ความแตกต่างระหว่างพนักงานราชการ/ลูกจ้างภารกิจ


คือผมได้อ่านในหลายๆกระทู้ซึ่งความเห็นแตกต่างกันออกไปจึงอยากจะทราบว่าจริงๆแล้ว คำว่าพนักงานราชการกับลูกจ้างภารกิจและพนักงานส่วนท้องถิ่นแตกต่างกันอย่างไร แล้วมีบัตรประจำตัวพนักงานของรัฐ และชุดพิธีการเหมือนกันรึเปล่าครับชอบตอบที


ความเห็น (21)

ลูกจ้างภารกิจ

เป็นคำที่ใช้กับ การบริหารงานบุคลส่วนท้องถิ่นคะ

ซึ่งคล้ายๆกับ ลูกจ้างชัวคราว ต่ความแตกต่างคือ ลูกจ้างภารกิจนั้น จะได้บรรจุก็เมื่อ มีคุณสมบัติ คุณวุฒิ ที่มากกว่าลูกจ้างชั่วคราวคะ

และจะมีกำหนดจ้างที่นานกว่า ลูกจ้างชั่วคราวคะ

ให้ดีควรทำความเข้าใจจากการบริหารทรพยากรมนุษย์ ผส่วนท้องถิ่นเพิ่มเติมดีกว่าคะ)


คำตอบ (1)

บุษยมาศ
เขียนเมื่อ

ถ้าพูดถึงคำว่า พนักงานราชการ แล้ว ก็คือ การจ้างบุคคลของทางราชการ โดยส่วนราชการจะจ้างตามภารกิจ ซึ่งภารกิจจะมี ภารกิจหลัก ภารกิจรอง ภารกิจสนับสนุน แล้วแต่ส่วนราชการจะจ้างพนักงานราชการมาในภารกิจใดข้างต้น ซึ่งก็จะจัดเข้ากลุ่มของพนักงานราชการ...แต่คนส่วนใหญ่ก็จะเรียกว่า "พนักงานราชการ" ค่ะ เพราะรัฐให้คำจำกัดความไว้เช่นนั้น...

สำหรับลูกจ้างภารกิจ พี่ก็ไม่แน่ใจว่า คนที่เรียก พนักงานราชการ ว่า ลูกจ้างภารกิจ ทำไมถึงต้องเรียกแบบนั้น ในความเข้าใจของพี่ ลูกจ้างภารกิจ คือ ลูกจ้างชั่วคราว ซึ่งแตกต่างจากพนักงานราชการ เพราะพนักงานราชการ เขาจะมีการจ้างแบบต่อเนื่องได้ แต่ลูกจ้างภารกิจ เป็นการจ้างตามภารกิจ โครงการ ซึ่งเป็นภารกิจ โครงการ ที่สั้น ๆ หมดภารกิจ โครงการ ก็เลิกจ้าง...พี่ก็ไม่ทราบว่าเข้าใจถูกหรือไม่นะค่ะ...

เพราะปัจจุบันรัฐจะพยายามออกรูปแบบในการบริหารจัดการภาครัฐ เป็นรูปแบบสัญญาจ้างค่ะ เช่น ลูกจ้างภารกิจ พนักงานราชการ แม้แต่พนักงานมหาวิทยาลัย เพราะถ้าเป็นข้าราชการเช่นสมัยก่อน รัฐต้องจ้างยาวถึง อายุ 60 ปี (เกษียณอายุราชการ) เหตุที่จ้างตามสัญญาจ้าง เป็นสาเหตุในเรื่องของการฟ้องร้องกันค่ะว่า ภารกิจ พอหมดสัญญาจ้าง ราชการไม่จำเป็นต้องจ้างต่อค่ะ...สาเหตุอีกอย่างของการเป็นข้าราชการ รัฐต้องจ่ายเงินเดือนยาวถึงอายุ 60 ปี ผลงานที่ทำไม่ได้ผล ก็เอาออกจากราชการไม่ได้ ถ้าไม่ม่ความผิดวินัย...ก็ต้องจ่ายเงินเดือนให้แบบแกรน ๆ เช่นปัจจุบันนี้ไงค่ะ...และข้าราชการบางคนก็ไม่พัฒนาตนเอง บรรจุเริ่มแรกทำงานเช่นใด ปัจจุบันทำงานเช่นนั้น เรียกว่า ไม่ อัพเดรท ตัวเองค่ะ...รัฐจึงนำเอาระบบการจ้างตามสัญญาจ้างมาใช้กับกลุ่มคนดังกล่าวข้างต้นค่ะ...

จึงเป็นสาเหตุให้ปัจจุบันนี้ มีการจ้างแบบหลายหลายมากค่ะ เช่น พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย ลูกจ้างภารกิจ ฯลฯ  แล้วแต่จะอยู่ในส่วนไหนของส่วนราชการค่ะ...

สำหรับความหมายของพนักงานส่วนท้องถิ่น พี่ไปค้นในวิกิพีเดียมาให้ มีดังนี้ค่ะ...

ระบบราชการในประเทศไทย เป็นระบบการทำงานหลักควบคู่ไปกับ ระบบเอกชน และรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการ มีหลายประเภท เช่น ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการการเมือง ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการตุลาการ ข้าราชการอัยการ ข้าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีพนักงานราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่น พนักงานมหาวิทยาลัย ซึ่งมีลักษณะการทำงานที่คล้ายคลึงกันกับข้าราชการ

ไม่รู้ว่าคำตอบของพี่จะตรงใจหรือไม่นะค่ะ...



ความเห็น (20)

ประสิทธิภาพของพนักงานสถาบันอุดมศึกษาแตกต่างกับข้าราชการอย่างไร

ตอบ...คุณเอกชัย...

  • ในความคิดเห็นของผู้เขียนไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ เนื่องจากทั้งพนักงานสถาบันอุดมศึกษากับข้าราชการเป็นบุคลากรภาครัฐทั้งคู่ เพียงแต่ปัจจุบันรัฐพยายามลดอัตรากำลังของข้าราชการลง เพื่อจัดสรรเงินอุดหนุนมาให้มหาวิทยาลัยบริหารจัดการด้วยตนเองให้คล่องตัวขึ้น เช่น การร่างกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ได้เอง โดยไม่ต้องพึ่งกฎ ระเบียบจากส่วนกลาง เป็นการกระจายอำนาจให้กับส่วนราชการบริหารจัดการด้วยตนเอง เพื่อเกิดความยืดหยุ่นในด้านกฎหมาย...
  • ทั้งคู่จะแตกต่างกันในเรื่องสิทธิประโยชน์และสวัสดิการ และการเป็นประเภทของบุคลากรภาครัฐ จึงไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบความแตกต่างกันได้
  • ถ้าจะเปรียบเทียบในเรื่องประสิทธิภาพ ต้องดูภายในมหาวิทยาลัย และต้องดูที่ตัวบุคคลเป็นรายบุคคลมากกว่าค่ะ หรือดูที่ผลการปฏิบัติงานเป็นรายบุคคลค่ะ...

พนักงานสถาบันอุดมศึกษา การว่าจ้างน้อยกว่า ข้าราชการ อธิบายความแตกต่างว่าเป็นอย่างไร

ความแตกต่างระหว่างลูกจ้างชั่วคราว กับลูกจ้างประจำ ที่มีสัญญาจ้าง 3 ปี ทดลองงาน 3 เดือน ถ้าผ่านก็ให้ทำ ปี 1 ประเมินผลทุก 3เดือนอธิบายให้เข้าใจด้วยคับ

ตอบ....คุณเอกชัย...

  • ก่อนอื่นต้องเข้าใจถึงระบบของพนักงานมหาวิทยาลัยก่อนค่ะ พนักงานมหาวิทยาลัยจะมีด้วยกัน 2 ส่วน คือ จากเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย (ในบางมหาวิทยาลัยจะมีค่ะ) และจากเงินอุดหนุน ซึ่งรัฐเป็นผู้จัดสรรให้ เรียกว่า จากเงินงบประมาณแผ่นดิน...ซึ่งในกระบวนการดำเนินการนั้น มหาวิทยาลัยจะใช้ระบบการทำสัญญาจ้างกับพนักงานมหาวิทยาลัย โดยจะจ้าง 1 ปี 3 ปี 5 ปี 6 ปี แล้วแต่ตามที่สภามหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะกำหนด...
  • สำหรับข้าราชการจะได้รับเงินเดือนจากเงินงบบุคลากรที่รัฐจัดสรรให้ ไม่มีการทำสัญญาจ้างเช่นพนักงานมหาวิทยาลัย จะออกจากงานก็ต่อเมื่ออายุราชการครบ 60 ปี (นอกจากมีความผิดวินัย เป็นไปตามกระบวนการลงโทษ จึงทำให้ออกจากราชการก่อนกำหนด)...
  • เหตุที่เพราะพนักงานมหาวิทยาลัยทำสัญญาจ้างเป็นระยะเวลาดังกล่าวหรือเปล่าค่ะ ที่ทำให้ "พนักงานสถาบันอุดมศึกษา การว่าจ้างน้อยกว่า ข้าราชการ" เพราะข้าราชการไม่มีการว่าจ้าง เป็นไปตามระเบียบของข้าราชการฯ ไงค่ะ จนกว่าอายุจะครบ 60 ปี ค่ะ...

ตอบ...คุณเอกชัย...

  • ความแตกต่างระหว่างลูกจ้างชั่วคราว กับลูกจ้างประจำ ที่มีสัญญาจ้าง 3 ปี ทดลองงาน 3 เดือน ถ้าผ่านก็ให้ทำ ปี 1 ประเมินผลทุก 3เดือนอธิบายให้เข้าใจด้วย นั้น หมายถึง
  • สำหรับลูกจ้างประจำ นั้น เป็นไปตามระเบียบของลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2527 และ พ.ศ. 2537 คือ ไม่มีการทำสัญญาจ้าง เป็นการจ้างไปจนถึงอายุครบเกษียณอายุราชการ 60 ปี (จะออกราชการก่อนกำหนดก็ต่อเมื่อได้รับโทษตามที่ได้ระบุไว้ในระเบียบ จะถือว่าพ้นจากการรับราชการค่ะ)
  • สำหรับลูกจ้างชั่วคราว ที่มีสัญญาจ้าง 3 ปี ทดลองงาน 3 เดือน ถ้าผ่านก็ให้ทำ ปี 1 ประเมินผลทุก 3เดือน นั้น หมายถึง มหาวิทยาลัยอาจทำสัญญาจ้างไว้ 3 ปี โดยมีข้อแม้ว่าให้ทดลองงาน 3 เดือน ถ้าผ่านการทดลองแล้ว ในแต่ละปีก็ให้ประเมินผลการปฏิบัติงานแล้วรายงานให้อธิการบดีทราบ ทุก ๆ 3 เดือน เรียกว่า ใน 1 ปี ต้องมีการประเมินถึง 4 ครั้ง เพราะ 1 ปี มี 12 เดือน ทำเช่นนี้ไปจนครบสัญญาจ้าง 3 ปี ไงค่ะ
  • สำหรับการทำสัญญาจ้างนั้น เป็นผลดีต่อส่วนราชการ คือ เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงาน ถ้าลูกจ้างชั่วคราวคนใดทำงานดี มีผลการปฏิบัติงานดี ส่วนราชการก็สามารถจ้าง หรือต่อสัญญาให้ได้ แต่ถ้าลูกจ้างชั่วคราวคนใดไม่มีผลการปฏิบัติงานที่ดี ส่วนราชการก็สามารถเลิกจ้างได้ ไม่เป็นภาระที่จะต้องมาสอบสวนกัน ซึ่งจะเป็นความกันไงค่ะ...เพราะมีระยะเวลากำหนดไว้แล้วตามเวลาการทำสัญญาจ้าง...แต่ถ้าลูกจ้างชั่วคราวคนใดทำงานดี ก็ไม่ต้องกลัวหรอกค่ะว่าส่วนราชการจะให้ออกจากการทำงาน...เป็นการพัฒนาบุคลากรไปในตัวไงค่ะ ว่าคน ๆ นั้น ทำงานแล้วมีความรู้ + ความสามารถ + มีการพัฒนาตนเองเพื่อรับรู้เรื่องราวที่สามารถนำมาปรับใช้ในหน้าที่หรือการทำงานตนเองได้ ไม่ใช่ว่า เมื่อทำงานหรือบรรจุแล้ว ก็ทำเพียงแค่ไปวัน ๆ ไม่มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นไงค่ะ... 

ประสิทธิภาพของพนักงานอุดมการศึกษา ข้าราชการ ลูกจ้างชั่วคราว แตกต่างกันอย่างไร

บอกประสิทธิภาพก่อนนะคับ ประสิทะฺภาพเป็นอย่างไร

ตอบ...คุณเอกชัย...

  • ผู้เขียนจะไม่ขออธิบายเรื่องประสิทธิภาพของพนักงานอุดมศึกษา ข้าราชการ ลูกจ้างชั่วคราว แตกต่างกันอย่างไรนะคะ...เพราะเรื่องแบบนี้ต้องขึ้นอยู่กับการทำวิจัยของแต่ละมหาวิทยาลัยแล้วละค่ะ...
  • ถ้าจะอธิบายจะอธิบายถึง สิทธิประโยชน์ ภาระหน้าที่ ที่มาที่ไปเท่านั้นค่ะ...
  • ประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละมหาวิทยาลัยไม่เหมือนกันค่ะ คงต้องทำวิจัยนะคะ...

พนักงานจ้างตามภารกิจ ของ อปท.นั้น ไม่ได้หมายความว่าเป็นการจ้างชั่วคราว จะมีสัญญาไม่เกิน 4 ปี และถ้าประเมินผ่านก็มีสิทธิต่อสัญญาได้อีกไม่เกิน 4 ปี แล้วก็มีการเลื่อนขั้นเงินเดือน ปี ละ 1 ครั้ง ตามฐานเงินเงินคล้ายกับของข้าราชการ

ผมเป็นพนักงานจ้างภารกิจมา 7 ปีแล้ว ตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าหน้าที่... ตั้งแต่เริมการมีพนักงานตามภารกิจ

ผมคิดว่าระเบียบของพนักงานจ้างภารกิจของ อปท.(องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ยังไม่ชัดเจนเหมือน พนักงานราชการ

ยังไม่มีบัติประจำตัว เครื่องแบบก็ตามที่คณะกรรมการกลางพนักงาน... กำหนด สีกากีเหมือน c1 แต่ไม่มีบั้งที่ไหล่เท่านั้น

การจะเลิกจ้างต้องให้ ก.จังหวัด เป็นผู้อนุมัติ นายก อบต. หรือ เทศบาล ต้องรายงาน คณะกรรมการจังหวัดเพื่อขอนุมัติการเข้า และออกของพนักงานตามภารกิจ

และถ้ามีการเอาออกต้องรอ อีก 5 ปีถึงจะกำหนดกรอบอัตรากำลังขึ้นมาใหม่ได้และจ้า่งคนใหม่ได้ เพื่อเป็นการป้องกันการกลั่นแกล้งของผู้บริหารท้องถิ่น ซึ่งมีวาระ 4 ปี แต่ก็ไม่ดีพอ (ได้ในระดับหนึ่ง)

1.จงระบุปัจจัยการพัฒนาทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพครู

2. จงนำเสนอแนวทางการพัฒนาทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพครู

ช่วยตอบให้ผมหน่อยนะคับ ขอบคุณมากคับ

ตอบ...คุณ jj...

  • อาจจะค่อยเป็นค่อยไปด้วยมังค่ะ เพราะ อปท.ก็เพิ่งเกิดมาไม่นานถ้าเทียบกับระบบราชการไทยในส่วนอื่น ๆ...ก็คงต้องใช้เวลามังค่ะ...ในอนาคตทุกสิ่งทุกอย่างหวังว่าคงดีขึ้นนะคะ...

ตอบ...คุณเอกชัย...

1. อธิบายนโยบายต่างๆ เกี่ยวกับการเสริมสร้างศักยภาพและสมรรถภาพความเป็นครู

2. เสนอแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพและสมรรถภาพความเป็นครู

ช่วยตอบให้ผมหน่อยนะคับ อย่างละอียด

ตอบ....คุณเอกชัย...

  • ลอง serch หาใน net ดูดีกว่าไหมค่ะ...

ผมอยากให้อาจารย์ช่วยคับ เพราะอาจารยก็เป็นครู หน้าจะรู้ในเรื่องนี้คับ

ผมต้องรบกวนหน่อยนะคับ

ตอบ...คุณเอกชัย...

  • ช่วงนี้พ่อไม่สบายมากค่ะ จึงไม่มีเวลาจะคิดอะไรทั้งนั้นเลยค่ะ ขอโทษด้วยนะคะ ให้มีเวลามากกว่านี้จะเข้ามาอธิบายให้ค่ะ...

วิเคราะห์และเปรียบเทียบมาตรฐานวิชาชีพครูกับคุณลักษณะของตน

ทำเป็นตาราง ช่วยผมคิดหน่อยคับคุณครู

ตอบ...คุณเอกชัย...

  • คงเป็นเรื่องเกี่ยวกับ การศึกษาต่อ ใช่หรือไม่
  • ถ้าใช่ คุณควรศึกษาด้วยตนเองนะคะ...(ถ้าเข้าเรียนทุกชั่วโมง อาจารย์ที่ให้คุณหาข้อมูล คงจะต้องแจ้งข้อมูลให้กับคุณพอควรค่ะ) เพราะปัจจุบันเป็นการศึกษาด้วยตนเองค่ะ ในโลกไซเบอร์ มีอะไรให้เรียนรู้อยู่มากมายค่ะ...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท