซ้ำสร้างเป็นคำใหม่เพื่อความหนักแน่น)

.....

ประเด็นที่อาจารย์บอกว่า ทำไม ? จึงไม่ใช้ คำอื่นๆ นั้น ...เรื่องนี้อาจขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจ ดังคำที่ว่า อำนาจคือความถูกต้อง ...

หรืออีกกรณีหนึ่งบางคนนิยมผลิตศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมา ไม่อยากจะใช้คำเก่าๆ ทำนองเชย ไม่ทันสมัย ล้าหลัง...

.....

อันที่จริง คำสำคัญ ทั่วๆ ไป ขึ้นอยู่กับนิยามหรือการให้ความหมายของคำนั้นๆ ว่าเฉพาะกรณีนั้นหมายความว่าอย่างไร ?

เบอร์ทรัลด์ รัสเซลล์ บอกไว้ทำนองว่า ความหมายของคำมีความหมายคลุมเคลือไม่ชัดเจน คล้ายๆ แสงสว่างที่เกิดจากโคมไฟซึ่งแขวนอยู่บนปลายเสาในคืนที่มีลมแรง ดังนั้น เมื่อจะนำมาใช้จะต้องตกลงในความหมายเสียก่อน เพื่อจะได้มีความเข้าใจร่วมกันในกรณีนั้นๆ...

........

อีกอย่างหนึ่ง คำสำคัญ โดยมากเราแปลมาจากภาษาอังกฤษเพื่อเป็นภาษาไทย ซึ่งเรานำบาลีสันสกฤตมาใช้อีกครั้ง ดังนั้น จึงมั่วสุดๆ ...อาตมามีปมด้อยด้านภาษาอังกฤษ กว่าจะรู้เดียงสาคำเฉพาะในปรัชญา ก็เซ็งเรื่องทำนองนี้ไปเลยครับ เช่น

Scepticism เค้าก็แปลกันว่า สงสัยนิยม กังขานิยม วิมตินิยม...

บางทีผู้บัญญัติศัพท์เหล่านี้ก็รู้บาลีสูงเกินไป ใช้ถูกต้องตามความหมาย แต่คนทั่วไปไม่รู้...บางทีผู้บัญญัติก็อวดรู้ ใช้ไม่ถูกต้อง ก็เถียงกัน หรือบางครั้งก็ได้รับความนิยม จึงใช้ผิดมาจนถึงปัจจุบัน 

แค่นี้นะครับอาจารย์...

เจริญพร



ความเห็น (5)

กราบนมัสการหลวงพี่พระมหาชัยวุธ

         พอดีผมมีพจนานุกรมศัพท์ปรัชญา ของราชบัณฑิตยสถาน (พิมพ์ครั้งที่ 4) อยู่ใกล้มือ เลยขอบันทึกข้อมูลเอาไว้ใช้เปรียบเทียบในเชิงวิชาการครับ

.....................................................................................

scepticism; skepticism     วิมตินิยม, กังขาคติ : ทรรศนะที่ถือว่า ความจริงเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่อาจรู้ได้

sceptic; skeptic    นักวิมตินิยม, นักกังขาคติ : คนที่เชื่อในวิมตินิยมหรือกังขาคติ

 ....................................................................................

จึงกราบเรียนมาด้วยความเคารพ

 

P

อาจารย์มีความเห็นมาก็คุยต่อได้ครับ (เพราะหาคนคุยเรื่องทำนองนี้ยาก)

วิมตินิยม และนักวิมตินิยมนี้ เป็นขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการหนึ่งของการคิดเชิงปรัชญาครับ กล่าวคือ

  • ความเชื่อพื้นฐานเดิมๆ (Dogmatism)
  • ลังเล สงสัย กังขา หรือฉงนในความเชื่อเดิมๆ (วิมตินิยม)
  • แยกแยะ ตรวจสอบ ตามนัยวิภาษวิธี (Dialects)
  • ก็จะได้ข้อสรุปใหม่เกิดขึ้น

เค้าเล่าว่า นักวิมตินิยม นี้ คือคนที่รู้มาก แต่ไม่ค่อยยืนยันหรือคัดค้านสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างจริงจัง เค้าพยายามค้นหาคำตอบสิ่งที่เค้าสนใจ...

ที่ขึ้นชื่อก็คือ เดวิด ฮูม นักปรัชญาชาวสะก๊อต แม้ปัจจุบันข้อคิดเห็นของเค้าก็ยังได้รับการยกขึ้นมากล่าวอ้างเสมอ...

การยกข้อสงสัยด้านทฤษฎีความรู้ของเดวิด ฮูมมาถกเถียงในเวียนนา ออสเตรีย เมื่อปี คศ.๑๙๒๔-๒๙๓๖ (Vienna Circle) เป็นนัยสำคัญทำให้เกิด วิชาจิตวิทยาและปฏิบัตินิยมเกิดขึ้น

ปัจจุบันนี้ เริ่มมีนักปรัชญานำข้อสงสัยของฮูมด้านสังคมขึ้นมาวิเคราะห์อีกแล้ว ครับ... เช่น เค้าสำรวจจริยธรรมหลายๆ ท้องถิ่นว่ามีความขัดแย้งกัน แต่มีบางอย่างที่เหมือนกันทำนองนี้....

เช่น ความสงบ ความมีน้ำใจ  ซึ่งเค้าก็ตั้งคำถามว่า สังคมต้องการคุณธรรมเหล่านี้เพื่ออะไร...

...จำไม่ค่อยได้แล้วครับ (ต้องไปปัดฝุ่นหนังสือครับ....)

 อยากหาเพื่อนคุยเรื่องทำนองนี้ครับ

เจริญพร 

นมัสการพระคุณเจ้า

เรียนท่านอาจารย์

ในสมัยพระพุทธกาล  มีการวิพากษ์กันบ้างหรือป่าวครับผม 

แล้วเราจะนำหลักพระพุทธศาสนามาใช้วิพากษ์ได้หรือไม่  เช่น วิพากษ์ภาวะผู้นำ วิพากษ์ภาวะผู้นำกับวิถีชิวิตการทำงาน

แล้วคำว่าผู้นำ  และภาวะผู้นำ ตามหลักพุทธศาสนาอธิบายไว้ว่าอย่างไรบ้างครับ  ผมเห็นแต่เขายกอ้างความหมายแต่ของฝรั่งกันเยอะแยะ ไม่เห็นมีใครกล่าวอ้างจากพระไตรปิฏกเลย หรือจากพระเกจิอาจารย์ที่เป็นคนไทย หรือว่าต้องจบดอกเตอร์ถึงจะกล่าวอ้างได้สงสัยครับผม  กราขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับผมสำหรับคำชี้แนะ

ไม่มีรูป
ไม่แสดงตน

ก็มีอยู่หลายนัย เช่น..

โคจ่าฝูง นำลูกฝูง ข้ามน้ำ ซึ่งจำแนกคุณสมบัติที่ควรและไม่ควร .. ก่อนที่จะนำมาเปรียบเทียบกับผู้นำที่ดีและไม่ดี.....

คุณสมบัติเจ้าอาวาสนัยต่างๆ ซึ่งอาจเทียบเคียงกับความเป็นผู้นำได้....

เปรียบเทียบไม้ใหญ่ในป่ากับไม้อื่นๆ ที่เป็นบริวาร ซึ่งถ้าไม้ใหญ่มีแก่นก็เหมือนผู้นำมีคุณธรรม ทำนองนี้...

อาตมาจำพระสูตรและที่มาไม่ได้... ลองค้นดูเล็กน้อยก็ไม่เจอ...

เจริญพร

ขออนุญาตแจมครับ

คำว่าภาวะผู้นำไม่ปรากฏในพระไตรปิฎก (ค้นหา ถามตรง 3. ข้อความ)

หากอนุมาณเอาว่าสมัยพุทธกาลมีเรื่องความเชื่อที่สุดโต่งอยู่หลากหลาย มีเรื่องวรรณะรุนแรง ประกอบกับพุทธศาสนาเป็นเรื่องของการปฏิบัติตนเพื่อการหลุดพ้น จึงเชื่อว่าธรรมะเรื่องความเป็นผู้นำคงหายากครับ (->สู่ความไม่หลุดพ้น)  เท่าที่ค้นได้ตามสติปัญญา มีบทวิพากษ์เรื่อง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท