The Student as it should be : what do u think about it?


มีแรงบันดาลใจจากการเสวนารอบล่าสุด(ที่ไม่ใช่ รอบอุรุกวัย อิอิ)ในบลอกคุณ น็อต เรื่อง การสอนของอาจารย์แหวว

เพื่อการวิพากษ์นั้นให้เป็นไปอย่างรอบด้านผมขอถามหน่อยถึงทัศนคติของผู้ศึกษาที่ดีในการเรียน ที่เรากำลังเรียนอยู่คุณมีความคิดเห็นอย่างไร

และทำไมถึงเลือกเรียนสาขากฎหมายนี้

ส่วนผมกำลังจะเขียนถึงเรื่องนี้ไว้ไปโพสต์ในบลอกผมเองก็แล้วกัน

 เห็นด้วยมั้ยครับ



ความเห็น (10)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

ดวงเด่น
เขียนเมื่อ

กิ๊กเลือกสาขาระหว่างประเทศเป็นอันดับที่ 1 ของการสอบเข้าป.โทและเลือกสอบที่ธรรมศาสตร์เพียงที่เดียว

ทำไมถึงเลือกเรียนสาขานี้ล่ะ?

เป็นเพราะชอบเรียนตั้งแต่เรียนคดีเมืองหนึ่งกับท่านอาจารย์นพนิธิและอาจารย์พิรุณาแล้ว แม้จะได้คะแนนในวิชานี้ไม่มากไม่น้อยแต่ไม่ใช่สาระสำคัญ แต่เป็นวิชาเเรกที่ทำให้จากอยู่ในกะลาครอบ ต้องแง้มกะลาออกไปเซาะหาหนังสือต่างประเทศ และบทความวิชาการอ่านประกอบทั้งที่อาจารย์แนะนำและนอกเหนือจากที่เรียน โดยเฉพาะอาจารย์นพนิธิท่านจะสอนให้คิดด้วยตัวเองตลอด 

การเลือกเรียนสาขานี้ไม่ใช่เพราะว่าวิชาคดีเมืองหรือคดีบุคคลได้คะแนนแปดสิบหรือเก้าสิบ แต่เพราะรู้สึกว่าวิชานี้เป็นพื้นการอยู่ร่วมกันของประชาคมโลก จนบางครั้งเรารู้สึกว่ามันเกิดเป็นปกติจนไม่รู้สึกว่านี่หรือคือกฎหมายระหว่างประเทศ

นอกจากนี้ชอบอ่านtextภาษาต่างประเทศ รู้สึกว่าท้าทายดี แถมยังได้ข้อคิดใหม่ๆ ที่บ้านเรายังไม่เกิดเป็นประเด็นอีกด้วย และได้ฝึกภาษาให้เชี่ยวชาญโดยไม่เสียเงินกวดวิชาแพงๆอีกด้วย

อีกอย่างหนึ่งคือ เรื่องต่างประเทศไม่ใช่เรื่องไกลตัวเราเลย การดำเนินความสัมพันธ์กับต่างประเทศเราก็ควรจะรู้กรอบหรือระเบียบระหว่างประเทศเสียก่อนจึงจะบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายได้

ทำไมต้องเป็นที่ธรรมศาสตร์?

เพราะสถาบันแห่งนี้เป็นแห่งรวมหนังสือกฎหมายที่ใหญ่ที่สุดของประเทศและมีคณาจารย์ที่มีความรู้ความเชียวชาญมากมายพร้อมที่จะให้ความรู้เต็มที่ และกิ๊กยังคงภูมิใจที่จะอยู่ในร่มแม่โดมแห่งนี้อยู่เพราะความอบอุ่นของอาจารย์ที่มอบให้แก่ศิษย์นั่นเอง

 



ความเห็น (10)

นอตนะครับ

ก่อนอื่นก็ตัดหน้าน้องกิ๊กก่อนเลยละกัน

นอตเลือกเรียนสาขากฎหมายระหว่างประเทศเพราะความชอบครับ  เมื่อก่อนตอนอยู่ปี ๑ ปี ๒ จะสนใจกฎหมายอาญามากๆ  แต่พอเรียนสูงขึ้นเราเริ่มรู้ว่าอะไรที่เราชอบอย่างแท้จริง  และมาชัดเจนตอนที่ได้มีโอกาสเรียนวิชากฎหมายสหภาพยุโรป  และวิชาสิทธิมนุษยชน  ทำให้เราชัดเจนว่าถ้าต้องเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นขอเป็นสาขากฎหมายระหว่างประเทศเท่านั้น...อ้อ ตอนเลือกก็เลือกสาขานี้สาขาเดียวนะครับ  เสียดายเงินครับ  และจะเสียดายยิ่งขึ้นถ้าต้องทำในสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบ

ความชอบเป็นสิ่งสำคัญนะครับ  อย่างน้อยมันเป็นแรงบันดาลใจให้เราได้ในเวลาที่เราเหนื่อยกับมัน  ว่า  "เห้ย...อย่างน้อยสิ่งที่เรากำลังสู้อยู่มันก็เพื่อนสิ่งที่เรารักนะ"  เราจะไม่เสียใจเลยถ้าได้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ

นอต

สงสัยจะต้องส่งให้ อ.นพนิธิและ อ.พิรุณาได้อ่านนะคะ คงดีใจมาก แรงบันดาลใจเป็นสิ่งที่สำคัญค่ะ

วันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๙ จะมีงานเสวนาวิชาการเพื่อ อ.นพนิธิ ดังนั้น ท่านทั้งหลายที่เป็นแฟนคลับของ อ.นพนิธิ น่าจะต้องทำตัวให้ว่างนะคะ จะมีเสวนาเช้าบ่าย ตอนเที่ยงก็ทานข้าวกับ อ.นพ สนใจไหมคะ ?

หนูคนหนึ่งที่จะไม่พลาดค่ะ

แค่งานตัวเองยังปั่นสุดแรงเกิดเลย เลยไม่มีเวลาไปเขียนข้อคิดเห็นในบลอกตัวเองอย่างแยกเป็นเอกเทศ ขออาศัยบลอกสาวสวยประจำสาขากฎหมายระหว่างประเทศของเราเป็นที่แสดงความคิดเห็นแล้วกันนะครับ

 ผมจดจำคำกล่าวของกฤษณมูรติ ปราชญ์เมธีตะวันออก ในหนังสือแด่หนุ่มสาว ไว้ชัดเจนว่า

ระบบการศึกษาปัจจุบัน อาวุธที่สำคัญที่สุดที่การศึกษามอบให้คือความกลัว กลัวจนสุดจิตสุดใจ สร้างอาณาจักรแห่งความกลัว เพื่อควบคุมพลเมืองของตนให้อยู่ภายใต้อำนาจบางประการ

เรากลัวการสอบ เรากลัวอาจารย์ท่านดุด่าและว่า เรากลัวคะแนนเราจะไม่ดี เรากลัวคนที่จบเมืองนอก เรากลัวจะไม่ได้อาชีพที่ดี...สารพัดความกลัว

ความกลัวทั้งหลายสุมรุมทำร้ายจิตใจ ทำให้อ่อนแออ่อนแรงลงทุกวัน

นี่คือความรูสึกที่ระบบการศึกษากระแสหลักมอบให้ ผลิตผลของกระแสการศึกษาเช่นว่านี้ ประเทศทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประเทศหนึ่ง ก็นำมาเด็ดยอด และผลของมันคือมีการติวในทุกหย่อมหญ้าทุกสาขาวิชา แม้แต่ชั้นประถม

ผมคิดเสมอว่า"ส่วนใหญ่" นักศึกษาสังคมไทยนั้นเข้ามารับการศึกษาเพื่อสร้างสถานะบางประการในสังคมเพื่อเลื่อนระดับยกตัวเองไปสู่อีกระดับ

ผมประสงค์เพียงอธิบายว่าเป็นเช่นไร แต่มิได้หมายความว่า "ส่วนใหญ่" เหล่านั้นจะดีหรือไม่ดี(ความดีหรือไม่ดีเป็นชุดตรรกะที่เผด็จการไปหน่อยหากจะตัดสินโดยขาดการศึกษา)

ที่ผมกล่าวเช่นว่านี้ได้เพราะ ผมในฐานะอดีตนักศึกษาปริญญาตรีที่รั้วแม่โดมสุดที่รักของผมและอีกหลายคน ผมทราบดีถึงพฤติกรรมเรียนเพื่อคะแนน เรียนเพื่อสอบ หรือกิจกรรมลงทะเบียนแล้วสอบขาดเรียน ผมเห็นมาในทุกรูปแบบ

แต่ผมเห็นน้อยคนที่ชัดเจนกับ"ความเป็น(being)"ของตัวเองโดยปราศจากการตั้งคำถามต่อสิ่งที่เป็น สิ่งที่เห็น ว่าเป็นสิ่งที่จริงแท้หรือไม่ หรือจริงๆแล้วเราเดินทางไปในชีวิตเรา เราต้องการอะไร อยากเป็นอะไรจริง หากตอบก็จะบอกว่า "หนู/ผม/เรา/กู อยากเป็นผู้พิพากษา อัยการ ลอว์เฟิร์ม" ด้วยเหตุผลอาจเป็นทั้งเงิน ตำแหน่ง หรืออะไรที่คล้ายเช่นว่านั้น(รวมถึงผมด้วย) ทำให้ผมคิดว่าเราขาด"อาชีวปฏิญาณ"อย่างยิ่ง

อยากให้ดูบทความเรื่องนักนิติศาสตร์ในฝัน ของศิษย์เก่าธรรมศาสตร์ พี่อนิรุจ ตันบุตรเจริญนะครับ

http://ratioscripta.blogspot.com/2005_12_01_ratioscripta_archive.html

ผมไม่เคยคาดหวังเพราะรู้ว่าคงอีกหลายโกฐปีที่รัฐ(ความชั่วร้ายที่จำเป็น)จะปรับปรุงการศึกษาให้กับประชาชนได้ดีขึ้น ผมเพียงแต่อยากบอกว่าสิ่งที่เปลี่ยนแปลงชีวิตผมในเรื่องกฎหมายคืออาจารย์และพี่ๆทั้งหลาย

ผมยอมรับว่าผมเป็นคนที่ไม่เคยสนใจเข้าเรียน และอ่านหนังสือของผมอยู่คนเดียว(ไม่ว่าแนวไหน) ไม่ติวกับเพื่อนด้วย ทำให้ผมค่อนข้างมีอีโก้จัดมากในอดีต เชื่อว่าตัวเองถูกอยู่คนเดียว (ผมเกลียดอะไรที่อยู่ในระบบมาก) และจะมองอาจารย์คือหอคอยงาช้างอะไรเทือกนั้น

แต่พอผมได้มีโอกาสทำกิจกรรมมากขึ้น ได้รู้จักท่านอาจารย์หลายคน(รวมถึงรุ่นพี่ที่เป็นอาจารย์ก็หลายคน) ความคิดผมสะเทือน ชีวิตที่ส่ายเรี่ยราด ก็เริ่มมีธงที่ชัดเจน จากคนอ่านหนังสือสะเปะสะปะเพื่อรู้ทุกอย่าง กลายเป็นคนที่อ่านหนังสือช้าลงและพยายามทำความเข้าใจมากขึ้น... ท่านทั้งหลายมีพระคุณกับสิ่งมีชีวิตแขนงขี้เลื่อยในกะลาอย่างผมอย่างสุดล้นพ้นตัว

หลังจากนั้นเริ่มมองโลกมุมใหม่ เริ่มมองผู้คนทั้งหลายอย่างเข้าใจมากขึ้น...ง่ายๆชีวิตผมสุขขึ้นมาก

สิ่งที่สำคัญที่สุดผมได้ใคร่ครวญชีวิตผมอย่างจริงจัง

สุดท้ายผมจึงได้คำตอบว่า ผมจะดำเนินเส้นทางสายนี้เพื่อประโยชน์สุข ไม่ต้องของปวงชนหรอกครับผมไม่ใช่นักการเมืองขี้ฟันของไทย เพียงคนที่ผมรักและที่รักผมก็พอ

เพราฉะนั้นนักศึกษาที่ดีใความหมายของผมคือผู้ศึกษาโดยแท้ ในทางลึกและทางกว้าง มีจิตวิญญาณ อุดมการณ์ (ผมยังรู้สึกว่ามันเหมาะสมกว่าซะอีกหากอยากเป็นปีศาจโดยรู้ฉันต้องการเป็นปีศาจ)

 

 

“ เมื่อฉันเรียนอยู่ปีหนึ่ง
ปัญญาเผอิญพลัดตกลงไปในหลุม
ซึ่งเขาขุดดักเอาไว้
พอปีสอง
หลุมยิ่งลึกขึ้น ปัญญาถูกขวากแหลมทิ่มแทง
พอปีสาม
บาดแผลยิ่งลึกฉกรรจ์
พอปีสี่
เมื่อฉันจบออกจากมหาวิทยาลัย
มีเพียงร่างกายหลงเหลืออยู่
กับลมหายใจไร้ชีวิต ”

กฤษณมูรติ, “แด่หนุ่มสาว”

ผมขออุทิศให้กับหนุ่มสาวทุกคนบนโลกนี้ครับผม ขอให้ในโลกแห่งความเป็นจริงเราอย่าเป็นเช่นนี้เลย

 

ส่วนเหตุผลที่ว่า ทำไมถึงเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ

ตอบให้ง่ายที่สุด คือ ผมชอบ interational affairs

ตอบโดยพึงคำนึงถึงรายละเอียดประการต่อมา คือ

1) ความสำคัญประการหนึ่งของกฎหมาย

ความสำคัญของกฎหมายนั้น คงมิต้องสาธยายเพิ่มเติมในฐานะของผองเราผู้เป็นนักศึกษากฎหมายมากว่าห้าปี เราคงเข้าใจอิทธิพลของมันในทางใดทางหนึ่งไม่มากก็น้อยต่อสังคมที่เราใช้ชีวิตอยู่

กฎหมายเป็นสิ่งสำคัญมากเพราะมนุษย์ทุกคนมิใช่พระศรีอาริยะเมตตรัย เพราะฉะนั้นความขัดแย้งที่ผมเคยกล่าวไปแล้วจึงเกิดขึ้นและธรรมชาติของมนุษย์ หากมองตามแนวคิดของลัทธิวัตถุนิยมประวัติศาสตร์มีแนวโน้มที่มนุษย์จะแก้ไขความขัดแย้งไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น(ไม่ว่า"ดีขึ้น"จะเป็นอย่างไรก็ตาม)

ผมมีความอยากและแรงบันดาลใจในการศึกษากฎหมายเพราะเหตุว่า เราอยากมีความสงบและเท่าที่เห็น นักกม.ปัจจุบันมักจะไม่ใช้วิธีเข้าสู่ปัญหาเพื่อแก้ไขโดยใช้ฐานนี้เท่าไหร่ ส่วนใหญ่ใช้ฐานผลประโยชน์ส่วนตน... ก็ว่ากันไป

เพราะมีอาจารย์ท่านหนึ่งกล่าวกับผมว่า สรรพวิชาทั้งหลายที่เรามีเปรียบดั่งดาบและอาวุธ หากคุณใช้มันเพื่อฆ่า..คุณได้ฆ่า หากคุณใช้มันเพื่อปกป้อง..คุณได้ปกป้อง แต่หากคุณศึกษามันไปถึงระดับหนึ่ง คุณจะวางอาวุธทั้งหลายที่คุณมีหลอมรวมมันเข้าไว้ด้วยกันและจะนำมันมาหยิบใช้เพื่อประโยชน์สุขอีกครั้งเท่านั้น

นั่นคือสภาวะไร้ดาบ...

ผมไม่ทราบว่าผมชอบกฎหมายเหรือไม่เมื่อไหร่โดยสามารถระบุได้แน่นอน แต่ผมรู้สึกว่า วิชาการศึกษาคืออีกหนึ่งอาวุธทางปัญญาของมนุษย์ชิ้นหนึ่ง ที่สามารถสร้างประโยชน์สุขได้ ท่ามกลางอาวุธที่หลากหลาย การเดินทางของชีวิตผมได้นำพาและเดินทางมาฝึกวิชานี้

แน่นอน ชีวิตคนเราเกิดมาเพื่อทำบางสิ่ง(ปราบดาหยุ่น,ชิตแตก)เท่านั้น แต่ผมเห็นชัดว่าบางสิ่งนั้นของผมมีมิติของอาณาจักกฎหมายเป็นส่วนหนึ่งจากทั้งหมด

2) ความสำคัญประการหนึ่งของระบบโลก

เคยมีคำกล่าวจากหนังสือทางศาสนาว่าหลายครั้ง "เราท่านทั้งหลายมีพุทธะอยู่ในตัว" "เราสามารถศึกษาความจริงทั้งมวลได้จากเม็ดทรายเม็ดเดียว"แต่สิ่งเหล่านี้คือภูมิปัญญาตะวันออก

ถึงแม้ปัจจุบันตะวันตกกำลังดำเนินการสู่ตะวันออก(orientalise)(ทฤษฎีโพสต์ โมเดอร์นทั้งหลายกำลังดำเนินไปทางนั้น เช่น deconstruction, post structualism เป็นต้น) กล่าวคือ สังคมตะวันตกกำลังตั้งข้อสงสัยกับการพัฒนาภูมิปัญญาของตนเองว่า พื้นฐานที่แท้ที่เป็นแก่นของความรู้นั้นมันพัฒนามาจากอะไร พยายามถอดรื้อเพื่อสร้างใหม่ แต่มันเป็นเพียงแต่กระแสธารทางประวัติศาสตร์ที่กำลังเริ่มต้นขึ้นและขาดความแน่นอนชัดเจน

ทุกขลาภทั้งหลายที่เป็นผลผลิตจากภูมิปัญญาเช่นว่านั้น มีมากมายเหลือเกินและผลกระทบที่มีนัยยะสำคัญที่สุด คือ "การช่วงใช้"ทุนนิยม เพราะทุนนิยมในตัวของมันเองมิได้เลวร้าย เพียงแต่ระบอบของมันเปิดช่องโหว่ให้การแก่งแย่งชิงดีเพื่อประโยชน์ส่วนตน และการสร้างความมั่งคั่งเสมือนที่กระจุกตัวอยู่แต่บุคคลกลุ่มหนึ่งและเร่งการกระจายคุณภาพชีวิตแย่ๆถาวรไปสู่คนหมู่มากได้มากขึ้นและเร็วขึ้น

เพราะฉะนั้นช่วงเวลานี้ของสังคมโลกผมคิดว่าเป็นcritical moment ในระดับหนึ่งทีเดียว

เมื่อมองพฤกษ์จึงเห็นไพร และปัจจุบันทั้งไพรทั้งพฤกษ์ก็มีความสำคัญเท่ากัน

จึงทำให้เห็นว่าการศึกษาในเชิงระหว่างประเทศทวีความสำคัญสูงขึ้นอย่างมากในเวลาที่รวดเร็ว ในฐานะโลกเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นหมู่บ้านโลกเข้าไปทุกที

ผมถึงอยากเข้าไปศึกษาเพื่อเห็นปัญหาและอยากแสวงหาทางออกหรืออย่างน้อยวิธีการที่จะดำเนินการไปในโลกที่ทุกการตัดสินใจในเชิงระหว่างประเทศสำคัญอย่างยิ่ง เปรียบดั่งการเด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว

3) การพิจารณาศึกษากฎหมายในฐานะ as a whole : นัยยะทางปรัชญาและศาสนาในฐานะอีกแขนงหนึ่งของปรัชญา

คือการบูรณาการทางปัญญาที่หลากหลายเพื่อไปสู่สภาวะ ความจริงที่ไร้ความจริง มีงานของอาจารย์สุวินัย ภรวิลัยและอาจารย์เสกสรรค์ประเสริฐกุลที่ตอกยำความจริงข้อนี้อยู่ เพื่อแก้ปัญหาในความหมายของวิธีการแก้ปัญหาที่แท้จริง ที่มีความยุติธรรมที่ยุติธรรมตามความหมายจริงๆ

อาจจะดูพล่ามๆไปหน่อย แต่นี่ก็น่าจะเป็นเหตุผลพอสังเขปที่ปมเลือกมาเรียนสาขากฎหมายระหว่างประเทศนะครับ

ขออนุญาตกลับไปปั่นงาน(และทำงานด้วย ใช้คอมออฟฟิซอยู่แฮ่ะๆ)

พร้อมยินดีแลกเปลี่ยนด้วยใจที่เป็นสุขครับ เพราะผมอยากเรียนรู้จากพวกคุณทุกคนเสมอถึงมุมองที่หลากหลายครับ

โลกมันอาจจะกว้างใหญ่โดยกายภาพ แต่หัวใจคนเรากายภาพมันสามารถที่จะเป็นขีดจำกัดในการแสดงความยิ่งใหญ่ได้ครับ

เจอกันคร้าบบบบบบ ชุแว้บบบบบบ

 

 

อยากให้น้องๆ ม.๖ที่เตรียมเอ็น...เอ้ย....เเอ๊ดมิชชั่นอ่านเป็นแนวทางท่าจะดีนะแทน

แต่ขอชมว่าให้ภาษาได้เป็นตัวของตัวเองดีนะจ้ะ..อิอิ

งานเขียนของ kraisorn_law มีความเป็นเอกลักษณ์ดีครับ  อ่านไม่กี่ประโยคก็รู้ได้ว่ากำลังอ่านงานเขียนของใคร

เห้อ...งานเราสัปดาห์นี้ เสร็จไม่ทันอ่ะสิ โดนหักคะแนนเลย

นอต

งานเขียนของพี่แทนอ่านแล้วได้ข้อคิดอะไรดีๆเยอะเลย ขอบอกว่าภาษาสุดยอด

ขอบคุณทุกคนค่ะ ที่ร่วมเข้ามาแบ่งปันความคิดเห็นค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท