ชุมชนเดินได้


ชุมชนเดินได้จริงหรือไม่ ?

           จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศไทยตั้งแต่ฉบับแรกจนถึงฉบับที่ 12 (2560 -2564) ซึ่งเป็นปัจจุบัน นั่นคือ โจทย์ของรัฐบาลทุกสมัยที่มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศในทุกๆ ด้านเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งจะประกอบด้วยหลากหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาไม่ว่าจะเป็นระบบเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา หรือแม้แต่การเมืองที่เป็นประวัติศาสตร์อันยาวนานของการเรียกร้องคำว่าประชาธิปไตยก็ตาม อย่างไรก็ตามแผนพัฒนาประเทศยังคงเดินต่อเพื่อจัดการปัญหาและความต้องการของประชาชน เช่น ด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา การสาธารณสุข กฏหมาย ฯลฯ ที่นำไปสู่ความเสมอภาค การเข้าถึง ความยุติธรรม ฯลฯ อันจะนำไปสู่ภาวะความเป็นอยู่ที่ดี และคุณภาพชีวิตที่ดีนั่นเอง              

           คำว่า "ชุมชนเดินได้" ในที่นี่ผมขอใช้คำว่า ชุมชนสามารถดำเนินการพัฒนาชุมชนได้ด้วยตนเอง โดยชุมชนสามารถค้นพบปัญหา จัดลำดับความสำคัญของปัญหา และแก้ปัญหาที่พบในชุมชนได้ และถือว่าเป็นแนวคิดในการสร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชนที่มีความสอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร(รัชกาลที่ 9)

           จะเห็นได้ว่าตั้งแต่อดีตที่ผ่านมาโครงการพัฒนาประเทศจะเป็นการคิดและกำหนดนโยบายไปสู่การปฎิบัติจากส่วนบนหรือกระทรวงนั่นเอง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศและทำให้สูญเสียงบประมาณปีละหลายล้านบาท..ทำให้ผลการดำเนินงานดังกล่าวฯ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงกับสภาพปัญหาและความต้องการของประชาชนหรือชุมชนได้อย่างแท้จริง ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยหลายๆ ท่าน สรุปไว้ว่า ประชาชนเท่านั้นจะรู้ถึงปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหานั้นๆ ได้โดยตรง...จึงนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบใหม่ขึ้น เรียกว่า "การกระจายภารกิจหน้าที่ไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยุคใหม่

            อย่างไรก็ตามเมื่่อมีแนวคิดการกระจายอำนาจการบริหารการปกครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 78 กำหนดว่า “รัฐจะต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น และระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นขึ้นย่อมมีโจทย์ต่อว่าจะดำเนินการอย่างไรกับประชาชนภายใต้เรื่องของประโยชน์ ประสิทธิภาพของการจัดการ หลักความรับผิดชอบในการจัดบริการ (Accountability) หลักความสามารถของท้องถิ่น (Local Capability) หลักการกำหนดระดับของหน่วยจัดบริการที่มีความรับผิดชอบสูงสุด (Optimal accountability) รวมไปถึงการกำหนดขนาดปริมาณของการจัดการ การจำแนกหน่วยกำหนดนโยบายการการจัดบริการออกจากกันการกำหนดหน้าที่ของการจัดบริการสาธารณะของกิจการของบริการสาธารณะ และหลักการแบ่งตามประเภทขององค์การในการเป็นผู้ให้บริการสาธารณะ ทั้งนี้เพื่่อประโยชน์ของประชาชนโดยรวมยังคงต้องพิจารณาถึงการสร้างหลักประกันด้านคุณภาพในการจัดบริการสาธารณะ กล่าวคือ เมื่อราชการส่วนกลาง หรือบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาคยุติการให้บริการสาธารณะบางอย่างลง และส่งมอบบริการสาธารณะให้กับท้องถิ่นเพื่อดำเนินการ สิ่งสำคัญที่เป็นหลักการทั่วไป คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องดำเนินการจัดบริการสาธารณะนั้นให้มีคุณภาพไม่น้อยกว่าสิ่งที่ราชการส่วนกลางเคยทำ ฉะนั้น หลักประกันด้านคุณภาพการจัดบริการจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องยึดถือไว้ หลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานในส่วนของราชการ หรือเป็นมาตรฐานทางวิชาการก็ยังมีความสำคัญในการที่จะไปกำหนดว่าท้องถิ่นจำเป็นต้องทำให้ถึงขั้นต่ำของมาตรฐานนั้นอย่างไรและหลักการแบ่งตามประเภทขององค์การในการเป็นผู้ให้บริการสาธารณะ ทั้งนี้เพื่่อประโยชน์ของประชาชนโดยรวมยังคงต้องพิจารณาถึงการสร้างหลักประกันด้านคุณภาพในการจัดบริการสาธารณะ กล่าวคือ เมื่อราชการส่วนกลาง หรือบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาคยุติการให้บริการสาธารณะบางอย่างลง และส่งมอบบริการสาธารณะให้กับท้องถิ่นเพื่อดำเนินการ สิ่งสำคัญที่เป็นหลักการทั่วไป คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องดำเนินการจัดบริการสาธารณะนั้นให้มีคุณภาพไม่น้อยกว่าสิ่งที่ราชการส่วนกลางเคยทำ ฉะนั้น หลักประกันด้านคุณภาพการจัดบริการจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องยึดถือไว้ หลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานในส่วนของราชการ หรือเป็นมาตรฐานทางวิชาการก็ยังมีความสำคัญในการที่จะไปกำหนดว่าท้องถิ่นจำเป็นต้องทำให้ถึงขั้นต่ำของมาตรฐานนั้นอย่างไรและหลักการแบ่งตามประเภทขององค์การในการเป็นผู้ให้บริการสาธารณะ ทั้งนี้เพื่่อประโยชน์ของประชาชนโดยรวมยังคงต้องพิจารณาถึงการสร้างหลักประกันด้านคุณภาพในการจัดบริการสาธารณะ กล่าวคือ เมื่อราชการส่วนกลาง หรือบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาคยุติการให้บริการสาธารณะบางอย่างลง และส่งมอบบริการสาธารณะให้กับท้องถิ่นเพื่อดำเนินการ สิ่งสำคัญที่เป็นหลักการทั่วไป คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องดำเนินการจัดบริการสาธารณะนั้นให้มีคุณภาพไม่น้อยกว่าสิ่งที่ราชการส่วนกลางเคยทำ ฉะนั้น หลักประกันด้านคุณภาพการจัดบริการจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องยึดถือไว้ หลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานในส่วนของราชการ หรือเป็นมาตรฐานทางวิชาการก็ยังมีความสำคัญในการที่จะไปกำหนดว่าท้องถิ่นจำเป็นต้องทำให้ถึงขั้นต่ำของมาตรฐานนั้นอย่างไรทั้งนี้เพื่่อประโยชน์ของประชาชนโดยรวมยังคงต้องพิจารณาถึงการสร้างหลักประกันด้านคุณภาพในการจัดบริการสาธารณะ กล่าวคือ เมื่อราชการส่วนกลาง หรือบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาคยุติการให้บริการสาธารณะบางอย่างลง และส่งมอบบริการสาธารณะให้กับท้องถิ่นเพื่อดำเนินการ สิ่งสำคัญที่เป็นหลักการทั่วไป คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องดำเนินการจัดบริการสาธารณะนั้นให้มีคุณภาพไม่น้อยกว่าสิ่งที่ราชการส่วนกลางเคยทำ ฉะนั้น หลักประกันด้านคุณภาพการจัดบริการจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องยึดถือไว้ หลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานในส่วนของราชการ หรือเป็นมาตรฐานทางวิชาการก็ยังมีความสำคัญในการที่จะไปกำหนดว่าท้องถิ่นจำเป็นต้องทำให้ถึงขั้นต่ำของมาตรฐานนั้นอย่างไรทั้งนี้เพื่่อประโยชน์ของประชาชนโดยรวมยังคงต้องพิจารณาถึงการสร้างหลักประกันด้านคุณภาพในการจัดบริการสาธารณะ กล่าวคือ เมื่อราชการส่วนกลาง หรือบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาคยุติการให้บริการสาธารณะบางอย่างลง และส่งมอบบริการสาธารณะให้กับท้องถิ่นเพื่อดำเนินการ สิ่งสำคัญที่เป็นหลักการทั่วไป คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องดำเนินการจัดบริการสาธารณะนั้นให้มีคุณภาพไม่น้อยกว่าสิ่งที่ราชการส่วนกลางเคยทำ ฉะนั้น หลักประกันด้านคุณภาพการจัดบริการจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องยึดถือไว้ หลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานในส่วนของราชการ หรือเป็นมาตรฐานทางวิชาการก็ยังมีความสำคัญในการที่จะไปกำหนดว่าท้องถิ่นจำเป็นต้องทำให้ถึงขั้นต่ำของมาตรฐานนั้นอย่างไรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องดำเนินการจัดบริการสาธารณะนั้นให้มีคุณภาพไม่น้อยกว่าสิ่งที่ราชการส่วนกลางเคยทำ ฉะนั้น หลักประกันด้านคุณภาพการจัดบริการจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องยึดถือไว้ หลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานในส่วนของราชการ หรือเป็นมาตรฐานทางวิชาการก็ยังมีความสำคัญในการที่จะไปกำหนดว่าท้องถิ่นจำเป็นต้องทำให้ถึงขั้นต่ำของมาตรฐานนั้นอย่างไรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องดำเนินการจัดบริการสาธารณะนั้นให้มีคุณภาพไม่น้อยกว่าสิ่งที่ราชการส่วนกลางเคยทำ ฉะนั้น หลักประกันด้านคุณภาพการจัดบริการจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องยึดถือไว้ หลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานในส่วนของราชการ หรือเป็นมาตรฐานทางวิชาการก็ยังมีความสำคัญในการที่จะไปกำหนดว่าท้องถิ่นจำเป็นต้องทำให้ถึงขั้นต่ำของมาตรฐานนั้นอย่างไร

              ดังนั้นในการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแผนการกระจายอำนาจฯ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของพัฒนาการของงานด้านการกระจายอำนาจของประเทศไทย ซึ่งต้องการกลไกและมาตรการที่จะพัฒนาขึ้นในอนาคตเพื่อให้การกระจายอำนาจบรรลุผลสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องการความเข้าใจที่ตรงกันและความมุ่งมั่น เชื่อมั่นต่อปรัชญาและคุณค่าของการกระจายอำนาจจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นับแต่รัฐบาลส่วนราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนที่พร้อมจะร่วมกันพัฒนาการกระจายอำนาจโดยผ่านกระบวนการการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องและมั่นคง (ผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย,2547)

               นั่นคือ ถ้าประชาชนในชุมชนเรียนรู้หลักการบริหารจัดการในกรอบแนวคิดของการกระจายอำนาจโดยประชาชนสามารถกำหนดปัญหา ขนาดของปัญหา จัดลำดับความสำคัญของปัญหาและการจัดการโดยการแก้ไขปัญหาอย่างมีส่วนร่วมกัน (Participation) ได้แก่ ด้านการตัดสินใจ ด้านดำนเนินการ ด้านการร่วมรับผลประโยชน์ และด้านการประเมินผล (เทวรินทร์ ไชยะจิตร,2547) ภายใต้การสนับสนุนโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเรียนรู้ควบคู่กับการแก้ไขปัญหาเพื่อถอดบทเรียนพร้อมกับการขับเคลื่อนแนวทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายเมืองไทยแข็งแรง และสอด คล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร(รัชกาลที่ 9) รวมทั้งเกิดกิจกรรมต่าง ๆ และสวัสดิการชุมชนแก่สมาชิกทุกกลุ่มอายุของการพัฒนาขึ้นในชุมชน ตลอดถึงชุมชนมีส่วนร่วมกันในการกำหนดนโยบายสาธารณะขึ้น อันเป็นฐานของการพัฒนาไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงจะถือว่า ชุมชนเดินได้ นั่นเอง ซึ่งคงต้องคอยดูกันต่อไปนะครับว่าประเทศไทยจะสามารถขับเคลื่อนได้หรือไม่อย่างไร หรือว่าจะเป็นเพียงแค่การคาดหวังที่มีลักษณะแค่นามธรรมเท่านั้น แต่ถ้าชุมชนมีความเข้มแข็งจริง กระบวนการพัฒนาที่ดีสามารถเชื่อมโยงกับกิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้า การให้บริการ หรือการอื่น ๆ ภายใต้คณะบุคคลที่มีความผูกพันกันมีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการอย่างเป็นเครือข่าย

ข้อเสนอแนะ

              สำหรับผู้อ่านที่สนใจสามารถนำแนวคิดการพัฒนาชุมชนเพื่อให้ชุมชนเดินได้ หรือชุมชนเข้มแข็ง..ไปศึกษาค้นคว้าต่อยอดในรูปของการวิจัยว่า ชุมชนเดินได้ควรมีลักษณะอย่างไร ปัจจัยอะไรบ้างที่มีอิทธิพล,ผลกระทบหรือเอื้อต่อความสำเร็จของการพัฒนาฯ และแนวคิดของรัฐวิสาหกิจชุมชนมีความสัมพันธ์กันอย่างไรบ้างกับกระบวนการพัฒนาภายใต้นโยบายการ กระจายอำนาจ หรือเมืองไทยแข็งแรงโดยมีประชาชนมีส่วนร่วม รวมไปถึงการรับรู้และความคาดหวังของประชาชนต่อการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งเป็นอย่างไรมากน้อยแค่ไหนและใครบ้างคือผู้ที่จะขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริง

แหล่งอ้างอิง

กองราชการส่วนตำบล กรมการปกครอง.(2545). การตรวจแนะนำแนวทางการส่งเสริมสนับสนุนและกำกับดูแล                    การปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบล . กรุงเทพฯ 

ชูศักดิ์ เที่ยงตรง.(2518). การบริหารการปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เทวรินทร์ ไชยะจิตร.(2547). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมในการสร้างสุขภาพตามนโยบายหลัก                  ประกันสุขภาพถ้วนหน้า : ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลโคกกรวด ตำบลโคกกรวด อำเภอ                      อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา .ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบาย                        สาธารณะ. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข.(2548).แผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการประจำปีงบ                        ประมาณ 2549-2552 ภายใต้ยุทธศาสตร์แห่งชาติ รวมพลังสร้างสุขภาพเพื่อคนไทยแข็งแรง                            เมืองไทยแข็งแรง.

Holloway, William V. State และรัฐบาลท้องถิ่นในสหรัฐอเมริกา นิวยอร์ก. McGraw-Hill 1951

- https: //chaiyajitkumtorn2563.b ...

-------------------------------------------------

-------------------------------------------------



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (0)

ไม่มีคำตอบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท