การขอตรวจDNA


หากบุคคลถือเลขบัตรเลข0 มีญาติซึ่งแปลงสัญชาติไทยได้แล้วและญาติก็เคยถือบัตรเลข6และ7 มาก่อน อยากทราบว่า หากบุคคลข้างต้นที่ถือบัตรเลข0อยากจะขอตรวจDNA เพื่อขอสัญชาติตามญาติที่ได้บัตรประชาชนไปแล้ว สามารถทำได้หรือไม่ เช่น เช่น บุคคลถือบัตรเลข0 มีลูกชาย และอยากจะให้ลูกชายไปตรวจDNA เพื่อขอสัญชาติตามญาติ ได้หรือไม่



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (3)

Phachern Thammasarangkoon
เขียนเมื่อ

หลักการเบื้องต้น การตรวจ DNA คือ

(1) การตรวจ DNA ต้องตรวจกับ "บุพการี" (บิดามารดา หรือ ปู่ย่าตายาย ซึ่งเป็น "ญาติสายตรง") ที่ได้สัญชาติไทยมาก่อนแล้ว ตามหลักสายโลหิตหรือหลักดินแดน ตามมาตรา 7 แห่ง พรบ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 รวมที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 5 พ.ศ. 2555 ซึ่ง "บุพการี" นั้นต้อง มิใช่การได้สัญชาติไทยมาทีหลังจากการ "ขอลงรายการสัญชาติไทย" หรือ "การขอแปลงสัญชาติเป็นไทย" เพราะ มันเป็นกรณี "เฉพาะตัว" มิใช่หลัก "ตามหลักสายโลหิตหรือหลักดินแดน"

(2) การตรวจกับญาติ ก็ต้องเป็นญาติ ที่ได้สัญชาติไทยมาก่อนแล้ว ตามข้อ (1) การตรวจ DNA กับญาติทั่ว ๆ ไป ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวพันกันห่าง ๆ โดยไม่ใช่ "ญาติสายตรง" คงไม่ได้

(3) รายละเอียดให้ไปสอบถามที่ สำนักทะเบียนอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่ตนเองมีชื่ออยู่ เพราะก่อนการตรวจ DNA จะต้องมีการจัดทำ "ผังเครือญาติ" เพื่อดูความสัมพันธ์เกี่ยวญาติกันด้วย "ตามหลักสายโลหิตหรือหลักดินแดน" ตามที่กล่าวในข้อ (1) และ ข้อ (2)

หมายเหตุ หลักการนี้เป็นหลักทั่วไป แต่ในกรณีของ "คนไทยพลัดถิ่น" ที่แต่เดิมได้สัญชาติโดย "การแปลงสัญชาติเป็นไทย" นั้น ผู้เขียนยังเห็นว่า น่าจะใช้การตรวจ DNA เพื่อขอ "สัญชาติไทย" ได้ เพราะ กรณีของคนไทยพลัดถิ่นนั้น ใช้หลักการได้สัญชาติไทยตาม "หลักสายโลหิต" ซึ่งมีกฎหมายสัญชาติรองรับแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2555



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

Phachern Thammasarangkoon
เขียนเมื่อ

อาจตรวจได้ หากเป็นญาติ "สายตรง" (บิดามารดา ปู่ย่าตายาย ทวด) หรือเป็นญาติที่มีจุดร่วมกับ "ญาติสายตรง" ซึ่งญาติคนนั้นต้องได้สัญชาติไทย "ตามหลักสายโลหิต" รายละเอียดต้องจัดทำผังเครือญาติดูก่อน ให้ไปปรึกษาสำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่มีชื่ออยู่



ความเห็น (3)

ในความเห็น หลักในการตรวจ DNA เป็นเรื่องเฉพาะทางของแพทย์ ลำดับแรกสุดคือการตรวจกับ “ญาติสายตรง” เฉพาะ บิดามารดาเท่านั้น (ซึ่งมีสัญชาติไทยตามหลักสายโลหิต) ถ้าตรวจ DNA ได้ ก็ให้ตรวจ แต่ถ้าตรวจ DNA ไม่ได้ เช่น บิดาตาย ก็ตรวจเทียบ DNA จากญาติที่ใกล้ชิดญาติสายตรงเช่นปู่ย่าตายาย เพราะหากตรวจญาติที่ห่างออกไป อาจมีปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือตามหลักวิชาแพทย์

ถ้าจะขอตรวจกับพี่ชายของพ่อ หรือ ลูกของพี่ชายพ่อ สามารถทำได้ไหมครับ และการตรวจDNA ต้องมีความเหมือนกี่เปอร์เซ็๋นถึงจะถือว่าเป็นญาติจริงในการขอทำบัตร

พ่อต้องมีสัญชาติไทยก่อนเราเกิด ต้องตรวจ DNA กับพ่อเท่านั้น กรณีตรวจกับพ่อไม่ได้ เช่นพ่อตาย (พ่อมีสัญชาติไทยก่อนเราเกิด) ก็อาจตรวจเทียบ DNA กับปู่ย่าตายาย หรือ พี่น้องร่วมบิดามารดาของพ่อได้… ทั้งนี้ต้องดูแผนผังเครือญาติด้วย…. โดยนายทะเบียนฯ จะเป็นผู้เห็นชอบให้ไปตรวจ DNA ได้…

Phachern Thammasarangkoon
เขียนเมื่อ

ประเด็นที่สำคัญที่สุดก็คือ
ก่อนการไปขอตรวจ DNA จะต้องมีคำรับรองของ "นายทะเบียนฯ" ให้ตรวจสอบ DNA ได้เสียก่อน มิใช่ทะเร่อทะร่าไปตรวจสอบ DNA เองโดยพลการ เพราะในบางกรณี ไม่ต้องตรวจ DNA ก็สามารถวินิจฉัย "สัญชาติ" ได้จากพยานเอกสาร พยานบุคคลแวดล้อมก็เพียงพอแล้ว... เพราะมิฉะนั้น จะเป็นการ "สร้างภาระ" เกินสมควรแก่ประชาชนตาดำ ๆ ที่เป็น ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ตกทุกข์ได้ยาก...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท