กจ.2/1 สรุปเครื่องมือทางการบริหารจัดการ(11/08/52)


กจ.2/1 สรุปเครื่องมือทางบริหารจัดการ1 ที่เพื่อนๆนำเสนอเมื่อวันที่ (11/08/52) 1. Activity-Based Management 2. Balanced Scorecard 3. Key Performance Indicators 4. Re-Engineering 5. Knowledge Management 6. Six Sigma 7. Benchmarking


ความเห็น (76)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

ladda pinta
เขียนเมื่อ
not yet answered


ความเห็น (77)
นางสาวประกาย ใจประสิทธิ์ เลขที่ 11 ห้อง กจ.2/1

Balanced Scorecard

 

องค์กรในประเทศไทยนำเอา BSC มาใช้ด้วยวัตถุประสงค์ 2 ประการ

                1. เป็นเครื่องมือในการประเมินผลระดับต่างๆ

                2. เป็นเครื่องมือที่ช่วยเชื่อมโยงระหว่างแผนกลยุทธ์กับแผนปฏิบัติการ ประโยชน์ที่ได้จากการนำ Balanced Scroecard ไปใช้

                1. ช่วยให้ผลการดำเนินงานขององค์กรดีขึ้น

                2. ทำให้ทั้งองค์กรมุ่งเน้นและให้ความสำคัญต่อกลยุทธ์ขององค์กร โดยต้องให้เจ้าหน้าที่ทั่วทั้งองค์กรให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ขององค์กรมากขึ้น และเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ

                3. ช่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และวัฒนธรรมขององค์กรโดยอาศัยการกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายเป็นเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่

                4. ทำให้พนักงานเกิดการรับรู้และเข้าใจว่างานแต่ละอย่างมีที่มาที่ไปอีกทั้งผลของงาน ตนเองจะส่งผลต่อผลการดำเนินงานของผู้อื่นและขององค์กรอย่างไร

........................................................................................

                 KPI คือ  เครื่องมือที่ใช้วัดผลการดำเนินงานหรือประเมินผลการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ขององค์กรซึ่งสามารถแสดงผลขอการวัดหรือการประเมิน ในรูปข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อสะท้อนประสิทธิภาพประสิทธิผลในการปฏิบัติงานขององค์กรหรือหน่วยงานภายในองค์กร

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

·      ความมุ่งมั่นของผู้บริหารในการสร้างดัชนีชี้วัด

·      ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์รวบรวม ประมวลผลวิเคราะห์ข้อมูล แสดงผล และกระตุ้นเตือนผู้รับผิดชอบดัชนีชี้วัด

·      กำหนดเงื่อนไขการให้คะแนนดัชนีชี้วัดแต่ละตัวให้อยู่บนพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้ในการเปรียบเทียบผลงานที่เกิดขึ้นได้

·      ประยุกต์ใช้ดัชนีชี้วัดในการบริหารเพื่อผลักดันให้เกิดการปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่อง

·      เชื่อมโยงผลงานที่ได้จากดัชนีชี้วัดกับการประเมินผลการปฏิบัติงาน

BSC และ KPIs. แตกต่างกันอย่างไรหรือเหมือนกันอย่างไร

                แท้ที่จริงแล้ว BSC ก็คือระบบบริหารหรือเครื่องมือบริหารจัดการชนิดหนึ่งนั่นเอง ที่ต้องอาศัย KPIs. เป็นเครื่องมือที่จะช่วยวัดผลความสำเร็จ

...................................................................................................................................................

Six Sigma

                Six Sigma เป็นกระบวนการทางธุรกิจที่ให้องค์กรต่างๆ ปรับปรุงขีดความสามารถอย่างมหาศาล โดยการออกแบบและตรวจสอบกิจกรรมทางธุรกิจประจำวัน เพื่อลดสิ่งสูญเปล่าและลดการใช้ทรัพยากร แต่ขณะเดียวกันก็เพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า

                Six Sigma เป็นแนวทางชี้แนะให้องค์กรทำให้เกิดข้อ ผิดพลาดน้อยที่สุด ตั้งแต่การจัดข้อมูลคำสั่งซื้อสินค้า ไปจนถึง การผลิตเครื่องยนต์เครื่องบิน โดยการลดช่องโหว่ของคุณภาพตั้งแต่ ที่ปรากฏขึ้นครั้งแรก  Six Sigma ไม่เพียงตรวจจับหรือแก้ไขจุดบกพร่อง แต่ยังนำเสนอวิธีการที่เฉพาะเจาะจง สำหรับการสร้างกระบวนการทำงานใหม่  ให้ไม่มีจุดผิดพลาดตั้งแต่ต้น

 

ประโยชน์ในการนำ six sigma มาใช้ในองค์กร

1.             สมารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ  สร้างกลยุทธใหม่ให้ธุรกิจ

2.             สามารถลดความสูญเสียโอกาสอย่างมีระบบและรวดเร็ว  ในการนำกระบวนการทางสถิติมาใช้

3.             พัฒนาบุคลากรในองค์กรให้มีศักยภาพสูงขึ้น  ตอบสนองกลยุทธได้อย่ารวดเร็ว  และปรับองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้

4.             ช่วยหารระดับคุณภาพของอุตสาหกรรม  โดยสามารถเทียบเข้ากลุ่มอุตสหกรรมได้

แนวทางหลักการของ six sigma

                แนวทางในการปฏิบัติที่เป็นที่นิยมเพื่อบรรลุถึงความสามารถของกระบวนการในระดับของ  six sigma ที่เป็นที่นิยมและยอมรับกันทั่วโลก  ประกอบด้วยกัน  5  ขั้นตอน  ได้แก่

1.             กำหนดเป้าหมาย

2.             การวัดความสามารถของกระบวนการ

3.             กาวิเคราะห์สาเหตุปัญหา

4.             การปรับปรุงโดยเน้นที่ต้นเหตุของปัญหา

5.             การควบคุมกระบวนการที่มีผลกระทบ

Six  sigma  สำเร็จได้ด้วยองค์ประกอบ

1.       ความเป็นผู้นำของผู้บริหารในองค์กร

2.       การสื่อสารภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ  ผู้นำในองค์กรจะต้องใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย    มีความคงเส้นคงวา ต่อเนื่อง   มีความสมบูรณ์  มีความคิดสร้างสรรค์

3.        วางกลยุทธเพื่อมุ่งสู่การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

4.        การตั้งเป้าหมายที่เด่นชัดและกำหนดระยะเวลาที่เป็นรูปธรรม

5.        วิธีการคัดเลือกบุคลากรและกำหนดโครงการให้รับผิดชอบ

....................................................................................................................................................

Knowledge Management : KM

   การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) 

          การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ          

              1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ

              2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ

ประโยชน์ของการจัดการความรู้

1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร 

2. ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา ในกรณีที่บุคคลากรเกษียณอายุ ลาออก หรือเสียชีวิต 

3. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความอยู่รอด

                4. เป็นการลงทุนในต้นทุนมนุษย์

                5. ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจและวางแผนดำเนินงานให้รวดเร็ว และดีขึ้น

                6. ผู้บังคับบัญชาสามารถทำงานเชื่อมโยงกับผู้ใต้บังคับบัญชาให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น

7. เมื่อพบข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน ก็สามารถหาวิธีแก้ไขได้ทันท่วงที 

                8. แปรรูปความรู้ให้เป็นทุน

เพื่อเพิ่มคุณค่า และรายได้ให้กับองค์กร 

9. เพื่อการสร้างสรรค์ และบรรลุเป้าหมายของจินตนาการที่ยิ่งใหญ่

               10. เปลี่ยนวัฒนธรรม จาก วัฒนธรรมอำนาจในแนวดิ่ง

องค์ประกอบหลักในการพัฒนา Knowledge Management
        1. ผู้นำ (Leadership)
        2. วัฒนธรรม (Culture)
        3. การเข้าถึงแหล่งความรู้ (Access)
        4. เทคโนโลยี (Technology)
        5. วัฒนธรรมการเรียนรู้
        6. บรรยากาศอิสระ
ขึ้นตอนการพัฒนา
Knowledge Management
        1. การจัดหาหรือสร้างความรู้
        2. การจัดเก็บ
        3. การเผยแพร่ความรู้
        4. การใช้โปรแกรมการจัดการความรู้

วิธีการจัดการความรู้

             สิ่งสำคัญก็คือต้องให้เกิด การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) ระหว่างกันของบุคคลในองค์กร

1.     การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากวิธีการทำงานแบบ Best Practice 

2.     การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนนักปฏิบัติ” (Community of Practice ; CoP)

....................................................................................................................................................

Activity-Based Management (ABM)

                คือ เครื่องมือที่ใช้ในการตัดสินใจในการปฏิบัติการ บนสารสนเทศกิจกรรมและประเมินมูลค่าเพิ่มของเนื้องานในกระบวนการธุรกิจ ABM ใช้วิเคราะห์คุณลักษณะ วิเคราะห์กลยุทธ์ เทียบเคียงวิเคราะห์การปฏิบัติการ วิเคราะห์ความสามารถทำกำไร วิเคราะห์กิจกรรม และใช้ปรับปรุงกระบวนการ


วัตถุประสงค์หลักของ Activity-Based Management
        1.การขจัดความสูญเปล่า
        2.สร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่มุ่งการปรับปรุงกระบวนการธุรกิจและเกิดผลิตผลดี (Yield) มากขึ้น
        3.ค้นหาสาเหตุหลักของปัญหาและทำการแก้ไข
        4.ขจัดความบิดเบือนที่เกิดจากการตั้งสมมติฐานที่ผิดพลาดและการจัดสรรต้นทุนที่ไม่เหมาะสม


แนวทางการใช้ประโยชน์ ABM 

 1. จะช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจถึงการปฏิบัติงานตามกิจกรรมต่างๆ ได้ดี
         2.
ทำให้สามารถใช้ต้นทุนในการวางแผนพัฒนา กำหนดกลยุทธ์ของกิจการ และพัฒนากิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
       
 3. ทำให้สามารถรู้เป้าหมายหลักในการสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าด้วยต้นทุนที่ลดลง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์ ในด้านต่าง ๆ ได้
       
 4. สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าทั้งด้านราคา และคุณภาพของสินค้า
       
 5. ช่วยด้านระบบต้นทุนกิจกรรมมิได้มุ่งเน้นที่จะลดต้นทุนอย่างเดียว แต่จะมีการปรับปรุง และทบทวนกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศของธุรกิจ

...................................................................................................................................................

Re-engineering

                การเปลี่ยนวิธีการทำงาน (Re-engineering) คือ การออกแบบกระบวนการทางธุรกิจใหม่แล้วนำกระบวนการใหม่ไปปฏิบัติให้เกิดผล เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ โดยมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การลดต้นทุนการดำเนินงานของธุรกิจนั้น

หัวใจสำคัญของ Re-Engineering
        ลักษณะสำคัญหรือจุดเน้นของการรื้อปรับระบบ หรือ การทำรีเอ็นจิเนียริ่งอยู่ที่ การมุ่งปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินงาน การทำความเข้าใจและปรับเปลี่ยนที่แนวคิดพื้นฐาน สมมุติฐาน หรือหลักเกณฑ์เดิม การเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน และการมุ่งสู่ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่


ขั้นตอนในการนำ Re-Engineering มาใช้
        1. การคิดค้นทบทวนใหม่ (Rethink)
        2. การออกแบบกระบวนการทำงานใหม่ (Redesign)
        3. การเสริมเทคโนโลยี(Retool)
        4. การฝึกอบรมบุคลากร (Retrain)


ประโยชน์และข้อดีของ Re-Engineering
        1. เป็นการปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่ทั้งหมด (holistic approach) ที่การปรับเปลี่ยนทีละน้อยอาจไม่ได้แก้ปัญหา
        2. มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า
        3. พนักงานสามารถทำงานได้อย่างเป็นอิสระมากขึ้น
        4. ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงกระบวนการ ซึ่งเป็นหัวใจของการปรับปรุงงาน

..................................................................................................................................................................

Benchmarking

                Benchmarking เป็นกระบวนการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงขององค์กร ในอันที่จะพิจารณาว่า มีสภาพใดบ้างที่จะสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิม และทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับองค์กรอื่น แล้วนำความรู้ที่ได้มาจัดการวางแผนการปรับปรุงองค์กรของเรา ให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลดีขึ้น หรืออาจมองว่า เป็นกระบวนการเปรียบเทียบองค์กรกับหน่วยงานอื่น ในด้านต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะปรับปรุงให้ใกล้เคียง เพื่อเป็นผู้นำที่คนอื่นจะต้องใช้เราเป็น Benchmark ต่อไป

นางสาวสุภัทรา ถาตะถา เลขที่ 25 กจ.2/1

สรุปเครื่องมือทางการบริหารจัดการ

1. Balanced Scorecard

ระบบการบริหารงานและประเมินผลทั่วทั้งองค์กร และไม่ใช่เฉพาะเป็นระบบการวัดผลเพียงอย่างเดียว แต่จะเป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ (vision) และแผนกลยุทธ์ (strategic plan) แล้วแปลผลลงไปสู่ทุกจุดขององค์กรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของแต่ละฝ่ายงานและแต่ละคน

มุมมองของระบบการวัดและประเมินผลใน 4 ด้านหลัก คือ

                มุมมองด้านการเงิน (Financial Perspective; F)

                มุมมองด้านลูกค้า (Customer Perspective; C)

                มุมมองด้านการดำเนินการภายใน (Internal Perspective; I)

                มุมมองด้านการเรียนรู้และพัฒนาการ (Learning and Growth; L)

ประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับจากการใช้ Balanced Scorecard

  •  
    • ช่วยให้มองเห็นวิสัยทัศน์ขององค์กรได้ชัดเจน
    • ได้รับการความเห็นชอบและยอมรับจากผู้บริหารทุกระดับ ทำให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติงานได้สอดคล้องกันตามแผน
    • ใช้เป็นกรอบในการกำหนดแนวทางการทำงานทั่วทั้งองค์กร
    • ช่วยให้มีการจัดแบ่งงบประมาณและทรัพยากรต่าง ๆ สำหรับแต่ละกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม
    •  เป็นการรวมแผนกลยุทธ์ของทุกหน่วยงานเข้ามาไว้ด้วยกัน ด้วยแผนธุรกิจขององค์กร ทำให้แผนกลยุทธ์ทั้งหมดมีความสอดคล้องกัน
    • สามารถวัดผลได้ทั้งลักษณะเป็นทีมและตัวบุคคล

 

2.  Key Performance Indicators

เครื่องมือที่ใช้วัด และประเมินผลการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญขององค์กร ซึ่งสามารถแสดงผลเป็นข้อมูลในรูปของตัวเลขเพื่อสะท้อนประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานขององค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์กร อาจแปลง่าย ๆ ว่า ตัววัดความสำเร็จที่สำคัญ

คุณลักษณะของตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักที่ดี คือ ต้อง "SMART" ได้แก่

1. Specific
ความเฉพาะเจาะจง ตัวชี้วัดควรมีความชัดเจนและมีความหมายมุ่งไปยังสิ่งที่วัด ควรกำหนดตัวชี้วัดให้ชัดเจน ไม่กำกวม เพื่อมิให้เกิดการตีความผิดพลาดและเพื่อสื่อสารความเข้าใจให้ตรงกันทั่วทั้งองค์กร

2. Measurable
เป็นตัวชี้วัดที่สามารถนำไปวัดผลการปฏิบัติงานได้จริง ข้อมูลที่ได้จากการวัดสามารถ นำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้จากตัวชี้วัดอื่นและใช้วิเคราะห์ความหมายทางสถิติได้

3. Attainable ( Achievable )
สามารถบรรลุผลสำเร็จได้ องค์กรไม่ควรใช้ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักที่องค์กรไม่สามารถควบคุมให้เกิดผลได้โดยตรง

4. Realistic
มีความสมจริง ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักมีความเหมาะสมกับองค์กรและไม่ใช้ต้นทุน การวัดที่สูงเกินไป

5. Timely
สามารถใช้วัดผลการปฏิบัติงานได้ภายในเวลาที่กำหนด ควรปรับปรุงตัวชี้วัด ให้ทันสมัยอยู่เสมอ

3.Six Sigma

กระบวนการคุณภาพ Six Sigma จะช่วยให้ผู้บริหารองค์กรหรือเจ้าของธุรกิจ รู้ว่าลูกค้าของคุณต้องการอะไร ช่วยให้คุณมองเห็นความสำคัญของคุณภาพแม้ว่ามันจะเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยก็ตาม และมันจะช่วยให้คุณสามารถควบคุมความผันแปรในกระบวนการของคุณได้เช่นกัน (Greg Brue, 2005 : 2)

กระบวนการมาตรฐานของ Six Sigma
กระบวนการมาตรฐานของ Six Sigma ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนสำคัญ คือ

D : Define

M : Measure

A : Analyze

I : Improve  

C : Control

ซึ่งเรียกย่อๆ ว่า DMAIC โดยมีรายละเอียดในแต่ละขั้นตอน สรุปได้ ดังนี้

Define
D : Define คือ ขั้นตอนการระบุและคัดเลือกหัวข้อเพื่อการดำเนินการตามโครงการ

Six Sigma ในองค์กร โดยมีขั้นตอนการคัดเลือกโครงการ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 โครงการนั้นต้องสอดคล้องกับเป้าหมายหลักขององค์กร (Business Goal)
ขั้นตอนที่ 2 มอบหมายให้ฝ่ายต่างๆ ที่เสนอโครงการไปพิจารณาหากลยุทธ์ (Strategy) ในการดำเนินงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายหลักขององค์กร (ตามขั้นตอนที่ 1)
ขั้นตอนที่ 3 แต่ละฝ่ายนำเสนอกลยุทธ์ในการดำเนินการให้ผู้บริหารทราบ และเมื่อผู้บริหารเห็นชอบแล้ว ให้กลับไปกำหนดพื้นที่ที่จะดำเนินงาน (High Potential Area)
ขั้นตอนที่ 4 ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย หลังจากกำหนดพื้นที่ที่จะดำเนินการได้แล้ว ให้แต่ละฝ่ายกลับไปพิจารณาหัวข้อย่อยที่จะใช้ในการดำเนินการ

Measure
M : Measure เป็นขั้นตอนการวัดความสามารถของกระบวนการที่เป็นจริงในปัจจุบัน ขั้นตอนการวัดจะแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอน Plan Project with Metric คือ การวางแผนและดำเนินการคัดเลือกตัวชี้วัดที่เหมาะสมในการดำเนินการโครงการ
ขั้นตอน Baseline Project คือการวัดค่าความสามารถของกระบวนการที่เป็นจริงในปัจจุบัน โดยวัดผ่านตัวชี้วัดต่างๆ ที่เลือกสรรมาจากขั้นตอน Plan Project with Metric
ขั้นตอน Consider Lean Tools คือ วิธีการปรับปรุงกระบวนการด้วยการใช้เทคนิคต่างๆ ของวิศวกรรมอุตสาหการ
ขั้นตอน Measurement System Analysis (MSA) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากเป็นขั้นตอนการตรวจสอบเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการทำงานว่ามีความปกติหรือไม่ก่อนจะลงมือปฏิบัติงาน
ขั้นตอน Organization Experience หมายถึง ขั้นการนำประสบการณ์ที่ผ่านมาขององค์กร จะช่วยคิดในการแก้ไขปัญหา

ประโยชน์ Six Sigma
        1. แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างกลยุทธ์ใหม่
        2. ลดความสูญเสียโอกาสอย่างมีระบบและรวดเร็ว
        3. พัฒนาบุคลากรในองค์การให้มีศักยภาพสูงขึ้น
        4. ช่วยหารระดับคุณภาพของอุตสาหกรรม
        5. บริหารจัดการและพัฒนาองค์กรโดยใช้ข้อมูลจริง และใช้หลักการทางสถิติ

4.Knowledge Management : KM

   หมายถึง  กระบวนการอย่างมีระบบเกี่ยวกับการประมวลข้อมูล สารสนเทศ ความคิด การกระทำ ตลอดจนประสบการณ์ของบุคคลเพื่อสร้างเป็นความรู้หรือนวัตกรรม และจัดเก็บในลักษณะของแหล่งข้อมูลที่บุคคลสามารถเข้าถึงได้โดยอาศัยช่องทางต่าง ๆ ที่องค์กรจัดเตรียมไว้ เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งก่อให้เกิดการแบ่งปันและถ่ายโอนความรู้ และในที่สุดความรู้ที่มีอยู่จะแพร่กระจายและไหลเวียนทั่วทั้งองค์กรอย่างสมดุล เป็นไปเพื่อเพิ่มความสามารถในการพัฒนาผลผลิตและองค์กร

วัตถุประสงค์และประโยชน์ของการจัดการความรู้

เป้าหมายหลักของการจัดการความรู้ คือ การใช้ประโยชน์จากความรู้มาเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานขององค์การเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันขององค์การ  การจัดการความรู้มีความสำคัญอย่างยิ่ง  ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนาก็ตาม

        วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้   มีดังนี้

                    1.  เพื่อปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานทางธุรกิจที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

                    2. เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ

                    3. เพื่อปรับปรุงเทคนิค  กระบวนการ  โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนำความรู้นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์

หัวใจของการจัดการความรู้

1.  Knowledge is Power :  ความรู้คือพลัง

                  2.  Successful  knowledge  transfer  involves  neither  computers  nor documents  but  rather  in  interactions  between  people. (Thomas H Davenport)

                        :  ความสำเร็จของการถ่ายทอดความรู้ไม่ใช่อยู่ที่คอมพิวเตอร์หรือเอกสาร  แต่อยู่ที่การมีปฏิสัมพันธ์   ระหว่างคนด้วยกัน

                  3.  The  great  end  of  knowledge  is  not  knowledge  but  action

                        : จุดหมายปลายทางสำคัญ  ของความรู้มิใช่ที่ตัวความรู้  แต่อยู่ที่การนำไปปฏิบัติ

  4.  Now   the  definition   of  a  manager  is   somebody   who   makes  knowledge   productive

                        : นิยามใหม่ของผู้จัดการ  คือ  ผู้ซึ่งทำให้ความรู้ผลิตดอกออกผล

KM เป็นลำดับชั้นมาเริ่มแต่ข้อความแรกที่ว่า ความรู้คือพลังหรือความรู้คืออำนาจ ซึ่งเป็นข้อความเป็นที่ยอมรับที่เป็นสากล ทั้งภาคธุรกิจ เอกชน และภาคราชการ จากการยอมรับดังกล่าวมาสู่การเน้นที่ปฏิสัมพันธ์ของคนว่ามีความสำคัญในการถ่ายทอดความรู้กว่าเครื่องมือหรือเอกสารใดและมักกล่าวถึงว่า แม้ความรู้จะถูกจัดระบบและง่ายต่อการเข้าถึงของบุคคล  ต่าง ๆ ดีเพียงใดก็ตาม ถ้ามีความรู้ เกิดความรู้ขึ้นแล้ว หากไม่นำไปใช้ประโยชน์ ก็ไม่ใช่จุดหมายปลายทางของ  ความรู้และที่ชัดเจนก็คือ ประโยคสุดท้ายที่เน้นการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ให้เกิดมรรคผลมีคุณค่า

 

         ประโยชน์ของของ KM

                    1. ป้องกันความรู้สูญหาย : การจัดการความรู้ทำให้องค์การสามารถรักษาความเชี่ยวชาญ ความชำนาญ และความรู้ที่อาจสูญหายไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของบุคลากร  เช่น  การเกษียณอายุทำงาน  หรือการลาออกจากงาน  ฯลฯ

                    2. เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ : โดยประเภท คุณภาพ และความสะดวกในการเข้าถึง ความรู้ เป็นปัจจัยของการเพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจ เนื่องจากผู้ที่มีหน้าที่ตัดสินใจต้องสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพ

                    3. ความสามารถในการปรับตัวและมีความยืดหยุ่น : การทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความเข้าใจในงานและวัตถุประสงค์ของงาน  โดยไม่ต้องมีการควบคุม หรือมีการแทรกแซงมากนักจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานในหน้าที่ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดการพัฒนาจิตสำนึกในการทำงาน

                    4. ความได้เปรียบในการแข่งขัน : การจัดการความรู้ช่วยให้องค์การมีความเข้าใจลูกค้า  แนวโน้มของการตลาดและการแข่งขัน  ทำให้สามารถลดช่องว่างและเพิ่มโอกาสในการแข่งขันได้

                    5. การพัฒนาทรัพย์สิน : เป็นการพัฒนาความสามารถขององค์การในการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่ ได้แก่ สิทธิบัตร  เครื่องหมายการค้า  และลิขสิทธิ์  เป็นต้น

                    6. การยกระดับผลิตภัณฑ์ : การนำการจัดการความรู้มาใช้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และบริการ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มคุณค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ อีกด้วย

                    7. การบริหารลูกค้า : การศึกษาความสนใจและความต้องการของลูกค้าจะเป็นการสร้างความพึงพอใจ และเพิ่มยอดขายและสร้างรายได้ให้แก่องค์การ

                    8. การลงทุนทางทรัพยากรมนุษย์ : การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันผ่านการเรียนรู้ร่วมกัน  การจัดการด้านเอกสาร  การจัดการกับความไม่เป็นทางการเพิ่มความสามารถให้แก่องค์การในการจังและฝึกฝนบุคลากร

 

 

 

5.Re-engineering

                รีเอ็นจิเนียริ่งกระบวนการทางธุรกิจเป็นแนวคิดทางธุรกิจในทศวรรษที่ 1990 แต่ในทางปฏิบัติจริงก็ยังไม่ได้เป็นอะไรที่มากไปกว่าแนวคิดของการพัฒนาคุณภาพทั่วทั้งองค์การ หรือ Total Quality Management (TQM) ซึ่งมุ่งเน้นที่กระบวนการ[2]

Reengineering หรือ การรื้อปรับระบบเป็นคำที่ ไมเคิล แฮมเมอร์ และเจมส์ แชมปี้ ริเริ่ม

 -หัวใจสำคัญของการ Re-engineering อยู่ที่กระบวนการ
ลักษณะสำคัญหรือจุดเน้นของการรื้อปรับระบบ หรือ การทำรีเอ็นจิเนียริ่งอยู่ที่ การมุ่งปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินงาน การทำความเข้าใจและปรับเปลี่ยนที่แนวคิดพื้นฐาน สมมุติฐาน หรือหลักเกณฑ์เดิม การเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน และการมุ่งสู่ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่หรือผลลัพธ์อันใหญ่หลวง
องค์ประกอบ ของ การรื้อปรับระบบ มี 6 ข้อ ดังนี้
-จัดโครงสร้าง ให้เป็น At come เหมาะแก่ประสิทธิภาพ และ Output เหมาะแก่ประสิทธิผล
-มีการกำหนดหน่วยงาน
-หน่วยงานแต่ละหน่วยงาน ต้องมีการเก็บข้อมูล
-เสมือนกระจุกตัว ถามไรรู้หมด
-มีการเชื่อมโยงกระบวนการต่างๆไปพร้อมกัน
-มีลักษณะ Online

ประโยชน์ Re-Engineering
        1. เป็นการปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่ทั้งหมด
        2. มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า
        3. พนักงานสามารถทำงานได้อย่างเป็นอิสระมากขึ้น
        4. ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงกระบวนการ ซึ่งเป็นหัวใจของการปรับปรุงงาน

 

6.Benchmarking

เป็นกระบวนการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงขององค์กร ในอันที่จะพิจารณาว่า มีสภาพใดบ้างที่จะสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิม และทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับองค์กรอื่น แล้วนำความรู้ที่ได้มาจัดการวางแผนการปรับปรุงองค์กรของเรา ให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลดีขึ้น หรืออาจมองว่า เป็นกระบวนการเปรียบเทียบองค์กรกับหน่วยงานอื่น ในด้านต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะปรับปรุงให้ใกล้เคียง เพื่อเป็นผู้นำที่คนอื่นจะต้องใช้เราเป็น Benchmark ต่อไป

การทำ Benchmarking ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆ ได้แก่

1. การเปรียบเทียบวัด (Benchmark) ซึ่งในส่วนนี้ต้องมีการกำหนดตัววัด หรือที่เรียกว่า Key

Performance Indicator (KPIs) ว่าจะเปรียบเทียบกับใคร ในเรื่องใด

2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการปฏิบัติที่ดี/เป็นเลิศ (Best Practices) จากผู้ที่ทำได้ดีกว่า โดย

เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นหลังจากการเปรียบเทียบวัดให้รู้ถึงผู้ที่ทำได้ดีกว่า และเข้าไปเรียนรู้

วิธีการปฏิบัติซึ่งทำให้ประสบความสำเร็จ หรือมีค่า Benchmark สูง เพื่อนำมาใช้ปรับปรุงองค์กรของตนเอง 

ประโยชน์ของการทำ Benchmarking

Benchmarking เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการปรับปรุงองค์กรที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากใน

ปัจจุบัน เนื่องจากทำให้มีการปรับปรุงองค์กรอย่างก้าวกระโดดแต่สำหรับประเทศไทย Benchmarking ยัง

ค่อนข้างเป็นเรื่องใหม่ เริ่มมีการนำเครื่องมือนี้มาใช้ในการปรับปรุงองค์กรอย่างเป็นระบบในช่วง 2-3 ปี

ที่ผ่านมาเท่านั้น แต่ในต่างประเทศมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศ

สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีบริษัท Xerox Corporation เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้บุกเบิกในการใช้เครื่องมือ

 

 

7. Activity Based Management

คือ เครื่องมือที่ใช้ในการตัดสินใจในการปฏิบัติการ บนสารสนเทศกิจกรรมและประเมินมูลค่าเพิ่มของเนื้องานในกระบวนการธุรกิจ ABM ใช้วิเคราะห์คุณลักษณะ วิเคราะห์กลยุทธ์ เทียบเคียงวิเคราะห์การปฏิบัติการ วิเคราะห์ความสามารถทำกำไร วิเคราะห์กิจกรรม และใช้ปรับปรุงกระบวนการ

วัตถุประสงค์หลักของ Activity-Based Management
        1.การขจัดความสูญเปล่า
        2.สร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่มุ่งการปรับปรุงกระบวนการธุรกิจและเกิดผลิตผลดี (Yield) มากขึ้น
        3.ค้นหาสาเหตุหลักของปัญหาและทำการแก้ไข
        4.ขจัดความบิดเบือนที่เกิดจากการตั้งสมมติฐานที่ผิดพลาดและการจัดสรรต้นทุนที่ไม่เหมาะสม

ประโยชน์จากการใช้ ABM

1.จะช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจถึงการปฏิบัติงานตามกิจกรรมต่างๆ ได้ดี

2.ทำให้สามารถใช้ต้นทุนในการวางแผนพัฒนากิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

3.ทำให้สามารถรู้เป้าหมายหลักในการสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าด้วยต้นทุนที่ลดลง

4.สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าทั้งด้านราคา และคุณภาพของสินค้า

5.ช่วยด้านระบบต้นทุนกิจกรรมมิได้มุ่งเน้นที่จะลดต้นทุนอย่างเดียว แต่จะมีการปรับปรุง และทบทวนกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศของธุรกิจ

 

น.ส.เบญจมาศ เขื่อนแก้ว ห้อง กจ.2/1 เลขที่ 9

Balanced  Scorecard

Balanced  Scorecard (BSC) คือ เป็นเครื่องมือทางด้านการจัดการที่ช่วยในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ โดยอาศัยการวัดหรือประเมิน ที่จะช่วยทำให้องค์กรเกิดความสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  และมุ่งเน้นในสิ่งที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์

ประโยชน์ที่ได้จากการนำBalanced Scorecardไปใช้ในองค์กร 

                1.        ทำให้ผลการดำเนินงานขององค์กรดีขึ้น 

                2.        ทำให้ทั้งองค์กรมุ่งเน้น  และ ให้ความสำคัญต่อกลยุทธ์ขององค์กร

                3.        ช่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และ วัฒนธรรมขององค์กร

             4.        ทำให้พนักงานเกิดการรับรู้และเข้าใจว่างานแต่ละอย่างมีที่มาที่ไปอีกทั้งผลของงาน

ตนเองจะส่งผลต่อผลการดำเนินงานของผู้อื่นและขององค์กร

การนำเทคนิค BSC และ KPI ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการองค์การ

1.             การปรับระดับความรู้ของคนในองค์กรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

2.              การจัดตั้งคณะทำงาน

3.              การแปลงวิสัยทัศน์สู่ตัวชี้วัดเชิงกลยุทธ์ระดับองค์กร

4.              การกระจายเป้าหมายจากระดับหน่วยงานสู่ระดับตำแหน่งงาน

KPI หมายถึง เป็นการวัดความก้าวหน้าของการบรรลุปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ หรือผลสัมฤทธิ์ขององค์กร โดยเทียบผลการปฏิบัติงานกับมาตรฐานหรือเป้าหมายที่ตกลงกันไว้ องค์กรสามารถใช้ผลของการวัดและการประเมินความก้าวหน้าของการบรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กร เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงานขององค์กร

ลักษณะของดัชนีชี้วัดที่ดี

1.     สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ขององค์กร

2.     ควรแสดงถึงสิ่งที่มีความสำคัญต่อองค์กรและหน่วยงานเท่านั้น

  1. ต้องมีบุคคลหรือหน่วงงานรับผิดชอบดัชนีชี้วัดทุกตัวที่สร้างขึ้น

………………………………………………………………………………………………………………

Six Sigma

Six Sigma  เป็นแนวทางชี้แนะให้องค์กรทำให้เกิดข้อ ผิดพลาดน้อยที่สุด ตั้งแต่การจัดข้อมูลคำสั่งซื้อสินค้า ไปจนถึง การผลิตเครื่องยนต์เครื่องบิน โดยการลดช่องโหว่ของคุณภาพตั้งแต่ ที่ปรากฏขึ้นครั้งแรก
Six Sigma ไม่เพียงตรวจจับหรือแก้ไขจุดบกพร่อง แต่ยังนำเสนอวิธีการที่เฉพาะเจาะจง สำหรับการสร้างกระบวนการทำงานใหม่ ให้ไม่มีจุดผิดพลาดเกิดขึ้นตั้งแต่ต้น

 ประโยชน์ในการนำ Six Sigma มาใช้ในองค์การ

1. สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างกลยุทธ์ใหม่ให้ธุรกิจ
2. สามารถลดความสูญเสียโอกาสอย่างมีระบบและรวดเร็วโดยการนำกระบวนการทางสถิติมาใช้
3. พัฒนาบุคลากรในองค์การให้มีศักยภาพสูงขึ้นตอบสนองต่อกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็ว และปรับองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
4. ช่วยหาระดับคุณภาพของอุตสาหกรรม โดยสามารถเทียบข้ากลุ่มอุตสาหกรรมได้

แนวทางในการปฏิบัติที่เป็นที่นิยมและยอมรับกันทั่วโลกประกอบด้วย 5 ขั้นตอน  ได้แก่
1. กำหนดเป้าหมาย (Define Target)
2. การวัดความสามรถของกระบวนการ (Measure)
3. การวิเคราะห์สาเหตุปัญหา (Analyze)
4. การปรับปรุงโดยเน้นที่ต้นเหตุของปัญหา (Improve)
5. การควบคุมกระบวนการที่มีผลกระทบ (Control)

………………………………………………………………………………………………………………….

Knowledge Management: KM

Knowledge Management (การจัดการความรู้) หมายถึง กระบวนการอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการประมาลข้อมูล สารสนเทศ ความคิด การกระทำ ตลอดจนประสบการณ์ของบุคคลเพื่อสร้างเป็นความรู้หรือนวัตกรรม และจัดเก็บในลักษณะของแหล่งข้อมูลที่บุคคลสามารถเข้าถึงได้โดยอาศัยช่องทางต่างๆ ที่องค์การจัดเตรียมไว้

ประโยชน์ของการจัดการความรู้
        1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร 
      
2. ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา ในกรณีที่บุคคลากรเกษียณอายุ ลาออก หรือเสียชีวิต 
      
3. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความอยู่รอด
      
4. เป็นการลงทุนในต้นทุนมนุษย์ ในการพัฒนาความสามารถที่จะแบ่งปันความรู้ที่ได้เรียนรู้มาให้กับคนอื่นๆ ในองค์กร
      5. ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจและวางแผนดำเนินงานให้รวดเร็ว และดีขึ้น

องค์กรจำเป็นต้องมีการจัดการความรู้  มีดังต่อไปนี้
1.  ข้อมูล หรือสารสนเทศต่างๆ ที่มีการให้บริการ ซึ่งจะต้องมีลักษณะถูกต้อง ทันสมัย เชื่อถือได้    ยังไม่สามารถบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพสามารถบริการได้ทันท่วงที (Real Time) ได้

2.  ความรู้ หรือทักษะบางอย่างในการทำงานจะเป็นความรู้ที่เป็นของบุคคลเฉพาะคนเท่านั้นบุคคลอื่นๆ ที่ทำงานร่วมกันไม่สามารถที่จะทำงานบางอย่างได้  ถ้าหากว่าไม่มีบุคคล คนนั้น 

3.  ไม่สามารถนำความรู้จากตัวบุคคล  มาจัดเก็บไว้ให้เป็นระบบ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์กับองค์กรได้

4.  ไม่มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน ถ่ายทอดความรู้ วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศในหน่วยงาน
…………………………………………………………………………………………………………………….

Activity-Based Management (ABM)

ABM   เป็นแนวทางมุ่งการจัดการต่อกิจกรรม เพื่อการปรับปรุงมูลค่าที่ส่งมอบสู่ลูกค้าและสร้างผลกำไรให้กับผู้ส่งมอบ การดำเนิน ABM จึงรวมถึงการวิเคราะห์ตัวผลักดันต้นทุน การวิเคราะห์กิจกรรม และการวัดผลการปฏิบัติการ ABM จะถูกใช้สำหรับการติดตามค่าโสหุ้ยและต้นทุนทางอ้อมที่เกิดจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการ
ABM
คือ การบริหารโดยเน้นกิจกรรม โดยพยายามลดกิจกรรมที่ไม่มีคุณค่า หรือไม่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นให้กับองค์การและพยายามส่งเสริมกิจกรรมที่มีคุณค่า หรือสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นให้กับองค์การให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 
ประโยชน์ของABM
   1.  ลดต้นทุน
   2.  ผู้ปฏิบัติการมีความกระตือรือร้น
   3.  เพิ่มประสิทธิภาพ (Productivity)ทั้งด้านการผลิตและบุคลากร
   4.  มอง Interaction ระหว่างหน่วยงาน
   5.  ใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจของผู้บริหารได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
   6.  เกิดประโยชน์ต่อการบริหารงานและบริหารงบประมาณของหน่วยงาน
   7.  เกิด Cost Allocation ที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้น

 ตัวอย่างการใช้ ABM สำหรับธุรกิจค้าปลีก

ABM เป็นกลยุทธ์เชิงรุก (Proactive Strategic) และการตัดสินใจในการปฏิบัติการ (Operation Decision) บนฐานสารสนเทศกิจกรรมและประเมินมูลค่าเพิ่มของเนื้องานในกระบวนการธุรกิจ สำหรับธุรกิจค้าปลีก ABM จะช่วยให้ผู้ค้าปลีกสามารถประเมินค่าใช้จ่ายการออกใบเสร็จ ค่าใช้จ่ายของการจัดวางสินค้า ค่าใช้จ่ายคลังสินค้า และค่าโสหุ้ยการจัดเก็บสินค้า ซึ่งสารสนเทศเหล่านี้ จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถ

 

1.การจัดทำเกณฑ์สมรรถนะ (Performance Criteria) สำหรับผู้ส่งมอบ

2.ให้คำแนะนำผู้ส่งมอบในแนวทางเลือกของแหล่งจัดหาหรือการส่งมอบสินค้า

3.ลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้า

4.สะท้อนค่าใช้จ่ายทางธุรกรรม (Transaction Cost) อย่างถูกต้อง สำหรับการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า

5.แนะนำผู้ส่งมอบในการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ

………………………………………………………………………………………………………………...

Re-engineering

Re-engineering หรือความหมายในภาษาไทยที่เข้าใจกัน คือ การปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานคือ การออกแบบกระบวนการทางธุรกิจใหม่แล้วนำกระบวนการใหม่ไปปฏิบัติให้เกิดผล เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ โดยมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การลดต้นทุนการดำเนินงานของธุรกิจนั้น

Re-engineering หรือ การรื้อปรับระบบ หมายถึงการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมต่างๆ เป็นการทำเพื่อความอยู่รอดขององค์การ

หัวใจสำคัญของการ Re-engineering อยู่ที่กระบวนการ
ลักษณะสำคัญหรือจุดเน้นของการรื้อปรับระบบ หรือ การทำรีเอ็นจิเนียริ่งอยู่ที่ การมุ่งปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินงาน การทำความเข้าใจและปรับเปลี่ยนที่แนวคิดพื้นฐาน สมมุติฐาน หรือหลักเกณฑ์เดิม การเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน และการมุ่งสู่ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่หรือผลลัพธ์อันใหญ่หลวง

องค์ประกอบ ของ การรื้อปรับระบบ มี 6 ข้อ ดังนี้
-จัดโครงสร้าง ให้เป็น At come เหมาะแก่ประสิทธิภาพ และ Output เหมาะแก่ประสิทธิผล
-มีการกำหนดหน่วยงาน
-หน่วยงานแต่ละหน่วยงาน ต้องมีการเก็บข้อมูล
-เสมือนกระจุกตัว ถามไรรู้หมด
-มีการเชื่อมโยงกระบวนการต่างๆไปพร้อมกัน
-มีลักษณะ Online

ข้อดีของ Re-engineering
-เป็นการปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่ทั้งหมด ที่การปรับเปลี่ยนทีละน้อยอาจไม่ได้แก้ปัญหา
-มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า
-พนักงานสามารถทำงานได้อย่างเป็นอิสระมากขึ้น
-ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงกระบวนการ ซึ่งเป็นหัวใจของการปรับปรุงงาน

………………………………………………………………………………………………………………….

Benchmarking

Benchmarking คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ และวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ จากองค์กรอื่นภายใต้กฎกติกาสากล  เป็นกระบวนการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงขององค์กร ในอันที่จะพิจารณาว่า มีสภาพใดบ้างที่จะสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิม และทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับองค์กรอื่น แล้วนำความรู้ที่ได้มาจัดการวางแผนการปรับปรุงองค์กรของเรา ให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลดีขึ้น หรืออาจมองว่า เป็นกระบวนการเปรียบเทียบองค์กรกับหน่วยงานอื่น ในด้านต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะปรับปรุงให้ใกล้เคียง เพื่อเป็นผู้นำที่คนอื่นจะต้องใช้เราเป็น Benchmark ต่อไป
ประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำ Benchmarking
1. ทำให้องค์กรนั้นๆ นำข้อมูลที่ได้รับจากการทำ Benchmarking มาปรับปรุงองค์กรของตน โดยความรู้เหล่านี้เกิดจากการเปรียบเทียบองค์กรของตนกับองค์กรที่เลือกทำการ Benchmarking เพื่อเกิดแนวทางในการปรับปรุงกลยุทธ์ด้านต่างๆ
2. ทำให้สามารถมองภาพรวมขององค์กรของตนได้อย่างชัดเจนว่า ควรดำเนินไปในทิศทางใด ซึ่งการทำ Benchmarking จะช่วยให้องค์กรเกิดการเรียนรู้สิ่งที่ดีๆ จากหน่วยงานอื่น
3. ช่วยให้เกิดความพร้อมในการรับสภาพต่อการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

นางสาวจุฑามณี ขัดตา เลขที่ 4 กจ 2/1

BSC และ KPI

                การนำเสนอแนวความคิด แบบหนึ่งที่ใช้ ในการ วัดค่าผลสำเร็จของการปฏิบัติงาน ซึ่งโดยปกติ นิยมวัด ที่ Finacial Ratios ต่างๆเช่น ROI (Return On Investment) EPS (Ernings Per Share) ซึ่งพวกนี้เป็นปัญหาหนึ่ง ในอันที่จะ ไม่เอื้อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) และนวัตกรรม (Inovation)ใหม่ๆ จุดนี้เองเมื่อปี 1992 Kaplan (Phd., EE Engineer) แห่ง Harvard และ Mr.Norton ได้ช่วยกันคิดวิธีการในการประเมิณผลการปฏิบัติงานในรูปแบบ Balance Scorecard (BSC) และ Key Performance Indicator (KPI) ขึ้นมา โดยตัว BSC จะเน้นในมุมมองแม่บท 4 ด้าน กล่าวคือ
1 มุมมองด้านลูกค้า (Customer perspective) โดยดูที่ ลูกค้ามองมาที่กิจการของเราอย่างไร? How customer see us ?
2 มุมมองภายใน (Internal perspective) โดยดูที่ กิจการของเราเป็นเลิศด้านใด? What must we execl at ?
3 กิจการด้านใดยังสามารถพัฒนาให้เกิดคุณค่าเพิ่มต่อไปได้ Can we continue to improve and create value? โดยเป็นมุมมองด้าน นวัตกรรมและการเรียนรู้ Innovation and Learning perspective
4 มุมมองด้านการเงิน Financial Perspective โดยพยายามดูผลรวมค่าใช้จ่ายหรือรายรับในแต่ละ กิจกรรม

                ทั้งหมดนี้ต้อง มีตัววัดผลการปิฎิบัติงาน (Key Performance Indicator [KPI] ) เพื่อเป็นตัวช่วยในการผลักดัน และตัววัดผลนี้ต้องสามารถ แจ้งให้เห็น สถานะทั้งหมด เช่น อดีต ปัจุบัน และ แนวโน้มในอนาคต เรื่องตัววัดนี้ถ้ามีจำนวนมากและหลายหน่วยวัด ให้ใช้ค่าดัชนีเข้ามาช่วยเพื่อให้เห็นเป็นตัวชี้วัดสรุปรวม ตัววัดผลนี้ยังอาจ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ 1. กลุ่มที่เป็นค่าวัดผลรวมสรุป ซึ่งจะได้ค่าต่อเมื่องานนั้นเสร็จไปแล้ว( Laging indicator ) เช่น จำนวนสินค้าที่ผลิตได้, จำนวนรวมของ ของเสียที่เกิดขึ้น และ 2. กลุ่มที่เป็นค่าวัดผลแล้วแสดงให้เห็นถึง แนวโน้มในอนาคต ( Lead indicator ) เช่น จำนวนสินค้าที่ผลิตต่อชั่วโมง จำนวนของเสียที่เคยเกิดสูงสุดต่อชั่วโมง ระยะเวลาที่เร็วที่สุดในการผลิตสินค้าต่อร้อยชิ้น เป็นต้น หรืออาจมองว่ากลุ่มตัววัดนั้น อาจมองในแง่ผลดี (Positive) และในแง่ผลลบหรือผลเสีย ( Negative ) ทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยเลือกตัววัดผลที่ มีประโยชน์สูงสุด และง่ายต่อการเก็บข้อมูล
ข้อมูลต่างๆ ที่เห็นภาพรวมทั้งหมดนั้น จะนำมารวบรวมเพื่อเสนอ ในรูปห้องศูนย์รวมข้อมูล (Management Cockit Room) จากนั้นข้อมูลสารสนเทศต่างๆ จะถูกนำมาใช้เพื่อ การบริหารแบบ แนวนอน ตัดผ่านไปตามแผนกต่างๆ ( Cross Function Integration ) การบริหารแบบหุ้นส่วนสัมพันธ์ การค้าเสรีระดับโลก Enterprizr Scale และการผลักดันทีมงาน ทั้งหมดนี้ เป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างและนำเอา ระบบวัดผลเชิงดุลภาพ/ ดัชนีวัดความสำเร็จ นี้มาทำให้สำเร็จและเกิดประโยชน์

ปัญหาส่วนใหญ่ที่ระบบ การวัดผลแบบทางการเงินทั่วไป มีคือ
1 .ข้อมูลล่าช้า ไม่สามารถช่วยป้องกันการเกิดปัญหาล่วงหน้าได้ เช่น ข้อมูลปิดเดือนด้านการเงิน
2 .ข้อมูลเป็น Snap Short หรือเป็น Static อาจตกแต่งได้ (creative accounting)
3 .ไม่สนใจ Intellectual Asset ( มูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา ที่เป็นการค้นคิดภายในองค์กร )
4 .ไม่ค่อยมีการประเมินแบบ Value Engineer / Matrix = [ Quality * Satifaction * Image ] / [ Time * Cost ]
5 .ไม่มีข้อมูลแบบ เชื่อมโยง Integration กับทุก ส่วนขององค์กร
6 .ขาดแม่บทในการวัดผลที่จะสะท้อนในลักษณะ cause/effect และเชื่อมโยงทั้งหมด

แนวทางการ Implement BSC / KPI
1. นำเสนอ ความคิดต่อผู้บริหาร Sale BSC concept to Topmanagement
2. จัดอบรมภายใน In house training + Work shop
3. จัดตั้งทีมงาน Set BSC team with empowerment
4. วางแผน วิสัยทัศน์ / กลยุทธ์ที่จะเป็นภาระกิจรองรับ Defind Vision / Mission Strategy
5. เขียนแผนผัง รายละเอียดวิสัยทัศน์ Create strategy map ( ดังรูป BSC Map )
6. วางตำแหน่ง จุดยืนธุรกิจ ว่ามุ่งเน้นด้านใด ( ผู้นำสุดยอด Leadership, มุ่งความแตกต่าง Product difference, มุ่งเน้นเฉพาะกลุ่ม Focus, เสนอทางเลือก Alternative )
7. ออกแบบ KPI Chart ( ดังรูป KPI Chart )
8. พยายามเริ่มในหน่วยงานที่ใกล้ชิดลูกค้า ก่อนโดยไม่ต้องเริ่มหมดทั้งองค์กร ในช่วงแรกๆ จากนั้นเริ่มขยายต่อ โดย มองตาม Value Chain ไปสู่แต่ละหน่วยงาน ซึ่งเน้นที่หน่วยงาน ที่ สร้างมูลค่าเพิ่มต่อองค์กร สูงสุดก่อน
9. วางแผนผลักดัน และเอื้ออำนวยให้เกิด นวัตกรรมใหม่ Inovation และ การเรียนรู้ Learning growth เช่น Strategy awareness Goal alignment Staff competencies Technology Infrastructur

,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,

 

 

 

 

Six Sigma

 (Six Sigma) หมายถึงระดับคุณภาพของกระบวนการผลิตที่ยอมให้มีของเสียในระบบได้เพียง 3.4 ชิ้นต่อการผลิตสินค้าล้านชิ้น และนอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือช่วยธุรกิจ ให้สามารถแก้ปัญหาคุณภาพของระบบของการปฏิบัติการได้อีกด้วย

                Sigma ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจจะสามารถสรุปข้อมูลใน 2 เรื่อง คือ

1. ค่าที่ควรจะเป็นของกลุ่มข้อมูล หรือค่าแนวโน้มศูนย์กลาง( Central Tendency ) ซึ่งสามารถวัดได้ด้วยสถิติ เช่น ค่าเฉลี่ย ( Average ) หรือ มัชณิม ( Mean )

2. ค่ากระจายของข้อมูล ( Dispersion ) ซึ่งเป็นการพิจารณาว่าข้อมูลนั้นมีการเกาะกลุ่มกันมากน้อยเพียงใด โดยสามารถวัดได้ด้วยสถิติหลายตัว เช่น พิสัย ( Range ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( Standard Deviation ) ซึ่งใช้สัญลักษณ์ Sixma เป็นตัวแทน ในการตีความข้อมูล ผู้วิเคราะห์จะดูว่าการกระจายของข้อมูลรอบๆค่าแนวโน้มสูาศูนย์กลาง มากน้อยเพียงใดจากตัวเลข Sixma เช่น ถ้ามีค่ามากแปลว่ามีการกระจายข้อมูลมาก ข้อมูลส่วนใหญ่จะอยู่ห่างจากค่าเฉลี่ย แต่ถ้าค่า Sixma มีค่าต่ำ แสดงว่าข้อมูลมีการเกาะกลุ่มกันอยู่ใกล้ๆกับค่าเฉลี่ย โดยการคำนวณหาค่า Sigma

                Six Sigma คือ กระบวนการเพื่อลดความผิดพลาด (Defect) ที่เกิดขึ้นในกระบวนการต่างๆโดยมุ่งเน้นให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุดและมีความสูญเสียได้ไม่เกิน 3.4 หน่วยในล้านหน่วย หรือเรียกอีกอย่างว่า ความสูญเสียโอกาสลงให้เหลือเพียงแค่ 3.4 หน่วยนั่นเอง (Defect per Million Opportunities, OPMO) สัญลักษณ์ที่นิยมใช้กันทางสถิติคือ Sigma ตามความหมายของ Six Sigma ตามสถิติหมายถึงขอบเขตข้อกำหนด (Specification Limit) และการแจกแจงปกติ (Normal Distribution) ขอบเขตข้อกำหนดบนมีค้าเป็น 6 หมายถึง ที่ระดับ Sigma มีของเสียงเพียง 0.022 ชิ้น จากจำนวนของทั้งหมด 1,000,000 ชิ้น
นอกจากนี้การประยุกต์ใช้ Six Sigma ภายในองค์การยังช่วยให้บริษัทสามารถตรวจสอบปัญหาภายในบริษัทด้วยข้อมูลที่แม่นยำและเชื่อถือได้ (Data - Driven Business) แล้วทำการวิเคราะห์ปัญหาโดยหลักสถิติ (Statistical analysis Process) เพื่อการปรับปรุงและควบุมไม่ให้ปัญหานั้นๆเกิดขึ้นซ้ำอีก เนื่องจากในการแก้ไขปรับปรุงใดๆนั้นต้องอาศัยข้อูลที่ถูกต้องเพียงพอและแม่นยำเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจ และแก้ไขสิ่งที่บกพร่อง

                ตามหลักการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบานการผลิตโดยทั่วไปสามารถทำได้ 2 วิธีคือ Lean Manufacturing และ Six Sigma ทั้งสองวิธีมีหลักต่างกันคือ การนำเอา Lean Manufacturing มาใช้ในองค์การจะช่วยให้

1. เทคนิคการรับเปลี่ยนสายการผลิตเป็นไปอย่างรวดเร็ว และลดเวลาในการเตรียมเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต
2. ช่วยให้โรงงานสามารถปรับปรุงหน่วยผลิต ด้วยการจัดเครื่องอุปกรณ์ให้สอดคล้องกับปริมาณการผลิต
3. การผลิตทันเวลาพอดี (Just in time) ช่วยลดจำนวนสินค้าในสต๊อกรวมทั้งการจัดส่งวัตถุดิบมาป้อนให้หน่วยผลิตอย่างเหมาะสมทันตามเวลาการผลิต

ในขณะเดียวกัน Six Sigma จะเน้นที่จำนวนชิ้นงานให้ลดความผันแปรของกระบวนการผลิตความหมายของ (Sigma) เป็นตัวอักษรกรีก หมายถึง ความเบี่ยงเบนมาตรฐานของกระบวนการ (Standard Deviation) เพื่อใช้วัดความแปรปรวนเฉลี่ยมาตรฐาน ผลที่เกิดจากการใช้ Six Sigma คือ ลดอัตราการสูญเสียและลดต่าใช้จ่าย การนำ Six Sigma มาใช้จะประสบความสำเร็จกันเป็นส่วนใหญ่ในโรงงานอุตสาหกรรม แต่อย่งไรก็ตามมีแนวคิดว่าสามารถนำไปใช้ได้ทุกกระบวนการที่เกี่ยวกับลูกค้า

ประโยชน์ในการนำ Six Sigma มาใช้ในองค์การ

1. สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างกลยุทธ์ใหม่ให้ธุรกิจ
2. สามารถลดความสูญเสียโอกาสอย่างมีระบบและรวดเร็วโดยการนำกระบวนการทางสถิติมาใช้
3. พัฒนาบุคลากรในองค์การให้มีศักยภาพสูงขึ้นตอบสนองต่อกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็ว และปรับองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
4. ช่วยหารระดับคุณภาพของอุตสาหกรรม โดยสามารถเทียบข้ากลุ่มอุตสาหกรรมได้ (Benchmarking)

Six Sigma สำเร็จได้ด้วยองค์ประกอบ

1. ความเป็นผู้นำของผู้บริหารในองค์การ (Leadership)
2. การสื่อสารภายในองค์การที่มีประสิทธิภาพ (Communication) ผู้นำในองค์การจะต้องใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย (Concise) มีความคงเส้นคงวา ต่อเนื่อง (Consistent) มีความสมบูรณ์ (Complete) มีความคิดสร้างสรรค์ (Creative)
3. วางกลยุทธ์เพื่อมุ่งสู่การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement Strategy)
4. การตั้งเป้าหมายที่เด่นชัดและกำหนดระยะเวลาที่เป็นรูปธรรม (Target Setting)
5. วิธีการคัดเลือกบุคลากรและกำหนดโครงการให้รับผิดชอบ (Project Selection and Responsibilities)

แนวทางหลักการของ Six Sigma
แนวทางในการปฏิบัติที่เป็นที่นิยมเพื่อบรรลุถึงความสามารถของกระบวนการในระดับ Six Sigma ที่เป็นที่นิยมและยอมรับกันทั่วดลกประกอบด้วย 5 ชั้นตอน ได้แก่
1. กำหนดเป้าหมาย (Define Target)
2. การวัดความสามรถของกระบวนการ (Measure)
3. การวิเคราะห์สาเหตุปัญหา (Analyze)
4. การปรับปรุงโดยเน้นที่ต้นเหตุของปัญหา (Improve)
5. การควบคุมกระบวนการที่มีผลกระทบ (Control)

ผู้มีบทบาทสำคัญใน Six Sigma

Champion : ในการบริหารของบริษัททั่วๆไป ชาวตะวันตกจะเรียกผู้ที่มีความรับผิดชอบสูงสุดต่อผลสำเร็จในชิ้นงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งนั้นว่า Champion มักเป็นงานหรือโครงการพิเศษนอกเหนือไปจากงานประจำ ซึ่งมีลักษณะงานที่แยกแยะออกจากกันอย่างชัดเจนตามสายงาน ( Functional ) แต่งงานพิเศษนี้จะมีลักษณะแบบ Cross Funtional คือ ร่วมมือจากหลายๆหน่วยงาน ในการบริหารแบบ Six Sigms แบ่ง Champion ออกเพื่อรับผิดชอบงานด้านต่างๆ ดังนี้

1. Executive Champion เป็นบุคคลที่ CEO แต่งตั้งขึ้นหรืออาจจะเป็น CEO เอง เพื่อเป็นผู้ดูแลการบริหารและรับผิดชอบในระดับองค์กรโดยรวมต่อโครงการ Six Sigma ทั้งหมด มักจะต้องเป็นผู้มีภาวะผู้นำสูง มีความเด็ดขาดในการทำงานและทำในสิ่งที่ถูกต้อง

2. Deployment Champion เป็นบุคคลที่รายงานตรงกับ Executive Champion และจะอยู่ในระดับหน่วยธุรกิจ ( Business Unit level ) หรือ หน่วยปฏิบัติการ ( Operation level ) หรือโรงงาน ดูแลรับผิดชอบในด้านการสร้างระบบ และลงมือปฏิบัติงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับโครงการ Six Sigma เช่น การแปรนโยบาย ( Deployment ) หรือการขยายผลแนวทางการบริหารไปที่พนักงานระดับต่างๆ การสื่อสารภายในองค์การ การวางแผน การวางกำลังและคัดเลือกบุคลากรที่จะเข้ามาทำงาน รวมถึงการหมุนเวียนบุคลากรด้วย ทั้งยังเป็นผู้กำหนดควบคุมในเรื่องระยะเวลาต่างๆ ทั้งหมดอีกด้วย

3. Project Champion เป็นบุคคลที่รายงานตรงกับ Executive Champion และมักจะอยู่ในตำแหน่งประมาณ สองปี ดูแลรับผิดชอบทางด้านการกำหนด คัดเลือก ลงมือปฏิบัติ และติดตามผลงานโปรเจ็กต์ต่างๆให้กับ Black Belt โดยจะคอยสนับสนุนทางด้านเทคนิคและจัดหาเงินทุนสำหรับการทำโปรเจ็กต์ด้วย

 

,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,

Knowledge Management : KM

               การบริหารจัดการความรู้ หรือ Knowledge Management เป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ ซึ่งเกิดขึ้นจากการค้นพบว่าองค์กรต้องสูญเสียความรู้ไปพร้อมๆ กับการที่บุคลากรลาออกหรือเกษียณ อายุราชการ อันส่งผลกระทบต่อการดำเนินการขององค์กรเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นจากแนวคิดที่มุ่งพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้มากแต่เพียงอย่างเดียวจึงเปลี่ยนไป และมีคำถามต่อไปว่าจะทำอย่างไรให้องค์กรได้เรียนรู้ด้วย ดังนั้น การบริหารจัดการความรู้จึงสัมพันธ์กับเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) เป็นอย่างยิ่ง หากองค์กรจะพัฒนาตนเองให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ก็จำเป็นจะต้องบริหารจัดการความรู้ภายในองค์กรให้เป็นระบบเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรเรียนรู้ได้จริงและต่อเนื่อง หากองค์กรใดมีการจัดการความรู้โดยไม่มีการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นภายในองค์กร ก็นับเป็นการลงทุนที่สูญเปล่าได้เช่นกัน

                  ประโยชน์ของการบริหารจัดการความรู้
      การลงทุนในเรื่องการบริหารจัดการความรู้อาจจะค่อนข้างสูงและอาจจะต้องใช้เวลา แต่หลายๆ องค์กรก็จะได้รับประโยชน์ ดังนี้
      - ช่วยลดระยะเวลาการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือการเรียนรู้งานใหม่
      - บุคลากรได้รับความพึงพอใจในการ)ฏิบัติงาน
      - มีกำไรมากขึ้น/ลดต้นทุน
      - ลดการสูญเสียเวลา
      - มีความคงที่ในผลของการเรียนรู้ การปฏิบัติงาน และผลิตภัณฑ์
      - การคงรักษาคุณภาพ หรือภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ไว้
      - การพัฒนาคุณภาพของความรู้ไปสู่นวัตกรรมใหม่ๆ

  การดำเนินการในเรื่องการบริหารจัดการความรู้
      IT จะมีบทบาทต่อการบริหารจัดการความรู้ เป็นอย่างมาก จึงควรต้องระลึกไว้เสมอว่า ข้อมูลสารสนเทศ (Information) ไม่ใช่ความรู้ กล่าวคือ ข้อมูล (Data) หมายถึงข้อมูลดิบที่ยังไม่มีการแปลความหมาย สารสนเทศ (Information) เป็นข้อมูลที่ผ่านกระบวนการเรียบเรียง ตีความ วิเคราะห์ และให้ความหมายแล้ว ความรู้ (Knowledge) คือสิ่งที่ได้จากกระบวนการที่มนุษย์รับข้อมูลผ่านกระบวนการคิด เปรียบเทียบ เชื่อมโยง จนเกิดเป็นความเข้าใจและนำไปใช้ ส่วนความรู้ขั้นสูงสุดคือ ปัญญา (Wisdom) เป็นความรู้ที่สะสมหรือฝังอยู่ในตัวบุคคล การเลือกวิธีการบริหารจัดการความรู้ ได้อย่างเหมาะสม ควรรู้ว่าเราไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้โดยง่ายเสมอไป เนื่องจาก

 ความรู้มี 2 ประเภท ที่มีลักษณะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง คือ
      1.  Tacit Knowledge เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์ หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูด หรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางคนเรียกว่าเป็น ความรู้แบบนามธรรม
      2.  Explicit Knowledge เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้โดยผ่านวิธีการต่างๆ เช่น ลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่างๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็น ความรู้แบบรูปธรรม
      ถึงแม้ว่าจะมีมุมมองและแนวคิดที่หลากหลายจากผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก แต่ ขั้นตอนการจัดการความรู้ นั้น สามารถสรุปได้คือ
      1) การสำรวจความรู้ภายในองค์กร
      2) การวางแผนความรู้เพื่อการรวบรวมและจัดเก็บ
      3) การพัฒนาความรู้
      4) การถ่ายทอดความรู้ (Knowledge Transfer) หรือการแบ่งปันความรู้ (Knowledge Sharing)

,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,

Activity-Based Management (ABM)

Activity-Based Management ที่เป็นแนวทางมุ่งการจัดการต่อกิจกรรม เพื่อการปรับปรุงมูลค่าที่ส่งมอบสู่ลูกค้าและสร้างผลกำไรให้กับผู้ส่งมอบ การดำเนิน ABM จึงรวมถึงการวิเคราะห์ตัวผลักดันต้นทุน การวิเคราะห์กิจกรรม (Activity Analysis) และการวัดผลการปฏิบัติการ (Performance Measurement) โดยที่ ABC จะถูกใช้สำหรับการตอบคำถามว่า  "What do things cost ?" ขณะที่ ABM จะแสดงในมุมมองของกระบวนการ(Process View) ซึ่งเกี่ยวข้องกับปัจจัยที่ก่อให้เกิดต้นทุน ด้วยการใช้การใช้ข้อมูล ABC และ ABM ทำให้สามารถสนับสนุนการปรับปรุงการใช้ทรัพยากร เพื่อเพิ่มมูลค่าที่ถูกสร้างสำหรับลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders)  ซึ่ง ABM จะถูกใช้สำหรับการติดตามค่าโสหุ้ยและต้นทุนทางอ้อมที่เกิดจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการ

 

แนวทางการใช้ประโยชน์ ABM

ตามที่กล่าวนำข้างต้นถึง ABM ที่เป็นการดำเนินการจัดการอย่างทั่วทั้งองค์กร โดยเริ่มจากสารสนเทศที่ถูกต้องจาก ABC องค์กรที่ดำเนินตามแนวทางของ ABM ก็ด้วยเหตุผลหลายประการ แต่ส่วนใหญ่แล้วเชื่อว่า ABM จะสนับสนุนต่อการตัดสินใจ การปรับปรุงการดำเนินงาน และการสร้างรายได้จากสินทรัพย์ที่ได้ลงทุนไว้ โดยมีเป้าหมายหลักในการสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าด้วยต้นทุนที่ลดลง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์ในด้านต่าง ๆ ดังเช่น

- การวิเคราะห์คุณลักษณะ (Attribute Analysis)ที่ทำการจำแนกประเภทและรวมต้นทุนและข้อมูลสมรรถนะเป็นกลุ่มที่สามารถจัดการและควบคุมได้  คุณลักษณะข้อมูลจะช่วยให้องค์กรดำเนินการวิเคราะห์ในหลายมิติที่แตกต่างของปัญหาการจัดการ

- การวิเคราะห์กลยุทธ์ (Strategic Analysis)  ที่ทำการค้นหาแนวทางต่าง ๆ ที่สามารถสร้างและรักษาสภาวะความได้เปรียบจากการแข่งขันในตลาด โดยมุ่งวัตถุประสงค์ระยะยาว (Long-Term Objectives) ที่วิเคราะห์หาผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในอนาคตและการปรับปรุงผลกำไรด้วยการสร้างความกระจ่างของ Cost Objects ทั้งหลาย ดังเช่น ลูกค้า ผลิตภัณฑ์ และช่องทางจัดจำหน่าย การวิเคราะห์กลยุทธ์จึงมุ่งเน้นโอกาสในอนาคตและสิ่งที่จะเผชิญ ด้วยการใช้การวัดผลทั้งทางกายภาพและทางการเงิน เพื่อค้นหาผลกระทบของทางเลือกกลยุทธ์ ดังเช่น การดำเนินกิจกรรม ABM ที่ Hewlett-Packard ซึ่งทำให้ได้รับสารสนเทศทางกลยุทธ์และการปฏิบัติการอย่างเต็มรูปแบบ ที่รวมถึง ต้นทุนส่วนลูกค้า (Customer Segment Costing) ต้นทุนผลิตภัณฑ์ และการระบุเป้าหมายสำหรับโอกาสการปรับปรุง

- การเทียบเคียง (Benchmarking) คือวิธีการที่ระบุกิจกรรมที่เป็นมาตรฐาน โดยถูกใช้เพื่อสนับสนุนผู้บริหารในการระบุกระบวนการหรือเทคนิคเพื่อเพิ่มประสิทธิผลหรือประสิทธิภาพของกิจกรรม  ซึ่ง ABM  จะสนับสนุนการดำเนินการทำ Benchmark เทียบกับผู้เป็นเลิศ ทั้งในกระบวนการภายในอุตสาหกรรม และคู่แข่งขัน  ดังเช่น  กรณีของ AT&T ที่ได้ประยุกต์แนวทาง ABM กับธุรกิจและสนับสนุนการทำ Benchmark ในกรณีดังกล่าว ต้นทุนต่อหน่วยจะถูกใช้เป็นมาตรวัดสำหรับการทำ Benchmark ภายในกลุ่มทำงาน รวมทั้งการใช้เปรียบเทียบกับหน่วยอื่น โดยที่กลุ่มทำงานจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกลุ่ม ซึ่งการเข้าถึงข้อมูลต้นทุนที่มีความน่าเชื่อถือทำให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นข้อแตกต่างทางต้นทุนและสามารถวางแผนการปรับปรุงกระบวนการอย่างมีประสิทธิผล  เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดต้นทุน

- การวิเคราะห์การปฏิบัติการ (Operation Analysis) โดยทำการค้นหาเพื่อระบุ วัดผล และปรับปรุงสมรรถนะของกระบวนการหลักและการดำเนินงานภายในองค์กร ซึ่ง ABM ถูกใช้เพื่อการวิเคราะห์แบบ What-If การบริหารโครงการ และการวัดผลการดำเนินงาน ที่รวมถึงการวิเคราะห์ข้อจำกัด (Constraint Analysis) และต้นทุนตามฐานกระบวนการ (Process-Based Costing)

- การวิเคราะห์ความสามารถทำกำไร (Profitability Analysis) คือ ประเด็นหลักสำหรับองค์กร โดยมี ABM เป็นเครื่องมือสนับสนุนองค์กรในการวิเคราะห์ต้นทุนและผลกำไรจากผลิตภัณฑ์และกระบวนการทั้งก่อนและหลังทำการปรับปรุง รวมทั้งสนับสนุนการวิเคราะห์ก่อนออกผลิตภัณฑ์ (Prelaunch) และการปรับปรุงความสามารถการทำกำไร

                ที่เป็นหัวใจของการจัดการสมัยใหม่ โดยมุ่งระบุสาเหตุของความผันแปร ความสูญเปล่าและความไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งการปรับปรุงกระบวนการได้รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กน้อยและการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน โดยมีแนวทางและเครื่องมืออย่าง แบบจำลองกระบวนการธุรกิจ (Business Process Modeling) การยกเครื่องกระบวนการธุรกิจ (Business Process Reengineering) กิจกรรมทางคุณภาพ การไคเซ็น สำหรับองค์กรชั้นนำ อย่าง Pennzoil ได้ใช้ ABM เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการระบุต้นทุนกระบวนการและสนับสนุนต่อกระบวนการยกเครื่อง เพื่อทำการปรับปรุงประสิทธิภาพและลดต้นทุน ด้วยการวิเคราะห์การปฏิบัติการ ซึ่ง ABM ได้ให้ข้อมูลแก่ Pennzoil ในการเปลี่ยนโครงสร้างต้นทุนของการสำรวจและการผลิต รวมทั้งเป็นสารสนเทศต่อองค์กรในการพัฒนาแนวทางเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเงินด้วยการใช้ทรัพยากรที่น้อยลง

- การปรับปรุงกระบวนการ (Process Improvement) ที่เป็นหัวใจของการจัดการสมัยใหม่ โดยมุ่งระบุสาเหตุของความผันแปร ความสูญเปล่าและความไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งการปรับปรุงกระบวนการได้รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กน้อยและการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน โดยมีแนวทางและเครื่องมืออย่าง แบบจำลองกระบวนการธุรกิจ (Business Process Modeling) การยกเครื่องกระบวนการธุรกิจ (Business Process Reengineering) กิจกรรมทางคุณภาพ การไคเซ็น สำหรับองค์กรชั้นนำ อย่าง Pennzoil ได้ใช้ ABM เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการระบุต้นทุนกระบวนการและสนับสนุนต่อกระบวนการยกเครื่อง เพื่อทำการปรับปรุงประสิทธิภาพและลดต้นทุน ด้วยการวิเคราะห์การปฏิบัติการ ซึ่ง ABM ได้ให้ข้อมูลแก่ Pennzoil ในการเปลี่ยนโครงสร้างต้นทุนของการสำรวจและการผลิต รวมทั้งเป็นสารสนเทศต่อองค์กรในการพัฒนาแนวทางเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเงินด้วยการใช้ทรัพยากรที่น้อยลง

,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,

Re-engineering

               

กระบวนการทางธุรกิจเป็นแนวคิดทางธุรกิจในทศวรรษที่ 1990 แต่ในทางปฏิบัติจริงก็ยังไม่ได้เป็นอะไรที่มากไปกว่าแนวคิดของการพัฒนาคุณภาพทั่วทั้งองค์การ หรือ Total Quality Management (TQM) ซึ่งมุ่งเน้นที่กระบวนการ   Reengineering หรือ "การรื้อปรับระบบ" เป็นคำที่ ไมเคิล แฮมเมอร์ และเจมส์ แชมปี้ ริเริ่มใช้ในหนังสือชื่อ Reengineering the Corporation ในฐานะที่เป็นคำประกาศการปฏิวัติธุรกิจ หรือ A  Manifesto for Business Revolution เมื่อปี 1993 ก่อนที่จะเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดที่จัดโดย นิวยอร์ก ไทม์ และได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศกว่า 14 ภาษา ทำให้เป็นคำที่มีการกล่าวขานถึงอย่างกว้างขวางคำนิยามที่ถูกต้องและเป็นทางการของการรื้อปรับระบบ หรือ Reengineering  คือ การพิจารณาหลักการพื้นฐานของกระบวนการทางธุรกิจ และการออกแบบขึ้นใหม่อย่างถอนรากถอนโคน เพื่อมุ่งบรรลุผลลัพธ์ของการปรับปรุงอันยิ่งใหญ่ โดยใช้มาตรวัดผลการปฏิบัติงานที่ทันสมัย และที่สำคัญได้แก่ ต้นทุน คุณภาพ การบริการ และความรวดเร็ว
ขั้นตอนการรื้อปรับระบบ
1. การคิดค้นทบทวนใหม่ (Rethink)
2. การออกแบบกระบวนการทำงานใหม่(Redesign)
3. การเสริมเทคโนโลยี(Retool)
4. การฝึกอบรมบุคลากร(Retrain)
การนำแนวคิดการรื้อปรับระบบมาใช้ในระบบราชการเพื่อมุ่งปรับเปลี่ยนทันคติผู้ปฎิบัติงานใหม่ ปรับลดขั้นตอนการทำงานลงเสริมการทำงานและปรับสภาพภูมิทัศน์ให้สวยงาม สะดวกในการทำงานซึ่งเป็นมิติใหม่ของการทำงานการให้บริการของหน่วยราชการ ตัวอย่าง
- การให้บริการฝากถอนเงินของธนาคาร(แบบเดิม)

  • การฝากถอนเงินผ่านขั้นตอนหลายขั้นตอน
  • มีพนักงานหลายคน แบ่งหน้าที่ ฝาก ถอน ตรวจสอบ อนุมัติ ผ่านพนักงานหลายคน
  • ใช้เวลานานในการฝากถอน
  • ระบบการตรวจสอบด้วยเอกสาร

- การให้บริการฝากถอนเงินของธนาคาร(แบบใหม่)

  • การฝากถอนเงินมีขั้นตอนลดลง
  • มีพนักงานคนเดียวทำหลายหน้าที่ ฝากถอนตรวจสอบ อนุมัติด้วยพนักงานคนเดียวกันใช้เวลาลดลง
  • มีการมอบอำนาจ พัฒนาบุคลากร
  • มีระบบการตรวจสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์

-หัวใจสำคัญของการ Re-engineering อยู่ที่กระบวนการ
ลักษณะสำคัญหรือจุดเน้นของการรื้อปรับระบบ หรือ การทำรีเอ็นจิเนียริ่งอยู่ที่ การมุ่งปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินงาน การทำความเข้าใจและปรับเปลี่ยนที่แนวคิดพื้นฐาน สมมุติฐาน หรือหลักเกณฑ์เดิม การเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน และการมุ่งสู่ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่หรือผลลัพธ์อันใหญ่หลวง
องค์ประกอบ ของ การรื้อปรับระบบ มี 6 ข้อ ดังนี้
-จัดโครงสร้าง ให้เป็น At come เหมาะแก่ประสิทธิภาพ และ Output เหมาะแก่ประสิทธิผล
-มีการกำหนดหน่วยงาน
-หน่วยงานแต่ละหน่วยงาน ต้องมีการเก็บข้อมูล
-เสมือนกระจุกตัว ถามไรรู้หมด
-มีการเชื่อมโยงกระบวนการต่างๆไปพร้อมกัน
-มีลักษณะ Online

 

,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,

BENCHMARKING

การทำ Benchmarking เริ่มเกิดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี 2523 โดยเป็นกระบวนการบริหารธุรกิจ ที่มีกลยุทธ์เฉพาะตัว Benchmarking เป็นกระบวนการที่ได้จากการเรียนรู้จากผู้อื่น โดยการเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่นๆ ในส่วนต่างๆ ได้ โดยเป็นกระบวนการต่อเนื่อง ที่ใช้ระยะเวลาดำเนินการระยะยาว อย่างมีระเบียบแบบแผน โดยมีตัววัดความก้าวหน้า ในแต่ละระยะเวลาได้ Benchmarking process เป็นกลวิธีที่เป็นประโยชน์ ในการปรับปรุงองค์กรทุกประเภท ทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชน

 

ทำไมต้อง BENCHMARKING

  • - เพราะหลักการของ BENCHMARKING สนับสนุนการไม่ยึดติดกับความสำเร็จในอดีต: คือ "ไม่มีเหตุผลใดที่จะเชื่อว่า สิ่งที่เราทำนั้นดีที่สุด"
  • - เพราะหลักการของ BENCHMARKING ลดความหยิ่งผยอง ให้ถ่อมตัว: โดยยอมรับว่า "เรามีบางด้านอ่อนด้อยกว่าผู้อื่น" คือ รู้จุดยืน จุดเด่นและจุดด้อยของตน
  • - เพราะวิธีการของ BENCHMARKING ผลักดันให้เกิดความใส่ใจต่อโลกภายนอก: เปิดหูเปิดตาผู้บริหารให้ติดตาม ตรวจสอบ เฝ้าดู การเปลี่ยนแปลงของภาวะแวดล้อมทั้งในเชิงที่เป็นโอกาสและภาวะคุกคาม รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของคู่แข่ง
  • - เพราะวิธีการของ BENCHMARKING สร้างวัฒนธรรมในการยอมรับและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ: การเรียนรู้และการพัฒนามิใช่เทศกาล แต่เป็นงานประจำที่ต้องทำอยู่เสมอ ซึ่งการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน การฝึกอบรม การค้นคว้า การรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญล้วนเป็นการเรียนรู้ทั้งสิ้น
  • - เพราะกระบวนการ BENCHMARKING ต้องวัดและเปรียบเทียบ: การวัดย่อมต้องมีความชัดเจน ว่าจะวัดอะไร การเปรียบเทียบย่อมต้องประเมินได้ นั่นย่อมหมายถึง การต้องอาศัยข้อเท็จจริงและข้อมูล (Face & Data) โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลเชิงปริมาณในการทำงาน มิใช่ประสบการณ์หรือความรู้สึก
  • - เพราะ BENCHMARKING ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด: เพราะเป้าหมาย (Target) การพัฒนามีความชัดเจนและท้าทาย (ผู้ที่เก่งกว่า หรือ เก่งที่สุด) วิธีการเดินทาง (Mean) สู่เป้าหมายเป็นไปได้ (มีผู้เคยทดลองและเคยได้ผลมาแล้ว) หรือการเรียนรู้จากผู้อื่น และการเดินตามเฉพาะทางที่ควรเดิน ไม่ต้องเสียเวลากับความผิดพลาด หรือหลงทาง เช่นนี้ไหนเลยจะไม่ก้าวกระโดด

กลวิธีหลักในการทำ Benchmark

  • 1. ต้องชี้แนะให้ผู้บริหารระดับสูงรับทราบ และให้การสนับสนุนโครงการเสียก่อนให้ชัดเจน
  • 2. สามารถทราบผลที่จะเกิดขึ้นอย่างชัดเจน
  • 3. สามารถหาวิธีการทำงานต่างๆ ให้ดีขึ้น
  • 4. สร้างทีมงาน ที่ทำให้ความรู้สึกเป็นเจ้าของโครงการ และกระบวนการที่จะพัฒนาให้ได้
  • 5. พยายามหาข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์ทำ Benchmark จากแหล่งต่างๆ เท่าที่จะหาได้
  • 6. วางเป้าประสงค์ให้ชัดเจน และสามารถลำดับความสำคัญของโครงงานได้

 

นายพลวัฒน์ พงษ์ตุ้ย เลขที่ 20 กจ2/1

Re-Engineering

โปรเฟสเซอร์ ไมเคิล แฮมเมอร์ ได้ ให้ความหมายของคำว่า “รีเอ็นจิเนียริ่ง” ไว้ในหนังสือ”รีเอ็นจิเนียริ่ง เดอะคอร์เปอเรชั่น” ไว้ว่าคือ “การกลับมาคิดและปรับปรุงกระบวนการทำธุรกิจอย่างฉีกแนว เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ ในประเด็นสมรรถภาพที่สำคัญคือ ต้นทุน คุณภาพ และความรวดเร็วในการสนองความต้องการของลูกค้า” จากคำนิยามนี้ บัณฑูร ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย ผู้มีประสบการณ์ในการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง และประสบการณ์ความสำเร็จมาแล้ว มีคำศัพท์ที่สำคัญอยู่ 3 คำด้วยกัน คือ

1. กระบวนการทำธุรกิจ หมายถึง งานต่อเนื่องต่าง ๆ ที่รวมกันแล้วทำให้เกิดประโยชน์ต่อลูกค้าในทางตรงและทางอ้อมกระบวนการมักเป็นสิ่งที่ดีขึ้นจากหลาย ๆ หน่วยงานในโครงสร้างขององค์กร เพื่อรวบรวมข้อมูล วัตถุดิบ แรงงาน และปัจจัยอื่น ๆ เข้าไปเพื่อสร้างผลผลิตที่ได้รับการออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า

2. อย่างฉีกแนว การทำรีเอ็นจิเนียริ่ง กระบวนการจะถูกจัดใหม่อย่างฉีกแนว ผู้ทำต้องกล้าพอที่จะลืมของเก่าให้หมด โดยถือเสมือนเริ่มต้นจากศูนย์ ลืมสิ่งที่เคยทำหรืออนาคตว่าวิธีที่ดีที่สุดในการจัดการแต่ละเรื่องคืออะไร

3. เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ การทำรีเอ็นจิเนียริ่ง เป็นการคาดถึงผลสำเร็จว่าจะเกิดขึ้น 10 – 20 เท่า ไม่ใช่เพียง 10% – 20%

หัวใจสำคัญของการ Re-engineering อยู่ที่กระบวนการ

ลักษณะสำคัญหรือจุดเน้นของการรื้อปรับระบบ หรือ การทำรีเอ็นจิเนียริ่งอยู่ที่ การมุ่งปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินงาน การทำความเข้าใจและปรับเปลี่ยนที่แนวคิดพื้นฐาน สมมุติฐาน หรือหลักเกณฑ์เดิม การเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน และการมุ่งสู่ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่หรือผลลัพธ์อันใหญ่หลวง

ขั้นตอนการรื้อปรับระบบ

1. การคิดค้นทบทวนใหม่ (Rethink)

2. การออกแบบกระบวนการทำงานใหม่(Redesign)

3. การเสริมเทคโนโลยี(Retool)

4. การฝึกอบรมบุคลากร(Retrain)

กระบวนการในการรื้อปรับระบบ

กระบวนการในการรื้อปรับระบบ เป็นกลยุทธ์วิธีของการออกแบบกระบวนการทำงานใหม่ โดยการนำจิตวิทยาสังคมผสมกับหลักมนุษย์สัมพันธ์ (Human Relation) ในสาขา รัฐประศาสนศาสตร์ ด้วยการสร้าง อุตมภาพสูงสุดในระบบทั้งหมด มาใช้ในระบบงานโดยจุดเริ่มต้นจาก

1. การเริ่มคิด มองที่ความว่างเปล่า (Zero-Base) หรือเริ่มต้นที่จุดใหม่ สลัดความคิดเก่าออกไป

2. มองหาความพึงพอใจของลูกค้า (ครู – นักเรียน-ผู้ปกครอง-ในฐานะผู้บริหารโรงเรียน) และแสวงหาวิธีสร้างความพึงพอใจให้แก่เขา โดยการคิดหาวิธีทำงานใหม่กับการออกแบบกระบวนการทำงานใหม่ที่มีประสิทธิภาพ (Customer Satisfaction) จนกระทั่งถึงจุดพอใจสูงสุดของลูกค้า (Total optimization)

กระบวนการ/ขั้นตอนของ Reengineering

แก้วแดง ได้นำเสนอ กระบวนการรื้อปรับระบบของแฮมเมอร์ ปีทรอสโซ และเสตปเปอร์ สรุปได้ดังนี้ (รุ่ง แก้วแดง.2538:150-168)

แฮมเมอร์ ได้เสนอกระบวนการรื้อปรับระบบออกเป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ ดังนี้

1.ขั้นระดมพลัง

สร้างรูปแบบของกระบวนการธุรกิจ

ตั้งผู้รับผิดชอบ

– เจ้าของคณะทำงานรื้อระบบ

กำหนดยุทธศาสตร์

กำหนดความสำคัญของกระบวนการ

2.ขั้นการวิเคราะห์

กำหนดขอบเขตและทิศทาง

2.2 ศึกษาความต้องการของลูกค้า

2.3 ศึกษาขบวนการปัจจุบัน

2.4 หาจุดอ่อนของระบบปัจจุบัน

2.5 กำหนดเป้าหมายของระบบใหม่

3. ขั้นตอนออกแบบใหม่

3.1 กำหนด Concept ของกระบวนการ

3.2 ออกแบบใหม่ทั้งหมด

3.3 พัฒนารายละเอียดของระบบใหม่

3.4 สร้างแบบเพื่อทดสอบ

3.5 ทดสอบและดูผลทดสอบ

4. ขั้นนำไปใช้

4.1 ทดลองนำไปใช้โดยนำร่อง

4.2 เรียนรู้จากผลของโครงการนำร่อง

4.3 ปรับระบบธุรกิจ

4.4 พัฒนาระบบสนับสนุนพื้นฐาน

4.5 นำระบบใหม่ใช้ทั้งหมด

2. การแสวงหาและรวบรวม : ตั้งคณะทำงานศึกษาวิเคราะห์ปัญหา รวมทั้งแนวร่วมในการสำรวจปัญหา โดยเริ่มจาก

2.1 การศึกษาปัญหา

2.2 การทำความเข้าใจกับปัญหา

2.3 การทำความเข้าใจกับระบบข้อมูลสารสนเทศขององค์การ

3. การออกแบบใหม่และสร้างธุรกิจใหม่ : Rethinking Redesign

3.1 การเตรียมการเพื่อการออกแบบใหม่

3.2 พัฒนาระบบข้อมูลใหม่

3.3 วิเคราะห์กระบวนการที่สร้างใหม่

3.4 หลักการสำคัญของระบบสารสนเทศใหม่

3.5 การวิเคราะห์ข้อมูลและโครงการรื้อระบบ

3.6 หลักการออกแบบใหม่

3.7 กระบวนการออกแบบใหม่เป็นขั้นเป็นตอน

4. การจัดองค์กรใหม่ การฝึกอบรมใหม่ และอุปกรณ์ใหม่ : Feorganize Retrain Retool

BENCHMARKING

Benchmarking เป็นกระบวนการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงขององค์กร ในอันที่จะพิจารณาว่า มีสภาพใดบ้างที่จะสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิม และทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับองค์กรอื่น แล้วนำความรู้ที่ได้มาจัดการวางแผนการปรับปรุงองค์กรของเรา ให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลดีขึ้น หรืออาจมองว่า เป็นกระบวนการเปรียบเทียบองค์กรกับหน่วยงานอื่นในด้านต่างๆโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะปรับปรุงให้ใกล้เคียง เพื่อเป็นผู้นำที่คนอื่นจะต้องใช้เราเป็น Benchmark ต่อไป

ขั้นตอนในการจัดทำ Benchmark

1. การกำหนดหัวข้อที่จะทำ Benchmark (Determine What to Benchmark) การวางแผน และพิจารณากำหนดหัวข้อที่จะทำ Benchmark โดยเปรียบเทียบกระบวนการ ในองค์กรภายใน กับ Benchmark ที่ต้องการเปรียบเทียบ เช่น ผลิตภัณฑ์ การบริการ การดำเนินงาน การสนับสนุนการดำเนินการ และกลวิธี เป็นต้น

2. การสร้างทีมงาน (Benchmarking Team) การจัดทีมงานนั้น ควรจะต้องเลือกมาจากหลายๆ ส่วนในองค์กร โดยมีความเกี่ยวข้องต่อเนื่องกัน ที่จะเสริมให้ข้อมูล และสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ โดยมาจากหลายองค์ความรู้ รวมเข้าเป็นทีมเดียวกัน มีการฝึกอบรม และวางแผนการทำ Benchmark ร่วมกัน

3. ระบุผู้ร่วมทำ Benchmark (Identify Benchmarking Partners) โดยเริ่มจากค้นหาหน่วยงาน นอกองค์การที่สามารถเป็นตัวอย่างที่ดี หรือประสบผลสำเร็จในด้านที่จะทำ Benchmark ด้วย (Competitive Benchmarker) และพยายามหาเครือข่าย กับหน่วยงานอื่นๆ ที่มีแรงจูงใจเดียวกัน หรือกับองค์กรที่มีประสบการณ์ ในการจัดทำ Benchmark (Functional Benchmarker) หรือแม้แต่การจำทำ Benchmark ในหน่วยงานเดียวกันเอง (Internal Benchmarker) โดยเปรียบเทียบกระบวนการ ในองค์ของเรา กับ Benchmark อันนั้น

4. การเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล (Collecting and Analysing Benchmarking Information)

ทำการเก็บข้อมูล และทำการวิจัย มีความจำเป็นที่ต้องทำ ก็คือ จะต้องวิเคราะห์และจดบันทึกกระบวนการภายในของเราเอง ที่เราจะเลือกทำ Benchmark กับผู้อื่น ซึ่งอาจใช้ข้อมูลจากเอกสารรายงาน Internet วารสารงานวิจัย การออกภาคสนาม การปรึกษาหารือ หรืออื่นๆ เพื่อทำการเปรียบเทียบ การเก็บข้อมูลขององค์กรต่างๆ อาจไม่อยู่ในรูปเดียวกัน ไม่สามารถนำมาใช้ได้ทันที อาจต้องปรับให้มีฐานอย่างเดียวกันก่อน จึงเปรียบเทียบภาพได้ถูกต้อง แล้วจึงวิเคราะห์หาวิธีการใหม่ ที่จะทำให้กระบวนการใหม่ของเรา ดีกว่า Benchmark ที่ตั้งไว้

5. การปฏิบัติการ (Taking Action) ทำการลงมือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามแผนใหม่ที่วางไว้ โดยทำการนำเสนอข้อมูลที่ค้นพบ และหาแนวทางดำเนินการ เพื่อปรับปรุงกลวิธีดำเนินการ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ และอาจต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแผน ให้เข้ากับสถานการณ์ และให้เดินทางเข้าหา Benchmark ใหม่ ที่เรากำหนดไว้ การติดตามประเมินผล อาจต้องใช้ตัววัดทั้งทางตรง และทางอ้อม มีองค์ความรู้ในวิธีการดำเนินการ เข้าสู่การเปลี่ยนแปลงใหม่ การทำ Benchmark นี้ เป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกระบวนการ อย่างต่อเนื่อง เพื่อคงอยู่ในระดับที่กำหนดไว้

Activity-Based Management (ABM)

การคำนวณต้นทุนของสินค้าหรือบริการ เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อกิจการ เนื่องจากข้อมูลต้นทุนจะนำมาใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ การตั้งราคาขาย การวางแผนกำไร การควบคุม และการตัดสินใจของผู้บริหารเพื่อความเป็นเลิศของธุรกิจ

ดังนั้นการคำนวณต้นทุนให้ถูกต้องใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในสภาพการแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบัน

การคำนวณต้นทุนของสินค้า หรือบริการ จะมีการคำนวณต้นทุนที่เกิดขึ้นซึ่งประกอบด้วยวัตถุทางตรง ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิตอื่นๆ สำหรับต้นทุนวัตถุทางตรงและค่าแรงงานทางตรงจะสามารถคำนวณเป็นต้นทุนของสินค้าได้โดยตรง ส่วนค่าใช้จ่ายการผลิตจะคำนวณเป็นต้นทุนสินค้า โดยใช้ฐานที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณการผลิต (Volume Bases) เช่น ชั่วโมงแรงงานทางตรง ชั่วโมงเครื่องจักร เป็นต้น สำหรับการผลิตส่วนใหญ่ปัจจุบันอยู่ภายใต้สภาวะการตลาดที่มีความเคลื่อนไหวตลอดเวลา อีกทั้งรูปแบบของสินค้ามีการปรับเปลี่ยนไป แนวโน้มการผลิตตามคำสั่งพิเศษมีจำนวนมากขึ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายการผลิตต่างๆมีมูลค่ามาก เมื่อเทียบกับค่าแรงงานทางตรงและวัตถุทางตรง

การคำนวณค่าใช้จ่ายการผลิตเป็นต้นทุนสินค้าโดยอาศัยปริมาณการผลิตเป็นฐาน จึงทำให้ต้นทุนสินค้าที่คำนวณได้ไม่ถูกต้องเช่น สินค้าที่ผลิตตามคำสั่งพิเศษในปริมาณน้อย แต่มีกรรมวิธีการผลิตที่ยุ่งยาก ควรจะมีต้นทุนการผลิตสูงแต่กลับมีการรับภาระค่าใช้จ่ายการผลิตต่ำหรืออาจมีค่าใช้จ่ายบางรายการที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณการผลิต เช่น ค่าใช้จ่ายในการ Setup เครื่องจักรจะเปลี่ยนแปลงเมื่อมีคำสั่งผลิต หรือค่าใช้จ่ายทางวิศวกรรม (Engineering Cost) จะเปลี่ยนแปลงตามคำสั่งผลิตสินค้าชนิดใหม่ ซึ่งเหล่านี้เป็นข้อบกพร่องของระบบการบริหารต้นทุนแบบเดิมที่ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมต่างๆ ที่ก่อให้เกิดต้นทุนของสินค้าหรือบริการ ไม่สะท้อนให้เห็นถึงค่าใช้จ่ายการผลิตว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ถ้ากิจกรรมของแผนกผลิตเปลี่ยนแปลงไปจึงเกิดระบบต้นทุนกิจกรรมหรือต้นทุนABC (Activity Based Costing) เกิดขึ้น ซึ่งเป็นการบริหารต้นทุนโดยแบ่งการดำเนินงานของกิจการออกเป็นกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมการผลิต กิจกรรมการตรวจสอบคุณภาพของสินค้า เป็นต้น

ระบบต้นทุนกิจกรรมจะถือว่ากลยุทธ์ของกิจการเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดกิจกรรม และกิจกรรมเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดต้นทุน หากสินค้าชนิดใดผ่านกิจกรรมการผลิตมากก็จะมีต้นทุนสินค้ามาก ดังนั้นต้นทุนสินค้าจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับวิธีการผลิตว่ายุ่งยาก หรือผ่านกิจกรรมมากน้อยเพียงใด การคำนวณต้นทุนกิจกรรมจะเริ่มจากการวิเคราะห์กิจกรรมขององค์กรว่ามีกิจกรรมใดบ้าง หลังจากนั้นจะมีการคำนวณต้นทุนให้กับกิจกรรมนั้นๆ โดยระบุตัวผลักดันต้นทุน (Cost Driver) ของแต่ละกิจกรรม ว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้นทุนนั้นมากหรือน้อยเช่น กิจกรรมการบรรจุสินค้า ตัวผลักดันต้นทุนคือจำนวนสินค้า หรือกิจกรรมการซ่อมแซมเครื่องจักร ตัวผลักดันต้นทุนคือ จำนวนชั่วโมงเครื่องจักร หลังจากนั้นก็จะคำนวณอัตราต้นทุนกิจกรรมต่อหน่วย โดยนำต้นทุนกิจกรรมหารด้วยปริมาณตัวผลักดันต้นทุน และสุดท้ายก็จะมีการคำนวณต้นทุนสินค้า โดยใช้อัตราต้นทุนต่อหน่วยเป็นเกณฑ์ในการคำนวณค่าใช้จ่ายการผลิต และนำต้นทุนที่คำนวณได้ไปรวมกับวัตถุทางตรง ค่าแรงงานทางตรงของสินค้าแต่ละชนิด ก็จะได้ต้นทุนสินค้าหรือบริการในที่สุด

การใช้ระบบต้นทุนกิจกรรม จะช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจถึงการปฏิบัติงานตามกิจกรรมต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น ทำให้สามารถใช้ต้นทุนในการวางแผนพัฒนา กำหนดกลยุทธ์ของกิจการ และพัฒนากิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกิจกรรมที่เพิ่มมูลค่า (Value Added Activity) ซึ่งจะสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าทั้งด้านราคา และคุณภาพของสินค้าในเวลาที่เหมาะสมทันต่อความต้องการของลูกค้า และพยายามลดความสูญเปล่า หรือกิจกรรมที่ไม่เพิ่มมูลค่า (Nonvalue Added Activity) เช่น กิจกรรมการรอคอยคำสั่งผลิตซึ่งเป็นกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่าในตัวสินค้า อย่างไรก็ตามระบบต้นทุนกิจกรรมมิได้มุ่งเน้นที่จะลดต้นทุนอย่างเดียว แต่จะมีการปรับปรุง และทบทวนกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศของธุรกิจ

Knowledge Management : KM

ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีคำจำกัดความของคำว่า การบริหารจัดการความรู้ ที่เป็นหนึ่งเดียว แต่เราสามารถสรุปจุดร่วมของความหมายที่หลากหลายได้ว่า การบริหารจัดการความรู้ คือ กระบวนการใดๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรวบรวม และจัดเก็บความรู้ภายในองค์กรซึ่งเปรียบเสมือนสินทรัพย์ (Assets) อย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะนำมาใช้ หรือถ่ายทอดกันได้ภายในองค์กร อันจะเกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน หรือเพื่อสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันในเชิงธุรกิจ ความรู้ที่ได้รับการจัดการอย่างเป็นระบบนี้จะคงอยู่เป็นความรู้ขององค์กรตลอดไป

ประโยชน์ของการบริหารจัดการความรู้

การลงทุนในเรื่องการบริหารจัดการความรู้อาจจะค่อนข้างสูงและอาจจะต้องใช้เวลา แต่หลายๆ องค์กรก็จะได้รับประโยชน์ ดังนี้

- ช่วยลดระยะเวลาการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือการเรียนรู้งานใหม่

- บุคลากรได้รับความพึงพอใจในการ)ฏิบัติงาน

- มีกำไรมากขึ้น/ลดต้นทุน

- ลดการสูญเสียเวลา

- มีความคงที่ในผลของการเรียนรู้ การปฏิบัติงาน และผลิตภัณฑ์

- การคงรักษาคุณภาพ หรือภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ไว้

- การพัฒนาคุณภาพของความรู้ไปสู่นวัตกรรมใหม่ๆ

การดำเนินการในเรื่องการบริหารจัดการความรู้

IT จะมีบทบาทต่อการบริหารจัดการความรู้ เป็นอย่างมาก จึงควรต้องระลึกไว้เสมอว่า ข้อมูลสารสนเทศ (Information) ไม่ใช่ความรู้ กล่าวคือ ข้อมูล (Data) หมายถึงข้อมูลดิบที่ยังไม่มีการแปลความหมาย สารสนเทศ (Information) เป็นข้อมูลที่ผ่านกระบวนการเรียบเรียง ตีความ วิเคราะห์ และให้ความหมายแล้ว ความรู้ (Knowledge) คือสิ่งที่ได้จากกระบวนการที่มนุษย์รับข้อมูลผ่านกระบวนการคิด เปรียบเทียบ เชื่อมโยง จนเกิดเป็นความเข้าใจและนำไปใช้ ส่วนความรู้ขั้นสูงสุดคือ ปัญญา (Wisdom) เป็นความรู้ที่สะสมหรือฝังอยู่ในตัวบุคคล การเลือกวิธีการบริหารจัดการความรู้ ได้อย่างเหมาะสม ควรรู้ว่าเราไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้โดยง่ายเสมอไป เนื่องจาก ความรู้มี 2 ประเภท ที่มีลักษณะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง คือ

1. Tacit Knowledge เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์ หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูด หรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางคนเรียกว่าเป็น ความรู้แบบนามธรรม

2. Explicit Knowledge เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้โดยผ่านวิธีการต่างๆ เช่น ลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่างๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็น ความรู้แบบรูปธรรม

Six Sigma

ซิกส์ซิกมา (Six Sigma) หมายถึงระดับคุณภาพของกระบวนการผลิตที่ยอมให้มีของเสียในระบบได้เพียง 3.4 ชิ้นต่อการผลิตสินค้าล้านชิ้น และนอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือช่วยธุรกิจ ให้สามารถแก้ปัญหาคุณภาพของระบบของการปฏิบัติการได้อีกด้วย

“Six Sigma” เกิดขึ้นจากการค้นพบของบริษัท โมโตโรลล่า ในปี พ.ศ. 2529 และนำมาใช้เพื่อลดต้นทุนและปรับกระบวนการทำงานให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของบริษัท จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2549) สามารถทำให้บริษัทประหยัดเงินไปได้ถึง 17 พันล้านดอลล่าร์ ซึ่งต่อมามีบริษัทชั้นนำของโลกได้ประยุกต์ใช้วิธีนี้อีกหลายแห่ง เช่น Honeywell International / General Electric (GE) / Sony / Eastman Kodak เป็นต้น หรืออาจกล่าวได้ว่า 2 ใน 3 ของบริษัทที่ติดอันดับท็อป 500 ของนิตยสารฟอร์จูน ต่างใช้วิธีการนี้เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพื่อการปรับปรุงคุณภาพ

Six Sigma” เป็นกระบวนการที่รวมหลักการปรับปรุงคุณภาพอื่นไว้ด้วยกัน

วิธีการ “Six Sigma” เกิดขึ้นหลังจากที่ได้มีการใช้วิธีการอื่นในการปรับปรุงคุณภาพ อาทิ Quality Control / TQM / Zero Defects ในช่วงทศวรรษก่อนหน้า โดย “Six Sigma” จะมีความแตกต่างกับวิธีการอื่นตรงที่

1 เป็นกระบวนการที่รวบรวมหลักการปรับปรุงต่างๆ ได้แก่ การเปรียบเทียบ (Benchmarking) การเพิ่มผลิตภาพ (Productivity Improvement) การขยายงานในเชิงกลยุทธ์ (Strategic Deployment) รวมไปถึงการนำหลักการทางสถิติและเทคนิค (Statistical and Techniques) มาใช้ในกระบวนการทำงาน

2 มีจุดเน้นที่ชัดเจนในรูปของผลตอบแทน ที่สามารถวัดได้ในเชิงปริมาณของทุกโครงการที่อยู่ในกระบวนการนี้

3 เห็นผลสำเร็จอย่างรวดเร็ว เพราะการบริหารแบบนี้จะเน้นการบริหารจากบนลงล่าง (Top-down Management) ที่ผู้บริหารต้องผลักดันแนวความคิดและการปรับปรุงให้เกิดขึ้น โดยการสร้างให้พนักงานทุกระดับสามารถเข้าใจ และปฎิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม

4 มีการสร้างตัวผู้เล่นที่กำหนดบทบาทไว้ชัดเจน ได้แก่ แชมเปี้ยน (Champions) หัวหน้ากลุ่มสายดำ (Master Black Belts) กลุ่มสายดำ (Black Belts) และกลุ่มสายเขียว (Green Belts)

Balanced Scorecard

บาลานซ์ สกอร์การ์ด จะวัดศักยภาพของบริษัทใน 4 ด้าน (การเลือกที่จะวัดอะไร, อย่างไร และมีเป้าหมายคืออะไร เป็นหน้าที่ของผู้บริหารและที่ปรึกษา)

1. แง่มุมด้านการเงิน (The Financial Perspective) เป็นตัวชี้วัดที่ผู้บริหารคุ้นเคยดี เช่น อัตราส่วนทางการเงิน, ลูกหนี้, กระแสเงินสด

2. แง่มุมด้านลูกค้า (The Customer Perspective) ดูสิ่งที่มีผลกระทบต่อลูกค้าโดยตรง เช่น เวลาเฉลี่ยในการให้บริการลูกค้า, อันดับของบริษัท ถ้าเรียงจากความพอใจของลูกค้า หรือเรียงจากการตำหนิของลูกค้า

3. แง่มุมด้านกระบวนการและประสิทธิภาพการทำงาน (The Business Process/Internal Operations Perspective) ดูสิ่งที่มีผลกระทบต่อกระบวนการทำงานภายในธุรกิจ เช่น เวลาเฉลี่ยที่ต้องใช้ในการทำงานแต่ละอย่าง, จำนวนงานที่ต้องทำใหม่, ความสำเร็จในการบุกเบิกธุรกิจใหม่ ๆ

4. แง่มุมด้านการการเรียนรู้และเติบโต (The Learning and Growth Perspective) เช่น รายได้จากสินค้าใหม่ ๆ, การมีส่วนร่วมของพนักงานในการให้ข้อเสนอแนะ, การฝึกอบรมพนักงาน

ประโยชน์

• ในแง่ตัวเลขวัดประสิทธิภาพ, ช่วยให้บริษัทได้ตั้งเป้าหมายได้อย่างเป็นรูปธรรม (เช่น ปีนี้ต้องมีลูกค้าเฉลี่ยอย่างต่ำ 28.87 คนต่อวัน) และตรวจสอบศักยภาพปัจจุบันว่าใกล้เคียงเป้าหมายมากน้อยเพียงใด

• ได้เห็นถึงความสัมพันธ์ (correlation) ของมุมมองต่าง ๆ ของบริษัท เช่น ถ้าตัวเลขด้าน internal operations สูง จะทำให้ ตัวเลขด้าน customer สูงไปด้วย

ความสัมพันธ์ในมุมมองต่าง ๆ ช่วยให้เราได้ไอเดียใหม่ ๆ ในเป้าหมาย และแผนใหม่ ๆ ของบริษัท ทั้งนี้ยังช่วยให้เราวางเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาวได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย

นางสาวลลิตา คิดอ่าน เลขที่ 17 การจัดการ 2/1

สรุปเครื่องมือทางการบริหารการจัดการ

Balance Scorecard ( BSC )

คือ เครื่องมือสำหรับการบริหารเชิงกลยุทธ์ ซึ่งถูกนำมาใช้เพื่อการประเมินและพัฒนาผลงานขององค์กรเป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ และแผนกลยุทธ์ แล้วแปลผลลงไปสู่ทุกจุดขององค์กรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของแต่ละฝ่ายงานและแต่ละคน

หลักการสำคัญมี 4 มุมมอง คือ

1.ด้านการเงิน = เป็นตัวชี้วัดที่ผู้บริหารคุ้นเคยดี เช่น อัตราส่วนทางการเงิน, ลูกหนี้, กระแสเงินสด

2.ด้านลูกค้า = ดูสิ่งที่มีผลกระทบต่อลูกค้าโดยตรง

3.ด้านกระบวนการและประสิทธิภาพการทำงาน = ดูสิ่งที่มีผลกระทบต่อกระบวนการทำงานภายในธุรกิจ

4.ด้านการการเรียนรู้และเติบโต = เช่น รายได้จากสินค้าใหม่ ๆ, การมีส่วนร่วมของพนักงานในการให้ข้อเสนอแนะ, การฝึกอบรมพนักงาน

ประโยชน์ที่ได้จากการนำ Balanced Scroecard ไปใช้

1.ช่วยให้ผลการดำเนินงานขององค์กรดีขึ้น

2.ทำให้ทั้งองค์กรมุ่งเน้นและให้ความสำคัญต่อกลยุทธ์ขององค์การโดยต้องให้เจ้าหน้าที่ทั่วทั้งองค์กรให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ขององค์กรมากขึ้นและเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ

3.ช่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวัฒนธรรมขององค์กรโดยอาศัยการกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายเป็นเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่

4. ทำให้พนักงานเกิดการรับรู้และเข้าใจว่างานแต่ละอย่างมีที่มาที่ไปอีกทั้งผลของงาน

ตนเองจะส่งผลต่อผลการดำเนินงานของผู้อื่นและขององค์กรอย่างไร

Key Performance Indicator ( KPI )

คือ เครื่องมือที่ใช้วัดผลการดําเนินงานหรือประเมินผลการดําเนินงานในด้านต่าง ๆ ขององค์การซึ่งสามารถแสดงผลขอการวัด

หรือการประเมินในรูปของข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อสะท้อนประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานขององค์การหรือหน่วยงาน

ความแตกต่างระหว่าง BSC กับ KPI

BSC คือ ระบบบริหารการจัดการชนิดหนึ่งซึ่งจะเอาเครื่องมือ KPI มาใช้ประกอบกันในระบบบริหาร ISO 1900 – ISO 2000 ใช้เพื่อการบริหารของ BSC

********************************************************************

Six Sigma

คือการบริหารที่มุ่งเน้นความผิดพลาดกับการสูญเปล่าและการลดของเสียในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์

หลักการสำคัญ

มุ่งเน้นการสื่อสาร กลยุทธ์ และนโยบาย ให้พนักงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและทำงานอย่างดีที่สุด

ประโยชน์ที่นำ Six Sigma มาใช้

1. แก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ลดความสูญเสียของการผลิตได้

3. สามารถเปรียบเทียบเข้ากลุ่มอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพได้

4. สามารถพัฒนาบุคลากรให้สูงขึ้นได้

*********************************************************************

Reengineering

คือ การพัฒนาหลักการพื้นฐานของกระบวนการธุรกิจและการออกแบบอย่างถอนรากถอนโคนเพื่อบรรลุหลักการวัด เช่น ต้นทุนคุณภาพ การตอบสนองความต้องการของลูกค้า เป็นต้น

หลักการสำคัญ

การมุ่งปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินงานการทำความเข้าใจและปรับเปลี่ยน

แนวคิดพื้นฐาน สมมุติฐาน และหลักการคิด

ประโยชน์ที่นำ Reengineering มาใช้

1. มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า

2. พนักงานทำงานได้อย่างอิสระ

3. เป็นการกระตุ้นแรงจูงใจให้แก่พนักงาน

4. เพื่อพัฒนาศักยภาพของพนักงานให้ก้าวหน้าในตำแหน่งที่สูงขึ้น

*********************************************************************

Knowledge Management ( KM )

คือ ระบบบริหารจัดการความรู้ให้เป็นระเบียบครบถ้วนง่ายต่อการเรียกใช้ จัดเก็บตามความต้องการ เก็บตามความรู้ให้ควบคู่กับองค์กรตลอดไปโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดการ

หลักการสำคัญ

การมุ่งปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานทางธุรกิจเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายพัฒนาความรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ต่อไป

ประโยชน์ที่นำ Knowledge Management มาใช้

1. เพิ่มประสิทธิภาพขององค์การ

2. ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา

3. เป็นการลงทุนในต้นทุนมนุษย์

4. ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจและวางแผนให้รวดเร็ว

5. เจ้านายกับลูกน้องทำงานใกล้ชิดกันมากขึ้น

6. เมื่อพบข้อผิดพลาดสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันที

7. เพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันและความอยู่รอด

8. เพื่อการสร้างสรรค์และบรรลุเป้าหมายของจินตนาการที่ยิ่งใหญ่

9. ความสามารถในการปรับตัวและความยืดหยุ่น

10. แปรรูปความรู้ให้เป็นทุน

*********************************************************************

Activity Based Management ( ABM )

คือ เครื่องมือที่ใช้ปฏิบัติงานบนสารสนเทศ กิจกรรม และประเมินมูลค่าการเพิ่มของเนื้องานในกระบวนการธุรกิจ

หลักการสำคัญ

1. การขจัดความสูญเปล่า

2. สร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้แก่องค์การ

3. ค้นหาปัญหาและแก้ไขได้ทันท่วงที

4. ขจัดการผิดพลาดและจัดสรรต้นทุนที่ไม่เหมาะสม

ประโยชน์ที่นำ Activity Based Management มาใช้

1. ช่วยให้บริหารและเข้าใจการปฏิบัติงาน

2. เพื่อให้สามารถใช้ต้นทุนในการผลิตโดยไม่มีการสูญเสีย

3. ลดค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ

4. ช่วยสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า

5. ช่วยในเรื่องต้นทุนกิจกรรมในเรื่องต่าง ๆ

*********************************************************************

Benchmarking ( BM )

คือ การเปรียบเทียบความสามารถอย่างเป็นระบบเป็นกระบวนการที่เอาลักษณะที่มีอยู่เดิมเชื่อมต่อกันให้มีกระบวนการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าอย่างเป็นระบบโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาให้ทัดเทียมกับองค์กร

หลักการสำคัญ

1. สนับสนุนการไม่ยึดติดกับความสำเร็จในอดีต

2. ลดความหยิ่งผยอง ให้ถ่อมตัว

3. ผลักดันให้เกิดความใส่ใจต่อโลกภายนอก

4. สร้างวัฒนธรรมในการยอมรับและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ

5. ต้องวัดและเปรียบเทียบอย่างสม่ำเสมอ

ประโยชน์ที่นำ Benchmarking มาใช้

1. ทำให้ธุรกิจรู้จักตนเองจากการวัดผลการดำเนินงาน เปรียบเทียบกับองค์กรอื่นที่มีการดำเนินงานที่ดีที่สุด

2. เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมที่สามารถวัดและตรวจสอบได้ มิใช่แค่เพียงนึกหรือคิดเอาเองเท่านั้น

3. เป็นการสั่งสมความรู้ ทักษะ และ ประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหาขององค์กรในอนาคต

4. มิใช่เทคนิคการปฏิบัติการเพื่อสร้างคุณภาพประสิทธิภาพและผลิตภาพในการผลิตและบริการเท่านั้น แต่จะเป็นเครื่องมือในระดับกลยุทธ์ที่จะพัฒนาศักยภาพ แสดงความสามารถในการแข่งขันขององค์กร

*********************************************************************

นางสาวเกศิณี นิลกำแหง กจ.2/1 เลขที่ 2

 

สรุปเครื่องมือทางการบริหารจัดการ

Balance Scorecard

        Balanced Scorecard คือระบบการบริหารงานและประเมินผลทั่วทั้งองค์กร และไม่ใช่เฉพาะเป็นระบบการวัดผลเพียงอย่างเดียว แต่จะเป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ (vision) และแผนกลยุทธ์ (strategic plan) แล้วแปลผลลงไปสู่ทุกจุดขององค์กรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของแต่ละฝ่ายงานและแต่ละคน โดยระบบของ Balanced Scorecard จะเป็นการจัดหาแนวทางแก้ไขและปรับปรุงการดำเนินงาน โดยพิจารณาจากผลที่เกิดขึ้นของกระบวนการทำงานภายในองค์กร และผลกระทบจากลูกค้าภายนอกองค์กร มานำมาปรับปรุงสร้างกลยุทธ์ให้มีประสิทธิภาพดีและประสิทธิผลดียิ่งขึ้น

Balance Scorecard จะทำให้เราได้เห็นภาพขององค์กรใน 4 มุมมอง และนำไปสู่การพัฒนาเครื่องมือวัดผล โดยวิธีการรวบรวมข้อมูลและนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ มุมมองทั้ง 4 ดังกล่าว ประกอบด้วย
The Learning and Growth Perspective เป็นมุมมองด้านการเรียนรู้และการเติบโต เช่น การพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงาน, ความพึงพอใจของพนักงาน, การพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกในการทำงาน เป็นต้น
The Business Process Perspective เป็นมุมมองด้านกระบวนการทำงานภายในองค์กรเอง เช่น การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ, การจัดโครงสร้างองค์กรที่มีประสิทธิภาพ, การประสานงานภายในองค์กร, การจัดการด้านสายงานผลิตที่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น
The Customer Perspective เป็นมุมมองด้านลูกค้า เช่น ความพึงพอของลูกค้า, ภาพลักษณ์, กระบวนการด้านการตลาด, การจัดการด้านลูกค้าสัมพันธ์ เป็นต้น
The Financial Perspective เป็นมุมมองด้านการเงิน เช่น การเพิ่มรายได้, ประสิทธิภาพในการผลิตที่มีต้นทุนต่ำและมีการสูญเสียระหว่างผลิตน้อย, การหาแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำ เป็นต้น

ความสมดุล (Balance) ในการพัฒนาองค์กรนั้น สามารถวัด และประเมินได้จากการมองผ่านมุมมองของระบบการวัดและประเมินผลใน 4 ด้านหลัก คือ
-  มุมมองด้านการเงิน (Financial Perspective; F)
-  มุมมองด้านลูกค้า (Customer Perspective; C)
-  มุมมองด้านการดำเนินการภายใน (Internal Perspective; I)
-  มุมมองด้านการเรียนรู้และพัฒนาการ (Learning and Growth; L)

Key Performance Indicator

                การถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมายของระดับองค์กรสู่ระดับบุคคล เริ่มขึ้นเมื่อองค์กรได้จัดทำยุทธศาสตร์และมีการนำยุทธศาสตร์นั้นไปปฏิบัติ โดยมีตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators : KPIs) เป็นเครื่องมือที่สำคัญประการหนึ่ง ในการวัดผลสำเร็จของแผน ทั้งนี้ จะต้องกำหนดตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับเป้าประสงค์ตามยุทธศาสตร์ขององค์กร
คุณลักษณะของตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักที่ดี คือ ต้อง "
SMART" ได้แก่
1. Specific
ความเฉพาะเจาะจง ตัวชี้วัดควรมีความชัดเจนและมีความหมายมุ่งไปยังสิ่งที่วัด ควรกำหนดตัวชี้วัดให้ชัดเจน ไม่กำกวม เพื่อมิให้เกิดการตีความผิดพลาดและเพื่อสื่อสารความเข้าใจให้ตรงกันทั่วทั้งองค์กร
2. Measurable
เป็นตัวชี้วัดที่สามารถนำไปวัดผลการปฏิบัติงานได้จริง ข้อมูลที่ได้จากการวัดสามารถ นำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้จากตัวชี้วัดอื่นและใช้วิเคราะห์ความหมายทางสถิติได้
3. Attainable ( Achievable )
สามารถบรรลุผลสำเร็จได้ องค์กรไม่ควรใช้ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักที่องค์กรไม่สามารถควบคุมให้เกิดผลได้โดยตรง
4. Realistic
มีความสมจริง ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักมีความเหมาะสมกับองค์กรและไม่ใช้ต้นทุน การวัดที่สูงเกินไป
5. Timely
สามารถใช้วัดผลการปฏิบัติงานได้ภายในเวลาที่กำหนด ควรปรับปรุงตัวชี้วัด ให้ทันสมัยอยู่เสมอ

                                                                        Six Sigma
แนวคิดการบริหารแบบ six sigma
1.  เน้นสร้างทักษะและการเรียนรู้ให้แก่พนักงานอย่างเป็นระบบ และเข้มงวด รู้ปัญหาและกำหนดเป็นโครงการปรับปรุงทั้งระยะสั้นและระยะยาว
2.  วัดที่ผลการปรับปรุงเป็นหลัก
3.  ใช้ทีมงานที่มีผลประเมินการทำงานดี หรือ ดีเยี่ยม มาทำการปรับปรุงและตัดสินใจให้คนเก่งมีเวลาถึง 100 % เพื่อแก้ปัญหาให้กับองค์การ
4.  สร้างผู้นำโครงการให้เกิดขึ้นในอนาคต
5.  ใช้ข้อมูลเป็นตัวตัดสินใจเท่านั้น
6.  เน้นความรับผิดชอบในการทำโครงการ
7.  การให้คำมั่นสัญญามาจากผู้บริหาร
หลักการสำคัญของกลยุทธ์ Six sigma
การบรรลุกลยุทธ์ที่สำคัญของ six sigma ซึ่งเกี่ยวข้องกับขั้นตอน 4 ขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วย Measure-Analyze-Improve-Control
1. Measurement ในขั้นนี้เป็นการขั้นตอนการวัด วัดว่าองค์การอยู่ที่ใด black belt จะกระทำเพื่อวัดจุดวิกฤตต่อคุณภาพ (Critical to Quality:CTQ) หรือการวัดสิ่งที่มีผลกระทบต่อลักษณะคุณภาพหรือผลการปฏิบัติงานมากที่สุด วางแผนกำลังคน ทำการวัดในสิ่งที่จำเป็น ซึ่งเป็นการประเมินปัญหาและระบุปัญหา บันทึกผลลัพธ์ที่ได้และประมาณการศักยภาพขององค์การและกระบวนการต่าง ๆ ในองค์การในระยะยาว
2. Analyze เป็นการวิเคราะห์วิเคราะห์ว่าปัญหาต่าง ๆ เริ่มมาจากที่ใด เพื่อหาทางแก้ไข โดยการเปรียบเทียบศักยภาพขององค์การและคู่แข่ง วิเคราะห์ช่องว่างของกระบวนการทำงานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การเพื่อระบุปัจจัยที่นำไปสู่ผลสำเร็จในกระบวนการปฏิบัติงาน ในบางกรณีจะพบว่าองค์การมีความจำเป็นต้องออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการใหม่ ๆ เพื่อเป็นการลดช่องว่าง และปรับปรุงสมรรถนะของกระบวนการให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
3. Improvement การแก้ไขกระบวนการ ในขั้นนี้ black belt จะเป็นผู้ระบุลักษณะของผลิตภัณฑ์ ที่ต้องปรับปรุงเพื่อให้บรรลุผลในการปฏิบัติงานและบรรลุวัตถุประสงค์ทางด้านการเงิน การการปรับปรุงที่ CTQ จะช่วยในการปรับปรุงเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งกระบวนการ
4. Control การควบคุม ในขั้นนี้ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อช่วยให้ black belt กำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อเป็นตัวควบคุมตัวแปรที่สำคัญให้อยู่ในช่วงมาตรฐานใหม่ที่ระดับการทำงานที่ได้รับการปรับปรุงแล้วในขั้นตอนของการปรับปรุงจนมั่นใจว่าความสำเร็จต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลมาจากการปรับปรุงกระบวนการจริง ๆ (MiKel J. Harry,1998:62).
              เมื่อได้มีการปรับปรุงกระบวนการทั้ง 4 ขั้นตอนที่กล่าวมา ประกอบด้วย การวัด (Measurement) การวิเคราะห์ (Analyze) การปรับปรุง (Improvement) การควบคุม (Control) จะทำให้องค์การสามารถปรับปรุงผลสำเร็จทางเศรษฐกิจ และสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าได้

Knowledge Management : KM

ความหมาย
                ความรู้ (Knowledge) หมายถึง สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้าหรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติ และทักษะ ความเข้าใจ หรือ สารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สิ่งที่ได้มาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิดหรือการปฏิบัติองค์วิชาในแต่ละสาขา
                การจัดการความรู้ (Knowledge Management) หมายถึง กระบวนการที่ดำเนินร่วมกันโดยผู้ปฏิบัติงานในองค์กร หรือหน่วยงานย่อยขององค์กร เพื่อสร้างและใช้ความรู้ในการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ดีกว่าเดิม มีเป้าหมายในการพัฒนางานและคนโดยใช้ความรู้และการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ

กระบวนการจัดการความรู้ ( Knowledge Management Process)
ในการจัดการความรู้ มีกระบวนการในการดำเนินการ ดังนี้
4.1 การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge identification) เราจะต้องทราบว่าเราต้องมีความรู้เรื่องอะไร เรามีความรู้เรื่องนั้นหรือยัง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร
4.2 การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition) เป็นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า และกำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
4.3 การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization ) เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
4.4 การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement) ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ให้เนื้อหาสอดคล้องและปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์
4.5 การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access) แหล่งความรู้เข้าถึงและนำมาใช้งานได้ง่าย เช่น การฝึกอบรม หนังสือเวียน บอร์ด หรือ Web Board
4.6 การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing ) จะต้องมีการแลกเปลี่ยนความรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม ดังนี้
                4.6.1 Explicit Knowledge แลกเปลี่ยนด้วยวิธีการ เช่น จากเอกสารฐานความรู้เทคโนโลยี่  สารสนเทศ
                4.6.2 Tacit Knowledge แลกเปลี่ยนด้วยวิธีการ เช่น ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้
4.7 การเรียนรู้ (Learning) การจัดการให้เกิดการเรียนรู้ ร่วมกันในองค์การจะทำให้เกิดองค์ความรู้และสมาชิกในองค์การ สามารถนำความรู้จากองค์ความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานได้ ซึ่งส่งผลให้เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์และเป็นการสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนางานตลอดจนประสบการณ์ใหม่ ๆ และนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ในองค์การได้

Activity-Based Management (ABM)

คือ เครื่องมือที่ใช้ในการตัดสินใจในการปฏิบัติการ บนสารสนเทศกิจกรรมและประเมินมูลค่าเพิ่มของเนื้องานในกระบวนการธุรกิจ ABM ใช้วิเคราะห์คุณลักษณะ วิเคราะห์กลยุทธ์ เทียบเคียงวิเคราะห์การปฏิบัติการ วิเคราะห์ความสามารถทำกำไร วิเคราะห์กิจกรรม และใช้ปรับปรุงกระบวนการ

ประโยชน์ของABM
   1.  ลดต้นทุน
   2.  ผู้ปฏิบัติการมีความกระตือรือร้น
   3.  เพิ่มประสิทธิภาพ (Productivity)ทั้งด้านการผลิตและบุคลากร
   4.  มอง Interaction ระหว่างหน่วยงาน
   5.  ใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจของผู้บริหารได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
   6.  เกิดประโยชน์ต่อการบริหารงานและบริหารงบประมาณของหน่วยงาน
   7.  เกิด Cost Allocation ที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้น

Reengineering

วิธีการปรับตัวขององค์การธุรกิจ เริ่มจาก หลักการสำคัญคือ

    1.  Re-think       -  คิดแบบใหม่เพื่อค้นหารากเหง้าของปัญหา

    2.  Re-design      -  ออกแบบกระบวนการทำงานใหม่

    3.  Re-tool           -  นำอุปกรณ์เทคโนโลยี  ใหม่ๆมาใช้เพื่อตอบสนองงานแบบใหม่

    4.  Re-train          -  ฝึกอบรมบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการทำงานแบบใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 เรียกกระบวนการนี้ว่า Reegineering

                "Reengineering" หมายถึง การพิจารณาหลักการพื้นฐานของธุรกิจที่ทำอยู่เดิม และคิดหลักการขึ้นมาใหม่อย่างถอนรากถอนโคน ปรับกระบวนการทำงานใหม่ เพื่อให้บรรลุตัวผลลัพธ์คือเป้าหมายขององค์การ โดยใช้ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานใน 4 ด้าน คือ ต้นทุนที่ต่ำลง  คุณภาพที่สูงขึ้น  การบริการที่สดวกเป็นที่พึงพอใจของลูกค้า  และความรวดเร็วในการดำเนินงาน ไม่ต้องรอคอย

Benchmarking

 

benchmarking เป็นกระบวนการวัดและเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ บริการ และวิธีปฏิบัติ กับองค์กรที่สามารถทำได้ดีกว่า เพื่อนำผลของการเปรียบเทียบมาใช้ในการปรับปรุงองค์กรของตนเองเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งจากความหมายนี้ สรุปได้ว่าการทำ Benchmarking ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่

                1.  การเปรียบเทียบวัด (Benchmark) ซึ่งในส่วนนี้ต้องมีการกำหนดตัววัด หรือที่เรียกว่า Key Performance Indicator (KPIs) ว่าจะเปรียบเทียบกับใคร ในเรื่องใด

                2.  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการปฏิบัติที่ดี/เป็นเลิศ (Best Practices) จากผู้ที่ทำได้ดีกว่า โดยเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นหลังจากการเปรียบเทียบวัดให้รู้ถึงผู้ที่ทำได้ดีกว่า

กระบวนการทำ Benchmarking

ขั้นตอนการวางแผน (Planning stage) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนย่อย

                -  การกำหนดหัวข้อการทำ Benchmarking

            -  การกำหนดองค์กรเปรียบเทียบ

                -  การกำหนดวิธีการเก็บและการเก็บข้อมูล

ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis Stage) ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนย่อย ดังนี้

-  การวิเคราะห์ช่วงห่างระหว่างเรากับ Benchmarking Partner

- การคาดคะเนช่วงห่างที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นการประมาณการ Gap ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
ขั้นตอนการปฏิบัติ
(Action Stage) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนย่อย ดังนี้

-  การจัดทำแผนดำเนินการ เป็นการนำผลการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาจัดทำแผนปฏิบัติการที่ชัดเจน

-  การนำแผนไปสู่การปฏิบัติและการควบคุมกำกับดูแลให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้

-  การทบทวนผลโดยเทียบค่ากับผู้ที่ดีที่สุด หรือ คู่เปรียบเทียบหลักจากกดำเนินงานตามแผนแล้ว

 

 

 

 

 

พิรุฬห์ลักษณ์ ไชยประดิษฐ เลขที่ 14 กจ. 2/1

สรุปเครื่องมือ

Balanced Scorecard ( BSC )

เป็นเครื่องมือที่ช่วยแปลงวิสัยทัศน์ไปสู่การปฏิบัติ และมักจะนำไปสู่การจัดทำองค์การที่ดี

BSC มี 4 มุมอง

1. มุมมองด้านการเงิน

2. มุมมองด้านลูกค้า

3. มุมมองด้านกระบวนการภายใน

4. มุมมองด้านการเรียนรู้และพัฒนา

ประโยชน์

1. เป็นแนวทางในการทำงานขององค์กร

2. ช่วยให้มองเห็นวิสัยทัศน์ขององค์กรชัดเจนขึ้น

3. ช่วยให้ผลการดำเนินงานขององค์กรดีขึ้น

-------------------------------------------------------

Key Performance Indicator ( KPI )

เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดผลการดำเนินงานหรือประเมินผลการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ขององค์กร วัดประสิทธิภาพกับงานในองค์กร และต้องสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ขององค์กร

ลักษณะที่สำคัญ

1. ต้องสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ภารกิจ

2. ประกอบด้วยตัวชี้วัดทางการเงิน

3. ควรแสดงถึงสิ่งที่มีความสำคัญเท่านั้น

ประโยชน์

1. ทำให้ทีมงานรู้ว่าจะต้องทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อะไร

2. ทำให้มีตัวชี้วัดความสำเร็จ

3. สามารถตรวจสอบผลงานตนเองได้ทุกเวลา

4. มีหลักเกณฑ์ในการชี้วัดชัดเจน

-------------------------------------------------------

Six Sigma

คือแนวทางการพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพสูง เป็นกระบวนการทางธุรกิจที่ให้องค์กรต่าง ๆ ปรับปรุงความสามารถ โดยออกแบบและตรวจสอบธุรกิจประจำวัน เพื่อลดการใช้ทรัพยากร แต่ขณะเดียวกันก็เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า

ประโยชน์

1. ช่วยลดต้นทุนขององค์กร

2. สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. สามารถลดความสุญเสียโอกาสอย่างมีระบบและรวดเร็ว

-------------------------------------------------------

Reengineering

" การรื้อปรับระบบ " หมายถึง การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เป็นการทำเพื่อความอยู่รอดขององค์การ

มีคำศัพท์หลักที่สำคัญ

1. พื้นฐาน คำศัพท์หลักคำนี้เป็นคำถามพื้นฐานที่สุดและเป็นหัวใจสำคัญในการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง ซึ่งธุรกิจหรือองค์การจะต้องพิจารณาถึงพื้นฐาน สมมุติฐาน หรือกฎเกณฑ์ที่รองรับการดำเนินธุรกิจ

2. ถอนรากถอนโคน หมายถึง การมุ่งที่รากแก้วของสิ่งทั้งหลาย ซึ่งไม่ใช่เพียงการปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือเพียงผิวเผิน แต่เป็นการทิ้งของเดิมไปทั้งหมดอย่างสิ้นเชิง

3. ยิ่งใหญ่ คำศัพท์หลัก ยิ่งใหญ่ ในที่นี้ เป็นการเน้นย้ำว่า การทำรีเอ็นจิเนียริ่งมุ่งสู่การกระทำที่จะนำมาซึ่งผลลัพธ์ของการทำงานบรรลุผลอันยิ่งใหญ่มโหฬาร เพราะความต้องการบรรลุเป้าหมายเพิ่มขึ้น

4. กระบวนการ คือ กลุ่มของกิจกรรม ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมที่หนึ่ง หรือในกิจกรรมของการนำปัจจัยนำเข้า และกิจกรรมอื่น ๆ ตามลำดับ จนถึงกิจกรรมสุดท้ายที่เกิดเป็นผลลัพธ์หรือการได้รับปัจจัยนำออกที่มีคุณค่าเพิ่มขึ้น

-------------------------------------------------------

Knowledge Management (KM)

เป็นระบบบริหารจัดการความรู้ ให้เป็นระเบียบ ปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานทางธุรกิจที่ดี พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร เพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจ และวางแผนดำเนินงานให้รวดเร็ว

ประโยชน์

1. ปรับปรุงประสิทธิภาพ และเพิ่มผลผลิต

2. เพิ่มคุณภาพและลดรอบเวลาในการให้บริการ

3. ลดค่าใช้จ่าย

4. ให้ความสำคัญกับความรู้ของพนักงาน

-------------------------------------------------------

Activity Based Management ( ABM )

เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตัดสินใจบนสารสนเทศกิจกรรม และประเมินมูลค่าเพิ่มของเนื้องานในกระบวนการธุรกิจ ABM ใช้วิเคราะห์คุณลักษณะ วิเคราะห์กลยุทธ์ เทียบเคียงวิเคราะห์การปฏิบัติการ วิเคราะห์ความสามารถทำกำไร วิเคราะห์กิจกรรม และใช้ปรับปรุงกระบวนการ

ประโยชน์

1. ช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจตามกิจกรรมต่าง ๆ

2. ทำให้รู้เป้าหมายและต้นทุน

3. สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าทั้งราคาและบริการ

4. ใช้วิเคราะห์กิจกรรม กิจกรรมที่เพิ่มคุณค่า และไม่เพิ่มคุณค่า

--------------------------------------------------------

Benchmarking

เป็นการค้นหาจุดเด่นจุดด้อยในองค์กรของเรา โดยใช้วิธีเปรียบเทียบกับองค์กรอื่นๆ ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าหรือองค์กรที่เป็นผู้นำ จากนั้น นำข้อมูลที่วิเคราะห์ได้มาปรับปรุงองค์กรของเราให้ดียิ่งขึ้น

ขั้นตอนใจการจัดทำ

1. การกำหนดหัวข้อที่จะทำ Benchmarking

2. การสร้างทีมงาน

3. ระบุผู้ร่วมงาน

4. การเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล

5. การปฏิบัติการ

ประโยชน์

1. เปลี่ยนแปลงองค์กรในทางสร้างสรรค์

2. นำไปสู่วิธีการปฏิบัติงานในรูปแบบใหม่

3. ส่งเสริมการปฏิบัติงานภายในองค์การให้ดีขึ้น

4. นำไปสู่การวางแผนเชิงกลยุทธ์ร่วมกัน

5. องค์การสามารถสร้างจุดแข็ง

น.ส.รัชดาภรณ์ ตื้อยศ กจ. 2/1 เลขที่ 16

สรุปเครื่องมือทางการบริหารจัดการ

Balanced Scorecard (BSC)

องค์กรในประเทศไทยนำเอา Balanced Scorecard (BSC) มาใช้ด้วยวัตถุประสงค์หลัก ๆ สองประการ คือ

๑. เป็นเครื่องมือในการประเมินผลระดับต่าง ๆ

๒. เป็นเครื่องมือที่ช่วยเชื่อมโยงระหว่างแผนกลยุทธ์กับแผนปฏิบัติการ

แนวทางการนำ Balanced Scorecard มาใช้ให้เกิดผล

การนำ BSC ไปใช้ให้เกิดผลสำเร็จนั้น มีปัจจัยหลาย ๆ อย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง และขั้นตอนที่จะส่งผลสำเร็จหรือไม่นั้นอยู่ในขั้นของการนำ BSC ไปใช้มากกว่าการออกแบบแต่การนำ BSC ไปปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จนั้นไม่ได้มีกฎเกณฑ์ตายตัว ซึ่งจะสามารถสรุปปัจจัยที่จะนำ BSC ไปใช้ให้เกิดผลได้ดังนี้

๑. ผู้บริหารระดับสูงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการนำ BSC มาใช้ให้เกิดผลสำเร็จ ผู้บริหารจะต้องมีความเข้าใจในหลักการของ BSC และมีทัศนคติที่ดีในการนำBSC มาใช้ อีกทั้งต้องให้การสนับสนุนและเป็นเจ้าภาพในการนำ BSC มาใช้ในองค์กรโดยไม่ควรจะมอบหมายให้ผู้บริหารระดับรองเป็นเจ้าภาพแทน

๒. การบริหารการเปลี่ยนแปลง การนำ BSC มาใช้ให้เกิดผลจะต้องนำแนวคิดในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงเข้ามาใช้ร่วมด้วย เนื่องจากการนำ BSC มาใช้นั้นจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในองค์กร ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ควรพิจารณาได้แก่ มุ่งเน้นการสื่อสารภายในและไม่ควรทำทีเดียวทั้งองค์กร รวมทั้งจะต้องมีการสร้างทัศนคติที่ดีให้กับพนักงานด้วย

๓. การนำ BSC มาใช้ต้องเน้นที่ความเร็ว เรียบง่าย ต่อเนื่อง และใช้เป็นประจำโดยความเร็วคือ ความเร็วในการพัฒนาและนำเอา BSC ไปใช้ การพัฒนาจึงมุ่งเน้นถึงการพัฒนามากกว่าความสมบูรณ์ เนื่องจาก BSC จะไม่มีวันสมบูรณ์ได้จนกว่าได้มีการใช้ความเรียบง่ายคือ ความเรียบง่ายในด้านหลักการแนวคิดที่ชัดเจนและตรงไปตรงมาความต่อเนื่อง

๔. การผูกผลของ BSC กับสิ่งที่จูงใจบุคลากร ถือเป็นประเด็นที่ยังถกเถียงกันอยู่ซึ่งการผูกกับสิ่งจูงใจนั้นหมายถึง ถ้าทำได้ตามเป้าหมายจะได้รับรางวัล แต่ถ้าไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้จะไม่เกิดอะไรขึ้น ซึ่งในประเด็นนี้ยังจำเป็นต้องพิจารณาต่อไป

๕. BSC ถือเป็นเครื่องมือทางกลยุทธ์ ดังนั้นถ้าจะนำมาใช้ให้เกิดผลที่สุด ควรจะนำมาใช้ในด้านของกลยุทธ์เป็นหลัก ไม่ใช่เพียงแค่การประเมินผลให้ครบทั้ง ๔ ด้านเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการกำหนดตัวชี้วัด (Key Performance Indicators) เนื่องจากตัวชี้วัดที่อยู่ใน BSC นั้นควรจะเป็นตัวชี้วัดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Measures) มากกว่าตัวชี้วัดที่เป็นตัวชี้วัดในการเตือนภัย (Safety Measures)

การนำ Balanced Scorecard มาใช้ในทางปฏิบัติ

Kaplan และ Norton ได้ให้คำนิยามของ Balanced Scorecard ว่า “เป็นเครื่องมือทางการจัดการที่ช่วยในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ โดยอาศัยการประเมินและการวัด และจะช่วยให้องค์กรเกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และมุ่งเน้นสิ่งที่สำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร” จากคำนิยามนี้องค์กรบางแห่งสามารถที่จะใช้ Balanced Scorecard เป็นเพียงเครื่องมือในการวัดและประเมินผลเท่านั้น แต่บางองค์กรก็สามารถนำ BSC ไปประยุกต์ใช้ในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติได้ ตัวอย่างขององค์กรที่ประสบความสำเร็จในการนำ BSC ไปใช้ ได้แก่ บริษัท CIGNA บริษัท Mobil บริษัท Brown and Root บริษัท Apple Computer และ บริษัท Advanced Micro Devices (AMD) เป็นต้น

องค์กรต่าง ๆ เหล่านี้ ได้ให้ความสำคัญกับการนำ BSC ไปใช้ในการประเมินผลและสามารถนำกลยุทธ์จากผู้บริหารระดับสูงไปสู่การปฏิบัติจริง Kaplan และ Norton ได้มองประเด็นหลักที่จะนำมาช่วยในการวิเคราะห์ BSC ซึ่งจะประกอบด้วย 4 หัวข้อหลัก ๆ คือ

1. วัตถุประสงค์ (Objective) – สิ่งที่องค์กรมุ่งหวังหรือต้องการเพื่อบรรลุมุมมองแต่ละด้าน

2. ตัวชี้วัด (Measures หรือ Key Performance Indicators : KPIs) – จะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดว่าองค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ในมุมมองแต่ละด้านหรือไม่

3. เป้าหมาย (Target) - ตัวเลขเป้าหมายที่องค์กรใช้ชี้วัดในมุมมองแต่ละด้าน

4. แผนงานที่จะจัดทำ (Initiatives) – แผนงาน หรือกิจกรรมเบื้องต้นของมุมมองแต่ละด้าน ซึ่งยังไม่ใช่เป็นแผนปฏิบัติการที่มีรายละเอียดในการปฏิบัติจริง ๆ

******************************************************************************************************

key Performance indicators (KPI)

KPI คือ เครื่องมือที่ใช้วัดผลการดำเนินงานหรือประเมินผลการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ขององค์กรซึ่งสามารถแสดงผลขอการวัดหรือการประเมิน ในรูปข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อสะท้อนประสิทธิภาพประสิทธิผลในการปฏิบัติงานขององค์กรหรือหน่วยงานภายในองค์กร

องค์ความรู้ที่จำเป็นในการจัดทำ BSC และ KPI ให้มีประสิทธิภาพ

1. ความรู้ด้านการวางแผน (Planning)

2. ความรู้ด้านการวางแผนกลยุทธ์

กลยุทธ์จะมี 3 ขั้นตอน ได้แก่

ขั้นตอนที่ 1 ขั้นพิจารณาสภาพการดำเนินงานขององค์การในปัจจุบัน เพื่อให้ทราบว่า “ตอนนี้การดำเนินงานขององค์การของเราเป็นอย่างไร” (Where are we now?) เครื่องมือสำเร็จรูปที่ใช้วิเคราะห์ได้แก่ McKinsey’s 7-S และ Michael Porter’s Value Chain

ขั้นตอนที่ 2 ขั้นพิจารณาอนาคตขององค์การ เพื่อให้ทราบว่า “ในอนาคตเราต้องการไปที่ใด” (Where do we want be?) เครื่องมือสำเร็จรูปที่ใช้วิเคราะห์ได้แก่ SWOT

ขั้นตอนที่ 3 ขั้นพิจารณาวิธีปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายนั้น เพื่อให้ทราบว่า “ทำอย่างไรจึงจะไปถึงจุดนั้น” (How will we get there?)

3. ความรู้ด้านการวางแผนปฏิบัติการ

4. ความรู้ด้านการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result Based Management)

5. ความรู้ด้านตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานที่สำคัญ (Key Performance Indicators – KPIs)

6. ความรู้ด้านตัวชี้วัดผลสำเร็จแบบสมดุล (The Balanced Scorecard – BSC)

7. ความรู้ด้านการเทียบวัดมาตรฐานขององค์การ (Benchmarking)

การจัดทำ BSC และ KPI สำหรับผู้เชี่ยวชาญจะสามารถยักย้ายถ่ายเทวิธีการต่าง ๆ ได้ ตลอดเวลา ข้อสำคัญที่ควรคำนึงคือ หากทีมงานที่ร่วมทำ Workshop ระดมสมองของกลุ่มต่าง ๆ ไม่ได้ตกลงกันไว้ล่วงหน้าให้ดี หากทำกันคนละวิธีจะทำให้เกิดความสับสนขึ้นในหมู่ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ และอาจนำไปสู่ความไม่แน่ใจว่าวิธีไหนถูกต้อง วิธีไหนดีกว่ากัน เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ทีมงานต้องใส่ใจให้ดีและต้องร่วมประชุมซักซ้อมความเข้าใจระหว่างกันให้ดี อย่าปล่อยให้ต่างคนต่างคิดต่างคนต่างทำ เพราะอาจนำไปสู่ปัญหายุ่งยากได้

****************************************************************************************************

Six Sigma

Six Sigma คือ กระบวนการเพื่อลดความผิดพลาด (Defect) ที่เกิดขึ้นในกระบวนการต่างๆโดยมุ่งเน้นให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุดและมี ความสูญเสียได้ไม่เกิน 3.4 หน่วยในล้านหน่วย หรือเรียกอีกอย่างว่า ความสูญเสียโอกาสลงให้เหลือเพียงแค่ 3.4 หน่วยนั่นเอง (Defect per Million Opportunities, OPMO) Six Sigma เป็นแนวทางชี้แนะให้องค์กรทำให้เกิดข้อ ผิดพลาดน้อยที่สุด ตั้งแต่การจัดข้อมูลคำสั่งซื้อสินค้า ไปจนถึง การผลิตเครื่องยนต์เครื่องบิน โดยการลดช่องโหว่ของคุณภาพตั้งแต่ ที่ปรากฏขึ้นครั้งแรก

Six Sigma ไม่เพียงตรวจจับหรือแก้ไขจุดบกพร่อง แต่ยังนำเสนอวิธีการที่เฉพาะเจาะจง สำหรับการสร้างกระบวนการทำงานใหม่ ให้ไม่มีจุดผิดพลาดเกิดขึ้นตั้งแต่ต้น

การใช้ซิกซ์ซิกม่าสำหรับผู้บริหาร Six Sigma for Execution

การใช้ซิกซิกม่าในองค์กร มีการนำมาใช้ในการลดต้นทุนและเพิ่มคุณภาพการบริการ

ซิกซิกม่าคืออะไร เป็นเครื่องมือบริหารเหมือน TQA , TQM ที่มุ่งเน้นความพึงพอใจลูกค้า เพื่อให้เพิ่มการซื้อ เทคนิคจะใช้เชิงวิทยาศาสตร์มีการคำนวนวัดค่าชัดเจน ทุกขั้นตอนต้องเป็นตัวเลขว่าเท่าไร มั่นใจเท่าไร ทดสอบสมมติฐาน สัมผัสได้

Six sigma จึงถูกนำมาใช้เป็นชื่อเรียกของวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพในขบวนการใด ๆ โดยมุ่งเน้นการลดความไม่แน่นอน หรือ Variation และ การปรับปรุงขีดความสามารถในการทำงานให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด เพื่อนำมาซึ่งความพอใจของลูกค้า และผลที่ได้รับสามารถวัดเป็นจำนวนเงินได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มรายได้ หรือลดรายจ่ายก็ตาม

*********************************************************************************************************

Knowledge Management (KM)

การบริหารจัดการความรู้ คือ ระบบบริหารจัดการความรู้ให้เป็นระเบียบครบถ้วน ง่ายต่อการเรียกใช้ จัดเก็บตามความต้องการ เก็บรักษาความรู้ให้ควบคู่กับองค์การตลอดไปโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดการ

เหตุผลของการนำ KM มาใช้

การเปลี่ยนแปลงเทคนิคในการบริหารงาน

การเปลี่ยนแปลงด้านราคา

ลดความผิดพลาดในการแข่งขันด้านการตลาด

สร้างวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด

การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ

8 ขั้นตอน ของการนำ KM ( Knowledge Management ) ไปสู่การปฏิบัติ

ขั้นที่ 1 กำหนดและสร้างทีมงานจัดการองค์ความรู้ในองค์กร (Knowledge Management Team)

ขั้นที่ 2 กำหนดกลยุทธ์KMขององค์กร

ขั้นที่ 3 ดำเนินการสำรวจระบบการจัดการองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้วในองค์กร

ขั้นที่ 4 คัดเลือกโครงการนำร่อง(Quick Win-KM Projects)

ขั้นที่ 5 สร้างโครงสร้างการจัดการKMในองค์กร

ขั้นที่ 6 กำหนดเทคโนโลยีสนับสนุนการจัดการKM

ขั้นที่ 7 กำหนดแผนปฏิบัติการหลัก

ขั้นที่ 8 การติดตาม ควบคุม และเปิดโครงการ

*********************************************************************************************************

Re-engineering

การเปลี่ยนวิธีการทำงาน คืออะไร?

การเปลี่ยนวิธีการทำงาน (Re-engineering) คือ การออกแบบกระบวนการทางธุรกิจใหม่แล้วนำกระบวนการใหม่ไปปฏิบัติให้เกิดผล เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ โดยมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การลดต้นทุนการดำเนินงานของธุรกิจนั้น

การนำรีเอ็นจิเนียริ่งไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจต้องคำนึงถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จ ดังนี้

1. วิธีการที่เป็นระบบ

2. ความร่วมมือในการบริหารการเปลี่ยนแปลง

3. การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง 4. การวิเคราะห์

5.การจัดรูปแบบและจำลองสถานการณ์

6.การใช้แผน

7.การรวมตัวแปรทางการบริหารของบริษัท

หัวใจสำคัญของการ Re-engineering อยู่ที่กระบวนการ

ลักษณะสำคัญหรือจุดเน้นของการรื้อปรับระบบ หรือ การทำรีเอ็นจิเนียริ่งอยู่ที่ การมุ่งปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินงาน การทำความเข้าใจและปรับเปลี่ยนที่แนวคิดพื้นฐาน สมมุติฐาน หรือหลักเกณฑ์เดิม การเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน และการมุ่งสู่ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่หรือผลลัพธ์อันใหญ่หลวง

******************************************************************************************************

Benchmarking

Benchmarking คือวิธีการในการวัดและเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ บริการ และวิธีการปฏิบัติกับองค์กรที่สามารถทำได้ดีกว่า เพื่อนำผลการเปรียบเทียบมาใช้ในการปรับปรุงองค์กรของตนเพื่อมุ่งความเป็นเลิศทางธุรกิจ

Benchmarking เป็นกระบวนการวัดและเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ บริการ และวิธีปฏิบัติ กับองค์กรที่สามารถทำได้ดีกว่า เพื่อนำผลของการเปรียบเทียบมาใช้ในการปรับปรุงองค์กรของตนเองเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งจากความหมายนี้ สรุปได้ว่าการทำ Benchmarking ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่

1. การเปรียบเทียบวัด (Benchmark) ซึ่งในส่วนนี้ต้องมีการกำหนดตัววัด หรือที่เรียกว่า Key Performance Indicator (KPIs) ว่าจะเปรียบเทียบกับใคร ในเรื่องใด

2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการปฏิบัติที่ดี/เป็นเลิศ (Best Practices) จากผู้ที่ทำได้ดีกว่า โดยเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นหลังจากการเปรียบเทียบวัดให้รู้ถึงผู้ที่ทำได้ดีกว่า

*****************************************************************************************************

Activity Based Management

ABM คือ "การบริหารโดยข่าวสารต้นทุนกิจกรรม" (Activity – Based Management)

แบบจำลอง ABM (Activity-Based Management) ได้ถูกประยุกต์ใช้ในองค์กร อย่างกว้างขวาง การสร้างแบบจำลองจะเริ่มจากการใช้สารสนเทศการไหลของต้นทุน ที่ศึกษาข้อมูลจากบัญชีแยกประเภท เพื่อจัดสรรค่าใช้จ่ายไปยังกิจกรรมอย่างแม่นยำ และเพื่อให้ทรัพยากรที่ถูกจัดสรรในองค์กรมีความสอดคล้องกับโครงสร้างระบบ บัญชีแยกประเภทขององค์กร

แนวทางการใช้ประโยชน์ ABM

- การวิเคราะห์คุณลักษณะ (Attribute Analysis)

- การวิเคราะห์กลยุทธ์ (Strategic Analysis)

- การเทียบเคียง (Benchmarking)

- การวิเคราะห์การปฏิบัติการ (Operation Analysis)

- การวิเคราะห์ความสามารถทำกำไร (Profitability Analysis)

- การปรับปรุงกระบวนการ (Process Improvement)

*************************************************************************************************

นางสาว ณัฏฐา จันทร์ต้ะ กจ.2/1 เลขที่ 7

Balanced Scorecard

Balanced Scorecard (BSC) คือ

BSC:“The Balanced Scorecard as a Strategic Management System”

คือ การแปลวิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์องค์กรไปสู่ชุดของการวัดผลสำเร็จที่กำหนดกรอบสำหรับการวัดกลยุทธ์และระบบการจัดการ โดยในการวัดผลสำเร็จขององค์กรจะมี 2 มิติทั้งวัตถุประสงค์ด้านการเงิน และไม่ใช่การเงินที่สมดุลกัน ซึ่งจะพิจารณาได้ 4 มุมมอง คือ

1.มุมมองด้านการเงิน (Financial Perspective)

2.มุมมองด้านลูกค้า (Customer Perspective)

3.มุมมองด้านกระบวนการภายใน (Internal Business Process Perspective)

4.มุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and Growth Perspective)

ขั้นตอนในการจัดทำ Balanced Scorecard

การสร้าง Balanced Scorecard มีขั้นตอนที่องค์กรต้องให้ความสำคัญ เพราะการวางแผนการดำเนินงานที่ดี จะทำให้กิจการสามารถทำงานได้ดีและมีประสิทธิภาพ ขั้นตอนที่สำคัญประกอบด้วย

1.การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค (SWOT Analysis) ขององค์กร เพื่อให้ทราบถึงสถานะ

พื้นฐานขององค์กร

2. การพัฒนาวิสัยทัศน์ (Vision) ขององค์กร ผู้บริหารจะมีวิสัยทัศน์แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของผู้บริหาร

3. การกำหนดมุมมอง (Perspective) ด้านต่าง ๆ ที่จะเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินกิจการมุมมองของแต่ละกิจการ จะแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นฐานของการดำเนินกิจการ

4. การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy) และ วัตถุประสงค์ (Objective) ในมุมมองด้านต่าง ๆ โดยเรียงลำดับความสำคัญ เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร โดยมุมมองต่าง ๆ จะประกอบด้วยมุมมองด้านการเงิน (Financial Perspective) มุมมองด้านลูกค้า (Customer Perspective) มุมมองด้านกระบวนการภายใน (Internal Process Perspective) และมุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and Growth Perspective)

5. การจัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์และวัตถุประสงค์ด้านต่าง ๆ ในลักษณะของเหตุและผล (Cause and Effect Relationship) เพื่อสร้างเป็นแผนที่ทางกลยุทธ์ (Strategy Map)

6. การกำหนดตัวชี้วัด (Key Performance Indicators : KPIs) และเป้าหมาย (Target) สำหรับแต่ละมุมมองพร้อมทั้งเรียงลำดับความสำคัญ

7. การจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan)

ประโยชน์ของ Balanced Scorecard

การทำ BSC มีประโยชน์ต่อองค์กรหลายประการ ดังนี้

1.การเห็นชอบและสื่อสารทางกลยุทธ์

2.การเรียนรู้

3.ทำให้การวางแผนมีความชัดเจนยิ่งขึ้น

4.กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาองค์กร

5.การบริหารการเปลี่ยนแปลง

Key Performance Indicators ( KPIs)

KPI คือเครื่องมือที่ใช้วัดผลการดำเนินงานหรือประเมินผลการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ขององค์กรซึ่งสามารถแสดงผลขอการวัดหรือการประเมิน ในรูปข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อสะท้อนประสิทธิภาพประสิทธิผลในการปฏิบัติงานขององค์กรหรือหน่วยงานภายในองค์กร

ลักษณะของ KPI ที่ดี

1.สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ขององค์กร

2.ควรแสดงถึงสิ่งที่มีความสำคัญต่อองค์กรและหน่วยงานเท่านั้น ซึ่งดัชนีชี้วัดที่มีความสำคัญต่อองค์กรและหน่วยงานมี 2 ลักษณะ คือ ดัชนีชี้วัดที่แสดงผลการดำเนินงานที่สำคัญต่อองค์กร และดัชนีชี้วัดกิจกรรมหรืองานที่สำคัญซึ่งหากผิดพลาดจะก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงในองค์กรหรือหน่วยงาน

3.ประกอบด้วยดัชนีชี้วัดที่เป็นเหตุและดัชนีชี้วัดที่เป็นผลดัชนีชี้วัดที่สร้างขึ้นควรเป็นดัชนีชี้วัดที่องค์กรหรือหน่วยงานสามารถควบคุมผลงานได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ80

4.เป็นดัชนีชี้วัดที่สามารถวัดผลได้ และบุคคลทั่วไปเข้าใจ ไม่ใช่มีเพียงผู้จัดทำเท่านั้นที่เข้าใจ

5.ต้องช่วยให้ผู้บริหารและพนักงานสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญขององค์กรได้ นอกเหนือจากการใช้ดัชนีชี้วัดเพื่อ การประเมินผลงาน

เทคนิค BSC และ KPI กับสี่ขั้นตอนหลักของการบริหาร

1. เทคนิค BSC และ KPI กับการนำไปใช้ในขั้นตอนการวางแผน

ขั้นตอนการวางแผน เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่ามีความสำคัญมากที่สุดในกระบวนการบริหารจัดการแนวความคิดเรื่องการนำ BSC และ KPI ไปใช้ในช่วงขึ้นตอนการวางแผนก็คือ การจัดทำแผนโดยจัดให้มีตัวชี้วัด (KPIs) แต่ตัวชี้วัดเหล่านี้ จะต้องมีการจัดระบบให้ครอบคลุมมิติต่าง ๆ

2. เทคนิค BSC และ KPI กับการนำไปใช้ในขั้นตอนการนำแผนไปปฏิบัติ

โดยสรุป การนำแผนไปปฏิบัติสามารถดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

1.การประชุมชี้แจงหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องในกรณีที่ผู้เกี่ยวข้องมีจำนวนไม่มาก อาจจัดประชุมร่วมกันทั้งหมด แต่หากจำนวนผู้ที่เกี่ยวข้องมีจำนวนมาก ให้จัดประชุมแบ่งเป็นรุ่น ๆ

2.การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าสัมมนาได้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการแบบใหม่

3.การจัดทำความต้องการในการเรียนรู้ (Learning Need) วัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่สำนักนโยบายและแผน และหน่วยงานฝึกอบรมร่วมกันสำรวจความต้องการในการเรียนรู้วิทยาการใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร เพื่อที่จะได้ปรับองค์กรให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทองเศรษฐกิจ สังคม

4.การจัดทำเอกสารการกระจายนโยบาย (Policy Deployment) วัตถุประสงค์ในการจัดทำเอกสารเพื่อการกระจายนโยบายไปสู่การปฏิบัตินี้ คือเพื่อให้การกระจายนโยบายและแผนของหน่วยงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การกระจายนโยบายที่ดี ควรจัดทำเป็นรูปเอกสารที่มีลักษณะกระชับ เข้าใจง่ายบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ของจุดมุ่งหมายในระดับต่าง ๆ อย่างชัดเจน

3. เทคนิค BSC และ KPI กับการนำไปใช้ในขั้นตอนการติดตามและประเมินผล

การติดตามและการประเมินผลแบบใหม่จะเน้นที่ตัวชี้วัด โดยจัดทำตัวชี้วัดให้อยู่ในกรอบของตัวแบบระบบกล่าวคือ จะมีตัวชี้วัดในทุกขั้นตอนของระบบการบิหารจัดการ ได้แก่ ตัวชี้วัดในขั้นตอนปัจจัยนำเข้า (Input) ตัวชี้วัดในขั้นตอนกิจกรรม (Processor Activity) ตัวชี่วัดในขั้นตอนผลผลิต (Output) และตัวชี้วัดในขั้นตอนผลลัพธ์ (Outcome) หรือตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการหรือการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ (Project Purpose) สำหรับตัวชี้วัดความสำเร็จของแผนงานก็คือ ตัวชี้วัดระดับผลสัมฤทธิ์ (Result)

4. เทคนิค BSC และ KPI กับการนำไปใช้ในขั้นตอนการปรับปรุงมาตรฐานขององค์การ

ในการแก้ปัญหาประเภทนี้ เราต้องใช้เทคนิคนวัตกรรม (Innovation) คือการปรับปรุงแบบก้าวกระโดด ในกรณีเช่นนี้ เรานิยมใช้เทคนิคการเทียบวัด (Benchmarking) ซึ่งมีหลักเกณฑ์อยู่ว่าเราจะต้องสืบหาวาที่ไหนมีมาตรฐานการปฏิบัติงานแต่ละด้านสูงกว่าเรา เพื่อที่จะได้ทราบว่าทำไมเขาจึงมีมาตรฐานในเรื่องนั้น ๆ สูงกว่าเรา เราจะพัฒนาตัวเราอย่างไรจึงจะมีมาตรฐานทัดเทียมเขา หรือมีมาตรฐานสูงกว่าเขา

........................................................

Six Sigma

Six Sigma คือ กระบวนการเพื่อลดความผิดพลาด (Defect) ที่เกิดขึ้นในกระบวนการต่างๆโดยมุ่งเน้นให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุดและมีความสูญเสียได้ไม่เกิน 3.4 หน่วยในล้านหน่วย หรือเรียกอีกอย่างว่า ความสูญเสียโอกาสลงให้เหลือเพียงแค่ 3.4 หน่วยนั่นเอง (Defect per Million Opportunities, OPMO) สัญลักษณ์ที่นิยมใช้กันทางสถิติคือ Sigma ตามความหมายของ Six Sigma ตามสถิติหมายถึงขอบเขตข้อกำหนด (Specification Limit) และการแจกแจงปกติ (Normal Distribution) ขอบเขตข้อกำหนดบนมีค้าเป็น 6 หมายถึง ที่ระดับ Sigma มีของเสียงเพียง 0.022 ชิ้น จากจำนวนของทั้งหมด 1,000,000 ชิ้น นอกจากนี้การประยุกต์ใช้ Six Sigma ภายในองค์การยังช่วยให้บริษัทสามารถตรวจสอบปัญหาภายในบริษัทด้วยข้อมูลที่แม่นยำและเชื่อถือได้ (Data – Driven Business) แล้วทำการวิเคราะห์ปัญหาโดยหลักสถิติ (Statistical analysis Process) เพื่อการปรับปรุงและควบคุมไม่ให้ปัญหานั้นๆเกิดขึ้นซ้ำอีก เนื่องจากในการแก้ไขปรับปรุงใดๆนั้นต้องอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องเพียงพอและแม่นยำเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจ และแก้ไขสิ่งที่บกพร่อง

ประโยชน์ในการนำ Six Sigma มาใช้ในองค์การ

1.สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างกลยุทธ์ใหม่ให้ธุรกิจ

2.สามารถลดความสูญเสียโอกาสอย่างมีระบบและรวดเร็วโดยการนำกระบวนการทางสถิติมาใช้

3.พัฒนาบุคลากรในองค์การให้มีศักยภาพสูงขึ้นตอบสนองต่อกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็ว และปรับองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)

4.ช่วยหาระดับคุณภาพของอุตสาหกรรม โดยสามารถเทียบเข้ากลุ่มอุตสาหกรรมได้ (Benchmarking)

แนวทางหลักการของ Six Sigma

แนวทางในการปฏิบัติที่เป็นที่นิยมเพื่อบรรลุถึงความสามารถของกระบวนการในระดับ Six Sigma ที่เป็นที่นิยมและยอมรับกันทั่ว ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน

1.กำหนดเป้าหมาย (Define Target)

2.การวัดความสามารถของกระบวนการ (Measure)

3.การวิเคราะห์สาเหตุปัญหา (Analyze)

4.การปรับปรุงโดยเน้นที่ต้นเหตุของปัญหา (Improve)

5.การควบคุมกระบวนการที่มีผลกระทบ

……………………………………………………………………………………………………………

(Knowledge Management : KM)

การบริหารจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) คือ กระบวนการใดๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรวบรวม และจัดเก็บความรู้ภายในองค์กรซึ่งเปรียบเสมือนสินทรัพย์ (Assets) อย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะนำมาใช้ หรือถ่ายทอดกันได้ภายในองค์กร อันจะเกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน หรือเพื่อสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันในเชิงธุรกิจ ความรู้ที่ได้รับการจัดการอย่างเป็นระบบนี้จะคงอยู่เป็นความรู้ขององค์กรตลอดไป

ประโยชน์ของการจัดการความรู้

1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร

2. ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา ในกรณีที่บุคคลากรเกษียณอายุ ลาออก หรือเสียชีวิต

3. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความอยู่รอด

4. เป็นการลงทุนในต้นทุนมนุษย์ ในการพัฒนาความสามารถที่จะแบ่งปันความรู้ที่ได้เรียนรู้มาให้กับคนอื่นๆ ในองค์กร และนำความรู้ไปปรับใช้กับงานที่ทำอยู่ให้เกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น เป็นการการพัฒนาคน และพัฒนาองค์กร

5. ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจและวางแผนดำเนินงานให้รวดเร็ว และดีขึ้น เพราะมีสารสนเทศ หรือแหล่งความรู้เฉพาะที่มีหลักการ เหตุผล และน่าเชื่อถือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ

6. ผู้บังคับบัญชาสามารถทำงานเชื่อมโยงกับผู้ใต้บังคับบัญชาให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น ช่วยเพิ่มความกลมเกลียวในหน่วยงาน

7. เมื่อพบข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน ก็สามารถหาวิธีแก้ไขได้ทันท่วงที

8. แปรรูปความรู้ให้เป็นทุน ซึ่งเป็นการสร้างความท้าทายให้องค์กรผลิตสินค้าและบริการจากความรู้ที่มี เพื่อเพิ่มคุณค่า และรายได้ให้กับองค์กร

9. เพื่อการสร้างสรรค์ และบรรลุเป้าหมายของจินตนาการที่ยิ่งใหญ่

10. เปลี่ยนวัฒนธรรม จาก วัฒนธรรมอำนาจในแนวดิ่ง ไปสู่วัฒนธรรมความรู้ในแนวราบ ซ฿งทุกคนมีสิทธิในการเรียนรู้เท่าเทียมกัน

ผลของการจัดการความรู้

ผลของการจัดการความรู้มีอย่างน้อย 4 ประการ ได้แก่

1.ผลสัมฤทธิ์ของงาน เกิดผลสำเร็จในงานระดับดีขึ้น และอาจจะได้นวัตกรรมของงานใหม่ๆ

2.พนักงาน เกิดการพัฒนา การเรียนรู้ เกิดความมั่นใจตนเอง เกิดความเป็นชุมชนในหมู่ผู้ร่วมงาน เป็นบุคคลเรียนรู้

3.ความรู้ ของบุคคล และขององค์กรได้รับการยกระดับ มีการสั่งสมและจัดระบบให้พร้อมในการนำไปใช้ประโยชน์

4.องค์กร มีสภาพเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นองค์กรที่เข้มแข็ง สามารถแข่งขันกับองค์กรอื่นได้

…………………………………………………………………………………………………………

Activity Based Management (ABM)

Activity-Based Management ที่เป็นแนวทางมุ่งการจัดการต่อกิจกรรม เพื่อการปรับปรุงมูลค่าที่ส่งมอบสู่ลูกค้าและสร้างผลกำไรให้กับผู้ส่งมอบ การดำเนิน ABM จึงรวมถึงการวิเคราะห์ตัวผลักดันต้นทุน การวิเคราะห์กิจกรรม (Activity Analysis) และการวัดผลการปฏิบัติการ (Performance Measurement) โดยที่ ABC จะถูกใช้สำหรับการตอบคำถามว่า "What do things cost ?" ขณะที่ ABM จะแสดงในมุมมองของกระบวนการ(Process View) ซึ่งเกี่ยวข้องกับปัจจัยที่ก่อให้เกิดต้นทุน ด้วยการใช้การใช้ข้อมูล ABC และ ABM ทำให้สามารถสนับสนุนการปรับปรุงการใช้ทรัพยากร เพื่อเพิ่มมูลค่าที่ถูกสร้างสำหรับลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ซึ่ง ABM จะถูกใช้สำหรับการติดตามค่าโสหุ้ยและต้นทุนทางอ้อมที่เกิดจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการ

แนวทางการใช้ประโยชน์ ABM

ตามที่กล่าวนำข้างต้นถึง ABM ที่เป็นการดำเนินการจัดการอย่างทั่วทั้งองค์กร โดยเริ่มจากสารสนเทศที่ถูกต้องจาก ABC องค์กรที่ดำเนินตามแนวทางของ ABM ก็ด้วยเหตุผลหลายประการ แต่ส่วนใหญ่แล้วเชื่อว่า ABM จะสนับสนุนต่อการตัดสินใจ การปรับปรุงการดำเนินงาน และการสร้างรายได้จากสินทรัพย์ที่ได้ลงทุนไว้ โดยมีเป้าหมายหลักในการสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าด้วยต้นทุนที่ลดลง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์ในด้านต่าง ๆ ดังเช่น

- การวิเคราะห์คุณลักษณะ (Attribute Analysis)ที่ทำการจำแนกประเภทและรวมต้นทุนและข้อมูลสมรรถนะเป็นกลุ่มที่สามารถจัดการและควบคุมได้ คุณลักษณะข้อมูลจะช่วยให้องค์กรดำเนินการวิเคราะห์ในหลายมิติที่แตกต่างของปัญหาการจัดการ

- การวิเคราะห์กลยุทธ์ (Strategic Analysis) ที่ทำการค้นหาแนวทางต่าง ๆ ที่สามารถสร้างและรักษาสภาวะความได้เปรียบจากการแข่งขันในตลาด โดยมุ่งวัตถุประสงค์ระยะยาว (Long-Term Objectives) ที่วิเคราะห์หาผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในอนาคตและการปรับปรุงผลกำไรด้วยการสร้างความกระจ่างของ Cost Objects ทั้งหลาย

- การเทียบเคียง (Benchmarking) คือวิธีการที่ระบุกิจกรรมที่เป็นมาตรฐาน โดยถูกใช้เพื่อสนับสนุนผู้บริหารในการระบุกระบวนการหรือเทคนิคเพื่อเพิ่มประสิทธิผลหรือประสิทธิภาพของกิจกรรม ซึ่ง ABM จะสนับสนุนการดำเนินการทำ Benchmark เทียบกับผู้เป็นเลิศ ทั้งในกระบวนการภายในอุตสาหกรรม และคู่แข่งขัน

- การวิเคราะห์การปฏิบัติการ (Operation Analysis) โดยทำการค้นหาเพื่อระบุ วัดผล และปรับปรุงสมรรถนะของกระบวนการหลักและการดำเนินงานภายในองค์กร ซึ่ง ABM ถูกใช้เพื่อการวิเคราะห์แบบ What-If การบริหารโครงการ และการวัดผลการดำเนินงาน ที่รวมถึงการวิเคราะห์ข้อจำกัด (Constraint Analysis) และต้นทุนตามฐานกระบวนการ (Process-Based Costing)

- การวิเคราะห์ความสามารถทำกำไร (Profitability Analysis) คือ ประเด็นหลักสำหรับองค์กร โดยมี ABM เป็นเครื่องมือสนับสนุนองค์กรในการวิเคราะห์ต้นทุนและผลกำไรจากผลิตภัณฑ์และกระบวนการทั้งก่อนและหลังทำการปรับปรุง รวมทั้งสนับสนุนการวิเคราะห์ก่อนออกผลิตภัณฑ์ (Prelaunch) และการปรับปรุงความสามารถการทำกำไร

- การปรับปรุงกระบวนการ (Process Improvement) ที่เป็นหัวใจของการจัดการสมัยใหม่ โดยมุ่งระบุสาเหตุของความผันแปร ความสูญเปล่าและความไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งการปรับปรุงกระบวนการได้รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กน้อยและการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน โดยมีแนวทางและเครื่องมืออย่าง แบบจำลองกระบวนการธุรกิจ (Business Process Modeling) การยกเครื่องกระบวนการธุรกิจ (Business Process Reengineering) กิจกรรมทางคุณภาพ การไคเซ็น สำหรับองค์กรชั้นนำ อย่าง Pennzoil ได้ใช้ ABM เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการระบุต้นทุนกระบวนการและสนับสนุนต่อกระบวนการยกเครื่อง เพื่อทำการปรับปรุงประสิทธิภาพและลดต้นทุน ด้วยการวิเคราะห์การปฏิบัติการ

ตัวอย่างการใช้ ABM สำหรับธุรกิจค้าปลีก

ABM เป็นกลยุทธ์เชิงรุก (Proactive Strategic) และการตัดสินใจในการปฏิบัติการ (Operation Decision) บนฐานสารสนเทศกิจกรรมและประเมินมูลค่าเพิ่มของเนื้องานในกระบวนการธุรกิจ สำหรับธุรกิจค้าปลีก ABM จะช่วยให้ผู้ค้าปลีกสามารถประเมินค่าใช้จ่ายการออกใบเสร็จ ค่าใช้จ่ายของการจัดวางสินค้า ค่าใช้จ่ายคลังสินค้า และค่าโสหุ้ยการจัดเก็บสินค้า ซึ่งสารสนเทศเหล่านี้ จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถ

1.การจัดทำเกณฑ์สมรรถนะ (Performance Criteria) สำหรับผู้ส่งมอบ

2.ให้คำแนะนำผู้ส่งมอบในแนวทางเลือกของแหล่งจัดหาหรือการส่งมอบสินค้า

3.ลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้า

4.สะท้อนค่าใช้จ่ายทางธุรกรรม (Transaction Cost) อย่างถูกต้อง สำหรับการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า

5.แนะนำผู้ส่งมอบในการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ

........................................................

Re-engineering

Reengineering หรือ “การรื้อปรับระบบ” เป็นคำที่ ไมเคิล แฮมเมอร์ และเจมส์ แชมปี้ ริเริ่มใช้ในหนังสือชื่อ Reengineering the Corporation ในฐานะที่เป็นคำประกาศการปฏิวัติธุรกิจ หรือ A Manifesto for Business Revolution เมื่อปี 1993 ก่อนที่จะเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดที่จัดโดย นิวยอร์ก ไทม์ และได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศกว่า 14 ภาษา ทำให้เป็นคำที่มีการกล่าวขานถึงอย่างกว้างขวาง

Re-Engineering คือ การ ปรับเปลี่ยน กระบวนการทำงาน ทั้งระบบ พูดง่ายๆ

ภาษาชาวบ้าน คือ โล๊ะ เป็นการ ปรับเปลี่ยน โครงสร้าง ขององค์กร บริษัท ทั้งระบบจุดไหนที่ก่อให้เกิน ความล่าช้า เช่น คนงาน พนักงาน ผู้บริหาร ไม่มีประสิทธิภาพ ก็จะทำการ เปลี่ยนแปลงทั้งระบบ (ไม่ใช่การปรับปรุงนะ) เป็นการเปลี่ยนใหญ่ ตัวอย่าง บริษัทหนึ่ง มียอดการผลิต ลดลงทุก ไตรมาศ ผู้บริหารระดับสูง หรือ เจ้าของกิจการ ก็อาจจะ พิจารณา กระบวนการทำงาน ทั้งระบบ แล้วก็เห็นว่า เป็นการยากที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้น เพราะอาจจะใช้เวลามาก จึงตัดสินใจเอาพนักงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ ออก (ล้างไพ่) แล้วทำการวางตำแหน่งงาน และดำเนินงานกันใหม่ เหมือนเปิด บริษัทใหม่ยังไงยังงั้น

ขั้นตอนการรื้อปรับระบบ

1. การคิดค้นทบทวนใหม่ (Rethink)

2. การออกแบบกระบวนการทำงานใหม่(Redesign)

3. การเสริมเทคโนโลยี(Retool)

4. การฝึกอบรมบุคลากร(Retrain)

องค์ประกอบ ของ การรื้อปรับระบบ มี 6 ข้อ ดังนี้

-จัดโครงสร้าง ให้เป็น At come เหมาะแก่ประสิทธิภาพ และ Output เหมาะแก่ประสิทธิผล

-มีการกำหนดหน่วยงาน

-หน่วยงานแต่ละหน่วยงาน ต้องมีการเก็บข้อมูล

-เสมือนกระจุกตัว ถามไรรู้หมด

-มีการเชื่อมโยงกระบวนการต่างๆไปพร้อมกัน

-มีลักษณะ Online

……………………………………………………………………………………………………………

Benchmarking

Benchmarking เป็นกระบวนการวัดและเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ บริการ และวิธีปฏิบัติ กับองค์กรที่สามารถทำได้ดีกว่า เพื่อนำผลของการเปรียบเทียบมาใช้ในการปรับปรุงองค์กรของตนเองเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งจากความหมายนี้ สรุปได้ว่าการทำ Benchmarking ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆ ได้แก่

1. การเปรียบเทียบวัด (Benchmark) ซึ่งในส่วนนี้ต้องมีการกำหนดตัววัด หรือที่เรียกว่า Key Performance Indicator (KPIs) ว่าจะเปรียบเทียบกับใคร ในเรื่องใด

2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการปฏิบัติที่ดี/เป็นเลิศ (Best Practices) จากผู้ที่ทำได้ดีกว่า โดยเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นหลังจากการเปรียบเทียบวัดให้รู้ถึงผู้ที่ทำได้ดีกว่า และเข้าไปเรียนรู้วิธีการปฏิบัติซึ่งทำให้ประสบความสำเร็จ หรือมีค่า Benchmark สูง เพื่อนำมาใช้ปรับปรุงองค์กรของตนเอง

ประโยชน์ของการทำ Benchmarking

Benchmarking เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการปรับปรุงองค์กรที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากทำให้มีการปรับปรุงองค์กรอย่างก้าวกระโดดแต่สำหรับประเทศไทย Benchmarking ยังค่อนข้างเป็นเรื่องใหม่ เริ่มมีการนำเครื่องมือนี้มาใช้ในการปรับปรุงองค์กรอย่างเป็นระบบในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น แต่ในต่างประเทศมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีบริษัท Xerox Corporation เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้บุกเบิกในการใช้เครื่องมือ

น.ส.เปรมกมล คำทราย เลขที่ 29 กจ.2/1

สรุปเครื่องมือทางการบริหารจัดการ

Activity-Based Management

Activity-Based Management ที่เป็นแนวทางมุ่งการจัดการต่อกิจกรรม เพื่อการปรับปรุงมูลค่าที่ส่งมอบสู่ลูกค้าและสร้างผลกำไรให้กับผู้ส่งมอบ การดำเนิน ABM จึงรวมถึงการวิเคราะห์ตัวผลักดันต้นทุน การวิเคราะห์กิจกรรม (Activity Analysis) และการวัดผลการปฏิบัติการ (Performance Measurement) ABM จะแสดงในมุมมองของกระบวนการ(Process View) ซึ่งเกี่ยวข้องกับปัจจัยที่ก่อให้เกิดต้นทุน ด้วยการใช้การใช้ข้อมูล ABC และ ABM ทำให้สามารถสนับสนุนการปรับปรุงการใช้ทรัพยากร เพื่อเพิ่มมูลค่าที่ถูกสร้างสำหรับลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders)  ซึ่ง ABM จะถูกใช้สำหรับการติดตามค่าโสหุ้ยและต้นทุนทางอ้อมที่เกิดจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการ

ปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ ต้องการปรับปรุงธุรกิจ โดยมุ่งสร้างมูลค่าและผลตอบแทนทางการเงินสูงสุด ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาเครื่องมือสำหรับการปรับปรุงธุรกิจ ที่มุ่งทรัพยากร 4M (Man Machine Money Material) เพื่อสร้างผลิตผลที่ต้องการ และมุ่งขจัดอุปสรรคต่าง ๆ ดังนั้นวิธีการสำหรับการปรับปรุงธุรกิจที่ถูกใช้อย่างแพร่หลาย

แนวทางการใช้ประโยชน์ ABM

ตามที่กล่าวนำข้างต้นถึง ABM ที่เป็นการดำเนินการจัดการอย่างทั่วทั้งองค์กร โดยเริ่มจากสารสนเทศที่ถูกต้องจาก ABC องค์กรที่ดำเนินตามแนวทางของ ABM ก็ด้วยเหตุผลหลายประการ แต่ส่วนใหญ่แล้วเชื่อว่า ABM จะสนับสนุนต่อการตัดสินใจ การปรับปรุงการดำเนินงาน และการสร้างรายได้จากสินทรัพย์ที่ได้ลงทุนไว้ โดยมีเป้าหมายหลักในการสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าด้วยต้นทุนที่ลดลง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์ในด้านต่าง ๆ ดังเช่น

- การวิเคราะห์คุณลักษณะ (Attribute Analysis)ที่ทำการจำแนกประเภทและรวมต้นทุนและข้อมูลสมรรถนะเป็นกลุ่มที่สามารถจัดการและควบคุมได้  คุณลักษณะข้อมูลจะช่วยให้องค์กรดำเนินการวิเคราะห์ในหลายมิติที่แตกต่างของปัญหาการจัดการ

- การวิเคราะห์กลยุทธ์ (Strategic Analysis)  ที่ทำการค้นหาแนวทางต่าง ๆ ที่สามารถสร้างและรักษาสภาวะความได้เปรียบจากการแข่งขันในตลาด โดยมุ่งวัตถุประสงค์ระยะยาว (Long-Term Objectives) ที่วิเคราะห์หาผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในอนาคตและการปรับปรุงผลกำไรด้วยการสร้างความกระจ่างของ Cost Objects ทั้งหลาย ดังเช่น ลูกค้า ผลิตภัณฑ์ และช่องทางจัดจำหน่าย การวิเคราะห์กลยุทธ์จึงมุ่งเน้นโอกาสในอนาคตและสิ่งที่จะเผชิญ ด้วยการใช้การวัดผลทั้งทางกายภาพและทางการเงิน เพื่อค้นหาผลกระทบของทางเลือกกลยุทธ์ ดังเช่น การดำเนินกิจกรรม ABM ที่ Hewlett-Packard ซึ่งทำให้ได้รับสารสนเทศทางกลยุทธ์และการปฏิบัติการอย่างเต็มรูปแบบ ที่รวมถึง ต้นทุนส่วนลูกค้า (Customer Segment Costing) ต้นทุนผลิตภัณฑ์ และการระบุเป้าหมายสำหรับโอกาสการปรับปรุง

- การเทียบเคียง (Benchmarking) คือวิธีการที่ระบุกิจกรรมที่เป็นมาตรฐาน โดยถูกใช้เพื่อสนับสนุนผู้บริหารในการระบุกระบวนการหรือเทคนิคเพื่อเพิ่มประสิทธิผลหรือประสิทธิภาพของกิจกรรม  ซึ่ง ABM  จะสนับสนุนการดำเนินการทำ Benchmark เทียบกับผู้เป็นเลิศ ทั้งในกระบวนการภายในอุตสาหกรรม และคู่แข่งขัน  ดังเช่น  กรณีของ AT&T ที่ได้ประยุกต์แนวทาง ABM กับธุรกิจและสนับสนุนการทำ Benchmark ในกรณีดังกล่าว ต้นทุนต่อหน่วยจะถูกใช้เป็นมาตรวัดสำหรับการทำ Benchmark ภายในกลุ่มทำงาน รวมทั้งการใช้เปรียบเทียบกับหน่วยอื่น โดยที่กลุ่มทำงานจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกลุ่ม ซึ่งการเข้าถึงข้อมูลต้นทุนที่มีความน่าเชื่อถือทำให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นข้อแตกต่างทางต้นทุนและสามารถวางแผนการปรับปรุงกระบวนการอย่างมีประสิทธิผล  เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดต้นทุน

 - การวิเคราะห์การปฏิบัติการ (Operation Analysis) โดยทำการค้นหาเพื่อระบุ วัดผล และปรับปรุงสมรรถนะของกระบวนการหลักและการดำเนินงานภายในองค์กร ซึ่ง ABM ถูกใช้เพื่อการวิเคราะห์แบบ What-If การบริหารโครงการ และการวัดผลการดำเนินงาน ที่รวมถึงการวิเคราะห์ข้อจำกัด (Constraint Analysis) และต้นทุนตามฐานกระบวนการ (Process-Based Costing)

 

- การวิเคราะห์ความสามารถทำกำไร (Profitability Analysis) คือ ประเด็นหลักสำหรับองค์กร โดยมี ABM เป็นเครื่องมือสนับสนุนองค์กรในการวิเคราะห์ต้นทุนและผลกำไรจากผลิตภัณฑ์และกระบวนการทั้งก่อนและหลังทำการปรับปรุง รวมทั้งสนับสนุนการวิเคราะห์ก่อนออกผลิตภัณฑ์ (Prelaunch) และการปรับปรุงความสามารถการทำกำไร ที่เป็นหัวใจของการจัดการสมัยใหม่ โดยมุ่งระบุสาเหตุของความผันแปร ความสูญเปล่าและความไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งการปรับปรุงกระบวนการได้รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กน้อยและการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน โดยมีแนวทางและเครื่องมืออย่าง แบบจำลองกระบวนการธุรกิจ (Business Process Modeling) การยกเครื่องกระบวนการธุรกิจ (Business Process Reengineering) กิจกรรมทางคุณภาพ การไคเซ็น สำหรับองค์กรชั้นนำ อย่าง Pennzoil ได้ใช้ ABM เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการระบุต้นทุนกระบวนการและสนับสนุนต่อกระบวนการยกเครื่อง เพื่อทำการปรับปรุงประสิทธิภาพและลดต้นทุน ด้วยการวิเคราะห์การปฏิบัติการ ซึ่ง ABM ได้ให้ข้อมูลแก่ Pennzoil ในการเปลี่ยนโครงสร้างต้นทุนของการสำรวจและการผลิต รวมทั้งเป็นสารสนเทศต่อองค์กรในการพัฒนาแนวทางเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเงินด้วยการใช้ทรัพยากรที่น้อยลง

- การปรับปรุงกระบวนการ (Process Improvement) ที่เป็นหัวใจของการจัดการสมัยใหม่ โดยมุ่งระบุสาเหตุของความผันแปร ความสูญเปล่าและความไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งการปรับปรุงกระบวนการได้รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กน้อยและการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน โดยมีแนวทางและเครื่องมืออย่าง แบบจำลองกระบวนการธุรกิจ (Business Process Modeling) การยกเครื่องกระบวนการธุรกิจ (Business Process Reengineering) กิจกรรมทางคุณภาพ การไคเซ็น สำหรับองค์กรชั้นนำ อย่าง Pennzoil ได้ใช้ ABM เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการระบุต้นทุนกระบวนการและสนับสนุนต่อกระบวนการยกเครื่อง เพื่อทำการปรับปรุงประสิทธิภาพและลดต้นทุน ด้วยการวิเคราะห์การปฏิบัติการ ซึ่ง ABM ได้ให้ข้อมูลแก่ Pennzoil ในการเปลี่ยนโครงสร้างต้นทุนของการสำรวจและการผลิต รวมทั้งเป็นสารสนเทศต่อองค์กรในการพัฒนาแนวทางเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเงินด้วยการใช้ทรัพยากรที่น้อยลง

---------------------------------------------------------------------Balanced Scorecard

Balanced Scorecard (BSC) เป็นเครื่องมือซึ่งเกิดจากแนวความคิดที่ช่วยให้องค์กรในการแปลจากกลยุทธ์ให้เป็นการปฏิบัติ    โดยเริ่มต้นที่วิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ขององค์กรซึ่งเป็นขั้นของการกำหนดปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จ    และจากนั้นก็เป็นการสร้างดัชนีวัดผลสำเร็จ (Key Performance Indicators) ขึ้นเพื่อเป็นตัวบ่งชี้ถึงเป้าหมายและใช้วัดผลการดำเนินงานในส่วนที่สำคัญต่อกลยุทธ์   จึงถือได้ว่า BSC เป็นระบบการวัดผลการดำเนินงาน  ที่ถ่ายทอดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ขององค์กรสู่การปฏิบัติ  และสะท้อนการดำเนินงานในมุมมอง 4 ด้านหลัก  คือ ด้านการเงิน  ด้านลูกค้า  ด้านกระบวนการภายใน  และด้านการเรียนรู้และการพัฒนา 

 

 

·       มุมมองด้านการเงิน

·       มุมมองด้านลูกค้า  เน้นความพึงพอใจของลูกค้า 

·       มุมมองด้านกระบวนการ   เป็นการปรับปรุงพัฒนากระบวนการภายใน 

·       มุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา  เน้นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ  การสร้างเสริมความสามารถของพนักงานและระบบ

---------------------------------------------

key performance indicators(KPI)

เครื่องมือที่ใช้วัดผลการดำเนินงานหรือประเมินผลการดำเนินงานในด้านต่าง ขององค์กรซึ่งสามารถแสดงผลขอการวัดหรือการประเมิน ในรูปข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อสะท้อนประสิทธิภาพประสิทธิผลในการปฏิบัติงานขององค์กรหรือหน่วยงานภายในองค์กร

ลักษณะของ KPI

- สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ขององค์กร

- ควรแสดงถึงสิ่งที่มีความสำ คัญต่อองค์กรและหน่วยงานเท่านั้น ซึ่งดัชนีชี้วัดที่มีความสำคัญต่อองค์กรและหน่วยงานมี 2 ลักษณะ คือ ดัชนีชี้วัดที่แสดงผลการดำเนินงานที่สำคัญต่อองค์กร และดัชนีชี้วัดกิจกรรมหรืองานที่สำคัญซึ่งหากผิดพลาดจะก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงในองค์กรหรือหน่วยงาน

- ประกอบด้วยดัชนีชี้วัดที่เป็นเหตุและดัชนีชี้วัดที่เป็นผล

- ดัชนีชี้วัดที่สร้างขึ้นควรเป็นดัชนีชี้วัดที่องค์กรหรือหน่วยงานสามารถควบคุมผลงานได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ80

- เป็นดัชนีชี้วัดที่สามารถวัดผลได้ และบุคคลทั่วไปเข้าใจ ไม่ใช่มีเพียงผู้จัดทำเท่านั้นที่เข้าใจ

- ต้องช่วยให้ผู้บริหารและพนักงานสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญขององค์กรได้ นอกเหนือจากการใช้ดัชนีชี้วัดเพื่อ การประเมินผลงาน

ขั้นตอนการสร้าง KPI

-  กำหนดวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการซึ่งควรสะท้อนถึงกลยุทธ์ที่องค์กรมุ่งเน้น

- กำหนดปัจจัยสู่ความสำเร็จหรือปัจจัยวิกฤต

ที่สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ

- กำหนดตัวชี้วัดที่สามารถบ่งชี้ความสำเร็จ/ประสิทธิภาพ/ประสิทธิผลจากการดำเนินการตามวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ

ซึ่งสามารถแสดงผลเป็นข้อมูลในเชิงปริมาณและกำหนดสูตรในการคำนวณรวมทั้งหน่วยของดัชนีชี้วัดแต่ละตัว

- กลั่นกรองดัชนีชี้วัดเพื่อหาดัชนีชี้วัดหลัก โดยจัดลำดับและกำหนดน้ำหนักความสำคัญของดัชนีชี้วัดแต่ละตัว

- กระจายดัชนีชี้วัดสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

- จัดทำ KPI Dictionary โดยระบุรายละเอียดที่สำคัญของดัชนีชี้วัดแต่ละตัว เช่น ชื่อของดัชนีชี้วัด คำจำกัดความหรือนิยามของดัชนีชี้วัด สูตรในการคำนวณ หน่วยของดัชนีชี้วัด ผู้เก็บข้อมูล ความถี่ในการรายงานผล เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องในการ นำดัชนีชี้วัดไปใช้ในการปฏิบัติงาน

 

     -----------------------------------------------------

Re-Engineering

หมายถึง การรื้อและรวมทั้งปรับระบบองค์การ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาองค์การ ให้เกิดประสิทธิภาพทั้ง 4 ด้าน คือ การลดต้นทุน การเพิ่มคุณภาพของผลผลิต บริการ และความรวดเร็ว

สรุปเครื่องมือทางการบริหารจัดการ

 

Activity-Based Management

Activity-Based Management ที่เป็นแนวทางมุ่งการจัดการต่อกิจกรรม เพื่อการปรับปรุงมูลค่าที่ส่งมอบสู่ลูกค้าและสร้างผลกำไรให้กับผู้ส่งมอบ การดำเนิน ABM จึงรวมถึงการวิเคราะห์ตัวผลักดันต้นทุน การวิเคราะห์กิจกรรม (Activity Analysis) และการวัดผลการปฏิบัติการ (Performance Measurement) ABM จะแสดงในมุมมองของกระบวนการ(Process View) ซึ่งเกี่ยวข้องกับปัจจัยที่ก่อให้เกิดต้นทุน ด้วยการใช้การใช้ข้อมูล ABC และ ABM ทำให้สามารถสนับสนุนการปรับปรุงการใช้ทรัพยากร เพื่อเพิ่มมูลค่าที่ถูกสร้างสำหรับลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders)  ซึ่ง ABM จะถูกใช้สำหรับการติดตามค่าโสหุ้ยและต้นทุนทางอ้อมที่เกิดจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการ

ปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ ต้องการปรับปรุงธุรกิจ โดยมุ่งสร้างมูลค่าและผลตอบแทนทางการเงินสูงสุด ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาเครื่องมือสำหรับการปรับปรุงธุรกิจ ที่มุ่งทรัพยากร 4M (Man Machine Money Material) เพื่อสร้างผลิตผลที่ต้องการ และมุ่งขจัดอุปสรรคต่าง ๆ ดังนั้นวิธีการสำหรับการปรับปรุงธุรกิจที่ถูกใช้อย่างแพร่หลาย

แนวทางการใช้ประโยชน์ ABM

ตามที่กล่าวนำข้างต้นถึง ABM ที่เป็นการดำเนินการจัดการอย่างทั่วทั้งองค์กร โดยเริ่มจากสารสนเทศที่ถูกต้องจาก ABC องค์กรที่ดำเนินตามแนวทางของ ABM ก็ด้วยเหตุผลหลายประการ แต่ส่วนใหญ่แล้วเชื่อว่า ABM จะสนับสนุนต่อการตัดสินใจ การปรับปรุงการดำเนินงาน และการสร้างรายได้จากสินทรัพย์ที่ได้ลงทุนไว้ โดยมีเป้าหมายหลักในการสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าด้วยต้นทุนที่ลดลง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์ในด้านต่าง ๆ ดังเช่น

- การวิเคราะห์คุณลักษณะ (Attribute Analysis)ที่ทำการจำแนกประเภทและรวมต้นทุนและข้อมูลสมรรถนะเป็นกลุ่มที่สามารถจัดการและควบคุมได้  คุณลักษณะข้อมูลจะช่วยให้องค์กรดำเนินการวิเคราะห์ในหลายมิติที่แตกต่างของปัญหาการจัดการ

- การวิเคราะห์กลยุทธ์ (Strategic Analysis)  ที่ทำการค้นหาแนวทางต่าง ๆ ที่สามารถสร้างและรักษาสภาวะความได้เปรียบจากการแข่งขันในตลาด โดยมุ่งวัตถุประสงค์ระยะยาว (Long-Term Objectives) ที่วิเคราะห์หาผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในอนาคตและการปรับปรุงผลกำไรด้วยการสร้างความกระจ่างของ Cost Objects ทั้งหลาย ดังเช่น ลูกค้า ผลิตภัณฑ์ และช่องทางจัดจำหน่าย การวิเคราะห์กลยุทธ์จึงมุ่งเน้นโอกาสในอนาคตและสิ่งที่จะเผชิญ ด้วยการใช้การวัดผลทั้งทางกายภาพและทางการเงิน เพื่อค้นหาผลกระทบของทางเลือกกลยุทธ์ ดังเช่น การดำเนินกิจกรรม ABM ที่ Hewlett-Packard ซึ่งทำให้ได้รับสารสนเทศทางกลยุทธ์และการปฏิบัติการอย่างเต็มรูปแบบ ที่รวมถึง ต้นทุนส่วนลูกค้า (Customer Segment Costing) ต้นทุนผลิตภัณฑ์ และการระบุเป้าหมายสำหรับโอกาสการปรับปรุง

- การเทียบเคียง (Benchmarking) คือวิธีการที่ระบุกิจกรรมที่เป็นมาตรฐาน โดยถูกใช้เพื่อสนับสนุนผู้บริหารในการระบุกระบวนการหรือเทคนิคเพื่อเพิ่มประสิทธิผลหรือประสิทธิภาพของกิจกรรม  ซึ่ง ABM  จะสนับสนุนการดำเนินการทำ Benchmark เทียบกับผู้เป็นเลิศ ทั้งในกระบวนการภายในอุตสาหกรรม และคู่แข่งขัน  ดังเช่น  กรณีของ AT&T ที่ได้ประยุกต์แนวทาง ABM กับธุรกิจและสนับสนุนการทำ Benchmark ในกรณีดังกล่าว ต้นทุนต่อหน่วยจะถูกใช้เป็นมาตรวัดสำหรับการทำ Benchmark ภายในกลุ่มทำงาน รวมทั้งการใช้เปรียบเทียบกับหน่วยอื่น โดยที่กลุ่มทำงานจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกลุ่ม ซึ่งการเข้าถึงข้อมูลต้นทุนที่มีความน่าเชื่อถือทำให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นข้อแตกต่างทางต้นทุนและสามารถวางแผนการปรับปรุงกระบวนการอย่างมีประสิทธิผล  เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดต้นทุน

 - การวิเคราะห์การปฏิบัติการ (Operation Analysis) โดยทำการค้นหาเพื่อระบุ วัดผล และปรับปรุงสมรรถนะของกระบวนการหลักและการดำเนินงานภายในองค์กร ซึ่ง ABM ถูกใช้เพื่อการวิเคราะห์แบบ What-If การบริหารโครงการ และการวัดผลการดำเนินงาน ที่รวมถึงการวิเคราะห์ข้อจำกัด (Constraint Analysis) และต้นทุนตามฐานกระบวนการ (Process-Based Costing)

- การวิเคราะห์ความสามารถทำกำไร (Profitability Analysis) คือ ประเด็นหลักสำหรับองค์กร โดยมี ABM เป็นเครื่องมือสนับสนุนองค์กรในการวิเคราะห์ต้นทุนและผลกำไรจากผลิตภัณฑ์และกระบวนการทั้งก่อนและหลังทำการปรับปรุง รวมทั้งสนับสนุนการวิเคราะห์ก่อนออกผลิตภัณฑ์ (Prelaunch) และการปรับปรุงความสามารถการทำกำไร ที่เป็นหัวใจของการจัดการสมัยใหม่ โดยมุ่งระบุสาเหตุของความผันแปร ความสูญเปล่าและความไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งการปรับปรุงกระบวนการได้รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กน้อยและการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน โดยมีแนวทางและเครื่องมืออย่าง แบบจำลองกระบวนการธุรกิจ (Business Process Modeling) การยกเครื่องกระบวนการธุรกิจ (Business Process Reengineering) กิจกรรมทางคุณภาพ การไคเซ็น สำหรับองค์กรชั้นนำ อย่าง Pennzoil ได้ใช้ ABM เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการระบุต้นทุนกระบวนการและสนับสนุนต่อกระบวนการยกเครื่อง เพื่อทำการปรับปรุงประสิทธิภาพและลดต้นทุน ด้วยการวิเคราะห์การปฏิบัติการ ซึ่ง ABM ได้ให้ข้อมูลแก่ Pennzoil ในการเปลี่ยนโครงสร้างต้นทุนของการสำรวจและการผลิต รวมทั้งเป็นสารสนเทศต่อองค์กรในการพัฒนาแนวทางเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเงินด้วยการใช้ทรัพยากรที่น้อยลง

- การปรับปรุงกระบวนการ (Process Improvement) ที่เป็นหัวใจของการจัดการสมัยใหม่ โดยมุ่งระบุสาเหตุของความผันแปร ความสูญเปล่าและความไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งการปรับปรุงกระบวนการได้รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กน้อยและการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน โดยมีแนวทางและเครื่องมืออย่าง แบบจำลองกระบวนการธุรกิจ (Business Process Modeling) การยกเครื่องกระบวนการธุรกิจ (Business Process Reengineering) กิจกรรมทางคุณภาพ การไคเซ็น สำหรับองค์กรชั้นนำ อย่าง Pennzoil ได้ใช้ ABM เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการระบุต้นทุนกระบวนการและสนับสนุนต่อกระบวนการยกเครื่อง เพื่อทำการปรับปรุงประสิทธิภาพและลดต้นทุน ด้วยการวิเคราะห์การปฏิบัติการ ซึ่ง ABM ได้ให้ข้อมูลแก่ Pennzoil ในการเปลี่ยนโครงสร้างต้นทุนของการสำรวจและการผลิต รวมทั้งเป็นสารสนเทศต่อองค์กรในการพัฒนาแนวทางเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเงินด้วยการใช้ทรัพยากรที่น้อยลง

 -----------------------------------------------

Balanced Scorecard

Balanced Scorecard (BSC) เป็นเครื่องมือซึ่งเกิดจากแนวความคิดที่ช่วยให้องค์กรในการแปลจากกลยุทธ์ให้เป็นการปฏิบัติ    โดยเริ่มต้นที่วิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ขององค์กรซึ่งเป็นขั้นของการกำหนดปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จ    และจากนั้นก็เป็นการสร้างดัชนีวัดผลสำเร็จ (Key Performance Indicators) ขึ้นเพื่อเป็นตัวบ่งชี้ถึงเป้าหมายและใช้วัดผลการดำเนินงานในส่วนที่สำคัญต่อกลยุทธ์   จึงถือได้ว่า BSC เป็นระบบการวัดผลการดำเนินงาน  ที่ถ่ายทอดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ขององค์กรสู่การปฏิบัติ  และสะท้อนการดำเนินงานในมุมมอง 4 ด้านหลัก  คือ ด้านการเงิน  ด้านลูกค้า  ด้านกระบวนการภายใน  และด้านการเรียนรู้และการพัฒนา

·       มุมมองด้านการเงิน

·       มุมมองด้านลูกค้า  เน้นความพึงพอใจของลูกค้า 

·       มุมมองด้านกระบวนการ   เป็นการปรับปรุงพัฒนากระบวนการภายใน 

·       มุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา  เน้นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ  การสร้างเสริมความสามารถของพนักงานและระบบ

 -----------------------------------------

key performance indicators(KPI)

เครื่องมือที่ใช้วัดผลการดำเนินงานหรือประเมินผลการดำเนินงานในด้านต่าง ขององค์กรซึ่งสามารถแสดงผลขอการวัดหรือการประเมิน ในรูปข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อสะท้อนประสิทธิภาพประสิทธิผลในการปฏิบัติงานขององค์กรหรือหน่วยงานภายในองค์กร

ลักษณะของ KPI

- สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ขององค์กร

- ควรแสดงถึงสิ่งที่มีความสำ คัญต่อองค์กรและหน่วยงานเท่านั้น ซึ่งดัชนีชี้วัดที่มีความสำคัญต่อองค์กรและหน่วยงานมี 2 ลักษณะ คือ ดัชนีชี้วัดที่แสดงผลการดำเนินงานที่สำคัญต่อองค์กร และดัชนีชี้วัดกิจกรรมหรืองานที่สำคัญซึ่งหากผิดพลาดจะก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงในองค์กรหรือหน่วยงาน

- ประกอบด้วยดัชนีชี้วัดที่เป็นเหตุและดัชนีชี้วัดที่เป็นผล

- ดัชนีชี้วัดที่สร้างขึ้นควรเป็นดัชนีชี้วัดที่องค์กรหรือหน่วยงานสามารถควบคุมผลงานได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ80

- เป็นดัชนีชี้วัดที่สามารถวัดผลได้ และบุคคลทั่วไปเข้าใจ ไม่ใช่มีเพียงผู้จัดทำเท่านั้นที่เข้าใจ

- ต้องช่วยให้ผู้บริหารและพนักงานสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญขององค์กรได้ นอกเหนือจากการใช้ดัชนีชี้วัดเพื่อ การประเมินผลงาน

ขั้นตอนการสร้าง KPI

-  กำหนดวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการซึ่งควรสะท้อนถึงกลยุทธ์ที่องค์กรมุ่งเน้น

- กำหนดปัจจัยสู่ความสำเร็จหรือปัจจัยวิกฤต

ที่สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ

- กำหนดตัวชี้วัดที่สามารถบ่งชี้ความสำเร็จ/ประสิทธิภาพ/ประสิทธิผลจากการดำเนินการตามวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ

ซึ่งสามารถแสดงผลเป็นข้อมูลในเชิงปริมาณและกำหนดสูตรในการคำนวณรวมทั้งหน่วยของดัชนีชี้วัดแต่ละตัว

- กลั่นกรองดัชนีชี้วัดเพื่อหาดัชนีชี้วัดหลัก โดยจัดลำดับและกำหนดน้ำหนักความสำคัญของดัชนีชี้วัดแต่ละตัว

- กระจายดัชนีชี้วัดสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

- จัดทำ KPI Dictionary โดยระบุรายละเอียดที่สำคัญของดัชนีชี้วัดแต่ละตัว เช่น ชื่อของดัชนีชี้วัด คำจำกัดความหรือนิยามของดัชนีชี้วัด สูตรในการคำนวณ หน่วยของดัชนีชี้วัด ผู้เก็บข้อมูล ความถี่ในการรายงานผล เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องในการ นำดัชนีชี้วัดไปใช้ในการปฏิบัติงาน

 ----------------------------------------------------------

Re-Engineering

หมายถึง การรื้อและรวมทั้งปรับระบบองค์การ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาองค์การ ให้เกิดประสิทธิภาพทั้ง 4 ด้าน คือ การลดต้นทุน การเพิ่มคุณภาพของผลผลิต บ

น.ส.เปรมกมล คำทราย เลขที่ 29 กจ.2/1

สรุปเครื่องมือทางการบริหารจัดการ

Activity-Based Management

Activity-Based Management ที่เป็นแนวทางมุ่งการจัดการต่อกิจกรรม เพื่อการปรับปรุงมูลค่าที่ส่งมอบสู่ลูกค้าและสร้างผลกำไรให้กับผู้ส่งมอบ การดำเนิน ABM จึงรวมถึงการวิเคราะห์ตัวผลักดันต้นทุน การวิเคราะห์กิจกรรม (Activity Analysis) และการวัดผลการปฏิบัติการ (Performance Measurement) ABM จะแสดงในมุมมองของกระบวนการ(Process View) ซึ่งเกี่ยวข้องกับปัจจัยที่ก่อให้เกิดต้นทุน ด้วยการใช้การใช้ข้อมูล ABC และ ABM ทำให้สามารถสนับสนุนการปรับปรุงการใช้ทรัพยากร เพื่อเพิ่มมูลค่าที่ถูกสร้างสำหรับลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ซึ่ง ABM จะถูกใช้สำหรับการติดตามค่าโสหุ้ยและต้นทุนทางอ้อมที่เกิดจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการ

ปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ ต้องการปรับปรุงธุรกิจ โดยมุ่งสร้างมูลค่าและผลตอบแทนทางการเงินสูงสุด ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาเครื่องมือสำหรับการปรับปรุงธุรกิจ ที่มุ่งทรัพยากร 4M (Man Machine Money Material) เพื่อสร้างผลิตผลที่ต้องการ และมุ่งขจัดอุปสรรคต่าง ๆ ดังนั้นวิธีการสำหรับการปรับปรุงธุรกิจที่ถูกใช้อย่างแพร่หลาย

แนวทางการใช้ประโยชน์ ABM

ตามที่กล่าวนำข้างต้นถึง ABM ที่เป็นการดำเนินการจัดการอย่างทั่วทั้งองค์กร โดยเริ่มจากสารสนเทศที่ถูกต้องจาก ABC องค์กรที่ดำเนินตามแนวทางของ ABM ก็ด้วยเหตุผลหลายประการ แต่ส่วนใหญ่แล้วเชื่อว่า ABM จะสนับสนุนต่อการตัดสินใจ การปรับปรุงการดำเนินงาน และการสร้างรายได้จากสินทรัพย์ที่ได้ลงทุนไว้ โดยมีเป้าหมายหลักในการสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าด้วยต้นทุนที่ลดลง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์ในด้านต่าง ๆ ดังเช่น

- การวิเคราะห์คุณลักษณะ (Attribute Analysis)ที่ทำการจำแนกประเภทและรวมต้นทุนและข้อมูลสมรรถนะเป็นกลุ่มที่สามารถจัดการและควบคุมได้ คุณลักษณะข้อมูลจะช่วยให้องค์กรดำเนินการวิเคราะห์ในหลายมิติที่แตกต่างของปัญหาการจัดการ

- การวิเคราะห์กลยุทธ์ (Strategic Analysis) ที่ทำการค้นหาแนวทางต่าง ๆ ที่สามารถสร้างและรักษาสภาวะความได้เปรียบจากการแข่งขันในตลาด โดยมุ่งวัตถุประสงค์ระยะยาว (Long-Term Objectives) ที่วิเคราะห์หาผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในอนาคตและการปรับปรุงผลกำไรด้วยการสร้างความกระจ่างของ Cost Objects ทั้งหลาย ดังเช่น ลูกค้า ผลิตภัณฑ์ และช่องทางจัดจำหน่าย การวิเคราะห์กลยุทธ์จึงมุ่งเน้นโอกาสในอนาคตและสิ่งที่จะเผชิญ ด้วยการใช้การวัดผลทั้งทางกายภาพและทางการเงิน เพื่อค้นหาผลกระทบของทางเลือกกลยุทธ์ ดังเช่น การดำเนินกิจกรรม ABM ที่ Hewlett-Packard ซึ่งทำให้ได้รับสารสนเทศทางกลยุทธ์และการปฏิบัติการอย่างเต็มรูปแบบ ที่รวมถึง ต้นทุนส่วนลูกค้า (Customer Segment Costing) ต้นทุนผลิตภัณฑ์ และการระบุเป้าหมายสำหรับโอกาสการปรับปรุง

- การเทียบเคียง (Benchmarking) คือวิธีการที่ระบุกิจกรรมที่เป็นมาตรฐาน โดยถูกใช้เพื่อสนับสนุนผู้บริหารในการระบุกระบวนการหรือเทคนิคเพื่อเพิ่มประสิทธิผลหรือประสิทธิภาพของกิจกรรม ซึ่ง ABM จะสนับสนุนการดำเนินการทำ Benchmark เทียบกับผู้เป็นเลิศ ทั้งในกระบวนการภายในอุตสาหกรรม และคู่แข่งขัน ดังเช่น กรณีของ AT&T ที่ได้ประยุกต์แนวทาง ABM กับธุรกิจและสนับสนุนการทำ Benchmark ในกรณีดังกล่าว ต้นทุนต่อหน่วยจะถูกใช้เป็นมาตรวัดสำหรับการทำ Benchmark ภายในกลุ่มทำงาน รวมทั้งการใช้เปรียบเทียบกับหน่วยอื่น โดยที่กลุ่มทำงานจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกลุ่ม ซึ่งการเข้าถึงข้อมูลต้นทุนที่มีความน่าเชื่อถือทำให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นข้อแตกต่างทางต้นทุนและสามารถวางแผนการปรับปรุงกระบวนการอย่างมีประสิทธิผล เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดต้นทุน

- การวิเคราะห์การปฏิบัติการ (Operation Analysis) โดยทำการค้นหาเพื่อระบุ วัดผล และปรับปรุงสมรรถนะของกระบวนการหลักและการดำเนินงานภายในองค์กร ซึ่ง ABM ถูกใช้เพื่อการวิเคราะห์แบบ What-If การบริหารโครงการ และการวัดผลการดำเนินงาน ที่รวมถึงการวิเคราะห์ข้อจำกัด (Constraint Analysis) และต้นทุนตามฐานกระบวนการ (Process-Based Costing)

- การวิเคราะห์ความสามารถทำกำไร (Profitability Analysis) คือ ประเด็นหลักสำหรับองค์กร โดยมี ABM เป็นเครื่องมือสนับสนุนองค์กรในการวิเคราะห์ต้นทุนและผลกำไรจากผลิตภัณฑ์และกระบวนการทั้งก่อนและหลังทำการปรับปรุง รวมทั้งสนับสนุนการวิเคราะห์ก่อนออกผลิตภัณฑ์ (Prelaunch) และการปรับปรุงความสามารถการทำกำไร ที่เป็นหัวใจของการจัดการสมัยใหม่ โดยมุ่งระบุสาเหตุของความผันแปร ความสูญเปล่าและความไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งการปรับปรุงกระบวนการได้รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กน้อยและการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน โดยมีแนวทางและเครื่องมืออย่าง แบบจำลองกระบวนการธุรกิจ (Business Process Modeling) การยกเครื่องกระบวนการธุรกิจ (Business Process Reengineering) กิจกรรมทางคุณภาพ การไคเซ็น สำหรับองค์กรชั้นนำ อย่าง Pennzoil ได้ใช้ ABM เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการระบุต้นทุนกระบวนการและสนับสนุนต่อกระบวนการยกเครื่อง เพื่อทำการปรับปรุงประสิทธิภาพและลดต้นทุน ด้วยการวิเคราะห์การปฏิบัติการ ซึ่ง ABM ได้ให้ข้อมูลแก่ Pennzoil ในการเปลี่ยนโครงสร้างต้นทุนของการสำรวจและการผลิต รวมทั้งเป็นสารสนเทศต่อองค์กรในการพัฒนาแนวทางเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเงินด้วยการใช้ทรัพยากรที่น้อยลง

- การปรับปรุงกระบวนการ (Process Improvement) ที่เป็นหัวใจของการจัดการสมัยใหม่ โดยมุ่งระบุสาเหตุของความผันแปร ความสูญเปล่าและความไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งการปรับปรุงกระบวนการได้รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กน้อยและการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน โดยมีแนวทางและเครื่องมืออย่าง แบบจำลองกระบวนการธุรกิจ (Business Process Modeling) การยกเครื่องกระบวนการธุรกิจ (Business Process Reengineering) กิจกรรมทางคุณภาพ การไคเซ็น สำหรับองค์กรชั้นนำ อย่าง Pennzoil ได้ใช้ ABM เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการระบุต้นทุนกระบวนการและสนับสนุนต่อกระบวนการยกเครื่อง เพื่อทำการปรับปรุงประสิทธิภาพและลดต้นทุน ด้วยการวิเคราะห์การปฏิบัติการ ซึ่ง ABM ได้ให้ข้อมูลแก่ Pennzoil ในการเปลี่ยนโครงสร้างต้นทุนของการสำรวจและการผลิต รวมทั้งเป็นสารสนเทศต่อองค์กรในการพัฒนาแนวทางเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเงินด้วยการใช้ทรัพยากรที่น้อยลง

Balanced Scorecard

Balanced Scorecard (BSC) เป็นเครื่องมือซึ่งเกิดจากแนวความคิดที่ช่วยให้องค์กรในการแปลจากกลยุทธ์ให้เป็นการปฏิบัติ โดยเริ่มต้นที่วิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ขององค์กรซึ่งเป็นขั้นของการกำหนดปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จ และจากนั้นก็เป็นการสร้างดัชนีวัดผลสำเร็จ (Key Performance Indicators) ขึ้นเพื่อเป็นตัวบ่งชี้ถึงเป้าหมายและใช้วัดผลการดำเนินงานในส่วนที่สำคัญต่อกลยุทธ์ จึงถือได้ว่า BSC เป็นระบบการวัดผลการดำเนินงาน ที่ถ่ายทอดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ขององค์กรสู่การปฏิบัติ และสะท้อนการดำเนินงานในมุมมอง 4 ด้านหลัก คือ ด้านการเงิน ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการภายใน และด้านการเรียนรู้และการพัฒนา

• มุมมองด้านการเงิน

• มุมมองด้านลูกค้า เน้นความพึงพอใจของลูกค้า

• มุมมองด้านกระบวนการ เป็นการปรับปรุงพัฒนากระบวนการภายใน

• มุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา เน้นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ การสร้างเสริมความสามารถของพนักงานและระบบ

key performance indicators(KPI)

เครื่องมือที่ใช้วัดผลการดำเนินงานหรือประเมินผลการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ขององค์กรซึ่งสามารถแสดงผลขอการวัดหรือการประเมิน ในรูปข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อสะท้อนประสิทธิภาพประสิทธิผลในการปฏิบัติงานขององค์กรหรือหน่วยงานภายในองค์กร

ลักษณะของ KPI

- สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ขององค์กร

- ควรแสดงถึงสิ่งที่มีความสำ คัญต่อองค์กรและหน่วยงานเท่านั้น ซึ่งดัชนีชี้วัดที่มีความสำคัญต่อองค์กรและหน่วยงานมี 2 ลักษณะ คือ ดัชนีชี้วัดที่แสดงผลการดำเนินงานที่สำคัญต่อองค์กร และดัชนีชี้วัดกิจกรรมหรืองานที่สำคัญซึ่งหากผิดพลาดจะก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงในองค์กรหรือหน่วยงาน

- ประกอบด้วยดัชนีชี้วัดที่เป็นเหตุและดัชนีชี้วัดที่เป็นผล

- ดัชนีชี้วัดที่สร้างขึ้นควรเป็นดัชนีชี้วัดที่องค์กรหรือหน่วยงานสามารถควบคุมผลงานได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ80

- เป็นดัชนีชี้วัดที่สามารถวัดผลได้ และบุคคลทั่วไปเข้าใจ ไม่ใช่มีเพียงผู้จัดทำเท่านั้นที่เข้าใจ

- ต้องช่วยให้ผู้บริหารและพนักงานสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญขององค์กรได้ นอกเหนือจากการใช้ดัชนีชี้วัดเพื่อ การประเมินผลงาน

ขั้นตอนการสร้าง KPI

- กำหนดวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการซึ่งควรสะท้อนถึงกลยุทธ์ที่องค์กรมุ่งเน้น

- กำหนดปัจจัยสู่ความสำเร็จหรือปัจจัยวิกฤต

ที่สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ

- กำหนดตัวชี้วัดที่สามารถบ่งชี้ความสำเร็จ/ประสิทธิภาพ/ประสิทธิผลจากการดำเนินการตามวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ

ซึ่งสามารถแสดงผลเป็นข้อมูลในเชิงปริมาณและกำหนดสูตรในการคำนวณรวมทั้งหน่วยของดัชนีชี้วัดแต่ละตัว

- กลั่นกรองดัชนีชี้วัดเพื่อหาดัชนีชี้วัดหลัก โดยจัดลำดับและกำหนดน้ำหนักความสำคัญของดัชนีชี้วัดแต่ละตัว

- กระจายดัชนีชี้วัดสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

- จัดทำ KPI Dictionary โดยระบุรายละเอียดที่สำคัญของดัชนีชี้วัดแต่ละตัว เช่น ชื่อของดัชนีชี้วัด คำจำกัดความหรือนิยามของดัชนีชี้วัด สูตรในการคำนวณ หน่วยของดัชนีชี้วัด ผู้เก็บข้อมูล ความถี่ในการรายงานผล เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องในการ นำดัชนีชี้วัดไปใช้ในการปฏิบัติงาน

Re-Engineering

หมายถึง การรื้อและรวมทั้งปรับระบบองค์การ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาองค์การ ให้เกิดประสิทธิภาพทั้ง 4 ด้าน คือ การลดต้นทุน การเพิ่มคุณภาพของผลผลิต บริการ และความรวดเร็ว

หลักการ

1. ต้องไม่ยึดติดกับหลักการเก่า ๆ และแนวคิดเดิม

2. ต้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่ทั้งหมด

3. ต้องเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่มโหฬาร

4. ต้องเน้นกระบวนการทำงานโดยใช้บุคลากรน้อยที่สุด

5. ต้องนำระบบเทคโนโลยี่สารสนเทศมาใช้ในกระบวนการทำงาน

6. ต้องกำหนดตัวชี้วัดให้ชัดเจน

7. ต้องจัดสายบังคับบัญชาให้สั้น แบบแนวราบ

8. ต้องเน้นการให้ความสำคัญกับเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงาน

กระบวนการ Reengineering

1. ขั้นระดมพลัง 1) สร้างรูปแบบใหม่ของกระบวนการธุรกิจ 2) กำหนดทีมงานรับผิดชอบการ Reengineering 3) กำหนดยุทธศาสตร์ 4) ให้ความสำคัญในกระบวนการ Reengineering

2. ขั้นวิเคราะห์ 1) กำหนดขอบเขตและทิศทางของธุรกิจ 2) ศึกษาความต้องการของผู้รับบริการ 3) ศึกษากระบวนการบริหารและจัดการในปัจจุบัน 4) ค้นหาจุดอ่อนของระบบปัจจุบัน 5) กำหนดเป้าหมายของระบบใหม่

3. ขั้นออกแบบกระบวนการธุรกิจใหม่ 1) กำหนดแนวคิดของกระบวนการบริหารและจัดการใหม่ 2) ออกแบบระบบงานใหม่ 3) พัฒนารายละเอียดของระบบงานใหม่ 4) ทดสอบระบบงานใหม่ 5) ประเมินผลระบบงานใหม่

4. ขั้นนำไปใช้ 1) ทดลองนำระบบงานใหม่ไปใช้โดยโครงการนำร่อง 2) ประเมินผลโดยการนำร่อง 3) ปรับปรุงและพัฒนาระบบงานให้ดียิ่งขึ้น 4) ปรับปรุงและพัฒนาระบบสนับสนุนให้มีประสิทธิภาพ 5) นำระบบงานใหม่มาใช้จริง

Knowledge Management

KM หมายถึง การจัดการความรู้ หมายถึง ความสามารถในการจัดการความรู้ ประกอบด้วย การสร้างความรู้ การประมวล การแลกเปลี่ยนและสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้และการสร้างนวัตกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นในหน่วยงาน

เป้าหมายของ KM เป้าหมายประการแรก คือ เพื่อเป็นองค์กรเรียนรู้ การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรและการสร้างและใช้ความรู้ในการปฏิบัติงาน มีการเรียนรู้ร่วมกันและแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ ส่วนในแง่ของบุคคลในหน่วยงาน เช่น ถ้าเป็นหน่วยงานรัฐก็จะเป็นข้าราชการเป็นบุคคลเรียนรู้ ควรมีภาวะแนะนา และสามารถเรียนรู้จากผู้อื่น ซึ่งอาจจะเป็นเพื่อร่วมงานหรือผู้ใช้บริการ

องค์ประกอบของ KM องค์ประกอบของ KM ที่สาคัญเป็นเรื่องของกระบวนการจัดการความรู้ (KM Process) 1. องค์ประกอบแรก เป็นทัศนะของการปรับเปลี่ยนมุมมองในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงาน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดของการจัดการความรู้ ส่วนหนึ่งคือ ผู้ปฏิบัติงานจาเป็นที่จะต้องขยายขอบเขตไปยังบุคคลที่เป็นผู้เชี่ยวชาญหรือผู้รู้ในด้านต่างๆในฐานะที่เป็น "ผู้สร้างความรู้" ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานของตน โดยอาจจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อการถ่ายทอด แลกเปลี่ยน และแบ่งปันความรู้ให้เกิดขึ้น 2. ประการที่ 2 เป็นข้อเสนอแนะหรือแนวทางของการปรับเปลี่ยนที่ยั่งยืน สาหรับการฝังรากของการจัดการความรู้ลงในกระบวนการของการดาเนินงาน ทั้งนี้ความสาเร็จดังกล่าวตั้งอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่สาคัญคือ สมองประสานใจ นั้นคือ ผู้ที่อยู่ในวิชาชีพจะต้องมีทัศนะ ความคิดเห็น และความรู้สึกเชิงบวก รวมทั้งมีความมั่นใจและเชื่อมั่นว่าจะสามารถนาแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม

Six Sigma

(Six Sigma) หมายถึงระดับคุณภาพของกระบวนการผลิตที่ยอมให้มีของเสียในระบบได้เพียง 3.4 ชิ้นต่อการผลิตสินค้าล้านชิ้น และนอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือช่วยธุรกิจ ให้สามารถแก้ปัญหาคุณภาพของระบบของการปฏิบัติการได้อีกด้วย

หลักการสำคัญของกลยุทธ์ Six sigma

การบรรลุกลยุทธ์ที่สำคัญของ six sigma ซึ่งเกี่ยวข้องกับขั้นตอน 4 ขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วย

1. Measurement ในขั้นนี้เป็นการขั้นตอนการวัด วัดว่าองค์การอยู่ที่ใด black belt จะกระทำเพื่อวัดจุดวิกฤตต่อคุณภาพ หรือการวัดสิ่งที่มีผลกระทบต่อลักษณะคุณภาพหรือผลการปฏิบัติงานมากที่สุด วางแผนกำลังคน ทำการวัดในสิ่งที่จำเป็น ซึ่งเป็นการประเมินปัญหาและระบุปัญหา บันทึกผลลัพธ์ที่ได้และประมาณการศักยภาพขององค์การและกระบวนการต่าง ๆ ในองค์การในระยะยาว

2. Analyze เป็นการวิเคราะห์วิเคราะห์ว่าปัญหาต่าง ๆ เริ่มมาจากที่ใด เพื่อหาทางแก้ไข โดยการเปรียบเทียบศักยภาพขององค์การและคู่แข่ง วิเคราะห์ช่องว่างของกระบวนการทำงานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การเพื่อระบุปัจจัยที่นำไปสู่ผลสำเร็จในกระบวนการปฏิบัติงาน ในบางกรณีจะพบว่าองค์การมีความจำเป็นต้องออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการใหม่ ๆ เพื่อเป็นการลดช่องว่าง และปรับปรุงสมรรถนะของกระบวนการให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น

3. Improvement การแก้ไขกระบวนการ ในขั้นนี้ black belt จะเป็นผู้ระบุลักษณะของผลิตภัณฑ์ ที่ต้องปรับปรุงเพื่อให้บรรลุผลในการปฏิบัติงานและบรรลุวัตถุประสงค์ทางด้านการเงิน การการปรับปรุงที่ CTQ จะช่วยในการปรับปรุงเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งกระบวนการ

4. Control การควบคุม ในขั้นนี้ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อช่วยให้ black belt กำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อเป็นตัวควบคุมตัวแปรที่สำคัญให้อยู่ในช่วงมาตรฐานใหม่ที่ระดับการทำงานที่ได้รับการปรับปรุงแล้วในขั้นตอนของการปรับปรุงจนมั่นใจว่าความสำเร็จต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลมาจากการปรับปรุงกระบวนการจริง ๆ

เมื่อได้มีการปรับปรุงกระบวนการทั้ง 4 ขั้นตอนที่กล่าวมา ประกอบด้วย การวัด (Measurement) การวิเคราะห์ (Analyze) การปรับปรุง (Improvement) การควบคุม (Control) จะทำให้องค์การสามารถปรับปรุงผลสำเร็จทางเศรษฐกิจ และสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าได้

แนวคิดการบริหารแบบ six sigma

1.เน้นสร้างทักษะและการเรียนรู้ให้แก่พนักงานอย่างเป็นระบบ และเข้มงวด รู้ปัญหาและกำหนดเป็นโครงการปรับปรุงทั้งระยะสั้นและระยะยาว

2.วัดที่ผลการปรับปรุงเป็นหลัก

3.ใช้ทีมงานที่มีผลประเมินการทำงานดี หรือ ดีเยี่ยม มาทำการปรับปรุงและตัดสินใจให้คนเก่งมีเวลาถึง 100 % เพื่อแก้ปัญหาให้กับองค์การ

4.สร้างผู้นำโครงการให้เกิดขึ้นในอนาคต

5.ใช้ข้อมูลเป็นตัวตัดสินใจเท่านั้น

6.เน้นความรับผิดชอบในการทำโครงการ

7.การให้คำมั่นสัญญามาจากผู้บริหาร

Benchmarking

มีนักวิชาการหลายท่านให้คำนิยามคำว่า Benchmarking หลายคำจำกัดความ และในตำราบางเล่มได้เพิ่มเติมคำว่า Benchmark และ Best Practices ซึ่งมีความหมายเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับ โดยบุญดี บุญญากิจและกมลวรรณ ศิริพานิช(2545: 9-11) ได้ให้ความหมายทั้งสามคำไว้ว่า Benchmark หมายถึง Best-in-class คือเก่งที่สุดหรือดีที่สุดระดับโลกอันจะเป็นต้นแบบที่จะใช้วัดเพื่อเปรียบเทียบความสมารถของตนเอง ส่วน Benchmarking คือวิธีการในการวัดและเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ บริการ และวิธีการปฏิบัติกับองค์กรที่สามารถทำได้ดีกว่า เพื่อนำผลการเปรีบยเทียบมาใช้ในการปรับปรุงองค์กรของตนเพื่อมุ่งความเป็นเลิศทางธุรกิจ และ Best Practices คือวิธีการปฏิบัติที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จหรืออาจกล่าวได้ว่าคือวิธีการที่ทำให้องค์กรสู่ความเป็นเลิศ กล่าวคือกระบวนการทำ Benchmarking นำไปสู่การค้นพบผู้ที่เป็น Benchmark หรือผู้ปฏิบัติได้ดีที่สุดว่าเป็นใคร และผู้ที่เป็น Benchmark สามารถตอบคำถามเราได้ว่า Best Practices หรือวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุดที่นำไปสู่ความเป็นเลิศ

ประโยชน์ของการทำ Benchmarking

เนื่องจาก Benchmarking เป็นการเน้นความสำคัญไปยังกระบวนการ ( Process )ที่สำคัญๆ ในทางธุรกิจของแต่ละองค์กร ซึ่ง พอลล์ เจมส์ โรแบร์(2543: 20-21) ให้เหตุผลในการทำ Benchmarking ว่า Benchmark จะช่วยปรับปรุงผลการปฏิบัติงานขององค์กรได้เป็นอย่างดี การวิจัยและการเปรียบเทียบกระบวนการทางธุรกิจกับองค์กรที่ได้รับการยอมรับว่าดีที่สุด (best-in-class) จะให้ประโยชน์มหาศาลในระยะเวลาอันสั้น เช่นเดียวกับ ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์(2544: 55-56) ที่มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า Benchmark จะมีความสำคัญต่อองค์กรธุรกิจ 4 ประการ คือ

1. การ Benchmark ทำให้ธุรกิจรู้จักตนเองจากการวัดผลการดำเนินงาน เปรียบเทียบกับองค์กรอื่นที่มีการดำเนินงานที่ดี (ที่สุด)

2. การ Benchmark เป็นแนวทางในการพฒนาตนเองอย่างเป็นระบบต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมที่สามารถวัดและตรวจสอบได้ มิใช่แค่เพียงนึกหรือคิดเอาเองเท่านั้น

3. การ Benchmark เป็นการสั่งสมความรู้ ทักษะ และ ประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ ในการแก้ปัญหาขององค์กรในอนาคต

4. การ Benchmark มิใช่เทคนิคการปฏิบัติการเพื่อสร้างคุณภาพ ประสิทธิภาพและผลิตภาพในการผลิตและบริการเท่านั้น แต่จะเป็นเครื่องมือในระดับกลยุทธ์ที่จะพัฒนาศักยภาพ แสดงความสามารถในการแข่งขันขององค์กร

กระบวนการทำ Benchmarking

การทำ Benchmark เป็นงานที่ไม่ง่ายนักเนื่องจากจะต้องเกี่ยวข้องกับกลุ่มบุคคลต่างๆ มีความซับซ้อน จึงต้องดำเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง มีนักวิชาการได้กล่าวถึงวิธีการและขั้นตอนการทำ Benchmark ตามความคิดของตนเอง เช่น Robert Camp(อ้างถึงณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์, 2544: 58-62) ได้กล่าวถึงขั้นตอนในการ Benchmark ว่า ประกอบไปด้วยช่วงเวลา(Phase) ที่สำคัญ 5 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 การวางแผน(Planning) เป็นการกำหนดขอบเขตพื้นที่ในการดำเนินงาน ซึ่งเป็นการกำหนดขอบเขต วางแผนและระดับความสำคัญในการดำเนินงาน

ระยะที่ 2 การวิเคราะห์(Analysis) เป็นการสร้างความเข้าใจในเชิงลึกเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน หรือกระบวนการขององค์กรและธุรกิจที่นำมาเปรียบเทียบ

ระยะที่ 3 การบูรณาการ(Integration) เป็นการกำหนดเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา ซึ่งจะสอดคล้องกับกลยุทธ์และการวางแผนขององค์กร

ระยะที่ 4 การปฏิบัติ(Action) เป็นการแปลงแนวคิดและผลการศึกษาให้เป็นการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการพัฒนาตามแนวทาง Benchmark

นางสาวภาวนา สุนันตา เลขที่ 16 กจ.2/1

                        สรุปเครื่องมือการจัดการ

1.Balance Scorecard

ความหมาย คือ เครื่องมือสำหรับการบริหารเชิงกลยุทธ์ ซึ่งถูกนำมาใช้เพื่อการประเมินและพัฒนาผลงานขององค์กร

หลักการ การกำหนดวิสัยทัศน์ (vision) และแผนกลยุทธ์ (strategic plan) แล้วแปลผลลงไปสู่ทุกจุดขององค์กรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของแต่ละฝ่ายงานและแต่ละคน โดยระบบของ Balanced Scorecard จะ เป็นการจัดหาแนวทางแก้ไขและปรับปรุงการดำเนินงาน โดยพิจารณาจากผลที่เกิดขึ้นของกระบวนการทำงานภายในองค์กร และผลกระทบจากลูกค้าภายนอกองค์กร นำมาปรับปรุงสร้างกลยุทธ์ให้มีประสิทธิภาพดีและประสิทธิผลดียิ่งขึ้น

ประโยชน์ ช่วยปรับเปลี่ยนแผนกลยุทธ์ขององค์กรจากระบบ “การทำงานตามคำสั่งหรือสิ่งที่ได้เรียนรู้สืบทอดกันมา (academic exercise)” ไปสู่ระบบ “การร่วมใจเป็นหนึ่งเดียวขององค์กร (nerve center of an enterprise)”

2. Key Performance Indicator

ความหมาย เครื่อง มือที่ใช้วัด และประเมินผลการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญขององค์กร ซึ่งสามารถแสดงผลเป็นข้อมูลในรูปของตัวเลขเพื่อสะท้อนประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลในการทำงานขององค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์กร

หลักการ เป็นตัวชี้วัดที่จะใช้ในการวัดประเมินผลความสำเร็จ/ การปฏิบัติงานขององค์กร ว่าเป็นไปตามภารกิจและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพียงใด โดยเทียบผลการปฏิบัติงานกับมาตรฐานหรือเป้าหมายที่ตกลงกันไว้เพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงานขององค์กร ทำให้องค์กรสามารถกำหนดขอบเขต วัดผล ติดตาม และพัฒนาปรับปรุงการดำเนินการขององค์กรให้เป็นไปตามเป้าหมายได้อย่างเป็น รูปธรรม และเป็นการให้ข้อมูลสำหรับผู้บริหารเพื่อประสิทธิภาพในกระบวนการตัดสินใจ และการคาดการณ์เพื่อการวางแผนในอนาคต

ประโยชน์ ผู้บริหารสามารถสร้างความมุ่งมั่นในการสร้างดัชนีชี้วัดสามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์รวบรวม ประมวลผลวิเคราะห์ข้อมูล แสดงผล กำหนดเงื่อนไขการให้คะแนนดัชนีชี้วัดแต่ละตัวให้อยู่บนพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้ในการเปรียบเทียบผลงานที่เกิดขึ้นได้ ประยุกต์ใช้ดัชนีชี้วัดในการบริหารเพื่อผลักดันให้เกิดการปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่อง เชื่อมโยงผลงานที่ได้จากดัชนีชี้วัดกับการประเมินผลการปฏิบัติงาน

3. Six Sigma

ความหมาย เป็นกระบวนการทางธุรกิจที่ให้องค์กรต่างๆ ปรับปรุงขีดความสามารถอย่างมหาศาล โดยการออกแบบและตรวจสอบกิจกรรมทางธุรกิจประจำวัน เพื่อลดสิ่งสูญเปล่าและลดการใช้ทรัพยากร แต่ขณะเดียวกันก็เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า

หลักการ เป็นแนวทางชี้แนะให้องค์กรทำให้เกิดข้อ ผิดพลาดน้อยที่สุด ตั้งแต่การจัดข้อมูลคำสั่งซื้อสินค้า ไปจนถึง การผลิตเครื่องยนต์เครื่องบิน โดยการลดช่องโหว่ของคุณภาพตั้งแต่ ที่ปรากฏขึ้นครั้งแรก Six Sigma ไม่เพียงตรวจจับหรือแก้ไขจุดบกพร่อง แต่ยังนำเสนอวิธีการที่เฉพาะเจาะจง สำหรับการสร้างกระบวนการทำงานใหม่ ให้ไม่มีจุดผิดพลาดเกิดขึ้นตั้งแต่ต้น

ประโยชน์

1.แก้ปัญหาอย่างระบบและเสริมสร้างกลยุทธ์ใหม่ให้ธุรกิจ

2.บริหารจัดการและพัฒนาองค์กรโดยใช้ข้อมูลจริงใช้หลักทางสถิติ 3.สร้างทีมงานในองค์กรให้แข็งแกร่ง

4.เพิ่มผลประกอบด้านการเงินจากโครงการประหยัดต้นทุน

5.พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพให้สูงขึ้น

 

4.Knowledge Management

ความหมาย กระบวนการในการจัดการเพื่อให้ผู้ที่ต้องการใช้ความรู้ได้รับความรู้ที่ต้องการในเวลาที่ต้องการทำให้สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร

หลักการ

1. การเปลี่ยนแปลงเทคนิคในการบริหารงาน เทคนิคในการบริหารงานแบบเก่า เช่น การ บริหารงานโดยรวม(TQM) การรีเอ็นจิเนียริ่ง(Re-engineering) เป็นเทคนิคที่ใช้ในการบริหารองค์กร แต่ เทคนิค เหล่านี้ไม่สามารถพัฒนาความชาญฉลาดขององค์กรได้ จึงได้นำการจัดการความรู้เข้ามาใช้

2. ความเปลี่ยนแปลงด้านการตลาด ในการแข่งขันทางด้านการตลาดเทคนิคการขายเป็นสิ่งที่มี ความสำคัญ ดังนั้นเพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจจึงต้องมีการพัฒนาฐานความรู้ในองค์กร

3. ลดความผิดพลาดในการแข่งขันด้านการตลาด รวมถึงการลดขนาดองค์กร เพื่อให้การทำงานมี ประสิทธิภาพมากขึ้น

4. สร้างวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด ช่วยให้องค์กรลดงบประมาณในการทำงานได้

5. การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อสร้างความสำเร็จในองค์กร

ประโยชน์

1. เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร

2. ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา

4. เป็นการลงทุนในต้นทุนมนุษย์

5. ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจและวางแผนดำเนินงานให้รวดเร็ว และดีขึ้น

6. ผู้บังคับบัญชาสามารถทำงานเชื่อมโยงกับผู้ใต้บังคับบัญชา

7. เมื่อพบข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน ก็สามารถหาวิธีแก้ไขได้ทันท่วงที

8. แปรรูปความรู้ให้เป็นทุน

9. เพื่อการสร้างสรรค์ และบรรลุเป้าหมายของจินตนาการที่ยิ่งใหญ่ 10. เปลี่ยนวัฒนธรรม จาก วัฒนธรรมอำนาจ / แนวดิ่ง สู่ วัฒนธรรมความรู้ / แนวราบ

11. ความสามารถในการปรับตัวและความยืดหยุ่น

12. การจัดการความรู้ช่วยให้องค์กรมีความเข้าใจลูกค้า

13. การพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาเป็นการพัฒนาความสามารถขององค์กรใน

14. การยกระดับผลิตภัณฑ์

15. การบริหารลูกค้า การศึกษาความสนใจและความต้องการของลูกค้า

16. การลงทุนทางทรัพยากรบุคคล การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันการเรียนรู้ร่วมกัน

 

5. Activity Based Management

ความหมาย การบริหารโดยข่าวสารต้นทุนกิจกรรมแบบจำลอง ABM ได้ถูกประยุกต์ใช้ในองค์กร อย่างกว้างขวาง การสร้างแบบจำลองจะเริ่มจากการใช้สารสนเทศการไหลของต้นทุน ที่ศึกษาข้อมูลจากบัญชีแยกประเภท เพื่อจัดสรรค่าใช้จ่ายไปยังกิจกรรมอย่างแม่นยำ และเพื่อให้ทรัพยากรที่ถูกจัดสรรในองค์กรมีความสอดคล้องกับโครงสร้างระบบ บัญชีแยกประเภทขององค์กร

หลักการ การบริหารต้นทุน แบบเก่ากำลังเป็นเรื่องที่ล้าสมัยในปัจจุบัน นักบัญชี ในกิจการที่เกี่ยวกับการผลิตที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่เห็นถึงความจำเป็น ที่จะต้องนำแนวทางใน การบริหารต้นทุน ยุคใหม่มาใช้ หลายธุรกิจมีการนำ ต้นทุนกิจกรรม (ABC or Activity Based Costing) มาใช้ใน การบริหารต้นทุน เพื่อช่วยในการควบคุมต้นทุนและทราบถึงต้นทุนที่แท้จริง ซึ่งเป็นกลยุทธ์ใหม่ในการลดต้นทุนให้ต่ำสุดและสร้างผลกำไรสูงสุด ดังนั้น The Index Consulting Group จึงเห็นควร จัดสัมมนา ฝึกอบรม เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคการคิดและการบริหารต้นทุนแบบ ต้นทุนกิจกรรม (ABC) รวมทั้งประเด็นที่ นักบัญชี ควรทำความเข้าใจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกิจการ อันจะส่งผลให้กิจการก้าวสู่ความเป็นเลิศทางธุรกิจ

ประโยชน์

1.การวิเคราะห์คุณลักษณะ (Attribute Analysis)

2.การวิเคราะห์กลยุทธ์ (Strategic Analysis)

3.การเทียบเคียง (Benchmarking)

4.การวิเคราะห์การปฏิบัติการ (Operation Analysis)

5.การวิเคราะห์ความสามารถทำกำไร (Profitability Analysis)

6.การปรับปรุงกระบวนการ (Process Improvement)

 

6. Reengineering

ความหมาย การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานใหม่หมดทั้งสำนักงาน อาจจะเริ่มตั้งแต่ เปลี่ยนโครงสร้าง กำหนดสายงานใหม่ ไปจนถึง กำหนดเวลาทำงาน ฯ ทุกอย่างเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น

ความสำคัญ

1. การแบ่งงานกันทำ (Division of Labor)

2. ช่วงของการบังคับบัญชา (Span of Control)

3. ด้านอำนาจและความรับผิดชอบ (Authority and Responsibility) 4. ความเป็นเอกภาพของการบังคับบัญชา (Unity of Command)

5. แนวความคิดเดิมนั้น สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มคนที่มีทักษะ ความรู้ ความสามารถในด้านเดียวกันไว้เป็นแผนก (Departmentalization) 6. การยกเครื่อง คือ การรื้อระบบเดิมออกไป แล้วคิดระบบใหม่เข้ามาแทน โดยยังไม่ต้องคำนึงแนวความคิดด้านการจัดการสมัยก่อนที่ทำๆ กันมา แต่หลังจากคิดระบบใหม่ได้แล้ว อาจจะมีบางแนวทางที่อาจซ้ำกับระบบเดิมที่เคยทำอยู่ก็ไม่เป็นไร ซึ่งทั้งหมดนี้จะใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุง

 

7. Benchmarking

ความหมาย เป็นกระบวนการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงขององค์กร ในอันที่จะพิจารณาว่า มีสภาพใดบ้างที่จะสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิม และทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับองค์กรอื่น แล้วนำความรู้ที่ได้มาจัดการวางแผนการปรับปรุงองค์กรของเรา ให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลดีขึ้น

หลักการ การทำ Benchmarking เริ่มเกิดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี 2523 โดยเป็นกระบวนการบริหารธุรกิจ ที่มีกลยุทธ์เฉพาะตัว Benchmarking เป็นกระบวนการที่ได้จากการเรียนรู้จากผู้อื่น โดยการเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่นๆ ในส่วนต่างๆ ได้ โดยเป็นกระบวนการต่อเนื่อง ที่ใช้ระยะเวลาดำเนินการระยะยาว อย่างมีระเบียบแบบแผน โดยมีตัววัดความก้าวหน้า ในแต่ละระยะเวลาได้ Benchmarking process เป็นกลวิธีที่เป็นประโยชน์ ในการปรับปรุงองค์กรทุกประเภท ทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชน

ประโยชน์

1. การกำหนดช่องว่างระหว่างผลการปฏิบัติงานขององค์การกับองค์การอื่น

2. การรวบรวมวิธีการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศเข้าสู่องค์การ

3. การนำไปสู่วิธีการปฏิบัติงานในรูปแบบใหม่

4. ส่งเสริมการปฏิบัติงานภายในองค์การให้ดีขึ้น

5. นำไปสู่การวางแผนเชิงกลยุทธ์ร่วมกัน

6. องค์การสามารถสร้างจุดแข็งให้ดีขึ้น

7. การสร้างความร่วมมือทั้งในระดับบุคคลและภาระหน้าที่ของพนักงานภายในองค์การ

น.ส.พรพรรณ แก้วศิริ เลขที่13 กจ.2/1

สรุปเครื่องมือ

 

BSC และ KPI

                Balanced  Scorecard (BSC) คือ การแปลวิสัยทัศน์ และภารกิจขององค์กรเพื่อนำไปสูความสำเร็จเป็นไปอย่างมีระบบตามที่องค์กรกำหนดไว้

ขั้นตอน

1. การวิเคราะห์ (SWOT)

2. การพัฒนาวิสัยทัศน์

3. การกำหนดมุมมองและวัตถุประสงค์

4. การกำหนดกลยุทธ์

5. การวัดทำแผนเพื่อทดสอบด้านต่าง ๆ

6. การกำหนัดตัวชี้วัด

7. การจัดทำแผนปฏิบัติการ

ประโยชน์

- เพื่อมองเห็นองค์กรชัดเจน

- ใช้เป็นกรอบในการกำหนดแนวทางขององค์กร

- เป็นการวางแผนทุกงานเข้าด้วยกัน

                Key Performance Inlicators (KPI) คือ เครื่องมือที่ใช้วัดผลการดำเนินงาน วัดประสิทธิภาพในองค์กรหรือประเมินผลการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ

Six Sigma

     คือแนวคิดให้พนักงานสร้างผลงาน เน้นให้พนักงานสามารถคิดได้ด้วยตนเอง สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเด็ดขาด

ขั้นตอน

1. การกำหนดปัญหา

2. การวัด

3. การวิเคราะห์

ประโยชน์ของ Six Sigma

1. แก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. สามารถพัฒนาพนักงานให้มีศักยภาพดีขึ้น

3.ช่วยลดการสูญเสียโอกาส

 

Re-englneering

                คือการปรับระบบให้เข้ากับโลกโลกาภวัฒน์ รวมถึงพิจารณาจุดเด่น ของระบบ เพื่อนำมาพัฒนาคุณภาพของผลผลิต

ขั้นตอน

1. วัดโครงสร้าง

2. มีการกำหนดหน่วยงาน

3. หน่วยงานแต่ละหน่วยงานมีความพร้อม

4. เสมือนกระจุกถามอะไรรู้หมด

5. มีกระบวนการออนไลน์

ขั้นตอนที่ 2

1. การคิดค้นทบทวนใหม่

2. การออกแบบประยุกต์

3. การเสริมสร้างเทคโนโลยี

4. การฝึกอบรมบุคลากร

การนำไปใช้

- นำไปใช้การศึกษากลุ่มลูกค้า

- การเปิดคำร้องทุกข์จากลูกค้า

- รับฟังข้อแสดงความคิดเห็นของลูกค้า

 

.  Activity Based Management(ABM)

                คือ เป็นเครื่องมือที่ใช้ปฏิบัติงานบนสารสนเทศ กิจกรรม และประเมินค่าในกระบวนการทางธุรกิจ วิเคราะห์คุณลักษณะ กลยุทธ์ และความสามารถในการทำกำไร

ประโยชน์

- ช่วยให้เข้าใจในการทำงานมากขึ้น

- ช่วยลดค่าใช้จ่าย

- เพื่อให้ลูกค้ามีความพึงพอใจมากขึ้น

- ช่วยลดต้นทุน

 

Knowledge Management  (KM)

                คือ ระบบบริหารจัดการความรู้ให้เป็นระเบียบครบถ้วน ง่ายต่อการเรียกใช้ จัดเก็บตามความต้องการ โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดการ

องค์ประกอบของKM

1. คน หมายถึง พนักงาน ลูกจ้าง

2. สถานที่ หมายถึง  ที่ที่ทุกคนในองค์กรสามารถระดมความคิดร่วมกัน

3. ข้อมูล หมายถึง ทุกสิ่งที่นำเก็บและให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลเหล่านั่น

ขั้นตอนการพัฒนา KM

1. การจัดหาหรือการสร้างความรู้

2. การจัดเก็บ

3. การเผยแพร่ความรู้

4. การใช้โปรแกรมการจัดการความรู้

ประโยชน์ของ KM

1. เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร

2. ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจ

3. ทำให้ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาใกล้ชิดกันมากขึ้น

4. เมื่อปฏิบัติงานผิดพลาดสามารถแก้ไขได้ทัน

5. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความอยู่รอด

6. แปรรูปความรู้ให้เป็นทุน

 

Benchmarking

                คือ การเปรียบเทียบโดยการวัดและประเมินผล ในการวัดเปรียบเทียบของสินค้า หรือบริการ ด้วยการเลือกสิ่งที่ดีที่สุด แล้วนำมาพัฒนาให้สินค้าหรือบริการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ขั้นตอน

1. การกำหนดหัวข้อที่จะทำ วางแผนและพิจารณากำหนดหัวข้อโดยเปรียบเทียบกระบวนการในองค์การภายใน

2. การสร้างทีมงาน ควรต้องเลือกมาจากหลายๆ หน่วยงาน

3. ระบุผู้ร่วมทำ

4. การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล

5. การปฏิบัติการ

ประโยชน์

- ทำให้ธุรกิจรู้จักตนเองจากการวัดผลการดำเนินงาน

- เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบ

- เป็นการสั่งสมความรู้ ทักษา และประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์

- ใช้เทคนิคการปฏิบัติการเพื่อสร้างคุณภาพ และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและบริการเหล่านั่น

 

 

 

 

 

 

 

น.ส.จริสา วงศ์คำ เลขที่ 3 กจ.2/1

สรุปเครื่องมือทางการบริหารจัดการ

Balanced Scorecard

            เป็นเครื่องมือทางด้านการจัดการที่ช่วยในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ (Strategic  Implementation) โดยอาศัยการวัดหรือประเมิน (Measurement)  ที่จะช่วยทำให้องค์กรเกิดความสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  และมุ่งเน้นในสิ่งที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร

                กระบวนการจัดทำ  Balanced Scorecard ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

                1. การวิเคราะห์ทางกลยุทธ์  ได้แก่   การทำ SWOT  Analysis     เพื่อให้ได้ทิศทางและกลยุทธ์ขององค์กรที่ชัดเจน

               2. กำหนดวิสัยทัศน์ และ กลยุทธ์ขององค์กร

                3. วิเคราะห์และกำหนดว่า Balanced Scorecard ขององค์กรควรจะมีทั้งหมดกี่มุมมอง

 และแต่ละมุมมองควรจะมีความสัมพันธ์กันอย่างไร 

               4. จัดทำแผนที่ทางกลยุทธ์

                5. กลุ่มผู้บริหารระดับสูงต้องมีการประชุมร่วมกันเพื่อยืนยันและเห็นชอบในแผนที่ทางกลยุทธ์ที่สร้างขึ้น

                6. ภายใต้วัตถุประสงค์แต่ละประการ ต้องกำหนดรายละเอียดของวัตถุประสงค์ในด้านต่าง ๆ

               7. เมื่อจัดทำแผนงานหรือโครงการเสร็จแล้ว สามารถจะแปลงตัวชี้วัดและเป้าหมายระดับองค์กรให้เป็นของผู้บริหารรองลงไป

Six Sigma

                เป็นกระบวนการทางธุรกิจที่ให้องค์กรต่างๆ ปรับปรุงขีดความสามารถอย่างมหาศาล โดยการออกแบบและตรวจสอบกิจกรรมทางธุรกิจประจำวัน เพื่อลดสิ่งสูญเปล่าและลดการใช้ทรัพยากร แต่ขณะเดียวกันก็เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า

                ประโยชน์ในการนำ Six Sigma ไปใช้ในองค์กร      

              1. สามารถแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ และเสริมสร้างกลยุทธ์ใหม่ให้ธุรกิจ      

              2. บริหารจัดการและพัฒนาองค์กรโดยใช้ข้อมูลจริง และใช้หลักการทางสถิติซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล      

              3. สร้างทีมงานในองค์กรให้แข็งแกร่ง             

                4. เพิ่มผลประกอบการด้านการเงินจากโครงการประหยัดต้นทุน เพิ่มผลกำไรจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์และขยายการดำเนินงานเพื่อเพิ่มผลกำไร             

                5. พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพสูงขึ้น และปรับองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

 

                ขั้นตอนการนำเครื่องมือมาใช้

                1.  กำหนดปัญหา (Define)

                2.  การวัด (Measure)

                3.  การวิเคราะห์ (Analyze)

                4.  การปรับปรุง (Improve)

                5.  การควบคุม (Control)

 

Knowledge Management

            คือ  ระบบบริหารจัดการความรู้ให้เป็นระเบียบ ครบถ้วน ง่ายต่อการเรียกใช้ จัดเก็บตามความต้องการ  เก็บรักษาความรู้ให้ควบคู่กับองค์กรตลอดไป  โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดการ

                เหตุผลการนำเอา KM มาใช้

-          การเปลี่ยนแปลงเทคนิคในการบริหารงาน

-          การเปลี่ยนแปลงด้านราคา

-          ลดความผิดพลาดในการแข่งขันด้านการตลาด

-          สร้างวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด

-          การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ

องค์ประกอบหลักในการพัฒนา

-          ผู้นำ

-          วัฒนธรรม

-          การเข้าถึงแหล่งความรู้

-          เทคโนโลยี

-          วัฒนธรรมการเรียนรู้

-          บรรยากาศอิสระ

                ขั้นตอนการพัฒนา

-          การจัดหาหรือการสร้างความรู้

-          การจัดเก็บ

-          การเผยแพร่ความรู้

-          การใช้โปรแกรมการจัดการความรู้

ประโยชน์ของ KM

-          เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร

-          ป้องกันการสูญหาย

-          เป็นการลงทุนในต้นทุนมนุษย์

-          ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจ

-          ผู้บังคับบัญชาทำงานเชื่อมโยงกับผู้ใต้บังคับบัญชาให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น

-          เมื่อพบข้อบกพร่องจากการปฏิบัติงานสามารถแก้ไขได้ทันที

-          แปรรูปความรู้ให้เป็นทุน

-          เพื่อการสร้างสรรค์

-          ความสามารถในการปรับตัวและความยืดหยุ่น

 

Activity Based Management

                เครื่องมือที่ใช้ในการตัดสินใจในการปฏิบัติการ  บนสารสนเทศ  กิจกรรมและประเมินมูลค่า  เพิ่มของเนื้องานในกระบวนการธุรกิจ

            แนวทางการใช้ประโยชน์ ABM

-        การวิเคราะห์คุณลักษณะ

-          การวิเคราะห์กลยุทธ์

-          การเทียบเคียง

-          การวิเคราะห์การปฏิบัติการ

-          การวิเคราะห์ความสามารถทำกำไร

-          การปรับปรุงกระบวนการ

 

Re-engineering

            คือ  การพิจารณาหลักการพื้นฐานของกระบวนการทางธุรกิจและการออกแบบทางธุรกิจใหม่แล้วนำกระบวนการใหม่ไปปฏิบัติให้เกิดผล เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ โดยมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การลดต้นทุนการดำเนินงานของธุรกิจนั้น

                หัวใจสำคัญของการ Re-engineering อยู่ที่กระบวนการ
ลักษณะสำคัญหรือจุดเน้นของการรื้อปรับระบบ หรือ การทำรีเอ็นจิเนียริ่งอยู่ที่ การมุ่งปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินงาน การทำความเข้าใจและปรับเปลี่ยนที่แนวคิดพื้นฐาน สมมุติฐาน หรือหลักเกณฑ์เดิม การเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน และการมุ่งสู่ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่หรือผลลัพธ์อันใหญ่หลวง
                องค์ประกอบ ของ การรื้อปรับระบบ มี 6 ข้อ ดังนี้
                -   จัดโครงสร้าง ให้เป็น At come เหมาะแก่ประสิทธิภาพ และ Output เหมาะแก่ประสิทธิผล
                -   มีการกำหนดหน่วยงาน
                -   หน่วยงานแต่ละหน่วยงาน ต้องมีการเก็บข้อมูล
                -   เสมือนกระจุกตัว ถามไรรู้หมด
                -   มีการเชื่อมโยงกระบวนการต่างๆไปพร้อมกัน
                -   มีลักษณะ Online

 

Benchmarking

                ใช้วัดเพื่อเปรียบเทียบความสามารถของตนเอง  วิธีการในการวัดและเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ บริการ  และวิธีการปฏิบัติกับองค์การที่สามารถทำได้ดีกว่า  เพื่อพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง

                ขั้นตอนการจัดทำ

-          การกำหนดหัวข้อ

-          การสร้างทีมงาน

-          ระบุผู้ร่วมทำ

-          การเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล

-          การปฏิบัติการ

 

 

 

น.ส.วราภรณ์ แก้วศักดิ์ กจ.2/1 เลขที่ 32

สรุปเครื่องมือทางการบริหารจัดการ

 

Balanced Scorecard (BSC)

 

องค์กรในประเทศไทยนำเอา Balanced Scorecard (BSC) มาใช้ด้วยวัตถุประสงค์หลัก ๆ สองประการ คือ

. เป็นเครื่องมือในการประเมินผลระดับต่าง ๆ

. เป็นเครื่องมือที่ช่วยเชื่อมโยงระหว่างแผนกลยุทธ์กับแผนปฏิบัติการ

 

การนำ Balanced Scorecard มาใช้ในทางปฏิบัติ

Kaplan และ Norton ได้ให้คำนิยามของ Balanced Scorecard ว่า เป็นเครื่องมือทางการจัดการที่ช่วยในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ โดยอาศัยการประเมินและการวัด และจะช่วยให้องค์กรเกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และมุ่งเน้นสิ่งที่สำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร จากคำนิยามนี้องค์กรบางแห่งสามารถที่จะใช้ Balanced Scorecard เป็นเพียงเครื่องมือในการวัดและประเมินผลเท่านั้น แต่บางองค์กรก็สามารถนำ BSC ไปประยุกต์ใช้ในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติได้ Kaplan และ Norton ได้มองประเด็นหลักที่จะนำมาช่วยในการวิเคราะห์ BSC  ซึ่งจะประกอบด้วย 4 หัวข้อหลัก ๆ คือ

1. วัตถุประสงค์ (Objective) สิ่งที่องค์กรมุ่งหวังหรือต้องการเพื่อบรรลุมุมมองแต่ละด้าน

2. ตัวชี้วัด (Measures หรือ Key Performance Indicators : KPIs) จะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดว่าองค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ในมุมมองแต่ละด้านหรือไม่ 

3. เป้าหมาย (Target) - ตัวเลขเป้าหมายที่องค์กรใช้ชี้วัดในมุมมองแต่ละด้าน

4. แผนงานที่จะจัดทำ (Initiatives) แผนงาน หรือกิจกรรมเบื้องต้นของมุมมองแต่ละด้าน ซึ่งยังไม่ใช่เป็นแผนปฏิบัติการที่มีรายละเอียดในการปฏิบัติจริง ๆ

 

**********************************************

 

key Performance indicators (KPI)

 

KPI คือ เครื่องมือที่ใช้วัดผลการดำเนินงานหรือประเมินผลการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ขององค์กรซึ่งสามารถแสดงผลขอการวัดหรือการประเมิน ในรูปข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อสะท้อนประสิทธิภาพประสิทธิผลในการปฏิบัติงานขององค์กรหรือหน่วยงานภายในองค์กร

 

 

กลยุทธ์จะมี 3 ขั้นตอน ได้แก่

ขั้นตอนที่ 1 ขั้นพิจารณาสภาพการดำเนินงานขององค์การในปัจจุบัน เพื่อให้ทราบว่าตอนนี้การดำเนินงานขององค์การของเราเป็นอย่างไร” (Where are we now?)

ขั้นตอนที่ 2 ขั้นพิจารณาอนาคตขององค์การ เพื่อให้ทราบว่าในอนาคตเราต้องการไปที่ใด” (Where do we want be?) เครื่องมือสำเร็จรูปที่ใช้วิเคราะห์ได้แก่ SWOT

ขั้นตอนที่ 3 ขั้นพิจารณาวิธีปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายนั้น เพื่อให้ทราบว่าทำอย่างไรจึงจะไปถึงจุดนั้น” (How will we get there?)

 

การจัดทำ BSC และ KPI สำหรับผู้เชี่ยวชาญจะสามารถยักย้ายถ่ายเทวิธีการต่าง ๆ ได้ ตลอดเวลา ข้อสำคัญที่ควรคำนึงคือ หากทีมงานที่ร่วมทำ Workshop ระดมสมองของกลุ่มต่าง ๆ ไม่ได้ตกลงกันไว้ล่วงหน้าให้ดี หากทำกันคนละวิธีจะทำให้เกิดความสับสนขึ้นในหมู่ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ และอาจนำไปสู่ความไม่แน่ใจว่าวิธีไหนถูกต้อง

 

**************************************************

 

Re-engineering

 

Re-engineering คือ การออกแบบกระบวนการทางธุรกิจใหม่แล้วนำกระบวนการใหม่ไปปฏิบัติให้เกิดผล เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ โดยมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การลดต้นทุนการดำเนินงานของธุรกิจนั้น

 

หัวใจสำคัญของการ Re-engineering อยู่ที่กระบวนการ
ลักษณะสำคัญหรือจุดเน้นของการรื้อปรับระบบ หรือ การทำรีเอ็นจิเนียริ่งอยู่ที่ การมุ่งปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินงาน การทำความเข้าใจและปรับเปลี่ยนที่แนวคิดพื้นฐาน สมมุติฐาน หรือหลักเกณฑ์เดิม การเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน และการมุ่งสู่ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่หรือผลลัพธ์อันใหญ่หลวง

 

***********************************************

 

 

 

Six Sigma

 

                ซิกซิกม่าคืออะไร  เป็นเครื่องมือบริหารเหมือน  TQA , TQM  ที่มุ่งเน้นความพึงพอใจลูกค้า  เพื่อให้เพิ่มการซื้อ  เทคนิคจะใช้เชิงวิทยาศาสตร์มีการคำนวนวัดค่าชัดเจน   ทุกขั้นตอนต้องเป็นตัวเลขว่าเท่าไร  มั่นใจเท่าไร  ทดสอบสมมติฐาน  สัมผัสได้

 

Six sigma จึงถูกนำมาใช้เป็นชื่อเรียกของวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพในขบวนการใด ๆ โดยมุ่งเน้นการลดความไม่แน่นอน หรือ Variation และ การปรับปรุงขีดความสามารถในการทำงานให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด เพื่อนำมาซึ่งความพอใจของลูกค้า และผลที่ได้รับสามารถวัดเป็นจำนวนเงินได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มรายได้ หรือลดรายจ่ายก็ตาม

 

***********************************************

 

Knowledge Management (KM)

 

การบริหารจัดการความรู้ คือ ระบบบริหารจัดการความรู้ให้เป็นระเบียบครบถ้วน ง่ายต่อการเรียกใช้ จัดเก็บตามความต้องการ เก็บรักษาความรู้ให้ควบคู่กับองค์การตลอดไปโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดการ

 

เหตุผลของการนำ KM มาใช้

-การเปลี่ยนแปลงเทคนิคในการบริหารงาน

-การเปลี่ยนแปลงด้านราคา

-ลดความผิดพลาดในการแข่งขันด้านการตลาด

-สร้างวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด

-การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ

 

 

*****************************************************

 

Activity Based Management

 

ABM คือ "การบริหารโดยข่าวสารต้นทุนกิจกรรม" (Activity – Based Management)
แบบจำลอง ABM (Activity-Based Management) ได้ถูกประยุกต์ใช้ในองค์กร อย่างกว้างขวาง การสร้างแบบจำลองจะเริ่มจากการใช้สารสนเทศการไหลของต้นทุน ที่ศึกษาข้อมูลจากบัญชีแยกประเภท เพื่อจัดสรรค่าใช้จ่ายไปยังกิจกรรมอย่างแม่นยำ และเพื่อให้ทรัพยากรที่ถูกจัดสรรในองค์กรมีความสอดคล้องกับโครงสร้างระบบ บัญชีแยกประเภทขององค์กร

 

แนวทางการใช้ประโยชน์ ABM

- การวิเคราะห์คุณลักษณะ (Attribute Analysis)

- การวิเคราะห์กลยุทธ์ (Strategic Analysis) 

- การเทียบเคียง (Benchmarking) 

 - การวิเคราะห์การปฏิบัติการ (Operation Analysis)

- การวิเคราะห์ความสามารถทำกำไร (Profitability Analysis)

- การปรับปรุงกระบวนการ (Process Improvement) 

 

**********************************************

 

Benchmarking

 

Benchmarking คือวิธีการในการวัดและเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ บริการ และวิธีการปฏิบัติกับองค์กรที่สามารถทำได้ดีกว่า เพื่อนำผลการเปรียบเทียบมาใช้ในการปรับปรุงองค์กรของตนเพื่อมุ่งความเป็นเลิศทางธุรกิจ

 

การทำ Benchmarking ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่

            1.  การเปรียบเทียบวัด (Benchmark) ซึ่งในส่วนนี้ต้องมีการกำหนดตัววัด หรือที่เรียกว่า Key Performance Indicator (KPIs) ว่าจะเปรียบเทียบกับใคร ในเรื่องใด

            2.  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการปฏิบัติที่ดี/เป็นเลิศ (Best Practices)

 

*********************************************

 

น.ส. กาญจนา เจตะวัน เลขที่ 1 กจ. 2/1

สรุปเครื่องมือทางการบริหารจัดการ

*** Balance Scorecard & KPIs ***

เป็นเครื่องมือทางการจัดการที่ช่วยในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ โดยอาศัยการวัดหรือประเมินที่ช่วยให้องค์การเกิดความสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และมุ่งเน้นในสิ่งที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร

แนวคิดพื้นฐาน 4 มุมมอง

- มุมมองด้านการเงิน (Financial Perspective)

- มุมมองด้านลูกค้า (Customer Perspective)

- การบริหารจัดการภายใน (Internal Business Perspective)

- การเรียนรู้และการพัฒนา (Innovation / Learning Perspective)

ขั้นตอนการนำเครื่องมือไปใช้ในองค์การ

1. ดำเนินการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน ( SWOT)

2. กำหนดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์

3. กำหนดมุมมองของ Balance Scorecard

4. จัดทำ Strategic Map

5. กลุ่มผู้บริหารพิจารณารายละเอียดต่างๆร่วมกัน

6. กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ตัวชี้วัด การริเริ่ม

7. ถ่ายทอดไปสู่การปฏิบัติ

ประโยชน์ของการนำเครื่องมือไปใช้ใน องค์การ

1. ทำให้รู้สถานะขององค์กรว่าอยู่ตรงจุดไหน

2. ช่วยในการพัฒนาองค์กร

3. ผู้ดำเนินงานเกิดความมุ่งมั่นในการทำงานและพัฒนาองค์การ

4. ทำให้ผู้บริหารมีความชัดเจนเรื่องกลยุทธ์

5. ทำให้เห็นความสอดคล้องของกลยุทธ์ทั้งองค์กร

6. เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ และคุณค่าที่สำคัญขององค์การ

*** Six Sigma ***

Six Sigma เป็นกระบวนการทางธุรกิจที่ให้องค์กรต่างๆ ปรับปรุงขีดความสามารถอย่างมหาศาล โดยการออกแบบและตรวจสอบกิจกรรมทางธุรกิจประจำวัน เพื่อลดสิ่งสูญเปล่าและลดการใช้ทรัพยากร แต่ขณะเดียวกันก็เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า

ประโยชน์ในการนำ Six Sigma มาใช้ในองค์การ

1. สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างกลยุทธ์ใหม่ให้ธุรกิจ

2. สามารถลดความสูญเสียโอกาสอย่างมีระบบและรวดเร็วโดยการนำกระบวนการทางสถิติมาใช้

3. พัฒนาบุคลากรในองค์การให้มีศักยภาพสูงขึ้นตอบสนองต่อกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็ว

แนวทางหลักการของ Six Sigma ประกอบด้วย 5 ชั้นตอน ได้แก่

1. กำหนดเป้าหมาย (Define Target)

2. การวัดความสามรถของกระบวนการ (Measure)

3. การวิเคราะห์สาเหตุปัญหา (Analyze)

4. การปรับปรุงโดยเน้นที่ต้นเหตุของปัญหา (Improve)

5. การควบคุมกระบวนการที่มีผลกระทบ (Control)

*** Knowledge Management: KM ***

Knowledge Management เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ

1. การบ่งชี้ความรู้

2. การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่น การสร้างความรู้ใหม่

3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ

4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็น

5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก

6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้

7. การทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน

เหมืองความรู้ของ KM ประกอบด้วย

1. กลั่นกรองข้อมูล 4. แปรรูปข้อมูล

2. รวบรวมข้อมูล 5. data mining

3. คัดลอกข้อมูล 6. ประเมินรูปแบบ

7. นำเสนอความรู้ต่อผู้ใช้

ประโยชน์ของ KM

1. เพิ่มประสิทธิภาพขององค์การ

2. ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา

3. เป็นการนลงทุนในต้นทุนมนุษย์

4. ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจ

การนำ KM มาใช้ในบริษัท

ในเรื่อง KM บริษัทปูนซีเมนต์ไทยให้ความสำคัญใน 3 องค์ประกอบใหญ่ คือ (3 P) ได้แก่ People , Process , Platform

*** Activity-Based Management ***

Activity-Based Management :ABM ที่เป็นแนวทางมุ่งการจัดการต่อกิจกรรม เพื่อการปรับปรุงมูลค่าที่ส่งมอบสู่ลูกค้าและสร้างผลกำไรให้กับผู้ส่งมอบ รวมถึงการวิเคราะห์ตัวผลักดันต้นทุน การวิเคราะห์กิจกรรม และการวัดผลการปฏิบัติการ ทำให้สามารถสนับสนุนการปรับปรุงการใช้ทรัพยากร เพื่อเพิ่มมูลค่าที่ถูกสร้างสำหรับลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่ง ABM จะถูกใช้สำหรับการติดตามต้นทุนทางอ้อมที่เกิดจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการ

ประโยชน์ของ ABM

1. ช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจถึงการปฏิบัติงานตามกิจกรรมต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น

2. สามารถใช้ต้นทุนในการวางแผนพัฒนา กำหนดกลยุทธ์ของกิจการ และพัฒนากิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

3. มีประโยชน์ต่อระบบงบประมาณของหน่วยงาน

*** Reengineering ***

Reengineering หรือ “การรื้อปรับระบบ” คือ การพิจารณาหลักการพื้นฐานของกระบวนการทางธุรกิจ และการออกแบบขึ้นใหม่อย่างถอนรากถอนโคน เพื่อมุ่งบรรลุผลลัพธ์ของการปรับปรุงอันยิ่งใหญ่ โดยใช้มาตรวัดผลการปฏิบัติงานที่ทันสมัย และที่สำคัญได้แก่ ต้นทุน คุณภาพ การบริการ และความรวดเร็ว

ขั้นตอนการรื้อปรับระบบ

1. การคิดค้นทบทวนใหม่ (Rethink)

2. การออกแบบกระบวนการทำงานใหม่ (Redesign)

3. การเสริมเทคโนโลยี (Retool)

4. การฝึกอบรมบุคลากร (Retrain)

หัวใจสำคัญของการ Re-engineering อยู่ที่กระบวนการ

ลักษณะสำคัญของ การทำรีเอ็นจิเนียริ่งอยู่ที่ การมุ่งปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินงาน การทำความเข้าใจและปรับเปลี่ยนที่แนวคิดพื้นฐาน สมมุติฐาน หรือหลักเกณฑ์เดิม การเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน และการมุ่งสู่ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่

*** Benchmarking ***

Benchmarking คือ วิธีการในการวัดและเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ บริการ และวิธีการปฏิบัติกับองค์กรที่สามารถทำได้ดีกว่า เพื่อนำผลการเปรียบเทียบมาใช้ในการปรับปรุงองค์กรของตนเพื่อมุ่งความเป็นเลิศทางธุรกิจ

ขั้นตอนในการจัดทำ Benchmarking

1.การกำหนดหัวข้อที่จะทำ

2.การสร้างทีมงาน

3.ระบุผู้ร่วมทำ

4.การเก็บรวบรวม และวิเคราะห์

5.การปฏิบัติการ

ประเภทของการทำ Benchmarking แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ

- แบ่งตามวัตถุประสงค์หรือสิ่งที่จะเอาไปทำ Benchmarking

- แบ่งตามผู้ที่เราทำ Benchmarking

ประโยชน์ของการทำ Benchmarking

1. ทำให้ธุรกิจรู้จักตนเองจากการวัดผลการดำเนินงาน เปรียบเทียบกับองค์กรอื่นที่มีการดำเนินงานที่ดี

2.เป็นแนวทางในการการ Benchmark ทำให้ธุรกิจรู้จักตนเองจากการวัดผลการดำเนินงาน เปรียบเทียบกับองค์กรอื่นที่มีการดำเนินงานที่ดี

3.การ Benchmark เป็นแนวทางในการพฒนาตนเองอย่างเป็นระบบต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมที่สามารถวัดและตรวจสอบได้ มิใช่แค่เพียงนึกหรือคิดเอาเองเท่านั้น

4. เป็นการสั่งสมความรู้ ทักษะ และ ประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ ในการแก้ปัญหาขององค์กรในอนาคต

5.เป็นการสั่งสมความรู้ ทักษะ และ ประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ ในการแก้ปัญหาขององค์กรในอนาคต

6.เป็นเครื่องมือในระดับกลยุทธ์ที่จะพัฒนาศักยภาพ แสดงความสามารถในการแข่งขันขององค์กร

น.ส.วาสนา วังพฤกษ์ กจ.2/1 เลขที่ 19

สรุปเครื่องมือทางการจัดการ

Balanced Scorecard และ Key Performance Indicators

Balanced Scorecard คือระบบการบริหารงานและประเมินผลทั่วทั้งองค์กร เป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ (vision) และแผนกลยุทธ์ (strategic plan) แล้วแปลผลลงไปสู่ทุกจุดขององค์กรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของแต่ละฝ่ายงานและแต่ละคน เป็นการจัดหาแนวทางแก้ไขและปรับปรุงการดำเนินงาน โดยพิจารณาจากผลที่เกิดขึ้นของกระบวนการทำงานภายในองค์กร

Key Performance Indicators คือเครื่องมือที่ใช้วัดผลการดำเนินงานหรือประเมินผลการดำเนินงานในด้านต่างๆ สามารถแสดงผลในรูปข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อสะท้อนประสิทธิภาพในการทำงาน KPI ที่ดีต้อง สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ แสดงถึงสิ่งที่มีความสำคัญกับองค์กร ดัชนีชี้วัดสามารถวัดผลได้และบุคคลทั่วไปเข้าใจ

ประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับจากการใช้BSC

- ช่วยให้มองเห็นวิสัยทัศน์ขององค์กรได้ชัดเจน

- ได้รับการความเห็นชอบและยอมรับจากผู้บริหารทุกระดับ

- ใช้เป็นกรอบในการกำหนดแนวทางการทำงานทั่วทั้งองค์กร

- ช่วยให้มีการจัดแบ่งงบประมาณและทรัพยากรต่าง ๆ สำหรับแต่ละกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม

- เป็นการรวมแผนกลยุทธ์ของทุกหน่วยงานเข้ามาไว้ด้วยกัน ด้วยแผนธุรกิจขององค์กร ทำให้แผนกลยุทธ์ทั้งหมดมีความสอดคล้องกัน

- สามารถวัดผลได้ทั้งลักษณะเป็นทีมและตัวบุคคล

________________________________________________________________________________________

Six sigma

เป็นการพัฒนาที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศ ซึ่งได้มีการกำหนดแนวทางในด้านต่าง ๆ เพื่อให้การปรับปรุงองค์การเป็นไปอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของพนักงานที่มีความสามารถ มีความตั้งใจที่จะปรับปรุงเพื่อให้ความผิดพลาดในการผลิตและการบริการมีน้อยที่สุดแนวความคิดการบริหารปรับปรุงองค์การแบบ six sigma มีความแตกต่างจากแนวความคิดในการบริหารแบบเดิม ที่เน้นการปรับปรุงการทำงานโดยเริ่มจากผู้บริหาร แล้วจึงกระจายให้หน่วยงานต่าง ๆ ในองค์การปรับปรุง

การบรรลุกลยุทธ์ที่สำคัญของ six sigma

-Measure ในขั้นนี้เป็นการขั้นตอนการวัด วัดว่าองค์การอยู่ที่ใด

-Analyze เป็นการวิเคราะห์ว่าปัญหาต่าง ๆ เริ่มมาจากที่ใด

-Improve การแก้ไขกระบวนการ ในขั้นนี้จะระบุลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ต้องปรับปรุง

-Control การควบคุม ในขั้นนี้ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อช่วยกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อเป็นตัวควบคุมตัวแปรที่สำคัญ

________________________________________________________________________________________

Knowledge Manageme

Knowledge Manageme ระบบบริหารจัดการความรู้ให้เป็นระเบียบ ครบถ้วน ง่ายต่อ การเรียกใช้ จัดเก็บตามความต้องการ ซึ่ง (KM)ประกอบจะไปด้วย คน สถานที่ ข้อมูล

ขั้นตอนการพัฒนา

1. การจัดหาหรือการสร้างความรู้ 2. การจัดเก็บ

3. การเผยแพร่ความรู้ 4. การใช้โปรแกรมการจัดการความรู้

ประโยชน์ของ KM

1.เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร

2.ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา

3.เป็นการลงทุนในต้นทุนมนุษย์

4.ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจและวางแผนดำเนินงานให้รวดเร็ว

5.ผู้บังคับบัญชาทำงานเชื่อมโยงกับผู้ใต้บังคับบัญชาให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น

6.เมื่อพบข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน ก็สามารถหาวิธีแก้ไขได้ทัน

7.เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความอยู่รอด

8.แปรรูปความรู้ให้เป็นทุน

9.เพื่อการสร้างสรรค์ และบรรลุเป้าหมายของจินตนาการที่ยิ่งใหญ่

10.ความสามารถในการปรับตัวและความยืดหยุ่น

Activity Based Management

Activity Based Management เครื่องมือที่ใช้ในการตัดสินใจในการปฏิบัติการ บนสารสนเทศกิจกรรมและประเมินมูลค่าเพิ่มของเนื้องานในกระบวนการธุรกิจ ABM ใช้วิเคราะห์คุณลักษณะ วิเคราะห์กลยุทธ์ เทียบเคียงวิเคราะห์การปฏิบัติการ วิเคราะห์ความสามารถทำกำไร วิเคราะห์กิจกรรม และใช้ปรับปรุงกระบวนการ

วัตถุประสงค์หลักของ Activity-Based Management

1.การขจัดความสูญเปล่า

2.สร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่มุ่งการปรับปรุงกระบวนการธุรกิจและเกิดผลิตผลดี (Yield) มากขึ้น

3.ค้นหาสาเหตุหลักของปัญหาและทำการแก้ไข

4.ขจัดความบิดเบือนที่เกิดจากการตั้งสมมติฐานที่ผิดพลาดและการจัดสรรต้นทุนที่ไม่เหมาะสม

แนวทางการใช้ประโยชน์ ABM

1.จะช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจถึงการปฏิบัติงานตามกิจกรรมต่างๆ ได้ดี

2.ทำให้สามารถใช้ต้นทุนในการวางแผนพัฒนา กำหนดกลยุทธ์ของกิจการ และพัฒนากิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

3. ทำให้สามารถรู้เป้าหมายหลักในการสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าด้วยต้นทุนที่ลดลง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์ ในด้านต่าง ๆ ได้

4. สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าทั้งด้านราคา และคุณภาพของสินค้า

5. ช่วยด้านระบบต้นทุนกิจกรรมมิได้มุ่งเน้นที่จะลดต้นทุนอย่างเดียว แต่จะมีการปรับปรุง และทบทวนกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศของธุรกิจ

________________________________________________________________________________________

Benchmarking

Benchmarking วิธีการในการวัดและเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ บริการ และวิธีการปฏิบัติกับองค์กรที่สามารถทำได้ดีกว่า เพื่อนำผลการเปรียบเทียบมาใช้ในการปรับปรุงองค์กรของตนเพื่อมุ่งความเป็นเลิศทางธุรกิจ

กระบวนการของ Benchmarking

1. การวางแผน

2. การวิเคราะห์

3. การรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีการกำหนดกลุ่ม เป้าหมายและกลยุทธ์ไว้ในขั้นวางแผน

4. การลงมือปฏิบัติ

5. ขั้นเสร็จสมบูรณ์

ข้อดีของการทำ Benchmarking

1. เพื่อความยั่งยืนขององค์กร

2. เพื่อการปรับปรุงอย่างก้าวกระโดด

3. เพื่อสนับสนุนรางวัลคุณภาพแห่งชาติ

ประโยชน์ของการทำ Benchmarking

1. ทำให้ธุรกิจรู้จักตนเองจากการวัดผลการดำเนินงาน

2. เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม

3. เป็นการสั่งสมความรู้ ทักษะ และ ประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ ในการแก้ปัญหา

4. เป็นเครื่องมือในระดับกลยุทธ์ที่จะพัฒนาศักยภาพ แสดงความสามารถในการแข่งขัน

________________________________________________________________________________________

Re-Engineering

Re-Engineering การ ปรับเปลี่ยน กระบวนการทำงาน ทั้งระบบ เป็นการ ปรับเปลี่ยน โครงสร้าง ขององค์กร บริษัท ทั้งระบบจุดไหนที่ก่อให้เกิน ความล่าช้า ไม่มีประสิทธิภาพ ก็จะทำการ เปลี่ยนแปลงทั้งระบบ

ขั้นตอนในการนำ Re-Engineering มาใช้

1. การคิดค้นทบทวนใหม่ (Rethink)

2. การออกแบบกระบวนการทำงานใหม่ (Redesign)

3. การเสริมเทคโนโลยี(Retool)

4. การฝึกอบรมบุคลากร (Retrain)

ประโยชน์และข้อดีของ Re-Engineering

1. เป็นการปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่ทั้งหมด (holistic approach) ที่การปรับเปลี่ยนทีละน้อยอาจไม่ได้แก้ปัญหา

2. มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า

3. พนักงานสามารถทำงานได้อย่างเป็นอิสระมากขึ้น

4. ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงกระบวนการ ซึ่งเป็นหัวใจของการปรับปรุงงาน

________________________________________________________________________________________

นางสาว ศิวพร วิลาศ ห้อง กจ.2/1 เลขที่ 24

สรุปเครื่องมือ ดังนี้
Balanced Scorecard (BSC)

                Balanced Scorecard (BSC)  เป ็นเคร ื่องมือซึ่งเกิดจากแนวความคิดที่ช่วยให้องค์กรในการแปลจากกลยุทธ์ให้เป็นการปฏิบัติ โดยเริ่มต้นที่วิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ขององค์กรซึ่งเป็นขั้นของการกำหนดปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จ และจากนั้นก็เป็นการสร้างดัชนีวัดผลสำเร็จ (Key Performance Indicators) ึ้นเพื่อเป็นตัวบ่งชี้ถึงเป้าหมายและใช้วัดผลการดำเนินงานในส่วนที่สำคัญต่อกลยุทธ์ จึงถือได้ว่า BSC เป็นระบบการวัดผลการดำเนินงาน ที่ถ่ายทอดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ขององค์กรสู่การปฏิบัติ และสะท้อนการดำเนินงานในมุมมอง 4 ด้านหลัก คือ ด้านการเงิน ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการภายใน และด้านการเรียนรู้และการพัฒนา

  •  
    •  
      •  
        • มุมมองด้านการเงิน
        • มุมมองด้านลูกค้า เน้นความพึงพอใจของลูกค้า
        • มุมมองด้านกระบวนการ เป็นการปรับปรุงพัฒนากระบวนการภายใน
        • มุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา เน้นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ การสร้างเสริมความสามารถของพนักงานและระบบ

            การวัดผลสำเร็จธุรกิจตามที่เคยทำกันมาแต่เดิมนั้น มักมุ่งเน้นที่ข้อมูลทางการเงินและการบัญชีจากภายนอก ซึ่งเป็นวิธีการที่เริ่มไม่ได้รับความนิยมในยุคปัจจุบัน ตอนนี้องค์กรต้องการดัชนีวัดความสำเร็จที่ครอบคลุมมากกว่า เพ ื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับองค์กรในยุคข้อมูลข่าวสาร

 สาเหตุที่ต้องพิจารณาการดำเนินงานจากมุมมองหลายด้าน และสนับสนุนแนวคิดของ BSC ที่วัดผลสำเร็จของการดำเนินงานจาก 4 มุมมองนั้น เนื่องจากพบว่า ปัจจุบันองค์กรที่มีผลประกอบการยอดเยี่ยมมีลักษณะร่วมบางอย่าง

 

Key Performance Indicators

            KPI คือ เครื่องมือที่ใช้วัดผลการดำเนินงานหรือประเมินผลการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ขององค์กรซึ่งสามารถแสดงผลขอการวัดหรือการประเมิน ในรูปข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อสะท้อนประสิทธิภาพประสิทธิผลในการปฏิบัติงานขององค์กรหรือหน่วยงานภายในองค์กร

ลักษณะของ KPI ที่ดี

- สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ขององค์กร

- ควรแสดงถึงสิ่งที่มีความสำ คัญต่อองค์กรและหน่วยงานเท่านั้น

- ประกอบด้วยดัชนีชี้วัดที่เป็นเหตุและดัชนีชี้วัดที่เป็นผล

- ดัชนีชี้วัดที่สร้างขึ้นควรเป็นดัชนีชี้วัดที่องค์กรหรือหน่วยงานสามารถควบคุมได้ไม่น้อยกว่าร้อย ละ 80

- เป็นดัชนีชี้วัดที่สามารถวัดผลได้ และบุคคลทั่วไปเข้าใจ ไม่ใช่มีเพียงผู้จัดทำเท่านั้นที่เข้าใจ

- ต้องช่วยให้ผู้บริหารและพนักงานสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญขององค์กรได้ นอกเหนือจากการใช้


ขั้นตอนการสร้าง KPI

- กำหนดวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการซึ่งควรสะท้อนถึงกลยุทธ์ที่องค์กรมุ่งเน้น

- กำหนดปัจจัยสู่ความสำเร็จหรือปัจจัยวิกฤต ที่สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ

- กำหนดตัวชี้วัดที่สามารถบ่งชี้ความสำเร็จ/ประสิทธิภาพ/ประสิทธิผลจากการดำเนินการตามวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ

- กลั่นกรองดัชนีชี้วัดเพื่อหาดัชนีชี้วัดหลัก โดยจัดลำดับและกำหนดน้ำหนักความสำคัญของดัชนีชี้วัด   แต่ละตัว

- กระจายดัชนีชี้วัดสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

- จัดทำ KPI Dictionary โดยระบุรายละเอียดที่สำคัญของดัชนีชี้วัดแต่ละตัว
***************************************************************************

Six Sigma

 

 Six  Sigma       คือแนวทางการพัฒนาองค์การให้มีประสิทธิภาพสูงและได้พิสูจน์มาแล้วในหลายๆ  องค์กรที่นำไปใช้  ว่าสามารถเพิ่มขีดความสามารถของกระบวนการทางด้านธุรกิจได้เป็นอย่างดี  โดยมุ่งเน้นในการลดความผันแปรที่เกิดขึ้นในทุกๆกระบวนการปฏิบัติงานทั่วทั้งองค์กร    ซึ่งความผันแปรเหล่านั้น     เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้สินค้าหรือบริการขององค์กรไม่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า  หรือมีค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเกิดขึ้น  Six Sigma  นำวิธีการทางสถิติเจ้ามาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล    ทำให้ได้ข้อสรุปที่เชื่อถือได้    เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจเพื่อปรับปรุงกระบวนการ     ซึ่งผลจากการเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าจะตอบแทนกลับมาในรูปผลประกอบการที่ดีขึ้นขององค์กรในที่สุด
            ตามหลักการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบานการผลิตโดยทั่วไปสามารถทำได้
2 วิธีคือ Lean Manufacturing และ Six Sigma ทั้งสองวิธีมีหลักต่างกันคือ การนำเอา Lean Manufacturing มาใช้ในองค์การจะช่วยให้

1. เทคนิคการรับเปลี่ยนสายการผลิตเป็นไปอย่างรวดเร็ว และลดเวลาในการเตรียมเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต
2. ช่วยให้โรงงานสามารถปรับปรุงหน่วยผลิต ด้วยการจัดเครื่องอุปกรณ์ให้สอดคล้องกับปริมาณการผลิต
3. การผลิตทันเวลาพอดี (Just in time) ช่วยลดจำนวนสินค้าในสต๊อกรวมทั้งการจัดส่งวัตถุดิบมาป้อนให้หน่วยผลิตอย่างเหมาะสมทันตามเวลาการผลิต

แนวทางหลักการของ Six Sigma
แนวทางในการปฏิบัติที่เป็นที่นิยมเพื่อบรรลุถึงความสามารถของกระบวนการในระดับ Six Sigma ที่เป็นที่นิยมและยอมรับกันทั่วดลกประกอบด้วย 5 ชั้นตอน ได้แก่
            1. กำหนดเป้าหมาย (Define Target)
            2. การวัดความสามรถของกระบวนการ (Measure)
            3. การวิเคราะห์สาเหตุปัญหา (Analyze)
            4. การปรับปรุงโดยเน้นที่ต้นเหตุของปัญหา (Improve)
            5. การควบคุมกระบวนการที่มีผลกระทบ (Control)

ความแตกต่างระหว่าง Six Sigma กับหลักการปรับปรุงต่างๆ

            Six Sigma เป็นกระบวนการที่รวบรวมหลักการปรับปรุงต่างๆ ได้แก่ Benchmarking, Productivity Improvement, Strategic Deployment และ Statistical and Techniques เป็นต้น นำมาหลอมรวมกันเพื่อให้พนักงานทุกระดับสามารถเข้าใจปฎิบัติให้เป็นรูปธรรม มีเป้าหมายเด่นชัด และที่สำคัญที่สุดคือเห็นผลสำเร็จย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะว่าการบิหารแบบ Six Sigma จะเน้นการบริหารแบบบนลงล่าง (Top Down Management) คือระบบที่ผู้บริหารต้องผลักดันแนวความคิดและการปรับปรุงให้เกิดขึ้น นอกจากนี้ Six Sigma ยังเป็นกระบวนการหนึ่งที่สามารถทำให้ องค์การต่างๆ ที่นำไปใช้สามารถบรรลุถึงข้อกำหนดของรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (National Quality Award)

Knowledge Management : KM

          การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ

          1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม

          2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

     องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ (Knowledge Process)

     1. “คนถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นแหล่งความรู้ และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์

     2.“เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้อย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น

     3. “กระบวนการความรู้นั้น เป็นการบริหารจัดการ เพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุง และนวัตกรรม

     องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ จะต้องเชื่อมโยงและบูรณาการอย่างสมดุล การจัดการความรู้ของกรมการปกครอง จากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 กำหนดให้ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราขการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมะสมต่อสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน ขอบเขต KM ที่ได้มีการพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความสำคัญเร่งด่วนในขณะนี้ คือ การจัดการองค์ความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ และได้กำหนดเป้าหมฟาย (Desired State) ของ KM ที่จะดำเนินการในปี 2549 คือมุ่งเน้นให้อำเภอ/กิ่งอำเภอ เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในพื้นที่ที่เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมีหน่วยที่วัดผลได้เป็นรูปธรรม คือ อำเภอ/กิ่งอำเภอ มีข้อมูลผลสำเร็จ การแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในศูนย์ปฏิบัติการฯ ไม่น้อยกว่าศูนย์ละ 1 เรื่อง และเพื่อให้เป้าหมายบรรลุผล ได้จัดให้มีกิจกรรมกระบวนการจัดการความรู้ (KM Process) และกิจกรรมกระบวนการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process) ควบคู่กันไป โดยมีความคาดหวังว่าแผนการจัดการความรู้นี้จะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญสู่การปฏิบัติราชการในขอบเขต KM และเป้าหมาย KM ในเรื่องอื่น ๆ และนำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน

Re-engineering

            การรื้อปรับระบบเป็นแนวคิดจากญี่ปุ่น ที่ได้รับการพัฒนาโดยชาวตะวันตก ทำนองเดียวกับการควบคุมคุณภาพ หรือ Q.C.C.(Quality Control Circle) ที่พัฒนามาเป็นการ บริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร T.Q.M. (Total Quality Management) และมีนักวิชาการชาวตะวันตกหลายท่านที่กล่าวอ้างว่าตนเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดและแนวทางปฏิบัติในการทำรีเอ็นจิเนียริ่งหรือการรื้อปรับระบบ อย่างไรก็ตาม คงต้องยอมรับว่า แฮมเมอร์ และ แชมปี้ เป็นผู้เผยแพร่แนวคิด หลักการ และแนวทางปฏิบัติในการรื้อปรับระบบกระบวนการทางธุรกิจ ผ่านหนังสือ Reengineering the Corporation จนเป็นที่ยอมรับและกล่าวขานถึงอย่างกว้างขวาง นับแต่ปี 1993 เป็นต้นมา

            การรีเอ็นจิเนียริ่ง เริ่มจากการตระหนักรู้และยอมรับอิทธิพลหรือผลกระทบของสภาพแวดล้อมหรือระบบนิเวศที่มีต่อธุรกิจหรือองค์การ โดยเฉพาะปัจจัยสภาพแวดล้อมเกี่ยวกับลูกค้า การแข่งขัน และลักษณะของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งแตกต่างไปจากลักษณะของสภาพแวดล้อมในช่วงเวลาก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะการตระหนักรู้ ยอมรับ และเป็นผู้ริเริ่มที่จะทำการรีเอ็นจิเนียริ่งของผู้บริหารระดับสูงของธุรกิจหรือองค์การ ทำนองเดียวกับนักวิชาการด้านพัฒนาองค์การ (Organization Development) ลักษณะสำคัญหรือจุดเน้นของการรื้อปรับระบบหรือการทำรีเอ็นจิเนียริ่งอยู่ที่ การมุ่งปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินงาน การทำความเข้าใจและปรับเปลี่ยนที่แนวคิดพื้นฐาน สมมุติฐาน หรือหลักเกณฑ์เดิม การเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน และการมุ่งสู่ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่หรือผลลัพธ์อันใหญ่หลวง ในทางปฏิบัติ มีธุรกิจและองค์การหลายแห่งต่างกล่าวอ้างว่าหน่วยงานของตนได้นำการรื้อปรับระบบมาประยุกต์ใช้ในหน่วยงานของตนด้วย เช่น ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย กรมการศึกษานอกโรงเรียน ฯลฯ ปัจจุบัน การรีเอ็นจิเนียริ่งกลับคงเหลือเพียงแนวคิด หลักการและหนังสือพ็อคเก็ตบุ๊คบางเล่มที่มีการแปล การเรียบเรียง หรือเขียนขึ้นเมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมาเท่านั้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวอาจมีสาเหตุจากความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องของการรีเอ็นจิเนียริ่ง ภาวะผู้นำ โดยเฉพาะความมุ่งมั่นตั้งใจของผู้บริหารระดับสูง และการให้ความยอมรับกับการรื้อปรับหรือการปรับเปลี่ยนนับแต่แนวคิดพื้นฐานหรือสมมุติฐานของกระบวนการเดิม ซึ่งเท่ากับความพยายามเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์การในสังคมไทย รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงสำหรับการรื้อปรับระบบ และความกล้าหาญในการบุกเบิก ลงมือปฏิบัติ และเรียนรู้ในระหว่างการดำเนินงานรื้อปรับระบบ มากกว่าที่จะคาดการณ์แ

นางสาวศศินนท์ พรมวงค์ เลขที่ 21 กจ.2/1

1. Balanced Scorecard (BSC)

Balanced Scorecard (BSC) เป็นเครื่องมือซึ่งเกิดจากแนวความคิดที่ช่วยให้องค์กรในการแปลจากกลยุทธ์ให้เป็นการปฏิบัติ โดยเริ่มต้นที่วิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ขององค์กรซึ่งเป็นขั้นของการกำหนดปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จ และจากนั้นก็เป็นการสร้างดัชนีวัดผลสำเร็จ (Key Performance Indicators) ขึ้นเพื่อเป็นตัวบ่งชี้ถึงเป้าหมายและใช้วัดผลการดำเนินงานในส่วนที่สำคัญต่อกลยุทธ์ จึงถือได้ว่า BSC เป็นระบบการวัดผลการดำเนินงาน ที่ถ่ายทอดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ขององค์กรสู่การปฏิบัติ และสะท้อนการดำเนินงานในมุมมอง 4 ด้านหลัก คือ ด้านการเงิน ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการภายใน และด้านการเรียนรู้และการพัฒนา

• มุมมองด้านการเงิน

• มุมมองด้านลูกค้า เน้นความพึงพอใจของลูกค้า

• มุมมองด้านกระบวนการ เป็นการปรับปรุงพัฒนากระบวนการภายใน

• มุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา เน้นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ การสร้างเสริมความสามารถของพนักงานและระบบ

BSC เป็นเครื่องมือช่วยให้องค์กรสามารถนำปัจจัยหลักทางกลยุทธ์ขององค์กร แปลไปสู่การปฏิบัติ และเป็นเครื่องมือสำหรับองค์กรในการพิจารณาผลสำเร็จของการทำงานโดยผ่านมุมมองด้านการเงิน มุมมองลูกค้า มุมมองกระบวนการภายใน และมุมมองการเรียนรู้และการพัฒนา จึงนับเป็นการเชื่อมโยงการวางแผนในระดับบนหรือระดับผู้บริหารซึ่งเน้นการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ลงมาสู่ระดับปฏิบัติการ ในกรณีของมหาวิทยาลัยก็สามารถใช้เป้าหมายตามแผนพัฒนามหาวิทยาลัยเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาดัชนีวัดผลสำเร็จตามแนวคิด BSC ในมุมมอง 4 ด้านได้เช่นกัน ทั้งนี้อาจเป็นการวัดผลสำเร็จขององค์กรภายในเองเท่านั้น หรืออาจเป็นการเปรียบเทียบกับองค์กรหรือสถาบันอื่นที่สามารถเทียบเคียงเป็น Benchmark เพื่อการพัฒนาคุณภาพในอีกระดับหนึ่งด้วยก็ได้

…………………………………………………………………………………………….

2. Six Sigma

ซิกมา (sigma: ơ) เป็นสัญลักษณ์ในวิชาสถิติที่มีที่มาจากตัวอักษรในภาษากรีก ซึ่งใช้แทนความหมายของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) โดยค่าซิกมายิ่งสูงแสดงว่ามีความแปรปรวนของกระบวนการยิ่งสูง ทำให้มีพื้นที่ที่อยู่นอกเหนือพื้นที่ในการยอมรับหรือในขอบเขต (space) น้อยลง

ความเป็นมา

ในอดีตมีน้อยคนที่จะเคยได้ยินหรือรู้จักคำว่า "ซิกซ์ซิกมา” (Six Sigma) จะมีก็เป็นเพียงแค่คนในบางวงการเท่านั้นที่จะรู้และเข้าใจ แต่ปัจจุบันคำๆ นี้กลายเป็นคำที่รู้จักกันมากขึ้น เพราะ เรื่องราวความสำเร็จในการนำซิกซ์ซิกมามาใช้เป็นกลยุทธ์ในการดำเนินงานของบริษัทให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในบริษัทโมโตโรล่าที่เป็นผู้ริเริ่มนำแนวคิดนี้มาใช้ในกระบวนการผลิตตั้งแต่ปี 1979 เพื่อปรับปรุงคุณภาพ โดยพยายามลดของเสียในกระบวนการผลิตให้เกิดขึ้นน้อยที่สุดจนประสบความสำเร็จสามารถลดต้นทุนในการผลิต และ ขณะเดียวกันระดับความพึงพอใจของลูกค้าก็เพิ่มมากขึ้น นอกจากความสำเร็จที่เกิดขึ้นในบริษัทโมโตโรล่าแล้ว บริษัทเจเนอรัลอิเล็คทริกส์ (General Electric: GE) ก็เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่นำซิกซ์ซิกมาไปใช้ในอุตสาหกรรม และประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ทำให้ ซิกซ์ซิกมา กลายเป็นที่รู้จักในวงการธุรกิจและอุตสาหกรรมทั่วไป บริษัทหลายๆ บริษัท เริ่มที่จะนำกลยุทธ์ซิกซ์ซิกมามาใช้กับบริษัทตนเอง จนปัจจุบันสามารถกล่าวได้ว่าซิกซ์ซิกมาเป็นกลยุทธ์ตัวหนึ่งที่บริษัทหรือบริษัทต่างๆ ทั่วโลกนำมาใช้เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ กลยุทธ์ซิกซ์ซิกมาจึงถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์ระดับโลก (World-class Strategy)

10ขั้นตอนในการนำเอา Lean Six Sigma ไปใช้งาน

1. ต้องหาทีมที่ปรึกษา

2. ความเป็นผู้นำ (Leader ship)

3. การคัดเลือกผู้ปฏิบัติงาน

4. การฝึกอบรม

5. การเริ่มโครงการ

6. การเลือกโครงการ และการดำเนินงาน

7. การติดตามผลสมรรถนะของทีมงาน

8. การพัฒนาปรับปรุงสมรรถนะของทีม

9. ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

10. พัฒนาจนไปบรรจบกับการจัดการโซ่อุปทาน

ประโยชน์ในการนำ Six Sigma มาใช้ในองค์การ

1. สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างกลยุทธ์ใหม่ให้ธุรกิจ

2. สามารถลดความสูญเสียโอกาสอย่างมีระบบและรวดเร็วโดยการนำกระบวนการทางสถิติมาใช้

3. พัฒนาบุคลากรในองค์การให้มีศักยภาพสูงขึ้นตอบสนองต่อกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็ว และปรับองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)

4. ช่วยหารระดับคุณภาพของอุตสาหกรรม โดยสามารถเทียบข้ากลุ่มอุตสาหกรรมได้ (Benchmarking)

……………………………………………………………………………………………………………

3. Re-engineering

การเปลี่ยนวิธีการทำงาน (Re-engineering) คือ การออกแบบกระบวนการทางธุรกิจใหม่แล้วนำกระบวนการใหม่ไปปฏิบัติให้เกิดผล เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ โดยมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การลดต้นทุนการดำเนินงานของธุรกิจนั้น

โดยมีคำศัพท์หลักที่สำคัญ ดังนี้

-พื้นฐาน (Fundamental) คำศัพท์หลักคำนี้เป็นคำถามพื้นฐานที่สุดและเป็นหัวใจสำคัญในการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง ซึ่งธุรกิจหรือองค์การจะต้องพิจารณาถึงพื้นฐาน สมมุติฐาน หรือกฎเกณฑ์ที่รองรับการดำเนินธุรกิจ และแฝงเร้นอยู่ในแนวทางปฏิบัติที่กำหนดขึ้นในการดำเนินงานหรือการดำเนินธุรกิจ โดยทั่วไป มักช่วยให้องค์การพิจารณาได้ว่าสมมุติฐานหรือกฎเกณฑ์นั้นผิดพลาด ไม่เหมาะสมหรือล้าสมัย ทั้งนี้ โดยการตั้งคำถามว่า “ทำไมเราจึงทำแบบนี้ ? ” , “ ทำไมเราจึงต้องทำอย่างที่เรากำลังทำอยู่ ? ” หรือ “ เราต้องทำอะไร หรือเราจะทำอย่างไร เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ? ” เป็นต้น

- ถอนรากถอนโคน เป็นศัพท์ที่แผลงมาจากภาษาลาตินว่า Radix ซึ่งหมายถึง ราก การคิดหรือการออกแบบใหม่อย่างถอนรากถอนโคน หมายถึง การมุ่งที่รากแก้วของสิ่งทั้งหลาย ซึ่งไม่ใช่เพียงการปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือเพียงผิวเผิน แต่เป็นการทิ้งของเดิมไปทั้งหมดอย่างสิ้นเชิง หรือการออกแบบใหม่บนพื้นฐาน สมมุติฐาน หลักการ หรือกฎเกณฑ์ใหม่ทั้งหมด

- ยิ่งใหญ่ (Dramatic) คำศัพท์หลัก “ยิ่งใหญ่” หรือ “ใหญ่หลวง” ในที่นี้ เป็นการเน้นย้ำว่า การทำรีเอ็นจิเนียริ่งมุ่งสู่การกระทำที่จะนำมาซึ่งผลลัพธ์ของการทำงานที่ก้าวกระโดด หรือการบรรลุผลอันยิ่งใหญ่มโหฬาร เพราะความต้องการบรรลุเป้าหมายเพิ่มขึ้น การเพิ่มผลงาน หรือคุณภาพของผลงานเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่จำเป็นต้องอาศัยการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง เพียงใช้วิธีการปรับปรุง แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยก็น่าจะเพียงพอแล้ว

-กระบวนการ (Process) คำว่ากระบวนการ นับเป็นคำศัพท์หลักที่สำคัญอีกคำหนึ่ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความสับสนหรือยุ่งยากสำหรับการทำรีเอ็นจิเนียริ่งอีกคำหนึ่ง เนื่องจากผู้บริหารหรือผู้อยู่ในแวดวงธุรกิจมักไม่ได้ให้ความสนใจกับ “กระบวนการ” ในระยะที่ผ่านมา มักมุ่งที่ตัวงาน เนื้องาน โครงสร้าง หรือตัวบุคคลผู้ปฏิบัติงานมากกว่า

………………………………………………………………………………………………………….

4. Benchmarking

การทำ Benchmarking เริ่มเกิดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี 2523 โดยเป็นกระบวนการบริหารธุรกิจ ที่มีกลยุทธ์เฉพาะตัว Benchmarking เป็นกระบวนการที่ได้จากการเรียนรู้จากผู้อื่น โดยการเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่นๆ ในส่วนต่างๆ ได้ โดยเป็นกระบวนการต่อเนื่อง ที่ใช้ระยะเวลาดำเนินการระยะยาว อย่างมีระเบียบแบบแผน โดยมีตัววัดความก้าวหน้า ในแต่ละระยะเวลาได้ Benchmarking process เป็นกลวิธีที่เป็นประโยชน์ ในการปรับปรุงองค์กรทุกประเภท ทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชน

กลวิธีหลักในการทำ Benchmark

1.ต้องชี้แนะให้ผู้บริหารระดับสูงรับทราบ และให้การสนับสนุนโครงการเสียก่อนให้ชัดเจน

2.สามารถทราบผลที่จะเกิดขึ้นอย่างชัดเจน

3.สามารถหาวิธีการทำงานต่างๆ ให้ดีขึ้น

4.สร้างทีมงาน ที่ทำให้ความรู้สึกเป็นเจ้าของโครงการ และกระบวนการที่จะพัฒนาให้ได้

5.พยายามหาข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์ทำ Benchmark จากแหล่งต่างๆ เท่าที่จะหาได้

6.วางเป้าประสงค์ให้ชัดเจน และสามารถลำดับความสำคัญของโครงงานได้

การทำ Benchmarking เลือกทำได้ 2 แนวทางคือ

1. Benchmarking แบบกลุ่ม

2. Benchmarking แบบเดี่ยว

1. Benchmarking แบบกลุ่ม คือการทำ Benchmarking โดยเราข้าไปรวมกลุ่มกับองค์กรอื่นที่มีความต้องการ

จะทำ Benchmarking เหมือนกัน

2. Benchmarking แบบเดี่ยว คือการทำ Benchmarking โดยเราองค์กรเดียวมีความต้องการที่จะทำ

Benchmarking จึงกำหนดหัวข้อที่ต้องการทำและดำเนินการตามกระบวนการ Benchmarking ตามที่ได้วางแผน

เอาไว้ เราต้องเป็นผู้ดำเนินการคนเดียวทั้งหมด ตั้งแต่การกำหนดหัวข้อ หาคู่เปรียบเทียบ เก็บข้อมูล พัฒนาแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปข้อมูล

…………………………………………………………………………………………….

5. Knowledge Management

Knowledge Management หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า KM นั้นก็คือแนวทางการบริหารแนวทางการทำงานภายในองค์กรเพื่อทำให้เกิดการนิยาม ความรู้ขององค์กรขึ้น และทำการรวบรวม, สร้าง, และกระจายความรู้ขององค์กรไปให้ทั่วทั้งองค์กรเพื่อให้เกิดการต่อยอดของความ รู้, นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมถึงก่อให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ภายในองค์กรขึ้น

คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

ขอบเขตและเป้าหมาย KM เป็นอย่างไรบ้าง

ก่อน ที่จะมีจัดการความรู้ หรือทำ KM จะต้องมีการกำหนดขอบเขต และเป้าหมาย KM ก่อน ซึ่ง ขอบเขต KM เป็นหัวเรื่องกว้างๆ ของความรู้ที่จำเป็นและสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ตามแผนบริหารราชการแผ่น ดิน ซึ่งต้องการจะนำมากำหนดเป้าหมาย KM ซึ่งแต่ละองค์กรสามารถใช้แนวทาง ในการกำหนดขอบเขตและเป้าหมาย

KM เพื่อจัดทำแผนการจัดการความรู้ขององค์กร ได้ 4 แนวทาง คือ

แนวทางที่ 1 เป็นความรู้ที่จำเป็นและสนับสนุนวิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ขององค์กร

แนวทางที่ 2 เป็นความรู้ที่สำคัญต่อองค์กร เช่น ความรู้เกี่ยวกับลูกค้า ประสบการณ์ความรู้ที่สั่งสมมา

แนวทางที่ 3 เป็นปัญหาที่องค์กรประสบอยู่ และสามารถนำ KM มาช่วยได้

แนวทางที่ 4 เป็นแนวทางผสมกันระหว่างแนวทางที่ 1 , 2 หรือ 3 หรือจะเป็นแนวทางอื่นที่องค์กรเห็นว่าเหมาะสม

6. Key Performance Indicator

KPI คือ เครื่องมือที่ใช้วัดผลการดำเนินงานหรือประเมินผลการดำเนินงานในด้านต่างๆ ขององค์กร ซึ่งสามารถแสดงผลของการวัดหรือการประเมินในรูปข้อมูลเชิงประมาณเพื่อสะท้อนประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานขององค์กรหรือหน่วยงานภายในองค์กร

ขั้นตอนการสร้าง KPI

• กำหนดวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ (What to measure?)

• กำหนดปัจจัยสู่ความสำเร็จหรือปัจจัยวิกฤต (Key Success Factor or Critical Success Factor) ที่สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ เช่น ปัจจัยด้านคุณภาพ ปริมาณ ต้นทุน การส่งมอบ ความพึงพอใจ ความปลอดภัย และการเพิ่มผลผลิต

• กำหนดตัวดัชนีชี้วัดที่สามารถบ่งชี้ความสำเร็จ/ประสิทธิภาพ/ประสิทธิผลจากการดำเนินการตามวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ (How to measure?) ซึ่งสามารถแสดงเป็นข้อมูลในเชิงปริมาณและกำหนดสูตรในการคำนวณรวมทั้งหน่วยของดัชนีชี้วัดแต่ละตัว

• กลั่นกรองดัชนีชี้วัดเพื่อหาดัชนีชี้วัดหลัก โดยจัดลำดับและกำหนดน้ำหนักความสำคัญของดัชนีชี้วัดแต่ละตัว

• กระจายดัชนีชี้วัดสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

• จัดทำ KPI Dictionary โดยระบุรายละเอียดที่สำคัญของดัชนีชี้วัดแต่ละตัว เช่น ชื่อของดัชนีชี้วัดคำจำกัดความหรือนิยามของดัชนีชี้วัด สูตรในการคำนวณ หน่วยของดัชนีชี้วัด ผู้เก็บข้อมูล ความถี่ในการรายงานผล เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนำดัชนีชี้วัดไปใช้ในการปฏิบัติงาน

……………………………………………………………………………………………..

7. ABM (Activity-based Management)

คือ การบริหารโดยเน้นกิจกรรม โดยพยายามลดกิจกรรมที่ไม่มีคุณค่า หรือไม่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นให้กับองค์การและพยายามส่งเสริมกิจกรรมที่มีคุณค่า หรือสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นให้กับองค์การให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ประโยชน์ของ ABM

1. ลดต้นทุน

2. ผู้ปฏิบัติการมีความกระตือรือร้น

3. เพิ่มประสิทธิภาพ (Productivity)ทั้งด้านการผลิตและบุคลากร

4. มอง Interaction ระหว่างหน่วยงาน

5. ใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจของผู้บริหาร ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

6. เกิดประโยชน์ต่อการบริหารงานและบริหารงบประมาณของหน่วยงาน

7. เกิด Cost Allocation ที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้น

ขั้นตอนการจัดทำ ABM

1. กำหนดและวิเคราะห์กิจกรรม (Activity) ของทุกแผนก

2. กำหนดปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ (Critical SuccessFactor: CSF) และ ตัววัดผลการดำเนินงาน (Key

Performance Indicators: KPIs)

3. คำนวณต้นทุนกิจกรรม เป็นการระบุต้นทุนตาม Cost Element เข้าสู่กิจกรรมของแต่ละหน่วยงานหรือเรียกว่า Cost Mapping

4. กำหนดและวิเคราะห์ตัวผลักดันให้เกิดต้นทุน (Cost Driver)ของแต่ละกิจกรรม

5. จัดตั้งงบประมาณโดยใช้กิจกรรมเป็นหลักโดยคำนึงถึง CSFและ KPIs

6. เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายของกิจกรรมกับงบประมาณที่ตั้งไว้รวมทั้งวัดผลการดำเนินงาน

7. วิเคราะห์กิจกรรมที่เพิ่มค่า (Value Added Activities)หรือกิจกรรมไม่เพิ่มค่า (Non-Value Added Activities)

8. ทำ Activities Dictionary

………………………………………………………………………………………………

นางสาว ศิวพร วิลาศ ห้อง กจ.2/1 เลขที่ 24

สรุปเครื่องมือ ดังนี้

Balanced Scorecard (BSC)

Balanced Scorecard (BSC) เป ็นเคร ื่องมือซึ่งเกิดจากแนวความคิดที่ช่วยให้องค์กรในการแปลจากกลยุทธ์ให้เป็นการปฏิบัติ โดยเริ่มต้นที่วิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ขององค์กรซึ่งเป็นขั้นของการกำหนดปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จ และจากนั้นก็เป็นการสร้างดัชนีวัดผลสำเร็จ (Key Performance Indicators) ข ึ้นเพื่อเป็นตัวบ่งชี้ถึงเป้าหมายและใช้วัดผลการดำเนินงานในส่วนที่สำคัญต่อกลยุทธ์ จึงถือได้ว่า BSC เป็นระบบการวัดผลการดำเนินงาน ที่ถ่ายทอดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ขององค์กรสู่การปฏิบัติ และสะท้อนการดำเนินงานในมุมมอง 4 ด้านหลัก คือ ด้านการเงิน ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการภายใน และด้านการเรียนรู้และการพัฒนา

• มุมมองด้านการเงิน

• มุมมองด้านลูกค้า เน้นความพึงพอใจของลูกค้า

• มุมมองด้านกระบวนการ เป็นการปรับปรุงพัฒนากระบวนการภายใน

• มุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา เน้นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ การสร้างเสริมความสามารถของพนักงานและระบบ

การวัดผลสำเร็จธุรกิจตามที่เคยทำกันมาแต่เดิมนั้น มักมุ่งเน้นที่ข้อมูลทางการเงินและการบัญชีจากภายนอก ซึ่งเป็นวิธีการที่เริ่มไม่ได้รับความนิยมในยุคปัจจุบัน ตอนนี้องค์กรต้องการดัชนีวัดความสำเร็จที่ครอบคลุมมากกว่า เพ ื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับองค์กรในยุคข้อมูลข่าวสาร

สาเหตุที่ต้องพิจารณาการดำเนินงานจากมุมมองหลายด้าน และสนับสนุนแนวคิดของ BSC ที่วัดผลสำเร็จของการดำเนินงานจาก 4 มุมมองนั้น เนื่องจากพบว่า ปัจจุบันองค์กรที่มีผลประกอบการยอดเยี่ยมมีลักษณะร่วมบางอย่าง

Key Performance Indicators

KPI คือ เครื่องมือที่ใช้วัดผลการดำเนินงานหรือประเมินผลการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ขององค์กรซึ่งสามารถแสดงผลขอการวัดหรือการประเมิน ในรูปข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อสะท้อนประสิทธิภาพประสิทธิผลในการปฏิบัติงานขององค์กรหรือหน่วยงานภายในองค์กร

ลักษณะของ KPI ที่ดี

- สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ขององค์กร

- ควรแสดงถึงสิ่งที่มีความสำ คัญต่อองค์กรและหน่วยงานเท่านั้น

- ประกอบด้วยดัชนีชี้วัดที่เป็นเหตุและดัชนีชี้วัดที่เป็นผล

- ดัชนีชี้วัดที่สร้างขึ้นควรเป็นดัชนีชี้วัดที่องค์กรหรือหน่วยงานสามารถควบคุมได้ไม่น้อยกว่าร้อย ละ 80

- เป็นดัชนีชี้วัดที่สามารถวัดผลได้ และบุคคลทั่วไปเข้าใจ ไม่ใช่มีเพียงผู้จัดทำเท่านั้นที่เข้าใจ

- ต้องช่วยให้ผู้บริหารและพนักงานสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญขององค์กรได้ นอกเหนือจากการใช้

ขั้นตอนการสร้าง KPI

- กำหนดวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการซึ่งควรสะท้อนถึงกลยุทธ์ที่องค์กรมุ่งเน้น

- กำหนดปัจจัยสู่ความสำเร็จหรือปัจจัยวิกฤต ที่สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ

- กำหนดตัวชี้วัดที่สามารถบ่งชี้ความสำเร็จ/ประสิทธิภาพ/ประสิทธิผลจากการดำเนินการตามวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ

- กลั่นกรองดัชนีชี้วัดเพื่อหาดัชนีชี้วัดหลัก โดยจัดลำดับและกำหนดน้ำหนักความสำคัญของดัชนีชี้วัด แต่ละตัว

- กระจายดัชนีชี้วัดสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

- จัดทำ KPI Dictionary โดยระบุรายละเอียดที่สำคัญของดัชนีชี้วัดแต่ละตัว

***************************************************************************

Six Sigma

Six Sigma คือแนวทางการพัฒนาองค์การให้มีประสิทธิภาพสูงและได้พิสูจน์มาแล้วในหลายๆ องค์กรที่นำไปใช้ ว่าสามารถเพิ่มขีดความสามารถของกระบวนการทางด้านธุรกิจได้เป็นอย่างดี โดยมุ่งเน้นในการลดความผันแปรที่เกิดขึ้นในทุกๆกระบวนการปฏิบัติงานทั่วทั้งองค์กร ซึ่งความผันแปรเหล่านั้น เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้สินค้าหรือบริการขององค์กรไม่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า หรือมีค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเกิดขึ้น Six Sigma นำวิธีการทางสถิติเจ้ามาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้ได้ข้อสรุปที่เชื่อถือได้ เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจเพื่อปรับปรุงกระบวนการ ซึ่งผลจากการเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าจะตอบแทนกลับมาในรูปผลประกอบการที่ดีขึ้นขององค์กรในที่สุด

ตามหลักการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบานการผลิตโดยทั่วไปสามารถทำได้ 2 วิธีคือ Lean Manufacturing และ Six Sigma ทั้งสองวิธีมีหลักต่างกันคือ การนำเอา Lean Manufacturing มาใช้ในองค์การจะช่วยให้

1. เทคนิคการรับเปลี่ยนสายการผลิตเป็นไปอย่างรวดเร็ว และลดเวลาในการเตรียมเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต

2. ช่วยให้โรงงานสามารถปรับปรุงหน่วยผลิต ด้วยการจัดเครื่องอุปกรณ์ให้สอดคล้องกับปริมาณการผลิต

3. การผลิตทันเวลาพอดี (Just in time) ช่วยลดจำนวนสินค้าในสต๊อกรวมทั้งการจัดส่งวัตถุดิบมาป้อนให้หน่วยผลิตอย่างเหมาะสมทันตามเวลาการผลิต

แนวทางหลักการของ Six Sigma

แนวทางในการปฏิบัติที่เป็นที่นิยมเพื่อบรรลุถึงความสามารถของกระบวนการในระดับ Six Sigma ที่เป็นที่นิยมและยอมรับกันทั่วดลกประกอบด้วย 5 ชั้นตอน ได้แก่

1. กำหนดเป้าหมาย (Define Target)

2. การวัดความสามรถของกระบวนการ (Measure)

3. การวิเคราะห์สาเหตุปัญหา (Analyze)

4. การปรับปรุงโดยเน้นที่ต้นเหตุของปัญหา (Improve)

5. การควบคุมกระบวนการที่มีผลกระทบ (Control)

ความแตกต่างระหว่าง Six Sigma กับหลักการปรับปรุงต่างๆ

Six Sigma เป็นกระบวนการที่รวบรวมหลักการปรับปรุงต่างๆ ได้แก่ Benchmarking, Productivity Improvement, Strategic Deployment และ Statistical and Techniques เป็นต้น นำมาหลอมรวมกันเพื่อให้พนักงานทุกระดับสามารถเข้าใจปฎิบัติให้เป็นรูปธรรม มีเป้าหมายเด่นชัด และที่สำคัญที่สุดคือเห็นผลสำเร็จย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะว่าการบิหารแบบ Six Sigma จะเน้นการบริหารแบบบนลงล่าง (Top Down Management) คือระบบที่ผู้บริหารต้องผลักดันแนวความคิดและการปรับปรุงให้เกิดขึ้น นอกจากนี้ Six Sigma ยังเป็นกระบวนการหนึ่งที่สามารถทำให้ องค์การต่างๆ ที่นำไปใช้สามารถบรรลุถึงข้อกำหนดของรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (National Quality Award)

Knowledge Management : KM

การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ

1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม

2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ (Knowledge Process)

1. “คน” ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นแหล่งความรู้ และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์

2.“เทคโนโลยี” เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้อย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น

3. “กระบวนการความรู้” นั้น เป็นการบริหารจัดการ เพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุง และนวัตกรรม

องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ จะต้องเชื่อมโยงและบูรณาการอย่างสมดุล การจัดการความรู้ของกรมการปกครอง จากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 กำหนดให้ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราขการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมะสมต่อสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน ขอบเขต KM ที่ได้มีการพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความสำคัญเร่งด่วนในขณะนี้ คือ การจัดการองค์ความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ และได้กำหนดเป้าหมฟาย (Desired State) ของ KM ที่จะดำเนินการในปี 2549 คือมุ่งเน้นให้อำเภอ/กิ่งอำเภอ เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในพื้นที่ที่เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมีหน่วยที่วัดผลได้เป็นรูปธรรม คือ อำเภอ/กิ่งอำเภอ มีข้อมูลผลสำเร็จ การแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในศูนย์ปฏิบัติการฯ ไม่น้อยกว่าศูนย์ละ 1 เรื่อง และเพื่อให้เป้าหมายบรรลุผล ได้จัดให้มีกิจกรรมกระบวนการจัดการความรู้ (KM Process) และกิจกรรมกระบวนการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process) ควบคู่กันไป โดยมีความคาดหวังว่าแผนการจัดการความรู้นี้จะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญสู่การปฏิบัติราชการในขอบเขต KM และเป้าหมาย KM ในเรื่องอื่น ๆ และนำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน

Re-engineering

การรื้อปรับระบบเป็นแนวคิดจากญี่ปุ่น ที่ได้รับการพัฒนาโดยชาวตะวันตก ทำนองเดียวกับการควบคุมคุณภาพ หรือ Q.C.C.(Quality Control Circle) ที่พัฒนามาเป็นการ บริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร T.Q.M. (Total Quality Management) และมีนักวิชาการชาวตะวันตกหลายท่านที่กล่าวอ้างว่าตนเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดและแนวทางปฏิบัติในการทำรีเอ็นจิเนียริ่งหรือการรื้อปรับระบบ อย่างไรก็ตาม คงต้องยอมรับว่า แฮมเมอร์ และ แชมปี้ เป็นผู้เผยแพร่แนวคิด หลักการ และแนวทางปฏิบัติในการรื้อปรับระบบกระบวนการทางธุรกิจ ผ่านหนังสือ Reengineering the Corporation จนเป็นที่ยอมรับและกล่าวขานถึงอย่างกว้างขวาง นับแต่ปี 1993 เป็นต้นมา

การรีเอ็นจิเนียริ่ง เริ่มจากการตระหนักรู้และยอมรับอิทธิพลหรือผลกระทบของสภาพแวดล้อมหรือระบบนิเวศที่มีต่อธุรกิจหรือองค์การ โดยเฉพาะปัจจัยสภาพแวดล้อมเกี่ยวกับลูกค้า การแข่งขัน และลักษณะของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งแตกต่างไปจากลักษณะของสภาพแวดล้อมในช่วงเวลาก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะการตระหนักรู้ ยอมรับ และเป็นผู้ริเริ่มที่จะทำการรีเอ็นจิเนียริ่งของผู้บริหารระดับสูงของธุรกิจหรือองค์การ ทำนองเดียวกับนักวิชาการด้านพัฒนาองค์การ (Organization Development) ลักษณะสำคัญหรือจุดเน้นของการรื้อปรับระบบหรือการทำรีเอ็นจิเนียริ่งอยู่ที่ การมุ่งปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินงาน การทำความเข้าใจและปรับเปลี่ยนที่แนวคิดพื้นฐาน สมมุติฐาน หรือหลักเกณฑ์เดิม การเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน และการมุ่งสู่ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่หรือผลลัพธ์อันใหญ่หลวง ในทางปฏิบัติ มีธุรกิจและองค์การหลายแห่งต่างกล่าวอ้างว่าหน่วยงานของตนได้นำการรื้อปรับระบบมาประยุกต์ใช้ในหน่วยงานของตนด้วย เช่น ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย กรมการศึกษานอกโรงเรียน ฯลฯ ปัจจุบัน การรีเอ็นจิเนียริ่งกลับคงเหลือเพียงแนวคิด หลักการและหนังสือพ็อคเก็ตบุ๊คบางเล่มที่มีการแปล การเรียบเรียง หรือเขียนขึ้นเมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมาเท่านั้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวอาจมีสาเหตุจากความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องของการรีเอ็นจิเนียริ่ง ภาวะผู้นำ โดยเฉพาะความมุ่งมั่นตั้งใจของผู้บริหารระดับสูง และการให้ความยอมรับกับการรื้อปรับหรือการปรับเปลี่ยนนับแต่แนวคิดพื้นฐานหรือสมมุติฐานของกระบวนการเดิม ซึ่งเท่ากับความพยายามเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์การในสังคมไทย รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงสำหรับการรื้อปรับระบบ และความกล้าหาญในการบุกเบิก ลงมือปฏิบัติ และเรียนรู้ในระหว่างการดำเนินงานรื้อปรับระบบ มากกว่าที่จะคาดการณ์และวางแผนไว้ล่วงหน้าอย่างแน่นอน ชัดเจน ซึ่งเป็นที่ยอมรับได้น้อยมาก โดยเฉพาะในกรณีขององค์การภาครัฐที่ไม่อยู่ในฐานะที่จะลงมือทดลองหรือปฏิบัติ เนื่องจากระบบการบริหารภาครัฐเรียกร้องถูกกำหนดให้ต้องการความละเอียดรอบคอบ และชัดเจนในการดำเนินงาน เพื่อรองรับระบบการควบคุม ตรวจสอบ ความโปร่งใส และความเป็นธรรมอย่างค่อนข้างเข้มงวด

จุดเด่นที่สำคัญและน่าสนใจของการรื้อปรับระบบหรือการทำรีเอ็นจิเนียริ่งสำหรับนักรัฐประศาสนศาสตร์ คือ การให้ความสนใจและตระหนักรู้ถึงสภาพแวดล้อมหรือระบบนิเวศที่มีอิทธิพลหรือผลกระทบต่อธุรกิจหรือองค์การ โดยเฉพาะลักษณะของความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วรุนแรง และกว้างขวางในปัจจุบัน ความสำคัญของภาวะผู้นำ การเสริมสร้างและพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์การ โดยเฉพาะความกล้าหาญในการริเริ่ม เปลี่ยนแปลง ความมุ่งมั่นตั้งใจ และความแน่วแน่ในการปรับปรุงการบริหารหรือการพัฒนาองค์การ ตอบสนองความเรียกร้องต้องการของลูกค้าหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder) ทั้งภายนอกและภายในองค์การ เพื่อให้องค์การสามารถธำรงอยู่และเจริญก้าวหน้า สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมหรือระบบนิเวศขององค์การในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างทันเหตุการณ์และมีประสิทธิภาพ

Benchmarking

Benchmarking เป็นกระบวนการวัดและเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ บริการ และวิธีปฏิบัติ กับองค์กรที่สามารถทำได้ดีกว่า เพื่อนำผลของการเปรียบเทียบมาใช้ในการปรับปรุงองค์กรของตนเองเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งจากความหมายนี้ สรุปได้ว่าการทำ Benchmarking ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่

1. การเปรียบเทียบวัด (Benchmark) ซึ่งในส่วนนี้ต้องมีการกำหนดตัววัด หรือที่เรียกว่า Key Performance Indicator (KPIs) ว่าจะเปรียบเทียบกับใคร ในเรื่องใด

2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการปฏิบัติที่ดี/เป็นเลิศ (Best Practices) จากผู้ที่ทำได้ดีกว่า โดยเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นหลังจากการเปรียบเทียบวัดให้รู้ถึงผู้ที่ทำได้ดีกว่า และเข้าไปเรียนรู้วิธีการปฏิบัติซึ่งทำให้ประสบความสำเร็จหรือมีค่า Benchmark สูง เพื่อนำมาใช้ปรับปรุงองค์กรของตนเองตัววัดเป็นข้อมูลที่เรียกว่า “Benchmark” และค่าของตัววัดนั้น ๆ เรียกค่า Benchmark

Activity-Based Management

Activity-Based Management คือ เครื่องมือที่ใช้ในการตัดสินใจในการปฏิบัติการ บนสารสนเทศกิจกรรมและประเมินมูลค่าเพิ่มของเนื้องานในกระบวนการธุรกิจ ABM ใช้วิเคราะห์คุณลักษณะ วิเคราะห์กลยุทธ์ เทียบเคียงวิเคราะห์การปฏิบัติการ วิเคราะห์ความสามารถทำกำไร วิเคราะห์กิจกรรม และใช้ปรับปรุงกระบวนการ

วัตถุประสงค์หลักของ Activity-Based Management

1.การขจัดความสูญเปล่า

2.สร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่มุ่งการปรับปรุงกระบวนการธุรกิจและเกิดผลิตผลดี (Yield) มากขึ้น

3.ค้นหาสาเหตุหลักของปัญหาและทำการแก้ไข

4.ขจัดความบิดเบือนที่เกิดจากการตั้งสมมติฐานที่ผิดพลาดและการจัดสรรต้นทุนที่ไม่เหมาะสม

ประโยชน์จากการใช้ ABM

1.จะช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจถึงการปฏิบัติงานตามกิจกรรมต่างๆ ได้ดี

2.ทำให้สามารถใช้ต้นทุนในการวางแผนพัฒนากิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

3.ทำให้สามารถรู้เป้าหมายหลักในการสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าด้วยต้นทุนที่ลดลง

4.สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าทั้งด้านราคา และคุณภาพของสินค้า

5.ช่วยด้านระบบต้นทุนกิจกรรมมิได้มุ่งเน้นที่จะลดต้นทุนอย่างเดียว แต่จะมีการปรับปรุง และทบทวนกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศของธุรกิจ

เสาวนีย์ มีสอน เลขที่ 26 กจ. 2/1

สรุปเครื่องมือการจัดการ

1. Balanced Scorecard (BSC)

หลักการ Balanced Scorecard (BSC)

Balanced Scorecard “เป็นเครื่องมือทางด้านการจัดการที่ช่วยในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ (Strategic Implementation) โดยอาศัยการวัดหรือประเมิน (Measurement) ที่จะช่วยทำให้องค์กรเกิดความสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และมุ่งเน้นในสิ่งที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร (Alignment and focused) ”

ประโยชน์

1.ช่วยให้ผลการดำเนินงานขององค์กรดีขึ้น

2.ทำให้ทั้งองค์กรมุ่งเน้น และ ให้ความสำคัญต่อกลยุทธ์ขององค์กร

3.ช่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และ วัฒนธรรมขององค์กร

4.ทำให้พนักงานเกิดการรับรู้และเข้าใจว่างานแต่ละอย่างมีที่มาที่ไป

.......................................................................

2. Key Performance Indicator

หลักการ การวัดหรือการประเมิน ในรูปข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อสะท้อนประสิทธิภาพประสิทธิผลในการปฏิบัติงานขององค์กรหรือหน่วยงานภายในองค์กร

Key Performance Indicator (KPI) คือ เครื่องมือที่ใช้วัดผลการดำเนินงานหรือประเมินผลการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ขององค์กร

ประโยชน์ สามารถยักย้ายถ่ายเทวิธีการต่าง ๆ ได้ ตลอดเวลา เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมาย

.....................................................................

3. Six Sigma

หลักการ เป็นกระบวนการเพื่อลดความผิดพลาด (Defect) ที่เกิดขึ้นในกระบวนการต่างๆโดยมุ่งเน้นให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุดและมีความสูญเสียได้ไม่เกิน 3.4 หน่วยในล้านหน่วย

Six Sigmaหมายถึงระดับคุณภาพของกระบวนการผลิตที่ยอมให้มีของเสียในระบบได้เพียง 3.4 ชิ้นต่อการผลิตสินค้าล้านชิ้น และนอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือช่วยธุรกิจ ให้สามารถแก้ปัญหาคุณภาพของระบบของการปฏิบัติการ

ประโยชน์ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ บริหารจัดการและพัฒนาองค์กร โดยใช้ข้อมูลจริง ใช้หลักทางสถิติ สร้างทีมงานในองค์กรให้แข็งแกร่ง เพิ่มผลประกอบการด้านการเงินจากโครงการประหยัดต้นทุน พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพสูงขึ้น ผู้บริหารระดับสูงต้องแสดงวิสัยทัศน์และความเป็นผู้นำ องค์กรต้องมีความพร้อม มีนโยบายคุณภาพที่เน้นการปรับปรุงองค์กรให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า

……………………………………………………………………………………………

4. Knowledge Management

หลักการ เพื่อพัฒนางานให้มีคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาคน เพื่อพัฒนา “ฐานความรู้”ขององค์กรหรือหน่วยงานเป็นการเพิ่มพูนทุนความรู้หรือทุนปัญญาขององค์กร

Knowledge Management หมายถึง การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในทุกส่วนในองค์กรซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้ง ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด

ประโยชน์ ปรับปรุงประสิทธิภาพ และเพิ่มผลผลิต สร้างนวัตกรรมและการเรียนรู้ เพิ่มคุณภาพและลดรอบเวลาในการให้บริการลดค่าใช้จ่ายให้ความสำคัญกับความรู้ของพนักงานและให้ค่าตอบแทนและรางวัลที่เหมาะสม

.......................................................................................................................................

5. Activity Based Management

หลักการ สามารถจัดสรรค่าใช้จ่ายไปยังกิจกรรมอย่างแม่นยำ และทรัพยากรที่ถูกจัดสรรในองค์กรมีความสอดคล้องกับโครงสร้างระบบบัญชีแยกประเภทขององค์กร

Activity Based Management หมายถึง การบริหารโดยข่าวสารต้นทุนกิจกรรม แบบจำลองจะเริ่มจากการใช้สารสนเทศการไหลของต้นทุน ที่ศึกษาข้อมูลจากบัญชีแยกประเภท เพื่อ

ประโยชน์ การวิเคราะห์คุณลักษณะ วิเคราะห์กลยุทธ์ การเทียบเคียง วิเคราะห์การปฏิบัติการ วิเคราะห์ความสามารถทำกำไร ปรับปรุงกระบวนการ

…………………………………………………………………………………………

6. Reengineering

หลักการ การมุ่งปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินงาน การทำความเข้าใจและปรับเปลี่ยนที่แนวคิดพื้นฐาน สมมุติฐาน หรือหลักเกณฑ์เดิม การเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน และการมุ่งสู่ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลง

Reengineering คือการออกแบบกระบวนการทางธุรกิจใหม่แล้วนำกระบวนการใหม่ไปปฏิบัติให้เกิดผล

ประโยชน์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ โดยมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การลดต้นทุนการดำเนินงานของธุรกิจนั้น

……………………………………………………………………………………………

7. BENCHMARKING

หลักการ BENCHMARKING เป็นเครื่องมือ/ กลไกในการพัฒนา และนำไปสู่การจัดการบริหารองค์กร หรือ หน่วยงานหรือกระบวนงาน เพื่อวัด-เปรียบเทียบสมรรถนะของตนกับผู้เก่งกว่าหรือเก่งที่สุด และเรียนรู้วิธีการเพื่อก้าวสู่ความเป็นที่สุด หรือเหนือกว่าในด้านนั้นๆ

BENCHMARKING เป็นกระบวนการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงขององค์กร พิจารณาว่า มีสภาพใดบ้างที่จะสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิม และทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับองค์กรอื่น

ประโยชน์ การปรับปรุงองค์กรทำให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากขึ้น สามารถเปรียบเทียบกับองค์กรอื่นได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เกิดความก้าวหน้าอย่างเป็นระบบ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาให้ทัดเทียม กับองค์กร หรือประเทศที่อยู่ในแนวหน้าของเวทีโลกได้ และรักษาให้ทัดเทียมได้อย่างยั่งยืน

นางสาวปนัดดา ชิญญะรุ่งเรือง กจ. 2/1 เลขที่ 10

เครื่องมือทางการบริหารจัดการ

(สรุปความรู้ที่ได้)

1. Six Sigma เป็นกระบวนการทางธุรกิจที่ให้องค์กรต่างๆ ปรับปรุงขีดความสามารถอย่างมหาศาล โดยการออกแบบและตรวจสอบกิจกรรมทางธุรกิจประจำวัน เพื่อลดสิ่งสูญเปล่าและลดการใช้ทรัพยากร แต่ขณะเดียวกันก็เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า เป็นแนวทางชี้แนะให้องค์กรทำให้เกิดข้อ ผิดพลาดน้อยที่สุด ตั้งแต่การจัดข้อมูลคำสั่งซื้อสินค้า ไปจนถึง การผลิตโดยการลดช่องโหว่ของคุณภาพตั้งแต่ที่ปรากฏขึ้นครั้งแรก Six Sigma ไม่เพียงตรวจจับหรือแก้ไขจุดบกพร่อง แต่ยังนำเสนอวิธีการที่เฉพาะเจาะจงสำหรับการสร้างกระบวนการทำงานใหม่ ให้ไม่มีจุดผิดพลาดเกิดขึ้นตั้งแต่ต้น

การนำวิธีการ ”Six Sigma” มีความแตกต่างจากแนวคิดในการบริหารแบบเดิมๆ ที่เน้นปรับปรุงการทำงานโดยเริ่มจากผู้บริหารแล้วจึงกระจายให้หน่วยต่างๆ ในองค์กรปรับปรุง การพัฒนาแบบ ”Six Sigma” จะมุ่งเน้นความเป็นเลิศที่มีส่วนร่วมของพนักงานที่มีความสามารถ และมีความตั้งใจที่จะปรับปรุงอย่างจริงจัง เพื่อให้การปรับปรุงเป็นไปอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน

1. การกำหนดเป้าหมายการปรับปรุงกระบวนการทำงานที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าและยุทธศาสตร์ขององค์กร

2. การวัดประเด็นหลักๆ ของกระบวนการทำงานในปัจจุบัน ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความเสียหาย และสาเหตุที่เป็นไปได้ นำข้อมูลเหล่านั้นมาจัดวางตามช่วงระยะเวลาเพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุหลักที่แท้จริง และจัดชั้นความถี่ตามหลักการสถิติ

3. การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อดูถึงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งมีการแจกแจงความสัมพันธ์ว่าอยู่ในรูปแบบใด โดยต้องมั่นใจว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้ถูกนำมาพิจารณาแล้ว

4. การหาแนวทางการปรับปรุงกระบวนการทำงาน คัดเลือกแนวทางที่ให้ประโยชน์สูงสุดโดยใช้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีการใช้เทคนิคอย่างเหมาะสม กำหนดออกมาในรูปของแผนงาน ผลักดันไปสู่การปฎิบัติ วัดและประเมินผล

5. การควบคุมเพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าการเบี่ยงเบนจากเป้าหมายได้ถูกแก้ไขเรียบร้อยแล้วก่อนที่จะเกิดการสูญเสีย โดยการนำร่องจัดทำมาตรฐานของกระบวนการในระดับต่างๆ กำหนดกลไกการควบคุม และการติดตามกระบวนการเหล่านั้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจรวมไปถึงการฝึกอบรมบุคลากร การทำข้อสรุปและกระจายผลไปสู่กลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งให้ข้อแนะนำสำหรับการวางแผนในอนาคต

……………………………………………………………………………………………………….

2. Knowledge Management (KM) เป็นการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบเพื่อให้ทุกคนในองค์การสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์การมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด

องค์ประกอบ

1. คน

2. สถานที่

3. ข้อมูล

ประโยชน์ของ KM

 ปรับปรุงประสิทธิภาพ และเพิ่มผลผลิต ให้กับทุกภาคส่วนขององค์กร

 สร้างนวัตกรรมและการเรียนรู้รวมถึงการส่งเสริมให้แสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนความรู้ได้อย่างเต็มที่

 เพิ่มคุณภาพและลดรอบเวลาในการให้บริการ

 ลดค่าใช้จ่าย โดยกำจัดกระบวนการที่ไม่สร้างคุณค่าให้กับงาน

 ให้ความสำคัญกับความรู้ของพนักงานและให้ค่าตอบแทนและรางวัลที่เหมาะสม

เหตุผลการนำเอา KM มาใช้

- การเปลี่ยนแปลงเทคนิคการบริหาร

- การเปลี่ยนแปลงด้านราคา

- ลดความผิดพลาดในการแข่งขันด้านการตลาด

- สร้างวิธีปฏิบัติที่ดี

- การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ

ปัญหา

1. การถ่ายทอดความรู้ระหว่างบุคคลกับองค์การ

2. การจัดเก็บความรู้ขององค์กร

3. การสร้างความรู้ใหม่

4. การไม่นำความรู้ภายนอกมาปรับ

5. ความรู้ในองค์การ

6. ไม่นำความรู้ขององค์กรมาสร้างความสามารถในการแข่งขัน

………………………………………………………………………………………………………3. Activity Based Management เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตัดสินใจในการปฏิบัติงาน สารสนเทศกิจกรรมและประเมินมูลค่า

แนวทางการใช้

- วิเคราะห์คุณลักษณะ - วิเคราะห์ความสามารถทำกิจกรรม

- วิเคราะห์กลยุทธ์ - การปรับปรุงกระบวนการ

- การเทียบเคียง

- วิเคราะห์การปฏิบัติการ

- วิเคราะห์กิจกรรม

วัตถุประสงค์

- ขจัดความสูญเปล่า

- สร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผล

- ค้นหาสาเหตุ

หัวใจหลัก

การวิเคราะห์กิจกรรม มีอยู่ 2 อย่างคือ

1. กิจกรรมที่เพิ่มคุณภาพ

2. กิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณภาพ

.............................................................................................................................................................

4. Benchmarking ใช้สำรวจทางธรณีวิทยาใช้ในการวัดระระโดยเปรียบเทียบกับจุดอ้างอิง

ความหมาย กระบวนการวัดและเปรียบเทียบองค์กรที่สามารถทำดีและนำผลการเปรียบเทียบมาใช้ในการปรับปรุงองค์กรของตนเพื่อช่วยพัฒนาศักยภาพของธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง

ขั้นตอนในการจัดทำ

1. การกำหนดหัวข้อที่จะทำ Benchmarking

2. การสร้างทีมงาน

3. ระบุผู้ร่วมทะ

4. เก็บรวบรวมข้อมูล / วิเคราะห์

5. การปฏิบัติ

ข้อควรระวัง

- อย่างเน้นเพียงแค่การเปรียบเทียบ

- อย่าลืมที่จะเตรียมความพร้อมด้านข้อมูล

- อย่าลอกเลียนแบบการ Benchmarking ของคนอื่น

- อย่าละเลยการเตรียมความพร้อมขององค์กร

ประโยชน์ ข้อดี

- ให้ธุรกิจรู้จักตนเอง - เพื่อความยั่งยืนขององค์กร

- แนวทางในการพัฒนาตนเอง - เพื่อปรับปรุงอย่างก้าวกระโดด

- เป็นการสั่งสมความรู้ - เพื่อสนับหนุนรางวัลแห่งชาติ

- แสดงความสามารถ

5. Reengineering เป็นการพิจารณาหลักการพื้นฐานของกระบวนการทางธุรกิจ และการออกแบบขึ้นใหม่อย่างถอนรากถอนโคน เพื่อมุ่งบรรลุผลลัพธ์ของการปรับปรุงอันยิ่งใหญ่ โดยใช้มาตรวัดผลการปฏิบัติงานที่ทันสมัย และที่สำคัญได้แก่ ต้นทุน คุณภาพ การบริการ และความรวดเร็ว กิจกรรมหรือเทคนิคที่เน้นการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีใหม่ ๆ และการมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล

การรื้อปรับระบบในองค์กร (Business Process Reengineering)

แนวคิดนี้ได้พัฒนาขึ้นโดย แฮมเมอร์ โดยเน้นประเด็นสำคัญ ดังนี้ "การออกแบบกระบวนการทำงาน และกระบวนการทำธุรกิจขององค์กรหนึ่งๆ เพื่อปรับปรุงดัชนีที่ใช้วัดผลงาน ที่สำคัญในโลกธุรกิจปัจจุบัน ซึ่งได้แก่ ต้นทุน คุณภาพ บริการ และความเร็ว โดยที่การปฏิรูปกระบวนการทำงานขององค์กรนี้ จะก่อให้เกิดผลพวงติดตามมาคือ การปฏิรูปองค์กร การปฏิรูปการบริหารบุคล การปฏิรูปจิตสำนึกของพนักงานในองค์กรในที่สุด" การรื้อปรับระบบจึงสนับสนุนแนวทางการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยงานในองค์กรมากยิ่งขึ้น

จุดเด่น 3 ประการของการรื้อปรับระบบในองค์กร

1. การคิดและดำเนินการจะเริ่มจากการสร้างความพึงพอใจของลูกค้า โดยเน้นเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนการทำงานภายในองค์กรเพื่อตอบสนองความพึงพอใจให้กับลูกค้า ในเรื่องการบริการที่ดี

2. เพื่อให้ได้วิถีการทำงานใหม่ จึงมีวิธีการจัดตั้งวิธีการทำงานใหม่ ด้วยการออกแบบกระบวนการทำงานใหม่ ในกรณีนี้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสำนักงานอัตโนมัติเข้าไปมีส่วนอย่างมากต่อวิถีการทำงานแบบใหม่นี้

3. เมื่อเน้นการรื้อปรับระบบและการเปลี่ยนแปลงแล้ว จะต้องให้ได้ผลในเรื่องการลดต้นทุนลง โดยใช้วิธีการย่นเวลาที่ทำงานให้เสร็จสิ้นเร็วขึ้น โดยให้ลูกค้าพึงพอใจและใช้เวลาเป็นอาวุธในการสร้างความแตกต่างเหนือกว่าคู่แข่งขัน

หัวใจสำคัญของการ Re-engineering อยู่ที่กระบวนการ

ลักษณะสำคัญหรือจุดเน้นของการรื้อปรับระบบ หรือ การทำรีเอ็นจิเนียริ่งอยู่ที่ การมุ่งปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินงาน การทำความเข้าใจและปรับเปลี่ยนที่แนวคิดพื้นฐาน สมมุติฐาน หรือหลักเกณฑ์เดิม การเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน และการมุ่งสู่ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่หรือผลลัพธ์อันใหญ่หลวง

องค์ประกอบ ของ การรื้อปรับระบบ มี 6 ข้อ ดังนี้

-จัดโครงสร้าง ให้เป็น At come เหมาะแก่ประสิทธิภาพ และ Output เหมาะแก่ประสิทธิผล

-มีการกำหนดหน่วยงาน

-หน่วยงานแต่ละหน่วยงาน ต้องมีการเก็บข้อมูล

-เสมือนกระจุกตัว ถามไรรู้หมด

-มีการเชื่อมโยงกระบวนการต่างๆไปพร้อมกัน

-มีลักษณะ Online

……………………………………………………………………………………………………….

6. Balanced Scorecard ระบบหรือกระบวนในการบริหารงานชนิดหนึ่งที่อาศัยการกำหนดตัวชี้วัด (KPI) เป็นกลไกสำคัญ Balanced Scroecard ประกอบด้วยมุมมอง (Perspcetives) 4 ด้าน คือ มุมมองด้านการเงิน (Financial Perspective) มุมมองด้านลูกค้า (Customer Perspective) มุมมองด้านกระบวนการภายใน (Internal Process Perspective) และมุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and Growth Perspective) มุมมองทุกด้านจะมีวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ขององค์กรเป็นศูนย์กลาง ในแต่ละด้านประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ

1. วัตถุประสงค์ (Objective) คือสิ่งที่องค์กรมุ่งหวังหรือต้องการที่จะบรรลุในแต่ละด้าน

2. ตัวชี้วัด (Measures หรือ Key Performance Indicators) คือ ตัวชี้วัดของวัตถุประสงค์ในแต่ละด้าน และตัวชี้วัดเหล่านี้จะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดว่าองค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ในแต่ละด้านหรือไม่

3. เป้าหมาย (Target) คือ เป้าหมายหรือตัวเลขที่องค์กรต้องการจะบรรลุในตัวชี้วัดแต่ละประการ

4. แผนงาน โครงการ หรือ กิจกรรม (Initiatives) ที่องค์กรจะจัดทำเพื่อบรรลุเป้าหมายที่กำหนดขึ้น โดยในขั้นนี้ยังไม่ใช่แผนปฏิบัติการที่จะทำ แต่เป็นเพียงแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม เบื้องต้นที่ต้องทำเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ

ประโยชน์ที่ได้จากการนำ Balanced Scroecard ไปใช้

1. ช่วยให้ผลการดำเนินงานขององค์กรดีขึ้น

2. ทำให้ทั้งองค์กรมุ่งเน้น และ ให้ความสำคัญต่อกลยุทธ์ขององค์กร โดยต้องให้เจ้าหน้าที่ทั่วทั้งองค์กรให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ขององค์กรมากขึ้น และเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ

3. ช่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และ วัฒนธรรมขององค์กรโดยอาศัยการกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายเป็นเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่

4. ทำให้พนักงานเกิดการรับรู้และเข้าใจว่างานแต่ละอย่างมีที่มาที่ไปอีกทั้งผลของงาน

ตนเองจะส่งผลต่อผลการดำเนินงานของผู้อื่นและขององค์กรอย่างไร

ปิยะดา กันทา เลขที่ 12 กจ.2/1

สรุป 

Key Performance Indicator (KPI) คือ เครื่องมือที่ใช้วัดผลการดำเนินงานหรือประเมินผลการดำเนินงานในด้านต่างๆ ขององค์กร ซึ่งสามารถแสดงผลของการวัดหรือการประเมินในรูปข้อมูลเชิงประมาณเพื่อสะท้อนประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานขององค์กรหรือหน่วยงานภายในองค์กร

 

Balanced Scorecard (BSC) คือระบบการบริหารงานและประเมินผลทั่วทั้งองค์กร และไม่ใช่เฉพาะเป็นระบบการวัดผลเพียงอย่างเดียว แต่จะเป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ (vision) และแผนกลยุทธ์ (strategic plan) แล้วแปลผลลงไปสู่ทุกจุดขององค์กรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของแต่ละฝ่ายงานและแต่ละคน โดยระบบของ Balanced Scorecard จะเป็นการจัดหาแนวทางแก้ไขและปรับปรุงการดำเนินงาน โดยพิจารณาจากผลที่เกิดขึ้นของกระบวนการทำงานภายในองค์กร

 

Six Sigma เป็นกระบวนการทางธุรกิจที่ให้องค์กรต่างๆ ปรับปรุงขีดความสามารถอย่างมหาศาล โดยการออกแบบและตรวจสอบกิจกรรมทางธุรกิจประจำวัน เพื่อลดสิ่งสูญเปล่าและลดการใช้ทรัพยากร แต่ขณะเดียวกันก็เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า

ประโยชน์ในการนำ Six Sigma มาใช้ในองค์การ
1. สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างกลยุทธ์ใหม่ให้ธุรกิจ
2. สามารถลดความสูญเสียโอกาสอย่างมีระบบและรวดเร็วโดยการนำกระบวนการทางสถิติมาใช้
3. พัฒนาบุคลากรในองค์การให้มีศักยภาพสูงขึ้นตอบสนองต่อกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็ว และปรับองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
4. ช่วยหารระดับคุณภาพของอุตสาหกรรม โดยสามารถเทียบข้ากลุ่มอุตสาหกรรมได้ (Benchmarking)

 

Re – Engineering   หมายถึง การพัฒนาความคิดทั่วทั้งองค์กรและการปรับปรุงโครงสร้างหรือการบริหารงานแบบถอนรากถอนโครนหรือทั้งระบบ

หัวใจสำคัญของการ Re – Engineering อยู่ที่กระบวนการต่าง ๆ ในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างต่าง ๆ

ประโยชน์ของการนำเอา Re – Engineering ไปใช้ในองค์กร

1.พนักงานสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่

2.ผลผลิตของพนักงานเพิ่มมากขึ้นทำให้ผลกำไรเพิ่มขึ้น

3.พัฒนาศักยภาพของพนักงานให้สูงขึ้น

Knowledge Management (KM) หมายถึง ระบบบริหารจัดการความรู้ให้เป็นระเบียบครบถ้วน ง่ายต่อการเรียกใช้ จัดเก็บตามความต้องการ เก็บรักษาความรู้ให้ควบคู่กับองค์กรตลอดไปโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดการ

ประโยชน์ของการนำเอา Knowledge Management (KM) มาใช้ในองค์กร

1.เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร

2.ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา

3.ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจและวางแผนดำเนินงานให้รวดเร็ว

4.เมื่อพบข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติจากการปฏิบัติงานก็สามารถหาวิธีแก้ไขได้ทัน

5.เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความอยู่รอด

 

Activity Based Management (ABM) การใช้การตัดสินใจในการปฏิบัติงานบนสารสนเทศกิจกรรมและประเมินมูลค่าเพิ่มของเนื้องานในกระการธุรกิจ

ประโยชน์ที่ได้รับ

ABM จะทําให้องค์กรมีความเข้าใจอย่างแท้จริงถึงส่วนที่ทําให้ธุรกิจสูญเสียเม็ดเงินไป ทั้งทางด้านของผลิตภัณฑ์ และด้านลูกค้า ด้วยองค์ความรู้นี้ จะทำให้องค์กรสามารถตอบสนองธุรกิจได้อย่างชาญฉลาด รวมถึงการสร้างสรรค์สัดส่วนของผลิตภัณฑ์และการบริการที่ต้องการนําเสนอ การตั้งราคา และเลือกเป้าหมายกลุ่มลูกค้าได้อย่างถูกต้อง 

 

Benchmarking หมายถึง การวัดและเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์และบริการ หรือวิธีการปฏิบัติกับองค์กรที่ดีกว่าทำให้ผลิตภัณฑ์ขององค์กรนั้นดีที่สุดหรือดีเป็นเลิศ

ประโยชน์ของการนำเอา Benchmarking ไปใช้ในองค์กร

1.เป็นการสั่งสมความรู้ ในการแก้ไขปัญหาขององค์กร

2.ทำให้ธุรกิจรู้จักตนเอง

นางสาวนภาพร วงค์สถาน เลขที่ 8 กจ.2/1

สรุปเครื่องมือ

1.  Balanced Scorecard คือระบบการบริหารงานและประเมินผลทั่วทั้งองค์กร และไม่ใช่เฉพาะเป็นระบบการวัดผลเพียงอย่างเดียว แต่จะเป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ (vision) และแผนกลยุทธ์ (strategic plan) แล้วแปลผลลงไปสู่ทุกจุดขององค์กรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของแต่ละฝ่ายงานและแต่ละคน โดยระบบของ Balanced Scorecard จะเป็นการจัดหาแนวทางแก้ไขและปรับปรุงการดำเนินงาน

ประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับจากการใช้ Balanced Scorecard

·       ช่วยให้มองเห็นวิสัยทัศน์ขององค์กรได้ชัดเจน

·       ได้รับการความเห็นชอบและยอมรับจากผู้บริหารทุกระดับ ทำให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติงานได้สอดคล้องกันตามแผน

·       ใช้เป็นกรอบในการกำหนดแนวทางการทำงานทั่วทั้งองค์กร

·       ช่วยให้มีการจัดแบ่งงบประมาณและทรัพยากรต่าง ๆ สำหรับแต่ละกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม

·       เป็นการรวมแผนกลยุทธ์ของทุกหน่วยงานเข้ามาไว้ด้วยกัน ด้วยแผนธุรกิจขององค์กร ทำให้แผนกลยุทธ์ทั้งหมดมีความสอดคล้องกัน

·       สามารถวัดผลได้ทั้งลักษณะเป็นทีมและตัวบุคคล

 

 

2.  Six Sigma คือ เป็นกระบวนการทางธุรกิจที่ให้องค์กรต่างๆ ปรับปรุงขีดความสามารถอย่างมหาศาล โดยการออกแบบและตรวจสอบกิจกรรมทางธุรกิจประจำวัน เพื่อลดสิ่งสูญเปล่าและลดการใช้ทรัพยากร แต่ขณะเดียวกันก็เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า

Six Sigma ในองค์กร โดยมีขั้นตอนการคัดเลือกโครงการ ดังนี้ 
ขั้นตอนที่ 1 โครงการนั้นต้องสอดคล้องกับเป้าหมายหลักขององค์กร (Business Goal) 
ขั้นตอนที่ 2 มอบหมายให้ฝ่ายต่างๆ ที่เสนอโครงการไปพิจารณาหากลยุทธ์ (Strategy) ในการดำเนินงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายหลักขององค์กร (ตามขั้นตอนที่ 1) 
ขั้นตอนที่ 3 แต่ละฝ่ายนำเสนอกลยุทธ์ในการดำเนินการให้ผู้บริหารทราบ และเมื่อผู้บริหารเห็นชอบแล้ว ให้กลับไปกำหนดพื้นที่ที่จะดำเนินงาน (High Potential Area) 
ขั้นตอนที่ 4 ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย หลังจากกำหนดพื้นที่ที่จะดำเนินการได้แล้ว ให้แต่ละฝ่ายกลับไปพิจารณาหัวข้อย่อยที่จะใช้ในการดำเนินการ 

 

3.  Knowledge Management คือ การจัดการความรู้ หมายถึง ความสามารถในการจัดการความรู้ ประกอบด้วย การสร้างความรู้ การประมวล การแลกเปลี่ยนและสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้และการสร้างนวัตกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นในหน่วยงาน

                ประโยชน์ของการจัดการความรู้

1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร 

2. ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา ในกรณีที่บุคคลากรเกษียณอายุ ลาออก หรือเสียชีวิต 

3. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความอยู่รอด

             4. เป็นการลงทุนในต้นทุนมนุษย์

             5. ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจและวางแผนดำเนินงานให้รวดเร็ว และดีขึ้น

             6. ผู้บังคับบัญชาสามารถทำงานเชื่อมโยงกับผู้ใต้บังคับบัญชาให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น

7. เมื่อพบข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน ก็สามารถหาวิธีแก้ไขได้ทันท่วงที 

              8. แปรรูปความรู้ให้เป็นทุน เพื่อเพิ่มคุณค่า และรายได้ให้กับองค์กร 

9. เพื่อการสร้างสรรค์ และบรรลุเป้าหมายของจินตนาการที่ยิ่งใหญ่

             10. เปลี่ยนวัฒนธรรม จาก วัฒนธรรมอำนาจในแนวดิ่ง

 

4.  Activity Based Management คือ เครื่องมือที่ใช้ในการตัดสินใจในการปฏิบัติการ บนสารสนเทศกิจกรรมและประเมินมูลค่าเพิ่มของเนื้องานในกระบวนการธุรกิจ ABM ใช้วิเคราะห์คุณลักษณะ วิเคราะห์กลยุทธ์ เทียบเคียงวิเคราะห์การปฏิบัติการ วิเคราะห์ความสามารถทำกำไร วิเคราะห์กิจกรรม และใช้ปรับปรุงกระบวนการ

แนวทางการใช้ประโยชน์ ABM 

1. จะช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจถึงการปฏิบัติงานตามกิจกรรมต่างๆ ได้ดี
2. ทำให้สามารถใช้ต้นทุนในการวางแผนพัฒนา กำหนดกลยุทธ์ของกิจการ และพัฒนากิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
3. ทำให้สามารถรู้เป้าหมายหลักในการสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าด้วยต้นทุนที่ลดลง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์ ในด้านต่าง ๆ ได้
4. สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าทั้งด้านราคา และคุณภาพของสินค้า
5. ช่วยด้านระบบต้นทุนกิจกรรมมิได้มุ่งเน้นที่จะลดต้นทุนอย่างเดียว แต่จะมีการปรับปรุง และทบทวนกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศของธุรกิจ

 

5.  Re-engineering คือ หมายถึง การรื้อและรวมทั้งปรับระบบองค์การ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาองค์การ ให้เกิดประสิทธิภาพทั้ง 4 ด้าน คือ การลดต้นทุน การเพิ่มคุณภาพของผลผลิต บริการ และความรวดเร็ว

หลักการ

1.       ต้องไม่ยึดติดกับหลักการเก่า ๆ และแนวคิดเดิม

2.       ต้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่ทั้งหมด

3.       ต้องเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่มโหฬาร

4.       ต้องเน้นกระบวนการทำงานโดยใช้บุคลากรน้อยที่สุด

5.       ต้องนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในกระบวนการทำงาน

6.       ต้องกำหนดตัวชี้วัดให้ชัดเจน

7.       ต้องจัดสายบังคับบัญชาให้สั้น แบบแนวราบ

8.       ต้องเน้นการให้ความสำคัญกับเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงาน

กระบวนการ Reengineering

-  ขั้นระดมพลัง 

-  ขั้นวิเคราะห์ 

-  ขั้นออกแบบกระบวนการธุรกิจใหม่ 

-  ขั้นนำไปใช้ 

 

6.  Benchmarking คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ และวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ

จากองค์กรอื่นภายใต้กฎกติกาสากล

โดยมีแนวคิดที่ว่า องค์กรไม่ได้เก่งทุกเรื่อง ยังมีองค์กรที่เก่งมากกว่าในบางเรื่อง การศึกษาจาก

ประสบการณ์ตรงขององค์กรอื่นแล้วนำมาประยุกต์ให้เหมาะสม จะช่วยประหยัดเวลาและลดเวลาการลองผิดลองถูก Benchmarking จึงเป็นเส้นทางลัดสู่ความเป็นเลิศอย่างก้าวกระโดด

ประโยชน์ของ Benchmarking

- ปรับปรุงผลการทำงาน

- ทำให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์

- เพิ่มอัตราการเรียนรู้ภายในองค์กร

- เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเรียนลัดเพื่อให้ก้าวทันองค์กรอื่น ๆ

นายวรพล ลีโชติจรุวงศ์ เลขที่ 31 กจ.2/1

 

สรุปเครื่องมือทางการบริหารจัดการ 

Balanced Scorecard

Balanced  Scorecard  คืออะไร

                ระบบหรือกระบวนในการบริหารงานชนิดหนึ่งที่อาศัยการกำหนดตัวชี้วัด (KPI)  เป็นกลไกสำคัญ  Kaplan และ Norton  ได้ให้นิยามล่าสุดของ Balanced  Scroecard ไว้ว่า เป็นเครื่องมือทางด้านการจัดการที่ช่วยในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ (Strategic  Implementation) โดยอาศัยการวัดหรือประเมิน (Measurement)  ที่จะช่วยทำให้องค์กรเกิดความสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  และมุ่งเน้นในสิ่งที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร

 

ประโยชน์ที่ได้จากการนำ Balanced  Scroecard  ไปใช้

 

               1.         ช่วยให้ผลการดำเนินงานขององค์กรดีขึ้น 

               2.         ทำให้ทั้งองค์กรมุ่งเน้น  และ ให้ความสำคัญต่อกลยุทธ์ขององค์กรโดยต้องให้เจ้าหน้าที่ทั่วทั้งองค์กรให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ขององค์กรมากขึ้น และเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ

                3.         ช่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และ วัฒนธรรมขององค์กรโดยอาศัยการกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายเป็นเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่

4.       ทำให้พนักงานเกิดการรับรู้และเข้าใจว่างานแต่ละอย่างมีที่มาที่ไปอีกทั้งผลของงานตนเองจะส่งผลต่อผลการดำเนินงานของผู้อื่นและขององค์กรอย่างไร 

 Balance Scorecard จะทำให้เราได้เห็นภาพขององค์กรใน 4 มุมมอง และนำไปสู่การพัฒนาเครื่องมือวัดผล โดยวิธีการรวบรวมข้อมูลและนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ มุมมองทั้ง 4 ดังกล่าว ประกอบด้วย

1.       The Learning and Growth Perspective เป็นมุมมองด้านการเรียนรู้และการเติบโต เช่น การพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงาน, ความพึงพอใจของพนักงาน, การพัฒนาระบอำนวยความสะดวกในการทำงาน เป็นต้น

2.       The Business Process Perspective เป็นมุมมองด้านกระบวนการทำงานภายในองค์กรเอง เช่น การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ, การจัดโครงสร้างองค์กรที่มีประสิทธิภาพ, การประสานงานภายในองค์กร, การจัดการด้านสายงานผลิตที่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น

3.       The Customer Perspective เป็นมุมมองด้านลูกค้า เช่น ความพึงพอของลูกค้า, ภาพลักษณ์, กระบวนการด้านการตลาด, การจัดการด้านลูกค้าสัมพันธ์ เป็นต้น

4.       The Financial Perspective เป็นมุมมองด้านการเงิน เช่น การเพิ่มรายได้, ประสิทธิภาพในการผลิตที่มีต้นทุนต่ำและมีการสูญเสียระหว่างผลิตน้อย, การหาแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำ เป็นต้น

.............................................................................................................................................................

Key Performance Indicators

                เครื่องมือที่ช่วยในการวัด ประเมิน และพัฒนากระบวนการ และผลลัพธ์ของการดำเนินการทั้งหลายภายในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดำเนินการอันเกี่ยวเนื่องและส่งผลต่อกลยุทธ์และบรรลุนโยบาย วิสัยทัศน์ขององค์กร เครื่องมือนั้นคือ ดัชนีชี้วัดสมรรถนะหลัก (Key Performance Index: KPI)

KPI สามารถวัดในลักษณะใดได้บ้าง

เกณฑ์ข้อเสนอการพิจารณาลักษณะ KPI

  • ด้านการเงิน- ไม่เกี่ยวกับการเงิน (Financial / Non-Financial)
  • ด้านระดับ/ ประเภทกิจกรรม: กิจกรรมเพื่อการพัฒนา-งานประจำ (Strategic-/ Normal - Operation)
  • ด้านหน้าที่ : ติดตาม-ผลักดัน-ตรวจสอบ (Monitoring: Lag-Drive: lead)
  • ด้านระบบ : ปัจจัยนำเข้า-กระบวนการ-ผลลัพธ์ (Input / Process / Output)
  • ด้านเกณฑ์เวลา: ระยะสั้น-ระยะยาว (Short-/ Long-Terms) หรือ ระยะเวลาที่ใช้ (Timing)
  • ด้านคุณภาพ การดำเนินการ : ประสิทธิภาพ-ประสิทธิผล-ผลิตผล (Efficiency / Effectiveness /Productivity)
  • ด้านมุมมอง: เชิงบวก-ลบ (Positive / Negative Viewpoint)
  • ด้านคุณลักษณะ: เชิงคุณภาพ-ปริมาณ (Quality / Quantity)
  • อื่นๆ

………………………………………………………………………………………………….........

Six Sigma

 

                        เป็นกระบวนการทางธุรกิจที่ให้องค์กรต่างๆ ปรับปรุงขีดความสามารถอย่างมหาศาล โดยการออกแบบและตรวจสอบกิจกรรมทางธุรกิจประจำวัน เพื่อลดสิ่งสูญเปล่าและลดการใช้ทรัพยากร แต่ขณะเดียวกันก็เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าเป็นแนวทางชี้แนะให้องค์กรทำให้เกิดข้อ ผิดพลาดน้อยที่สุด ตั้งแต่การจัดข้อมูลคำสั่งซื้อสินค้า ไปจนถึง การผลิตเครื่องยนต์เครื่องบิน โดยการลดช่องโหว่ของคุณภาพตั้งแต่ ที่ปรากฏขึ้นครั้งแรกSix Sigma ไม่เพียงตรวจจับหรือแก้ไขจุดบกพร่อง แต่ยังนำเสนอวิธีการที่เฉพาะเจาะจง สำหรับการสร้างกระบวนการทำงานใหม่ ให้ไม่มีจุดผิดพลาดเกิดขึ้นตั้งแต่ต้น

ประโยชน์ในการนำ Six Sigma มาใช้ในองค์การ
1. สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างกลยุทธ์ใหม่ให้ธุรกิจ
2. สามารถลดความสูญเสียโอกาสอย่างมีระบบและรวดเร็วโดยการนำกระบวนการทางสถิติมาใช้
3. พัฒนาบุคลากรในองค์การให้มีศักยภาพสูงขึ้นตอบสนองต่อกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็ว และปรับองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
4. ช่วยหารระดับคุณภาพของอุตสาหกรรม โดยสามารถเทียบข้ากลุ่มอุตสาหกรรมได้ (Benchmarking)

แนวทางหลักการของ Six Sigma
แนวทางในการปฏิบัติที่เป็นที่นิยมเพื่อบรรลุถึงความสามารถของกระบวนการในระดับ Six Sigma ที่เป็นที่นิยมและยอมรับกันทั่วดลกประกอบด้วย 5 ชั้นตอน ได้แก่
1. กำหนดเป้าหมาย (Define Target)
2. การวัดความสามรถของกระบวนการ (Measure)
3. การวิเคราะห์สาเหตุปัญหา (Analyze)
4. การปรับปรุงโดยเน้นที่ต้นเหตุของปัญหา (Improve)
5. การควบคุมกระบวนการที่มีผลกระทบ (Control)

………………………………………………………………………………………………….........

Knowledge Management : KM

 

KM (Knowledge Management)  การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบเพื่อให้ทุกคนในองค์การสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์การมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด

เป้าหมายของ KM

  • เพื่อพัฒนางาน ให้มีคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ยิ่งขึ้น
  • เพื่อพัฒนาคน คือ ผู้ปฏิบัติงาน
  • เพื่อพัฒนา ฐานความรู้ขององค์กรหรือหน่วยงาน เป็นการเพิ่มพูนทุนความรู้หรือทุนปัญญาขององค์กร ซึ่งจะช่วยทำให้องค์กรมีศักยภาพในการ ฟันฝ่าความยากลำบากหรือความไม่แน่นอนในอนาคตได้ดีขึ้น

ประโยชน์ของ KM

  • ปรับปรุงประสิทธิภาพ และเพิ่มผลผลิต ให้กับทุกภาคส่วนขององค์กร
  • สร้างนวัตกรรมและการเรียนรู้รวมถึงการส่งเสริมให้แสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนความรู้ได้อย่างเต็มที่
  • เพิ่มคุณภาพและลดรอบเวลาในการให้บริการ
  • ลดค่าใช้จ่าย โดยกำจัดกระบวนการที่ไม่สร้างคุณค่าให้กับงาน
  • ให้ความสำคัญกับความรู้ของพนักงานและให้ค่าตอบแทนและรางวัลที่เหมาะสม

……………………………………………………………………………………………...

Activity-Based Management (ABM)

เป็นแนวทางมุ่งการจัดการต่อกิจกรรม เพื่อการปรับปรุงมูลค่าที่ส่งมอบสู่ลูกค้าและสร้างผลกำไรให้กับผู้ส่งมอบ การดำเนิน ABM จึงรวมถึงการวิเคราะห์ตัวผลักดันต้นทุน การวิเคราะห์กิจกรรม (Activity Analysis) และการวัดผลการปฏิบัติการ (Performance Measurement) โดยที่ ABC จะถูกใช้สำหรับการตอบคำถามว่า  "What do things cost ?" ขณะที่ ABM จะแสดงในมุมมองของกระบวนการ(Process View) ซึ่งเกี่ยวข้องกับปัจจัยที่ก่อให้เกิดต้นทุน ด้วยการใช้การใช้ข้อมูล ABC และ ABM ทำให้สามารถสนับสนุนการปรับปรุงการใช้ทรัพยากร เพื่อเพิ่มมูลค่าที่ถูกสร้างสำหรับลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders)  ซึ่ง ABM จะถูกใช้สำหรับการติดตามค่าโสหุ้ยและต้นทุนทางอ้อมที่เกิดจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการ

 

แนวทางการใช้ประโยชน์ ABM

ตามที่กล่าวนำข้างต้นถึง ABM ที่เป็นการดำเนินการจัดการอย่างทั่วทั้งองค์กร โดยเริ่มจากสารสนเทศที่ถูกต้องจาก ABC องค์กรที่ดำเนินตามแนวทางของ ABM ก็ด้วยเหตุผลหลายประการ แต่ส่วนใหญ่แล้วเชื่อว่า ABM จะสนับสนุนต่อการตัดสินใจ การปรับปรุงการดำเนินงาน และการสร้างรายได้จากสินทรัพย์ที่ได้ลงทุนไว้ โดยมีเป้าหมายหลักในการสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าด้วยต้นทุนที่ลดลง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์ในด้านต่าง ๆ ดังเช่น

1. การวิเคราะห์คุณลักษณะ

2. การวิเคราะห์กลยุทธ์

3. การเทียบเคียง

4. การวิเคราะห์การปฏิบัติการ

5. การวิเคราะห์ความสามารถทำกำไร

6. การปรับปรุงกระบวนการ

…………………………………………………………………………………………………….....

Re-engineering

คือ การออกแบบกระบวนการทางธุรกิจใหม่แล้วนำกระบวนการใหม่ไปปฏิบัติให้เกิดผล เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ โดยมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การลดต้นทุนการดำเนินงานของธุรกิจนั้น

 

ขั้นตอนการรื้อปรับระบบ
1. การคิดค้นทบทวนใหม่ (Rethink)
2. การออกแบบกระบวนการทำงานใหม่(Redesign)
3. การเสริมเทคโนโลยี(Retool)
4. การฝึกอบรมบุคลากร(Retrain)


องค์ประกอบ ของ การรื้อปรับระบบ มี 6 ข้อ ดังนี้

-จัดโครงสร้าง ให้เป็น At come เหมาะแก่ประสิทธิภาพ และ Output เหมาะแก่ประสิทธิผล
-มีการกำหนดหน่วยงาน
-หน่วยงานแต่ละหน่วยงาน ต้องมีการเก็บข้อมูล
-เสมือนกระจุกตัว ถามไรรู้หมด
-มีการเชื่อมโยงกระบวนการต่างๆไปพร้อมกัน
-มีลักษณะ Online

…………………………………………………………………………………………………….....

Benchmarking

คือกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ และวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ(Best Practices) จากองค์กรอื่นภายใต้กฎกติกาสากลโดยมีแนวคิดที่ว่า องค์กรไม่ได้เก่งทุกเรื่อง ยังมีองค์กรที่เก่งมากกว่าในบางเรื่อง การศึกษาจากประสบการณ์ตรงขององค์กรอื่นแล้วนำมาประยุกต์ให้เหมาะสม จะช่วยประหยัดเวลาและลดเวลาการลองผิดลองถูก Benchmarking จึงเป็นเส้นทางลัดสู่ความเป็นเลิศอย่างก้าวกระโดดผลที่ได้รับจากการทำ Benchmarking คือ ทำให้รู้ว่าใครเป็นผู้ปฏิบัติได้ดีที่สุด และมีวิธีปฏิบัติอย่างไรวัตถุประสงค์ของการทำ Benchmarking คือ การแสวงหาตัวอย่างวิธีการปฏิบัติงานที่ดีกว่าเดิม รวมถึงการทำความเข้าใจกับกระบวนการและวิธีปฏิบัติต่าง ๆ ที่ผลักดันให้เกิดผลการปฏิบัติงานที่ดี ทั้งนี้ องค์กรต่าง ๆจะปรับปรุงผลการดำเนินงานของตนโดยเลือกสรร และนำวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศเหล่านี้ไปใช้ในกระบวนการทำงานซึ่งไม่ใช่เป็นการลอกเลียนแบบแต่เป็นการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ

 

ประโยชน์ของ Benchmarking

- ปรับปรุงผลการทำงาน Benchmarking ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงาน รวมทั้งการออกแบบผลิตภัณฑ์ เช่น ลดระยะเวลาในการผลิต ลดของเสีย เป็นต้น

- ทำให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ Benchmarking ทำให้องค์กรหันมาสนใจกับทักษะ

ความสามารถที่จำเป็นในการสร้างความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ ทั้งด้านการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าและเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งมอบ

- เพิ่มอัตราการเรียนรู้ภายในองค์กร Benchmarking สร้างแนวคิดใหม่ให้แก่องค์กรและช่วยให้การ

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่าง ๆ ง่ายขึ้น

- เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเรียนลัดเพื่อให้ก้าวทันองค์กรอื่น ๆ

 

 

 

 

นายวิศรุต วงษ์เมตตา เลขที่.20 กจ.2/1

Balanced Scorecard

Balanced Scorecard คือระบบการบริหารงานและประเมินผลทั่วทั้งองค์กร และไม่ใช่เฉพาะเป็นระบบการวัดผลเพียงอย่างเดียว แต่จะเป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ (vision) และแผนกลยุทธ์ (strategic plan) แล้วแปลผลลงไปสู่ทุกจุดขององค์กรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของแต่ละฝ่ายงานและแต่ละคน

ประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับจากการใช้ Balanced Scorecard

• ช่วยให้มองเห็นวิสัยทัศน์ขององค์กรได้ชัดเจน

• ได้รับการความเห็นชอบและยอมรับจากผู้บริหารทุกระดับ

• ใช้เป็นกรอบในการกำหนดแนวทางการทำงานทั่วทั้งองค์กร

• ช่วยให้มีการจัดแบ่งงบประมาณและทรัพยากรต่าง ๆ สำหรับแต่ละกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม

• เป็นการรวมแผนกลยุทธ์ของทุกหน่วยงานเข้ามาไว้ด้วยกัน ด้วยแผนธุรกิจขององค์กร ทำให้แผนกลยุทธ์ทั้งหมดมีความสอดคล้องกัน

• สามารถวัดผลได้ทั้งลักษณะเป็นทีมและตัวบุคคล

Key Performance Indicators คือ เครื่องมือที่ใช้วัดผลการดำเนินงานหรือประเมินผลการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ขององค์กรซึ่งสามารถแสดงผลขอการวัดหรือการประเมิน ในรูปข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อสะท้อนประสิทธิภาพประสิทธิผลในการปฏิบัติงานขององค์กร

ลักษณะของ KPI ที่ดี

• -สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ขององค์กร

• -ควรแสดงถึงสิ่งที่มีความสำคัญต่อองค์กร

• -ประกอบด้วยดัชนีชี้วัดที่เป็นเหตุและดัชนีชี้วัดที่เป็นผล

• -ดัชนีชี้วัดที่สร้างขึ้นควรเป็นดัชนีชี้วัดที่องค์กรสามารถควบคุมผลงานได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ80

• -เป็นดัชนีชี้วัดที่สามารถวัดผลได้ และบุคคลทั่วไปเข้าใจ

• -ต้องช่วยให้ผู้บริหารและพนักงานสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญขององค์กรได้

Six Sigma

Six Sigma คือ กระบวนการเพื่อลดความผิดพลาด ที่เกิดขึ้นในกระบวนการต่างๆโดยมุ่งเน้นให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด

แนวทางหลักการของ Six Sigma

ประกอบด้วย 5 ชั้นตอน ได้แก่

• กำหนดเป้าหมาย (Define Target)

• การวัดความสามรถของกระบวนการ (Measure)

• การวิเคราะห์สาเหตุปัญหา (Analyze)

• การปรับปรุงโดยเน้นที่ต้นเหตุของปัญหา (Improve)

• การควบคุมกระบวนการที่มีผลกระทบ (Control)

ประโยชน์ ของ Six Sigma

1.สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.ลดความสูญเสียโอกาสอย่างมีระบบและรวดเร็ว

3.พัฒนาบุคลากรในองค์การให้มีศักยภาพสูงขึ้น

4.สามารถเทียบเท่ากลุ่มอุตสาหกรรมได้

5.บริหารจัดการและพัฒนาองค์กรโดยใช้ข้อมูลจริง

6.สร้างทีมงานในองค์กรให้แข็งแกร่ง

Re-Engineering

Re-Engineering หมายถึง การ ปรับเปลี่ยน กระบวนการทำงาน ทั้งระบบ เป็นการ ปรับเปลี่ยน โครงสร้าง ขององค์กร

ขั้นตอนในการนำ Re-Engineering มาใช้

• การคิดค้นทบทวนใหม่ (Rethink)

• การออกแบบกระบวนการทำงานใหม่ (Redesign)

• การเสริมเทคโนโลยี(Retool)

• การฝึกอบรมบุคลากร (Retrain)

• ประโยชน์และข้อดีของ Re-Engineering

• เป็นการปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่ทั้งหมด

• มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า

• พนักงานสามารถทำงานได้อย่างเป็นอิสระมากขึ้น

• ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงกระบวนการ ซึ่งเป็นหัวใจของการปรับปรุงงาน

Benchmarking

Benchmarking หมายถึง วิธีการในการวัดและเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ บริการ และวิธีการปฏิบัติกับองค์กรที่สามารถทำได้ดีกว่า เพื่อนำผลการเปรียบเทียบมาใช้ในการปรับปรุงองค์กรของตนเพื่อมุ่งความเป็นเลิศทางธุรกิจ

ขั้นตอนในการจัดทำ Benchmarking

• การกำหนดหัวข้อที่จะทำ Benchmark (Determine What to Benchmark)

• การสร้างทีมงาน (Benchmarking Team)

• ระบุผู้ร่วมทำ Benchmark (Identify Benchmarking Partners)

• การเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล (Collecting and Analyzing Benchmarking Information)

• การปฏิบัติการ (Taking Action)

ประโยชน์ของการทำ Benchmarking

• ทำให้ธุรกิจรู้จักตนเองจากการวัดผลการดำเนินงาน เปรียบเทียบกับองค์กรอื่นที่มีการดำเนินงานที่ดีที่สุด

• เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม

• เป็นการสั่งสมความรู้ ทักษะ และ ประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ ในการแก้ปัญหาขององค์กรในอนาคต

• เป็นเครื่องมือในระดับกลยุทธ์ที่จะพัฒนาศักยภาพ แสดงความสามารถในการแข่งขันขององค์กร

Knowledge Management

หมายถึง กระบวนการอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล สารสนเทศ ความคิด การกระทำ ตลอดจนประสบการณ์ของบุคคลเพื่อสร้างเป็นความรู้หรือนวัตกรรม

เครื่องมือที่ใช้ในการทำ KM

• ระบบสำนักงานอัตโนมัติ

• ระบบสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้

• ระบบสนับสนุนการทำงานกลุ่ม

• เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

ประโยชน์ของ KM

• เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร

• ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา

• เป็นการลงทุนในต้นทุนมนุษย์

• ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจและวางแผนดำเนินงานให้รวดเร็ว

Activity – Based Management

ABM หมายถึงเครื่องมือที่การตัดสินใจในการปฏิบัติการ บนฐานสารสนเทศกิจกรรมและประเมินมูลค่าเพิ่มของเนื้องานในกระบวนการธุรกิจ

ABMมุ่งวัตถุประสงค์หลักคือ

• การขจัดความสูญเปล่า

• สร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่มุ่งการปรับปรุงกระบวนการธุรกิจและเกิดผลิตผลดี มากขึ้น

• ค้นหาสาเหตุหลักของปัญหาและทำการแก้ไข

• ขจัดความบิดเบือนที่เกิดจากการตั้งสมมติฐานที่ผิดพลาดและการจัดสรรต้นทุนที่ไม่เหมาะสม

ประโยชน์จากการใช้ ABM

• จะช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจถึงการปฏิบัติงานตามกิจกรรมต่างๆ ได้ดี

• ทำให้สามารถใช้ต้นทุนในการวางแผนพัฒนากิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

• ทำให้สามารถรู้เป้าหมายหลักในการสร้างมูลค่าด้วยต้นทุนที่ลดลง

• สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าทั้งด้านราคา และคุณภาพของสินค้า

• ช่วยด้านระบบต้นทุนกิจกรรมและจะมีการปรับปรุงทบทวนกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศของธุรกิจ

น.ส.ชลธิชา ธรรมชัย เลขที่ 5 กจ.2/1

Balanced Scorecard

หมายถึง ระบบการบริหารงานและประเมินผลทั่วทั้งองค์กร เป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ (vision) และแผนกลยุทธ์ (strategic plan) แล้วแปลผลลงไปสู่ทุกจุดขององค์กรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของแต่ละฝ่ายงานและแต่ละคน เป็นการจัดหาแนวทางแก้ไขและปรับปรุงการดำเนินงาน โดยพิจารณาจากผลที่เกิดขึ้นของกระบวนการทำงานภายในองค์กร

ระบบการวัดและประเมินผลใน 4 ด้าน

1. มุมมองด้านการเงิน (Financial Perspective; F)

2. มุมมองด้านลูกค้า (Customer Perspective; C)

3. มุมมองด้านการดำเนินการภายใน (Internal Perspective; I)

4. มุมมองด้านการเรียนรู้และพัฒนาการ (Learning and Growth; L)

ปัญหาสำคัญในการนำ BSC มาใช้

1. การที่ผู้บริหารระดับสูงไม่มองว่า BSC เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร

2. การที่ผู้บริหารมองว่า BSC เป็นเพียงโครงการ (Project) ที่มีกำหนดหรือระยะเวลาสิ้นสุดทำให้องค์กรไมสามารถใช้ประโยชนจาก BSC ไดอย่างเต็มที่

3. การที่ผู้บริหารมองว่า BSC เป็นเพียงสิ่งที่จะต้องนำมาพิจารณาเพียงปีละครั้ง

ขั้นตอนที่องค์กรต้องให้ความสำคัญ

1. การวิเคราะห์ (SWOT Analysis) ขององค์กรเพื่อให้ ทราบถึงสถานะพื้นฐานขององค์กร

2. การพัฒนาวิสัยทัศน์ (Vision) ขององค์กร

3. การกำหนดมุมมอง (Perspective) ด้านต่าง ๆ

4. การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy) และ วัตถุประสงค์ (Objective)

5. การจัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์และวัตถุประสงค์ด้านต่าง ๆ ในลักษณะของเหตุและผล

6. การกำหนดตัวชี้วัด (Key Performance Indicators : KPI) และเป้าหมาย

7. การจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan)

ประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับจากการใช้ BSC

-  ช่วยให้มองเห็นวิสัยทัศน์ขององค์กรได้ชัดเจน

-  ได้รับการความเห็นชอบและยอมรับจากผู้บริหารทุกระดับ

-  ใช้เป็นกรอบในการกำหนดแนวทางการทำงานทั่วทั้งองค์กร

-  เป็นการรวมแผนกลยุทธ์ของทุกหน่วยงานเข้ามาไว้ด้วยกัน ด้วยแผนธุรกิจขององค์กรทำให้แผนกลยุทธ์ทั้งหมดมีความสอดคล้องกัน

-  สามารถวัดผลได้ทั้งลักษณะเป็นทีมและตัวบุคคล

********************************************************************

Key Performance Indicators

หมายถึง เครื่องมือที่ใช้วัดผลการดำเนินงานหรือประเมินผลการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ

KPI คือเครื่องมือที่ใช้วัดผลการดำเนินงานหรือประเมินผลการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ขององค์กรซึ่งสามารถแสดงผลขอการวัดหรือการประเมิน ในรูปข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อสะท้อนประสิทธิภาพประสิทธิผลในการปฏิบัติงานขององค์กร

ลักษณะของ KPI ที่ดี

- สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ขององค์กร

- ควรแสดงถึงสิ่งที่มีความสำคัญต่อองค์กร

- ซึ่งดัชนีชี้วัดที่มีความสำคัญต่อองค์กรและหน่วยงานมี 2 ลักษณะ คือ ดัชนีชี้วัดที่แสดงผลการดำเนินงานและดัชนีชี้วัดกิจกรรม

- ประกอบด้วยดัชนีชี้วัดที่เป็นเหตุและดัชนีชี้วัดที่เป็นผล

- ดัชนีชี้วัดที่สร้างขึ้นควรเป็นดัชนีชี้วัดที่องค์กรสามารถควบคุมผลงานได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ80

- เป็นดัชนีชี้วัดที่สามารถวัดผลได้ และบุคคลทั่วไปเข้าใจ

- ต้องช่วยให้ผู้บริหารและพนักงานสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญขององค์กรได้

ขั้นตอนการสร้าง KPI

1. กำหนดวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ

2. ที่สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์กำหนดปัจจัยสู่ความสำเร็จ

3. กำหนดตัวชี้วัดที่สามารถบ่งชี้ความสำเร็จ/ประสิทธิภาพ/ประสิทธิผลจากการ ดำเนินการตามวัตถุประสงค์

4. กลั่นกรองดัชนีชี้วัดเพื่อหาดัชนีชี้วัดหลัก จัดลำดับและกำหนดน้ำหนักความสำคัญของดัชนีชี้วัดแต่ละตัว

5. กระจายดัชนีชี้วัดสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

6. จัดทำ KPI Dictionary โดยระบุรายละเอียดที่สำคัญของดัชนีชี้วัดแต่ละตัว

********************************************************************

Six Sigma

Six sigma เป็นการบริหารที่เกิดขึ้นปี พ.ศ. 2533 โดยกลุ่มวิศวกรของบริษัท Motorola ภายใต้การนำของ Dr.Mikel Harry ซึ่งได้เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดนี้ และนำมาใช้กับการออกแบบผลิตภัณฑ์ของบริษัทจนประสบความสำเร็จอย่างสูง ต่อมาบริษัทต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกาจึงได้นำแนวคิดการบริหารจัดการแบบ Six sigma เข้ามาใช้ และประสบความสำเร็จสามารถลดค่าใช้จ่ายของบริษัทได้อย่างมาก

แนวคิดการบริหารองค์การแบบเดิม

1.ใช้การแก้ปัญหาแบบวันต่อวัน ทักษะในการเรียนรู้ของพนักงานจะเน้นที่การเรียนรู้จาการทำงานจริงเป็นหลัก

2. ผลของการแก้ไขปัญหาจะต้องหายขาด

3. คัดเลือกพนักงานที่ทำงานประจำมาทำการแก้ไขปัญหา โดยแก้ไขเฉพาะหน่วยงานของตนเอง ถ้าปัญหาเกิดจากหน่วยงานอื่นก็จะขอร้องให้หน่วยงานนั้น ๆ ทำการแก้ไข

4. ผู้นำคือผู้ที่สามารถแก้ไขปัญหาในปัจจุบันได้

5. ใช้ประสบการณ์และความชำนาญเป็นหลักในการปรับปรุง เพราะเห็นผลสำเร็จได้ง่าย

หลักการสำคัญของกลยุทธ์ Six sigma

การบรรลุกลยุทธ์ที่สำคัญของ six sigma ซึ่งเกี่ยวข้องกับขั้นตอน 4 ขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วย

Measure - Analyze - Improve - Control

องค์ประกอบสำคัญที่มีบทบาทต่อ six sigma

1.Champion เป็นชื่อเรียกผู้ที่มีความรับผิดชอบสูงสุดต่อผลสำเร็จในงาน

2. Six sigma Director มีหน้าที่นำและบริหารองค์การให้สำเร็จบรรลุ

3. Master Black Belt คือ ผู้ชำนาญการด้านเทคนิค และเครื่องมือสถิติ

4. Black belt คือ ผู้บริหารโครงการ (Project Manager) และผู้ประสานงาน

5. Green belt คือพนักงานที่ทำหน้าที่โครงการ เป็นผู้ที่รับการรับรองว่ามีความสามารถเทียบเท่านักกีฬายูโดในระดับสายเขียว

6. Team Member ในโครงการทุกโครงการจะต้องมีสมาชิกทำงาน 4-6 คน โดยเป็นตัวแทนของคนที่ทำงานในกระบวนการที่อยู่ในขอบข่ายของโครงการ

ส่วนสำคัญที่สุดในการทำ Six sigma คือ โปรเจ็ก แชมเปี้ยน ซึ่งจะมีหน้าที่ในการดูแลให้การสนับสนุน และจัดหางบประมาณที่เพียงพอให้แต่ละ Six sigma และยังคอยสนับสนุน แบล็กเบลต์

ขั้นตอนหรือกระบวนการในการนำไปใช้ของเครื่องมือ

1.กำหนดปัญหา (Define)

2. การวัด (Measure)

3. การวิเคราะห์ (Analyze)

4. การปรับปรุง (Improve)

5. การควบคุม (Control)

ประโยชน์ ข้อดีของกาทำ Six Sigma

1. สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างกลยุทธ์ใหม่ให้ธุรกิจ

2. สามารถลดความสูญเสียโอกาสอย่างมีระบบและรวดเร็วโดยการนำกระบวนการทางสถิติมาใช้

3. พัฒนาบุคลากรในองค์การให้มีศักยภาพสูงขึ้นตอบสนองต่อกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็ว และปรับองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)

4. ช่วยหารระดับคุณภาพของอุตสาหกรรม โดยสามารถเทียบข้ากลุ่มอุตสาหกรรมได้ (Benchmarking)

5. บริหารจัดการและพัฒนาองค์กรโดยใช้ข้อมูลจริง และใช้หลักการทางสถิติซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

6. สร้างทีมงานในองค์กรให้แข็งแกร่ง โดยประสานความร่วมมือของพนักงานแต่ละส่วนซึ่งมีผลการปฏิบัติงานโดดเด่น และสามารถวัดผลได้

การนำเครื่องมือมาใช้กับองค์กร

บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ได้นำหลักการนี้มาใช้จนประสบความสำเร็จและได้รับรางวัลต่างๆ อาทิ เช่น Six Sigma Operating Excellence 2 ปีซ้อน, Six Sigma Best Practice เป็นต้น

********************************************************************

Re-Engineering

Re-Engineering คือ การ ปรับเปลี่ยน กระบวนการทำงาน ทั้งระบบ ภาษาชาวบ้าน คือ โล๊ะ เป็นการ ปรับเปลี่ยน โครงสร้าง ขององค์กร บริษัท ทั้งระบบจุดไหนที่ก่อให้เกิน ความล่าช้า เช่น คนงาน พนักงาน ผู้บริหาร ไม่มีประสิทธิภาพ ก็จะทำการ เปลี่ยนแปลงทั้งระบบ (ไม่ใช่การปรับปรุง) เป็นการเปลี่ยนใหญ่

ลักษณะสำคัญ

มุ่งปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินงาน การทำความเข้าใจและปรับเปลี่ยนที่แนวคิดพื้นฐาน สมมุติฐาน หรือหลักเกณฑ์เดิม การเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน และการมุ่งสู่ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่หรือผลลัพธ์อันใหญ่หลวง

องค์ประกอบ ของ การรื้อปรับระบบ

1. จัดโครงสร้าง ให้เป็น At come เหมาะแก่ประสิทธิภาพ และ Output เหมาะแก่ ประสิทธิผล

2. มีการกำหนดหน่วยงาน

3. หน่วยงานแต่ละหน่วยงาน ต้องมีการเก็บข้อมูล

4. เสมือนกระจุกตัว ถามอะไรรู้หมด

5. มีการเชื่อมโยงกระบวนการต่างๆไปพร้อมกัน

6. มีลักษณะ Online

หลักสำคัญของ Re-Engineering

1. หลักการขั้นพื้นฐาน : ทบทวนสิ่งที่เราทำอยู่ใหม่ทั้งหมด และต้องถือเป็นงานหลัก คือ อย่าไปยึดติดกับของเดิม

2. การเปลี่ยนแปลงที่ถอนรากถอนโคน : ไม่ติดยึดกับของเดิม คือ ออกแบบใหม่ทั้งหมด แล้วลองทำตามแบบใหม่

3. การเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ยิ่งใหญ่ : ปรับเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่ถึงร้อยละ 10 ถือว่าไม่รื้อระบบ

4. เน้นกระบวนการ : ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการรื้อปรับระบบจากเดิมงานจะต้องเดินผ่านไปยังจุดต่าง ๆ โดยใช้คนหลายคนเปลี่ยนเป็นให้งานหยุดกับที่ ทำโดยคนเดียว แต่มีข้อมูลมาประกอบการดำเนินงาน

ขั้นตอนการรื้อปรับระบบ

1. การคิดค้นทบทวนใหม่ (Rethink)

2. การออกแบบกระบวนการทำงานใหม่ (Redesign)

3. การเสริมเทคโนโลยี (Retool)

4. การฝึกอบรมบุคลากร (Retrain)

ข้อดี ของ Reengineering

1. เป็นการปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่ทั้งหมด (holistic approach) ที่การปรับเปลี่ยนทีละน้อยอาจไม่ได้แก้ปัญหา

2. มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า

3. พนักงานสามารถทำงานได้อย่างเป็นอิสระมากขึ้น

4. ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงกระบวนการ ซึ่งเป็นหัวใจของการปรับปรุงงาน

ข้อจำกัด ของ Reengineering

ข้อจำกัด ของ Reengineering (70% ของ reengineering ล้มเหลว)

-  ลงทุนสูง มีความเสี่ยงสูง

-  มีลักษณะ Top - Down ละเลยในเรื่องคน มีปัญหาต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

-  เป็นสูตรนำไปใช้เหมือนกันหมด ไม่ได้คำนึงถึง วัฒนธรรมองค์การ

การนำเครื่องมือมาใช้ (Reengineering) ของบริษัท IBM

- การจัดให้มี The Customer Action Council ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการจัดการกับปัญหา วิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา และคอยติดตามว่าบริษัททำอะไรและอย่างไรกับลูกค้า

- การให้ความสนใจการร้องทุกข์ของลูกค้า โดยเปิดรับเรื่องราวร้องทุกข์ของลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมง และมีแผนปฏิบัติงานชั่วคราวที่จะตกลงกับลูกค้าภายใน 7วัน และภายใน 30 วัน เรื่อง ร้องทุกข์ของลูกค้าต้องจบลง

- การมี a customer advisory council เพื่อให้สมาชิกหรือลูกค้าแสดงความคิดเห็นของตนออกมา

********************************************************************

Knowledge Management (KM)

การบริหารจัดการความรู้ Knowledge Management (KM)

คือ ระบบบริหารจัดการความรู้ให้เป็นระเบียบ ครบถ้วน ง่ายต่อ การเรียกใช้ จัดเก็บตามความต้อง การ เก็บรักษาความรู้ให้ควบคู่กับองค์กรตลอดไป โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดการ

วัตถุประสงค์ของ KM

1. เพื่อปรับปรุงกระบวนการดําเนินงานทางธุรกิจที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

2. เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ

3. เพื่อเป็นการปรับปรุงเทคนิค กระบวนการโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนําความรู้นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์

องค์ประกอบของ KM

คน หมายถึง พนักงาน ลูกจ้าง ลูกค้า หรือผู้มีผลกระทบกับองค์กร KM

สถานที่ หมายถึง ที่ที่ทุกคนในองค์กรสามารถระดมความคิดร่วม

ข้อมูล หมายถึง ทุกสิ่งที่นำเก็บและให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้

องค์ประกอบหลักในการพัฒนา KM

1. ผู้นำ (Leadership

2. วัฒนธรรม (Culture)

3. การเข้าถึงแหล่งความรู้ (Access)

4. เทคโนโลยี (Technology)

5. วัฒนธรรมการเรียนรู้

6. บรรยากาศอิสระ

ขั้นตอนการพัฒนา KM

1. การจัดหาหรือการสร้างความรู้

2. การจัดเก็บ

3. การเผยแพร่ความรู้

4. การใช้โปรแกรมการจัดการความรู้

กระบวนการการสร้าง KM

1. ขั้นการวางโครงสร้างพื้นฐานของการจัดการความรู้

2. ขั้นการประเมินระบบการจัดการความรู้การออกแบบ และการพัฒนา

3. ขั้นตอนการพัฒนาระบบที่ได้มีการประเมินแล้ว

4. ขั้นตอนการประเมินระบบการจัดการความรู้ที่ได้สร้าง

แนวทางการพัฒนา KM

1. กำหนดให้มีหัวหน้าคณะทำงาน

2. ระบุข้อมูลหรือความรู้ที่ต้องการใช้เพื่อการตัดสินใจให้ชัดเจน

3. จัดทำ Workflow พัฒนากระบวนการทำงาน

4. การสร้างและการถ่ายทอดความรู้ของบุคคลในองค์กรช่วยจะแก้ปัญหาให้งานสำเร็จ

5. พัฒนาศูนย์ข้อมูลโดยอาศัยทักษะการถ่ายทอด หรือการเคลื่อนย้าย

6. ทำระบบเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญเพื่อการประสานงานความร่วมมือ และการส่งเสริมการใช้ความรู้ร่วมกัน

เครื่องมือที่ใช้ในการทำ KM

1. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ

2. ระบบสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้

3. ระบบสนับสนุนการทำงานกลุ่ม

4. เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

เทคโนโลยีสนับสนุน

1. เทคโนโลยีการสื่อสาร

2. เทคโนโลยีการทำงานร่วมกัน

3. เทคโนโลยีการจัดเก็บ

ประโยชน์ของ KM

1. เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร

2. ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา

3. เป็นการลงทุนในต้นทุนมนุษย์

4. ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจและวางแผนดำเนินงานให้รวดเร็ว

5. ผู้บังคับบัญชาทำงานเชื่อมโยงกับผู้ใต้บังคับบัญชาให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น

ปัญหาของ KM

1. การถ่ายทอดความรู้ระหว่างบุคคลกับองค์กร

2. การจัดเก็บความรู้ขององค์กร

3. การไม่นำความรู้ขององค์กรมาสร้างความสามารถในการแข่งขัน

4. การสร้างความรู้ใหม่

5. การไม่นำความรู้ภายนอกมาปรับ

6. ความรู้ในองค์กร

การนำ KM มาใช้ในบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

ในเรื่อง KM ปูนซิเมนต์ไทยให้ความสำคัญใน 3 องค์ประกอบใหญ่ (3P)

1.People เป็นการพูดถึงการพัฒนาคน

2.Process กล่าวถึงกระบวนการที่ต้องมองตั้งแต่การค้นหา ช่องว่าง ในองค์กร ต้องรู้ว่าความรู้ที่บริษัทต้องการนั้นมีความรู้อะไรบ้าง เมื่อทราบแล้วก็จะได้วางแผนต่อว่าความรู้ที่ต้องการไปหาจากที่ใครที่ไหนได้บ้าง

3.Platform ความรู้ที่พัฒนาได้จะเป็นนโยบายที่ชัดเจน

********************************************************************

ABM (Activity Based Management)

เครื่องมือที่ใช้จัดการต่อกิจกรรม เพื่อการปรับปรุงมูลค่าที่ส่งมอบสู่ลูกค้าและสร้างผลกำไรให้กับผู้ประกอบการ

ตัวอย่างเช่น

-  การวิเคราะห์ตัวผลักดันต้นทุน

-  สนับสนุนต่อการตัดสินใจ

-  การวิเคราะห์กิจกรรม (Activity Analysis)

-  การวัดผลการปฏิบัติการ

แนวทางการใช้ ABM

-  การวิเคราะห์คุณลักษณะ

-  การวิเคราะห์กลยุทธ์

-  การเทียบเคียง

-  การวิเคราะห์การปฏิบัติการ

-  การวิเคราะห์ความสามารถทำกำไร

-  การปรับปรุงกระบวนการ

ABM มุ่งวัตถุประสงค์หลักคือ

1. การขจัดความสูญเปล่า

2. สร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่มุ่งการปรับปรุงกระบวนการธุรกิจและเกิดผลิตผลดี (Yield) มากขึ้น

3. ค้นหาสาเหตุหลักของปัญหาและทำการแก้ไข

4. ขจัดความบิดเบือนที่เกิดจากการตั้งสมมติฐานที่ผิดพลาดและการจัดสรรต้นทุนที่ไม่เหมาะสม

แนวทางการใช้ประโยชน์ ABM

1.จะช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจถึงการปฏิบัติงานตามกิจกรรมต่างๆ ได้ดี

2.ทำให้สามารถใช้ต้นทุนในการวางแผนพัฒนา กำหนดกลยุทธ์ของกิจการ และพัฒนากิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

3. ทำให้สามารถรู้เป้าหมายหลักในการสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าด้วยต้นทุนที่ลดลง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์ ในด้านต่าง ๆ ได้

4. สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าทั้งด้านราคา และคุณภาพของสินค้า

5. ช่วยด้านระบบต้นทุนกิจกรรมมิได้มุ่งเน้นที่จะลดต้นทุนอย่างเดียว แต่จะมีการปรับปรุง และทบทวนกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศของธุรกิจ

ประโยชน์ของ ABM ที่มีต่อผู้ค้าปลีก

1. การจัดทำเกณฑ์สมรรถนะ สำหรับผู้ส่งมอบ

2.ให้คำแนะนำผู้ส่งมอบในแนวทางเลือกของแหล่งจัดหาหรือการส่งมอบสินค้า

3. ลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้า

4. สะท้อนค่าใช้จ่ายทางธุรกรรมการเงิน อย่างถูกต้อง สำหรับการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า

5. แนะนำผู้ส่งมอบในการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างการนำ ABMไปใช้ ซึ่งเหมาะสำหรับธุรกิจค้าปลีก

ABM เป็นกลยุทธ์เชิงรุก และการตัดสินใจในการปฏิ

นางสาวอารียา แจ้งสิน เลขที่ 27 กจ.2/1

Balance Scorecard ( BSC )

คือ เครื่องมือสำหรับการบริหารเชิงกลยุทธ์ ซึ่งถูกนำมาใช้เพื่อการประเมินและพัฒนาผลงานขององค์กรเป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ และแผนกลยุทธ์ แล้วแปลผลลงไปสู่ทุกจุดขององค์กรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของแต่ละฝ่ายงานและแต่ละคน

ประโยชน์ของการนำเครื่องมือไปใช้ใน องค์การ

1. ทำให้รู้สถานะขององค์กรว่าอยู่ตรงจุดไหน

2. ช่วยในการพัฒนาองค์กร

3. ผู้ดำเนินงานเกิดความมุ่งมั่นในการทำงานและพัฒนาองค์การ

4. ทำให้ผู้บริหารมีความชัดเจนเรื่องกลยุทธ์

5. ทำให้เห็นความสอดคล้องของกลยุทธ์ทั้งองค์กร

6. เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ และคุณค่าที่สำคัญขององค์การ

 

KPI คือ เครื่องมือที่ใช้วัดผลการดำเนินงานหรือประเมินผลการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ขององค์กรซึ่งสามารถแสดงผลขอการวัดหรือการประเมิน ในรูปข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อสะท้อนประสิทธิภาพประสิทธิผลในการปฏิบัติงานขององค์กรหรือหน่วยงานภายในองค์กร

ความแตกต่างระหว่าง BSC กับ KPI

BSC คือ ระบบบริหารการจัดการชนิดหนึ่งซึ่งจะเอาเครื่องมือ KPI มาใช้ประกอบกันในระบบบริหาร ISO 1900 - ISO 2000 ใช้เพื่อการบริหารของ BSC

 

***************************************

 

Six sigma

เป็นการพัฒนาที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศ ซึ่งได้มีการกำหนดแนวทางในด้านต่าง ๆ เพื่อให้การปรับปรุงองค์การเป็นไปอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของพนักงานที่มีความสามารถ มีความตั้งใจที่จะปรับปรุงเพื่อให้ความผิดพลาดในการผลิตและการบริการมีน้อยที่สุด

ประโยชน์ในการนำ Six Sigma มาใช้ในองค์การ

1. สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างกลยุทธ์ใหม่ให้ธุรกิจ
2. สามารถลดความสูญเสียโอกาสอย่างมีระบบและรวดเร็วโดยการนำกระบวนการทาง   สถิติมาใช้

3. พัฒนาบุคลากรในองค์การให้มีศักยภาพสูงขึ้นตอบสนองต่อกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็ว และปรับองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)

4. ช่วยหารระดับคุณภาพของอุตสาหกรรม โดยสามารถเทียบข้ากลุ่มอุตสาหกรรมได้ (Benchmarking)

ความแตกต่างระหว่าง Six Sigma กับหลักการปรับปรุงต่างๆ

                Six Sigma เป็นกระบวนการที่รวบรวมหลักการปรับปรุงต่างๆ ได้แก่ Benchmarking, Productivity Improvement, Strategic Deployment และ Statistical and Techniques เป็นต้น นำมาหลอมรวมกันเพื่อให้พนักงานทุกระดับสามารถเข้าใจปฎิบัติให้เป็นรูปธรรม มีเป้าหมายเด่นชัด และที่สำคัญที่สุดคือเห็นผลสำเร็จย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะว่าการบิหารแบบ Six Sigma จะเน้นการบริหารแบบบนลงล่าง (Top Down Management) คือระบบที่ผู้บริหารต้องผลักดันแนวความคิดและการปรับปรุงให้เกิดขึ้น นอกจากนี้ Six Sigma ยังเป็นกระบวนการหนึ่งที่สามารถทำให้ องค์การต่างๆ ที่นำไปใช้สามารถบรรลุถึงข้อกำหนดของรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (National Quality Award)

 

***************************************

 

Knowledge Management : KM

Knowledge Management เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ

1. การบ่งชี้ความรู้

2. การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่น การสร้างความรู้ใหม่

3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ

4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็น

5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก

6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้

7. การทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน

เหตุผลของการนำ KM มาใช้

-การเปลี่ยนแปลงเทคนิคในการบริหารงาน

-การเปลี่ยนแปลงด้านราคา

-ลดความผิดพลาดในการแข่งขันด้านการตลาด

-สร้างวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด

-การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ

 

***********************************

 

Activity-Based Management

ความหมาย การบริหารโดยข่าวสารต้นทุนกิจกรรมแบบจำลอง ABM ได้ถูกประยุกต์ใช้ในองค์กร อย่างกว้างขวาง การสร้างแบบจำลองจะเริ่มจากการใช้สารสนเทศการไหลของต้นทุน ที่ศึกษาข้อมูลจากบัญชีแยกประเภท เพื่อจัดสรรค่าใช้จ่ายไปยังกิจกรรมอย่างแม่นยำ และเพื่อให้ทรัพยากรที่ถูกจัดสรรในองค์กรมีความสอดคล้องกับโครงสร้างระบบ บัญชีแยกประเภทขององค์กร

ปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ ต้องการปรับปรุงธุรกิจ โดยมุ่งสร้างมูลค่าและผลตอบแทนทางการเงินสูงสุด ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาเครื่องมือสำหรับการปรับปรุงธุรกิจ ที่มุ่งทรัพยากร 4M (Man Machine Money Material) เพื่อสร้างผลิตผลที่ต้องการ และมุ่งขจัดอุปสรรคต่าง ๆ ดังนั้นวิธีการสำหรับการปรับปรุงธุรกิจที่ถูกใช้อย่างแพร่หลาย

แนวทางการใช้ประโยชน์ ABM

- การวิเคราะห์คุณลักษณะ

- การวิเคราะห์กลยุทธ์

- การเทียบเคียง

- การวิเคราะห์การปฏิบัติการ

- การวิเคราะห์ความสามารถทำกำไร

- การปรับปรุงกระบวนการ

 

****************************************

 

Reengineering

หมายถึง การพิจารณาหลักการพื้นฐานของธุรกิจที่ทำอยู่เดิม และคิดหลักการขึ้นมาใหม่อย่างถอนรากถอนโคน ปรับกระบวนการทำงานใหม่ เพื่อให้บรรลุตัวผลลัพธ์คือเป้าหมายขององค์การ โดยใช้ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานใน 4 ด้าน คือ ต้นทุนที่ต่ำลง  คุณภาพที่สูงขึ้น  การบริการที่สะดวกเป็นที่พึงพอใจของลูกค้า  และความรวดเร็วในการดำเนินงาน ไม่ต้องรอคอย

ขั้นตอนการรื้อปรับระบบ

1. การคิดค้นทบทวนใหม่ (Rethink)

2. การออกแบบกระบวนการทำงานใหม่(Redesign)

3. การเสริมเทคโนโลยี(Retool)

4. การฝึกอบรมบุคลากร(Retrain)

การนำแนวคิดการรื้อปรับระบบมาใช้ในระบบราชการเพื่อมุ่งปรับเปลี่ยนทันคติผู้ปฎิบัติงานใหม่ ปรับลดขั้นตอนการทำงานลงเสริมการทำงานและปรับสภาพภูมิทัศน์ให้สวยงาม สะดวกในการทำงานซึ่งเป็นมิติใหม่ของการทำงานการให้บริการของหน่วยราชการ

ประโยชน์และข้อดีของ Re-Engineering

1. เป็นการปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่ทั้งหมด (holistic approach) ที่การปรับเปลี่ยนทีละน้อยอาจไม่ได้แก้ปัญหา

2. มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า

3. พนักงานสามารถทำงานได้อย่างเป็นอิสระมากขึ้น

4. ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงกระบวนการ ซึ่งเป็นหัวใจของการปรับปรุงงาน

 

*******************************************

 

Benchmarking

Benchmarking คือวิธีการในการวัดและเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ บริการ และวิธีการปฏิบัติกับองค์กรที่สามารถทำได้ดีกว่า เพื่อนำผลการเปรียบเทียบมาใช้ในการปรับปรุงองค์กรของตนเพื่อมุ่งความเป็นเลิศทางธุรกิจ

Benchmarking เป็นกระบวนการวัดและเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ บริการ และวิธีปฏิบัติ กับองค์กรที่สามารถทำได้ดีกว่า เพื่อนำผลของการเปรียบเทียบมาใช้ในการปรับปรุงองค์กรของตนเองเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ

ประโยชน์ของการทำ Benchmarking

Benchmarking เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการปรับปรุงองค์กรที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากใน

ปัจจุบัน เนื่องจากทำให้มีการปรับปรุงองค์กรอย่างก้าวกระโดดแต่สำหรับประเทศไทย Benchmarking ยังค่อนข้างเป็นเรื่องใหม่ เริ่มมีการนำเครื่องมือนี้มาใช้ในการปรับปรุงองค์กรอย่างเป็นระบบในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น แต่ในต่างประเทศมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีบริษัท Xerox Corporation เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้บุกเบิกในการใช้เครื่องมือ

นางสาวพจวรรณ แสนคติ

Balandscorecard

เป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ในการประกอบธุรกิจ

ประโยชน์

1.ได้รับการยอบรับจากผู้บรีหาร

2.ใองเห็นวิสัยทัศน์ขององค์การ

3.วัดผลทั้งเป็นตัวบุคคลและเป็นทีม

ขั้นตอนในการทำ Corporate Scorecard โดย

1 วิเคราะห์และจัดทำกลยุทธ์หลักขององค์กร

2 กำหนดมุมมองและวัตถุประสงค์ที่สำคัญ

3 จัดทำแผนที่ทางกลยุทธ์

4 จั ดทำตัวชี้วัดในระดับองค์กร

5 จัดทำตัวชี้วัดระดับบุคคลของผู้บริหาร + พนักงานในระดับต่าง ๆ

6 จัดหา Baseline Data กำหนดเป้าหมาย และจัดทำแผนงานในการบรรลุเป้า หมายสำหรับวัตถุประสงค์แต่ละด้าน

KEY Performance (KPI)

ใช้ในการดำเนินงานหรือประเมนผล

ขั้นตอน

กำหนดวัตถุประสงค์

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ

กำหนดตัวบ่งชี้

กลั่นกรอง

Six sigma

คือ เป็นการบริหารมุ่งเน้นความผิดพลาด และลดการแก้ไขตัวชิ้นงาน เน้นการปฏิบัติงานให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด

ประโยชน์

สามารถแก้ไขปันหาในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ลดความสูญเสียโอก่าส

พัฒนาบุคลากรให้มีปประสิทธิภาพ

Re-Engineering

การกลับมาคิดและปรับปรุงกระบวนการทำธุรกิจอย่างฉีกแนว เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นจากหน้ามือเป็นหลังมือ

หัวใจ การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน การทำความเข้าใจและปรับเปลี่ยนแนวคิดพื้นฐาน สมมุตืจุดหรือหลักเกณฑ์เดิม

KM Knowledge Management การบริหารจัดการความรู้

คือ ระบบการจัดการความรู้ให้เป็นระเบียบครบถ้วน ง่ายต่อการเรียกใช้

องค์ประกอบของ KM

คน หมายถึง พลังงาน ลูกค้า ลูกค้า

สถานที่ หมายถึง ที่ที่สามารถระดมความคิดร่วมกัน

ข้อมูล หมายถึง ทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวเราและนำกลับมาประกอบการดำเนินธุรกิจได้

ประโยชน์

1 เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร

2 ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา

3 แปรรูปความรู้ให้เป็นทุน

4 เป็นการลงทุนรว่มกับมนุษย์

Activity-Based Management เหมาะสำหรับธุรกิจค้าปลีก

คือ ใช้ในกาตัดสินใจในการปฏิบัติงานสารสนเทศและประเมินมูลค่าเพิ่มของงาน

ในกระบวนการธุรกิจ

ประโยชน์

ผู้บริหารเข้าใจการปฏิบัติงาน

ทำให้รู้เป้าหมายของลูกค้าเพื่อใช้ต้นทุนที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของล

กค้า

สร้างควารมพึงพอใจให้ลูกค้า

หัวใจสำคัญคือ การวิเคราะห์สัจธรรม

1เพิ่มคุนค่า

2ไม่เพิ่มคุนค่า

Bench Marking การเปรียบเทียบความสามารถอย่างเป็นระบบ

หมายถึง วิธีการในการวัดและเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ บริการและการปฏิบัติกับองค์การที่

สามารถทำได้ดีกว่าเพื่อนำการเปรียบเทียบมาใช้ในองค์การปรับปรุงองค์กรของตนเองเพื่อช่วยให้องค์กรมีปรสิทธิภาค

ประโยชน์

1 ทำให้ธุรกิจรู้จักตนเองมากขึ้น ว่าธุรกิจต้องการอะไรในตอนนี้

2 เป็นการสะสมความรู้ ลักษณะและประสบการณ์ที่เป้นประโยชน์

(Activity Based-Management : ABM)

หรือเรียกว่าการบริหารต้นทุนกิจกรรม ที่เป็นเสมือนกุญแจให้กับผู้บริหารในการสนับสนุนการจัดการค่าใช้จ่ายและผลกำไร รวมทั้งเป็นข้อมูลสำหรับการระบุกิจกรรมที่สูญเปล่าและตัดสินใจต่อการดำเนินการอย่างถูกต้อง เพื่อสร้างความสามารถทางการแข่งขัน และยังคงได้รับความแพร่หลายสำหรับองค์กรชั้นนำจวบจนปัจจุบัน

Six Sigma

เป็นวิธีการปฎิบัติที่ดีเลิศในปัจจุบัน เพื่อการพัฒนากระบวนการทางธุรกิจทุกกระบวนการและเป็นวิธีที่นิยมทั่วโลกในขณะนี้ วิธีการของ Six Sigma ได้เริ่มมีการประยุกต์ใช้ในบริษัทโมโตดรล่า ในช่วงปี ค.ศ. 1980 โดยมุ่งเน้นที่การลดต้นทุนและปรับกระบวนการทำงานให้สอดคล้องกลกลยุทธ์ที่บริษัทวางไว้ นอกจากนี้ ปัจจุบันบริษัทชั้นนำหลายบริษัททั่วโลกได้เล็งเห็นประโยชน์และได้นำมาประยุกต์ใช้ ได้แก่ บริษัท General Electric บริษัท Sony บริษัท Allied signal และบริษัท Eastman Kodak บริษัท โมโตโรล่า เป็นต้น ผลจากการประยุกต์ใช้วิธีการ Six Sigma ดังกล่าวทำให้บริษัทสามารถลดต้นทุนได้นับหลายร้อยล้านบาท ความสัมพันธ์ระหว่าง TQM และ Six Sigma คือ TQM ตั้งเป้าหมายคือการพัฒนาและการควบคุมคุณภาพโดยการหาจุกผิดพลาด Mikel Harry ได้กล่าวว่า Six Sigma คือวิถีแห่งระบบคุณภาพแบบหลายมิติ อันประกอบโดยรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน การจัดการที่ลงตัว และการตอบสนองตามหน้าที่ในองค์การ ซึ่งลูกค้าและผู้ผลิตจะได้รับผลตอบแทนร่มกันทั้งสองฝ่าย คือ ได้อรรถประโยชน์ การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่า Six Sigma ครอบคลุมปัจจัยต่างๆคือ การสร้างระบบและโครงสร้างการทำงานร่วมกับฝ่ายบริหาร ที่จะช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์การ การใช้มาตรวัด (Metrics) การคัดเลือกบุคลากรทีมงานที่เหมาะสม การคัดเลือกหน่วยงานภายนอกที่สามารถช่วยดำเนินการฝึกอบรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ การประยุกต์เครื่องมือในการทำงาน การกำหนดเป้าหมายอย่างเป็นระบบ

Re-Engineering

หัวใจสำคัญของการ Re-engineering อยู่ที่กระบวนการ ลักษณะสำคัญหรือจุดเน้นของการรื้อปรับระบบ หรือ การทำรีเอ็นจิเนียริ่งอยู่ที่ การมุ่งปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินงาน การทำความเข้าใจและปรับเปลี่ยนที่แนวคิดพื้นฐาน สมมุติฐาน หรือหลักเกณฑ์เดิม การเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน และการมุ่งสู่ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่หรือผลลัพธ์อันใหญ่หลวง

องค์ประกอบ ของ การรื้อปรับระบบ มี 6 ข้อ ดังนี้

-จัดโครงสร้าง ให้เป็น At come เหมาะแก่ประสิทธิภาพ และ Output เหมาะแก่ประสิทธิผล

-มีการกำหนดหน่วยงาน

-หน่วยงานแต่ละหน่วยงาน ต้องมีการเก็บข้อมูล

-เสมือนกระจุกตัว ถามไรรู้หมด

-มีการเชื่อมโยงกระบวนการต่างๆไปพร้อมกัน

-มีลักษณะ

Benchmarking

“การวัดเปรียบเทียบสมรรถนะ” โดยเป็นการทำงานอย่างเป็นระบบ เป็นกระบวนการในการดำเนินธุรกิจที่ทำให้เรารู้จักตัวของเราเอง พิจารณาวิเคราะห์ว่าตัวของเราเป็นอย่างไร อยู่ที่ใด เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรม หรือในโลกว่าเรากับเขาต่างกันตรงไหน แล้วจึงมากำหนดการเดินทาง กรรมวิธีที่จะปรับสภาพกระบวนการต่างๆ ทางธุรกิจ เพื่อที่จะไปให้ถึงดีเทียบเท่า หรือดีกว่าเขาที่เคยเก่งที่สุดในปัจจุบัน

การทำ Benchmarking เลือกทำได้ 2 แนวทางคือ

1. Benchmarking แบบกลุ่ม

2. Benchmarking แบบเดี่ยว

1. Benchmarking แบบกลุ่ม คือการทำ Benchmarking โดยเราข้าไปรวมกลุ่มกับองค์กรอื่นที่มีความต้องการ

จะทำ Benchmarking เหมือนกัน

2. Benchmarking แบบเดี่ยว คือการทำ Benchmarking โดยเราองค์กรเดียวมีความต้องการที่จะทำ

Benchmarking จึงกำหนดหัวข้อที่ต้องการทำและดำเนินการตามกระบวนการ Benchmarking ตามที่ได้วางแผน

เอาไว้ เราต้องเป็นผู้ดำเนินการคนเดียวทั้งหมด ตั้งแต่การกำหนดหัวข้อ หาคู่เปรียบเทียบ เก็บข้อมูล พัฒนา

แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปข้อมูล

Balanced Scorecard

ระบบการบริหารงานและประเมินผลทั่วทั้งองค์กร และไม่ใช่เฉพาะเป็นระบบการวัดผลเพียงอย่างเดียว แต่จะเป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ (vision) และแผนกลยุทธ์ (strategic plan) แล้วแปลผลลงไปสู่ทุกจุดขององค์กรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของแต่ละฝ่ายงานและแต่ละคน โดยระบบของ Balanced Scorecard จะเป็นการจัดหาแนวทางแก้ไขและปรับปรุงการดำเนินงาน โดยพิจารณาจากผลที่เกิดขึ้นของกระบวนการทำงานภายในองค์กร และผลกระทบจากลูกค้าภายนอกองค์กร มานำมาปรับปรุงสร้างกลยุทธ์ให้มีประสิทธิภาพดีและประสิทธิผลดียิ่งขึ้น เมื่อองค์กรได้ปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบ Balanced Scorecard เต็มระบบแล้ว Balanced Scorecard จะช่วยปรับเปลี่ยนแผนกลยุทธ์ขององค์กรจากระบบ “การทำงานตามคำสั่งหรือสิ่งที่ได้เรียนรู้สืบทอดกันมา (academic exercise)” ไปสู่ระบบ “การร่วมใจเป็นหนึ่งเดียวขององค์กร (nerve center of an enterprise)ด้วยเหตุที่หลายครั้งผู้พัฒนาและติดตั้ง BSC ในแต่ละองค์กรนั้น มุ่งแต่จะพยายามเติมเต็มมุมมองการพัฒนาทั้ง 4 ด้าน (C-L-I-F) เท่านั้น โดยละเลยประเด็นที่ว่า แม้ว่าจะทำให้ทั้ง4 มุมมองนั้นครบถ้วน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ความสมดุลตามความมุ่งหมายของ BSC จะเกิดขึ้นได้ ความสมดุลนี้พึงต้องระลึกไว้อยู่เสมอในขณะพัฒนาและติดตั้ง BSC ว่าความสมดุลตามความมุ่งมาดคาดหมายของ BSC คือ ความสมดุล (Balance) ระหว่างจุดมุ่งหมาย (Objective) : ระยะสั้นและระยะยาว (Short - and Long - Term)การวัดผล (Measure) : ทางด้านการเงินและไม่ใช่การเงิน (Financial and Non-Financial)ดัชนีชี้วัด (Indicator) : เพื่อการติดตามและการผลักดัน (lagging and Leading)มุมมอง (Perspective) : ภายในและภายนอก (Internal and External)ซึ่งแน่นอนว่า หาก BSC ที่ทำการพัฒนาขึ้นและใช้ในองค์กร ไม่ได้พยายามทำให้เกิดความสมดุลดังกล่าวข้างต้น ก็ย่อมคาดหวังผลประโยชน์จากการทำ BSC ไม่ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยแผนที่กลยุทธ์(Strategy Map) และ BSCสิ่งที่คนในองค์กรจะเข้าใจเป้าหมายขององค์กรได้ง่าย ก็คือการ สร้าง map หรือ road map ที่แสดงเป็นขั้นตอนหรือเส้นทางที่จะดำเนินงาน ซึ่งแผนการดำเนินงานขององค์กรภาวะที่มีข้อจำกัดและมีการแข่งขัน จึงต้องเป้นแผนที่กลยุทธ์ หรือแผนยุทธศาสตร์ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์บนพื้นฐานของมุมมองทั้ง 4 และความสมดุลทั้ง 4 BSC ยังให้ความสำคัญต่อความเชื่อมโยงมุมมอง (Perspective) โดยนำเสนอใน 2 รูปแบบคือ

แบบความสัมพันธ์ (Relation)

แบบลำดับความสำคัญ(Priority)

Knowledge Management

ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (CoP) เป็นกิจกรรมเริ่มต้นอีกกิจกรรมหนึ่งในกระบวนการ KM ที่มีกิจกรรมหลายประการที่จะต้องดำเนินการทั้งในส่วนที่อาจเรียกว่าเป็นมิติของการบังคับและในส่วนที่เป็นมิติของการส่งเสริม ส่วนที่เป็นมิติการบังคับ คือ การที่จะต้องดำเนินการ KM ในฐานะตัวชี้วัดที่เป็นพันธะสัญญาที่กรมการปกครองได้จัดทำไว้ในคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2549 กับ สำนักงาน ก.พ.ร. ให้สำเร็จ คือ การดำเนินการในส่วนกลางของทุกสำนัก/กอง ตามแผนปฏิบัติการการจัดการความรู้ (KM Action Plan) กับการดำเนินการในส่วนภูมิภาคของอำเภอ/กิ่งอำเภอ ในการทำให้อำเภอ/กิ่งอำเภอ เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในพื้นที่ที่เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยอำเภอ/กิ่งอำเภอ จะต้องจัดทำผลสำเร็จการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในพื้นที่ จำนวน 1 เรื่อง เพื่อเผยแพร่ติดไว้ที่ ศตจ.อำเภอ/กิ่งอำเภอ และบันทึกไว้ที่เว็บไซต์ของจังหวัดและกรมการปกครอง ในส่วนที่เป็นมิติของการส่งเสริมคือ การดำเนินการ KM ในฐานะที่เป็นตัวขับเคลื่อน องค์กรสู่ความมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและทำให้มีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด บุคลากรของกรมการปกครองที่ถือได้ว่าเป็น “ทุนทางสังคม” มีความสำคัญยิ่งต่อการเดินทางไปสู่เป้าหมาย KM ดังกล่าว การศึกษาเรียนรู้เรื่อง KM และการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกิจกรรม KM ต่าง ๆ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจะทำให้เกิดสัมฤทธิ์ผล กับงานด้านการจัดการความรู้ที่กรมปกครองรับผิดชอบเช่นเดียวกับงานอื่น ๆ ที่ผ่านเข้ามาและสำเร็จผลลงด้วยดี กับทั้งเกิดคุณค่าประโยชน์แก่พี่น้องประชาชนและชาติบ้านเมืองไปพร้อมกัน เป็นที่ยอมรับและได้เกิดความไว้วางใจจากรัฐบาลทุกรัฐบาลเสมอมา

<!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Cordia New"; panose-1:2 11 3 4 2 2 2 2 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:-2130706429 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:"Cambria Math"; panose-1:2 4 5 3 5 4 6 3 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:-1610611985 1107304683 0 0 159 0;} @font-face {font-family:Calibri; panose-1:2 15 5 2 2 2 4 3 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:-1610611985 1073750139 0 0 159 0;} @font-face {font-family:"Microsoft Sans Serif"; panose-1:2 11 6 4 2 2 2 2 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:-520082689 -1073741822 8 0 66047 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-unhide:no; mso-style-qformat:yes; mso-style-parent:""; margin-top:0cm; margin-right:0cm; margin-bottom:10.0pt; margin-left:0cm; line-%; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Calibri","sans-serif"; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-fareast-font-family:Calibri; mso-fareast-theme-font:minor-latin; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin; mso-bidi-font-family:"Cordia New"; mso-bidi-theme-font:minor-bidi;} .MsoChpDefault {mso-style-type:export-only; mso-default-props:yes; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-fareast-font-family:Calibri; mso-fareast-theme-font:minor-latin; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin; mso-bidi-font-family:"Cordia New"; mso-bidi-theme-font:minor-bidi;} .MsoPapDefault {mso-style-type:export-only; margin-bottom:10.0pt; line-%;} @page Section1 {size:595.3pt 841.9pt; margin:72.0pt 72.0pt 72.0pt 72.0pt; mso-header-margin:35.4pt; mso-footer-margin:35.4pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} -->

สรุป Present ครั้งที่ 1-3 ส่งรวมที่นี่เลยนะครับ

นางสาวประกาย ใจประสิทธิ์ เลขที่ 11 ห้อง กจ.2/1

การจัดการลูกค้าสัมพันธ์

 (Customer relationship management หรือ CRM)

การจัดการลูกค้าสัมพันธ์  มีแนวปฏิบัติทางธุรกิจที่มีการทำมานาน อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการทำธุรกิจในประเทศแถบเอเซียแต่ไม่เห็นเด่นชัดเพราะกลมกลืนกับวัฒนธรรม CRM เป็นการผูกใจลูกค้าด้วยวิธีการต่าง ๆ การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ เริ่มมีผู้ให้ความสนใจที่จะทำให้เด่นชัดมากขึ้นเมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่สภาวะที่เป็นโลกาภิวัฒน์ (Globalization)

CRM เป็นแนวคิดที่บอกว่าองค์กรไม่ใช่เพียงแต่ให้ความสำคัญกับลูกค้าเท่านั้น แต่ต้องมองความสัมพันธ์กับลูกค้าเป็นทรัพย์สินที่มีค่า ความสัมพันธ์ที่ดีจะนำมาซึ่งยอดขายและการเติบโตของธุรกิจ

ความสัมพันธ์ประกอบด้วย การหาลูกค้าใหม่ และการรักษาลูกค้าเก่าไปไว้โดยเลือกใช้ปฏิสัมพันธ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าแต่ละราย

CRM สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทที่สำคัญ ดังนี้

                1. CRM เชิงปฏิบัติการ

                2. CRM เชิงการวิเคราะห์

                3. CRM เชิงการทำงานร่วมกัน

ประโยชน์จะได้รับจากความสัมพันธ์ที่ดี

1.               สร้างความจงรักภักดี องลูกค้าในระยะยาว

2.               เพิ่มยอดขายในระยะยาว

3.               สร้าง ประวัติ ชื่อเสียงและภาพพจน์ที่ดีของบริษัท

4.               เพิ่มโอกาสในการเติบโตของธุรกิจ

5.               การระบุ ลักษณะจำเพาะของลูกค้าแต่ละราย และจัดกลุ่ม

6.               กำหนดรูปแบบความสัมพันธ์ และการดูแลลูกค้าตามกลุ่ม ตามค่านิยมและความต้องการเฉพาะของลูกค้า

7.               การปรับปรุงองค์กร ขั้นตอนการทำงาน และเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อดำเนินตามกลยุทธ์ที่กำหนดไว้

8.               การนำเทคโนโลยีมาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเฉพาะบุคคล

9.               กระบวนการขายเป็นกระบวนการที่ทำให้สินค้าไปสู่มือลูกค้า หรือการให้บริการกับลูกค้า

10.         เป็นงานให้บริการลูกค้า

11.         การทำธุรกรรมผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

การเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมจะทำให้ธุรกิจสามารถให้บริการดีขึ้นโดยใช้ต้นทุนที่ลดลง สามารถใช้ช่องทางการติดต่อสื่อสารที่เหมาะสมกับการทำธุรกิจ ดังนั้นธุรกิจขนาดใหญ่ในปัจจุบันเริ่มให้ความสนใจในการปรับปรุงระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์แบบเก่าเป็นระบบที่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้นเรียกว่าระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ออนไลน์

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

แผนธุรกิจ

(Business Plan)

แผนธุรกิจ  เปนผลสรุปหรือผลรวมแหง่กระบวนการคิดพิจารณาและการตัดสินใจของผูประกอบการออกมาเปนโอกาสทางธุรกิจ  และเปนแผนใหรายละเอียดตาง ๆ ทางดานการตลาดการแขงขัน กลยุทธ์ การประมาณทางการเงิน  ชี้ใหเห็นประเด็นจุดออนและขควรระวัง

องค์ประกอบหลักของแผนธุรกิจ

1. รู้ว่าเราเป็นใคร (Who are we?)

2. รู้ว่าเราจะไปไหน (Where do we will go?)

3. รู้ว่าเราจะไปอย่างไร (How do we will go there?)

องค์ประกอบของแผนธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ

1. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

2. วิสัยทัศน์ / เป้าหมาย

3. พันธกิจ

4. โอกาส

-การวิเคราะห์สถานการณ

-การวิเคราะห์การแข่งขัน

5. กลยุทธ์ธุรกิจ

6. การตลาด

ประโยชน์ ข้อดีของการนำเครื่องมือไปใช้

                1 .เป็นเครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการ ในการวางแผนการดำเนินธุรกิจ ได้อย่างถูกต้อง

                2. เป็นเครื่องมือ ที่ช่วยให้ธุรกิจ มีโอกาสประสบ ความสำเร็จสูง และลดโอกาสการเกิดความผิดพลาด

                3. เป็นเครื่องมือเพื่อขอรับการสนับสนุนทางการเงิน

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 ระบบบริหารทรัพยากรองค์กร

Enterprise  Resource  Planning  (ERP)

คือ ระบบการวางแผนทรัพยากรขององค์กร เป็นระบบที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร โดยเป็นระบบที่เชื่อมโยงระบบงานต่างๆ ขององค์กรเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ระบบงานทางด้านบัญชี และการเงิน ระบบงานทรัพยากรบุคคล ระบบบริหารการผลิต รวมถึงระบบการกระจายสินค้า เพื่อช่วยให้การวางแผนและบริหารทรัพยากรขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยลดเวลาและขั้นตอนการทำงานได้อีกด้วย

ขั้นตอนของการนำ ERP มาใช้

การนำ ERP มาใช้นั้น มีความจำเป็นที่จะต้องแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนใหญ่

-                    ขั้นตอนการวางแนวคิด

-                    ขั้นตอนการวางแผน

-                    ขั้นตอนการพัฒนา

-                    ขั้นตอนการใช้งานจริงและทำให้คุ้นเคย

-                    ขั้นตอนพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง

ประโยชน์จากการนำ ERP มาใช้ในองค์กร

-                    เพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ของบริษัท

-                    ช่วยปรับปรุงระบบงานและประสิทธิภาพการดำเนินงาน รวดเร็ว ทำให้พนักงานทำงานได้อย่างประหยัดเวลาและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

-                    เพิ่มความสามารถในการควบคุมกระบวนการต่างๆ ของบริษัท

-                    การรวมการใช้งานของโปรแกรมต่างๆ ที่บริษัทใช้อยู่ให้ใช้ได้อย่าง สะดวกมากขึ้น

-                    ปรับปรุงระบบบริหารการเงินของบริษัท

สาเหตุที่ SMEs นำ ERP มาใช้ในองค์กร

-                    บริษัทไม่สามารถควบคุมหรือตรวจสอบทรัพยากรได้อย่างทั่วถึง

-                    การบริหารจัดการการเงินอย่างไม่มีประสิทธิภาพ

-                    ขาดการวางแผนและระบบที่มีประสิทธิภาพ

-                    ความไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้อย่างทันท่วงที เนื่องจากขนาดและทรัพยากรของธุรกิจที่จำกัด

ลักษณะสำคัญของระบบ ERP คือ

นางสาวประกาย ใจประสิทธิ์ เลขที่ 11 ห้อง กจ.2/1

การจัดการลูกค้าสัมพันธ์

 (Customer relationship management หรือ CRM)

การจัดการลูกค้าสัมพันธ์  มีแนวปฏิบัติทางธุรกิจที่มีการทำมานาน อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการทำธุรกิจในประเทศแถบเอเซียแต่ไม่เห็นเด่นชัดเพราะกลมกลืนกับวัฒนธรรม CRM เป็นการผูกใจลูกค้าด้วยวิธีการต่าง ๆ การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ เริ่มมีผู้ให้ความสนใจที่จะทำให้เด่นชัดมากขึ้นเมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่สภาวะที่เป็นโลกาภิวัฒน์ (Globalization)

CRM เป็นแนวคิดที่บอกว่าองค์กรไม่ใช่เพียงแต่ให้ความสำคัญกับลูกค้าเท่านั้น แต่ต้องมองความสัมพันธ์กับลูกค้าเป็นทรัพย์สินที่มีค่า ความสัมพันธ์ที่ดีจะนำมาซึ่งยอดขายและการเติบโตของธุรกิจ

ความสัมพันธ์ประกอบด้วย การหาลูกค้าใหม่ และการรักษาลูกค้าเก่าไปไว้โดยเลือกใช้ปฏิสัมพันธ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าแต่ละราย

CRM สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทที่สำคัญ ดังนี้

                1. CRM เชิงปฏิบัติการ

                2. CRM เชิงการวิเคราะห์

                3. CRM เชิงการทำงานร่วมกัน

ประโยชน์จะได้รับจากความสัมพันธ์ที่ดี

1.               สร้างความจงรักภักดี องลูกค้าในระยะยาว

2.               เพิ่มยอดขายในระยะยาว

3.               สร้าง ประวัติ ชื่อเสียงและภาพพจน์ที่ดีของบริษัท

4.               เพิ่มโอกาสในการเติบโตของธุรกิจ

5.               การระบุ ลักษณะจำเพาะของลูกค้าแต่ละราย และจัดกลุ่ม

6.               กำหนดรูปแบบความสัมพันธ์ และการดูแลลูกค้าตามกลุ่ม ตามค่านิยมและความต้องการเฉพาะของลูกค้า

7.               การปรับปรุงองค์กร ขั้นตอนการทำงาน และเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อดำเนินตามกลยุทธ์ที่กำหนดไว้

8.               การนำเทคโนโลยีมาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเฉพาะบุคคล

9.               กระบวนการขายเป็นกระบวนการที่ทำให้สินค้าไปสู่มือลูกค้า หรือการให้บริการกับลูกค้า

10.         เป็นงานให้บริการลูกค้า

11.         การทำธุรกรรมผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

การเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมจะทำให้ธุรกิจสามารถให้บริการดีขึ้นโดยใช้ต้นทุนที่ลดลง สามารถใช้ช่องทางการติดต่อสื่อสารที่เหมาะสมกับการทำธุรกิจ ดังนั้นธุรกิจขนาดใหญ่ในปัจจุบันเริ่มให้ความสนใจในการปรับปรุงระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์แบบเก่าเป็นระบบที่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้นเรียกว่าระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ออนไลน์

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

แผนธุรกิจ

(Business Plan)

แผนธุรกิจ  เปนผลสรุปหรือผลรวมแหง่กระบวนการคิดพิจารณาและการตัดสินใจของผูประกอบการออกมาเปนโอกาสทางธุรกิจ  และเปนแผนใหรายละเอียดตาง ๆ ทางดานการตลาดการแขงขัน กลยุทธ์ การประมาณทางการเงิน  ชี้ใหเห็นประเด็นจุดออนและขควรระวัง

องค์ประกอบหลักของแผนธุรกิจ

1. รู้ว่าเราเป็นใคร (Who are we?)

2. รู้ว่าเราจะไปไหน (Where do we will go?)

3. รู้ว่าเราจะไปอย่างไร (How do we will go there?)

องค์ประกอบของแผนธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ

1. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

2. วิสัยทัศน์ / เป้าหมาย

3. พันธกิจ

4. โอกาส

-การวิเคราะห์สถานการณ

-การวิเคราะห์การแข่งขัน

5. กลยุทธ์ธุรกิจ

6. การตลาด

ประโยชน์ ข้อดีของการนำเครื่องมือไปใช้

                1 .เป็นเครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการ ในการวางแผนการดำเนินธุรกิจ ได้อย่างถูกต้อง

                2. เป็นเครื่องมือ ที่ช่วยให้ธุรกิจ มีโอกาสประสบ ความสำเร็จสูง และลดโอกาสการเกิดความผิดพลาด

                3. เป็นเครื่องมือเพื่อขอรับการสนับสนุนทางการเงิน

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 ระบบบริหารทรัพยากรองค์กร

Enterprise  Resource  Planning  (ERP)

คือ ระบบการวางแผนทรัพยากรขององค์กร เป็นระบบที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร โดยเป็นระบบที่เชื่อมโยงระบบงานต่างๆ ขององค์กรเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ระบบงานทางด้านบัญชี และการเงิน ระบบงานทรัพยากรบุคคล ระบบบริหารการผลิต รวมถึงระบบการกระจายสินค้า เพื่อช่วยให้การวางแผนและบริหารทรัพยากรขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยลดเวลาและขั้นตอนการทำงานได้อีกด้วย

ขั้นตอนของการนำ ERP มาใช้

การนำ ERP มาใช้นั้น มีความจำเป็นที่จะต้องแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนใหญ่

-                    ขั้นตอนการวางแนวคิด

-                    ขั้นตอนการวางแผน

-                    ขั้นตอนการพัฒนา

-                    ขั้นตอนการใช้งานจริงและทำให้คุ้นเคย

-                    ขั้นตอนพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง

ประโยชน์จากการนำ ERP มาใช้ในองค์กร

-                    เพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ของบริษัท

-                    ช่วยปรับปรุงระบบงานและประสิทธิภาพการดำเนินงาน รวดเร็ว ทำให้พนักงานทำงานได้อย่างประหยัดเวลาและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

-                    เพิ่มความสามารถในการควบคุมกระบวนการต่างๆ ของบริษัท

-                    การรวมการใช้งานของโปรแกรมต่างๆ ที่บริษัทใช้อยู่ให้ใช้ได้อย่าง สะดวกมากขึ้น

-                    ปรับปรุงระบบบริหารการเงินของบริษัท

สาเหตุที่ SMEs นำ ERP มาใช้ในองค์กร

-                    บริษัทไม่สามารถควบคุมหรือตรวจสอบทรัพยากรได้อย่างทั่วถึง

-                    การบริหารจัดการการเงินอย่างไม่มีประสิทธิภาพ

-                    ขาดการวางแผนและระบบที่มีประสิทธิภาพ

-                    ความไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้อย่างทันท่วงที เนื่องจากขนาดและทรัพยากรของธุรกิจที่จำกัด

ลักษณะสำคัญของระบบ ERP คือ

นางสาวจุฑามณี ขัดตา เลขที่ 4 กจ 2/1

Supply chain management and logistic

                Supply Chain Management = การจัดการโซ่อุปทาน คือการรวบรวมการวางแผนและการจัดการของกิจกรรมทั้งหมดที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดหา การจัดซื้อ การแปรสภาพ และกิจกรรมการจัดการทั้งหมด ที่สำคัญการจัดการโซ่อุปทานยังรวมถึงการประสานงาน (Coordination)และการทำงานร่วมกัน (Collaboration) กับหุ้นส่วนต่างๆในโซ่อุปทานซึ่งจะเป็นผู้จัดส่งวัตถุดิบ ตัวกลางผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการลอจิสติกส์และลูกค้า แก่นสำคัญ คือ การจัดการโซ่อุปทานจะบูรณาการทั้งการจัดการอุปสงค์และอุปทานซึ่งรวมถึงภายในและภายนอกบริษัท

                ลอจิสติกส์ (Logistics) เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับช่องทางการจัดจำหน่าย เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการจากผู้ผลิตไปถึงมือผู้บริโภค รวมทั้งขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ และการเก็บรักษาสินค้าคงคลังอีกด้วย หรือพูดง่ายๆ ว่า ลอจิสติกส์ คือการนำสินค้าและบริการที่ลูกค้าต้องการไปยังสถานที่ที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม สร้างความพอใจสูงสุดให้ลูกค้า โดยที่กิจการจะได้รับผลกำไร หรือประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพนั่นเอง
การบริหารจัดการระบบลอจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมทำให้ต้นทุนในเรื่องของการเคลื่อนย้าย การขนส่ง การคลังสินค้า การรักษาสินค้าต่ำ และสามารถต่อสู้กับคู่แข่งขันยืนหยัดอยู่ในตลาดที่มีการแข่งขันรุนแรงได้หรือพูดอีกนัย การจัดการระบบลอจิสติกส์ที่ดีจะเป็นหนึ่งในหนทางแห่งความเป็นเลิศของธุรกิจ

 

 

Enterprise Resource Planning

แนวคิด ERP เริ่มในยุคปี ค.ศ. 1990 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จุดกำเนิดเริ่มแรกของ ERP มาจากแนวคิดของการพัฒนาระบบการบริหารการผลิตรวม (Material Requirement Resource Planning / Manufacturing Resource Planning, MRP System)  ของอุตสาหกรรมการผลิตในอเมริกา โดยคำว่า ERP และแนวคิดของ ERP นั้นก็พัฒนามาจาก MRP นั่นเอง

                ในที่นี้จะทำการอธิบาย ความเป็นมาของ MRP โดยย่อว่ามีความเป็นมาอย่างไร และทำไมจึงพัฒนามาเป็น ERP ได้ ซึ่งจะช่วยให้สามารถเข้าใจความหมายของ ERP ได้ดียิ่งขึ้น

                และตัวแนวคิด ERP เองก็ยังมีวิวัฒนาการอยู่ จาก ERP ก็จะเป็น Extended ERP และจะพัฒนาไปเป็น Next Generation ERP ต่อไปในอนาคต

ERP คืออะไร

  • ห่วงโซ่ของกิจกรรมขององค์กร

                องค์กรธุรกิจประกอบกิจกรรมธุรกิจในการส่งมอบสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้า  กิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรม  "สร้างมูลค่า"                ของทรัพยากรธุรกิจให้เกิดเป็นสินค้าหรือบริการและส่งมอบ "มูลค่า" นั้นให้แก่ลูกค้า โดยกระบวนการสร้างมูลค่าจะแบ่งออกเป็นส่วนๆ โดยแต่ละส่วนจะรับผิดชอบงานในส่วนของตน และมูลค่าสุดท้ายจะเกิดจากการประสานงานระหว่างแต่ละส่วนหรือแผนกย่อยๆ  ดังนั้นกิจกรรมที่สร้างมูลค่านั้น ประกอบด้วยการเชื่อมโยงของกิจกรรมของแผนกต่างๆ ในองค์กร  การเชื่อมโยงของบริษัทเพื่อให้เกิดมูลค่านี้ เรียกว่า "ห่วงโซ่ของมูลค่า (value  chain)"             

  • ปัญหาที่เกิดขึ้นในการบริหารธุรกิจ

                        ธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ การเชื่อมโยงของกิจกรรมการเพิ่มมูลค่าของแต่ละแผนก มักจะมีปัญหาเรื่องการสูญเปล่าและการขาดประสิทธิภาพ อีกทั้งการใช้เวลาระหว่างกิจกรรมที่ยาวเกินไป       ทำให้ผลผลิตต่ำลง เกิดความยากลำบากในการรับรู้สถานภาพการทำงานของแผนกต่างๆ ได้       ทำให้การตัดสินใจในการลงทุนและบริหารทรัพยากรต่างๆ ทำได้ยากขึ้น การบริหารเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กรไม่สามารถทำได้

ปัญหาเชิงบริหาร ที่เกิดขึ้นได้แก่

1. การขยายขอบเขตการเชื่อมโยงของกิจกรรม

2. โครงสร้างการเชื่อมโยงของกิจกรรมซับซ้อนขึ้น 

3. เกิดการสูญเปล่าในกิจกรรมและความรวดเร็วในการทำงานลดลง

4. การรับรู้สภาพการเชื่อมโยงของกิจกรรมทำได้ยาก

5. การลงทุนและบริหารทรัพยากรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทำได้ยาก

 

(Business Plan)แผนธุรกิจ

                แผนธุรกิจ  หมายถึง  แนวทางหรือทิศทางการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจ ซึ่งควรประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปของกลุ่ม รายละเอียดกิจการของกลุ่ม แผนการตลาด แผนการจัดองค์การ และแผนการเงิน

                แนวคิดของแผนธุรกิจที่ดี (Concept of good business plan) ซึ่งเป็นจุดเริ่มของการที่จะบอกได้ว่าแผนธุรกิจที่เขียนขึ้นมานั้นจัดเป็นแผนธุรกิจที่ดีหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นแผนธุรกิจ ที่เขียนขึ้นสำหรับการขอรับการสนับสนุนทางการเงิน สำหรับการประกวดแข่งขัน หรือสำหรับการเรียนการสอนของนักศึกษาก็ตาม โดยถ้าเป็นแผนธุรกิจที่ดีก็ควรจะมีหลักแนวคิดเดียวกันทั้งสิ้น ซึ่งถ้าผู้เขียนแผนธุรกิจเข้าใจแนวคิดดังกล่าวอย่างถูกต้อง ก็จะสามารถเขียน หรือจัดทำแผนธุรกิจที่ถือว่าเป็นแผนธุรกิจที่ดีได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งผู้เขียนมีแนวคิด เกี่ยวกับการที่จะระบุว่า แผนธุรกิจนี้อยู่ในเกณฑ์ดีหรือไม่ จากเกณฑ์พิจารณา 5 ประการ ซึ่งคล้ายคลึงกับเกณฑ์ 5Cs ในการพิจารณาสินเชื่อของธนาคารหรือสถาบันการเงิน อันประกอบด้วย Character (คุณลักษณะ), Credit (ความน่าเชื่อถือ), Capacity (ความสามารถในการดำเนินการหรือความสามารถในการผ่อนชำระ), Collateral (หลักประกัน) และ Condition (เงื่อนไข) แต่ในปัจจุบันอาจต้องเพิ่ม C ที่หกเข้าไปประกอบก็คือ Capital (ทุน) คือ ผู้ประกอบการในปัจจุบันควรจะต้องมีเงินทุนของตนเอง ซึ่งทุนในความหมายนี้ควรจะหมายถึงทุนที่เป็นเงินสด คือ Capital = Cash เพราะการให้วงเงินสินเชื่อในปัจจุบันจากธนาคารหรือสถาบันการเงินนั้น จะพิจารณาในส่วนเงินทุนของผู้ประกอบการในการให้วงเงินสินเชื่อ ตามสัดส่วนทุนของผู้ประกอบการที่มีอยู่ โดยจุดหนึ่งในการพิจารณาคือผู้ประกอบการมีเงินสดในมือเพียงพอหรือไม่ เพราะสัดส่วนสินเชื่อ ที่ทางธนาคารหรือสถาบันการเงินจะอนุมัติให้ อาจจะอยู่ระหว่าง 60%-80% ของมูลค่าการลงทุน ซึ่งส่วนที่เหลือ 20%-40% นั้น ผู้ประกอบการต้องเป็นผู้ออกทุนด้วยตนเอง โดยทุนในส่วนที่ไม่ใช่เงินสด เช่น ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักร อุปกรณ์ ก็จะถูกใช้เป็นหลักประกัน (Collateral) ไปแล้วนั่นเอง สำหรับเกณฑ์ 7Cs ที่ผู้เขียนจะใช้พิจารณาว่าแผนธุรกิจที่ดีควรจะมี หรือเป็นแนวคิดเบื้องต้น สำหรับแผนธุรกิจที่ดี จะประกอบด้วย

C - Communicate
C - Commercial
C - Competitive
C - Correct
C - Clear
C - Complete
C - Convince

ซึ่งถ้าแผนธุรกิจใดก็ตามที่มี 7Cs นี้ครบถ้วน ก็จะจัดได้ว่าเป็นแผนธุรกิจที่ดี และสามารถตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ในการจัดทำแผนธุรกิจ สำหรับผู้ประกอบการได้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ได้ 3 ลักษณะกล่าวคือ

- ใช้เป็นเครื่องมือ (Tools)
- ใช้เป็นแผนที่ (Map)
- ใช้เป็นข้อตกลง (Agreement)

Customer Relationship Management

                      CRM ย่อมาจาก Customer Relationship Management หรือเรียกว่า

การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ซึ่งก็คือการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยการใช้เทคโนโลยีและการ

ใช้บุคลากรอย่างมีหลักการ CRM ได้ถูกนำมาใช้มากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องมาจากจำนวนคู่แข่งของ

ธุรกิจแต่ละประเภทเพิ่มขึ้นสูงมาก  การแข่งขันรุนแรงขึ้นในขณะที่จำนวนลูกค้ายังคงเท่าเดิม

ธุรกิจจึงต้องพยายามสรรหาวิธีที่จะสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้าอันจะนำไปสู่ความจงรัก

ส่วนประกอบของ CRM

1. ระบบการขายอัตโนมัติ ประกอบด้วย
- ระบบขายโดยผ่านโทรศัพท์ตอบรับ เพื่อให้บริการแบบ Proactive ในลักษณะ Telesale
- ระบบพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ (E-Commerce) เพื่อทำการขายแบบUp-Saleing หรือ Cross-Saleing
- ระบบงานสนามด้านการขาย ได้แก่ Wireless Application สำหรับการขายปลีกและตัวแทนจำหน่ายสามารถเรียกดูข้อมูลลูกค้าได้ทันทีขณะติดต่อ จะเพิ่มโอกาสในการขายให้สูงขึ้น
2. ระบบบริการลูกค้า (Call Center) ประกอบด้วย ระบบการให้บริการในด้านโทรศัพท์ตอบรับ (Interactive Voice Response: IVR) ด้านเว็บไซต์ ด้านสนามและข่าวสารต่าง ๆ
3. ระบบการตลาดอัตโนมัติ ประกอบด้วย ระบบย่อยด้านการจัดการด้านรณรงค์ต่าง ๆ ด้านการแข่งขัน ด้านเครื่องมือที่จะช่วยการวิเคราะห์ข้อมูล และวิเคราะห์ธุรกิจ
4. Data Warehouse และเครื่องมือจัดการข้อมูล เป็นระบบสำคัญในการจัดการข้อมูลที่ละเอียดของ CRM ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลจากภายในและภายนอกองค์กร ข้อมูลภายในมีที่มาจาก 2 แหล่ง คือ 1) มาจากระบบงานคอมพิวเตอร์เป็นงาน Routine ที่มาจากระบบ Billing ลูกหนี้ ทะเบียนลูกค้า Call Center และข้อมูลเก่าดั้งเดิมที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบฐาน
ข้อมูล 2) ข้อมูลภายนอกได้แก่ Web Telephone Directory เป็นต้น

ประโยชน์ของ CRM

1. มีรายละเอียดข้อมูลของลูกค้าในด้านต่างๆ ได้แก่ Customer Profile Customer  Behavior

2. วางแผนทางด้านการตลาดและการขายอย่างเหมาะสม
3. ใช้กลยุทธ์ในการตลาด และการขายได้อย่างรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพตรงความต้องการของลูกค้า
4. เพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ
5. ลดการทำงานที่ซับซ้อน ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน เพิ่มโอกาสในการแข่งขัน 
    ก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์การ  

 

SA 8000

SA 8000 หรือ Social Accountability 8000 เป็นระบบมาตรฐานสากลที่ให้ความสำคัญกับสิทธิ ขั้นพื้นฐานของแรงงาน ซึ่งเหมือนกับระบบ ISO 9000 ที่เป็นมาตรฐานสากลสำหรับระบบคุณภาพ อันเกี่ยวกับการจัดการด้านคุณภาพและการประกันคุณภาพ และ ISO 14000 ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม SA 8000 เป็นระบบมาตรฐานสากลที่ใช้ได้กับทุกธุรกิจ อุตสาหกรรมการผลิต หรือ การบริการ โดยไม่คำนึงถึง ขนาด สถานที่ เทคโนโลยีในการผลิต และความซับซ้อนขององค์กร

ระบบมาตรฐาน SA 8000 ได้กำหนดข้อกำหนดเบื้องต้นไว้ 8 ข้อ ดังนี้

  • 1. การใช้แรงงานเด็ก (Child Labour) โดยห้ามว่าจ้างแรงงานเด็ก หรือแรงงานที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี หรือ แรงงานเด็กที่มีอายุต่ำกว่าที่กฎหมายของประเทศนั้นๆ กำหนด
  • 2. การบังคับการใช้แรงงาน (Forced Labour) ห้ามมีการกักขังหน่วงเหนี่ยวโดยใช้เอกสารสัญญาหรือการกักขังบริเวณ
  • 3. สุขลักษณะและความปลอดภัย (Health and Safety) ต้องมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี มีระบบความปลอดภัย น้ำดื่มที่สะอาด ตลอดจนระบบการรักษาพยาบาลเบื้องต้นในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน หรือ อุบัติเหตุที่เกิดจากการทำงาน
  • 4. สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเจรจาต่อรองในรูปของการรวมกลุ่ม (Freedom of association and the right to collective bargaining) มีสิทธิในการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นองค์กร กลุ่ม คณะกรรมการ หรือสหภาพแรงงานเพื่อแสดงความคิดเห็นหรือเจรจาต่อรอง
  • 5. การกีดกันหรือการแบ่งแยก (Discrimination) ไม่มีการแบ่งแยกในการจ้าง ค่าตอบแทนแรงงาน การฝึกอบรม การเลื่อนตำแหน่ง การสิ้นสุดการทำงาน เกษียณ โดยใช้เกณฑ์ในเรื่อง เพศ เชื้อชาติ วรรณะ ศาสนา ทุพพลภาพ การเป็นสมาชิกหรือรู้จักคนในองค์กรใด ๆ และห้ามมีการลวนลามทางเพศ
  • 6. กฎระเบียบวินัย (Disciplinary practices) ห้ามมีการเฆี่ยนตี ทำโทษโดยการกักกัน ทำร้าย ร่างกาย หรือการใช้ถ้อยคำส่อเสียดหยาบคาย
  • 7. ชั่วโมงการทำงาน (Working hours) จะต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมงใน 1 สัปดาห์ และจะต้องมีวันพักผ่อน 1 วัน ในทุกๆ 7 วัน ในส่วนของการทำงานล่วงเวลาไม่ควรเกิน 12 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์และต้องได้รับค่าตอบแทนมากกว่าอัตราปรกติ
  • 8. ค่าตอบแทนแรงงาน (Compensation) ค่าจ้างแรงงานจะต้องเป็นอัตราขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด หรือเป็นไปตามมาตรฐานของอุตสาหกรรม ห้ามมีการหักค่าจ้างค่าตอบแทนเนื่องจากมีการทำผิดวินัย ค่าจ้างและผลประโยชน์ที่ได้รับจะต้องเปิดเผยและได้รับอย่างสม่ำเสมอ โดยจะต้องอยู่ในรูปของธนบัตรหรือเช็ค ห้ามว่าจ้างแรงงานที่เป็นลักษณะสัญญาว่าจ้างหรือการฝึกงานเพื่อหลีกเลี่ยงข้อกำหนดข้างต้น

ประโยชน์ที่ได้รับจากการนำมาตรฐาน SA 8000

  •  
    • สร้างภาพลักษณ์ของบริษัทให้เป็นที่ยอมรับในสังคมโดยเฉพาะในสายตาของผู้บริโภค
    • ทำให้แรงงานมีความจงรักภักดีต่อองค์กร ประสิทธิภาพในการทำงานของแรงงานเพิ่มขึ้นและนำไป สู่การเพิ่มผลผลิตในที่สุด
    • สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อสังคม
    • ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในตัวสินค้าและบริการและมีความภักดีต่อองค์กร
    • มีช่องทางการตลาดใหม่
    • มีโอกาสในการเลือกแรงงานที่มีคุณภาพ
    • ลดขั้นตอนและต้นทุนในการตรวจสอบ

ISO 26000 Social Responsibility

                ISO 26000 Social Responsibility เป็นมาตรฐานการแสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบของสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืนทางธุรกิจ

หลัก 7 ประการของ ISO 26000
ISO 26000 มีหลักการสำคัญ 7 ประการ คือ

  • A. หลักการปฏิบัติตามกฎหมาย (Principle of legal compliance) องค์กรจะต้องมีการปฏิบัติที่สอดคล้องกับกฎหมาย และกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชาติและระดับสากลทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ
  • B. หลักการเคารพต่อแนวปฏิบัติระดับชาติหรือระดับสากล (Principle of respect for authoritative inter-government agreements or internationally recognized instruments) รวมถึงสนธิสัญญาสากล คำสั่ง ประกาศ ข้อตกลง มติ และข้อชี้นำต่างๆ ซึ่งได้รับการรับรองจากองค์กรสากลที่เกี่ยวข้องกับองค์กรนั้นๆ
  • C. หลักการให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ( Principle of recognition of stakeholders and concerns) องค์กรควรตระหนักถึงสิทธิและผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมขององค์กร เช่น นโยบาย ข้อเสนอ หรือการตัดสินใจต่างๆ ก็ตามที่จะส่งผลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • D. หลักของการแสดงรับผิดชอบที่สามารถตรวจสอบได้ (Principle of accountability) ในการดำเนินงานใดๆก็ตามขององค์กรต้องสามารถตรวจสอบได้จากภายนอก
  • E. หลักการความโปร่งใส (Principle of transparency) องค์กรควรเปิดเผยข้อมูลต่างๆให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบอย่างชัดแจ้ง
  • F. หลักการความเคารพในสิทธิมนุษยชน (Principle of respect of fundamental human right) องค์กรควรดำเนินนโยบายและดำเนินกิจกรรมที่สอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
  • G. หลักการความเคารพในความหลากหลาย (Principle of respect for diversity) องค์กรควรจ้างพนักงาน โดยไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติ สีผิว ความเชื่อ อายุ เพศ องค์ประกอบของความรับผิดชอบต่อสังคม ความรับผิดชอบต่อสังคมนั้นมีองค์ประกอบหลากหลาย

 

ISO 26000 ได้กำหนดองค์ประกอบหลักของความรับผิดชอบไว้ 7 ประการ ดังนี้

  • 1. มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Organization governance) กล่าวคือ องค์กรควรกำหนดหน้าที่ให้คณะกรรมการฝ่ายจัดการ ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถสอดส่องดูแลผลงานและการปฏิบัติงานขององค์กรได้ เพื่อแสดงถึงความโปร่งใส พร้อมรับการตรวจสอบ และสามารถชี้แจงให้ผู้มีส่วนได้เสียได้รับทราบถึงผลการปฏิบัติงานได้
  • 2. คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน (Human rights) ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ โดยสิทธิดังกล่าวควรครอบคลุมถึงสิทธิความเป็นพลเมือง สิทธิทางการเมือง สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และสิทธิตามกฎหมายระหว่างประเทศด้วย
  • 3. ข้อปฏิบัติด้านแรงงาน (Labor practices) องค์กรต้องตะหนักว่าแรงงานไม่ใช่สินค้า ดังนั้นแรงงานจึงไม่ควรถูกปฏิบัติเสมือนเป็นปัจจัยการผลิต
  • 4. การดูแลสิ่งแวดล้อม (Environment) องค์กรจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงหลักการป้องกันปัญหามลพิษการบริโภคอย่างยั่งยืน (Sustainable consumption) และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพในการดำเนินการผลิตและบริการ
  • 5. การดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรม (Fair operating practices) องค์กรต่างๆ ควรแข่งขันกันอย่างเป็นธรรมและเปิดกว้าง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการลดต้นทุนสินค้าและบริการ นวัตกรรมการพัฒนาสินค้าหรือกระบวนการใหม่ๆ รวมถึงจะช่วยขยายการเติบโตทางเศรษฐกิจและมาตรฐานการครองชีพในระยะยาว
  • 6. ใส่ใจต่อผู้บริโภค (Consumer issues) องค์กรจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้รับทราบข้อมูลในการใช้สินค้าและบริการอย่างเหมาะสม ทั้งยังต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาสินค้าและบริการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยคำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้งานและสุขภาพของผู้บริโภค นอกจากนี้เมื่อพบว่าสินค้าไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด องค์กรก็จะต้องมีกลไกในการเรียกคืนสินค้า พร้อมทั้งยังต้องให้ความสำคัญกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค และถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดอีกด้วย
  • 7. การแบ่งปันสู่สังคมและชุมชน (Contribution to the community and society)

TQM (Total Quality Management)

                 TQM (Total Quality Management) เป็นระบบบริหารคุณภาพที่มุ่งเน้นการให้ความสำคัญสูงสุดต่อลูกค้าภายใต้ความร่วมมือของพนักงานทั่วทั้งองค์กรที่จะปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการได้ TQM จึงเป็นแนวทางที่หลายองค์กรนำมาใช้ปรับปรุงงาน
           ระบบ TQM เป็นระบบที่มองภาพรวมทั้งองค์กร ระบบนี้ลูกค้าจะเป็นผู้กำหนดมาตรฐานหรือความต้องการ เป็นระบบที่ปรับปรุงการวางแผน การจัดองค์กร และการทำความเข้าใจในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับแต่ละบุคคลในแต่ละระดับเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ ให้มีความยืดหยุ่นเพื่อที่จะสามารถแข่งขันได้ TQM เป็นระบบที่สามารถนำไปใช้ได้กับทุกองค์กร ประสิทธิภาพของการจัดองค์กรในระบบนี้ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของทุกคนในการนำองค์กรไปสู่เป้าหมาย โดยที่

Total Quality Management
  • Total ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมในการบริหารระบบคุณภาพ
  • Quality การสร้างความพึงพอใจของลูกค้า โดยใช้แนวความคิดเชิงระบบของการจัดการ
  • Management ระบบการบริหารจัดการคุณภาพ

 

วัตถุประสงค์ทั่วไปของ TQM (Total Quality Management)

  • เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
  • เพื่อพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องในกิจกรรมทุกด้านและช่วยลดต้นทุน
  • เพื่อสร้างความพึงพอใจและยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานทุกคน
  • เพื่อความอยู่รอดขององค์กรและการเจริญเติบโต
  • เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น
  • เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

 

วัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุดของ TQM (Total Quality Management)

1. เพื่อการพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้สามารถใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ ด้วยการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงงาน / คุณภาพของสินค้าหรือบริการ อันจะทำให้คุณภาพชีวิต (Quality of Life) ของพนักงานทุกคนดีขึ้นเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง

2.เพื่อการปรับปรุงคุณภาพของสินค้าหรือบริการให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันจะทำให้ลูกค้าเกิดความพอใจ (Customer Satisfaction)

ส่วนประกอบของ TQM (Total Quality Management)

1. การให้ความสำคัญกับลูกค้า (Customer Oriented)

2. การพัฒนา/ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง(Continuous Improvement)

3. สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วม (Employees Involvement)

การจัดการคุณภาพโดยรวม

แนวคิดพื้นฐานของ TQM

1.การมีข้อผูกพันร่วมกัน และการสนับสนุนของฝ่ายบริหาร

2. การปรับผลกระทบกับลูกค้า

3. ประสิทธิภาพและการใช้งาน

4. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

5. การให้ความสำคัญแก่ผู้ขาย

6. การกำหนดสมรรถนะในการทำงานและกระบวนการ

ประโยชน์ของ TQM

  • 1. ก่อให้เกิดคุณค่าของสินค้าและบริการเพื่อนำเสนอต่อลูกค้า ซึ่ก็จะได้รับความพึงพอใจและเชื่อมั่นพร้อมทั้งภัคดีต่อผลิตภัณฑ์ของเรา
  • 2. ก่อให้เกิดศักยภาพในการแข่งขันและความได้เปรียบทางธุรกิจ
  • 3. ช่วยลดต้นทุนในการผลิตและการดำเนินงานในการเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด
  • 4. เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มผลผลิตเนื่องจากมีการกระจายงาน และเอื้ออำนวยให้ทุกกระบวนงานมีความคล่องตัว
  • 5. ทำให้มีการกำหนดจุดควบคุมที่เหมาะสม เพื่อติดตามผลของการดำเนินงานเป็นระยะและเมื่อผลเบี่ยงเบนไปจากเป้าหมายก็จะมีระบบในการวิเคราะห์หาสาเหตุ เพื่อทำการแก้ไข และป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ

Corporate-Governance

                เพื่อให้เรามีความเข้าใจทั้งระบบจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจทั้งธรรมาภิบาล    และบรรษัทภิบาลไปพร้อมกันเนื่องจากมีความเกี่ยวพันกัน

                ธรรมาภิบาล (Good Governance) คือการกำหนดหลักปฏิบัติในภาครัฐให้มีความรับผิดชอบ ความโปร่งใส การปราศจากการทุจริต การให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วม โดยมีการดำเนินการภายใต้หลักนิติธรรม ทั้งนี้ เพื่อให้การปฏิบัติงานภาครัฐมีหลักประกันแก่ประชาชนว่าการดำเนินนโยบายและกิจกรรมของรัฐใด ๆ ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เป็นไปอย่างมีฉันทานุมัติ มีความเสมอภาคทั้งคนจนและคนรวย และมั่นใจได้ว่าการจัดสรรทรัพยากรสาธารณะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาสม

วัตถุประสงค์

  • เพื่อรณรงค์และส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของบรรษัทภิบาล
  • ที่ดี ทั้งประโยชน์ต่อบริษัท และประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้เสีย อาทิ ผู้ถือหุ้น คู่ค้า ลูกค้า เจ้าหนี้ พนักงาน และชุมชน เป็นต้น
  • เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในแนวปฏิบัติเรื่องบรรษัทภิบาลที่ดี
  • เพื่อผลักดันให้บริษัทจดทะเบียนนำหลักการบรรษัทภิบาลที่ดี ไปปรับใช้และปฏิบัติอย่างจริงจัง

บรรษัทภิบาลมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่
                - ความรับผิดชอบ (Accountability) 

- ความโปร่งใส (Transparency)  

- ความเสมอภาค (Equity) 

ขั้นตอนในการสร้างบรรษัทภิบาล
 
การกำกับดูแลกิจการที่ดี

  • ความเข้าใจที่ถูกต้อง(Right Understanding)
  • ความคิดที่ถูกต้อง (Right Thinking)
  • ความทุ่มเทที่ถูกต้อง (Right Commitment)
  • กระทำที่ถูกต้อง (Right Action)
  • การกำกับ-ควบคุมที่ถูกต้อง กระทำที่ถูกต้อง (Right Action)
  • การประเมินและการปรับแก้ที่ถูกต้อง (Right Assess and Alignment)

ประโยชน์

  • มีความเที่ยงธรรม มีประสิทธิภาพประสิทธิผล สามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจ สังคมไทยให้สามารถแข่งขันได้
  • นำไปสู่การพัฒนาประเทศ และสังคมที่ยั่งยืน มั่นคง และสงบสุข
นางสาวสุภัทรา ถาตะถา

1.              Supply chain management and logistic

ความหมาย

การจัดการโซ่อุปทาน คือ การรวบรวมการวางแผน และการจัดการของกิจกรรมทั้งหมดที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดหา การจัดซื้อ การแปรสภาพ และกิจกรรมการจัดการทั้งหมด

การนำเครื่องมือไปใช้

1.การจับคู่ทางธุรกิจ                                             2.การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

3.การบริหารโครงสร้างการเปลี่ยนแปลง         4.การปรับปรุงกระบวนการจัดการให้มีประสิทธิภาพ

5.การเจรจาต่อรองราคา                                      6.การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้าทางธุรกิจ

การนำ Supply Chain ไปใช้ในองค์กร

1.กำหนดเป้าหมายกระบวนการที่จะทำการลดต้นทุนและระยะเวลา                           2.วางแผนการปฏิบัติ (Action Plan)

3.อาศัยความร่วมมือภายในหน่วยงาน                                                                               4.การให้รางวัล หรือผลตอบแทนให้กับทีมงาน

ประโยชน์ของเครื่องมือ

1.สนองตอบตรงตามความต้องการของลูกค้า

2.ลดค่าใช้จ่ายอย่างเป็นระบบ

3.ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กร

4.ติดตามกระบวนการทำงานได้อย่างใกล้ชิด

5.บริหารสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6.ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่า

2.  Corporate-Governance

ความหมาย

บรรษัทภิบาล (Corporate Governance) หมายถึง การกำกับดูแลกิจการในภาคธุรกิจที่ต้องอาศัยความโปร่งใส รับผิดชอบ และเที่ยงธรรม ทั้งภาคทฤษฎีและภาคการปฏิบัติ โดยผู้มีอำนาจตัดสินใจในบรรษัทภิบาลที่ดี จะต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท (shareholder) และควรปฏิบัติอย่างเสมอภาค เพื่อการดำเนินการภายในองค์กรให้ได้รับผลประโยชน์สูงสุดนั่นเอง โดยทั้งนี้ทั้งนั้นต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจจากสมาชิกทุกคนภายใน องค์กร โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมอย่างมีจิตสำนึกหรือ จิตสาธารณะ (Public consciousness) ตลอดจนความสมัครสมานสามัคคีร้อยรัด ของสมาชิกที่เข้ามาเพื่อรังสรรค์ สิ่งที่ดีงามแก่องค์กรธุรกิจโดยรวม

บรรษัทภิบาลมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่

  1 ความรับผิดชอบ (Accountability) 

2ความโปร่งใส (Transparency)  

3 ความเสมอภาค (Equity) 

ขั้นตอนในการสร้างบรรษัทภิบาล
 การกำกับดูแลกิจการที่ดี

  • ความเข้าใจที่ถูกต้อง(Right Understanding)
  • ความคิดที่ถูกต้อง (Right Thinking)
  • ความทุ่มเทที่ถูกต้อง (Right Commitment)
  • กระทำที่ถูกต้อง (Right Action)
  • การกำกับ-ควบคุมที่ถูกต้อง กระทำที่ถูกต้อง (Right Action)
  • การประเมินและการปรับแก้ที่ถูกต้อง (Right Assess and Alignment)

ประโยชน์

1.เพิ่มศักยภาพในการสร้างสรรถนะการแข่งขันให้แก่บริษัททั้งในระดับประเทศและระดับโลก

2.เพิ่มโอกาสในการเข้าสู่ตลาดทุนของโลก

3.เพิ่มโอกาสในการเสาะหาพันธมิตรทางธุรกิจได้ง่ายขึ้นและเป็นพันธมิตรที่มีบรรษัทภิบาลที่ดี

3.  Business Plan

แผนธุรกิจ

ความหมาย

 เป็นผลสรุปหรือผลรวมแห่งกระบวนการคิดพิจารณาและการตัดสินใจของผู้ประกอบการออกมาเป็นโอกาสทางธุรกิจ
แผนที่  ช่วยชี้แนะการดำเนินงานขั้นตอนต่างๆ ในการก่อตั้งกิจการ
เป็นแผน ให้รายละเอียดต่างๆ ทางด้านการตลาด การแข่งขัน กลยุทธ์ การประมาณทางการเงิน ชี้ให้เห็นประเด็นจุดอ่อนและข้อควรระวัง

แผนธุรกิจสำคัญอย่างไร


ให้รายละเอียดการเริ่มต้น ให้เป้าหมายที่ชัดเจนแก่ผู้ประกอบการ
เป็นเครื่องมือในการหาแหล่งที่มาของเงินทุน จากผู้ร่วมทุน กองทุน และสถาบันการเงินต่างๆ
ให้รายละเอียดกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดหาเงินทุน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด เป็นต้น

องค์ประกอบของแผนธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
1. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary)
2. วิสัยทัศน์ (Vision)/พันธกิจ (Mission)/เป้าหมาย(Objective)
3. SWOT & Competitive Analysis
    -  การวิเคราะห์สถานการณ์(Situation Analysis)
    -  การวิเคราะห์การแข่งขัน(Competitive Analysis)
4. กลยุทธ์ธุรกิจ (Business Strategy)
5. กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional Strategy)
    5.1 การตลาด(Marketing)
    5.2 การผลิตและการดำเนินการ(Production & Operations)
    5.3.  การจัดการ (Management)
    5.4.  การบัญชีและการเงิน (Accounting & Finance)

        ประโยชน์

1.เป็นเครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการ ในการวางแผนการดำเนินธุรกิจ ได้อย่างถูกต้อง

2.เป็นเครื่องมือ ที่ช่วยให้ธุรกิจ มีโอกาสประสบ ความสำเร็จสูง และลดโอกาสการเกิดความผิดพลาด

3.เป็นเครื่องมือเพื่อขอรับการสนับสนุนทางการเงิน

4. Customer Relationship Management

ความหมาย
                    CRM ย่อมาจาก Customer Relationship Management หรือเรียกว่า

การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ซึ่งก็คือการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยการใช้เทคโนโลยีและการ

ใช้บุคลากรอย่างมีหลักการ CRM ได้ถูกนำมาใช้มากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องมาจากจำนวนคู่แข่งของ

ธุรกิจแต่ละประเภทเพิ่มขึ้นสูงมาก  การแข่งขันรุนแรงขึ้นในขณะที่จำนวนลูกค้ายังคงเท่าเดิม

ธุรกิจจึงต้องพยายามสรรหาวิธีที่จะสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้าอันจะนำไปสู่ความจงรักภักดีในที่สุด    

เป้าหมาย
เป้าหมายของ CRM นั้นไม่ได้เน้นเพียงแค่การบริการลูกค้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเก็บข้อมูลพฤติกรรม

 ในการใช้จ่ายและความต้องการของลูกค้า จากนั้นจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์และใช้ให้เกิดประโยชน์

 ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการบริการรวมไปถึงนโยบายในด้านการจัดการ ซึ่งเป้าหมายสุดท้ายของการ

 พัฒนา CRM ก็คือ การเปลี่ยนจากผู้บริโภคไปสู่การเป็นลูกค้าตลอดไป

 

ส่วนประกอบ

1.       ระบบการขายอัตโนมัติ ประกอบด้วย
- ระบบขายโดยผ่านโทรศัพท์ตอบรับ เพื่อให้บริการแบบ Proactive ในลักษณะ Telesale
- ระบบพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ (E-Commerce) เพื่อทำการขายแบบUp-Saleing หรือ Cross-Saleing
- ระบบงานสนามด้านการขาย ได้แก่ Wireless Application สำหรับการขายปลีกและตัวแทนจำหน่ายสามารถเรียกดูข้อมูลลูกค้าได้ทันทีขณะติดต่อ จะเพิ่มโอกาสในการขายให้สูงขึ้น
2. ระบบบริการลูกค้า (Call Center) ประกอบด้วย ระบบการให้บริการในด้านโทรศัพท์ตอบรับ (Interactive Voice Response: IVR) ด้านเว็บไซต์ ด้านสนามและข่าวสารต่าง ๆ
3. ระบบการตลาดอัตโนมัติ ประกอบด้วย ระบบย่อยด้านการจัดการด้านรณรงค์ต่าง ๆ ด้านการแข่งขัน ด้านเครื่องมือที่จะช่วยการวิเคราะห์ข้อมูล และวิเคราะห์ธุรกิจ
4. Data Warehouse และเครื่องมือจัดการข้อมูล เป็นระบบสำคัญในการจัดการข้อมูลที่ละเอียดของ CRM ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลจากภายในและภายนอกองค์กร ข้อมูลภายในมีที่มาจาก 2 แหล่ง คือ 1) มาจากระบบงานคอมพิวเตอร์เป็นงาน Routine ที่มาจากระบบ Billing ลูกหนี้ ทะเบียนลูกค้า Call Center และข้อมูลเก่าดั้งเดิมที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบฐาน
ข้อมูล 2) ข้อมูลภายนอกได้แก่ Web Telephone Directory เป็นต้น

 

ประโยชน์

1. มีรายละเอียดข้อมูลของลูกค้าในด้านต่างๆ ได้แก่ Customer Profile Customer  Behavior

2. วางแผนทางด้านการตลาดและการขายอย่างเหมาะสม

3. ใช้กลยุทธ์ในการตลาด และการขายได้อย่างรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพตรงความต้องการของลูกค้า

4. เพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ

5. ลดการทำงานที่ซับซ้อน ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน เพิ่มโอกาสในการแข่งขัน

    ก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์การ  

 

5. Enterprise Resource Planning

ความหมาย

ERP ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning หมายถึง การวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดของทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร
ERP จึงเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ในการบริหารธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์กร อีกทั้งยังช่วยให้สามารถวางแผนการลงทุนและบริหารทรัพยากรขององค์กรโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ERP จะช่วยทำให้การเชื่อมโยงทางแนวนอนระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง การผลิต และการขายทำได้อย่างราบรื่น ผ่านข้ามกำแพงระหว่างแผนก และทำให้สามารถบริหารองค์รวมเพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด

ระบบ ERP เป็นระบบสารสนเทศขององค์กรที่นำแนวคิดและวิธีการบริหารของ ERP มาทำให้เกิดเป็นระบบเชิงปฏิบัติในองค์กร ระบบ ERP สามารถบูรณาการ (integrate)รวมงานหลัก (core business process) ต่างๆ ในบริษัททั้งหมด ได้แก่ การจัดจ้าง การผลิต การขาย การบัญชี และการบริหารบุคคล เข้าด้วยกันเป็นระบบที่สัมพันธ์กันและสามารถเชื่อมโยงกันอย่าง real time


• บทบาทของ ERP

ลักษณะสำคัญของระบบ ERP คือ
1. การบูรณาการระบบงานต่างๆ ของระบบ ERP
จุดเด่นของ ERP คือ การบูรณาการระบบงานต่างๆ เข้าด้วยกัน ตั้งแต่การจัดซื้อ จัดจ้าง การผลิต การขาย บัญชีการเงิน และการบริหารบุคคล ซึ่งแต่ละส่วนงานจะมีความเชื่อมโยงในด้าน การไหลของวัตถุดิบสินค้า (material flow) และการไหลของข้อมูล (information flow) ERP ทำหน้าที่เป็นระบบการจัดการข้อมูล ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการงานในกิจกรรมต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด พร้อมกับสามารถรับรู้สถานการณ์และปัญหาของงานต่างๆ ได้ทันที ทำให้สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาองค์กรได้อย่างรวดเร็ว

2.รวมระบบงานแบบ real time ของระบบ ERP
การรวมระบบงานต่างๆ ของระบบ ERP จะเกิดขึ้นในเวลาจริง(real time) อย่างทันที เมื่อมีการใช้ระบบ ERP ช่วยให้สามารถทำการปิดบัญชีได้ทุกวัน เป็นรายวัน คำนวณ ต้นทุนและกำไรขาดทุนของบริษัทเป็นรายวัน

3. ระบบ ERP มีฐานข้อมูล(database) แบบสมุดลงบัญชี
การที่ระบบ ERP สามารถรวมระบบงานต่าง ๆ เข้าเป็นระบบงานเดียว แบบ Real time ได้นั้น ก็เนื่องมาจากระบบ ERP มี database แบบสมุดลงบัญชี ซึ่งมีจุดเด่น คือ คุณสมบัติของการเป็น 1 Fact 1 Place ซึ่งต่างจากระบบแบบเดิมที่มีลักษณะ 1 Fact Several Places ทำให้ระบบซ้ำซ้อน ขาดประสิทธิภาพ เกิดความผิดพลาดและขัดแย้งของข้อมูลได้ง่าย

ประโยชน์

1.กระบวนการบริหาร ERP เป็นระบบที่สามารถรวบรวมข้อมูลต่างๆ ให้กับผู้บริหารได้อย่างเที่ยงตรง

2.เทคโนโลยีพื้นฐาน ERP ช่วยเชื่อมโยงระบบงานต่างๆที่กระจัดกระจายเข้าด้วยกันเสมือน

3.กระบวนการทำงานที่รวดเร็ว การบูรณาการงานหลักต่างๆขององค์การเข้าด้วยกัน

 

6. TQM (Total Quality Management)

ความหมาย

TQM  หมายถึง ระบบการทำงานที่เป็นวัฒนธรรมขององค์การที่สมาชิกทุกคนต่างให้ความสำคัญ และมีส่วนร่วม  ในการพัฒนาการดำเนินงานขององค์การอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งที่จะตอบสนองความต้องการ และสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้า ซึ่งจะสร้างโอกาสทางธุรกิจ ความได้เปรียบในการแข่งขันและพัฒนาการที่ยั่งยืนขององค์การ

           วัตถุประสงค์

            1. เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
            2. เพื่อพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในกิจกรรมทุกด้าน
            3. เพื่อความอยู่รอดขององค์กรและสามารถเจริญเติบโต       อย่างไม่หยุดยั้ง ภายใต้ภาวการณ์การแข่งขันที่รุนแรง
            4. เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานทุกคน
            5. เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น
            6. เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

TQM  มี หลักการที่สำคัญ 3 ประการ คือ

1. การให้ความสำคัญกับลูกค้า (Customer Oriented)
                ลูกค้าเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ธุรกิจอยู่รอด และความมุ่งหมายเดียวของธุรกิจ คือ การสร้างและรักษาลูกค้าการให้ความสำคัญกับลูกค้า

2. การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement)
               
องค์การที่จะทำ TQM จะต้องกล้าตัดสินใจ แก้ไขปรับปรุง และเปลี่ยนแปลง

3. สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วม (Employees Involvement)
                ตั้งแต่พนักงานระดับปฏิบัติการ จนถึงหัวหน้าคณะผู้บริหาร (Chief Executive Officers) หรือ CEOS ที่ไม่ใช่เพียงปฏิบัติงานแบบขอไปทีเท่านั้นแต่ต้องมีความเข้าใจและยอมรับในการสร้างคุณภาพสูงสุดให้เกิดขึ้น ไม่เฉพาะบุคคลในหน่วยงาน แต่ทุกหน่วยงานจะต้องร่วมมือกันในการพัฒนาคุณภาพของธุรกิจอย่างสอดคล้องและลงตัว

กระบวนการ TQM

กิจกรรม 5  นั้นเป็นกิจกรรมที่เน้นในเรื่องการจัดเก็บเอกสาร วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้เกิดความปลอดภัยให้มีคุณภาพ และประสิทธิภาพในการทำงาน และที่สำคัญคือ ทำให้เกิดการสร้างลักษณะนิสัยที่ดี อีกทั้งยังเป็นการสร้างความสามัคคี และความมีวินัยในการทำงาน 

        กิจกรรมทีมคุณภาพ (QT) เป็นกิจกรรมที่เน้นในเรื่องการแก้ปัญหา  การปรับปรุงงานและ

การพัฒนางานในระดับของผู้บังคับบัญชา   ปัญหาที่นำมาดำเนินการฯ จะเป็นปัญหาใหญ่ ๆ ในระดับของผู้บริหาร การแก้ปัญหาของทีมจะเป็นการแก้ปัญหาแบบเป็นวิทยาศาสตร์   คือมีเหตุมีผล

มีการเก็บข้อมูลตัวเลข  กราฟ  สถิติต่างๆเพื่อเปรียบเทียบก่อน/หลังการแก้ปัญหา

การที่เราจะทำให้พนักงานมีความรู้ในส่วนนี้ได้โดย ทำการ Workshop มีการจัดตั้งทีม / คัดเลือกปัญหาขึ้นมาปรับปรุงโดยดำเนินการในลักษณะของโครงการเล็กๆ เบื้องต้นก่อน จากนั้นก็ให้ลองดำเนินการและประเมินผลว่าสามารถแก้ไขปัญหาได้จริงหรือไม่

กิจกรรมคิวซี (QC) เป็นกิจกรรมที่เน้นในเรื่องของการปรับปรุงงานในระดับผู้ปฏิบัติ โดย

การจัดตั้งเป็นทีมขึ้นมาตามลักษณะของงาน  เช่น  ทีมของงานธุรการ  ทีมของงานการผลิต ทีมของงานขาย เป็

นางสาวสุภัทรา ถาตะถา

เครื่องมือ TQM (ต่อ)

กิจกรรมคิวซี (QC) เป็นกิจกรรมที่เน้นในเรื่องของการปรับปรุงงานในระดับผู้ปฏิบัติ โดย

การจัดตั้งเป็นทีมขึ้นมาตามลักษณะของงาน  เช่น  ทีมของงานธุรการ  ทีมของงานการผลิต ทีมของงานขาย เป็นต้น  

ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม QC ดำเนินการเช่นเดียวกับกิจกรรม QT ต่างกันเพียงทีม QT เป็นทีมของผู้บังคับบัญชา ปัญหาที่นำมาดำเนินการ เป็นปัญหาในระดับของหน่วยงาน ส่วนทีม QC เป็นทีมของผู้ปฏิบัติ ปัญหาที่นำมาดำเนินการ เป็นปัญหาหน้างานหรือของฝ่าย

กิจกรรมข้อเสนอแนะ (SS) เป็นกิจกรรมที่เน้นในเรื่องของความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการ

แก้ปัญหาและปรับปรุงงาน เป็นการปรับปรุงงานในระดับผู้ปฏิบัติ โดยผู้ปฏิบัติงานในแต่ละฝ่ายสามารถเสนอแนะการปรับปรุงงานของฝ่ายอื่นได้ สามารถพัฒนาได้โดย

1.  ตั้งคณะกรรมการข้อเสนอแนะ 

2.  พนักงาน / เจ้าหน้าที่เสนอความคิดโดยกรอกแบบฟอร์มตามที่จัดไว้ให้   

3.  นำไปใส่กล่องรับข้อเสนอแนะ

4.  คณะกรรมการพิจารณาข้อเสนอแนะเพื่อแยกเรื่อง แล้วมีการ Feed back ผู้ให้ข้อเสนอแนะกลับ หากเข้าหลักเกณฑ์  = ให้รางวัล / ไม่เข้าหลักเกณฑ์ = แจ้งกลับ/ขอบคุณ

5.  นำข้อเสนอแนะที่ได้ไปปฏิบัติ ซึ่งหากปฏิบัติแล้วได้ผลก็ควรมีให้รางวัลอีกรอบหนึ่งด้วย

 

ประโยชน์ของ TQM


            1. ก่อให้เกิดคุณค่าของสินค้าและบริการเพื่อนำเสนอต่อลูกค้า ซึ่งก็จะได้รับความพึงพอใจและเชื่อมั่นพร้อมทั้งภักดีต่อผลิตภัณฑ์ของเรา


            2. ก่อให้เกิดศักยภาพในการแข่งขันและความได้เปรียบทางธุรกิจ


            3. ช่วยลดต้นทุนในการผลิตและการดำเนินงานในการเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด


            4. เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มผลผลิตเนื่องจากมีการกระจายงานและเอื้ออำนวยให้ทุกกระบวนงานมีความคล่องตัว


            5. ทำให้มีการกำหนดจุดควบคุมที่เหมาะสม เพื่อติดตามผลของการดำเนินงานเป็นระยะและเมื่อผลเบี่ยงเบนไปจากเป้าหมายก็จะ มีระบบในการวิเคราะห์หาสาเหตุ เพื่อทำการแก้ไข และป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ

6.ช่วยให้ผู้บริหารและองค์การสามารถรับรู้ปัญหาของลูกค้า และความต้องการที่แท้จริงของตลาด เพื่อให้การผลิตสินค้าและบริการตรงกับความต้องการตอบสนองความพึงพอใจแก่ลูกค้า

7.ให้ความสำคัญกับระบบที่เรียบง่ายและผลลัพธ์ที่ลดความสูญเสียและความสูญเปล่าในการดำเนินงาน และการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ

8.พัฒนาระบบ ขั้นตอน และการจัดเก็บข้อมูลการทำงาน ให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ แก้ไขง่าย ไม่เสียเวลากับงานที่ไม่เพิ่มคุณค่าให้กับธุรกิจ

9.พนักงานมีส่วนร่วมในการดินเนินงาน การแก้ไขปัญหา และการสร้างรายได้ของธุรกิจ ทำให้พนักงานมีความพึงพอใจในงาน

10.มุ่งพัฒนาการดำเนินงานขององค์การ ให้มีคุณภาพสูงสุดในทุกมิติ (ณัฐพันธ์ เขจรนันท์,2545:67-68)

ข้อดีของTQM

1.              มีระบบทำงานที่ดี

2.              มี ”มาตรฐานการทำงาน”ที่ตรวจสอบได้

3.              ไม่มีปัญหาเฉพาะหน้า

4.              ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ถูกต้อง

5.              มีความคิดริเริ่มปรับปรุงงาน

6.              มีการสื่อสารแบบ 2 ทาง (Top-Down and Botton Up)

7.              มีเป้าหมายนโยบายที่ชัดเจน

8.              มีความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน

9.              ทุกคนทำงานโดยใช้ PDCA อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลและข้อเท็จจริง

10.       ทำให้มีการกำหนดจุดควบคุมที่เหมาะสม เพื่อติดตามผลของการดำเนินงานเป็นระยะ และเมื่อผลเบี่ยงเบนไปจากเป้าหมายก็จัดระบบในการวิเคราะห์หาสาเหตุ เพื่อทำการแก้ไข และป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ

 

 

7. SA 8000

ความหมาย

SA 8000 หรือ Social Accountability 8000 เป็นระบบมาตรฐานสากลที่ให้ความสำคัญกับสิทธิ ขั้นพื้นฐานของแรงงาน ซึ่งเหมือนกับระบบ ISO 9000 ที่เป็นมาตรฐานสากลสำหรับระบบคุณภาพ อันเกี่ยวกับการจัดการด้านคุณภาพและการประกันคุณภาพ และ ISO 14000 ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม SA 8000 เป็นระบบมาตรฐานสากลที่ใช้ได้กับทุกธุรกิจ อุตสาหกรรมการผลิต หรือ การบริการ โดยไม่คำนึงถึง ขนาด สถานที่ เทคโนโลยีในการผลิต และความซับซ้อนขององค์กร

มาตรฐานที่ถูกผลักดันโดยตลาด

SA 8000 กำหนดขึ้นจากความเห็นชอบของกลุ่มผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐบาล ภาคเอกชน ธุรกิจ อุตสาหกรรม สถาบันทดสอบ และ กลุ่มผู้บริโภค ร่วมกันพิจารณาและผลักดันมาตรฐานดังกล่าว ทำให้ SA 8000 เป็นระบบมาตรฐานหนึ่งที่ได้รับความสนใจ

ข้อกำหนดเบื้องต้น

ระบบมาตรฐาน SA 8000 ได้กำหนดข้อกำหนดเบื้องต้นไว้ 8 ข้อ ดังนี้

1.              การใช้แรงงานเด็ก (Child Labour) โดยห้ามว่าจ้างแรงงานเด็ก หรือแรงงานที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี หรือ แรงงานเด็กที่มีอายุต่ำกว่าที่กฎหมายของประเทศนั้นๆ กำหนด

2.              การบังคับการใช้แรงงาน (Forced Labour) ห้ามมีการกักขังหน่วงเหนี่ยวโดยใช้เอกสารสัญญาหรือการกักขังบริเวณ

3.              สุขลักษณะและความปลอดภัย (Health and Safety) ต้องมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี มีระบบความปลอดภัย น้ำดื่มที่สะอาด ตลอดจนระบบการรักษาพยาบาลเบื้องต้นในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน หรือ อุบัติเหตุที่เกิดจากการทำงาน

4.              สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเจรจาต่อรองในรูปของการรวมกลุ่ม (Freedom of association and the right to collective bargaining) มีสิทธิในการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นองค์กร กลุ่ม คณะกรรมการ หรือสหภาพแรงงานเพื่อแสดงความคิดเห็นหรือเจรจาต่อรอง

5.              การกีดกันหรือการแบ่งแยก (Discrimination) ไม่มีการแบ่งแยกในการจ้าง ค่าตอบแทนแรงงาน การฝึกอบรม การเลื่อนตำแหน่ง การสิ้นสุดการทำงาน เกษียณ โดยใช้เกณฑ์ในเรื่อง เพศ เชื้อชาติ วรรณะ ศาสนา ทุพพลภาพ การเป็นสมาชิกหรือรู้จักคนในองค์กรใด ๆ และห้ามมีการลวนลามทางเพศ

6.              กฎระเบียบวินัย (Disciplinary practices) ห้ามมีการเฆี่ยนตี ทำโทษโดยการกักกัน ทำร้าย ร่างกาย หรือการใช้ถ้อยคำส่อเสียดหยาบคาย

7.              ชั่วโมงการทำงาน (Working hours) จะต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมงใน 1 สัปดาห์ และจะต้องมีวันพักผ่อน 1 วัน ในทุกๆ 7 วัน ในส่วนของการทำงานล่วงเวลาไม่ควรเกิน 12 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์และต้องได้รับค่าตอบแทนมากกว่าอัตราปรกติ

8.              ค่าตอบแทนแรงงาน (Compensation) ค่าจ้างแรงงานจะต้องเป็นอัตราขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด หรือเป็นไปตามมาตรฐานของอุตสาหกรรม ห้ามมีการหักค่าจ้างค่าตอบแทนเนื่องจากมีการทำผิดวินัย ค่าจ้างและผลประโยชน์ที่ได้รับจะต้องเปิดเผยและได้รับอย่างสม่ำเสมอ โดยจะต้องอยู่ในรูปของธนบัตรหรือเช็ค ห้ามว่าจ้างแรงงานที่เป็นลักษณะสัญญาว่าจ้างหรือการฝึกงานเพื่อหลีกเลี่ยงข้อกำหนดข้างต้น

ประโยชน์ที่ได้รับจากการนำมาตรฐาน SA 8000 มาใช้

  •  
    • สร้างภาพลักษณ์ของบริษัทให้เป็นที่ยอมรับในสังคมโดยเฉพาะในสายตาของผู้บริโภค
    • ทำให้แรงงานมีความจงรักภักดีต่อองค์กร ประสิทธิภาพในการทำงานของแรงงานเพิ่มขึ้นและนำไป สู่การเพิ่มผลผลิตในที่สุด
    • สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อสังคม
    • ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในตัวสินค้าและบริการและมีความภักดีต่อองค์กร
    • มีช่องทางการตลาดใหม่
    • มีโอกาสในการเลือกแรงงานที่มีคุณภาพ
    • ลดขั้นตอนและต้นทุนในการตรวจสอบ

 

 

8.               ISO 26000 Social Responsibility

ความหมาย

ISO 26000 Social Responsibility เป็นมาตรฐานการแสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบของสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืนทางธุรกิจ

หลัก 7 ประการของ ISO 26000
ISO 26000 มีหลักการสำคัญ 7 ประการ คือ

 1.หลักการปฏิบัติตามกฎหมาย (Principle of legal compliance)

2. หลักการเคารพต่อแนวปฏิบัติระดับชาติหรือระดับสากล (Principle of respect for authoritative inter-government agreements or internationally recognized instruments)

3.หลักการให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ( Principle of recognition of stakeholders and concerns)

4.หลักของการแสดงรับผิดชอบที่สามารถตรวจสอบได้ (Principle of accountability)

5.หลักการความโปร่งใส (Principle of transparency)

6.หลักการความเคารพในสิทธิมนุษยชน (Principle of respect of fundamental human right)  

 7. หลักการความเคารพในความหลากหลาย (Principle of respect for diversity)

 

องค์ประกอบของความรับผิดชอบต่อสังคม
ความรับผิดชอบต่อสังคมนั้นมีองค์ประกอบหลากหลาย ซึ่งใน ISO 26000 ได้กำหนดองค์ประกอบหลักของความรับผิดชอบไว้ 7 ประการ ดังนี้

 1.มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Organization governance)

2.คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน (Human rights)

3.ข้อปฏิบัติด้านแรงงาน (Labor practices

 4.การดูแลสิ่งแวดล้อม (Environment)

5.การดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรม (Fair operating practices)
6.ใส่ใจต่อผู้บริโภค (Consumer issues)

7.การแบ่งปันสู่สังคมและชุมชน (Contribution to the community and society)  

ประโยชน์

1.ช่วยให้การตัดสินใจเป็นไปด้วยความรอบคอบ

2.ปรับปรุงแนวปฏิบัติต่อการบริหารความเสี่ยง

3.ช่วยสร้างเสริมชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือขององค์กรต่อสาธารณะชน

4.ป้องกันและลดความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคเกี่ยวกับสินค้าและการบริการ

5.การประหยัด อันเป็นผลมาจาก การเพิ่มผลผลิต และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

6.ช่วยสนับสนุนการคงอยู่ขององค์กรในระยะยาว

 

นางสาว ณัฏฐา จันทร์ต้ะ กจ.2/1 เลขที่ 7

          Supply Chain Management and Logistic

Supply Chain Management  การจัดการโซ่อุปทาน คือการรวบรวมการวางแผนและการจัดการของกิจกรรมทั้งหมดที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดหา การจัดซื้อ การแปรสภาพ และกิจกรรมการจัดการทั้งหมด ที่สำคัญการจัดการโซ่อุปทานยังรวมถึงการประสานงาน (Coordination)และการทำงานร่วมกัน (Collaboration) กับหุ้นส่วนต่างๆในโซ่อุปทานซึ่งจะเป็นผู้จัดส่งวัตถุดิบ ตัวกลางผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการลอจิสติกส์และลูกค้า แก่นสำคัญ คือ การจัดการโซ่อุปทานจะบูรณาการทั้งการจัดการอุปสงค์และอุปทานซึ่งรวมถึงภายในและภายนอกบริษัท

วัตถุประสงค์สำคัญของ Supply Chain Management (SCM) จะมุ่งเสริมสร้างผลผลิต (Productivity) และศักยภาพที่เหนือกว่า (Core Competency) โดยสามารถนำไปใช้ในระดับกลยุทธ์ที่เป็น Action Plan ขององค์กร โดยมีเป้าประสงค์ ดังต่อไปนี้

1.               มีเป้าหมายเพื่อความพอใจของลูกค้า

2.               ใช้เป็นกลยุทธ์ในการลดต้นทุนและสร้างกำไร

3.               เป็นกลยุทธ์เพื่อมุ่งเพิ่มศักยภาพการผลิตและบริการ

4.               ใช้เป็นกลยุทธ์ในการเติบโตที่มีเสถียรภาพขององค์กร

ความมุ่งหมายที่สำคัญของ SCM ก็เพื่อให้ลูกค้ามีความพอใจสูงสุด ซึ่งเป็นหัวใจของการจัดการ สมัยใหม่ ซึ่งถือว่าลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Center) และโลกปัจจุบันเป็น Globalization คือ โลกธุรกิจได้เชื่อมต่อกัน การจัดการ SCM จึงต้องมีรูปแบบที่ต้องเป็นแบบบูรณาการ (Integration) ดังนั้น หากกล่าวถึง Supply Chain Management : SCM ในเนื้อหาของหนังสือฉบับนี้ให้เข้าใจว่าเป็น SCM แบบบูรณาการ ซึ่งได้รวมกิจกรรมของ Logistics เข้าไว้ด้วยกันแล้ว โดยในการบริหารจัดการจะต้องมีการทำ Balance Scorecard โดยมีดัชนีชี้วัด (Key Performance Indicators : KPI) ในทุกกระบวนการของ SCM  การที่จะนำ SCM ไปใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จะต้องนำไปใช้หรือไปจัดการในกระบวนการ (Procedure) ดังต่อไปนี้

1.               การคาดคะเนยอดขาย (Sale Forecasting) และกระบวนการสนับสนุนส่งเสริมการตลาด (Market Supporting Management) จะเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับคู่แข่งในอาณาบริเวณของตลาด

2.               การจัดการกระบวนการจัดซื้อ (Procurement) จะเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกับคู่ค้า

3.               การจัดการขนส่งในโซ่อุปทาน (Carriage / Transportation) เป็นการจัดการเกี่ยวข้องกับความเร็ว

4.               การจัดการคลังสินค้า (Inventory Management) เป็นการจัดการเกี่ยวกับสภาพคล่องทางการเงิน

5.               กระบวนการสนับสนุนผลิต (Manufacturer Supporting Management) เป็นการจัดการในด้านลดต้นทุน

6.               กระบวนการกระจายสินค้า (Distribution Management) เป็นการจัดการเกี่ยวกับเงื่อนเวลา Speed

7.               การจัดการเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศในโซ่อุปทาน เป็นการจัดการเครือข่ายและข้อมูล

8.               กระบวนการ Logistics ในรูปแบบต่างๆ เพื่อทำหน้าที่ส่งมอบและเคลื่อนย้ายสินค้า (Moving)

 

ลอจิสติกส์ (Logistics) เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับช่องทางการจัดจำหน่าย เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการจากผู้ผลิตไปถึงมือผู้บริโภค รวมทั้งขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ และการเก็บรักษาสินค้าคงคลังอีกด้วย หรือพูดง่ายๆ ว่า ลอจิสติกส์ คือการนำสินค้าและบริการที่ลูกค้าต้องการไปยังสถานที่ที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม สร้างความพอใจสูงสุดให้ลูกค้า โดยที่กิจการจะได้รับผลกำไร หรือประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพนั่นเอง
การบริหารจัดการระบบลอจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมทำให้ต้นทุนในเรื่องของการเคลื่อนย้าย การขนส่ง การคลังสินค้า การรักษาสินค้าต่ำ และสามารถต่อสู้กับคู่แข่งขันยืนหยัดอยู่ในตลาดที่มีการแข่งขันรุนแรงได้หรือพูดอีกนัย การจัดการระบบลอจิสติกส์ที่ดีจะเป็นหนึ่งในหนทางแห่งความเป็นเลิศของธุรกิจนั่นเอง
(อาจารย์ วิทยา สุหฤทดำรง)

 กิจกรรมที่สำคัญของโลจิสติกส์

1.  Order management/Customer service คือ การจัดการการรับหรือส่งสินค้า และ การบริการลูกค้า

2.    Packaging คือ การคัดเลือกบรรจุภัณฑ์เพื่อมาใช้บรรจุสินค้า

3.   Material handling คือ การขนถ่ายวัสดุภายในโรงงาน หรือ ในคลังสินค้า

4.   Transportations/Mode of transportations (Domestic & International) คือ การขนส่งสินค้าระหว่างสถานที่ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ

5. Warehouse management (Layout, locations, control technology/equipment, facility) คือ การจัดการคลังสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการวางผังสินค้า หรือ สถานที่ ที่จะตั้งคลังสินค้า

6.  Inventory control systems (Qty)/ material management คือ ระบบในการบริหารสินค้าคงคลัง เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนหรือกระจายสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7.  Supplier management/material management คือ การบริหารจัดการผู้ผลิตวัตถุดิบให้เรา(Supplier) เพื่อให้ได้ วัตถุดิบที่มีคุณภาพ และ เพียงพอต่อความต้องการในเวลาที่เหมาะสม

8. Distribution center/distribution hub คือ การกำหนดแหล่งที่ตั้งในการกระจายสินค้า เพื่อให้เกิดการกระจายสินค้าได้อย่างทั่วถึง

9. Manufacturing/production control (JIT) คือ ระบบควบคุมการผลิต

สรุป กล่าวได้ว่าลอจิสติกส์เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการการจัดการโซ่อุปทาน ที่จะช่วยในการวางแผนสนับสนุนการควบคุมการไหลของกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งการเก็บรักษาสินค้าจากจุดเริ่มต้น ไปสู่จุดสุดท้าย เพื่อตอบสนองความต้องการ ของลูกค้า ลอจิสติกส์จึงเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะนำธุรกิจไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืนในระยะยาว

การพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ประมวลการพัฒนา ระบบลอจิสติกส์ จากการศึกษาระบบลอจิสติกส์ของประเทศต่างๆ ได้รวม 4 ระดับชั้น คือ
1. การกระจายสินค้าทางกายภาพ (Physical Distribution)
                เป็นระดับ ที่ธุรกิจให้ความสำคัญและพัฒนาเน้นด้านของการขนส่งสินค้าจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค โดยอาจครอบ คลุมกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การขนส่ง การเก็บสินค้า การจัดการวัสดุ และการบรรจุหีบห่อเพื่อป้องกันการสูญเสียระหว่างการขนส่ง การพัฒนาระดับนี้ยังไม่มุ่งเน้นการลดต้นทุนในส่วนที่เป็นสินค้า คงคลัง เป็นวัตถุดิบ และเป็นสินค้าระหว่างผลิต
2.ลอจิสติกส์ภายในองค์กร (Internally Integrated Logistics)
                ระดับ ของธุรกิจที่พัฒนาในระดับนี้ จะรวมกิจกรรมลอจิสติกส์ที่เกิดขึ้นก่อนกระบวนการผลิต มีการเชื่อมโยงการจัดการภายในบริษัทตั้งแต่การรับวัตถุดิบจนถึงการจัดส่งถึงผู้บริโภค โดยมีจุดมุ่งหมายในการเปลี่ยนจากการลดสินค้าคงคลังเป็นเพิ่มความถี่ในการระบาย สินค้า การพัฒนาในขั้นตอนนี้จะมีการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
3.ลอจิสติกส์ภายนอก (Externally Integrated Logistics)
                ระดับ การพัฒนาในชั้นนี้จะเป็นการพัฒนาที่มีการเชื่อมโยงใช้รูปแบบการขนส่งทุกรูปแบบอย่าง มีประสิทธิภาพ เช่น การมีจุดขนถ่ายสินค้าที่มีมาตรฐานโดยการ เชื่อมโยงฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศระหว่างองค์การ
4.ลอจิสติกส์ระดับสากล (Global Lo-gistics Management)
                การพัฒนา การในระดับนี้จะเกิดในบริษัทข้ามชาติที่กำลังเผชิญกับปัญหากำไร ลดลงในประเทศที่ตนตั้งอยู่ ดังนั้น จึงเริ่มหาแหล่งจัดซื้อที่ถูกกว่าในต่างประเทศ ลักษณะของการพัฒนาในขั้นตอนนี้คือ การจัดซื้อวัตถุดิบและจัดส่งสินค้าจะครอบคลุมแหล่งวัตถุดิบทั่วโลก โดยการสั่งวัตถุดิบจากประเทศที่ขายราคาถูกกว่า เพื่อนำไปผลิตและขายสินค้าสำเร็จรูปโดยการขนส่งไปขายในประเทศที่มีราคาสูง

Corporate Governance

บรรษัทภิบาล (Corporate Governance) หมายถึง การบริหารจัดการภาคธุรกิจด้วยความเป็นธรรมและโปร่งใส และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และผลการกระทำของตนต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัท (Stakeholders) ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น เจ้าหน้าที่ พนักงาน รัฐบาล ลูกค้า รวมทั้งสาธารณชน

บรรษัทภิบาลมีองค์ประกอบที่สำคัญได้แก่

1.  ความรับผิดชอบ หมายถึง ความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นของกรรมการบริษัทและผู้บริหาร2.   ความโปร่งใส หมายถึง การบริหารบริษัททุกขั้นตอนจะต้องมีความชัดเจนเห็นได้ และเป็นไปในทิศทางที่เกิดประโยชน์สูงสุดผู้ถือหุ้น 3.  ความเสมอภาค หมายถึง ความเท่าเทียมกันระหว่างผู้ถือหุ้นรายย่อยทั้งนี้จะต้องไม่มีการละเลยสิทธิของผู้ถือหุ้นรายย่อยในการใช้สิทธิออกเสียงสิทธิในการเข้าร่วมในการกำหนดนโยบาย

ขั้นตอนในการสร้างบรรษัทภิบาล

การกำกับดูแลกิจการที่ดี

1.   ความเข้าใจที่ถูกต้อง (Right Understanding)

2.   ความคิดที่ถูกต้อง (Right Thinking)

3. ความทุ่มเทที่ถูกต้อง (Right Commitment)

4. กระทำที่ถูกต้อง (Right Action)

5.  การกำกับ-ควบคุมที่ถูกต้อง กระทำที่ถูกต้อง (Right Action)

6. การประเมินและการปรับแก้ที่ถูกต้อง (Right Assess and Alignment)

วัตถุประสงค์ของการมีบรรษัทภิบาลที่ดี

1. การเพิ่มศักยภาพในการสร้างสมรรถนะการแข่งขันแก่องค์การทั้งในระดับประเทศและระดับโลก

2. การเพิ่มโอกาสแก่องค์การสู่ตลาดทุนของธุรกิจได้ง่ายขึ้นและเป็นพันธมิตรที่มีบรรษัทภิบาลที่ดี

ประโยชน์บรรษัทภิบาล

1. มีความเที่ยงธรรม มีประสิทธิภาพประสิทธิผลสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจ สังคมไทยให้สามารถแข่งขันได้

2. นำไปสู่การพัฒนาประเทศ และสังคมที่ยั่งยืน มั่นคงและสงบสุข

 

ปัญหาบรรษัทภิบาล

1.ปัญหาโครงสร้างและระบบการบริหารราชการ

- ขาดเอกภาพ ซ้ำซ้อนและขาดเป้าหมายที่ชัดเจน

2. จริยธรรมและมาตรฐานทางวิชาชีพที่ต่ำนำไปสู่ผลงานที่ด้อยคุณภาพ ความเสื่อมขององค์กร ความเชื่อมั่นศรัทธา และปัญหาขวัญกำลังใจของผู้ปฏิบัติงาน

3. ทวิมาตรฐานทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่พึง ปรารถนาต่างๆ ในองค์กร

4.ขาดกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลที่เหมาะสมส่งผลให้

-   ขาดความรอบครอบการทำงาน

-    ขาดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล สิ้นเปลือง

5.  เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนร่วม และปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น ขาดความโปร่งใส

                                                 Business Plan

แผนธุรกิจคืออะไร
                เป็นผลสรุปหรือผลรวมแห่งกระบวนการคิดพิจารณาและการตัดสินใจของผู้ประกอบการออกมาเป็นโอกาสทาง    ธุรกิจ
                แผนที่  ช่วยชี้แนะการดำเนินงานขั้นตอนต่างๆ ในการก่อตั้งกิจการ
                เป็นแผน ให้รายละเอียดต่างๆ ทางด้านการตลาด การแข่งขัน กลยุทธ์ การประมาณทางการเงิน ชี้ให้เห็นประเด็นจุดอ่อนและข้อควรระวัง
แผนธุรกิจสำคัญอย่างไร
                ให้รายละเอียดการเริ่มต้น ให้เป้าหมายที่ชัดเจนแก่ผู้ประกอบการ
                เป็นเครื่องมือในการหาแหล่งที่มาของเงินทุน จากผู้ร่วมทุน กองทุน และสถาบันการเงินต่างๆ
                ให้รายละเอียดกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดหาเงินทุน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด เป็นต้น

องค์ประกอบของแผนธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
                1. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary)
                2. วิสัยทัศน์ (Vision)/พันธ์กิจ (Mission)/เป้าหมาย(Objective)
                3. SWOT & Competitive Analysis
                  -  การวิเคราะห์สถานการณ์(Situation Analysis)
                 -  การวิเคราะห์การแข่งขัน(Competitive Analysis)
                4. กลยุทธ์ธุรกิจ (Business Strategy)
                5. กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional Strategy)
                   5.1 การตลาด(Marketing)
                   5.2 การผลิตและการดำเนินการ(Production & Operations)
                   5.3.  การจัดการ (Management)
                   5.4.  การบัญชีและการเงิน (Accounting & Finance)

1.

นางสาว ณัฏฐา จันทร์ต้ะ กจ.2/1 เลขที่ 7

Business Plan(ต่อ)

1. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary)
                เป็นส่วนแรกของแผน ซึ่งจะรวบรวมประเด็นหลักๆ ของแผนตลอดทั้งเล่ม (ควรมีเพียงหน้าเดียว)
                อ่านได้ และจับประเด็นได้ง่าย
                ประกอบด้วย ชื่อโครงการ เจ้าของโครงการ สินค้าและบริการ เงินลงทุนในโครงการ โครงสร้างเงินลงทุน หลักทรัพย์ อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ อัตราผลตอบแทน และระยะเวลาคืนทุน

2. วิสัยทัศน์ /พันธ์กิจ/ เป้าหมาย
                โดยทั่วไปมักจะเป็นประโยค หรือ paragraph แจ้งให้ผู้อ่านทราบถึงความใฝ่ฝันของท่านเกี่ยวกับธุรกิจ
                ซึ่งจะถูกกำกับด้วยเป้าหมายซึ่งมีองค์ประกอบของ SMART
                   S = Specific (เฉพาะเจาะจง)
                  M = Measurable (สามารถวัดได้)
                   A = Achievable (สามารถบรรลุได้)
                   R = Realistic (สมจริง อยู่บนพื้นฐานแห่งความจริง)
                  T = Time-Bound (มีกรอบระยะเวลา)

การวิเคราะห์สถานการณ์(Situation Analysis)
1. การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก
             ที่ไม่สามารถควบคุมได้ เป็นการประเมินสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ จะต้องเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคตทั้งที่เป็น  โอกาส  (Opportunities) และ อุปสรรค (Threats) ของโครงการ
ปัจจัยภายนอกที่ผู้ประกอบการควรให้ความสนใจมี 7 ประการ หลักๆ ดังนี้
                 M = Market หมายถึง กลุ่มผู้ซื้อ หรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
                 C = Culture  หมายถึง ค่านิยมทางวัฒนธรรม
                 S = Social     หมายถึง ค่านิยมสังคม
                 T = Technology หมายถึง ความก้าวหน้า ทางด้านเทคโนโลยี
                E = Economic  หมายถึง สถานการณ์ และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
                 P = Political & Legal Issues หมายถึง สถานการณ์ และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงกฎ ระเบียบ
                 S = Suppliers   หมายถึง กลุ่มผู้ผลิต / จำหน่ายวัตถุดิบและเครือข่ายธุรกิจ

2. การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน 
                การวิเคราะห์ปัจจัยภายในอาจแบ่งได้เป็น  3  ขั้นตอนหลัก
                1.  กำหนดประเด็นที่มีอิทธิพลต่อความสามารถประสิทธิภาพ ประสิทธิผล  ต่อโครงการ
                2.  วิเคราะห์จัดกลุ่มของประเด็นต่างๆ เช่น จุดแข็งหรือจุดอ่อน
                3.  ประเมินความสำคัญของแต่ละประเด็น เพื่อเป็นแนวทางในการจัดสรรทรัพยากร(เงิน คน ของ)  เพื่อเสริมจุดแข็ง และ ลดจุดอ่อน

 

Customer Relationship Management

                Customer Relationship Management หมายถึง การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า โดยใช้กฎพาเรโต 80 : 20 ในการพิจารณาสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าที่มีเพียง 20 % จากทั้งหมดที่สร้างยอดขายให้บริษัท 80 % เป็นลูกค้าที่องค์กรควรใส่ใจดูแลเป็นอันดับแรก
                ปัจจุบันนี้
CRM เป็นสิ่งที่หลาย ๆ องค์กรให้ความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากการเก็บข้อมูลลูกค้าแต่ละราย เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าให้มากที่สุดนั้น เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งขององค์กรในการที่จะทำให้ลูกค้าอยู่กับเราตลอดไป

หลักการสำคัญของ CRM
1. ปลูกจิตสำนึก

                 กระบวนการ CRM ควรเริ่มจากบุคคลภายในองค์กรเสียก่อน บุคลากรทุกคนต้องมีใจร่วมกัน และพร้อมที่จะสร้าง CRM ให้เกิดขึ้น นับตั้งแต่พนักงานระดับล่าง ไม่ว่าจะเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย พนักงานรับโทรศัพท์ พนักงานต้อนรับ พนักงานในฝ่ายต่าง ๆ จนกระทั่งผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ยกตัวอย่างเช่น เมื่อลูกค้าเข้ามาภายในบริษัท พนักงานรักษาความปลอดภัยจะเป็นด่านแรกที่จะถูกสอบถามข้อมูลเบื้องต้นจากลูกค้า ดังนั้นการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส การแต่งกายสุภาพเรียบร้อย อีกทั้งจะต้องเป็นผู้ที่สามารถให้ข้อมูลเบื้องต้นแก่ลูกค้าได้ โดยไม่ต้องมีการสอบถามจากฝ่ายอื่น ๆ ให้วุ่นวาย หรือต้องมีเครื่องมืออื่น ๆ ที่ช่วยในการสืบค้นอย่างรวดเร็ว หรือพนักงานรับโทรศัพท์จะต้องเป็นผู้ที่สามารถตอบคำถามได้ทุก ๆ เรื่อง ไม่ใช่มีการโอนสายถามกันไปจนกระทั่งสายหลุดไปอย่างที่ผู้บริโภคในปัจจุบันกำลังประสบอยู่จากหลาย ๆ องค์กร เหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนที่พนักงานจะต้องรับผิดชอบในงานหน้าที่ของตนเอง เพื่อเป็นการสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าในเบื้องต้น
2. วิเคราะห์ความต้องการเบื้องต้นของลูกค้า
                องค์กรต้องมองย้อนกลับไปในฐานะที่ตนเองเป็นลูกค้า ว่าถ้าเราเป็นผู้บริโภคที่มาซื้อสินค้า เราต้องการอะไร เพื่อให้คุ้มค่ากับเงินที่เราจ่ายไป ซึ่งก็คือการเอาใจเขามาใส่ใจเรานั่นเอง
3. เก็บรวบรวมข้อมูล
                การสำรวจข้อมูลต่าง ๆ ของลูกค้าว่าลูกค้าแต่ละรายมีความต้องการ (Needs & Wants) อะไร โดยต้องมองให้เห็นความแตกต่างของลูกค้าแต่ละราย เช่น วันเกิดของลูกค้า บริษัทมีโปรแกรมส่งการ์ดอวยพรไปให้ และในการสร้างความซาบซึ้งแก่ลูกค้านั้นบริษัทต้องทราบข้อมูลด้านลึกของลูกค้าด้วย
 4. จัดทำฐานข้อมูล
                เมื่อสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ต้องมีการจัดเก็บให้เป็นระบบที่เอื้อต่อการดึงข้อมูลไปใช้งาน ซึ่งผู้บริหารต้องเห็นความสำคัญในการลงทุนด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อนำมาช่วยการจัดเก็บระบบข้อมูล รวมทั้งการลงทุนในส่วนที่เกี่ยวกับบุคลากรที่รับผิดชอบในส่วนงานดังกล่าวด้วย

สรุป
              CRM คือสิ่งต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากตัวสินค้าหรือบริการที่ได้รับ การสร้างความพึงพอใจ (Satisfaction) ให้เกิดกับลูกค้า คือการที่ลูกค้าจะได้รับสิ่งที่ตนเองพึงพอใจที่นอกเหนือจากการคาดหวังไว้ ซึ่งต้องอาศัยระยะเวลาพอสมควรในการสร้างสมประสบการณ์ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรให้เข้าไปอยู่ในใจของผู้บริโภค สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญในการรักษาลูกค้าเก่าให้คงอยู่ตลอดไป ซึ่งกลุ่มลูกค้าเหล่านี้เมื่อเป็นลูกค้ามาเป็นระยะเวลานานก็จะเป็นกลจักรสำคัญในการบอกต่อ (Word of mouth) เพื่อการสร้างลูกค้าใหม่ (New Customer) ในอนาคต โดยที่ธุรกิจไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนและสร้างกลุ่มลูกค้าใหม่ขององค์กรขึ้นมาเอง      

Enterprise Resource Planning

                ERP   ย่อมาจาก  Enterprise  Resource  Planning  หมายถึง  การวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวมเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดของทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร
                 ERP จึงเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ในการบริหารธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์กร อีกทั้งยังช่วยให้สามารถวางแผนการลงทุนและบริหารทรัพยากรขององค์กรโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ      ERP จะช่วยทำให้การเชื่อมโยงทางแนวนอนระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง การผลิต และการขายทำได้อย่างราบรื่น ผ่านข้ามกำแพงระหว่างแผนก และทำให้สามารถบริหารองค์รวมเพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด
                ระบบ
ERP เป็นระบบสารสนเทศขององค์กรที่นำแนวคิดและวิธีการบริหารของ ERP มาทำให้เกิดเป็นระบบเชิงปฏิบัติในองค์กร ระบบ ERP สามารถบูรณาการ (integrate)รวมงานหลัก (core business process) ต่างๆ ในบริษัททั้งหมด ได้แก่ การจัดจ้าง การผลิต การขาย การบัญชี และการบริหารบุคคล เข้าด้วยกันเป็นระบบที่สัมพันธ์กันและสามารถเชื่อมโยงกันอย่าง real time 

ลักษณะสำคัญของระบบ ERP คือ                                    

1. การบูรณาการระบบงานต่างๆ ของระบบ ERP                
                จุดเด่นของ  ERP คือ การบูรณาการระบบงานต่างๆ เข้าด้วยกัน ตั้งแต่การจัดซื้อ จัดจ้าง    การผลิต การขาย บัญชีการเงิน และการบริหารบุคคล ซึ่งแต่ละส่วนงานจะมีความเชื่อมโยงในด้าน   การไหลของวัตถุดิบสินค้า (material flow) และการไหลของข้อมูล (information flow)     ERP    ทำหน้าที่เป็นระบบการจัดการข้อมูล ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการงานในกิจกรรมต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด   พร้อมกับสามารถรับรู้สถานการณ์และปัญหาของงานต่างๆ ได้ทันที   ทำให้สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาองค์กรได้อย่างรวดเร็ว

2. รวมระบบงานแบบ real time ของระบบ ERP
                การรวมระบบงานต่างๆ ของระบบ ERP จะเกิดขึ้นในเวลาจริง(real  time) อย่างทันที เมื่อมีการใช้ระบบ ERP    ช่วยให้สามารถทำการปิดบัญชีได้ทุกวัน    เป็นรายวัน คำนวณ ต้นทุนและกำไรขาดทุนของบริษัทเป็นรายวัน

3. ระบบ ERP มีฐานข้อมูล(database)  แบบสมุดลงบัญชี

                การที่ระบบ  ERP  สามารถรวมระบบงานต่าง ๆ เข้าเป็นระบบงานเดียว    แบบ Real time     ได้นั้น  ก็เนื่องมาจากระบบ ERP มี database แบบสมุดลงบัญชี  ซึ่งมีจุดเด่น คือ  คุณสมบัติของการเป็น  1  Fact  1  Place  ซึ่งต่างจากระบบแบบเดิมที่มีลักษณะ  1  Fact  Several Places ทำให้ระบบซ้ำซ้อน  ขาดประสิทธิภาพ  เกิดความผิดพลาดและขัดแย้งของข้อมูลได้ง่าย

 การนำ  ERP  มาใช้ และการเชื่อมโยงไปสู่กิจกรรมการปฏิรูปองค์กร
                การนำ ERP มาใช้นั้น  จะต้องเริ่มจากการปฏิรูปจิตสำนึกให้เห็นความจำเป็นของการปฏิรูปองค์กร  และเมื่อจิตสำนึกดังกล่าวเกิดขึ้นแล้วในองค์กร การนำเอา ERP มาใช้ก็จะเป็นขั้นตอนของการทำให้เกิดกิจกรรมการปฏิรูปองค์กร ซึ่งก็คือการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กรในด้านต่าง ๆ  คือ
                (1) ความสามารถในการรับรู้สภาพการณ์โดยรวมของการบริหารได้แบบเรียลไทม์
                (2) ความสามารถในการปรับเปลี่ยนเพื่อให้องค์กรโดยรวมมีประสิทธิภาพสูงสุด
                (3) ความสามารถในการตัดสินใจให้รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์

5 ขั้นตอนของการนำ ERP มาใช้
                การนำ ERP มาใช้นั้น มีความจำเป็นที่จะต้องแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนใหญ่
                (1) ขั้นตอนการวางแนวคิด
                (2) ขั้นตอนการวางแผน
                (3) ขั้นตอนการพัฒนา
                (4) ขั้นตอนการใช้งานจริงและทำให้คุ้นเคย
                (5) ขั้นตอนพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง

Total  Quality  Management

                TQM หมายถึง การบริหารคุณภาพโดยรวม ความหมายของ TQM มีความหมายเป็นพลวัต มีพัฒนาการ เป็นวัฒนธรรมขององค์การที่สมาชิกทุกคนต่างให้ความสำคัญ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาการดำเนินงานขององค์การอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งที่จะตอบสนองความต้องการ และสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้า ซึ่งจะสร้างโอกาสทางธุรกิจ ความได้เปรียบในการแข่งขัน และพัฒนาการที่ยั่งยืนขององค์การ

วัตถุประสงค์ทั่วไปของ TQM

  เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าภายใน/ภายนอก

   เพื่อพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องในกิจกรรมทุกด้าน

    เพื่อความอยู่รอดขององค์กรและสามารถเจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง ภายใต้สภาวะ

   การแข่งขันที่รุนแรง

    เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานทุกคน

     เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น

     เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม       

วัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุดของ TQM

                คือ การพัฒนาบุคลากรให้สามารถใช้ศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ ด้วยการมีส่วนร่วมใน การปรับปรุงคุณภาพของสินค้าหรือบริการ อันจะทำให้คุณภาพชีวิต ของพนักงานทุกคนดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง

ผลที่ได้รับจาก TQM

ทำให้การดำเนินงานขององค์กรสูงขึ้น โดย

                - สินค้าหรือบริการมีคุณภาพสูงขึ้น

                - ของเสียเป็นศูนย์

                - กำจัดของเสีย

                - ออกแบบผลิตภัณฑ์ได้น่าสนใจมากขึ้น

                - บริการหรือส่งของได้เร็วขึ้น

               - ลดต้นทุนด้านการผลิต

                - พนักงานทุกคนมีส่วนร่วม

 

           
                                  Social Accountability 8000  : SA 8000

มาตรฐานแรงงานว่าด้วยความรับผิดชอบทางสังคม (Social Accountability 8000  : SA 8000) เป็นมาตรฐานแรงงานที่กำหนดขึ้นโดยองค์กรเอกชนในประเทศสหรัฐอเมริกา คือ Social Accountability International  เมื่อปี 2540 เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการต่าง ๆ นำไปปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อให้ได้รับความเชื่อถือทางสังคม  มีสาระสำคัญดังนี้
               
1.แรงงานเด็ก  บริษัทต้องไม่จ้างหรือสนับสนุนให้มีการจ้างแรงงานเด็ก (อายุต่ำกว่า 15 ปี) หรือเยาวชน (อายุ 15-18 ปี) หรือจ้างแรงงานเด็กอายุต่ำกว่าที่กฎหมายท้องถิ่นกำหนด กรณีมีการจ้างแรงงานเด็กไว้ทำงานอยู่ก่อนแล้ว ต้องให้เด็กได้เข้าโรงเรียนและอยู่ในโรงเรียนจนพ้นวัยเด็ก  และต้องมีมาตรการดูแลมิให้เด็กอยู่ในภาวะอันตราย ไม่ปลอดภัย หรือไม่ถูกสุขอนามัย ทั้งภายในหรือนอกสถานที่ทำงาน  รวมทั้งต้องจัดทำบันทึกรายละเอียดของเด็กเก็บไว้เป็นหลักฐาน
                2. การบังคับใช้แรงงาน บริษัทต้องไม่กระทำหรือสนับสนุนการบังคับใช้แรงงาน โดยการเรียกเก็บเงินประกัน หรือให้ลูกจ้างมอบบัตรหรือหลักฐานประจำตัวแก่บริษัทเมื่อจ้างงาน
                3. สุขภาพและความปลอดภัย บริษัทต้องจัดสถานที่ทำงานและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขอนามัยแก่ลูกจ้าง ต้องจัดให้มีขั้นตอนการปฏิบัติและระบบการตรวจสอบที่เชื่อถือได้ในการป้องกันการบาดเจ็บ  อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน หรือเกี่ยวข้องกับการทำงาน  นอกจากนี้ ต้องแต่งตั้งผู้แทนซึ่งเป็นผู้บริหารระดับอาวุโสให้มีหน้าที่รับผิดชอบด้านสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของลูกจ้าง  อีกทั้งต้องจัดให้ลูกจ้างได้รับการฝึกอบรมด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานเป็นประจำ  ตลอดจนต้องจัดให้มีห้องน้ำและน้ำดื่มสะอาดและพอเพียงสำหรับลูกจ้างทุกคน

                4. เสรีภาพในการสมาคมและสิทธิในการร่วมเจรจาต่อรอง บริษัทต้องเคารพสิทธิของลูกจ้างในการรวมตัวจัดตั้งหรือเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน  ต้องเคารพสิทธิในการร่วมเจรจาต่อรองของผู้แทนลูกจ้างและต้องรับรองว่าผู้แทนลูกจ้างจะไม่ถูกเลือกปฏิบัติ และสามารถติดต่อกับสมาชิกในสถานที่ทำงานได้
                5. การเลือกปฏิบัติ บริษัทต้องไม่กระทำหรือสนับสนุนให้มีการเลือกปฏิบัติในการว่าจ้าง  การจ่ายค่าตอบแทน  การเข้ารับการฝึกอบรม การเลื่อนตำแหน่ง การเลิกจ้าง หรือการเกษียณอายุ  เพราะเหตุแห่งความแตกต่างทางเชื้อชาติ  สัญชาติวรรณะ  ชาติกำเนิด ศาสนา  ความพิการ เพศหรือความเบี่ยงเบนทางเพศ  สถานการณ์เป็นสมาชิกสหภาพ หรือการสังกัดทางการเมือง
                6. วินัย บริษัทต้องไม่กระทำหรือสนับสนุนให้มีการใช้วิธีทำโทษ  โดยการทำร้ายร่างกายและการบังคับขู่เข็ญทั้งทางร่างกายและจิตใจ

                7. ชั่วโมงการทำงานและการทำงานล่วงเวลา  บริษัทต้องกำหนดชั่วโมงการทำงานให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าด้วยกรณีใด ๆ ลูกจ้างต้องไม่ถูกกำหนดให้ทำงานปกติเกินกว่า 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และต้องจัดให้มีวันหยุดอย่างน้อย 1 วันในทุกๆ ระยะ 7 วัน หากจำเป็นต้องทำงานล่วงเวลาต้องกระทำเฉพาะในสถานการณ์จำเป็นทางธุรกิจช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 12 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ โดยต้องจ่ายค่าตอบแทนในอัตราพิเศษเสมอ
                8. ค่าตอบแทน บริษัทต้องจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างอย่างน้อยเท่าอัตราค่าจ้างที่กฎหมายกำหนด  หรือตามมาตรฐานขั้นต่ำของอุตสาหกรรมนั้น ๆ และต้องเพียงพอสำหรับความจำเป็นขั้นพื้นฐานของลูกจ้าง  การจ่ายค่าตอบแทนการทำงานแต่ละงวดลูกจ้างจะต้องได้รับทราบรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับส่วนประกอบของค

นางสาว ณัฏฐา จันทร์ต้ะ กจ.2/1 เลขที่ 7

            Social Accountability 8000  : SA 8000(ต่อ)

ค่าจ้างและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่เขาได้รับ  การจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าว อาจจ่ายในรูปเงินสดหรือเช็คก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามความสะดวกของลูกจ้าง   การหักค่าจ้างเพื่อการลงโทษทางวินัยจะกระทำมิได้  นอกจากนี้ บริษัทต้องรับรองว่าจะไม่ใช้วิธีการทดลองงานลูกจ้างหรือทำสัญญาจ้างระยะสั้น ๆ หรือมีการว่าจ้างใหม่เป็นระยะ ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการไม่ให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย หรือหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบตามกฎหมายประกันสังคม

ประโยชน์ที่ได้รับจากการนำมาตรฐาน SA 8000 มาใช้

1.               สร้างภาพลักษณ์ของบริษัทให้เป็นที่ยอมรับในสังคมโดยเฉพาะในสายตาของผู้บริโภค

2.               ทำให้แรงงานมีความจงรักภักดีต่อองค์กร ประสิทธิภาพในการทำงานของแรงงานเพิ่มขึ้นและนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตในที่สุด

3.               สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อสังคม

4.               ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในตัวสินค้าและบริการและมีความภักดีต่อองค์กร

5.               มีช่องทางการตลาดใหม่

6.               มีโอกาสในการเลือกแรงงานที่มีคุณภาพ

7.               ลดขั้นตอนและต้นทุนในการตรวจสอบ

หลักการและคุณลักษณะของ SA 8000

                หลักการของมาตรฐาน SA8000 มาจากมาตรฐานสากล โดยบางส่วนมีลักษณะคล้ายกับ ISO และมีข้อกำหนดบางประการที่แตกต่างไป ซึ่งต้องมีแรงสนับสนุนจากการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของบริหาร เนื่องจากเป็นข้อกำหนดที่กล่าวถึงบทบาทของผู้บริหารที่จะต้องเข้ามาในแง่ของการป้องกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสามารถของนายจ้างที่จะต้องจัดให้มีวิสัยทัศน์การจ้างงานที่ดีเพื่อมิให้เกิดการขัดแย้งด้านแรงงาน นับเป็นแนวทางหนึ่งในการป้องกันการเกิดปัญหาแรงงานขึ้น ในสถานประกอบการ ทั้งนี้ SA 8000 เป็นเรื่องของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในแง่ของการที่ดูแล รักษาภายหลังจากที่ได้รับการรับรองแล้วและต้องมีการตรวจติดตามทุก 6 เดือนเช่นเดียวกับ ISO ส่วนข้อกำหนดของ SA 8000 จะให้การยอมรับบทบาทหน้าที่ของ NGO และบทบาทขอสหภาพแรงงานค่อนข้างสูง ซึ่งสามารถนำไปเป็นเครื่องมือในการสื่อสารเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อสถานประกอบการ

ISO 26000

ISO 26000 Social Responsibility เป็นมาตรฐานการแสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบของสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืนทางธุรกิจ

หลัก 7 ประการของ ISO 26000
                ISO 26000 มีหลักการสำคัญ 7 ประการ คือ
                1.หลักการปฏิบัติตามกฎหมาย
(Principle of legal compliance) องค์กรจะต้องมีการปฏิบัติที่สอดคล้องกับกฎหมาย และกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชาติและระดับสากลทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ
                2. หลักการเคารพต่อแนวปฏิบัติระดับชาติหรือระดับสากล
(Principle of respect for authoritative inter-government agreements or internationally recognized instruments) รวมถึงสนธิสัญญาสากล คำสั่ง ประกาศ ข้อตกลง มติ และข้อชี้นำต่างๆ ซึ่งได้รับการรับรองจากองค์กรสากลที่เกี่ยวข้องกับองค์กรนั้นๆ
                3.หลักการให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
( Principle of recognition of stakeholders and concerns) องค์กรควรตระหนักถึงสิทธิและผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมขององค์กร เช่น นโยบาย ข้อเสนอ หรือการตัดสินใจต่างๆ ก็ตามที่จะส่งผลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
                4.หลักของการแสดงรับผิดชอบที่สามารถตรวจสอบได้ (Principle of accountability) ในการดำเนินงานใดๆก็ตามขององค์กรต้องสามารถตรวจสอบได้จากภายนอก
                5.หลักการความโปร่งใส
(Principle of transparency) องค์กรควรเปิดเผยข้อมูลต่างๆให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบอย่างชัดแจ้ง
                6.หลักการความเคารพในสิทธิมนุษยชน
(Principle of respect of fundamental human right)  องค์กรควรดำเนินนโยบายและดำเนินกิจกรรมที่สอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
                7.หลักการความเคารพในความหลากหลาย (Principle of respect for diversity) องค์กรควรจ้างพนักงาน โดยไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติ สีผิว ความเชื่อ อายุ เพศ

องค์ประกอบของความรับผิดชอบต่อสังคม
กำหนดองค์ประกอบหลักของความรับผิดชอบไว้ 7 ประการ ดังนี้
                1.มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี
(Organization governance) กล่าวคือ องค์กรควรกำหนดหน้าที่ให้คณะกรรมการฝ่ายจัดการ ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถสอดส่องดูแลผลงานและการปฏิบัติงานขององค์กรได้ เพื่อแสดงถึงความโปร่งใส พร้อมรับการตรวจสอบ และสามารถชี้แจงให้ผู้มีส่วนได้เสียได้รับทราบถึงผลการปฏิบัติงานได้
                2.คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน (Human rights) ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ โดยสิทธิดังกล่าวควรครอบคลุมถึงสิทธิความเป็นพลเมือง สิทธิทางการเมือง สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และสิทธิตามกฎหมายระหว่างประเทศด้วย
                3.ข้อปฏิบัติด้านแรงงาน (Labor practices)  องค์กรต้องตะหนักว่าแรงงานไม่ใช่สินค้า ดังนั้นแรงงานจึงไม่ควรถูกปฏิบัติเสมือนเป็นปัจจัยการผลิต
                4.การดูแลสิ่งแวดล้อม (Environment)
องค์กรจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงหลักการป้องกันปัญหามลพิษการบริโภคอย่างยั่งยืน (Sustainable consumption) และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพในการดำเนินการผลิตและบริการ

                5.การดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรม (Fair operating practices) องค์กรต่างๆ ควรแข่งขันกันอย่างเป็นธรรมและเปิดกว้าง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการลดต้นทุนสินค้าและบริการ นวัตกรรมการพัฒนาสินค้าหรือกระบวนการใหม่ๆ รวมถึงจะช่วยขยายการเติบโตทางเศรษฐกิจและมาตรฐานการครองชีพในระยะยาว
                6.ใส่ใจต่อผู้บริโภค
(Consumer issues) องค์กรจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้รับทราบข้อมูลในการใช้สินค้าและบริการอย่างเหมาะสม  ทั้งยังต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาสินค้าและบริการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยคำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้งานและสุขภาพของผู้บริโภค นอกจากนี้เมื่อพบว่าสินค้าไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด องค์กรก็จะต้องมีกลไกในการเรียกคืนสินค้า พร้อมทั้งยังต้องให้ความสำคัญกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค และถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดอีกด้วย
                7.การแบ่งปันสู่สังคมและชุมชน (Contribution to the community and society)  

 

นายพลวัฒน์ พงษ์ตุ้ย เลขที่ 20 กจ2/1

Supply Chain management and Logistic

ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ต้องการนำระบบ Supply Chain Management มาใช้บริหารงานภายในองค์กรนั้น 1)ต้องเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค เพราะเป็นลูกค้าที่ซื้อของเรา 2)จะขายของต้องบอกผู้ที่จะรับซื้อให้ชัดเจน มีการตรวจสอบอย่างใกล้ชิด 3)การกระจายสินค้าออกไปทั่วทุกแห่งนั้น ต้องมีศูนย์การจัดจำหน่ายสินค้าอยู่จุดเดียว และการจัดทำต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อน และเข้าใจคนซื้อของท่านก่อนตลอดจนต้องเข้าใจคนที่จะขายของให้ท่านด้วย

พื้นฐานของ Supply Chain คือจะจัดการอย่างไรให้เราเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายหรือลดต้นทุนให้ได้มากที่สุด ซึ่งการลดค่าใช้จ่ายท่านต้องคาดการณ์ยอดขายในแต่ละเดือน ซึ่งเป็นเรื่องของเวลาที่จะต้องเก็บข้อมูลย้อนหลัง ท่านก็ต้องทำการสำรวจสต็อกโดยเช็คว่ามีความถี่ในการขายมากน้อยแค่ไหน ตัวอย่างการนำ Supply Chain Management เข้ามาช่วยทำให้ธุรกิจมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น เช่น เมื่อท่านสต็อกของอยู่ 20,000 ชิ้น ถึง 40,000 ชิ้น เพราะเผื่อขายได้ และไม่รู้ว่าลูกค้าจะเรียกซื้อเมื่อไหร่ และหากทุกคนเก็บสต็อกไว้เกินความจำเป็นไป 50% เท่ากับว่าทุกคนเอาเงินไปกองอยู่และจมอยู่ที่สต็อก ฉะนั้นต้นทุนของคนขายวัตถุดิบก็ไม่สามารถลดให้ท่านได้ ขณะเดียวกันเมื่อท่านเป็นผู้ผลิตท่านก็ลดราคาให้กับผู้ซื้อไม่ได้ เพราะต้นทุนของท่านสูงอยู่ Supply Chain management จะสามารถช่วยท่านได้ในประเด็นนี้ได้

ดังนั้นเมื่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีนำระบบ Supply Chain Management เข้ามาช่วยในการบริหารงานจะทำให้สามารถลดต้นทุนได้ และสามารถลดเวลาการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มีสินค้าตอบสนอง

ผู้ซื้อและผู้ขายได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลดีต่อธุรกิจอย่างมาก และเมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปก็ต้องเปลี่ยนตาม เช่น มีการออกสินค้าใหม่ มีบริการให้ดีขึ้น ทำให้ทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคมีความพึงพอใจสูงสุด เพราะสินค้าสามารถไปถึงผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว

ข้อควรจำสำหรับการทำ Supply Chain Management อย่างมีประสิทธิภาพ คือ

1) ใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

2) ปรับกระบวนการในการทำงาน

3) แบ่งกลุ่มสินค้าให้ชัดเจน

4) ร่วมมือกับทางซัพพลายเออร์ (ที่มา คุณสรยุทธ วัฒนวิสุทธิ์ , "การบริหาร Supply Chain เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร",SMEs สร้างไทยมั่นคง )

Cooperate Governance

Good Corporate Governance หมายถึง การบริหารจัดการธุรกิจที่เป็นธรรมและโปร่งใส โดยผู้มีอำนาจบริหารจัดการธุรกิจนั้น ๆ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และผลการกระทำของตนต่อ

ผู้มีส่วนได้เสียกับบริษัท (Stakeholders) ทุกรายรวมถึงผู้ที่ถือหุ้น เจ้าหนี้ พนักงาน รัฐ ลูกค้าตลอดจน ประชาชนทั่วไป คณะกรรมการ มีหน้าที่ตรวจตรา การบริหารงานของผู้บริหาร ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และนโยบายของบริษัท ในขณะที่ผู้บริหารงานมีหน้าที่ในการบริหารธุรกิจเพื่อที่จะสร้างผลกำไรให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกรายโดยไม่เลือกปฏิบัติระหว่างผู้ถือหุ้นรายใหญ่และรายย่อย ทั้งกรรมการและผู้บริหารมีความรับผิดชอบร่วมกันที่จะชดใช้หนี้ให้แก่เจ้าหนี้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา จ่ายภาษีให้แก่รัฐ ปฏิบัติตามกฎระเบียบในการประกอบธุรกิจต่าง ๆ ของรัฐ นอกจากนี้แล้วยังมีความรับผิดชอบต่อพนักงานให้มีความเป็นอยู่ที่ดี ต่อลูกค้าให้ได้รับสินค้าที่มีคุณภาพ หรือมีบริการที่ดี ตลอดจนประชาชนให้ได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี

Business Plan

พื้นฐานของการจัดทำแผนธุรกิจที่ดี

• บทสรุปเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในข้อมูลสรุป (Executive Summary)

ข้อมูลสรุป (Executive Summary) จะกล่าวถึงกลยุทธ์ทางธุรกิจของคุณ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดสำหรับธนาคารและสถาบันสินเชื่อ คุณจะต้องโน้มน้าวเจ้าหน้าที่สินเชื่อให้รู้สึกมั่นใจว่าแผนธุรกิจที่คุณเสนอสามารถดำเนินการได้จริงภายใน 2-3 หน้าแรกของข้อมูลสรุป

ข้อมูลสรุปนี้ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อให้พนักงานและลูกค้าได้เข้าใจถึงแนวความคิดและธุรกิจของคุณก่อนที่เขาเหล่านั้นจะให้การสนับสนุนธุรกิจของคุณ

• การชี้แจงว่าบริษัทคุณก่อตั้งขึ้นได้อย่างไร

อธิบายการกำเนิดของบริษัท รวมทั้งเรื่องที่คุณหรือเพื่อนร่วมธุรกิจได้แนวความมาจากที่ใด

• เป้าหมายบริษัท

อธิบายสั้นๆ ประมาณ 2-3 ย่อหน้าถึงเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาวของบริษัท อัตราการเจริญเติบโตที่คาดหวัง กลุ่มลูกค้าหลักของคุณคือใคร

• ประวัติของทีมผู้บริหาร

ในหัวข้อผู้บริหารให้ระบุชื่อและภูมิหลังของสมาชิกทีมผู้บริหาร รวมทั้งความรับผิดชอบในตำแหน่งหน้าที่ของแต่ละคนด้วย

• สินค้าหรือบริการที่คุณวางแผนที่จะเสนอลูกค้า

ส่วนที่สำคัญที่สุดของบทสรุปคือการแสดงให้เห็นว่าสินค้าหรือบริการของคุณแตกต่างจากของผู้อื่นที่มีอยู่ในปัจจุบันอย่างไร

• ศักยภาพของตลาดสำหรับสินค้าหรือบริการของคุณ

โปรดระลึกไว้ว่า คุณต้องสร้างความมั่นใจให้กับผู้ให้สินเชื่อและพนักงานของคุณ รวมทั้งคนอื่นๆ ให้มีความรู้สึกว่าคุณมีตลาดเป้าหมายขนาดใหญ่และขยายตัวอยู่เสมอ คุณต้องทำการวิจัยมาบ้างก่อนที่จะเขียนหัวข้อนี้ของแผนธุรกิจ ในกรณีที่เป็นธุรกิจระดับท้องถิ่น ให้ตรวจสอบอุปสงค์ในสินค้าหรือบริการของพื้นที่รอบรัศมีที่กำหนด นำข้อมูลที่ได้เปรียบเทียบกับข้อมูลของพื้นที่ที่ไกลออกไปอีกจากจุดที่ตั้งธุรกิจของคุณ หากเป็นธุรกิจที่ดำเนินการในเว็บหรือเป็นธุรกิจที่ดำเนินการทั้งในเว็บและในตลาดท้องถิ่น ให้ประเมินอุปสงค์ของระดับท้องถิ่นและ/หรือระดับประเทศ สำหรับรายงานจากบริษัทวิจัยระดับมืออาชีพอาจมีราคาแพง คุณสามารถค้นหาข้อมูลพื้นฐานได้จากเว็บและจาก Search engines และดัชนีต่างๆ

• กลยุทธ์ในการขายสินค้าหรือบริการของคุณ

คุณมีแผนอย่างไรในการประกาศให้โลกรู้ว่าคุณได้เปิดธุรกิจแล้ว คุณจะใช้วิธีการบอกเล่าแบบปากต่อปากอย่างเดียวหรือไม่ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ไม่ใช่แผนที่ดีนัก เว้นเสียแต่คุณเป็นผู้มีชื่อเสียงในวงการอยู่แล้ว คุณจะโฆษณาทางสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ เว็บ หรือทั้งสามช่องทางรวมกัน คุณจะใช้เครื่องมือทำการตลาดแบบออนไลน์ในการทำให้ชื่อบริษัทของคุณติดอยู่ใน Search engines และโฆษณาในเว็บไซต์อื่นๆ หรือไม่ และอย่าลืมที่จะกำหนดจำนวนเงินที่คุณจะใช้จ่ายในด้านการตลาดด้วย

• ประมาณการทางการเงิน 3 ถึง 5 ปี

ในหัวข้อนี้ให้ใส่ข้อสรุปของการประมาณการทางการเงินของคุณ พร้อมกับหน้ากระดาษคำนวณที่คุณใช้ทำประมาณการการเงินของคุณ แสดงงบดุลของคุณ งบรายได้ และประมาณการเงินสดหมุนเวียนของช่วงเวลาทั้งหมด หัวข้อนี้คือส่วนที่คุณจะบอกผู้ให้สินเชื่อผู้คาดหวังของคุณว่าคุณต้องการกู้เงินจำนวนเท่าใดเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเริ่มธุรกิจของคุณ การคาดการณ์ของคุณในหัวข้อนี้ สามารถมีผลทำให้ธุรกิจของคุณสำเร็จหรือล้มเหลวได้ หากคุณไม่มีความชำนาญในด้านการวางแผนทางการเงินดังกล่าว ก็ควรให้มืออาชีพช่วยดำเนินการให้ซึ่งนับว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า

เรียนรู้เกี่ยวกับซอฟต์แวร์กระดาษคำนวณ

• แผนการเลิกกิจการ

ส่วนนี้เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของแผนธุรกิจที่ดี เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กมักจะวางแผนขายบริษัทของตนเมื่อตนต้องการเลิกกิจการ คุณอาจต้องการส่งมอบการบริหารให้คนบางคนหรือทำให้เป็นบริษัทมหาชน คุณสามารถใช้ข้อมูลตัวเลขต่างๆ ในการพิจารณาเลิกกิจการ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขทางการเงิน ความเติบโตของรายรับ การยอมรับของตลาดในแนวความคิดของคุณ หรือข้อตกลงการเลิกกิจการที่ทำกันระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูง ไม่ว่าคุณจะใช้หลักเกณฑ์ใด คุณต้องมีแผนในการรับกับผลตอบแทนการลงทุนที่คุณและผู้ร่วมลงทุนของคุณได้ลงไป

Customer Relation Management

ปัจจุบันสภาพแวดล้อมทางการตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปมีผลกระทบต่อลูกค้าซึ่งทำให้ธุรกิจต้องกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสม สภาพแวดล้อมทางการตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ได้แก่

­ การลดขนาด การลดต้นทุนเพื่อให้ธุรกิจเติบโต

­ ธุรกิจประสบกับความยากลำบากในการรักษาผลประโยชน์ที่ได้รับจากการขายสินค้าให้ยั่งยืน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และวงจรชีวิตของสินค้าที่มีอายุสั้นลง

­ ลูกค้าเป็นแรงขับเคลื่อนของการเติบโตทางธุรกิจดังนั้นธุรกิจจึงต้องมี การเพิ่มจำนวนลูกค้าและขยายความสัมพันธ์กับลูกค้าที่มีอยู่

­ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขายและลูกค้ามีความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สามารถเข้าถึงและเชื่อมต่อกับลูกค้า ช่วยเพิ่มการคาดหวังของลูกค้า และโอกาสในการสร้างคุณค่ามีการขยายตัวและแตกตัวมากขึ้น

อย่างไรก็ตามธุรกิจส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจในตัวลูกค้าโดยจะเห็นได้จากการที่ธุรกิจจ่ายเงินจำนวนมากเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานการให้บริการกับลูกค้าแต่ลูกค้าเพียงร้อยละ 48 เท่านั้นที่พอใจกับบริการที่ให้ นอกจากนี้ยังพบว่าต้นทุนต่อการติดต่อทางการขายเพิ่มมากขึ้นแต่ผลิตภาพที่ได้จากการขายลดลง รวมทั้งธุรกิจบางแห่งได้ทุ่มเทจำนวนเงินมหาศาลให้กับการพัฒนาสินค้าใหม่แต่อัตราการล้มเหลวมีมากถึงร้อยละ 70

Enterprise Resource Planning

ทำไมปัจจุบันจึงมีความจำเป็นต้องนำระบบ ERP มาใช้

สภาพปัจจุบันของข้อมูลระบบสารสนเทศ

1. การขาดการประสานรวมกันของระบบงาน

ระบบข้อมูลสารสนเทศที่มีมาแต่เดิมนั้น ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้สามารถแก้ปัญหาในแต่ละ หน่วยงานแยกกันไป โดยมุ่งเน้นให้มีการประหยัดพลังงาน การใช้เครื่องจักรแทนคน และการทำให้เป็นอัตโนมัติให้มากที่สุด ผลที่ตามมาก็คือ ระบบข้อมูลสารสนเทศที่สร้างขึ้นมาจะแตกต่างกันไปตามแผนกต่างๆ และเป็นเอกเทศต่อกัน ทำให้เกิดความล่าช้าของการไหลหรือการเชื่อมต่อของข้อมูลระหว่างระบบงานที่ต่างกัน ซึ่งจะเป็นอุปสรรคทำให้ไม่สามารถสร้างระบบงานที่รวดเร็วได้

2. การขาดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของข้อมูล

เนื่องจากมีการกระจัดกระจายของข้อมูลอยู่ตามแผนกต่างๆ และมีระบบข้อมูลสารสนเทศแยกตามแผนกต่างๆ กัน ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล และการที่จะให้แผนกต่างๆ ใช้ข้อมูลร่วมกันนั้นเป็นไปได้ยาก ทำให้เป็นอุปสรรคกีดขวางการทำงานประสานร่วมกันระหว่างแผนก และทำให้การที่แต่ละแผนกจะใช้ความสามารถของตนเองช่วยกันแก้ปัญหาและบริหารงานอย่าง สร้างสรรค์นั้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้

3. การขาดความรวดเร็วในการตอบสนอง

ระบบข้อมูลที่ผ่านมานั้น ข้อมูลที่เกิดขึ้นในแต่ละแผนกนั้นจะถูกประมวลผลแบบ Batch processing เป็นช่วงๆ เช่น เดือนละครั้ง ฯลฯ ทำให้ข้อมูลของแต่ละแผนกนั้น กว่าจะถูกนำไปใช้ในองค์กรโดยรวมเกิดความล่าช้า ดังนั้นการบริหารที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลสดได้ ณ เวลานั้น (real time) เพื่อการตัดสินใจได้ทันท่วงที (timely decision) เป็นไปไม่ได้และเกิดขึ้นยากได้

4. ขาดความสามารถด้าน globalization

ระบบข้อมูลสารสนเทศที่ผ่านมานั้น ถูกสร้างขึ้นมาใช้เฉพาะงาน ไม่สามารถรองรับการทำธุรกิจแบบข้ามชาติ และไม่สามารถทำให้กระบวนการทางธุรกิจ (business process) เป็นแบบ global ได้ ดังนั้นการใช้ข้อมูลข้ามประเทศเพื่อร่วมงานกันจึงเกิดขึ้นยาก ผลก็คือ ทำให้การตัดสินใจที่ทันเหตุการณ์ บนพื้นฐานของสภาพความจริงปัจจุบันของการดำเนินการแบบ global ไม่สามารถทำได้

5. ความไม่ยืดหยุ่นของระบบข้อมูลสารสนเทศ

ระบบข้อมูลสารสนเทศเดิมส่วนใหญ่จะพัฒนากันขึ้นมาเอง ระบบจึงประกอบด้วยโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ ขาดความยืดหยุ่นในการแก้ไขเพิ่มเติมและดูแลระบบ จึงเป็นการยากต่อการปรับปรุงเพื่อให้สามารถรับมือกับการบริหารเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วได้

Total Quality Management

ความหมายของTQM

Total Quality Management หรือ TQM หรือการบริหารคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จ การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ และการบริหารคุณภาพแบบองค์รวม เป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า TQM หมายถึง การบริหารคุณภาพโดยรวม

ความหมายของ TQM มีความหมายเป็นพลวัต มีพัฒนาการ เป็นวัฒนธรรมขององค์การที่สมาชิกทุกคนต่างให้ความสำคัญ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาการดำเนินงานขององค์การอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งที่จะตอบสนองความต้องการ และสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้า ซึ่งจะสร้างโอกาสทางธุรกิจ ความได้เปรียบในการแข่งขัน และพัฒนาการที่ยั่งยืนขององค์การ

การตื่นตัวด้านการดำเนินงานคุณภาพ ทำให้ผู้บริหารองค์การต่างให้ความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพทั้งองค์การ TQM เป็นหลักการบริหารที่มีความหมายบูรณาการเข้ากับทุกส่วนขององค์การ เพื่อแก้ปัญหา สร้างคุณค่าเพิ่ม การควบคุมต้นทุน การปรับโครงสร้างองค์การ และมีคุณประโยชน์ต่อองค์การอย่างมหาศาล TQM เป็นทางเลือกและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อช่วยให้ธุรกิจได้เปรียบในการแข่งขันและ ก้าวไปข้างหน้า

การบริหารเชิงคุณภาพโดยรวม เป็นการจัดระบบและวินัยในการทำงานเพื่อป้องกันความผิดพลาดเสียหาย และมุ่งสร้างคุณค่าในกระบวนการทำงานทุก ๆ ขั้นตอน โดยที่ทุกคนในองค์การต้องมีส่วนร่วม ซึ่งจะทำให้เป็นปัจจัยสำคัญในการก้าวไปสู่ความเป็นเลิศ ทั้งในด้านการบริหารองค์การ การบริหารการผลิต การบริหารการตลาด การบริหารลูกค้า การบริหารบุคคล และการบริหารการเงิน เป็นต้น วัตถุ

ประสงค์สำคัญที่สุดของการบริหารคุณภาพโดยรวม คือ การพัฒนาบุคลากรให้สามารถใช้ศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ด้วยการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงานและปรับปรุงคุณภาพของสินค้าหรือบริการอันจะเป็นผลให้คุณภาพชีวิตของพนักงานทุกคนดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การประยุกต์ใช้ การบริหารจัดการคุณภาพโดยรวมในองค์การ จะทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพของสินค้าหรือบริการเพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจสูงสุด เป็นการทำให้องค์การมีศักยภาพในการแข่งขัน มีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืนและเป็นแนวทางที่ช่วยให้องค์การสามารถลดต้นทุนในการผลิตและการดำเนินงานได้ ซึ่งนอกจากจะมีผลต่อการผลิตแล้ว ยังทำให้ทุกกระบวนการมีความคล่องตัว และประสานงานกันก่อให้เกิดพัฒนาการขององค์การในระยะยาว ผลที่องค์การจะได้รับจากการบริหารคุณภาพโดยรวมนั้น คือ การมีสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพสูงขึ้น มีการกำจัดของเสีย หรือทำให้ของเสียในองค์การลดลง

SA 8000

SA 8000 หรือ Social Accountability 8000 เป็นระบบมาตรฐานสากลที่ให้ความสำคัญกับสิทธิ ขั้นพื้นฐานของแรงงาน ซึ่งเหมือนกับระบบ ISO 9000 ที่เป็นมาตรฐานสากลสำหรับระบบคุณภาพ อันเกี่ยวกับการจัดการด้านคุณภาพและการประกันคุณภาพ และ ISO 14000 ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม SA 8000 เป็นระบบมาตรฐานสากลที่ใช้ได้กับทุกธุรกิจ อุตสาหกรรมการผลิต หรือ การบริการ โดยไม่คำนึงถึง ขนาด สถานที่ เทคโนโลยีในการผลิต และความซับซ้อนขององค์กร

ประโยชน์ที่ได้รับจากการนำมาตรฐาน SA 8000 มาใช้

o สร้างภาพลักษณ์ของบริษัทให้เป็นที่ยอมรับในสังคมโดยเฉพาะในสายตาของผู้บริโภค

o ทำให้แรงงานมีความจงรักภักดีต่อองค์กร ประสิทธิภาพในการทำงานของแรงงานเพิ่มขึ้นและนำไป สู่การเพิ่มผลผลิตในที่สุด

o สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อสังคม

o ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในตัวสินค้าและบริการและมีความภักดีต่อองค์กร

o มีช่องทางการตลาดใหม่

o มีโอกาสในการเลือกแรงงานที่มีคุณภาพ

o ลดขั้นตอนและต้นทุนในการตรวจ

ISO 26000

หลัก 7 ประการของ ISO 26000

ISO 26000 มีหลักการสำคัญ 7 ประการ คือ

1.หลักการปฏิบัติตามกฎหมาย (Principle of legal compliance) องค์กรจะต้องมีการปฏิบัติที่สอดคล้องกับกฎหมาย และกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชาติและระดับสากลทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ

2. หลักการเคารพต่อแนวปฏิบัติระดับชาติหรือระดับสากล (Principle of respect for authoritative inter-government agreements or internationally recognized instruments) รวมถึงสนธิสัญญาสากล คำสั่ง ประกาศ ข้อตกลง มติ และข้อชี้นำต่างๆ ซึ่งได้รับการรับรองจากองค์กรสากลที่เกี่ยวข้องกับองค์กรนั้นๆ 3.หลักการให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ( Principle of recognition of stakeholders and concerns) องค์กรควรตระหนักถึงสิทธิและผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมขององค์กร เช่น นโยบาย ข้อเสนอ หรือการตัดสินใจต่างๆ ก็ตามที่จะส่งผลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

4.หลักของการแสดงรับผิดชอบที่สามารถตรวจสอบได้ (Principle of accountability) ในการดำเนินงานใดๆก็ตามขององค์กรต้องสามารถตรวจสอบได้จากภายนอก

5.หลักการความโปร่งใส (Principle of transparency) องค์กรควรเปิดเผยข้อมูลต่างๆให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบอย่างชัดแจ้ง

6.หลักการความเคารพในสิทธิมนุษยชน (Principle of respect of fundamental human right) องค์กรควรดำเนินนโยบายและดำเนินกิจกรรมที่สอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และสุดท้าย หลักการความเคารพในความหลากหลาย (Principle of respect for diversity) องค์กรควรจ้างพนักงาน โดยไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติ สีผิว ความเชื่อ อายุ เพศ

องค์ประกอบของความรับผิดชอบต่อสังคม

ความรับผิดชอบต่อสังคมนั้นมีองค์ประกอบหลากหลาย ซึ่งใน ISO 26000 ได้กำหนดองค์ประกอบหลักของความรับผิดชอบไว้ 7 ประการ ดังนี้

1.มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Organization governance) กล่าวคือ องค์กรควรกำหนดหน้าที่ให้คณะกรรมการฝ่ายจัดการ ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถสอดส่องดูแลผลงานและการปฏิบัติงานขององค์กรได้ เพื่อแสดงถึงความโปร่งใส พร้อมรับการตรวจสอบ และสามารถชี้แจงให้ผู้มีส่วนได้เสียได้รับทราบถึงผลการปฏิบัติงานได้

2.คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน (Human rights) ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ โดยสิทธิดังกล่าวควรครอบคลุมถึงสิทธิความเป็นพลเมือง สิทธิทางการเมือง สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และสิทธิตามกฎหมายระหว่างประเทศด้วย

3.ข้อปฏิบัติด้านแรงงาน (Labor practices) องค์กรต้องตะหนักว่าแรงงานไม่ใช่สินค้า ดังนั้นแรงงานจึงไม่ควรถูกปฏิบัติเสมือนเป็นปัจจัยการผลิต

4.การดูแลสิ่งแวดล้อม (Environment) องค์กรจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงหลักการป้องกันปัญหามลพิษการบริโภคอย่างยั่งยืน (Sustainable consumption) และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพในการดำเนินการผลิตและบริการ

5.การดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรม (Fair operating practices) องค์กรต่างๆ ควรแข่งขันกันอย่างเป็นธรรมและเปิดกว้าง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการลดต้นทุนสินค้าและบริการ นวัตกรรมการพัฒนาสินค้าหรือกระบวนการใหม่ๆ รวมถึงจะช่วยขยายการเติบโตทางเศรษฐกิจและมาตรฐานการครองชีพในระยะยาว

6.ใส่ใจต่อผู้บริโภค (Consumer issues) องค์กรจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้รับทราบข้อมูลในการใช้สินค้าและบริการอย่างเหมาะสม ทั้งยังต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาสินค้าและบริการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยคำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้งานและสุขภาพของผู้บริโภค นอกจากนี้เมื่อพบว่าสินค้าไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด องค์กรก็จะต้องมีกลไกในการเรียกคืนสินค้า พร้อมทั้งยังต้องให้ความสำคัญกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค และถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดอีกด้วย

7.การแบ่งปันสู่สังคมและชุมชน (Contribution to the community and society)

นางสาวประกาย ใจประสิทธิ์ เลขที่ 11 ห้อง กจ.2/1

การจัดการลูกค้าสัมพันธ์

 (Customer relationship management หรือ CRM)

การจัดการลูกค้าสัมพันธ์  มีแนวปฏิบัติทางธุรกิจที่มีการทำมานาน อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการทำธุรกิจในประเทศแถบเอเซียแต่ไม่เห็นเด่นชัดเพราะกลมกลืนกับวัฒนธรรม CRM เป็นการผูกใจลูกค้าด้วยวิธีการต่าง ๆ การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ เริ่มมีผู้ให้ความสนใจที่จะทำให้เด่นชัดมากขึ้นเมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่สภาวะที่เป็นโลกาภิวัฒน์ (Globalization)

CRM เป็นแนวคิดที่บอกว่าองค์กรไม่ใช่เพียงแต่ให้ความสำคัญกับลูกค้าเท่านั้น แต่ต้องมองความสัมพันธ์กับลูกค้าเป็นทรัพย์สินที่มีค่า ความสัมพันธ์ที่ดีจะนำมาซึ่งยอดขายและการเติบโตของธุรกิจ

ความสัมพันธ์ประกอบด้วย การหาลูกค้าใหม่ และการรักษาลูกค้าเก่าไปไว้โดยเลือกใช้ปฏิสัมพันธ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าแต่ละราย

CRM สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทที่สำคัญ ดังนี้

                1. CRM เชิงปฏิบัติการ

                2. CRM เชิงการวิเคราะห์

                3. CRM เชิงการทำงานร่วมกัน

ประโยชน์จะได้รับจากความสัมพันธ์ที่ดี

1.               สร้างความจงรักภักดี ของลูกค้าในระยะยาว

2.               เพิ่มยอดขายในระยะยาว

3.               สร้าง ประวัติ ชื่อเสียงและภาพพจน์ที่ดีของบริษัท

4.               เพิ่มโอกาสในการเติบโตของธุรกิจ

5.               การระบุ ลักษณะจำเพาะของลูกค้าแต่ละราย และจัดกลุ่ม

6.               กำหนดรูปแบบความสัมพันธ์ และการดูแลลูกค้าตามกลุ่ม ตามค่านิยมและความต้องการเฉพาะของลูกค้า

7.               การปรับปรุงองค์กร ขั้นตอนการทำงาน และเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อดำเนินตามกลยุทธ์ที่กำหนดไว้

8.               การนำเทคโนโลยีมาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเฉพาะบุคคล

9.               กระบวนการขายเป็นกระบวนการที่ทำให้สินค้าไปสู่มือลูกค้า หรือการให้บริการกับลูกค้า

10.         เป็นงานให้บริการลูกค้า

11.         การทำธุรกรรมผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

การเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมจะทำให้ธุรกิจสามารถให้บริการดีขึ้นโดยใช้ต้นทุนที่ลดลง สามารถใช้ช่องทางการติดต่อสื่อสารที่เหมาะสมกับการทำธุรกิจ ดังนั้นธุรกิจขนาดใหญ่ในปัจจุบันเริ่มให้ความสนใจในการปรับปรุงระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์แบบเก่าเป็นระบบที่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้นเรียกว่าระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ออนไลน์

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

แผนธุรกิจ

(Business Plan)

แผนธุรกิจ  เปนผลสรุปหรือผลรวมแหง่กระบวนการคิดพิจารณาและการตัดสินใจของผูประกอบการออกมาเปนโอกาสทางธุรกิจ  และเปนแผนใหรายละเอียดตาง ๆ ทางดานการตลาดการแขงขัน กลยุทธ์ การประมาณทางการเงิน  ชี้ใหเห็นประเด็นจุดออนและขอควรระวัง

องค์ประกอบหลักของแผนธุรกิจ

1. รู้ว่าเราเป็นใคร (Who are we?)

2. รู้ว่าเราจะไปไหน (Where do we will go?)

3. รู้ว่าเราจะไปอย่างไร (How do we will go there?)

องค์ประกอบของแผนธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ

1. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

2. วิสัยทัศน์ / เป้าหมาย

3. พันธกิจ

4. โอกาส

-การวิเคราะห์สถานการณ

-การวิเคราะห์การแข่งขัน

5. กลยุทธ์ธุรกิจ

6. การตลาด

ประโยชน์ ข้อดีของการนำเครื่องมือไปใช้

                1 .เป็นเครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการ ในการวางแผนการดำเนินธุรกิจ ได้อย่างถูกต้อง

                2. เป็นเครื่องมือ ที่ช่วยให้ธุรกิจ มีโอกาสประสบ ความสำเร็จสูง และลดโอกาสการเกิดความผิดพลาด

                3. เป็นเครื่องมือเพื่อขอรับการสนับสนุนทางการเงิน

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 ระบบบริหารทรัพยากรองค์กร

Enterprise  Resource  Planning  (ERP)

คือ ระบบการวางแผนทรัพยากรขององค์กร เป็นระบบที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร โดยเป็นระบบที่เชื่อมโยงระบบงานต่างๆ ขององค์กรเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ระบบงานทางด้านบัญชี และการเงิน ระบบงานทรัพยากรบุคคล ระบบบริหารการผลิต รวมถึงระบบการกระจายสินค้า เพื่อช่วยให้การวางแผนและบริหารทรัพยากรขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยลดเวลาและขั้นตอนการทำงานได้อีกด้วย

ขั้นตอนของการนำ ERP มาใช้

การนำ ERP มาใช้นั้น มีความจำเป็นที่จะต้องแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนใหญ่

-                    ขั้นตอนการวางแนวคิด

-                    ขั้นตอนการวางแผน

-                    ขั้นตอนการพัฒนา

-                    ขั้นตอนการใช้งานจริงและทำให้คุ้นเคย

-                    ขั้นตอนพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง

 

ประโยชน์จากการนำ ERP มาใช้ในองค์กร

-                    เพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ของบริษัท

-                    ช่วยปรับปรุงระบบงานและประสิทธิภาพการดำเนินงาน รวดเร็ว ทำให้พนักงานทำงานได้อย่างประหยัดเวลาและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

-                    เพิ่มความสามารถในการควบคุมกระบวนการต่างๆ ของบริษัท

-                    การรวมการใช้งานของโปรแกรมต่างๆ ที่บริษัทใช้อยู่ให้ใช้ได้อย่าง สะดวกมากขึ้น

-                    ปรับปรุงระบบบริหารการเงินของบริษัท

สาเหตุที่ SMEs นำ ERP มาใช้ในองค์กร

-                    บริษัทไม่สามารถควบคุมหรือตรวจสอบทรัพยากรได้อย่างทั่วถึง

-                    การบริหารจัดการการเงินอย่างไม่มีประสิทธิภาพ

-                    ขาดการวางแผนและระบบที่มีประสิทธิภาพ

-                    ความไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้อย่างทันท่วงที เนื่องจากขนาดและทรัพยากรของธุรกิจที่จำกัด

ลักษณะสำคัญของระบบ ERP คือ

-                    การบูรณาการระบบงานต่างๆ ของระบบ ERP

-                    รวมระบบงานแบบ Real time ของระบบ ERP

-              ระบบ ERP มีฐานข้อมูล (database) แบบสมุดลงบัญชี

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

มาตรฐานใหม่ในสังคม

ISO 26000

คือมาตรฐานสากลว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม องค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐานหรือ ไอ เอส โอ  ซึ่งถือเป็นมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับของทั่วโลก จึงน่าจะเป็นมาตรฐานหนึ่งที่ได้รับการยอมรับและจะมีการนำไปใช้อย่างกว้างขวางต่อไป

หลักการ 7 ประการของ ISO 26000

1. หลักการปฏิบัติตามกฎหมาย

2. หลักการเคารพต่อแนวปฏิบัติระดับชาติ หรือระดับสากล

3. หลักการให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้เสีย

4. หลักการรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้

5. หลักการโปร่งใส

6. หลักการเคารพในสิทธิมนุษยชน

7. หลักการเคารพในความ

ประโยชน์ของ ISO 26000

                1.   ช่วยให้การตัดสินใจเป็นไปด้วยความรอบคอบ โดยมีความเข้าใจต่อความคาดหวังของสังคม โอกาสต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ

นางสาวประกาย ใจประสิทธิ์ เลขที่ 11 ห้อง กจ.2/1

(ต่อ)   ประโยชน์ของ ISO 26000

                1.   ช่วยให้การตัดสินใจเป็นไปด้วยความรอบคอบ โดยมีความเข้าใจต่อความคาดหวังของสังคม โอกาสต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ SR ความเสี่ยงต่าง ๆ หากไม่มี SR

                2.   ปรับปรุงแนวปฏิบัติต่อการบริหารความเสี่ยง

                3.   ช่วยสร้างเสริมชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือขององค์กรต่อสาธารณะชนความจงรักภักดี ขวัญ และ กำลังใจของลูกจ้างป้องกันและลดความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคเกี่ยวกับสินค้าและการบริการ

                4.   การประหยัด อันเป็นผลมาจาก การเพิ่มผลผลิต และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

                5.   ช่วยสนับสนุนการคงอยู่ขององค์กรในระยะยาว

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

การจัดการกลุ่มของกิจกรรมงาน

Supply Chain Management

การจัดการกลุ่มของกิจกรรมงาน กล่าวคือ ตั้งแต่การรับวัตถุดิบมาจาก Supplies แล้วเปลี่ยนวัตถุดิบนั้นให้เป็นสินค้าขั้นกลาง และสินค้าขั้นสุดท้าย จนกระทั่งจัดส่งสินค้าให้แก่ลูกค้า

แก่นสำคัญของ Supply Chain Management

สิ่งที่จะทำให้เข้าใจถึงหน้าที่ของการผลิตและวิธีการควบคุมการผลิตนั้น เราจะต้องเข้าใจในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวในกระบวนการผลิตอยู่ 2 สิ่งหลักๆ คือ

1.               วัตถุดิบ สารสนเทศ   การบริหารการผลิตจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นเมื่อกระบวนการผลิตเคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่องไม่ติดขัด และมีระบบที่ง่ายๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ยิ่งมีระบบย่อยหรือแยกส่วนมากเท่าใด ก็จะยิ่งมีปัญหามากขึ้นเท่านั้น

ประโยชน์ของการทำ SCM

1.               การเคลื่อนไหลของวัตถุดิบและสารสนเทศเป็นไปอย่างราบรื่น

2.               ปรับปรุงระดับของสินค้าคงเหลือ

3.               เพิ่มความเร็วได้มากขึ้น

4.               ขจัดความสิ้นเปลืองหรือความสูญเปล่าต่างๆ ในกระบวนการทางธุรกิจให้หมดไปได้

5.               ลดต้นทุนในกิจกรรมต่าง ๆ ได้ปรับปรุงการบริการลูกค้า

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ระบบการส่งกำลัง

Logistic

                หมายถึง กระบวนการวางแผนการดำเนินงานและการควบคุมการเคลื่อนย้ายทั้งไปและกลับ การเก็บรักษาสินค้า บริการ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการผลิตไปสู่จุดสุดท้ายของการบริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

การนำเอาLogisticไปใช้ภายในองค์กร

                เป็นรูปแบบการจัดการ ซึ่งธุรกิจได้นำเอาระบบLogisticเข้าไปขับเคลื่อนในกระบวนการต่างๆ องค์ประกอบของอุตสาหกรรมรมการผลิตอุตสาหกรรมรมการผลิตประกอบไปด้วย คู่ค้า หรือผู้ขายวัตถุดิบและลูกค้า และมีองค์ประกอบหลักๆ อยู่ 2 องค์ประกอบที่สอดคล้องระหว่างวัตถุดิบที่นำมาเพื่อผลิตเป็นสินค้าและส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้า โดยมีกระบวนการต่างๆ ของธุรกิจอันได้แก่

                1.   การคาดคะเนยอดขาย

                2.   การจัดซื้อ

                3.    คลังสินค้า

                4.    กระบวนการผลิต

                5.   การตลาด

                6.   การส่งมอบ

ประโยชน์ของ Logistic ที่มีต่อองค์กร

                -   ลดต้นทุนในการสั่งซื้อสินค้า

                -   ลดต้นทุนในการจัดเก็บสินค้า

                -   ตอบสนองความต้องการผู้บริโภคอย่างเต็มประสิทธิภาพ

                -   เพิ่มความสะดวกรวดเร็ว และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

                -   สร้างความได้เปรียบในการเพิ่มกำไรเนื่องจากต้นทุนโดยรวมลดลง

ความแตกต่างระหว่าง  Supply chain Management And Logistic

                Supply chain Management And Logistic เป็นสิ่งที่คู่กันเสมอ แต่ขอบข่ายในการกำหนดแผนงานของ ลอจิสติกส์ และการจัดการโซ่อุปทานจะแตกต่างกัน โดยแบ่งส่วนที่สนับสนุนต่อกันคือ การจัดการโซ่ระดับอุปทานจะเป็นการจัดการระดับเชิงกลุยทธ์ Strategis Level

                ส่วนลอจิสติกส์เป็นการจัดการระดับยุทธวิธี Tagics และการปฏิบัติงานให้สอดคล้องและบรรลุต่อทิศทางและเป้าหมายในระดับการจัดการโซ่อุปทาน

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

การบริหารคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จ

Total Quality Management

หมายถึง แนวทางในการบริหารขององค์กรที่มุ่งเน้นคุณภาพ โดยสมาชิกทุกคนขององค์กรมีส่วนร่วมและมุ่งหมายผลกำไรในระยะยาวด้วยการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้ารวมทั้งการสร้างผลประโยชน์ตอบแทนแก่หมู่สมาชิก

TQM  มี หลักการที่สำคัญ 3 ประการ

1. การมุ่งเน้นที่คุณภาพ

2. การปรับปรุงกระบวนการ

3.ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วม

 

ประโยชน์ที่ได้รับจาก TQM

ทำให้การดำเนินงานขององค์กรสูงขึ้น โดย

                -   สินค้าหรือบริการมีคุณภาพสูงขึ้น

                -   ของเสียเป็นศูนย์

                -   กำจัดของเสีย

                -   ออกแบบผลิตภัณฑ์ได้น่าสนใจมากขึ้น

                -   บริการหรือส่งของได้เร็วขึ้น

                -   ลดต้นทุนด้านการผลิต

                -   พนักงานทุกคนมีส่วนร่วม

 

ส่วนประกอบของ TQM

                1. การให้ความสำคัญกับลูกค้า (Customer Oriented)

                2. การพัฒนา/ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement)

                3.สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วม (Employees Involvement)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บรรษัทภิบาล

(Corporate Governance)

หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนร่วม Stakeholder ของบริษัท ในการควบคุมดูแลกำหนดทิศทางกลยุทธ์ และการดำเนินงานของบริษัทหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การบริหารบริษัท เป็นวิธีการที่บริษัทนำมาใช้ เพื่อเป็นกรอบหรือกฎเกณฑ์ ระหว่างเจ้าของ (ผู้ถือหุ้น) กับผู้บริหารบริษัท (CEO)

หลักการใช้ Corporate Governance

                1.  การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างถูกต้องและเท่าเทียม

                2.  ในการดำเนินการใดๆ ต้องคำนึงถึงประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทุกราย

                3.  บทบาทของคณะกรรมการในฐานะที่เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นทั้งหมดของบริษัท

                4.  องค์กรควรให้มีคู่มือในการบริหารงานและดำเนินการ การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส

                5.  การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส

ประโยชน์ของ Corporate Governance

                1.  เพิ่มศักยภาพในการสร้างสมรรถนะการแข่งขันให้แก่บริษัททั้งในระดับประเทศและระดับโลก

                2.  เพิ่มโอกาสในการเข้าสู่ตลาดทุนของโลก

                3.  เพิ่มโอกาสในการเสาะหาพันธมิตรทางธุรกิจได้ง่ายขึ้นและเป็นพันธมิตรที่มีบรรษัทภิบาลที่ดี

 +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

มาตรฐานแรงงาน  ว่าด้วยความรับผิดชอบทางสังคม

Social Accountability 8000 (SA 8000)

                มาตรฐาน SA 8000 เป็นมาตรฐานที่กำหนดให้ผู้ประกอบ การแสดงออกถึงความรับผิดชอบทางสังคมในเรื่องสิทธิแรงงาน ซึ่งรวมถึงเรื่องแรงงานเด็ก แรงงานบังคับ ความปลอดภัย และสุขภาพอนามัยในสถานที่ทำงาน เป็นต้น

ขั้นตอนหรือกระบวนการในการนำไปใช้ของเครื่องมือ

1.               แรงงานเด็ก

2.               แรงงานบังคับ

3.               สุขภาพและความปลอดภัย

4.               เสรีภาพในการสมาคมและสิทธิในการร่วมเจรจาต่อรอง

5.               การเลือกปฏิบัติ

6.               การลงโทษทางวินัย

7.               ชั่วโมงการทำ งาน

8.               ค่าตอบแทน

9.               ระบบการจัดการ

ประโยชน์ที่ได้รับการจัดทำระบบ SA 8000

1.               สร้างภาพลักษณ์ของบริษัทให้เป็นที่ยอมรับในสังคมโดยเฉพาะในสายตาของผู้บริโภค

2.               ทำให้แรงงานมีความจงรักภักดีต่อองค์กร ประสิทธิภาพในการทำงานของแรงงานเพิ่มขึ้นและนำไป สู่การเพิ่มผลผลิตในที่สุด

3.               สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อสังคม

4.               ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในตัวสินค้าและบริการและมีความภักดีต่อองค์กร

5.               มีช่องทางการตลาดใหม่

6.               มีโอกาสในการเลือกแรงงานที่มีคุณภาพ

7.               ลดขั้นตอนและต้นทุนในการตรวจสอบ

นางสาวประกาย ใจประสิทธิ์ เลขที่ 11 ห้อง กจ.2/1

(ต่อ)  ประโยชน์ที่ได้รับการจัดทำระบบ SA 8000

1.               สร้างภาพลักษณ์ของบริษัทให้เป็นที่ยอมรับในสังคมโดยเฉพาะในสายตาของผู้บริโภค

2.               ทำให้แรงงานมีความจงรักภักดีต่อองค์กร ประสิทธิภาพในการทำงานของแรงงานเพิ่มขึ้นและนำไป สู่การเพิ่มผลผลิตในที่สุด

3.               สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อสังคม

4.               ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในตัวสินค้าและบริการและมีความภักดีต่อองค์กร

5.               มีช่องทางการตลาดใหม่

6.               มีโอกาสในการเลือกแรงงานที่มีคุณภาพ

7.               ลดขั้นตอนและต้นทุนในการตรวจสอบ

8.               การป้องกันการกีดกั้นด้านการค้า ซึ่งในเรื่องนี้พบว่าหลาย ๆ โรงงานเริ่มถูกลูกค้าทำ 2nd Party Audit ในหัวข้อเรื่องการจ้างแรงงานแล้ว

9.               ปรับปรุงสภาพการทำงานให้เหมาะสม

  •  
    1. เพิ่มโอกาสทางการค้าโดยวาง Product Position ใหม่

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

นางสาวศศินนท์ พรมวงค์

Socia Accountability 8000 (SA 8000)

คือ มาตรฐานในการจ้างงานของกิจการทั่วไป ที่นำระบบการตรวจสอบและระบบจัดการทั้งด้านคุณภาพสินค้าและบริการของ ISO 9000 เป็นพื้นฐาน โดยเพิ่มสาระสำคัญเรื่องประสิทธิภาพการทำงานที่กำหนดไว้ในลักษณะเกณฑ์ขั้นต่ำรวมไว้ด้วย จัดทำโดยองค์การ Council of Economic Priorities Accreditation Agency (CEPAA) ซึ่งเกิดจากการรวมกลุ่มของกิจการต่างๆ ในสหรัฐฯ

มาตรฐาน SA 8000 มีหลักการสำคัญเพิ่มเติมจาก ISO 9000 9 ประการ คือ

1. การจ้างแรงงานเด็ก (Child Labour) ห้ามจ้างงานเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี และห้ามทำงานอันตราย ในกรณีที่ลูกจ้างอยู่ระหว่างการศึกษา การจ้างงานต้องไม่ตรงกับเวลาเรียนและเวลาที่ใช้เดินทางไปเรียน นอกจากนั้น ยังกำหนดให้ลูกจ้างทำงานไม่เกินวันละ 10 ชั่วโมง

2. การบังคับใช้แรงงาน (Force Labour) การว่าจ้างแรงงานต้องเป็นไปตามความสมัครใจโดยไม่มีการบังคับ

3.สุขอนามัยและความปลอดภัย (Health and Safety) สภาพแวดล้อมที่ทำงานต้องปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายในขณะทำงาน โดยจัดวางระบบรักษาความปลอดภัยและป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยแก่บุคลากร และจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อย่างครบถ้วนและมีการบำรุงรักษาที่ดี

4. เสรีภาพในการจัดตั้งสมาคมและรวมตัวเพื่อการต่อรอง (Freedom of Association and Right to Collective Bargaining) ผู้ว่าจ้างต้องให้สิทธิแก่ลูกจ้างในการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพและเข้าร่วมกิจกรรมในการต่อรองต่างๆ

5.การกีดกัน (Discrimination) ต้องไม่นำฐานะทางสังคม สีผิว เชื้อชาติ ศาสนา เพศ การเป็นสมาชิกสหภาพ หรือพรรคการเมืองใดๆ มาเป็นข้อกีดกันการจ้างแรงงานและการรับผลประโยชน์ของลูกจ้าง

6.การรักษาวินัย (Disciplinary Practice) การลงโทษลูกจ้างต้องไม่ลงโทษในลักษณะที่เป็นการทำร้ายร่างกายหรือจิตใจ

7.ชั่วโมงการทำงาน (Working Hours) ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานการจ้างงานของอุตสาหกรรมนั้นๆ โดยปกติไม่เกิน 48 ชั่วโมง/สัปดาห์ มีวันหยุด 1 วัน/รอบเวลาทำงานทุกๆ 7 วัน ทำงานล่วงเวลาได้ไม่เกิน 12 ชั่วโมง/สัปดาห์และจ่ายค่าจ้างในอัตราสูงกว่าปกติ

8.ค่าตอบแทน (Compensation) ต้องเป็นไปตามที่กฏหมายกำหนดหรืออย่างน้อยเท่ากับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำซึ่งต้องเพียงพอต่อการดำรงชีพ และห้ามมีการลงโทษด้วยการหักค่าจ้างแรงงาน

9.ระบบการจัดการ (Management System) ธุรกิจที่นำมาตรฐาน SA 8000 มาใช้ ต้องมีระบบการจัดการที่เอื้ออำนวยและสอดคล้องกับข้อกำหนดของระบบ โดยจะต้องกำหนดนโยบายของบริษัท การทบทวนนโยบาย กำหนดผู้รับผิดชอบในการนำระบบเข้ามาใช้ การคัดเลือกตัวแทนจำหน่าย (Supplier) ให้เป็นไปตามมาตรฐาน SA 8000 โดยตรวจสอบการทำงาน หากพบจุดใดไม่สอดคล้องกับระบบต้องทำการแก้ไข

การออกใบรับรองมาตรฐาน SA 8000 ผู้ออกใบรับรองต้องปรึกษาและทำการศึกษาข้อมูลจากกลุ่มผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องได้แก่ องค์กรเอกชนที่ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายแสวงหากำไร (Non Government Organizations: NGOs) สหภาพการค้าและลูกจ้าง เป็นต้น

นอกจากนี้ ต้องอนุญาตให้คนงาน หน่วยงาน ตลอดจนกลุ่มผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง สามารถร้องเรียนไปยังหน่วยงานผู้ออกใบรับรองในกรณีที่ผู้ประกอบการกระทำผิดมาตรฐานเพื่อให้มีการตรวจสอบใบรับรองมาตรฐาน SA 8000 ของผู้ประกอบการนั้นๆ ใหม่อีกครั้ง

…………………………………………………………………………………………………

(Corporate Governance)

Good Corporate Governance หมายถึง การบริหารจัดการธุรกิจที่เป็นธรรมและโปร่งใส โดยผู้มีอำนาจบริหารจัดการธุรกิจนั้น ๆ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และผลการกระทำของตนต่อ

แนวคิดพื้นฐานของการบริหารบรรษัทภิบาล

สาเหตุสำคัญประการหนึ่ง คือ การคอรัปชั่นของผู้มีอำนาจทั้งทางการเมืองและวงการธุรกิจ ซึ่งนำไปสู่ความล่มสลายของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย ดังนั้นเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชียจึงเกิดกระแสเรียกร้องความโปร่งใสในการทำธุรกิจกันมากขึ้น เพื่อเรียกความเชื่อถือเชื่อมั่นจากนักลงทุนต่างประเทศที่จะเข้ามาลงทุนเพื่อให้เกิดการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ จึงเกิดความตื่นตัวในเรื่องของบรรษัทภิบาลขึ้นมา

การตระหนักถืงเรื่องบรรษัทภิบาลไม่ได้เป็นที่ตื่นตัวเฉพาะในประเทศไทยหรือภูมิภาคเอเชียเท่านั้น แต่ประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจอย่างประเทศในแถบตะวันตก ก็ให้ความสำคัญกับบรรษัทภิบาลเช่นกัน อีกทั้งยังมีการตื่นตัวและพูดถึงเรื่องนี้กันมานานแล้ว เนื่องจากเคยมีบทเรียนความเสียหายทางธุรกิจ ที่เกิดจากความไร้ประสิทธิภาพของกลไกตรวจสอบการทำงานของผู้มีอำนาจในองค์กรมาแล้ว ซึ่งบทเรียนความเสียหายเหล่านั้นเป็นจุดเริ่มต้นของบรรษัทภิบาลในประเทศเหล่านั้น

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนเกิดขึ้นในเรื่องความบกพร่องของระบบกำกับดูแลกิจการ ได้ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาประสบความเสียหายทางธุรกิจอย่างร้ายแรง

เนื่องจากกรรมการบริษัทมุ่งตักตวงผลประโยชน์จนละเลยภาระหน้าที่ ไม่มีการตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหารอย่างจริงจัง ทำให้ฝ่ายบริหารแต่งตั้งพรรคพวกเข้าทำงานในบริษัท เพื่อช่วยกันปิดบังการทุจริต ซึ่งปัญหาเหล่านี้ยังเกิดขึ้นกับหลายบริษัทในประเทศตะวันตกด้วย

จุดเริ่มต้นของการสร้างระบบกำกับดูแลเกิดขึ้น เนื่องจากมีบริษัทหนึ่งในสหรัฐอเมริกาพยายามปฏิรูปองค์กรของตน ด้วยการสร้างระบบกำกับดูแลกิจการ เพื่อเป็นกลไกตรวจสอบซึ่งกันและกันระหว่างผู้มีอำนาจสำคัญ ๆ ในบริษัท คือ

ผู้ถือหุ้น คณะกรรมการและฝ่ายบริหาร โดยออกประกาศเป็นลายลักษณ์อักษรถึงระเบียบวิธีการต่าง ๆ เช่น การคัดเลือกกรรมการ การประชุมกรรมการ การกำหนดผลตอบแทนผู้บริหาร เป็นต้น ประกาศฉบับนี้จึงถือเป็นความพยายามยุคแรก ๆ ที่จะผลักดันให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจ และถือเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยจุดประกายแนวคิด การสร้างระบบกำกับดูแลกิจการให้แก่องค์กรธุรกิจอื่น ๆ ซึ่งต่อมาก็ได้พัฒนามาเป็นหลักบรรษัทภิบาล หรือ Corporate Governance อย่างที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน

........................................................

Total Quality Management

ความหมายของ TQM

Total Quality Management หรือ TQM หรือการบริหารคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จ การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ และการบริหารคุณภาพแบบองค์รวม เป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า TQM หมายถึง การบริหารคุณภาพโดยรวม

ประโยชน์ที่ได้รับจาก TQM

ทำให้การดำเนินงานขององค์กรสูงขึ้น โดย

- สินค้าหรือบริการมีคุณภาพสูงขึ้น

- ของเสียเป็นศูนย์

- กำจัดของเสีย

- ออกแบบผลิตภัณฑ์ได้น่าสนใจมากขึ้น

- บริการหรือส่งของได้เร็วขึ้น

- ลดต้นทุนด้านการผลิต

- พนักงานทุกคนมีส่วนร่วม

........................................................

Logistic

โลจิสติกส์ หมายถึง กระบวนการวางแผน การดำเนินงาน และการควบคุมการเคลื่อนย้ายทั้งไปและกลับ การเก็บรักษาสินค้า บริการ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการผลิตไปสู่จุดสุดท้ายของการบริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

กระบวนการจัดการโลจิสติกส์จะครอบคลุมกิจกรรม 2 ประเภทดังนี้

1. กิจกรรมหลัก (Key Activities) ประกอบด้วย

1.1 การบริหารสินค้าคงคลัง

1.2 การบริหารการขนส่ง

1.3 การบริหารการสั่งซื้อ

1.4 การบริหารข้อมูล

1.5 การบริหารการเงิน

2. กิจกรรมสนับสนุน (Supporting Activities) ประกอบด้วย

2.1 การบริหารคลังสินค้า

2.2 การดูแลสินค้า

2.3 การบริหารการจัดซื้อ

2.4 การบริหารบรรจุภัณฑ์

2.5 การบริหารอุปสงค์

ดังนั้นหัวใจสำคัญของการดำเนินกิจกรรมโลจิสติกส์ คือการจัดหาสินค้าหรือบริการตามความต้องการของลูกค้า และส่งมอบสินค้าไปยังสถานที่ที่ลูกค้าระบุไว้ถูกต้องตรงตามเวลา และสินค้าอยู่ในสภาพสมบูรณ์ด้วยต้นทุนที่เหมาะสม

……………………………………………………………………………………………………………

Supply Chain Management

ความหมาย การจัดการโซ่อุปทาน คือ การรวบรวมการวางแผน และการจัดการของกิจกรรมทั้งหมดที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดหา การจัดซื้อ การแปรสภาพ และกิจกรรมการจัดการทั้งหมด

การนำ Supply Chain ไปใช้ในองค์กร

1.กำหนดเป้าหมายกระบวนการที่จะทำการลดต้นทุนและระยะเวลา

2.วางแผนการปฏิบัติ (Action Plan)

3.อาศัยความร่วมมือภายในหน่วยงาน

4.การให้รางวัล หรือผลตอบแทนให้กับทีมงาน

ประโยชน์

1.สนองตอบตรงตามความต้องการของลูกค้า

2.ลดค่าใช้จ่ายอย่างเป็นระบบ

3.ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กร

4.ติดตามกระบวนการทำงานได้อย่างใกล้ชิด

5.บริหารสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6.ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่า

ข้อดี

สร้างประสิทธิภาพทางด้านการผลิตและการตลาด โดยครอบคลุมถึง ระบบการจัดหาวัตถุดิบ การบรรจุและการลำเลียงวัตถุดิบ การบริหารสินค้าคงเหลือ การจัดการด้านคลังสินค้า การจัดหาสินค้า และการจัดการด้านการขนส่ง

……………………………………………………………………………………………………………

Enterprise Resource Planning

ความหมาย ระบบบริหารทรัพยากรองค์กร หรือ ERP (Enterprise resource planning) คือ ระบบการวางแผนทรัพยากรขององค์กร เป็นระบบที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆขององค์กร โดยเป็นระบบที่เชื่อมโยงระบบงานต่างๆขององค์กรเข้าด้วยกัน

ลักษณะสำคัญของระบบ ERP

1.การบูรณาการระบบงานต่างๆ ของระบบ ERP

2.รวมระบบงานแบบ Real time ของระบบ ERP

3.ระบบ ERP มีฐานข้อมูล (database) แบบสมุดลงบัญชี

ประโยชน์ของ ERP

1.กระบวนการบริหาร ERP เป็นระบบที่สามารถรวบรวมข้อมูลต่างๆ ให้กับผู้บริหารได้อย่างเที่ยงตรง

2.เทคโนโลยีพื้นฐาน ERP ช่วยเชื่อมโยงระบบงานต่างๆที่กระจัดกระจายเข้าด้วยกันเสมือน

3.กระบวนการทำงานที่รวดเร็ว การบูรณาการงานหลักต่างๆขององค์การเข้าด้วยกัน

……………………………………………………………………………………………………………

Business Plan (แผนธุรกิจ)

เอกสารสรุปรวมการวางแผน ซึ่งได้แสดงรายละเอียดอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการพัฒนาและปรับปรุงธุรกิจของธุรกิจที่ดำรงอยู่หรือธุรกิจที่ตั้งเป้าหมาย

การนำไปใช้

การเขียนแผนธุรกิจสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ขั้นตอน

1.เลือกธุรกิจ

2.รวบรวมข้อมูล

3.วิเคราะห์ตลาด วิเคราะห์ธุรกิจ

4.กำหนด Business Model

5.เริ่มต้นเขียนแผน

ประโยชน์

1.เป็นเครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการ ในการวางแผนการดำเนินธุรกิจ ได้อย่างถูกต้อง

2.เป็นเครื่องมือ ที่ช่วยให้ธุรกิจ มีโอกาสประสบ ความสำเร็จสูง และลดโอกาสการเกิดความผิดพลาด

3.เป็นเครื่องมือเพื่อขอรับการสนับสนุนทางการเงิน

……………………………………………………………………………………………………………

ISO 26000 Social Responsibility

ความหมาย เป็นมาตรฐานการแสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบของสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืนทางธุรกิจ

7 หลักการของความรับผิดชอบต่อสังคม

1.มีความรับผิดชอบ (Accountability)

2.มีความโปร่งใส (Transparency)

3.มีจริยธรรม (Ethical)

4.ให้ความสำคัญกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Respect for and considering of stakeholder interests)

5.เคารพต่อหลักนิติธรรม (Respect for rule of law)

6.ยอมรับในมาตรฐานสากล (Respect for international norms)

7.เคารพต่อสิทธิมนุษยชน (Respect for human rights) และยอมรับในความสำคัญและความเท่าเทียมกัน

ประโยชน์

1.ช่วยให้การตัดสินใจเป็นไปด้วยความรอบคอบ

2.ปรับปรุงแนวปฏิบัติต่อการบริหารความเสี่ยง

3.ช่วยสร้างเสริมชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือขององค์กรต่อสาธารณะชน

4.ป้องกันและลดความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคเกี่ยวกับสินค้าและการบริการ

5.การประหยัด อันเป็นผลมาจาก การเพิ่มผลผลิต และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

6.ช่วยสนับสนุนการคงอยู่ขององค์กรในระยะยาว

........................................................

นางสาวปนัดดา ชิญญะรุ่งเรือง กจ. 2/1 เลขที่ 10

เครื่องมือทางการบริหารจัดการ

(สรุปความรู้ที่ได้)

 

1.  Supply chain management  and Logistic

 

Supply Chain = การรวมเอาหัวใจสำคัญของกระบวนการทางธุรกิจ ซึ่งเริ่มตั้งแต่การแยกวัตถุดิบไปจนกระทั่งถึงเสร็จสิ้นกระบวนการหรือถึงมือลูกค้าที่ใช้สินค้าจริงๆ ตลอดจนกระบวนการที่อยู่ระหว่างกลางอันได้แก่ การขนส่ง การเก็บสินค้า และการขายสินค้าให้กับลูกค้า

Supply Chain Management = การจัดการโซ่อุปทาน คือการรวบรวมการวางแผนและการจัดการของกิจกรรมทั้งหมดที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดหา การจัดซื้อ การแปรสภาพ และกิจกรรมการจัดการทั้งหมด ที่สำคัญการจัดการโซ่อุปทานยังรวมถึงการประสานงาน (Coordination)และการทำงานร่วมกัน (Collaboration) กับหุ้นส่วนต่างๆในโซ่อุปทานซึ่งจะเป็นผู้จัดส่งวัตถุดิบ ตัวกลางผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการลอจิสติกส์และลูกค้า แก่นสำคัญ คือ การจัดการโซ่อุปทานจะบูรณาการทั้งการจัดการอุปสงค์และอุปทานซึ่งรวมถึงภายในและภายนอกบริษัท


Logistics Management = การจัดการลอจิสติกส์เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการโซ่อุปทานซึ่ง วางแผน นำไปปฏิบัติ และควบคุมการไหลทั้งไปและกลับอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพของสินค้า บริการและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในระหว่างจุดเริ่มต้นและจุดที่มีการบริโภคเพื่อที่จะให้ได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า

การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management ; SCM)

การจัดการโซ่อุปทาน คือการรวบรวมการวางแผน และการจัดการของกิจกรรมทั้งหมดที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดหา การจัดซื้อ การแปรสภาพ และกิจกรรมการจัดการทั้งหมด ที่สำคัญการจัดการโซ่อุปทานยังรวมถึงการประสานงาน (Coordination) และการทำงานร่วมกัน (Collaboration) กับหุ้นส่วนต่างๆในโซ่อุปทานซึ่งจะเป็นผู้จัดส่งวัตุดิบ ตัวกลางผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการลอจิสติกส์และลูกค้า แก่นสำคัญก็คือ การจัดการโซ่อุปทานจะบูรณาการ (Integrate) ทั้งการจัดการอุปสงค์และอุปทาน ซึ่งรวมถึงทั้งภายในและภายนอกบริษัท

ลอจิสติกส์ (Logistics) เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับช่องทางการจัดจำหน่าย เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการจากผู้ผลิตไปถึงมือผู้บริโภค รวมทั้งขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ และการเก็บรักษาสินค้าคงคลังอีกด้วย หรือพูดง่ายๆ ว่า ลอจิสติกส์ คือการนำสินค้าและบริการที่ลูกค้าต้องการไปยังสถานที่ที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม สร้างความพอใจสูงสุดให้ลูกค้า โดยที่กิจการจะได้รับผลกำไร หรือประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพนั่นเอง
การบริหารจัดการระบบลอจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมทำให้ต้นทุนในเรื่องของการเคลื่อนย้าย การขนส่ง การคลังสินค้า การรักษาสินค้าต่ำ และสามารถต่อสู้กับคู่แข่งขันยืนหยัดอยู่ในตลาดที่มีการแข่งขันรุนแรงได้หรือพูดอีกนัย การจัดการระบบลอจิสติกส์ที่ดีจะเป็นหนึ่งในหนทางแห่งความเป็นเลิศของธุรกิจนั่นเอง

Supply Chain และ Logistics มีความหมายเหมือนกัน คือการบริหารจัดการตั้งแต่ต้นทางและปลายทางได้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่แบ่งแยกให้ supply chain ไปในทางบริหาร หรือ Logistics ไปในทาง operation

Logistic คือ การลำเลียงโดยอาศัยการขนส่งรูปแบบใดๆ ต้องอาศัย Transportation ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ไปสู่ที่ต่างๆจนถึง customer (ต้นน้ำถึงปลายน้ำ) โดยคำนึงถึงความรวดเร็ว ต้นทุนต่ำสุด ยืดหยุ่นได้ ( สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งได้ ) และนำคณิตศาสตร์มาช่วยในการตัดสินใจ (Decision Making)

Supply Chain หมายถึง สายโซ่การส่งมอบ ขั้นตอนและองค์กรของสถาบันต่างๆที่ทำหน้าที่ส่งมอบทรัพยากรและปัจจัยการผลิตให้กับลูกค้า
Logistic เป็นเครื่องมือของการผลิต Supply Chain เป็นองค์ประกอบของการผลิต Operation เป็นส่วนหนึ่งของ Logistic และ Supply Chain
Supply Chain เป็นขั้นตอนที่จะส่ง Goods และ Services ไปยังผู้ผลิต Logistic เป็นวิธีการขนส่งหรือลำเลียงตามวิธีการหลายรูปแบบการบริหารห่วงโซ่อุปทานหรือ Supply Chain Management เป็นการบริหารการทำงานร่วมกันระหว่างกิจการที่อยู่ในสายการผลิตตลอดสาย ตั้งแต่ต้นกระบวนการผลิตไปจนจบกระบวนการที่ผู้บริโภค โดยมีการแบ่งปันข่าวสารข้อมูลที่จำเป็น และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดร่วมกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการลดต้นทุนให้ต่ำที่สุด และตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้สูงสุด ผลที่ได้จะทำให้ ผู้ประกอบการตลอดสายสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ได้รับ ผลตอบแทนจากการดำเนินงานดีขึ้น สามารถแข่งขันในตลาดได้ดีขึ้น การบริหารห่วงโซ่อุปทานหรือ Supply Chain Management เป็นการบริหารกระบวนการเคลื่อนย้ายสินค้าตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบจนกระทั่งผลิตเสร็จแล้วส่งไปยังผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

 

 

ประโยชน์  Supply chain

-          สนองความต้องการของลูกค้า

-          ลดค่าใช้จ่ายอย่างเป็นระบบ

-          เกิดความร่วมมือระหว่างองค์การ

-          ติดตามกระบวนการทำงานอย่างใกล้ชิด

-          บริหารสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ

-          ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค้า

ขั้นตอนและกระบวนการ  การนำเครื่องมือ  Supply chain management  มาใช้

1.       กระบวนการจัดซื้อ

2.       การผลิต

3.       การจัดเก็บ

4.       เทคโนโลยีสารสนเทศ

5.       การจัดจำหน่าย

6.       การขนส่ง

ประโยชน์  Logistic

-          ลดต้นทุนในการสั่งสินค้า

-          ลดต้นทุนในการเก็บสินค้า

-          ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

-          เพิ่มความสะดวกรวดเร็ว

-          สร้างความได้เปรียบในการเพิ่มกำไร

-          เพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด

 

............................................................................................................................................................

 

2.  (Corporate Governance)  บรรษัทภิบาล

                Corporate Governance หมายถึง การบริหารจัดการธุรกิจที่เป็นธรรมและโปร่งใส โดยผู้มีอำนาจบริหารจัดการธุรกิจนั้น ๆ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และผลการกระทำของตนต่อผู้มีส่วนได้เสียกับบริษัท (Stakeholders) ทุกรายรวมถึงผู้ที่ถือหุ้น เจ้าหนี้ พนักงาน รัฐ ลูกค้าตลอดจน ประชาชนทั่วไป คณะกรรมการ มีหน้าที่ตรวจตรา การบริหารงานของผู้บริหาร ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และนโยบายของบริษัท

 

หลักการพื้นฐานของบรรษัทภิบาลประกอบด้วย

1.       ความตระหนักในภาระหน้าที่

2.       ความรับผิดชอบ

3.       ความยุติธรรม

4.       ความโปร่งใส

5.       มุ่งสู่ความเป็นเลิศ

บทบาทของบรรษัทภิบาล

-          สร้างให้เกิดความสามารถในการแข่งขัน

-          ช่วยลดต้นทุนในการบริหารงาน

-          สร้างความจูงในในทุกระดับ

วัตถุประสงค์ของบรรษัทภิบาล

-          เสริมศักยภาพ

-          เพิ่มโอกาสแก่องค์กร

-          ยึดหลักถูกต้อง

-          มีความโปร่งใส

จุดเด่น

-          สร้างความตื่นตัว

-          ชัดเจน

-          เกิดกิจกรรมรณรงค์

-          ข้าราชการยอมรับ

ประโยชน์

                -  มีความเที่ยงธรรม

                -  นำไปสู่การพัฒนาประเทศ

 

.............................................................................................................................................................

 

3.  Business  Plan  แผนธุรกิจ

         แผนธุรกิจจะเป็นเหมือนแผนที่หรือเข็มทิศให้ผู้ประกอบการรู้ทิศทางที่กำลังจะไป และรู้ด้วยว่าควรจะไปด้วยวิธีการอย่างใด ใช้เวลาเท่าใด ในแผนธุรกิจนั้นจะต้อง แสดงถึงแนวคิดและรายละเอียดของโครงการธุรกิจที่เรากำลังจะทำ ในทุก ๆ ด้าน เช่น ด้านการผลิต การตลาด การเงินและการจัดการ เป็นต้น ควรมีการกำหนดระยะเวลา ของแผนธุรกิจด้วย เช่น ในช่วง 1 ปี, 3-5 ปี ข้างหน้า ธุรกิจจะเติบโตไปอย่างไร ผู้ที่จัดทำแผนธุรกิจ มักจะเป็นเจ้าของ กิจการเองหรือกลุ่มผู้บริหารระดับสูงของกิจการ ดังนั้นโดยทั่วไปในทางปฏิบัติบางกิจการเมื่อมีความประสงค์จะ ระดมเงินทุนจากภายนอก เจ้าของกิจการมักจะให้ที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisor) เข้ามาศึกษาแผนธุรกิจ ในกรณีจะขอเงินกู้ที่ปรึกษาทางการ เงินจะยกร่าง เอกสารที่เรียกว่า บันทึกเสนอขอเงินกู้ (Information Memorandum) ส่วนในกรณีระดมทุนจากการออกขายหุ้นสามัญ ที่ปรึกษาทางการ เงินก็จะยกร่างเอกสารที่เรียก ว่า หนังสือชี้ชวน (Prospectus) ซึ่งรายละเอียดก็คล้ายกับ แผนธุรกิจนั่นเอง แต่จะดึงข้อมูลในส่วนที่สำคัญและจำเป็นที่ สถาบันการเงิน หรือนักลงทุนให้ความสนใจ

การวิเคราะห์ แผนธุรกิจ

-          รวบรวมข้อมูล ประวัติความเป็นมา ในการจัดตั้ง

-          วิเคราะห์ สถานการณ์ วิเคราะห์ปัจจัยต่างๆในการดำเนินธุรกิจ

-          วัตถุประสงค์ และเป้ าหมายทางธุรกิจ ด้านการตลาด การผลิต ด้านองค์กรและกำลัง  เป้าหมายและแผนการเงินในการกำหนดเป้าหมาย

-          การวางแผนการตลาดและการวิเคราะห์ตลาด

ประโยชน์

-          การดำเนินงานเป็นไปอย่างถูกต้อง

-          มีโอกาสประสบความสำเร็จ

-          เป็นเครื่องมือเป็นหลักฐานในการขอกู้เงิน

ลักษณะแผนธุรกิจที่ดี

-          ต้องสะท้อนวิธีคิด

-          เมื่ออ่านแล้วแผนธุรกิจต้องตอบคำถามได้

องค์ประกอบของแผนธุรกิจ

1) บทสรุปสำหรับผู้บริการ                               2) ลักษณะของธุรกิจ                          3) การตลาด        

4) การวิจัย พัฒนา และออกแบบสินค้า          5) การผลิต                                           6) การจัดการ

7) ประมาณการทางการเงิน                             8) ความเสี่ยงของกิจการ                    9) แผนปฏิบัติการ

10) ภาคผนวก

……………………………………………………………………………………………………….

4.  Customer  Relationship  Management  การบริหารลูกค้าสัมพันธ์

            การบริหารลูกค้าสัมพันธ์  หมายถึง วิธีการในการสร้าง การรักษา และความพยายามในการดึง Customer Value ออกมา และสร้างเป็นคุณค่าระยะยาว Life time Customer Value ดังนั้น CRM จึงเป็นเรื่องของการเรียนรู้ที่จะสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า  การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า  โดยใช้กฎพาเรโต  80 : 20  ในการพิจารณาสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า

CRM เป็นทั้งกลยุทธ์และเครื่องมือขององค์การ และของพนักงานในองค์การที่จะในการให้บริการแก่ลูกค้า ซึ่งกลยุทธ์ไม่ได้หมายความถึงเทคโนโลยีที่มีราคาแพง องค์การไม่จำเป็นต้องพึ่งเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยเกินไปหากองค์การมีเทคโนโลยีที่ยังสามารถประยุกต์ใช้ได้ ทั้งนี้เนื่องจากจะก่อให้เกิดความสิ้นเปลืองต้นทุนในการเปลี่ยนเทคโนโลยีอย่างมาก องค์การควรให้ความสำคัญกับการกำหนดกลยุทธ์ CRM มากกว่า ทั้งนี้องค์การต้องให้พนักงานเข้าใจว่าเทคโนโลยีนั้นเป็นเพียงเครื่องมือที่จะสนับสนุนกลยุทธ์ CRM เท่านั้น

CRM เป็นส่วนหนึ่งของทุกคนในองค์การ และสร้างความได้เปรียบให้กับองค์การ สามารถช่วยให้องค์การคาดการณ์ส่วนแบ่งทางการตลาดได้ ทั้งนี้องค์การจะต้องให้ความสำคัญกับทั้งลูกค้าภายในและภายนอกองค์การ

หลักการของ  CRM

1.       การปลูกจิตสำนึก

นางสาวจริสา วงศ์คำ เลขที่ 3 กจ.2/1

สรุปเครื่องมือการจัดการ

 

1.          Supply Chain Management And Logistic

 Supply Chain Management คือ กระบวนการโดยรวมของการไหลของวัสดุ สินค้า ตลอดจนข้อมูล และธุรกรรมต่างๆ ผ่านองค์การที่เป็นผู้ส่งมอบ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ไปจนถึงลูกค้าหรือผู้บริโภคโดยที่องค์การต่างๆ เหล่านี้มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจต่อกันในการปรับตัวขององค์การ

ประโยชน์ของการทำ SCM

·       การเคลื่อนไหลของวัตถุดิบและสารสนเทศเป็นไปอย่างราบรื่น

·       ปรับปรุงระดับของสินค้าคงเหลือ

·       เพิ่มความเร็วได้มากขึ้น

·       ขจัดความสิ้นเปลืองหรือความสูญเปล่าต่างๆ ในกระบวนการทางธุรกิจให้หมดไปได้

·       ลดต้นทุนในกิจกรรมต่างๆ ได้

·       ปรับปรุงการบริการลูกค้า

     Logistic คือ เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร การเคลื่อนย้ายและการเก็บวัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิต และสินค้าสำเร็จรูป รวมทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากจุดกำเนิด ผ่านขั้นตอนการผลิตและการกระจายสินค้า จนถึงการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า

ประโยชน์ของการทำ SCM

·       ลดต้นทุนในการสั่งซื้อสินค้า

·       ลดต้นทุนในการจัดเก็บสินค้า

·       ตอบสนองความต้องการผู้บริโภคอย่างเต็มประสิทธิภาพ

·       เพิ่มความสะดวกรวดเร็ว และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

·       สร้างความได้เปรียบในการเพิ่มกำไรเนื่องจากต้นทุนโดยรวมลดลง

 

2.         Corporate Governance

คือ  การบริหารจัดการภาคด้านความเป็นธรรมและโปร่งใส  และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และผลการกระทำของตนต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัท

องค์ประกอบ

-                   ความรับผิดชอบ

-                   ความโปร่งใส

-                   ความเสมอภาค

ขั้นตอนในการสร้างบรรษัทภิบาล การกำกับดูแลกิจการที่ดี

1.   ความเข้าใจที่ถูกต้อง (Right Understanding)

2.   ความคิดที่ถูกต้อง (Right Thinking)

3. ความทุ่มเทที่ถูกต้อง (Right Commitment)

4. กระทำที่ถูกต้อง (Right Action)

5.  การกำกับ-ควบคุมที่ถูกต้อง กระทำที่ถูกต้อง (Right Action)

6. การประเมินและการปรับแก้ที่ถูกต้อง (Right Assess and Alignment)

วัตถุประสงค์ของการมีบรรษัทภิบาลที่ดี

1. การเพิ่มศักยภาพในการสร้างสมรรถนะการแข่งขันแก่องค์การทั้งในระดับประเทศและระดับโลก

2. การเพิ่มโอกาสแก่องค์การสู่ตลาดทุนของธุรกิจได้ง่ายขึ้นและเป็นพันธมิตรที่มีบรรษัทภิบาลที่ดี

ประโยชน์บรรษัทภิบาล

1. มีความเที่ยงธรรม มีประสิทธิภาพประสิทธิผลสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจ สังคมไทยให้สามารถแข่งขันได้

2. นำไปสู่การพัฒนาประเทศ และสังคมที่ยั่งยืน มั่นคงและสงบสุข

 

3.         Business Plan

คือ  เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับผู้ประกอบการที่ริเริ่มจะก่อตั้งกิจการ แผนนี้เป็นผลสรุปหรือผลรวมแห่งกระบวนการคิดพิจารณา และการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนความคิดของผู้ประกอบการออกมาเป็นโอกาสทางธุรกิจ มีผู้เปรียบเทียบว่าแผนธุรกิจเปรียบเหมือนแผนที่ในการเดินทาง ที่จะชี้แนะขั้นตอนต่างๆทีละขั้นตอนในกระบวนการก่อตั้งกิจการ แผนจะให้รายละเอียดต่างๆ ทั้งเรื่องของการตลาดการแข่งขันกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ การคาดคะเนทางการเงิน ที่จะชี้นำผู้ประกอบการไปสู่ความสำเร็จหรือชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนและข้อควรระวัง

องค์ประกอบของแผนธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
                1. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (
Executive Summary)
                2. วิสัยทัศน์ (
Vision)/พันธ์กิจ (Mission)/เป้าหมาย (Objective)
                3.
SWOT & Competitive Analysis
                 - การวิเคราะห์สถานการณ์ (Situation Analysis)
                - การวิเคราะห์การแข่งขัน (Competitive Analysis)
                4. กลยุทธ์ธุรกิจ (
Business Strategy)
                5. กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (
Functional Strategy)
                 - การตลาด (Marketing)
                  - การผลิตและการดำเนินการ (Production & Operations)
               
   - การจัดการ (Management)
                  การบัญชีและการเงิน (Accounting & Finance)

ประโยชน์

1.    เป็นเครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการ

2.    เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจมีโอกาสประสบความสำเร็จ

3.    ใช้เป็นข้อตกลง

 

4.         Customer relationship management

คือ  การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า โดยใช้กฎพาเรโต 80 : 20 ในการพิจารณาสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าที่มีเพียง 20 % จากทั้งหมดที่สร้างยอดขายให้บริษัท 80 % เป็นลูกค้าที่องค์กรควรใส่ใจดูแลเป็นอันดับแรก

กระบวนการทำงานของระบบ CRM มี 4 ขั้นตอนดังนี้

Identify เก็บข้อมูลว่าลูกค้าของบริษัทเป็นใคร เช่น ชื่อลูกค้า ข้อมูลสำหรับติดต่อกับลูกค้า

Differentiate วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าแต่ละคน และจัดแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มตามคุณค่าที่ลูกค้ามีต่อบริษัท

Interact มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อเรียนรู้ความต้องการของลูกค้า และเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในระยะยาว

Customize นำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีความเหมาะสมเฉพาะตัวกับลูกค้าแต่ละคน

ประโยชน์ของ CRM ต่อธุรกิจของคุณ
               CRM ช่วยเพิ่มความสามารถในการให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น เช่น ใช้เว็บไซต์ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า วิธีการใช้สินค้า และให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นช่องทางให้ลูกค้าแนะนำติชมต่อบริการของบริษัทได้ง่าย ช่วยให้ลูกค้าสามารถ customize ความต้องการของตนเองได้ทันที เป็นต้น
              CRM ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้าให้ดีขึ้น ช่วยให้บริษัทรู้ความสนใจ ความต้องการ และพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า ทำให้บริษัทสามารถนำเสนอสินค้าที่เหมาะสมกับลูกค้าได้ และช่วยให้บริษัทสามารถให้บริการหลังการขายแก่ลูกค้าตามที่ลูกค้าต้องการได้ การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาวจะช่วยเพิ่ม loyalty ที่ลูกค้ามีต่อบริษัท ลดการสูญเสียลูกค้า ลดต้นทุนการตลาด เพิ่มรายได้จากการที่ลูกค้าซื้อซ้ำหรือแนะนำให้คนรู้จักซื้อสินค้าของบริษัท และนั่นหมายถึงกำไรของบริษัทที่เพิ่มมากขึ้น

 

5.         Enterprise Resource Planning

คือ เป็นระบบบริหารทรัพยากรองค์กร ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร โดยเชื่อมโยงระบบต่างๆ ขององค์กรเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ระบบงานทางด้านบัญชีและการเงิน ระบบงานทรัพยากรบุคคล ระบบบริหารการผลิต รวมถึงระบบการกระจายสินค้า โดยที่มีฐานข้อมูลเก็บข้อมูลทุกอย่างไว้ที่เดียวกัน เพื่อป้องกันความซ้ำซ้อนของข้อมูล และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสรรข้อมูลให้ได้ประโยชน์สูงสุด

ลักษณะสำคัญของระบบ ERP คือ

1.             การบูรณาการระบบงานต่างๆ ของระบบ ERP

2.    รวมระบบงานแบบ real time ของระบบ ERP

3.    ระบบ ERP มีฐานข้อมูล(database)  แบบสมุดลงบัญชี

ประโยชน์

1.             กระบวนการบริหาร

2.             เทคโนโลยีพื้นฐาน

3.             กระบวนการทำงานที่รวดเร็ว

 

6.         Total Quality Management

คือ  มีความหมายเป็นพลวัต มีพัฒนาการ เป็นวัฒนธรรมขององค์การที่สมาชิกทุกคนต่างให้ความสำคัญ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาการดำเนินงานขององค์การอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งที่จะตอบสนองความต้องการ และสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้า ซึ่งจะสร้างโอกาสทางธุรกิจ ความได้เปรียบในการแข่งขัน และพัฒนาการที่ยั่งยืนขององค์การ

Total = ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วม

Quality = การสร้างความพึงพอใจ

Management = ระบบบริหารจัดการคุณภาพ

วัตถุประสงค์ของTQM
             1. การลดต้นทุนและการพัฒนาคุณภาพสินค้าหรือบริการจะเป็นวัตถุประสงค์เบื้องต้นในการดำเนินงานด้านคุณภาพ เพื่อการดำรงอยู่ และการแข่งขันขององค์การ
             2. สร้างความพอใจและความซื่อสัตย์ของลูกค้า
             3. สร้างความพึงพอใจในงาน            

4. ประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการเจริญเติบโตในอนาคต

ประโยชน์ของTQM
1.ช่วยให้ผู้บริหารและองค์การสามารถรับรู้ปัญหาของลูกค้า

2.ให้ความสำคัญกับระบบที่เรียบง่ายและผลลัพธ์ที่ลดความสูญเสีย

3.พัฒนาระบบ ขั้นตอน และการจัดเก็บข้อมูลการทำงาน ให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ 4.พนักงานมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน การแก้ไขปัญหา และการสร้างรายได้ของธุรกิจ ทำให้พนักงานมีความพึงพอใจในงาน
5.มุ่งพัฒนาการดำเนินงานขององค์การ ให้มีคุณภาพสูงสุดในทุกมิติ

 

7.         Social Accountability 8000

คือ  เป็นระบบมาตรฐานสากลที่ให้ความสำคัญกับสิทธิ ขั้นพื้นฐานของแรงงาน ซึ่งเหมือนกับระบบ ISO 9000 ที่เป็นมาตรฐานสากลสำหรับระบบคุณภาพ อันเกี่ยวกับการจัดการด้านคุณภาพและการประกันคุณภาพ และ ISO 14000 ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม SA 8000 เป็นระบบมาตรฐานสากลที่ใช้ได้กับทุกธุรกิจ อุตสาหกรรมการผลิต หรือ การบริการ โดยไม่คำนึงถึง ขนาด สถานที่ เทคโนโลยีในการผลิต และความซับซ้อนขององค์กร

ประโยชน์ที่ได้รับจากการนำมาตรฐาน SA 8000 มาใช้

·          สร้างภาพลักษณ์ของบริษัทให้เป็นที่ยอมรับในสังคมโดยเฉพาะในสายตาของผู้บริโภค

·          ทำให้แรงงานมีความจงรักภักดีต่อองค์กร ประสิทธิภาพในการทำงานของแรงงานเพิ่มขึ้นและนำไป สู่การเพิ่มผลผลิตในที่สุด

·          สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อสังคม

·          ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในตัวสินค้าและบริการและมีความภักดีต่อองค์กร

·          มีช่องทางการตลาดใหม่

·          มีโอกาสในการเลือกแรงงานที่มีคุณภาพ

·          ลดขั้นตอนและต้นทุนในการตรวจสอบ

 

8.         ISO 26000

คือ  เป็นมาตรฐานการแสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบของสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืนทางธุรกิจ

วัตถุประสงค์

-                  

นางสาวจริสา วงศ์คำ เลขที่ 3 กจ.2/1

8.         ISO 26000 (ต่อ)

วัตถุประสงค์

-                   ช่วยให้องค์กรตระหนักถึงความรับผิดชอบในสังคม

-                   ให้ข้อแนะนำในการปฏิบัติเรื่องความรับผิดชอบ

-                   มีความสอดคล้องและไม่ขัดแย้งกับเอกสารที่มีอยู่แล้ว

ประโยชน์

-                   ช่วยให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างรอบคอบ

-                   ปรับปรุงแนวทางปฏิบัติต่อการบริหารการเสี่ยง

-                   ช่วยเสริมสร้างชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือ

-                   ป้องกันและลดความขัดแย้ง

-                   การประหยัด

-                   ช่วยสนับสนุนการคงอยู่ขององค์กรในระยะยาว

องค์ประกอบ

1.             ธรรมาธิบาลขององค์กร

2.             การเคารพสิทธิมนุษยชน

3.             การปฏิบัติต่อผู้ใช้แรงงานอย่างเป็นธรรม

4.             ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

5.             การดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรม

6.             การรับผิดชอบต่อผู้บริโภค

7.             การแบ่งปันสู่สังคมและชุมชน

นางสาวอารียา แจ้งสิน กจ.2/1 เลขที่ 27

SOCIAL ACCOUNTABILITY

8000 (SA 8000)

ความหมาย

มาตรฐาน SA 8000 เป็นมาตรฐานที่กำหนดให้ผู้ประกอบ การแสดงออกถึงความรับผิดชอบทางสังคมในเรื่องสิทธิแรงงาน ซึ่งรวมถึงเรื่องแรงงานเด็ก แรงงานบังคับ ความปลอดภัย และสุขภาพอนามัยในสถานที่ทำงาน เป็นต้น

การนำไปใช้

(SA 8000) กำหนดให้บริษัทต้องปฏิบัติตามกฎหมายภายในประเทศ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ รวมทั้งข้อกำหนดอื่น ๆ ที่บริษัทเป็นสมาชิก และที่กำหนดไว้ในมาตรฐานนี้

ประโยชน์ SA 8000

1. สร้างภาพลักษณ์ของบริษัทให้เป็นที่ยอมรับในสายตาผู้บริโภค

2. ปรับปรุงสภาพการทำงานให้เหมาะสม

3. สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อสังคม

4. ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในตัวสินค้าและบริการและมีความภักดีต่อองค์กร

5. มีช่องทางการตลาดใหม่

6. มีโอกาสในการเลือกแรงงานที่มีคุณภาพ

7. ลดขั้นตอนและต้นทุนในการตรวจสอบ

8. การป้องกันการกีดกั้นด้านการค้า

9. เพิ่มโอกาสทางการค้าโดยวาง Product Position ใหม่

********************************

Supply Chain Management and Logistic

การจัดการโซ่อุปทาน คือ การรวบรวมการวางแผน และการจัดการของกิจกรรมทั้งหมดที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดหา การจัดซื้อ การแปรสภาพ และกิจกรรมการจัดการทั้งหมด

ประโยชน์ของ Supply Chain Management

-สนองตอบตรงความต้องการของลูกค้า

-ลดค่าใช้จ่ายอย่างเป็นระบบ

-ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์การ

-ติดตามกระบวนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

-ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่าการนำ Supply Chain ไปใช้ในองค์กร

การนำหลักการของ Supply Chain Management มาใช้

1.การจัดหาสินค้าโดยเน้นความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก

2.การวางแผนเพื่อให้ได้มาเพื่อสินค้า

3.การควบคุมระดับสต็อกสินค้า

4.การขนส่งสินค้าจากผู้ผลิตไปยังลูกค้า

ระบบการส่งกำลังบำรุง Logistic

Logistic หมายถึง กระบวนการวางแผนการดำเนินงานและการควบคุมการเคลื่อนย้ายทั้งไปและกลับ การเก็บรักษาสินค้า บริการ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการผลิตไปสู่จุดสุดท้ายของการบริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

ประโยชน์ของ Logistic ที่มีต่อองค์กร

-ลดต้นทุนในการสั่งซื้อสินค้า

-ลดต้นทุนในการจัดเก็บสินค้า

-ตอบสนองความต้องการผู้บริโภคอย่างเต็มประสิทธิภาพ

-เพิ่มความสะดวกรวดเร็ว และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

-สร้างความได้เปรียบในการเพิ่มกำไรเนื่องจากต้นทุนโดยรวมลดลง

-เพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดและประสิทธิภาพในการผลิต ขนส่งและการบริการลูกค้า

ความแตกต่างระหว่าง Supply chain Management And Logistic

Supply chain Management And Logistic เป็นสิ่งที่คู่กันเสมอ แต่ขอบข่ายในการกำหนดแผนงานของ ลอจิสติกส์ และการจัดการโซ่อุปทานจะแตกต่างกัน โดยแบ่งส่วนที่สนับสนุนต่อกันคือ การจัดการโซ่ระดับอุปทานจะเป็นการจัดการระดับเชิงกลุยทธ์ (Strategis Level) ส่วนลอจิสติกส์เป็นการจัดการระดับยุทธวิธี (Tagics) และการปฏิบัติงานให้สอดคล้องและบรรลุต่อทิศทางและเป้าหมายในระดับการจัดการโซ่อุปทาน

**********************************

Customer Relationship Management

ความหมาย

พัฒนาและรักษา ความสัมพันธ์ระยะยาว ที่เป็นประโยชน์ร่วมกันระหว่างองค์กรกับลูกค้าที่เป็นเป้าหมายหรือยุทธศาสตร์ทางธุรกิจ

CRM สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1.CRM เชิงปฏิบัติการ (Operational CRM) จัดการกับการสร้างระบบอัตโนมัติให้ทีมงานขายและทางแก้ปัญหาในเรื่องการปฏิสัมพันธ์กับ

2.CRM เชิงการวิเคราะห์ (Analytical CRM) รวมเอาคลังข้อมูลและการแก้ไขปัญหาระบบข้อมูล

3. CRM เชิงการทำงานร่วมกัน (Collaborative CRM) เป็นการรวมเอาช่องทางการติดต่อสื่อสารที่ทำให้ธุรกิจสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยตรงกับลูกค้า

กระบวนการทำงานของระบบ CRM มี 4 ขั้นตอนดังนี้

1.Identify: เก็บข้อมูลว่าลูกค้าของบริษัทเป็นใคร เช่น ชื่อลูกค้า ข้อมูลสำหรับติดต่อกับลูกค้า

2.Differentiate: วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าแต่ละคน และจัดแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่ม

3.Interact: มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อเรียนรู้ความต้องการของลูกค้า และเพื่อสร้างความพึงพอใจ

4.Customize: นำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีความเหมาะสมเฉพาะตัวกับลูกค้าแต่ละคน

ประโยชน์

1.ช่วยเพิ่มความสามารถในการให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น

2. ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับลูกค้าให้ดีขึ้น

3. สร้างความจงรักภักดี (Loyalty) ของลูกค้าในระยะยาว

4. เพิ่มยอดขายในระยะยาว

5. สร้าง ประวัติ ชื่อเสียงและภาพพจน์ที่ดีของบริษัท

6. เพิ่มโอกาสในการเติบโตของธุรกิจ

***************************************

ระบบบริหารทรัพยากรองค์กร (ERP : Enterprise resource planning)

คือ ระบบการวางแผนทรัพยากรขององค์กร เป็นระบบที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆขององค์กร โดยเป็นระบบที่เชื่อมโยงระบบงานต่างๆขององค์กรเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ระบบงานทางด้านบัญชีและการเงิน ระบบงานทรัพยากรบุคคล ระบบบริหารการผลิต รวมถึงระบบการกระจายสินค้า เพื่อช่วยให้การวางแผนและบริหารทรัพยากรขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยลดเวลาและขั้นตอนการทำงานอีกด้วย

ขั้นตอนการนำระบบ ERP มาใช้ในองค์การ

1. การศึกษาและการวางแนวคิด

2. การวางแผนนำระบบมาใช้

3. การพัฒนาระบบ

4. การใช้งานและปรับเพิ่มความสามารถ

ประโยชน์ของ ERP

1. กระบวนการบริหาร ERP เป็นระบบที่สามารถรวบรวมข้อมูลต่างๆ ให้กับผู้บริหารได้อย่างเที่ยงตรง

2. เทคโนโลยีพื้นฐาน ERP ช่วยเชื่อมโยงระบบงานต่างๆที่กระจัดกระจายเข้าด้วยกัน

3. กระบวนการทำงานที่รวดเร็ว การบูรณาการงานหลักต่างๆขององค์การเข้าด้วยกัน

********************************

Corporate Governance

ความหมาย

บรรษัทภิบาล คือ หลักในการบริหารจัดการธุรกิจทุกประเภททุกขนาดให้เติบโตอย่างมั่นคง ด้วยการสร้างกลไกควบคุมการดำเนินงานขององค์กร ให้เป็นไปอย่างโปร่งใสและเกิดความเป็นธรรมต่อ ผู้ถือหุ้น คณะกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน คู่ค้า ลูกค้า ตลอดจนรับผิดชอบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม

ประโยชน์

1.เพิ่มศักยภาพในการสร้างสรรถนะการแข่งขันให้แก่บริษัททั้งในระดับประเทศและระดับโลก

2.เพิ่มโอกาสในการเข้าสู่ตลาดทุนของโลก

3.เพิ่มโอกาสในการเสาะหาพันธมิตรทางธุรกิจได้ง่ายขึ้นและเป็นพันธมิตรที่มีบรรษัทภิบาลที่ดี

**************************

แผนธุรกิจ (Business Plan)

คือ เอกสาร (Document) ที่แสดงรายละเอียดต่างๆใน การวางแผนธุรกิจ (Business Planning) อันมาจากผู้เขียน หรือจากตัวธุรกิจนั่นเอง

การเขียนแผนธุรกิจสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ขั้นตอน

1. เลือกธุรกิจ

2. รวบรวมข้อมูล

3. วิเคราะห์ตลาด วิเคราะห์ธุรกิจ

4. กำหนด Business Model

5. เริ่มต้นเขียนแผน

องค์ประกอบที่สำคัญในการเขียนแผนธุรกิจ ประกอบด้วย

1. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

2. ประวัติกิจการ / ภาพรวมของกิจการ

3. การวิเคราะห์สถานการณ์

4. วัตถุประสงค์ และเป้าหมายทางธุรกิจ

5. แผนการตลาดและการวิจัย

6. แผนการบริหารจัดการและแผนการดำเนินงาน

7. แผนการผลิต/ปฏิบัติการ

8. แผนการเงิน

9. แผนฉุกเฉิน

10. ภาคผนวก

ประโยชน์ของ Business Plan

1.เป็นเครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการ ในการวางแผนการดำเนินธุรกิจ ได้อย่างถูกต้อง

2.เป็นเครื่องมือ ที่ช่วยให้ธุรกิจ มีโอกาสประสบความสำเร็จสูง และลดโอกาสการเกิดความผิดพลาด

3.เป็นเครื่องมือเพื่อขอรับการสนับสนุนทางการเงิน

                **********************************

มาตรฐานว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม

ISO 26000 Social Responsibility

ความหมาย

เป็นมาตรฐานการแสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบของสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืนทางธุรกิจ

7 หลักการของความรับผิดชอบต่อสังคม

1.มีความรับผิดชอบ (Accountability)

2.มีความโปร่งใส (Transparency)

3.มีจริยธรรม (Ethical)

4.ให้ความสำคัญกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Respect for and considering of stakeholder interests)

5.เคารพต่อหลักนิติธรรม (Respect for rule of law)

6.ยอมรับในมาตรฐานสากล (Respect for international norms)

7.เคารพต่อสิทธิมนุษยชน (Respect for human rights) และยอมรับในความสำคัญและความเท่าเทียมกัน

การนำไปใช้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้น

ขั้นแรก เป็นการปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด

ขั้นที่สอง เน้นในเรื่องประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

ขั้นที่สาม เป็นเรื่องจรรยาบรรณทางธุรกิจ

ขั้นที่สี่ เป็นการดำเนินการขององค์กรตามเเนวทาง CSR ด้วยความสมัครใจ

ประโยชน์

1.ช่วยให้การตัดสินใจเป็นไปด้วยความรอบคอบ

2.ปรับปรุงแนวปฏิบัติต่อการบริหารความเสี่ยง

3.ช่วยสร้างเสริมชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือขององค์กรต่อสาธารณะชน

4.ป้องกันและลดความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคเกี่ยวกับสินค้าและการบริการ

5.การประหยัด อันเป็นผลมาจาก การเพิ่มผลผลิต และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

6.ช่วยสนับสนุนการคงอยู่ขององค์กรในระยะยาว

********************************

(TQM : Total Quality Management)

TQM เป็นระบบที่มองภาพรวมทั้งองค์กร ระบบนี้ลูกค้าจะเป็นผู้กำหนดมาตรฐานหรือความต้องการ เป็นระบบที่ปรับปรุงการวางแผน การจัดองค์กร และการทำความเข้าใจในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับแต่ละบุคคลในแต่ละระดับเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ ให้มีความยืดหยุ่นเพื่อที่จะสามารถแข่งขันได้

แนวความคิดเกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพ

1.ความต้องการและความหวังของลูกค้า

2.กระบวนการและผลลัพธ์

3.ทีมงาน

4.ภาวะผู้นำ

5.การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

วัตถุประสงค์ของแนวความคิด

1.เพื่อจะได้รู้ว่าใคร คือ ผู้ที่เราต้องบริการ

2.เพื่อให้ความสำคัญกับสิ่งที่เราทำเพื่อให้บรรลุถึงผลสำเร็จของงาน

3.เพื่อให้พนักงานทุกคนที่ปฏิบัติงานในกระบวนการหนึ่งๆ มีส่วนร่วม

4.กระตุ้นให้กำลังใจ,อำนวยความสะดวก

5.เพื่อทำให้ทุกอย่างดีขึ้นเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง

ประโยชน์ของ TQM

1.ก่อให้เกิดคุณค่าของสินค้าและบริการเพื่อนำเสนอต่อลูกค้า

2.ก่อให้เกิดศักยภาพในการแข่งขันและความได้เปรียบทางธุรกิจ

3.ช่วยลดต้นทุนในการผลิตและการดำเนินงานในการเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด

4.เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มผลผลิตเนื่องจากมีการกระจายงาน และเอื้ออำนวยให้ทุกกระบวนงานมีความคล่องตัว

5.ทำให้มีการกำหนดจุดควบคุมที่เหมาะสม เพื่อติดตามผลของการดำเนินงานเป็นระยะและเมื่อผลเบี่ยงเบนไปจากเป้าหมายก็จะมีระบบในการวิเคราะห์หาสาเหตุเพื่อทำการแก้ไข และป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ

วงจรการบริหาร P-D-C-A

P = Planคือ การวางแผนงานจากวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย

D = Do คือ การปฏิบัติตามขั้นตอนในแผนงานที่ได้เขียนไว้อย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง

C = Check คือ การตรวจสอบผลการดำเนินงานในแต่ล่ะขั้นตอนของ แผนงานว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น

A = Action คือ การปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา

นำ PDCA ไปใช้

(P) นำไปปฏิบัติ

(D) ระหว่างการปฏิบัติก็ดำเนินการตรวจสอบ

(C) พบปัญหาก็ทำการแก้ไขหรือปรับปรุง

(A) การปรับปรุงก็เริ่มจากการวางแผนก่อนวนไปได้เรื่อยๆ จึงเรียก "วงจร PDCA

 

CRM (Customer Relationship Management)

ความหมาย

โดยทั่วไปแล้ว CRM (Customer Relationship Management) หมายถึง การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า โดยใช้กฏพาเรโต 80 : 20 ในการพิจารณาสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าที่มีเพียง 20 % จากทั้งหมดที่สร้างยอดขายให้บริษัท 80 % เป็นลูกค้าที่องค์กรควรใส่ใจดูแลเป็นอันดับแรก

แนวคิดเรื่อง CRM นี้เกิดขึ้นนานแล้วและเป็นสิ่งที่ใกล้ตัว เพียงแต่นักการตลาดยังไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก ยกตัวอย่างเช่น อาแป๊ะขายน้ำชาร้านปากซอย มักจะสังเกตและเก็บข้อมูลลูกค้าประจำของตนเองไว้ "ถ้าอาตี๋ใหญ่บ้านกลางซอยเดินเข้ามาในร้าน ต้องสั่งกาแฟยกล้อ แต่ถ้าน้องสาวของอาตี๋ต้องเป็นชาเย็นใส่นมเยอะ ๆ กับปาท๋องโก๋ 2 ตัว" หรือมีการซักถามแสดงความห่วงใยแก่ลูกค้าของตนเอง เช่น วันนี้ไม่ไปทำงานเหรอ เป็นอะไรไปหรือ ลูกลื้อไม่สบายหายหรือยัง ฯลฯ วิธีการที่แตกต่างกันที่อาแป๊ะปฏิบัติต่อลูกค้าแต่ละรายเกิดจากการที่อาแป๊ะเก็บข้อมูลหาลูกค้าแต่ละรายไว้ในสมองแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นวิธีปฏิบัติ ซึ่งเหล่านี้ก็คือ หลักการของ CRM นั่นเอง

ปัจจุบันนี้ CRM เป็นสิ่งที่หลาย ๆ องค์กรให้ความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากการเก็บข้อมูลลูกค้าแต่ละราย เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าให้มากที่สุดนั้น เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งขององค์กรในการที่จะทำให้ลูกค้าอยู่กับเราตลอดไป

หลักการสำคัญของ CRM

1. ปลูกจิตสำนึก

กระบวนการ CRM ควรเริ่มจากบุคคลภายในองค์กรเสียก่อน บุคลากรทุกคนต้องมีใจร่วมกัน และพร้อมที่จะสร้าง CRM ให้เกิดขึ้น นับตั้งแต่พนักงานระดับล่าง ไม่ว่าจะเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย พนักงานรับโทรศัพท์ พนักงานต้อนรับ พนักงานในฝ่ายต่าง ๆ จนกระทั่งผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ยกตัวอย่างเช่น เมื่อลูกค้าเข้ามาภายในบริษัท พนักงานรักษาความปลอดภัยจะเป็นด่านแรกที่จะถูกสอบถามข้อมูลเบื้องต้นจากลูกค้า ดังนั้นการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส การแต่งกายสุภาพเรียบร้อย อีกทั้งจะต้องเป็นผู้ที่สามารถให้ข้อมูลเบื้องต้นแก่ลูกค้าได้ โดยไม่ต้องมีการสอบถามจากฝ่ายอื่น ๆ ให้วุ่นวาย หรือต้องมีเครื่องมืออื่น ๆ ที่ช่วยในการสืบค้นอย่างรวดเร็ว หรือพนักงานรับโทรศัพท์จะต้องเป็นผู้ที่สามารถตอบคำถามได้ทุก ๆ เรื่อง ไม่ใช่มีการโอนสายถามกันไปจนกระทั่งสายหลุดไปอย่างที่ผู้บริโภคในปัจจุบันกำลังประสบอยู่จากหลาย ๆ องค์กร เหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนที่พนักงานจะต้องรับผิดชอบในงานหน้าที่ของตนเอง เพื่อเป็นการสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าในเบื้องต้น

2. วิเคราะห์ความต้องการเบื้องต้นของลูกค้า

องค์กรต้องมองย้อนกลับไปในฐานะที่ตนเองเป็นลูกค้า ว่าถ้าเราเป็นผู้บริโภคที่มาซื้อสินค้า เราต้องการอะไร เพื่อให้คุ้มค่ากับเงินที่เราจ่ายไป ซึ่งก็คือการเอาใจเขามาใส่ใจเรานั่นเอง

3. เก็บรวบรวมข้อมูล

การสำรวจข้อมูลต่าง ๆ ของลูกค้าว่าลูกค้าแต่ละรายมีความต้องการ (Needs & Wants) อะไร โดยต้องมองให้เห็นความแตกต่างของลูกค้าแต่ละราย เช่น วันเกิดของลูกค้า บริษัทมีโปรแกรมส่งการ์ดอวยพรไปให้ และในการสร้างความซาบซึ้งแก่ลูกค้านั้นบริษัทต้องทราบข้อมูลด้านลึกของลูกค้าด้วย ยกตัวอย่างเช่น เชอร์รี่เป็นสาวโสดชอบสีฟ้าเป็นที่สุด ซูซี่เป็นสาวเซ็กซี่มีลูก 2 คน สีที่โปรดคือสีแดง คำอวยพรในการ์ดของแต่ละบุคคลต้องแตกต่างตามสถานภาพและความชื่นชอบ

4. จัดทำฐานข้อมูล

เมื่อสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ต้องมีการจัดเก็บให้เป็นระบบที่เอื้อต่อการดึงข้อมูลไปใช้งาน ซึ่งผู้บริหารต้องเห็นความสำคัญในการลงทุนด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อนำมาช่วยการจัดเก็บระบบข้อมูล รวมทั้งการลงทุนในส่วนที่เกี่ยวกับบุคลากรที่รับผิดชอบในส่วนงานดังกล่าวด้วย

ERP : Enterprise resource planning

ระบบบริหารทรัพยากรองค์กร หรือ ERP (Enterprise resource planning) คือ ระบบการวางแผนทรัพยากรขององค์กร เป็นระบบที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆขององค์กร โดยเป็นระบบที่เชื่อมโยงระบบงานต่างๆขององค์กรเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ระบบงานทางด้านบัญชีและการเงิน ระบบงานทรัพยากรบุคคล ระบบบริหารการผลิต รวมถึงระบบการกระจายสินค้า เพื่อช่วยให้การวางแผนและบริหารทรัพยากรขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยลดเวลาและขั้นตอนการทำงาน

ขั้นตอนการนำระบบ ERP มาใช้ในองค์การ

1. การศึกษาและการวางแนวคิด

2. การวางแผนนำระบบมาใช้

3. การพัฒนาระบบ

4. การใช้งานและปรับเพิ่มความสามารถ

ประโยชน์ของ ERP

1. กระบวนการบริหาร ERP เป็นระบบที่สามารถรวบรวมข้อมูลต่างๆ ให้กับผู้บริหารได้อย่างเที่ยงตรง

2. เทคโนโลยีพื้นฐาน ERP ช่วยเชื่อมโยงระบบงานต่างๆที่กระจัดกระจายเข้าด้วยกัน

3. กระบวนการทำงานที่รวดเร็ว การบูรณาการงานหลักต่างๆขององค์การเข้าด้วยกัน

Supply Chain Management and Logistic

การจัดการสายโซ่อุปทาน Supply Chain Management (SCM) Supply Chain Management คือ หมายถึง กระบวนการโดยรวมของการไหลของวัตถุ สินค้า ตลอดจนข้อมูล และธุรกรรมต่างๆ ผ่านองค์การที่เป็นผู้ส่งมอบ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ไปจนถึงลูกค้าหรือผู้บริโภค

การนำหลักการของ Supply Chain Management มาใช้

1.การจัดหาสินค้าโดยเน้นความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก

2.การวางแผนเพื่อให้ได้มาเพื่อสินค้า

3.การควบคุมระดับสต็อกสินค้า

4.การขนส่งสินค้าจากผู้ผลิตไปยังลูกค้า

ประโยชน์ของ Supply Chain Management

-สนองตอบตรงความต้องการของลูกค้า

-ลดค่าใช้จ่ายอย่างเป็นระบบ

-ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์การ

-ติดตามกระบวนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

-ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่าการนำ Supply Chain ไปใช้ในองค์กร

ระบบการส่งกำลังบำรุง Logistic Logistic หมายถึง กระบวนการวางแผนการดำเนินงานและการควบคุมการเคลื่อนย้ายทั้งไปและกลับ การเก็บรักษาสินค้า บริการ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการผลิตไปสู่จุดสุดท้ายของการบริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

การนำเอาLogisticไปใช้ภายในองค์กร เป็นรูปแบบการจัดการ ซึ่งธุรกิจได้นำเอาระบบLogisticเข้าไปขับเคลื่อนในกระบวนการต่างๆ องค์ประกอบของอุตสาหกรรมรมการผลิตจะประกอบไปด้วย Suppliers ก็คือ คู่ค้า หรือผู้ขายวัตถุดิบและลูกค้า ซึ่งต่างก็มีจำนวนหลายราย โดยธุรกิจจะต้องมีการจัดการความสัมพันธ์ทั้ง 2 องค์ประกอบให้สอดคล้องระหว่างวัตถุดิบที่นำมาเพื่อผลิตเป็นสินค้าสำเร็จและส่งมอบให้กับ Customers โดยจะต้องมีกระบวนการต่าง ๆ ของธุรกิจอันได้แก่ การคาดคะเนยอดขาย, การจัดซื้อ, คลังสินค้า, กระบวนการผลิต, การตลาด และการส่งมอบ

ประโยชน์ของ Logistic ที่มีต่อองค์กร

-ลดต้นทุนในการสั่งซื้อสินค้า

-ลดต้นทุนในการจัดเก็บสินค้า

-ตอบสนองความต้องการผู้บริโภคอย่างเต็มประสิทธิภาพ

-เพิ่มความสะดวกรวดเร็ว และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน -สร้างความได้เปรียบในการเพิ่มกำไรเนื่องจากต้นทุนโดยรวมลดลง

-เพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดและประสิทธิภาพในการผลิต ขนส่งและการบริการลูกค้า

ความแตกต่างระหว่าง Supply chain Management And Logistic Supply chain Management And Logistic เป็นสิ่งที่คู่กันเสมอ แต่ขอบข่ายในการกำหนดแผนงานของ ลอจิสติกส์ และการจัดการโซ่อุปทานจะแตกต่างกัน โดยแบ่งส่วนที่สนับสนุนต่อกันคือ การจัดการโซ่ระดับอุปทานจะเป็นการจัดการระดับเชิงกลุยทธ์ (Strategis Level) ส่วนลอจิสติกส์เป็นการจัดการระดับยุทธวิธี (Tagics) และการปฏิบัติงานให้สอดคล้องและบรรลุต่อทิศทางและเป้าหมายในระดับการจัดการโซ่อุปทาน

TQM: ( Total Quality Management )

TQM หมายถึง ระบบการทำงานที่เป็นวัฒนธรรมขององค์การที่สมาชิกทุกคนต่างให้ความสำคัญ และมีส่วนร่วม ในการพัฒนาการดำเนินงานขององค์การอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งที่จะตอบสนองความต้องการ และสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้า

เหตุผลของการนำTQMมาใช้

TQM เป็นระบบการจัดการที่เน้นมนุษย์ (a people-focused management system) กล่าวคือ เป็นกระบวนการทางวัฒนธรรมที่มุ่งเปลี่ยนแปลงคนทั้งหมดในองค์การ เพื่อให้หันมาสนใจปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายสูงสุด คือการสร้างความเป็นเลิศในระดับโลก

TQM มี หลักการที่สำคัญ 3 ประการ คือ

1. การให้ความสำคัญกับลูกค้า (Customer Oriented)

2. การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement)

3. สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วม (Employees Involvement)

การประยุกต์ใช้ TQM ในเชิงปฏิบัติ

1. การฝึกอบรมทางด้านคุณภาพ

2. การบริหารงานประจำวัน (Daily Management)

3. การบริหารนโยบาย (Policy Management)

4. การบริหารข้ามสายงาน (Cross Functional Management)

5. กิจกรรมกลุ่มย่อย (Small Group Activity)

6. ตรวจวินิจฉัยโดยผู้บริหารระดับสูงสุด ( Top Management Diagnosis)

ข้อดีของTQM

1.มีระบบทำงานที่ดี

2.มี “มาตรฐานการทำงาน”ที่ตรวจสอบได้

3.ไม่มีปัญหาเฉพาะหน้า

4.ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ถูกต้อง

5.มีความคิดริเริ่มปรับปรุงงาน

ข้อเสียของ TQM

1.การที่พนักงานบางคนหรือบางกลุ่มอาจจะบกพร่องหรือขาดในเรื่องวินัยเกี่ยวกับคุณภาพ ไม่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

2.ความไม่พร้อมต่อการบริหารระบบ

3.การเน้นเฉพาะส่วนของกรมวิธีและข้อมูลทางสถิติมากเกินไป

Business Plan

หมายถึง เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับผู้ประกอบการที่ริเริ่มจะก่อตั้งกิจการ แผนนี้เป็นผลสรุปหรือผลรวมแห่งกระบวนการคิดพิจารณา และการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนความคิดของผู้ประกอบการออกมาเป็นโอกาสทางธุรกิจ มีผู้เปรียบเทียบว่าแผนธุรกิจเปรียบเหมือนแผนที่ในการเดินทาง ที่จะชี้แนะขั้นตอนต่างๆทีละขั้นตอนในกระบวนการก่อตั้งกิจการ แผนจะให้รายละเอียดต่างๆ ทั้งเรื่องของการตลาดการแข่งขันกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ การคาดคะเนทางการเงิน ที่จะชี้นำผู้ประกอบการไปสู่ความสำเร็จหรือชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนและข้อควรระวัง

องค์ประกอบของแผนธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ

1. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary)

2. วิสัยทัศน์ (Vision)/พันธ์กิจ (Mission)/เป้าหมาย (Objective)

3. SWOT & Competitive Analysis

- การวิเคราะห์สถานการณ์ (Situation Analysis)

- การวิเคราะห์การแข่งขัน (Competitive Analysis)

4. กลยุทธ์ธุรกิจ (Business Strategy)

5. กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional Strategy)

- การตลาด (Marketing)

- การผลิตและการดำเนินการ (Production & Operations)

- การจัดการ (Management)

- การบัญชีและการเงิน (Accounting & Finance)

ประโยชน์

1. เป็นเครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการ

2. เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจมีโอกาสประสบความสำเร็จ

3. ใช้เป็นข้อตกลง

Social Accountability 8000 (SA 8000)

SA 8000 (Social Accountability) คือ มาตรฐานระหว่างประเทศในเรื่องของความรับผิดชอบทางสังคม สำหรับหน่วยผลิต ต่างๆ เช่น โรงงานนิคมอุตสาหกรรม โรงงานผลิตอาหารกระป๋อง เป็นต้น ซึ่งเป็นการกำหนดมาตรฐานการจ้างแรงงานเพื่อลดความไม่เป็นธรรม

อนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO Convention) เป็นบรรทัดฐานโดยเฉพาะในเรื่องการใช้แรงงานเด็กและในเรื่องสิทธิมนุษยชน โดยจะแบ่งเป็น 9 หัวข้อและมีเนื้อหาในข้อกำหนดที่สำคัญ ดังนี้

1. แรงงานเด็ก

2. แรงงานบังคับ

3. สุขภาพและความปลอดภัย

4. เสรีภาพในสมาคมและสิทธิในการรวมกลุ่มเจรจาต่อรอง

5. การกีดกันหรือการแบ่งแยก

6. การลงโทษทางวินัย

7. ชั่วโมงทำงาน

8. ค่าตอบแทน

9. ระบบบริหาร

ประโยชน์ที่ได้รับการจัดทำระบบ SA 8000

1. ป้องกันการกีดกันด้านการค้า

2. ปรับปรุงสภาพการจ้างงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย

3. ปรับปรุงสภาพการทำงานให้เหมาะสม

4. เพิ่มโอกาสทางการค้าโดยวาง Product Position ใหม่

5. สร้างภาพลักษณ์ของบริษัทให้เป็นที่ยอมรับในสังคมโดยเฉพาะในสายตาของผู้บริโภค

6. ทำให้แรงงานมีความจงรักภักดีต่อองค์กร

7. สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อสังคม

8. ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในตัวสินค้าและบริการและมีความภักดีต่อองค์กร

9. มีช่องทางการตลาดใหม่

10. มีโอกาสในการเลือกแรงงานที่มีคุณภาพ

11. ลดขั้นตอนและต้นทุนในการตรวจสอบ

Knowledge Management (KM)

หมายถึง กระบวนการอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล สารสนเทศ ความคิด การกระทำ ตลอดจนประสบการณ์ของบุคคลเพื่อสร้างเป็นความรู้หรือนวัตกรรม และจัดเก็บในลักษณะของแหล่งข้อมูลที่บุคคลสามารถเข้าถึงได้โดยอาศัยช่องทางต่าง ๆ ที่องค์การจัดเตรียมไว้ เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งก่อให้เกิดการแบ่งปันความรู้ที่มีอยู่จะแพร่กระจายและไหลเวียนทั่วทั้งองค์กรอย่างสมดุล

เหตุผลของการนำ KM มาใช้

1. การเปลี่ยนแปลงเทคนิคในการบริหารงาน

2. การเปลี่ยนแปลงด้านราคา

3. ลดความผิดพลาดในการแข่งขันด้านการตลาด

4. สร้างวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด

5. การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ

เครื่องมือที่ใช้ในการทำ KM ระบบสารสนเทศ ประกอบด้วย

1. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ

2. ระบบสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้

3. ระบบสนับสนุนการทำงานกลุ่ม

4. เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

ประโยชน์ของ KM

1.เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร

2.ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา

3.เป็นการลงทุนในต้นทุนมนุษย์

4.ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจและวางแผนดำเนินงานให้รวดเร็ว

ISO 26000 Social Responsibility

ความหมาย เป็นมาตรฐานการแสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบของสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืนทางธุรกิจ

7 หลักการของความรับผิดชอบต่อสังคม

1.มีความรับผิดชอบ (Accountability)

2.มีความโปร่งใส (Transparency)

3.มีจริยธรรม (Ethical)

4.ให้ความสำคัญกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Respect for and considering of stakeholder interests)

5.เคารพต่อหลักนิติธรรม (Respect for rule of law)

6.ยอมรับในมาตรฐานสากล (Respect for international norms)

7.เคารพต่อสิทธิมนุษยชน (Respect for human rights) และยอมรับในความสำคัญและความเท่าเทียมกัน

การนำไปใช้

สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้น

ขั้นแรก เป็นการปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด

ขั้นที่สอง เน้นในเรื่องประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

ขั้นที่สาม เป็นเรื่องจรรยาบรรณทางธุรกิจ

ขั้นที่สี่ เป็นการดำเนินการขององค์กรตามเเนวทาง CSR ด้วยความสมัครใจ

ประโยชน์

1.ช่วยให้การตัดสินใจเป็นไปด้วยความรอบคอบ

2.ปรับปรุงแนวปฏิบัติต่อการบริหารความเสี่ยง

3.ช่วยสร้างเสริมชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือขององค์กรต่อสาธารณะชน

4.ป้องกันและลดความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคเกี่ยวกับสินค้าและการบริการ

5.การประหยัด อันเป็นผลมาจาก การเพิ่มผลผลิต และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

6.ช่วยสนับสนุนการคงอยู่ขององค์กรในระยะยาว

น.ส.เปรมกมล คำทราย เลขที่ 29 กจ.2/1

CRM (Customer Relationship Management)

ความหมาย

โดยทั่วไปแล้ว CRM (Customer Relationship Management) หมายถึง การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า โดยใช้กฏพาเรโต 80 : 20 ในการพิจารณาสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าที่มีเพียง 20 % จากทั้งหมดที่สร้างยอดขายให้บริษัท 80 % เป็นลูกค้าที่องค์กรควรใส่ใจดูแลเป็นอันดับแรก

แนวคิดเรื่อง CRM นี้เกิดขึ้นนานแล้วและเป็นสิ่งที่ใกล้ตัว เพียงแต่นักการตลาดยังไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก ยกตัวอย่างเช่น อาแป๊ะขายน้ำชาร้านปากซอย มักจะสังเกตและเก็บข้อมูลลูกค้าประจำของตนเองไว้ "ถ้าอาตี๋ใหญ่บ้านกลางซอยเดินเข้ามาในร้าน ต้องสั่งกาแฟยกล้อ แต่ถ้าน้องสาวของอาตี๋ต้องเป็นชาเย็นใส่นมเยอะ ๆ กับปาท๋องโก๋ 2 ตัว" หรือมีการซักถามแสดงความห่วงใยแก่ลูกค้าของตนเอง เช่น วันนี้ไม่ไปทำงานเหรอ เป็นอะไรไปหรือ ลูกลื้อไม่สบายหายหรือยัง ฯลฯ วิธีการที่แตกต่างกันที่อาแป๊ะปฏิบัติต่อลูกค้าแต่ละรายเกิดจากการที่อาแป๊ะเก็บข้อมูลหาลูกค้าแต่ละรายไว้ในสมองแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นวิธีปฏิบัติ ซึ่งเหล่านี้ก็คือ หลักการของ CRM นั่นเอง

ปัจจุบันนี้ CRM เป็นสิ่งที่หลาย ๆ องค์กรให้ความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากการเก็บข้อมูลลูกค้าแต่ละราย เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าให้มากที่สุดนั้น เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งขององค์กรในการที่จะทำให้ลูกค้าอยู่กับเราตลอดไป

หลักการสำคัญของ CRM

1. ปลูกจิตสำนึก

กระบวนการ CRM ควรเริ่มจากบุคคลภายในองค์กรเสียก่อน บุคลากรทุกคนต้องมีใจร่วมกัน และพร้อมที่จะสร้าง CRM ให้เกิดขึ้น นับตั้งแต่พนักงานระดับล่าง ไม่ว่าจะเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย พนักงานรับโทรศัพท์ พนักงานต้อนรับ พนักงานในฝ่ายต่าง ๆ จนกระทั่งผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ยกตัวอย่างเช่น เมื่อลูกค้าเข้ามาภายในบริษัท พนักงานรักษาความปลอดภัยจะเป็นด่านแรกที่จะถูกสอบถามข้อมูลเบื้องต้นจากลูกค้า ดังนั้นการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส การแต่งกายสุภาพเรียบร้อย อีกทั้งจะต้องเป็นผู้ที่สามารถให้ข้อมูลเบื้องต้นแก่ลูกค้าได้ โดยไม่ต้องมีการสอบถามจากฝ่ายอื่น ๆ ให้วุ่นวาย หรือต้องมีเครื่องมืออื่น ๆ ที่ช่วยในการสืบค้นอย่างรวดเร็ว หรือพนักงานรับโทรศัพท์จะต้องเป็นผู้ที่สามารถตอบคำถามได้ทุก ๆ เรื่อง ไม่ใช่มีการโอนสายถามกันไปจนกระทั่งสายหลุดไปอย่างที่ผู้บริโภคในปัจจุบันกำลังประสบอยู่จากหลาย ๆ องค์กร เหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนที่พนักงานจะต้องรับผิดชอบในงานหน้าที่ของตนเอง เพื่อเป็นการสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าในเบื้องต้น

2. วิเคราะห์ความต้องการเบื้องต้นของลูกค้า

องค์กรต้องมองย้อนกลับไปในฐานะที่ตนเองเป็นลูกค้า ว่าถ้าเราเป็นผู้บริโภคที่มาซื้อสินค้า เราต้องการอะไร เพื่อให้คุ้มค่ากับเงินที่เราจ่ายไป ซึ่งก็คือการเอาใจเขามาใส่ใจเรานั่นเอง

3. เก็บรวบรวมข้อมูล

การสำรวจข้อมูลต่าง ๆ ของลูกค้าว่าลูกค้าแต่ละรายมีความต้องการ (Needs & Wants) อะไร โดยต้องมองให้เห็นความแตกต่างของลูกค้าแต่ละราย เช่น วันเกิดของลูกค้า บริษัทมีโปรแกรมส่งการ์ดอวยพรไปให้ และในการสร้างความซาบซึ้งแก่ลูกค้านั้นบริษัทต้องทราบข้อมูลด้านลึกของลูกค้าด้วย ยกตัวอย่างเช่น เชอร์รี่เป็นสาวโสดชอบสีฟ้าเป็นที่สุด ซูซี่เป็นสาวเซ็กซี่มีลูก 2 คน สีที่โปรดคือสีแดง คำอวยพรในการ์ดของแต่ละบุคคลต้องแตกต่างตามสถานภาพและความชื่นชอบ

4. จัดทำฐานข้อมูล

เมื่อสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ต้องมีการจัดเก็บให้เป็นระบบที่เอื้อต่อการดึงข้อมูลไปใช้งาน ซึ่งผู้บริหารต้องเห็นความสำคัญในการลงทุนด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อนำมาช่วยการจัดเก็บระบบข้อมูล รวมทั้งการลงทุนในส่วนที่เกี่ยวกับบุคลากรที่รับผิดชอบในส่วนงานดังกล่าวด้วย

ERP : Enterprise resource planning

ระบบบริหารทรัพยากรองค์กร หรือ ERP (Enterprise resource planning) คือ ระบบการวางแผนทรัพยากรขององค์กร เป็นระบบที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆขององค์กร โดยเป็นระบบที่เชื่อมโยงระบบงานต่างๆขององค์กรเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ระบบงานทางด้านบัญชีและการเงิน ระบบงานทรัพยากรบุคคล ระบบบริหารการผลิต รวมถึงระบบการกระจายสินค้า เพื่อช่วยให้การวางแผนและบริหารทรัพยากรขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยลดเวลาและขั้นตอนการทำงาน

ขั้นตอนการนำระบบ ERP มาใช้ในองค์การ

1. การศึกษาและการวางแนวคิด

2. การวางแผนนำระบบมาใช้

3. การพัฒนาระบบ

4. การใช้งานและปรับเพิ่มความสามารถ

ประโยชน์ของ ERP

1. กระบวนการบริหาร ERP เป็นระบบที่สามารถรวบรวมข้อมูลต่างๆ ให้กับผู้บริหารได้อย่างเที่ยงตรง

2. เทคโนโลยีพื้นฐาน ERP ช่วยเชื่อมโยงระบบงานต่างๆที่กระจัดกระจายเข้าด้วยกัน

3. กระบวนการทำงานที่รวดเร็ว การบูรณาการงานหลักต่างๆขององค์การเข้าด้วยกัน

Supply Chain Management and Logistic

การจัดการสายโซ่อุปทาน Supply Chain Management (SCM) Supply Chain Management คือ หมายถึง กระบวนการโดยรวมของการไหลของวัตถุ สินค้า ตลอดจนข้อมูล และธุรกรรมต่างๆ ผ่านองค์การที่เป็นผู้ส่งมอบ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ไปจนถึงลูกค้าหรือผู้บริโภค

การนำหลักการของ Supply Chain Management มาใช้

1.การจัดหาสินค้าโดยเน้นความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก

2.การวางแผนเพื่อให้ได้มาเพื่อสินค้า

3.การควบคุมระดับสต็อกสินค้า

4.การขนส่งสินค้าจากผู้ผลิตไปยังลูกค้า

ประโยชน์ของ Supply Chain Management

-สนองตอบตรงความต้องการของลูกค้า

-ลดค่าใช้จ่ายอย่างเป็นระบบ

-ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์การ

-ติดตามกระบวนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

-ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่าการนำ Supply Chain ไปใช้ในองค์กร

ระบบการส่งกำลังบำรุง Logistic Logistic หมายถึง กระบวนการวางแผนการดำเนินงานและการควบคุมการเคลื่อนย้ายทั้งไปและกลับ การเก็บรักษาสินค้า บริการ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการผลิตไปสู่จุดสุดท้ายของการบริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

การนำเอาLogisticไปใช้ภายในองค์กร เป็นรูปแบบการจัดการ ซึ่งธุรกิจได้นำเอาระบบLogisticเข้าไปขับเคลื่อนในกระบวนการต่างๆ องค์ประกอบของอุตสาหกรรมรมการผลิตจะประกอบไปด้วย Suppliers ก็คือ คู่ค้า หรือผู้ขายวัตถุดิบและลูกค้า ซึ่งต่างก็มีจำนวนหลายราย โดยธุรกิจจะต้องมีการจัดการความสัมพันธ์ทั้ง 2 องค์ประกอบให้สอดคล้องระหว่างวัตถุดิบที่นำมาเพื่อผลิตเป็นสินค้าสำเร็จและส่งมอบให้กับ Customers โดยจะต้องมีกระบวนการต่าง ๆ ของธุรกิจอันได้แก่ การคาดคะเนยอดขาย, การจัดซื้อ, คลังสินค้า, กระบวนการผลิต, การตลาด และการส่งมอบ

ประโยชน์ของ Logistic ที่มีต่อองค์กร

-ลดต้นทุนในการสั่งซื้อสินค้า

-ลดต้นทุนในการจัดเก็บสินค้า

-ตอบสนองความต้องการผู้บริโภคอย่างเต็มประสิทธิภาพ

-เพิ่มความสะดวกรวดเร็ว และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน -สร้างความได้เปรียบในการเพิ่มกำไรเนื่องจากต้นทุนโดยรวมลดลง

-เพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดและประสิทธิภาพในการผลิต ขนส่งและการบริการลูกค้า

ความแตกต่างระหว่าง Supply chain Management And Logistic Supply chain Management And Logistic เป็นสิ่งที่คู่กันเสมอ แต่ขอบข่ายในการกำหนดแผนงานของ ลอจิสติกส์ และการจัดการโซ่อุปทานจะแตกต่างกัน โดยแบ่งส่วนที่สนับสนุนต่อกันคือ การจัดการโซ่ระดับอุปทานจะเป็นการจัดการระดับเชิงกลุยทธ์ (Strategis Level) ส่วนลอจิสติกส์เป็นการจัดการระดับยุทธวิธี (Tagics) และการปฏิบัติงานให้สอดคล้องและบรรลุต่อทิศทางและเป้าหมายในระดับการจัดการโซ่อุปทาน

TQM: ( Total Quality Management )

TQM หมายถึง ระบบการทำงานที่เป็นวัฒนธรรมขององค์การที่สมาชิกทุกคนต่างให้ความสำคัญ และมีส่วนร่วม ในการพัฒนาการดำเนินงานขององค์การอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งที่จะตอบสนองความต้องการ และสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้า

เหตุผลของการนำTQMมาใช้

TQM เป็นระบบการจัดการที่เน้นมนุษย์ (a people-focused management system) กล่าวคือ เป็นกระบวนการทางวัฒนธรรมที่มุ่งเปลี่ยนแปลงคนทั้งหมดในองค์การ เพื่อให้หันมาสนใจปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายสูงสุด คือการสร้างความเป็นเลิศในระดับโลก

TQM มี หลักการที่สำคัญ 3 ประการ คือ

1. การให้ความสำคัญกับลูกค้า (Customer Oriented)

2. การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement)

3. สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วม (Employees Involvement)

การประยุกต์ใช้ TQM ในเชิงปฏิบัติ

1. การฝึกอบรมทางด้านคุณภาพ

2. การบริหารงานประจำวัน (Daily Management)

3. การบริหารนโยบาย (Policy Management)

4. การบริหารข้ามสายงาน (Cross Functional Management)

5. กิจกรรมกลุ่มย่อย (Small Group Activity)

6. ตรวจวินิจฉัยโดยผู้บริหารระดับสูงสุด ( Top Management Diagnosis)

ข้อดีของTQM

1.มีระบบทำงานที่ดี

2.มี “มาตรฐานการทำงาน”ที่ตรวจสอบได้

3.ไม่มีปัญหาเฉพาะหน้า

4.ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ถูกต้อง

5.มีความคิดริเริ่มปรับปรุงงาน

ข้อเสียของ TQM

1.การที่พนักงานบางคนหรือบางกลุ่มอาจจะบกพร่องหรือขาดในเรื่องวินัยเกี่ยวกับคุณภาพ ไม่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

2.ความไม่พร้อมต่อการบริหารระบบ

3.การเน้นเฉพาะส่วนของกรมวิธีและข้อมูลทางสถิติมากเกินไป

Business Plan

หมายถึง เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับผู้ประกอบการที่ริเริ่มจะก่อตั้งกิจการ แผนนี้เป็นผลสรุปหรือผลรวมแห่งกระบวนการคิดพิจารณา และการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนความคิดของผู้ประกอบการออกมาเป็นโอกาสทางธุรกิจ มีผู้เปรียบเทียบว่าแผนธุรกิจเปรียบเหมือนแผนที่ในการเดินทาง ที่จะชี้แนะขั้นตอนต่างๆทีละขั้นตอนในกระบวนการก่อตั้งกิจการ แผนจะให้รายละเอียดต่างๆ ทั้งเรื่องของการตลาดการแข่งขันกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ การคาดคะเนทางการเงิน ที่จะชี้นำผู้ประกอบการไปสู่ความสำเร็จหรือชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนและข้อควรระวัง

องค์ประกอบของแผนธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ

1. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary)

2. วิสัยทัศน์ (Vision)/พันธ์กิจ (Mission)/เป้าหมาย (Objective)

3. SWOT & Competitive Analysis

- การวิเคราะห์สถานการณ์ (Situation Analysis)

- การวิเคราะห์การแข่งขัน (Competitive Analysis)

4. กลยุทธ์ธุรกิจ (Business Strategy)

5. กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional Strategy)

- การตลาด (Marketing)

- การผลิตและการดำเนินการ (Production & Operations)

- การจัดการ (Management)

- การบัญชีและการเงิน (Accounting & Finance)

ประโยชน์

1. เป็นเครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการ

2. เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจมีโอกาสประสบความสำเร็จ

3. ใช้เป็นข้อตกลง

Social Accountability 8000 (SA 8000)

SA 8000 (Social Accountability) คือ มาตรฐานระหว่างประเทศในเรื่องของความรับผิดชอบทางสังคม สำหรับหน่วยผลิต ต่างๆ เช่น โรงงานนิคมอุตสาหกรรม โรงงานผลิตอาหารกระป๋อง เป็นต้น ซึ่งเป็นการกำหนดมาตรฐานการจ้างแรงงานเพื่อลดความไม่เป็นธรรม

อนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO Convention) เป็นบรรทัดฐานโดยเฉพาะในเรื่องการใช้แรงงานเด็กและในเรื่องสิทธิมนุษยชน โดยจะแบ่งเป็น 9 หัวข้อและมีเนื้อหาในข้อกำหนดที่สำคัญ ดังนี้

1. แรงงานเด็ก

2. แรงงานบังคับ

3. สุขภาพและความปลอดภัย

4. เสรีภาพในสมาคมและสิทธิในการรวมกลุ่มเจรจาต่อรอง

5. การกีดกันหรือการแบ่งแยก

6. การลงโทษทางวินัย

7. ชั่วโมงทำงาน

8. ค่าตอบแทน

9. ระบบบริหาร

ประโยชน์ที่ได้รับการจัดทำระบบ SA 8000

1. ป้องกันการกีดกันด้านการค้า

2. ปรับปรุงสภาพการจ้างงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย

3. ปรับปรุงสภาพการทำงานให้เหมาะสม

4. เพิ่มโอกาสทางการค้าโดยวาง Product Position ใหม่

5. สร้างภาพลักษณ์ของบริษัทให้เป็นที่ยอมรับในสังคมโดยเฉพาะในสายตาของผู้บริโภค

6. ทำให้แรงงานมีความจงรักภักดีต่อองค์กร

7. สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อสังคม

8. ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในตัวสินค้าและบริการและมีความภักดีต่อองค์กร

9. มีช่องทางการตลาดใหม่

10. มีโอกาสในการเลือกแรงงานที่มีคุณภาพ

11. ลดขั้นตอนและต้นทุนในการตรวจสอบ

Knowledge Management (KM)

หมายถึง กระบวนการอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล สารสนเทศ ความคิด การกระทำ ตลอดจนประสบการณ์ของบุคคลเพื่อสร้างเป็นความรู้หรือนวัตกรรม และจัดเก็บในลักษณะของแหล่งข้อมูลที่บุคคลสามารถเข้าถึงได้โดยอาศัยช่องทางต่าง ๆ ที่องค์การจัดเตรียมไว้ เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งก่อให้เกิดการแบ่งปันความรู้ที่มีอยู่จะแพร่กระจายและไหลเวียนทั่วทั้งองค์กรอย่างสมดุล

เหตุผลของการนำ KM มาใช้

1. การเปลี่ยนแปลงเทคนิคในการบริหารงาน

2. การเปลี่ยนแปลงด้านราคา

3. ลดความผิดพลาดในการแข่งขันด้านการตลาด

4. สร้างวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด

5. การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ

เครื่องมือที่ใช้ในการทำ KM ระบบสารสนเทศ ประกอบด้วย

1. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ

2. ระบบสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้

3. ระบบสนับสนุนการทำงานกลุ่ม

4. เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

ประโยชน์ของ KM

1.เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร

2.ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา

3.เป็นการลงทุนในต้นทุนมนุษย์

4.ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจและวางแผนดำเนินงานให้รวดเร็ว

ISO 26000 Social Responsibility

ความหมาย เป็นมาตรฐานการแสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบของสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืนทางธุรกิจ

7 หลักการของความรับผิดชอบต่อสังคม

1.มีความรับผิดชอบ (Accountability)

2.มีความโปร่งใส (Transparency)

3.มีจริยธรรม (Ethical)

4.ให้ความสำคัญกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Respect for and considering of stakeholder interests)

5.เคารพต่อหลักนิติธรรม (Respect for rule of law)

6.ยอมรับในมาตรฐานสากล (Respect for international norms)

7.เคารพต่อสิทธิมนุษยชน (Respect for human rights) และยอมรับในความสำคัญและความเท่าเทียมกัน

การนำไปใช้

สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้น

ขั้นแรก เป็นการปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด

ขั้นที่สอง เน้นในเรื่องประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

ขั้นที่สาม เป็นเรื่องจรรยาบรรณทางธุรกิจ

ขั้นที่สี่ เป็นการดำเนินการขององค์กรตามเเนวทาง CSR ด้วยความสมัครใจ

ประโยชน์

1.ช่วยให้การตัดสินใจเป็นไปด้วยความรอบคอบ

2.ปรับปรุงแนวปฏิบัติต่อการบริหารความเสี่ยง

3.ช่วยสร้างเสริมชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือขององค์กรต่อสาธารณะชน

4.ป้องกันและลดความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคเกี่ยวกับสินค้าและการบริการ

5.การประหยัด อันเป็นผลมาจาก การเพิ่มผลผลิต และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

6.ช่วยสนับสนุนการคงอยู่ขององค์กรในระยะยาว

นางสาวพจวรรณ แสนคติ กจ.2/1 เลขที่30

TQM เป็นระบบคุณภาพที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญสูงสุด เป็นระบบที่มองภาพรวมทั้งอค์กร ลูกค้าจะเป็นตัวกำหนดมาตราฐาน

แบ่งออกเป็น

TOTAL= ทุกคนมีส่วนร่วมในการบริหารงานในองค์กร

Quality = คุณภาพ

Management = ระบบบริหารจัดการคุณภาพ

วัตถุประสงค์

1.สร้างความพึงพอใจ

2.พัฒนาและปรับปรุงองค์กร

3พัฒนาบุคลากรเพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่

หัวใจหลักของ TQM การบริหารที่มุ่งเน้นสร้างความพึงพอใจสูสุดของลูกค้า

PDCA

Plan=การวางแผนงานจากวัตถุประสงค์เป้าหมาย

Do=การบริหารงานตามขั้นตอนีท่ได้วางไว้

Cheek=การตรวจสอบผลการดำเนินงานในแต่ละขั้นของแผนงานว่ามีปัญหาอะไร

Action=การปรับปรุงในส่วนที่มีปัญหาได้เลย

SCM= Supply Chain Management คือการจัดการสายโซ่อุปทาน คือกระบวนการโดยรวมของการไหลของวัสดุสินค้า ตลอดจนข้อมูลและธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านองค์กรต่างๆที่เป็นผู้ส่งมอบ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่ายไปจนถึงลูกค้าหรือผู้บริโภค

ประโยชน์

1.ตอบสนองความต้องการของลูกค้า

2.ลดค่าใช้จ่ายอย่างเป็นระบบ

3.ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กร

4.ติดตามกระบวนการได้อย่างใกล้ชิด

5.ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า

ขั้นตอน

1.กระบวนการซื้อ

2.การผลิต

3.การจัดเก็บ

4.เทคโนโลยีสารสนเทศ

5.การจัดจำหน่าย

6.การขนส่ง

Logistic= กระบวนการวางแผนการดำเนินงานและการควบคุมการเคลื่อนย้ายทั่วไปและกลับการเก็บรักษาสินค้า บริการและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง อย่างมีประสิทธิ์ภาพ

การนำไปใช้ในองค์กร องค์ได้นำLogistic มาใช้ในกระบวนการต่างๆ

ประโยชน์

1.ลดต้นทมุนในการขนส่งสินค้า

2.ลดต้นทุนในการเก็บสินค้า

3.ตอบสนองความต้องการการซื้อผู้บริโภคอย่างเต็มประสิทธิภาพ

4.สร้างความได้เปรียบในการเพิ่มกำไร

Social Accountabitity 800 หรือ Sa 8000

คือมาตราฐานระหว่างประเทศในเรื่องความรับผิดชอบทางสังคมสำหรับหน่วยผลิต ต่าง ๆโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดมาตราฐานการจ้างแรงงานให้สอดคล้องกันทั่วโลก

ตัวมาตราฐานกำหนดการดพเนินการจัดระบบการจัดการโดยเฉพาะในเรื่องการใช้แรงงานเด็กและในเรื่องสิทธิมนุษยชน โดยจะแบ่งเป็น9ข้อดังนี้

1.แรงงานเด็ก

2.แรงงานบังคับ

3.สุขภาพและความปลอดภัย

4.เสรีภาพในสมาคมและสิทธิในการรวมกลุ่มเจรจา

5.การกีดกัน

6.การลงโทษทางวินัย

7.ชั่วโมงทำงาน

8.ค่าตอบแทน

9.ระบบบริหาร

ประโยชน์

1.การป้องกันการกีดกันด้านการค้า

2.ปรับปรุงสภาพการจ้างงานให้ถูกต้องตามกฏหมาย

3.ปรับปรุงสภาพการทำงานให้เหมาะสม

4.ทำให้แรงงานมีความจงรักภักดีต่อองค์กร

5.ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในตัวสินค้าและบริการ

วิธีการจัดการ Sa 8000

1.นโยบายต้องจัดให้มีนโยบาย

2.การทบทวน ผู้บริหารระดับสูง ต้องทบทวนแก้ไขปรับปรุงนโยบายและแผนปฏิบัติงานเป็นระยะ

3.ผู้แทนบริษัท จัดให้มีผู้แทนบริษัทซึ่งเป็นผู้บริหารระดับอาวุโสและผู้แทนดำเนินการ

4.การวางแผนและการนำไปปฏฺบัติ ต้องให้ลูกจ้างได้ทราบถึงข้อกำหนดแห่งมาตราฐานนี้โดยทั่วกัน

5.การควบคุมผู้รับจ้างหรือผู้รับเหมาช่วง

6.การแสดงความรับผิดชอบและการแก้ไข

7.การสื่อสารบุคคลภายนอก

8.การเข้าถึงข้อมูลเพื่อตอบสนองข้อเท็จจริง

9.การบันทึก

พิรุฬห์ลักษณ์ ไชยประดิษฐ เลขที่ 14 กจ. 2/1

SUPPLY CHAIN MANAGEMENT AND LOGISTIC

SUPPLY CHAIN MANAGEMENT (SCM)

เป็นกระบวนการโดยรวมของการไหลของวัสดุ ข้อมูล ผ่านองค์การที่เป็นผู้ส่งมอบ ไปจนถึงลูกค้า โดยที่องค์การต่าง ๆ มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจ สิ่งสำคัญคือ เพื่อให้องค์การมีความสามารถในการบริหารความเติบโตธุรกิจ และความยั่งยืนของธุรกิจ

ขั้นตอน

  1. กระบวนการจัดซื้อ
  2. การผลิต
  3. การจัดเก็บ
  4. เทคโนโลยีสารสนเทศ
  5. การจัดจำหน่าย
  6. การขนส่ง

ประโยชน์ของ (SCM)

  1. สนองตามความต้องการของลูกค้า
  2. ลดค่าใช้จ่ายอย่างเป็นระบบ
  3. ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กร
  4. ติดตามกระบวนการทำงานได้อย่างใกล้ชิด
  5. ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่า

LOGISTIC

เป็นกระบวนการวางแผน การดำเนินงาน และการควบคุมการเคลื่อนย้ายทั้งไปและกลับ การเก็บรักษาสินค้า อย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการผลิตไปสู่จุดสุดท้ายของการบริโภค

ประโยชน์ของ LOGISTIC

  1. ลดต้นทุนในการสั่งสินค้า
  2. ลดต้นทุนในการเก็บสินค้า
  3. ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
  4. เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินงาน
  5. สร้างความได้เปรียบในการเพิ่มกำไร
  6. เพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด

-------------------------------------------------------------------------

Coperate Governance

เป็นการบริหารจัดการภาคธุรกิจด้วยความเป็นธรรมและดปร่งใสและมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และผลการกระทำของตนต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัททั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น เจ้าหน้าที่ รวมทั้งประชาชน

องค์ประกอบของธรรมาภิบาล

  1. ความรับผิดชอบ
  2. ความโปร่งใส
  3. ความเสมอภาค

ขั้นตอนของธรรมาภิบาล

  1. ความเข้าใจที่ถูกต้อง
  2. ความคิดที่ถูกต้อง
  3. กระทำที่ถูกต้อง
  4. การกำกับ - ควบคุมที่ถูกต้อง

ประโยชน์ของธรรมาภิบาล

  1. มีความเที่ยงธรรม
  2. นำไปสู่การพัฒนาประเทศ

-------------------------------------------------------------------------

Business Plan

ความหมาย

  1. รายงานระบุรายลุเอียดของการวางแผนธุรกิจ
  2. เอกสารที่แสดงรายละเอียดต่าง ๆ
  3. เนื้อหาบางส่วนอาจคล้ายแผนการตลาด

ขั้นตอนของแผนธุรกิจ

  1. แผนการตลาด
  2. แผนการผลิต
  3. แผนการองค์การและการจัดการ
  4. แผนการเงิน

องค์ประกอบของแผนธุรกิจ

  1. บทสรุปผู้บริหาร
  2. ประวัติกิจการ
  3. การวิเคราะห์สถานการณ์
  4. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
  5. แผนการตลาด
  6. แผนการบริหารและการจัดการ
  7. แผนการผลิต / ปฏิบัติการ
  8. แผนการเงิน
  9. แผนฉุกเฉิน
  10. ภาคผนวก

ประโยชน์

  1. ช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างถูกต้อง
  2. ช่วยให้ธุรกิจมีการประสบความสำเร็จ

-------------------------------------------------------------------------

Customer Relationship Management (CRM)

คือ การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกต้าโดยใช้กฎพาเรโต 80:20 ในการพิจารณาสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าที่มีเพียง 20% จากทั้งหมดที่สร้างยอดขายให้บริษัท 80% เป็นลูกค้าที่องค์กรควรใส่ใจดูแลเป็นอันดับแรก

ขั้นตอนกระบวนการทำงาน CRM

  1. Identifly
  2. Differentiate
  3. Interact
  4. Customization

หลักการสำคัญ

  1. ปลูกจิตสำนึก
  2. วิเคราะห์ความต้องการเบื้องต้นของลูกค้า
  3. เก็บรวบรวมข้อมูล
  4. จัดทำฐานข้อมูล

ประโยชน์ของ CRM

  1. ช่วยเพิ่มความสามารถ
  2. ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์
  3. ทำให้บริษัทสามารถนำเสนอสินค้าที่เหมาะสมกับลูกค้า
  4. สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว
  5. ลดการสูญเสียลูกค้า

-------------------------------------------------------------------------

Enterprise Resource Planning (ERP)

ระบบบริหารทรัพยากรองค์กร หรือ ระบบการงางแผนทรัพยากรขององค์กร เช่นระบบที่ใช้ในการจัดวาง

ลักษณะสำคัญ

  1. การบูรณาการระบบงานต่าง ๆ ของระบบ ERP
  2. รวมระบบงานแบบ Real time ของระบบ ERP
  3. ระบบ ERP มีฐานข้อมูล แบบสมุดลงบัญชี

ประโยชน์ของ ERP

  1. กระบวนการบริหาร
  2. เทคโนโลยีพื้นฐาน
  3. กระบวนการทำงานที่รวดเร็ว

-------------------------------------------------------------------------

Total Quality Management (TQM)

เป็นระบบบริหารเครื่องมือมุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการของลูกค้า

Total ทุกคนในองค์การ

Quality การสร้างความพึงพอใจในลูกค้า

Management ระบบบริหารจัดการคุณภาพ

ส่วนประกอบ TQM

  1. การให้ความสำคัญกับลูกค้า
  2. การพัฒนา
  3. สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วม

ประโยชน์

  1. ก่อให้เกิดคุณค่าต่อสินค้าและบริการ
  2. ก่อให้เกิดศักยภาพ
  3. ช่วยลดต้นทุนการผลิต
  4. เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มผลผลิต

-------------------------------------------------------------------------

Social accountability 8000 (SA 8000)

คือ มาตรฐานระหว่างประเทศในเรื่องความรับผิดชอบทางสังคมสำหรับหน่วยผลิต ต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดมาตรฐานการจ้างแรงงานให้สอดคล้องกันทั่วโลก โดยมีที่มาจากปัญหาการจ้างแรงงานอย่างไม่เป็นธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก มีการกดขี่แรงงาน การใช้แรงงานเด็ก สตรี

ตัวมาตรฐานกำหนดการดำเนินงานมีดังนี้

  1. แรงงานเด็ก ไม่สนับสนุนการใช้แรงงานเด็ก
  2. แรงงานบังคับ พนักงานต้องทำงานด้วยความสมัคใจ
  3. สุขภาพและความปลอดภัย
  4. เสรีภาพในสมาคมและสิทธิในการรวมกลุ่มเจรจาต่อรอง
  5. การกีดกัน ไม่สนับสนุนการกีดกันให้เกิดความเหลื่อมล้ำ
  6. การลงโทษทางวินัย ไม่สนับสนุนให้มีการลงโทษโดยการทำร้ายร่างกาย
  7. ชั่วโมงทำงาน ต้องไม่เกิน 48 ชม. ต่อสัปดาห์และมีวันหยุดอย่างน้อย 1 วันต่อ 1สัปดาห์
  8. ค่าตอบแทน ค่าจ้างต้องเพียงพอต่อการยังชีพตามควร
  9. ระบบบริหาร ต้องมีระบบการจัดการที่เอื้ออำนวยและสอดคล้องกับข้อกำหนดของระบบ

ประโยชน์

  1. สร้างภาพลักษณ์ของบริษัทให้เป็นที่ยอมรับในสังคม
  2. ทำให้แรงงานมีความจงรักภักดีต่อองค์กร
  3. สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อสังคม
  4. ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในตัวสินค้าและบริการ
  5. มีช่องทางตลาดใหม่
  6. ลดขึ้นตอนและต้นทุนในด้านการตรวจสอบ
  7. การป้องกันการกีดกันด้านการค้า
  8. เพิ่มโอกาสทางการค้าโดยวาง Product Position ใหม่

-------------------------------------------------------------------------

ISO 26000

เป็นมาตรฐานแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

วัตถุประสงค์

  1. ช่วยให้องค์กรได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบในสังคม
  2. ให้ข้อเสนอแนะ นำไปปฏิบัติรับผิดชอบในสังคม
  3. เน้นผลการดำเนินงาน
  4. มีความสอดคล้องกับสัญญาต่าง ๆ
  5. ส่งเสริมคำนิยามทั่วไปที่ใช้ในวงการสังคม

องค์ประกอบ

  1. ธรรมาภิบาลขององค์กร
  2. การเคารพสิทธิมนุษย์
  3. การปฏิบัติต่อผู้ใช้แรงงานอย่างเป็นธรรม
  4. ความรับผิดขอบต่อสิ่งแวดล้อม
  5. การดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรม
  6. การรับผิดชอบต่อผู้บริโภค
  7. การแบ่งปันสู่สังคมและชุมชน

ประโยชน์

  1. ช่วยให้การตัดสินใจเป็นไปด้วยความรอบคอบ
  2. ช่วยสร้างเสริมชื่อเสียง
  3. ป้องกันและลดความขัดแย้ง
  4. การประหยัด
  5. ช่วยสนับสนุนการอยู่ขององค์กรในระยะยาว
นางสาวเบญจมาศ เขื่อนแก้ว กจ.2/1 เลขที่ 9

Customer Relationship Management: CRM
CRM (Customer Relationship Management) หมายถึง การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า โดยใช้กฎพาเรโต 80 : 20 ในการพิจารณาสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าที่มีเพียง 20 % จากทั้งหมดที่สร้างยอดขายให้บริษัท 80 % เป็นลูกค้าที่องค์กรควรใส่ใจดูแลเป็นอันดับแรก
หลักการสำคัญของ
CRM
1. ปลูกจิตสำนึก
2.
วิเคราะห์ความต้องการเบื้องต้นของลูกค้า
3.
เก็บรวบรวมข้อมูล
4.
จัดทำฐานข้อมูล
กุญแจแห่งความสำเร็จของงานลูกค้าสัมพันธ์ ประกอบด้วยปัจจัยดังนี้ คือ

1.             มีการร่วมมือกันอย่างทุ่มเทในการดำเนินกลยุทธ์ CRM ของบุคลากรทุกระดับในองค์การ

2.             พนักงานทุกระดับ และทุกหน่วยเก็บข้อมูลเพื่อสนับสนุนระบบ CRM อย่างถูกต้อง

3.             CRM จะต้องสอดคล้องกับตัวระบบการให้บริหาร เพื่อให้พนักงาน และลูกค้ามีความสะดวกในการใช้งาน

4.             ใช้ข้อมูลรายงาน CRM ที่จำเป็น และมีการแบ่งปันไปสู่ทีมงาน

5.             การดำเนินกลยุทธ์ CRM นั้นไม่ใช่การมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีราคาแพงเป็นหัวใจสำคัญ SME สามารถใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ ถึงแม้ว่าจะเป็นเทคโนโลยีราคาถูก แต่สามารถใช้ให้เกิดประสิทธิภาพได้ หากเปรียบเทียบกับการนำเทคโนโลยีไฮเทคเข้ามาใช้ แล้วทำให้เกิดความวุ่นวาย และเพิ่มต้นทุนมหาศาล

ประโยชน์ของ CRM คือ
1. มีรายละเอียดข้อมูลของลูกค้าในด้านต่างๆ ได้แก่ Customer Profile, Customer Behavior
2. วางแผนทางด้านการตลาดและการขายอย่างเหมาะสม
3. ใช้กลยุทธ์ในการตลาด และการขายได้อย่างรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพตรงความต้องการของลูกค้า
4. เพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ
5.
ลดการทำงานที่ซับซ้อน ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน เพิ่มโอกาสในการแข่งขันก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์การ
………………………………………………………………………………………………………………..

Enterprise resource planning: ERP

การบริหารทรัพยากรขององค์กร (Enterprise Resource Planning ย่อ ERP) หมายถึง การบริหารจัดการภายในองค์กร เนื่องจากมีการแข่งขันกันที่สูง องค์กรต่างๆจึงต้องมีการพัฒนากระบวนการและข้อมูลทั้งหมด ในองค์กร เพื่อที่จะได้มีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น โดยจะมีการนำอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในโซ่อุปทาน (Supply Chain) โดยเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคโดยตรง โดยการผลิตตามความต้องการของลูกค้า

ERP เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ในการบริหารธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์กร อีกทั้งยังช่วยให้สามารถวางแผนการลงทุนและบริหารทรัพยากรขององค์กรโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ERP จะช่วยทำให้การเชื่อมโยง ทางแนวนอนระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง การผลิต และการขายทำได้อย่างราบรื่น ผ่านข้ามกำแพงระหว่างแผนก และทำให้สามารถบริหารองค์รวมเพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดได้

ประโยชน์ของ ERP ต่อธุรกิจ

ERP มีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ดีขึ้น ผ่านรูปแบบที่ครอบคลุมทั้งทางเทคโนโลยี กลยุทธ์ และข้อกำหนดทางการดำเนินงานของระบบ ERP ในรูปแบบที่ไอทีทำหน้าที่เป็น Back bone ของโครงสร้างพื้นฐานและการรองรับกา อำนวยความสะดวก และติดตามดูแลทรัพยากรที่แตกต่างกันทั่วทั้งองค์กรในระดับที่หลากหลาย จึงมีโอกาสมากสำหรับองค์กรที่ต้องการดึงคุณค่าและศักยภาพทางการแข่งขันจากระบบ  ERP ที่มีอยู่

   เหตุผลหลักสามอย่างที่บริษัทต่างๆ ต้องหันมาให้ความใส่ใจกับระบบ ERP คือ

1.    เพื่ออินทิเกรตข้อมูลทางการเงิน จากเดิมที่แต่ละแผนกอาจจะมีตัวเลขของตัวเอง แต่เมื่อรวมเป็นระบบ  ERP ข้อมูลจะมีอยู่เพียงชุดเดียว

2.    เพื่อสร้างมาตรฐานในกระบวนการผลิต ด้วยระบบคอมพิวเตอร์แบบอินทิเกรตเพียงตัวเดียว

3.    เพื่อสร้างมาตรฐานข้อมูลทรัพยากรบุคคล โดยเฉพาะในบริษัทที่มีหน่วยธุรกิจหลายหน่วย ฝ่ายบุคคลจะมีวิธีการที่ง่ายและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการติดตาม และติดต่อสื่อสารกับพนักงาน

…………………………………………………………………………

Supply Chain Management and Logistic

Supply Chain Management = การจัดการโซ่อุปทาน คือการรวบรวมการวางแผนและการจัดการของกิจกรรมทั้งหมดที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดหา การจัดซื้อ การแปรสภาพ และกิจกรรมการจัดการทั้งหมด ที่สำคัญการจัดการโซ่อุปทานยังรวมถึงการประสานงาน (Coordination)และการทำงานร่วมกัน (Collaboration) กับหุ้นส่วนต่างๆในโซ่อุปทานซึ่งจะเป็นผู้จัดส่งวัตถุดิบ ตัวกลางผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการลอจิสติกส์และลูกค้า แก่นสำคัญ คือการจัดการโซ่อุปทานจะบูรณาการทั้งการจัดการอุปสงค์และอุปทานซึ่งรวมถึงภายในและภายนอกบริษัท

Supply Chain Management มาใช้บริหารงานภายในองค์กร
1)ต้องเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค เพราะเป็นลูกค้าที่ซื้อของเรา
2)จะขายของต้องบอกผู้ที่จะรับซื้อให้ชัดเจน มีการตรวจสอบอย่างใกล้ชิด
3)การกระจายสินค้าออกไปทั่วทุกแห่งนั้น ต้องมีศูนย์การจัดจำหน่ายสินค้าอยู่จุดเดียว และการจัดทำต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อน และเข้าใจคนซื้อของท่านก่อนตลอดจนต้องเข้าใจคนที่จะขายของให้ท่านด้วย

ประโยชน์ของ Supply Chain Management  มีดังนี้

 1. สนองตอบตรงตามความต้องการของลูกค้า

 2. ลดค่าใช้จ่ายอย่างเป็นระบบ

 3.  ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กร

 4.  ติดตามกระบวนการทำงานได้อย่างใกล้ชิด

 5. บริหารสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 6. ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่า

Logistics Management = การจัดการลอจิสติกส์เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการโซ่อุปทานซึ่ง วางแผน นำไปปฏิบัติ และควบคุมการไหลทั้งไปและกลับอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพของสินค้า บริการและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในระหว่างจุดเริ่มต้นและจุดที่มีการบริโภคเพื่อที่จะให้ได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า

 

  • Logistic management เป็นส่วนหนึ่งของ SCM โดยมุ่งเน้นการวางแผน การดำเนินงาน การควบคุม โดยการนำระบบคอมฯหรือเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหาร เช่นธุรกิจ Super Store

ประโยชน์ของ Logistic

  • ลดต้นทุนในการสั่งสินค้า
  • ลดต้นทุนในการเก็บสินค้า
  • ตอบสนองความต้องการผู้บริโภคอย่างเต็มประสิทธิภาพ
  • เพิ่มความสะดวกรวดเร็ว และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
  • สร้างความได้เปรียบในการเพิ่มกำไร เนื่องจากต้นทุนโดยรวมลดลง
  • เพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด และประสิทธิภาพในการผลิต ขนส่งและการบริการลูกค้า

………………………………………………………………………………………………………………

Total Quality Management: TQM

TQM หมายถึง ระบบการทำงานที่เป็นวัฒนธรรมขององค์การที่สมาชิกทุกคนต่างให้ความสำคัญ และมีส่วนร่วม ในการพัฒนาการดำเนินงานขององค์การอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งที่จะตอบสนองความต้องการ และสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้า

วัตถุประสงค์ทั่วไปของ TQM
 1. เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า  
 2. เพื่อพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในกิจกรรมทุกด้าน  
 3. เพื่อความอยู่รอดขององค์กรและสามารถเจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง ภายใต้ภาวการณ์ แข่งขันที่รุนแรง  
 4. เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานทุกคน  
 5. เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น  
 6. เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ประโยชน์ของ TQM
            1. ก่อให้เกิดคุณค่าของสินค้าและบริการเพื่อนำเสนอต่อลูกค้า ซึ่งก็จะได้รับความพึงพอใจและเชื่อมั่นพร้อมทั้งภักดีต่อผลิตภัณฑ์ของเรา
            2. ก่อให้เกิดศักยภาพในการแข่งขันและความได้เปรียบทางธุรกิจ
            3. ช่วยลดต้นทุนในการผลิตและการดำเนินงานในการเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด
            4. เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มผลผลิตเนื่องจากมีการกระจายงานและเอื้ออำนวยให้ทุกกระบวนงานมีความคล่องตัว
…………………………………………………………………………………………………………….

Business Plan
แผนธุรกิจ หมายถึง แนวทางหรือทิศทางการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจ ซึ่งควรประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปของกลุ่ม รายละเอียดกิจการของกลุ่ม แผนการตลาด แผนการจัดองค์การ และแผนการเงิน

สำหรับผู้ประกอบการแล้ว แผนธุรกิจเป็นเอกสารที่มีความสำคัญยิ่งกว่าเอกสารใดๆ ที่เคยมีการรวบรวมมาความสำคัญเหล่านี้ได้แก่

1. แผนธุรกิจสำคัญในฐานะที่จะให้รายละเอียดของการเริ่มต้นธุรกิจ แผนธุรกิจทำให้ผู้ประกอบการมีเป้าหมายที่ชัดเจน กำหนดแนวทางของความคิด และช่วยให้ผู้ประกอบการแน่วแน่ต่อการใช้ทรัพยากรและกำลังความพยายามเพื่อไปสู่เป้าหมาย
2.
แผนธุรกิจสำคัญในฐานะเป็นเครื่องมือที่จะแสวงหาเงินทุนจากผู้ร่วมลงทุน จากกองทุนร่วมลงทุน และจากสถาบันการเงินต่างๆ
3.
แผนธุรกิจสำคัญในฐานะที่เป็นเสมือนพิมพ์เขียวที่ให้รายละเอียดของกิจกรรมต่างๆ ทั้งกิจกรรมในการจัดหาเงินทุน กิจกรรมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กิจกรรมการตลาด และอื่นๆ ในการบริหารกิจการใหม่ แผนธุรกิจยังใช้เพื่อกำหนดการปฏิบัติงานที่ต่อเนื่องในอนาคตของกิจการอีกด้วย

ประโยชน์ คือ
1. เป็นเครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการ
2. เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจมีโอกาสประสบความสำเร็จ
3. ใช้เป็นข้อตกลง
………………………………………………………………………………………………………………

Social Accountability 8000 (SA 8000)
SA 8000 คือมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ โดยอิงหลักเกณฑ์ตามอนุสัญญาขององค์กร

น.ส.วาสนา วังพฤกษ์ กจ.2/1 เลขที่ 19

1.Supply Chain Management and Logistic
ความหมายของ Supply Chain Management and Logistic คือ การจัดการโซ่อุปทาน คือ การรวบรวมการวางแผน และการจัดการของกิจกรรมทั้งหมดที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดหา การจัดซื้อ การแปรสภาพ และกิจกรรมการจัดการทั้งหมด
กระบวนการในการนำไปใช้
1.การจับคู่ทางธุรกิจ
2.การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
3.การบริหารโครงสร้างการเปลี่ยนแปลง
4.การปรับปรุงกระบวนการจัดการให้มีประสิทธิภาพ
5.การเจรจาต่อรองราคา
6.การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้าทางธุรกิจ
การนำ
Supply Chain ไปใช้ในองค์กร
1.กำหนดเป้าหมายกระบวนการที่จะทำการลดต้นทุนและระยะเวลา
2.วางแผนการปฏิบัติ (
Action Plan)
3.อาศัยความร่วมมือภายในหน่วยงาน
4.การให้รางวัล หรือผลตอบแทนให้กับทีมงาน
ประโยชน์
1.สนองตอบตรงตามความต้องการของลูกค้า
2.ลดค่าใช้จ่ายอย่างเป็นระบบ
3.ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กร
4.ติดตามกระบวนการทำงานได้อย่างใกล้ชิด
5.บริหารสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่า
---------------------------------------------------------------------------------------------
2.
Corporate Governance
บรรษัทภิบาลหรือ Corporate Governance คือ หลักในการบริหารจัดการธุรกิจทุกประเภททุกขนาดให้เติบโตอย่างมั่นคง ด้วยการสร้างกลไกควบคุมการดำเนินงานขององค์กร ให้เป็นไปอย่างโปร่งใสและเกิดความเป็นธรรมต่อ ผู้ถือหุ้น คณะกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน คู่ค้า ลูกค้า ตลอดจนรับผิดชอบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม
หลักการในเรื่อง
บรรษัทภิบาลประกอบด้วย
1. การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างถูกต้องและเท่าเทียม ให้ความสำคัญกับผู้ถือหุ้นและควรอำนวยความสะดวกต่างๆเพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถใช้สิทธิของตนได้ตามกฎหมาย
2. ในการดำเนินการใดๆ ต้องคำนึงถึงประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทุกราย ผู้ถือหุ้นอาจเปลี่ยนใจขายหุ้นวันใดวันหนึ่ง แต่พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า หรือแม้แต่ชุมชนที่เราประกอบธุรกิจอยู่ก็มีส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจของเรา
3. บทบาทของคณะกรรมการในฐานะที่เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นทั้งหมดของบริษัท ต้องสอดส่องการดำเนินงานของฝ่ายจัดการ(ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือตัวแทนของผู้ถือหุ้นรายใหญ่)
4. องค์กรควรให้มีคู่มือในการบริหารงานและดำเนินการ เพื่อให้กรรมการ ฝ่ายจัดการพนักงานนำไปยึดเป็นแนวทางในการปฏิบัติ
5. การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส การตัดสินใจทางธุรกิจเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และบ่อยครั้งที่ไม่สามารถชี้ได้ชัดว่าเป็นการตัดสินใจที่ดีหรือไม่
ประโยชน์ของบรรษัทภิบาล
1. เพิ่มโอกาสในการเสาะหาพันธมิตรทางธุรกิจได้ง่ายขึ้นและเป็นพันธมิตรที่มีบรรษัทภิบาลที่ดี
2. เพิ่มศักยภาพในการสร้างสมรรถนะการแข่งขันให้แก่บริษัททั้งในระดับประเทศและระดับโลก
3. เพิ่มโอกาสในการเข้าสู่ตลาดทุนของโลก
----------------------------------------------------------------------------------------
3.
Business Plan (แผนธุรกิจ)
เป็นเอกสารสรุปรวมการวางแผน ซึ่งได้แสดงรายละเอียดอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการพัฒนาและปรับปรุงธุรกิจของธุรกิจที่ดำรงอยู่หรือธุรกิจที่ตั้งเป้าหมาย
การเขียนแผนธุรกิจสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ขั้นตอน
1.เลือกธุรกิจ

2.รวบรวมข้อมูล
3.วิเคราะห์ตลาด วิเคราะห์ธุรกิจ
4.กำหนด
Business Model
5.เริ่มต้นเขียนแผน
ประโยชน์ของ
Business Plan
1.เป็นเครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการ ในการวางแผนการดำเนินธุรกิจ ได้อย่างถูกต้อง
2.เป็นเครื่องมือ ที่ช่วยให้ธุรกิจ มีโอกาสประสบความสำเร็จสูง และลดโอกาสการเกิดความผิดพลาด
3.เป็นเครื่องมือเพื่อขอรับการสนับสนุนทางการเงิน
----------------------------------------------------------------------------------------
4.
Customer Relationship Management (CRM)
ความหมาย Customer Relationship Management คือ พัฒนาและรักษา ความสัมพันธ์ระยะยาว ที่เป็นประโยชน์ร่วมกันระหว่างองค์กรกับลูกค้าที่เป็นเป้าหมายหรือยุทธศาสตร์ทางธุรกิจ (retention of profitable customers)โดยยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ใช้วิธีการหลักผ่านทาง Web based และ internet หรือหมายถึง e-commerce ซึ่งเป็นการดูแลให้บริการลูกค้า แบบหนึ่งต่อหนึ่ง
หลักการและแนวคิดพื้นฐานของ
CRM

1. ฐานข้อมูลของลูกค้าถูกต้องและทันสมัยอยู่เสมอ
2. การมีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องนั้น ประกอบด้วย เทคโนโลยีที่เพิ่มช่องทางให้ลูกค้าสามารถติดต่อกับองค์กรได้
3. การประเมินผล เพื่อให้ทราบว่าองค์กรสามารถรักษาลูกค้าได้มากน้อยเพียงใด โดยกำหนดเกณฑ์ต่าง ๆ
4. การปฏิบัติเพื่อรักษาลูกค้า
กระบวนการทำงานของ
CRM มี 4 ขั้นตอน
1.
Identify : เก็บข้อมูลว่าลูกค้าของบริษัทเป็นใคร
2.
Differentiate :
วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าแต่ละคน และจัดแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มตามคุณค่าที่ลูกค้ามีต่อบริษัท
3.
Interact :
มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อเรียนรู้ความต้องการของลูกค้า
4.
Customize :
นำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีความเหมาะสมเฉพาะตัวกับลูกค้าแต่ละคน
ประโยชน์ของการนำ
CRM มาใช้
1. ช่วยเพิ่มความสามารถในการให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น
2. ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับลูกค้าให้ดีขึ้น
3. สร้างความจงรักภักดี (
Loyalty) ของลูกค้าในระยะยาว
4. เพิ่มยอดขายในระยะยาว
5. สร้าง ประวัติ ชื่อเสียงและภาพพจน์ที่ดีของบริษัท เพราะลูกค้าจะบอกกันปากต่อปากถึงบริการหรือสินค้าที่ดี
6. เพิ่มโอกาสในการเติบโตของธุรกิจ

---------------------------------------------------------------------------------
5.
ERP : Enterprise resource planning

เป็น ระบบการวางแผนทรัพยากรขององค์กร คือระบบที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆขององค์กร โดยเป็นระบบที่เชื่อมโยงระบบงานต่างๆขององค์กรเข้าด้วยกัน เพื่อช่วยให้การวางแผนและบริหารทรัพยากรขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยลดเวลาและขั้นตอนการทำงานอีกด้วย
ลักษณะสำคัญของระบบ
ERP
1.การบูรณาการระบบงานต่างๆ ของระบบ ERP
2.รวมระบบงานแบบ
Real time ของระบบ ERP
3.ระบบ
ERP มีฐานข้อมูล (database) แบบสมุดลงบัญชี
การนำระบบ
ERP มาใช้ในองค์การ
1.การศึกษาและการวางแนวคิด ทำการศึกษาถึงสภาพปัจจุบันขององค์การว่ามีความจำเป็นจะต้องนำERP มาใช้
2.การวางแผนนำระบบมาใช้ จะต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเกี่ยวกับการกำหนดลำดับขั้นตอนของกระบวนการทางธุรกิจใหม่
3.การพัฒนาระบบ พัฒนาระบบที่เหมาะสมกับองค์การ ประกอบไปด้วยการจัดทำแผนโครงการพัฒนาโดยละเอียด กำหนดงานที่จะต้องทำพร้อมทั้งระบุเวลา และเป้าหมายที่จะได้รับ
4.การใช้งานและปรับเพิ่มความสามารถจำเป็นต้องมีการฝึกอบรม และให้การสนับสนุนบุคลากรในการใช้ระบบ ส่งเสริมให้บุคลากรมีความชำนาญในการใช้ระบบ

----------------------------------------------------------------------------------
6.
Total Quality Management
เป็นระบบบริหารคุณภาพที่มุ่งเน้นการให้ความสำคัญสูงสุดต่อลูกค้าภายใต้ความร่วมมือของพนักงานทั่วทั้งองค์กรที่จะปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง ระบบที่มองภาพรวมทั้งองค์กร ระบบนี้ลูกค้าจะเป็นผู้กำหนดมาตรฐานหรือความต้องการ

Total คือ ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมในการบริหารระบบคุณภาพ
Quality คือ การสร้างความพึงพอใจของลูกค้าโดยใช้แนวความคิดเชิงระบบของการจัดการ
Management
คือ ระบบการบริหารจัดการคุณภาพ
ประโยชน์ของ
TQM
1.ก่อให้เกิดคุณค่าของสินค้าและบริการเพื่อนำเสนอต่อลูกค้า
2.ก่อให้เกิดศักยภาพในการแข่งขันและความได้เปรียบทางธุรกิจ
3.ช่วยลดต้นทุนในการผลิตและการดำเนินงานในการเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด
4.เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มผลผลิตเนื่องจากมีการกระจายงาน และเอื้ออำนวยให้ทุกกระบวนงานมีความคล่องตัว
5.ทำให้มีการกำหนดจุดควบคุมที่เหมาะสม เพื่อติดตามผลของการดำเนินงานเป็นระยะ
วงจรการบริหาร
P-D-C-A
P = Planคือ การวางแผนงานจากวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย

D = Do คือ การปฏิบัติตามขั้นตอนในแผนงานที่ได้เขียนไว้อย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง
C = Check คือ การตรวจสอบผลการดำเนินงานในแต่ล่ะขั้นตอนของ แผนงานว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น
A = Action คือ การปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา
นำ
PDCA ไปใช้
(P) นำไปปฏิบัติ
(
D) ระหว่างการปฏิบัติก็ดำเนินการตรวจสอบ
(
C) พบปัญหาก็ทำการแก้ไขหรือปรับปรุง
(
A) การปรับปรุงก็เริ่มจากการวางแผนก่อนวนไปได้เรื่อยๆ จึงเรียก วงจร PDCA
----------------------------------------------------------------------------------------
7. SOCIAL ACCOUNTABILITY 8000 (SA 8000)
ความหมาย
SOCIAL ACCOUNTABILITY 8000 (SA 8000) เป็นมาตรฐาน SA 8000 เป็นมาตรฐานที่กำหนดให้ผู้ประกอบ การแสดงออกถึงความรับผิดชอบทางสังคมในเรื่องสิทธิแรงงาน ซึ่งรวมถึงเรื่องแรงงานเด็ก แรงงานบังคับ ความปลอดภัย และสุขภาพอนามัยในสถานที่ทำงาน เป็นต้น
ประโยชน์
SA 8000
1. สร้างภาพลักษณ์ของบริษัทให้เป็นที่ยอมรับในสายตาผู้บริโภค
2. ปรับปรุงสภาพการทำงานให้เหมาะสม
3. สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อสังคม
4. ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในตัวสินค้าและบริการและมีความภักดีต่อองค์กร
5. มีช่องทางการตลาดใหม่
6. มีโอกาสในการเลือกแรงงานที่มีคุณภาพ
7. ลดขั้นตอนและต้นทุนในการตรวจสอบ
8. การป้องกันการกีดกั้นด้านการค้า
9. เพิ่มโอกาสทางการค้าโดยวาง
Product Position ใหม่
การนำไปใช้
(
SA 8000) กำหนดให้บริษัทต้องปฏิบัติตามกฎหมายภายในประเทศ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ รวมทั้งข้อกำหนดอื่น ๆ ที่บริษัทเป็นสมาชิก และที่กำหนดไว้ในมาตรฐานนี้
------------------------------------------------------------------------------------------------

8. ISO 26000 Social Responsibility
ISO 26000 Social Responsibility เป็นมาตรฐานการแสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบของสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืนทางธุรกิจ
หลักการประยุกต์ใช้ในธุรกิจสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้น
ขั้นแรก เป็นการปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด
ขั้นที่สอง เน้นในเรื่องประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
ขั้นที่สาม เป็นเรื่องจรรยาบรรณทางธุรกิจ
ขั้นที่สี่ เป็นการดำเนินการขององค์กรตามเเนวทาง
CSR ด้วยความสมัครใจ
หลักการของความรับผิดชอบต่อสังคมประกอบด้วย 7 หลักการ
1. มีความรับผิดชอบ (
Accountability)
2. มีความโปร่งใส (
Transparency)
3. มีจริยธรรม (Ethical)
4. ให้ความสำคัญกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (
Respect for and considering of stakeholder interests)
5. เคารพต่อหลักนิติธรรม (Respect for rule of law)
6. ยอมรับในมาตรฐานสากล (
Respect for international norms)
7. เคารพต่อสิทธิมนุษยชน (
Respect for human rights) และยอมรับในความสำคัญและความเท่าเทียมกัน
ประโยชน์ของ
ISO 26000
1.ช่วยให้การตัดสินใจเป็นไปด้วยความรอบคอบ โดยมีความเข้าใจต่อความคาดหวังของสังคม โอกาสต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ SR ความเสี่ยงต่าง ๆ หากไม่มี SR
2.ปรับปรุงแนวปฏิบัติต่อการบริหารความเสี่ยง
3.ช่วยสร้างเสริมชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือขององค์กรต่อสาธารณะชนความจงรักภักดี ขวัญ และกำลังใจของลูกจ้าง
4.ป้องกันและลดความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคเกี่ยวกับสินค้าและการบริการ
5.การประหยัด อันเป็นผลมาจาก การเพิ่มผลผลิต และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
6.ช่วยสนับสนุนการคงอยู่ขององค์กรในระยะยาว
----------------------------------------------------------------------------------------------

 

นางสาวภาวนา สุนันตา เลขที่ 15 กจ.2/1

สรุปเครื่องมือการบริหารการจัดการ

1.Supply Chain Management

Supply Chain Management การจัดการโซ่อุปทาน คือการรวบรวมการวางแผนและการ

จัดการของกิจกรรมทั้งหมดที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดหา การจัดซื้อ การแปรสภาพ และกิจกรรมการจัดการทั้งหมดการจัดการโซ่อุปทาน คือการรวบรวมการวางแผนและการ

จัดการของกิจกรรมทั้งหมดที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดหา การจัดซื้อ การแปรสภาพ และกิจกรรมการจัดการทั้งหมด

ประโยชน์ของ Supply Chain Management

-สนองตอบตามความต้องการความต้องการของลูกค้า

-ลดค่าใช้จ่ายอย่างเป็นระบบ

-ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กร

-ติดตามกระบวนการทำงานได้อย่างใกล้ชิด

Logistics ลอจิสติกส์ เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับช่องทางการจัดจำหน่าย เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการจากผู้ผลิตไปถึงมือผู้บริโภค รวมทั้งขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ และการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง

Logistics คือ การนำสินค้าและบริการที่ลูกค้าต้องการไปยังสถานที่ที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม สร้างความพอใจสูงสุดให้ลูกค้า โดยที่กิจการจะได้รับผลกำไร หรือประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ของ Logistics

-ลดต้นทุนในการสั่งซื้อสินค้า

-ลดต้นทุนในการเก็บสินค้า

-ตอบสนองความต้องการของผู้ปริโภคอย่างเต็มประสิทธิภาพ

2.Business Plan

Business Plan คือแผนการดำเนินงานของธุรกิจ หรือโครงการหนึ่งๆ ที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจทั้งในระยะสั้น 1 – 3 ปี และในระยะยาว 3 – 5 ปี อันประกอบไปด้วยการวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อธุรกิจทั้งทางด้านมหภาค (Macro Analysis) และจุลภาค (Micro Analysis)

ประโยชน์ของ Business Plan

-เพื่อวิเคราะห์ธุรกิจหรือกิจการและด้านต่างๆ ของโครงการ

-เพื่อประเมินความเป็นไปได้ของโครงการ

-สามารถใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินธุรกิจ

-สามารถนำไปเป็นแนวทางการพัฒนาธุรกิจในอนาคต

3.Corporate Governance (บรรษัทภิบาล)

Corporate Governance หมายถึง การบริหารจัดการธุรกิจที่เป็นธรรมและโปร่งใส โดยผู้มีอำนาจบริหารจัดการธุรกิจนั้น ๆ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และผลการกระทำของตนต่อ

ผู้มีส่วนได้เสียกับบริษัท (Stakeholders) ทุกราย

ประโยชน์ของ Corporate Governance

-เพื่อเป็นกลไกตรวจสอบซึ่งกันและกันระหว่างผู้มีอำนาจสำคัญ ๆ ในธุรกิจหรือบริษัท

-เพื่อไม่ให้เกิดการคอรัปชั่นของผู้มีอำนาจทั้งทางการเมืองและวงการธุรกิจ

-เพื่อไม่ให้เกิดความบกพร่องของระบบกำกับดูแลกิจการ มีการตรวจสอบ

4.Customer Relationship Management: CRM (การบริหารลูกค้าสัมพันธ์)

CRM เป็นทั้งกลยุทธ์และเครื่องมือขององค์การ และของพนักงานในองค์การที่จะในการให้บริการแก่ลูกค้า ซึ่งกลยุทธ์ไม่ได้หมายความถึงเทคโนโลยีที่มีราคาแพง องค์การไม่จำเป็นต้องพึ่งเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยเกินไป

CRM หมายถึง วิธีการในการสร้าง การรักษา และความพยายามในการดึง Customer Value ออกมา และสร้างเป็นคุณค่าระยะยาว Life time Customer Value ดังนั้น CRM จึงเป็นเรื่องของการเรียนรู้ที่จะสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า

ประโยชน์ของ CRM

-เพื่อให้องค์การสามารถสร้างและรักษาความจงรักภักดีของลูกค้าที่มีต่อองค์การ

-สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้

-เพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจสูงสุดต่อองค์การ

5.Enterprise Resource Planning ย่อ ERP (การบริหารทรัพยากรขององค์กร)

Enterprise Resource Planning ย่อ ERP (การบริหารทรัพยากรขององค์กร) หมายถึง การบริหารจัดการภายในองค์กร เนื่องจากมีการแข่งขันกันที่สูง องค์กรต่างๆจึงต้องมีการพัฒนากระบวนการและข้อมูลทั้งหมด ในองค์กร เพื่อที่จะได้มีศักยภาพในการแข่งขัน

ประโยชน์ของ Enterprise Resource Planning

-มุ่งเน้นที่จะปรับปรุงระบบการดำเนินงาน

-พัฒนาบุคลากรขององค์กร เพื่อให้องค์กรมีขีดความสามารถในการแข่งขัน

-ผสานกลยุทธ์ทางธุรกิจ เทคโนโลยี และบุคลากรเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงาน

6.Total Quality Management: TQM (การบริหารคุณภาพโดยรวม)

TQM เป็นการจัดระบบและวินัยในการทำงานเพื่อป้องกันความผิดพลาดเสียหาย และมุ่งสร้างคุณค่าในกระบวนการทำงานทุก ๆ ขั้นตอน โดยที่ทุกคนในองค์การต้องมีส่วนร่วม

ความหมายของ TQM มีความหมายเป็นพลวัต มีพัฒนาการ เป็นวัฒนธรรมขององค์การที่สมาชิกทุกคนต่างให้ความสำคัญ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาการดำเนินงานขององค์การอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งที่จะตอบสนองความต้องการ และสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้า ซึ่งจะสร้างโอกาสทางธุรกิจ ความได้เปรียบในการแข่งขัน และพัฒนาการที่ยั่งยืนขององค์การ

ประโยชน์ของ TQM

-ช่วยให้ผู้บริหารและองค์การสามารถรู้ปัญหาของลูกค้า และความต้องการที่แท้จริงของตลาด

-ลดการสูญเสียและการสูญเปล่าในการดำเนินงาน และการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ

-พัฒนาระบบ ขั้นตอน และการจัดเก็บข้อมูลการทำงานให้มีประสิทธิภาพ

7.Social Accountability 8000 : SA 8000

SA 8000 เป็นระบบมาตรฐานสากลที่ให้ความสำคัญกับสิทธิ ขั้นพื้นฐานของแรงงาน เป็นระบบมาตรฐานสากลที่ใช้ได้กับทุกธุรกิจ อุตสาหกรรมการผลิต หรือ การบริการ โดยไม่คำนึงถึง ขนาด สถานที่ เทคโนโลยีในการผลิต และความซับซ้อนขององค์กร

ประโยชน์ของ SA 8000

-สร้างภาพลักษณ์ของบริษัทให้เป็นที่ยอมรับในสังคมโดยเฉพาะในสายตาของผู้บริโภค

-ทำให้แรงงานมีความจงรักภักดีต่อองค์กร ประสิทธิภาพในการทำงานของแรงงานเพิ่มขึ้นและนำไป สู่การเพิ่มผลผลิตในที่สุด

-ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในตัวสินค้าและบริการและมีความภักดีต่อองค์กร

8.ISO 26000 Social Responsibility

ISO 26000 Social Responsibility เป็นมาตรฐานการแสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบของสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืนทางธุรกิจ

ประโยชน์ของ ISO 26000 Social Responsibility

-เพื่อให้เกิดความสันติและการสานสัมพันธ์อันดีในการอยู่ร่วมกันในสังคม

-ตระหนักและสร้างความเข้าใจในเรื่องของความรับผิดชอบต่อสังคม

-ลดปัญหาและผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างชุมชนและสังคมให้เข้มแข็ง

นางสาวเสาวนีย์ มีสอน เลขที่ 26 กจ. 2/1

สรุป เครื่องมือการบริหารการจัดการ

1. Supply Chain Management and Logistic

หลักการ Supply Chain Management and Logistic เป็นสิ่งที่คู่กันเสมอ และสนับสนุนกันแม้จะมีความแตกต่างกัน

ความหมาย Supply Chain Management and Logistic หมายถึง กระบวนการโดยรวมของการไหลของวัสดุ สินค้า ตลอดจนข้อมูลและธุรกรรมต่างๆ ผ่านองค์กรที่เป็นผู้ส่งมอบ

ประโยชน์ 1. ลดค่าใช้จ่ายอย่างเป็นระบบ

2. บริหารสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่า

Logistic หมายถึง กระบวนการวางแผนการดำเนินงาน และการควบคุมการเคลื่อนย้ายทั้งไปและกลับ อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล

ประโยชน์ 1. สร้างความได้เปรียบในการเพิ่มกำไร

2. เพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด และประสิทธิภาพในการผลิต การขนส่งและบริการ

3. เพิ่มความสะดวกรวดเร็ว และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

2. Corporate Governance

หลักการ วิถีแห่งการดำรงอยู่ของบริษัทหรือธุรกิจเอกชนและแนวทางหรือวิถีแห่งการปฏิบัติตนของคนในบริษัท หรือธุรกิจเอกชนเพื่อไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ คือ การเติบโตที่ยั่งยืน อย่างมีจริยธรรมและคุณธรรม10

ความหมาย - เป็นความสัมพันธ์อย่างหนึ่งระหว่างคณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ และผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียอื่นในการ กำหนดทิศทาง และสอดส่องดูแลผลปฏิบัติงาน ของบริษัท

-เป็นโครงสร้างและกระบวนการภายในที่จัดขึ้น เพื่อให้ความมั่นใจว่า คณะกรรมการสามารถประเมินผลงาน ของฝ่ายจัดการของบริษัทอย่างตรงไปตรงมา และมีประสิทธิผล

-ระบบที่จัดให้มีกระบวนการและโครงสร้างของภาวะผู้นำ และการควบคุมของกิจการ ให้มีความรับผิดชอบตามหน้าที่ด้วยความโปร่งใส และสร้างความสามารถในการ แข่งขันเพื่อรักษาเงินลงทุน และเพิ่มคุณค่าให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาว ภายในกรอบการมีจริยธรรมที่ดีโดย คำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น และสังคมโดยรวม

ประโยชน์ 1.ทำให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในการดำเนินงาน

2.ทำให้บริษัทมีความสามารถในการแข่งขัน

3.เพิ่มความเชื่อมั่นแก่ผู้เกี่ยวข้อง

4.สร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผู้ถือหุ้น

3. Business Plan

หลักการ การทำแผนธุรกิจต้องมีการวางแผนเพื่อให้ทราบเป้าหมายและหาวิธีการที่จะบรรลุเป้าหมายนั้นๆ

ความหมาย เป็นแบบที่กำหนดเพื่อการจัดสรรทรัพยากร หรือตารางการปฏิบัติงานและกิจกรรมที่สำคัญอื่นๆ โดยมุ่งไปสู่การบรรลุเป้าหมาย การวางแผน แผนธุรกิจแสดงความเป็นไปได้ของธุรกิจ การจัดหาเงินทุน และการดำเนินงานในอนาคต

ประโยชน์ 1. เพื่อประเมินความเป็นไปได้ของโครงการต่างๆ ว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด

2. เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนธุรกิจหรือกิจการ

3. เพื่อจัดหาเงินทุนในการทำแผนหรือโครงการ

4. Customer Relationship Management (CRM)

หลักการ 1. มีฟังก์ชันการทำงานบางอย่างที่ระบบ CRM ต้องใช้ซอฟต์แวร์ในการดำเนินงาน

2. การนำระบบ CRM มาใช้ให้ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องมีทั้งการวางแผนที่ดีและการวางระบบที่เหมาะสม

Customer Relationship Management คือ การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า

ประโยชน์ 1.ช่วยเพิ่มความสามารถในการบริการลูกค้า

2.ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้า

3.ช่วยให้บริษัทรู้ความสนใจ ความต้องการ และพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า

4.ทำให้บริษัทสามารถนำเสนอสินค้าที่เหมาะสมกับลูกค้kได้

5. Enterprise Resource Planning (ERP)

หลักการเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ในการบริหารธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์กร อีกทั้งยังช่วยให้สามารถวางแผนการลงทุนและบริหารทรัพยากรขององค์กรโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความหมาย การวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดของทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร

ประโยชน์ 1. เป็นระบบที่สามารถรวบรวมข้อมูลแก่ผู้บริหาร

2. ช่วยเชื่อมโยงระบบงานต่างๆ

3. ช่วยให้ง่ายต่อการประสานงาน รวดเร็ว

6. Total Quality Management (TQM)

หลักการ การบรรลุถึงคุณภาพโดยรวม ด้วยการที่ทุกคนในองค์กรยึดมั่นผูกพันและปฏิบัติตาม

ความหมาย เป็นระบบที่มุ่งการปรับปรุง วางแผน ลูกค้าเป็นผู้กำหนดการสร้างความพึงพอใจแก่ ลูกค้า พัฒนาปรับปรุงคุณภาพ แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ประโยชน์ 1. ก่อให้เกิดคุณค่าของสินค้าและบริการ

2. ก่อให้เกิดศักยภาพ

3. เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มผลผลิต

7. SA 8000 Social Accountability

หลักการ SA 8000 เป็นระบบการจัดการ โดยเน้นระบบการปรับปรุงสภาพการจ้างงานและการปรับปรุง

ความหมาย SA 8000 คือ มาตรฐานระหว่างประเทศในเรื่องความรับผิดชอบทางสังคมสำหรับหน่วยผลิตต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดมาตรฐานการจ้างแรงงานให้สอดคล้องกันทั่วโลก

ประโยชน์ 1. การป้องกันการกีดกันด้านการค้า

2. ปรับปรุงสภาพการจ้างงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย

3. ปรับปรุงสภาพการทำงานให้เหมาะสม

4. เพิ่มโอกาสทางการค้าโดยวาง Product Position ใหม่

8. ISO 26000 Social Responsibility

หลัก 7 ประการ 1.หลักการปฏิบัติตามกฎหมาย

2.หลักการเคารพต่อแนวปฏิบัติระดับชาติหรือระดับสากล

3.หลักการให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

4.หลักของการแสดงรับผิดชอบที่สามารถตรวจสอบได้

5.หลักการความโปร่งใส

6.หลักการความเคารพในสิทธิมนุษยชน

7.หลักการความเคารพในความหลากหลาย

ความหมาย ความรับผิดชอบขององค์กรสำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจและการดำเนินงานต่อด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยอยู่บนพื้นฐานของความโปร่งใสและคุณธรรม/จริยธรรม

ประโยชน์ 1. สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน และความสมบูรณ์มั่งคั่งของสังคม

2. การตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

3. ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงแนวปฏิบัติระดับสากล

4. ผสานเข้าเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินธุรกิจ

 

สรุป

เครื่องมือในสัปดาห์ที่ 2

Supply Chain Management

ระบบที่จัดการการบริหารและเชื่อมโยงเครือข่ายตั้งแต่ suppliers, manufacturers, distributors เพื่อส่งมอบสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้า โดยมีการเชื่อมโยงระบบข้อมูล วัตถุดิบ สินค้าและบริการ เงินทุน รวมถึงการส่งมอบเข้าด้วยกันเพื่อให้การส่งมอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถส่งมอบได้ตรงตามเวลาและความต้องการ

ปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้น

สินค้าคงคลังมีจำนวนมาก ทำให้ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้าและพื้นที่ในการจัดเก็บ Product design ไม่ดี ไม่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพต่ำ ไม่ตรงตามความต้องการของลูกค้า

การปฏิบัติการที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำงานไม่สอดคล้องกันทำให้เกิดความล่าช้าในบางกระบวนการ

การส่งมอบที่ช้า ใช้เวลานานในการขนส่ง และขาดความน่าเชื่อถือ เพราะไม่สามารถส่งมอบ
ได้ตามที่สัญญาไว้ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนาของตลาดของคู่แข่ง

สาเหตุของปัญหา

ขาดข้อมูลที่จำเป็นที่ต้องใช้

ข้อมูลที่มีขาดความน่าเชื่อถือ

ระบบการวางแผนไม่ประสานกัน

การตัดสินใจที่ไม่ถูกต้อง

กลัวความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ไม่มีวินัยในการทำงาน

ผลที่เกิดขึ้น

ต้นทุนสินค้าสูงขึ้น อันเนื่องมาจากต้นทุนในแต่ละกระบวนการสูง

คุณภาพของสินค้าหรือบริการมีคุณภาพต่ำ

บริการที่ให้แก่ลูกค้าไม่เป็นที่น่าประทับใจและไม่น่าเชื่อถือ ทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อลูกค้า

ยอดขายตกลง

กำไรลดลงหรือขาดทุนเพิ่มขึ้น

แนวทางการแก้ปัญหา

การทำ Maximize customer valuesคือ การสร้างระบบที่เน้นการออกแบบและการผลิต โดยที่สินค้าหรือบริการที่ออกมานั้นมีคุณภาพสูง สามารถตอบโจทย์และสนองความต้องการของลูกค้าได้ เช่น การออกแบบการส่งมอบสินค้าหรือบริการ เพื่อให้ส่งมอบได้เร็วและทันเวลาตามที่สัญญาไว้กับลูกค้า การทำ Minimize costs คือ การลดต้นทุนของสินค้า โดยการสร้างระบบให้มีประสิทธิภาพสูงและกำจัดอะไรก็ตามที่ไม่จำเป็นหรือไม่เกี่ยวข้องในแต่ละกระบวนการในการสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้าออกไปเพื่อให้ต้นทุนในแต่ละกระบวนการ นั้นต่ำลง

Corporate Governance

การบริหารจัดการธุรกิจที่เป็นธรรมและโปร่งใส โดยผู้มีอำนาจบริหารจัดการธุรกิจนั้น ๆ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และผลการกระทำของตนต่อผู้มีส่วนได้เสียกับบริษัท (Stakeholders) ทุกรายรวมถึงผู้ที่ถือหุ้น เจ้าหนี้ พนักงาน รัฐ ลูกค้าตลอดจน ประชาชนทั่วไป คณะกรรมการ มีหน้าที่ตรวจตรา การบริหารงานของผู้บริหาร ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และนโยบายของบริษัท ในขณะที่ผู้บริหารงานมีหน้าที่ในการบริหารธุรกิจเพื่อที่จะสร้างผลกำไรให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกรายโดยไม่เลือกปฏิบัติระหว่างผู้ถือหุ้นรายใหญ่และรายย่อย ทั้งกรรมการและผู้บริหารมีความรับผิดชอบร่วมกันที่จะชดใช้หนี้ให้แก่เจ้าหนี้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา จ่ายภาษีให้แก่รัฐ ปฏิบัติตามกฎระเบียบในการประกอบธุรกิจต่าง ๆ ของรัฐ นอกจากนี้แล้วยังมีความรับผิดชอบต่อพนักงานให้มีความเป็นอยู่ที่ดี ต่อลูกค้าให้ได้รับสินค้าที่มีคุณภาพ หรือมีบริการที่ดี ตลอดจนประชาชนให้ได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี

แนวคิดพื้นฐานของการบริหารบรรษัทภิบาล

สาเหตุสำคัญประการหนึ่ง คือ การคอรัปชั่นของผู้มีอำนาจทั้งทางการเมืองและวงการธุรกิจ ซึ่งนำไปสู่ความล่มสลายของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย ดังนั้นเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชียจึงเกิดกระแสเรียกร้องความโปร่งใสในการทำธุรกิจกันมากขึ้น เพื่อเรียกความเชื่อถือเชื่อมั่นจากนักลงทุนต่างประเทศที่จะเข้ามาลงทุนเพื่อให้เกิดการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ จึงเกิดความตื่นตัวในเรื่องของบรรษัทภิบาลขึ้นมาการตระหนักถืงเรื่องบรรษัทภิบาลไม่ได้เป็นที่ตื่นตัวเฉพาะในประเทศไทยหรือภูมิภาคเอเชียเท่านั้น แต่ประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจอย่างประเทศในแถบตะวันตก ก็ให้ความสำคัญกับบรรษัทภิบาลเช่นกัน อีกทั้งยังมีการตื่นตัวและพูดถึงเรื่องนี้กันมานานแล้ว เนื่องจากเคยมีบทเรียนความเสียหายทางธุรกิจ ที่เกิดจากความไร้ประสิทธิภาพของกลไกตรวจสอบการทำงานของผู้มีอำนาจในองค์กรมาแล้ว ซึ่งบทเรียนความเสียหายเหล่านั้นเป็นจุดเริ่มต้นของบรรษัทภิบาลในประเทศเหล่านั้น

 

 

Business Plan

เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับผู้ประกอบการที่ริเริ่มจะก่อตั้งกิจการ แผนนี้เป็นผลสรุปหรือผลรวมแห่งกระบวนการคิดพิจารณา และการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนความคิดของผู้ประกอบการออกมาเป็นโอกาสทางธุรกิจ มีผู้เปรียบเทียบว่าแผนธุรกิจเปรียบเหมือนแผนที่ในการเดินทาง ที่จะชี้แนะขั้นตอนต่างๆ ทีละขั้นตอนในกระบวนการก่อตั้งกิจการ แผนจะให้รายละเอียดต่างๆ ทั้งเรื่องของการตลาดการแข่งขันกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ การคาดคะเนทางการเงิน ที่จะชี้นำผู้ประกอบการไปสู่ความสำเร็จหรือชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนและข้อควรระวังด้วยเช่นกัน

องค์ประกอบของแผนธุรกิจ

 1. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

2. ประวัติโดยย่อของกิจการ

3. การวิเคราะห์สถานการณ์

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมายทางธุรกิจ

5. แผนการตลาด

6. แผนการจัดการและแผนกำลังคน

7. แผนการผลิต/ปฏิบัติการ

8. แผนการเงิน

9. แผนการดำเนินงาน

10. แผนฉุกเฉิน

 

 

Customer Relation Management (CRM)

การเชื่อมต่อกับลูกค้า สามารถทำได้โดยการใช้เครื่องหมายการค้า ใช้พนักงาน การเสนอคุณค่า และใช้การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ เป็นสายโซ่อุปทานแบบ Pull supply chain ที่พยายามเชื่อมโยงสารสนเทศของลูกค้ากับกระบวนการทางการผลิตต้นน้ำ CRM จะบูรณาการระบบดั้งเดิมที่อยู่แยกกันให้เข้ามารวมกันได้แก่ การจัดการด้านการตลาด การขายและการบริการลูกค้า

                การจัดการลูกค้าสัมพันธ์  (CRM) และการจัดการตลาด (Marketing Management หรือ MM) จะขึ้นอยู่กับสินค้า ราคา และการส่งเสริมการขาย การตลาดในเศรษฐกิจแบบโลกาภิวัฒน์จะขึ้นอยู่กับสินค้าหลากหลายชนิดและการจัดจำหน่ายหลายช่องทาง  ดังนั้นจึงต้องการเครื่องมือที่ดีขึ้น เนื่องจากลูกค้าเป็นตัวผลักดันทางการตลาดจึงต้องมีการรวบรวม และวิเคราะห์ตลาด

                การจัดการตลาดประกอบด้วยเครื่องมือที่สำคัญคือการเข้าถึงข้อมูลทั้งจากภายในและอินเทอร์เน็ต แล้วนำมาทำตัวแบบวิเคราะห์ข้อมูลและข่าวกรองทางธุรกิจ รวมทั้งใช้ระบบการวิเคราะห์การประมวลผลรายการแบบออนไลน์ (ระบบ OLTP) เพื่อสกัดสารสนเทศที่มีคุณค่า และเพื่อใช้ในการ สอบทาน

                การจัดการลูกค้าสัมพันธ์  (CRM) และการสนับสนุนตัวแทนขาย (Support of Sales Representatives หรือ  SFA) เป็นการนำเสนอข้อมูลทางการตลาด ราคา และข่าวกรองทางธุรกิจออนไลน์ การให้ข้อมูล กับลูกค้าที่รวบรวมจากแหล่งต่างๆ การจัดแยกลูกค้า การแจ้งให้ทราบถึงสินค้าที่มีอยู่และการสั่งซื้อได้ ณ เวลาปัจจุบัน พัฒนาเครื่องมือสำหรับจับแนวโน้มของลูกค้าและยอดขาย สร้างเครือข่ายขึ้นอยู่กับการส่งเสริมการขายและการกระจายข้อมูลให้ลูกค้า

การใช้ระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์  (CRM)และการสนับสนุนตัวแทนขาย (Support of Sales Representatives หรือ  SFA) สามารถควบคุมปัจจัยการนำเข้าและการติดตามสารสนเทศ พัฒนาตัวแทนเพื่อให้ได้รับข่าวหรือสารสนเทศของคู่แข่งสำหรับการกระจายการขายและการจัดการ

                การจัดการลูกค้าสัมพันธ์  (CRM) และการบริการและสนับสนุนลูกค้า (Customer Service and Support หรือ  CSS) มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดต้นทุนในการสนับสนุนลูกค้า สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทั่วโลก สร้างการให้บริการเชิงรุก มอบอำนาจให้ลูกค้าสามารถแก้ปัญหาได้อย่างอิสระ สร้างโอกาสให้ลูกค้า เพื่อเข้าสู่กระบวนทางธุรกิจ สำหรับการบริการในขั้นสูงได้แก่ การเชื่อมสารสนเทศการขายเข้ากับหมายเลขประจำตัวของลูกค้าเพื่อให้สามารถสนับสนุนการขายผ่านระบบ helpdesk ใช้ระบบ workflow เพื่อติดตามประเด็นการแก้ไขปัญหาของลูกค้าสำหรับแผนกงานที่เกี่ยวข้อง การรายงานปัญหาเข้าสู่ระบบวิจัยและพัฒนาเพื่อหาทางแก้ไข หรือดำเนินการ ใช้การติดตามข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาเพื่อจัดการให้มีการบริการ ส่วนบุคคล (Spring 2003)การจัดการความรู้ของลูกค้า (Customer Knowledge Management หรือ CKM) เป็นประเด็นใหม่ที่มีการกล่าวถึงนอกเหนือจากการจัดการลูกค้าสัมพันธ์  องค์ประกอบหลักของการจัดการความรู้ของลูกค้า (CKM) ได้แก่ หน่วยความรู้ ชนิดของความรู้ กระบวนการความรู้และการประยุกต์ใช้ความรู้ หน่วยความรู้คือแหล่งที่มาของความรู้ที่เกี่ยวกับลูกค้า ธุรกิจสามารถค้นหาความรู้ของลูกค้าได้จาก การทำตลาด ช่องทางการตลาด ส่วนแบ่งการตลาด หน่วยงานที่จัดซื้อ ตัวลูกค้าเองรวมทั้งบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้า สำหรับชนิดของความรู้ที่ธุรกิจต้องการ จะหาได้โดยใช้การสังเกต การสนทนา ซึ่งเมื่อประกอบกับข้อมูลอื่นๆ รวมทั้งการวิเคราะห์สังเคราะห์ ธุรกิจก็สามารถนำมาทำนายหรือคาดคะเนได้ กระบวนการความรู้สามารถทำได้โดยการสร้าง การจับ รวบรวม ประมวล การจัดหมวดหมู่ การแบ่งปัน การถ่ายโอน การประยุกต์ใช้ และการยกระดับองค์ความรู้ ความรู้ที่ได้จากลูกค้าจะถูกนำมาประยุกต์ใช้ในสองแนวทางหลักได้แก่ การประยุกต์ใช้กับวงจรชีวิตของลูกค้าและกระบวนการทางการตลาด การประยุกต์ใช้ความรู้ของลูกค้าจะทำให้ธุรกิจสามารถตอบสนองความต้องการ และสร้างคุณค่าให้กับลูกค้าได้มากขึ้นอันจะนำมาซึ่งความภักดี การซื้อซ้ำ หรือการชักชวนให้บุคคลอื่นเข้ามาเป็นลูกค้า

ERP

                       ERP   ย่อมาจาก  Enterprise  Resource  Planning  หมายถึง  การวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดของทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร

                       ERP จึงเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ในการบริหารธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์กร อีกทั้งยังช่วยให้สามารถวางแผนการลงทุนและบริหารทรัพยากรขององค์กรโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ      ERP จะช่วยทำให้การเชื่อมโยงทางแนวนอนระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง การผลิต และการขายทำได้อย่างราบรื่น ผ่านข้ามกำแพงระหว่างแผนก และทำให้สามารถบริหารองค์รวมเพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด

                       ระบบ ERP เป็นระบบสารสนเทศขององค์กรที่นำแนวคิดและวิธีการบริหารของ ERP มาทำให้เกิดเป็นระบบเชิงปฏิบัติในองค์กร ระบบ ERP สามารถบูรณาการ (integrate)รวมงานหลัก (core business process) ต่างๆ ในบริษัททั้งหมด ได้แก่ การจัดจ้าง การผลิต การขาย การบัญชี และการบริหารบุคคล เข้าด้วยกันเป็นระบบที่สัมพันธ์กันและสามารถเชื่อมโยงกันอย่าง real time 

TQM

                T  =  TOTAL (ทั้งหมดทุกคน/เบ็ดเสร็จ)

                                ทุกคนที่เกี่ยวข้องในองค์กร(อาจรวมถึงลูกค้าและผู้ส่งมอบด้วย)

                Q  =  QUALITY(คุณภาพ)

                                การทำได้ตรงความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง

                M  =  MANAGEMENT(ฝ่ายบริหาร)

                                ผู้บริหารระดับสูงยึดมั่นผูกพันอย่างแท้จริง

ความหมายของ TQM

                คุณภาพ (QUALITY)

                                การทำได้ตามข้อกำหนดอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

                                - ทำให้ลูกค้าพอใจ

                                - ทำให้ลูกค้าสุขใจ

                                - ทำให้มากกว่าที่ลูกค้าพอใจ เกินความคาดหวังของลูกค้า

                คุณภาพโดยรวม (TOTAL QUALITY)          

                                - การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพิ่มระดับความพอใจของลูกค้าให้สูงขึ้น

                                 ปรับปรุงเพื่อยอดขายขององค์กรในเวลาเดียวกันด้วย

 

SA 8000

SA 8000 หรือ Social Accountability 8000 เป็นระบบมาตรฐานสากลที่ให้ความสำคัญกับสิทธิ ขั้นพื้นฐานของแรงงาน ซึ่งเหมือนกับระบบ ISO 9000 ที่เป็นมาตรฐานสากลสำหรับระบบคุณภาพ อันเกี่ยวกับการจัดการด้านคุณภาพและการประกันคุณภาพ และ ISO 14000 ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม SA 8000 เป็นระบบมาตรฐานสากลที่ใช้ได้กับทุกธุรกิจ อุตสาหกรรมการผลิต หรือ การบริการ โดยไม่คำนึงถึง ขนาด สถานที่ เทคโนโลยีในการผลิต และความซับซ้อนขององค์กร

ข้อกำหนดเบื้องต้น

ระบบมาตรฐาน SA 8000 ได้กำหนดข้อกำหนดเบื้องต้นไว้ 8 ข้อ

1.       การใช้แรงงานเด็ก (Child Labour) โดยห้ามว่าจ้างแรงงานเด็ก หรือแรงงานที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี หรือ แรงงานเด็กที่มีอายุต่ำกว่าที่กฎหมายของประเทศนั้นๆ กำหนด

2.       การบังคับการใช้แรงงาน (Forced Labour) ห้ามมีการกักขังหน่วงเหนี่ยวโดยใช้เอกสารสัญญาหรือการกักขังบริเวณ

3.       สุขลักษณะและความปลอดภัย (Health and Safety) ต้องมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี มีระบบความปลอดภัย น้ำดื่มที่สะอาด ตลอดจนระบบการรักษาพยาบาลเบื้องต้นในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน หรือ อุบัติเหตุที่เกิดจากการทำงาน

4.       สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเจรจาต่อรองในรูปของการรวมกลุ่ม (Freedom of association and the right to collective bargaining) มีสิทธิในการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นองค์กร กลุ่ม คณะกรรมการ หรือสหภาพแรงงานเพื่อแสดงความคิดเห็นหรือเจรจาต่อรอง

5.       การกีดกันหรือการแบ่งแยก (Discrimination) ไม่มีการแบ่งแยกในการจ้าง ค่าตอบแทนแรงงาน การฝึกอบรม การเลื่อนตำแหน่ง การสิ้นสุดการทำงาน เกษียณ โดยใช้เกณฑ์ในเรื่อง เพศ เชื้อชาติ วรรณะ ศาสนา ทุพพลภาพ การเป็นสมาชิกหรือรู้จักคนในองค์กรใด ๆ และห้ามมีการลวนลามทางเพศ

6.       กฎระเบียบวินัย (Disciplinary practices) ห้ามมีการเฆี่ยนตี ทำโทษโดยการกักกัน ทำร้าย ร่างกาย หรือการใช้ถ้อยคำส่อเสียดหยาบคาย

7.       ชั่วโมงการทำงาน (Working hours) จะต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมงใน 1 สัปดาห์ และจะต้องมีวันพักผ่อน 1 วัน ในทุกๆ 7 วัน ในส่วนของการทำงานล่วงเวลาไม่ควรเกิน 12 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์และต้องได้รับค่าตอบแทนมากกว่าอัตราปรกติ

ค่าตอบแทนแรงงาน (Compensation) ค่าจ้างแรงงานจะต้องเป็นอัตราขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด หรือเป็นไปตามมาตรฐานของอุตสาหกรรม ห้ามมีการหักค่าจ้างค่าตอบแทนเนื่องจากมีการทำผิดวินัย ค่าจ้างและผลประโยชน์ที่ได้รับจะต้องเปิดเผยและได้รับอย่างสม่ำเสมอ โดยจะต้องอยู่ในรูปของธนบัตรหรือเช็ค ห้ามว่าจ้างแรงงานที่เป็นลักษณะสัญญาว่าจ้างหรือการฝึกงานเพื่อหลีกเลี่ยงข้อกำหนดข้างต้น

ISO 26000

ISO 26000 ได้เริ่มมีการพิจารณาตั้งแต่ พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา และคาดว่าจะประกาศใช้ภายในปี พ.ศ. 2553  สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านงานมาตรฐาน จึงได้จัดสัมมนาเรื่อง “CEO Forum for ISO 26000 Social Responsibility” ขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม ตลอดจนสร้างความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันเกี่ยวกับมาตรฐานดังกล่าวก่อนที่จะมีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการ โดยมุ่งหวังให้องค์กรสามารถนำไปใช้ดำเนินการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพแลพะก่อให้เกิดประโยชน์ในทุกภาคส่วนของสังคม

หลัก 7 ประการของ ISO 26000

ISO 26000 มีหลักการสำคัญ 7 ประการ คือ

1.หลักการปฏิบัติตามกฎหมาย (Principle of legal compliance) องค์กรจะต้องมีการปฏิบัติที่สอดคล้องกับกฎหมาย และกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชาติและระดับสากลทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ

2. หลักการเคารพต่อแนวปฏิบัติระดับชาติหรือระดับสากล (Principle of respect for authoritative inter-government agreements or internationally recognized instruments) รวมถึงสนธิสัญญาสากล คำสั่ง ประกาศ ข้อตกลง มติ และข้อชี้นำต่างๆ ซึ่งได้รับการรับรองจากองค์กรสากลที่เกี่ยวข้องกับองค์กรนั้นๆ

3.หลักการให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ( Principle of recognition of stakeholders and concerns) องค์กรควรตระหนักถึงสิทธิและผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมขององค์กร เช่น นโยบาย ข้อเสนอ หรือการตัดสินใจต่างๆ ก็ตามที่จะส่งผลต่อผู้มีส่วนได้ส่

นางสาวเกศิณี นิลกำแหง กจ. 2/1 เลขที่ 2

สรุปเครื่องมือในการบริหารจัดการ ( ต่อ )

1.Supply Chain Management and Logistic
                ความหมายของ Supply Chain Management คือ การจัดการโซ่อุปทาน คือ การรวบรวมการวางแผน และการจัดการของกิจกรรมทั้งหมดที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดหา การจัดซื้อ การแปรสภาพ และกิจกรรมการจัดการทั้งหมด

                ความหมายของ  Logistic  คือการนำสินค้าและบริการที่ลูกค้าต้องการไปยังสถานที่ที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม สร้างความพอใจสูงสุดให้ลูกค้า โดยที่กิจการจะได้รับผลกำไร หรือประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพนั่นเอง

กระบวนการในการนำไปใช้
1.การจับคู่ทางธุรกิจ
2.การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
3.การบริหารโครงสร้างการเปลี่ยนแปลง
4.การปรับปรุงกระบวนการจัดการให้มีประสิทธิภาพ
5.การเจรจาต่อรองราคา
6.การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้าทางธุรกิจ
กรณีศึกษา คือ บริษัทโตโยต้าประเทศไทย  จำกัด

การนำเอาเครื่องมือมาใช้ของบริษัท

บริษัทโตโยต้าประเทศไทยนำเอาแนวคิดการจัดการด้านโซ่อุปทานและโลจิสติกส์เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตรถยนต์ได้อย่างประสบความสำเร็จ คือ  

                         ระบบ    Just-In-Time (JIT)   หรือ การผลิตแบบทันเวลาพอดี

                         ระบบ   Zero inventory

                         ระบบ  Kanban

             ซึ่งทั้ง  3  ระบบแล้วแต่มีความหมายเดียวกัน  คือ  เน้นเรื่องปริมาณสินค้าคงคลัง (Inventory) ที่ไม่จำเป็นหรือไม่ต้องการออก ซึ่งโตโยต้าถือว่าสิ่งเหล่านั้นจะบดบังปัญหาต่าง ๆ ในกระบวนการผลิต

ประโยชน์ที่เกิดจากการผลิตแบบทันเวลาพอดี

1.  เป็นการยกระดับคุณภาพสินค้าให้สูงขึ้นและลดของเสียจากการผลิตให้น้อยลง

2.  ตอบสนองความต้องการของตลาดได้เร็ว

3.  คนงานจะมีความรับผิดชอบต่องานของตนเองและงานของส่วนรวมสูงมาก

 2. Corporate Governance
               
บรรษัทภิบาล หรือ Corporate Governance  คือการกำหนดหลักปฏิบัติในภาครัฐให้มีความรับผิดชอบ ความโปร่งใส การปราศจากการทุจริต การให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วม โดยมีการดำเนินการภายใต้หลักนิติธรรม ทั้งนี้ เพื่อให้การปฏิบัติงานภาครัฐมีหลักประกันแก่ประชาชนว่าการดำเนินนโยบายและกิจกรรมของรัฐใด ๆ ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เป็นไปอย่างมีฉันทานุมัติ มีความเสมอภาคทั้งคนจนและคนรวย และมั่นใจได้ว่าการจัดสรรทรัพยากรสาธารณะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาสม
 
ประโยชน์ของบรรษัทภิบาล
1. เพิ่มโอกาสในการเสาะหาพันธมิตรทางธุรกิจได้ง่ายขึ้นและเป็นพันธมิตรที่มีบรรษัทภิบาลที่ดี
2. เพิ่มศักยภาพในการสร้างสมรรถนะการแข่งขันให้แก่บริษัททั้งในระดับประเทศและระดับโลก
3. เพิ่มโอกาสในการเข้าสู่ตลาดทุนของโลก
ขั้นตอนในการสร้างบรรษัทภิบาล

 การกำกับดูแลกิจการที่ดี
-  ความเข้าใจที่ถูกต้อง(
Right Understanding)
-  ความคิดที่ถูกต้อง (
Right Thinking)
-  ความทุ่มเทที่ถูกต้อง (
Right Commitment)
-  กระทำที่ถูกต้อง (
Right Action)
-  การกำกับ-ควบคุมที่ถูกต้อง กระทำที่ถูกต้อง (
Right Action)
-  การประเมินและการปรับแก้ที่ถูกต้อง (
Right Assess and Alignment
3. Business Plan (แผนธุรกิจ)
                แผนธุรกิจ
  หมายถึง  แนวทางหรือทิศทางการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจ ซึ่งควรประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปของกลุ่ม รายละเอียดกิจการของกลุ่ม แผนการตลาด แผนการจัดองค์การ และแผนการเงิน

แนวคิดเบื้องต้น สำหรับแผนธุรกิจที่ดี จะประกอบด้วย
C - Communicate
C - Commercial
C - Competitive
C - Correct
C - Clear
C - Complete
C - Convince

การเขียนแผนธุรกิจสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ขั้นตอน
1.เลือกธุรกิจ
2.รวบรวมข้อมูล
3.วิเคราะห์ตลาด วิเคราะห์ธุรกิจ
4.กำหนด Business Model
5.เริ่มต้นเขียนแผน
ประโยชน์ของ Business Plan
1.เป็นเครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการ ในการวางแผนการดำเนินธุรกิจ ได้อย่างถูกต้อง
2.เป็นเครื่องมือ ที่ช่วยให้ธุรกิจ มีโอกาสประสบความสำเร็จสูง และลดโอกาสการเกิดความผิดพลาด
3.เป็นเครื่องมือเพื่อขอรับการสนับสนุนทางการเงิน  

4. Customer Relationship Management (CRM)
               
ความหมาย Customer Relationship Management คือ พัฒนาและรักษา ความสัมพันธ์ระยะยาว ที่เป็นประโยชน์ร่วมกันระหว่างองค์กรกับลูกค้าที่เป็นเป้าหมายหรือยุทธศาสตร์ทางธุรกิจ (retention of profitable customers)โดยยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ใช้วิธีการหลักผ่านทาง Web based และ internet หรือหมายถึง e-commerce ซึ่งเป็นการดูแลให้บริการลูกค้า แบบหนึ่งต่อหนึ่ง
กระบวนการทำงานของ CRM มี 4 ขั้นตอน
1. Identify : เก็บข้อมูลว่าลูกค้าของบริษัทเป็นใคร
2. Differentiate : วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าแต่ละคน และจัดแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มตามคุณค่าที่ลูกค้ามีต่อบริษัท
3. Interact : มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อเรียนรู้ความต้องการของลูกค้า
4. Customize : นำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีความเหมาะสมเฉพาะตัวกับลูกค้าแต่ละคน
ประโยชน์ของ CRM
1. มีรายละเอียดข้อมูลของลูกค้าในด้านต่างๆ ได้แก่ Customer Profile Customer  Behavior
2. วางแผนทางด้านการตลาดและการขายอย่างเหมาะสม
3. ใช้กลยุทธ์ในการตลาด และการขายได้อย่างรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพตรงความต้องการของลูกค้า
4. เพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ
5. ลดการทำงานที่ซับซ้อน ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน เพิ่มโอกาสในการแข่งขัน ก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์การ  
กรณีศึกษา คือ 
บริษัท แอดวานซ์  อินโฟร์ เซอร์วิส

5. ERP : Enterprise resource planning
                แนวคิด ERP เริ่มในยุคปี ค.ศ. 1990 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จุดกำเนิดเริ่มแรกของ ERP มาจากแนวคิดของการพัฒนาระบบการบริหารการผลิตรวม (Material Requirement Resource Planning / Manufacturing Resource Planning, MRP System)  ของอุตสาหกรรมการผลิตในอเมริกา โดยคำว่า ERP และแนวคิดของ ERP นั้นก็พัฒนามาจาก MRP นั่นเอง
ลักษณะสำคัญของระบบ
ERP
1.การบูรณาการระบบงานต่างๆ ของระบบ ERP
2.รวมระบบงานแบบ Real time ของระบบ ERP
3.ระบบ ERP มีฐานข้อมูล (database) แบบสมุดลงบัญชี
ปัญหาเชิงบริหาร ที่เกิดขึ้นได้แก่
1. การขยายขอบเขตการเชื่อมโยงของกิจกรรม
2. โครงสร้างการเชื่อมโยงของกิจกรรมซับซ้อนขึ้น 
3. เกิดการสูญเปล่าในกิจกรรมและความรวดเร็วในการทำงานลดลง
4. การรับรู้สภาพการเชื่อมโยงของกิจกรรมทำได้ยาก
5. การลงทุนและบริหารทรัพยากรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทำได้ยาก

6.
Total Quality Management (TQM)

                TQM (Total Quality Management) เป็นระบบบริหารคุณภาพที่มุ่งเน้นการให้ความสำคัญสูงสุดต่อลูกค้าภายใต้ความร่วมมือของพนักงานทั่วทั้งองค์กรที่จะปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการได้ TQM จึงเป็นแนวทางที่หลายองค์กรนำมาใช้ปรับปรุงงาน
1. เพื่อการพัฒนาวัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุดของ TQM (Total Quality Management)บุคลากรในองค์กรให้สามารถใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ ด้วยการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงงาน / คุณภาพของสินค้าหรือบริการ อันจะทำให้คุณภาพชีวิต (Quality of Life) ของพนักงานทุกคนดีขึ้นเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง
2.เพื่อการปรับปรุงคุณภาพของสินค้าหรือบริการให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันจะทำให้ลูกค้าเกิดความพอใจ (Customer Satisfaction)
ส่วนประกอบของ
TQM (Total Quality Management)
1. การให้ความสำคัญกับลูกค้า (Customer Oriented)
2. การพัฒนา/ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง(Continuous Improvement)
3. สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วม (Employees Involvement)

 วงจรการบริหาร P-D-C-A
P = Planคือ การวางแผนงานจากวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย
D = Do คือ การปฏิบัติตามขั้นตอนในแผนงานที่ได้เขียนไว้อย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง
C = Check คือ การตรวจสอบผลการดำเนินงานในแต่ล่ะขั้นตอนของ แผนงานว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น
A = Action คือ การปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา
ประโยชน์ของ TQM
1. ก่อให้เกิดคุณค่าของสินค้าและบริการเพื่อนำเสนอต่อลูกค้า
2. ก่อให้เกิดศักยภาพในการแข่งขันและความได้เปรียบทางธุรกิจ
3. ช่วยลดต้นทุนในการผลิตและการดำเนินงานในการเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด
4. เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มผลผลิตเนื่องจากมีการกระจายงาน และเอื้ออำนวยให้ทุกกระบวนงานมีความคล่องตัว
5. ทำให้มีการกำหนดจุดควบคุมที่เหมาะสม เพื่อติดตามผลของการดำเนินงานเป็นระยะ
7. SOCIAL ACCOUNTABILITY 8000 (SA

น.ส. กาญจนา เจตะวัน เลขที่ 1 กจ. 2/1

สรุปเครื่องมือทางการบริหารจัดการ

 

Supply Chain Management and Logistic

(กรณีศึกษา บริษัทโตโยต้าประเทศไทย จำกัด)

 

การจัดการโซ่อุปทาน คือการรวบรวมการวางแผนและการจัดการของกิจกรรมทั้งหมดที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดหา การจัดซื้อ การแปรสภาพ และกิจกรรมการจัดการทั้งหมด รวมถึงการประสานงาน (Coordination) และการทำงานร่วมกัน (Collaboration) กับหุ้นส่วนต่างๆในโซ่อุปทาน

 

ประโยชน์ของ Supply Chain Management  มีดังนี้

                 1. สนองตอบตรงตามความต้องการของลูกค้า

                2. ลดค่าใช้จ่ายอย่างเป็นระบบ

                3.  ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กร

                4.  ติดตามกระบวนการทำงานได้อย่างใกล้ชิด

                 5. บริหารสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                 6 .ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่า

 

ข้อดีของ  Supply Chain Management 

                สร้างประสิทธิภาพทางด้านการผลิตและการตลาด โดยครอบคลุมถึง ระบบการจัดหาวัตถุดิบ การบรรจุและการลำเลียงวัตถุดิบ การบริหารสินค้าคงเหลือ การจัดการด้านคลังสินค้า การจัดหาสินค้า และการจัดการด้านการขนส่ง

 

Logistics Management

การจัดการลอจิสติกส์เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการโซ่อุปทาน    ซึ่งวางแผน นำไปปฏิบัติ และควบคุมการไหลทั้งไปและกลับอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพของสินค้า บริการและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในระหว่างจุดเริ่มต้นและจุดที่มีการบริโภคเพื่อที่จะให้ได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า

 

ประโยชน์ของ  Logistics Management

                1.  สร้างความได้เปรียบในการเพิ่มผลกำไร

                2.  ตอบสนองความต้องการผู้บริโภค

                3.  ลดต้นทุนในการสั่งสินค้า  และเก็บสินค้า

 

+++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

Corporate Governance

(กรณีศึกษา บริษัท  ซีเอ็ด)

 

                Corporate Governance  หรือ บรรษัทภิบาลเป็นกระบวนการในการที่จะควบคุม กำกับดูแล และขับเคลื่อนบริษัทไปในทิศทางที่เชื่อว่าดีที่สุดสำหรับผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกคนอย่างถูกต้องและเป็นธรรมต่อทั้งองค์การ สังคม  และประชาชน

 

หลักที่ควรยึดถือและปฏิบัติไว้ 5 ข้อ ดังนี้
                1.ความตระหนักในภาระหน้าที่

2.ความชัดเจนในภารกิจ

3.ความยุติธรรม
4.ความโปร่งใส
5.มองการณ์ไกล

ขั้นตอนในการสร้างบรรษัทภิบาล

                1.  ความเข้าใจ

                2.  ความคิด

                3.  ทุ่มเท

                4.  กระทำ

                5.  กับดูแล  และการควบคุม

                6.  การประเมินผลและแก้ไขปัญหา

ประโยชน์ของ CG

                1.  มีความเที่ยงธรรมและเป็นประสิทธิภาพ

                2.  นำพาประเทศให้พัฒนาและก้าวหน้า

                                       +++++++++++++++++++++++++++++++

Business plan

( กรณีศึกษา  บริษัททีโอที  จำกัด (มหาชน) )

 

        Business  Plan  หรือ  แผนธุรกิจ คือ คู่มือในการดำเนินธุรกิจโดยนำเสนอการวิเคราะห์รายละเอียดธุรกิจในตัวแปรที่สำคัญๆ คือ สินค้าหรือบริการที่ขาย กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสและอุปสรรคต่างๆของธุรกิจ

 

องค์ประกอบของ  BP

บทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary)

ประวัติโดยย่อของกิจการ

การวิเคราะห์สถานการณ์ (Business Analysis)

วัตถุประสงค์และเป้าหมายทางธุรกิจ (Vision and Mission)

แผนการตลาด (Marketing Plan)

แผนการจัดการและแผนกำลังคน (Management and Human Resources Plan)

แผนการผลิตและปฏิบัติการ (Production and Operation Plan)

แผนการเงิน (Financial Plan)

แผนการดำเนินงาน (Management Plan)

แผนฉุกเฉิน (Contingency Plan)

 

ประโยชน์ของ  BP

                1.  เป็นเครื่องมือที่นำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ

                2.  เป็นเครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการ

                3. เป็นเครื่องมือที่ช่วยลดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น  เนื่องจากมีการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานอย่างมีข้อกำหนด

 

+++++++++++++++++++++++++++++++

 

(Customer Relationship Management หรือ CRM)

(กรณีศึกษา  บริษัท AIS)

 

การจัดการลูกค้าสัมพันธ์  (CRM)  เป็นการนำเสนอข้อมูลทางการตลาด ราคา และข่าวกรองทางธุรกิจออนไลน์ การให้ข้อมูล กับลูกค้าที่รวบรวมจากแหล่งต่างๆ การจัดแยกลูกค้า การแจ้งให้ทราบถึงสินค้าที่มีอยู่และการสั่งซื้อได้ ณ เวลาปัจจุบัน พัฒนาเครื่องมือสำหรับจับแนวโน้มของลูกค้าและยอดขาย สร้างเครือข่ายขึ้นอยู่กับการส่งเสริมการขายและการกระจายข้อมูลให้ลูกค้า

 

หัวใจสำคัญของ  CRM

                -  การศึกษารวบรวมจำแนก  วิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้า  และพฤติกรรมของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ

                -  การสร้างสรรค์  ดำเนินการหรือกิจกรรมที่สามารถเพิ่มมูลค่าให้แก่ลูกค้าได้ตรงกับความต้องการ

                -  การแยกแยะ   และกำหนดความต้องการของลุกค้าแต่ละลำดับ

                -  การพัฒนาช่องทางของการสื่อสาร  การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับลูกค้า

 

ขั้นตอนของ  CRM

                1.  ศึกษาข้องมูล  ประวัติ   และพฤติกรรมของลูกค้า

                2.  จัดเก็บข้อมูล

                3.  จัดแบ่งกลุ่มและจัดเรียงความสำคัญของข้อมูล

                4. ศึกษาว่าลูกค้า  กลุ่มลูกค้าต้องการอะไร

                5.  สร้างกลยุทธ์เพื่อตอบสนอง

                6.  พัฒนาวิธีการ  ติดตาม  และเฝ้าดูอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง

 

ประโยชน์และข้อดี

                1.  ทำให้ลูกค้า  กลุ่มลูกค้า จงรักภักดีต่อองค์การ

                2.  องค์กรผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า

                3.  ลดการสูญเสียลูกค้า

 

++++++++++++++++++++++++++++

 

Enterprise  Resource  Planning

(กรณีศึกษา  บริษัทฟูจิตสึ  ซีสเต็ม  บีซิเนส (ประเทศไทย)  จำกัด)

 

ระบบบริหารทรัพยากรองค์กร หรือ ERP  คือ ระบบการวางแผนทรัพยากรขององค์กร เป็นระบบที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร โดยเป็นระบบที่เชื่อมโยงระบบงานต่างๆ ขององค์กรเข้าด้วยกัน   เพื่อช่วยให้การวางแผนและบริหารทรัพยากรขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยลดเวลาและขั้นตอนการทำงาน

 

ขั้นตอนของการนำ ERP มาใช้
                -  ขั้นตอนการวางแนวคิด
                -  ขั้นตอนการวางแผน
                -  ขั้นตอนการพัฒนา
                -  ขั้นตอนการใช้งานจริงและทำให้คุ้นเคย
                -  ขั้นตอนพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง

 

ประโยชน์จากการนำ ERP มาใช้ในองค์กร

                -  เพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ของบริษัท

                -  ช่วยปรับปรุงระบบงานและประสิทธิภาพการดำเนินงาน รวดเร็ว

                -  ทำให้พนักงานทำงานได้อย่างประหยัดเวลาและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

                -  เพิ่มความสามารถในการควบคุมกระบวนการต่างๆ ของบริษัท

                -  การรวมการใช้งานของโปรแกรมต่างๆ ที่บริษัทใช้อยู่ให้ใช้ได้อย่าง สะดวกมากขึ้น

 

- 17 -

การประสบความสำเร็จในการนำ ERP มาใช้                                        

             -   การนำมาใช้มีประสิทธิผลในเชิงการจัดการ

        -   ใช้ ERP ได้อย่างชำนาญและมุ่งสู่การปฏิรูปวัฒนธรรมและวิถีองค์กร

-   สามารถพัฒนาได้ โดยใช้ระยะเวลาพัฒนาที่สั้นตามที่ตั้งเป้าไว้

            -  สามารถพัฒนาได้โดยใช้ต้นทุนในการพัฒนาที่ต่ำตามที่ตั้งเป้าไว้

            -  กระจายในแนวนอนได้อย่างรวดเร็ว

            -   เสริมสร้างฐานสำหรับการพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์กร

 

+++++++++++++++++++++++++++++++++

Total Quality Management

                Total Quality Management หรือ TQM   การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ และการบริหารคุณภาพแบบองค์รวม ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า TQM หมายถึง การบริหารคุณภาพโดยรวม โดยมุ่งที่จะตอบสนองความต้องการ และสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้า ซึ่งจะสร้างโอกาสทางธุรกิจ ความได้เปรียบในการแข่งขัน และพัฒนาการที่ยั่งยืนขององค์การ

การนำ  TQM  มาใช้
                1. การวางแผน (Plan)
                2. การปฏิบัติ (Do)
                3. การตรวจสอบ (Check)
                4. การปรับปรุงแก้ไข (Act)

องค์ประกอบที่สำคัญของ  TQM 3 ประการ คือ
                1. การให้ความสำคัญกับลูกค้า   (Customer Oriented)
                2. การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  (Continuous Improvement)
                3. การมีส่วนร่วมจากพนักงาน  (Employees Innovation)

ประโยชน์ของTQM
                1.ช่วยให้ผู้บริหารและองค์การสามารถรับรู้ปัญหาของลูกค้า และความต้องการที่แท้จริงของตลาด เพื่อให้การผลิตสินค้าและบริการตรงกับความต้องการตอบสนองความพึงพอใจแก่ลูกค้า

                2.ให้ความสำคัญกับระบบที่เรียบง่ายและผลลัพธ์ที่ลดความสูญเสียและความสูญเปล่าในการดำเนินงาน และการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ

                3.พัฒนาระบบ ขั้นตอน และก

นางสาวพรพรรณ แก้วศิริ เลขที่13 กจ. 2/1

 

สรุปเครื่องมือ

1.  Supply Chain Management and Logistic

            Supply Chain Management (SCM)  คือกระบวนการโดยรวมของการไหลของวัสดุ สินค้า ตลอดจนข้อมูลและธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านองค์การที่เป็นผู้ส่งมอบ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ไปจนถึงลูกค้าหรือผู้บริโภคโดยที่องค์การต่าง ๆเหล่านี้มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจต่อกัน

 

ขั้นตอนการนำไปใช้

1.  กระบวนการจัดซื้อ (Procurement)

2.  การผลิต (Manufacturing)

3.  การจัดเก็บ (Storage)

4.  เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)

5.  การจัดจำหน่าย (Distribution)

6.  การขนส่ง (Transportation)

 

ประโยชน์

-  สนองตามความต้องการของลูกค้า

-  ลดค่าใช้จ่ายอย่างเป็นระบบ

-  ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กร

-  ติดตามกระบวนการทำงานได้อย่างใกล้ชิด

-  บริหารสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ

-  ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่า

 

            Logistic คือกระบวนการวางแผนการดำเนินงาและการควบคุมการเคลื่อนย้ายทั้งไปและกลับ การเก็บรักษาสินค้า บริการ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการผลิตไปสู่จุดสุดท้ายของการบริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

 

ประโยชน์

-  ลดต้นทุนในการสั่งสินค้า

-  ลดต้นทุนในการเก็บสินค้า

-  ตอบสนองความต้องการผู้บริโภคอย่างเต็มประสิทธิภาพ

-  เพิ่มความสะดวกรวดเร็ว และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

-  สร้างความได้เปรียบในการเพิ่มกำไร เนื่องจากต้นทุนโดยรวมลดลง

-  เพิ่มส่วนแบ่งการตลาดและประสิทธิภาพในการผลิตขนส่งและการบริการลูกค้า

 

ความแตกต่างระหว่าง Supply Chain Managementและ Logistic

                คือ การจัดการโซ่อุปทาน จะเป็นการจัดการระดับกลยุทธ์ (Strategis Level) ส่วนลอจิติกส์เป็นการจัดการระดับยุทธวิธี (Tagies) และการปฏิบัติงานให้สอดคล้องและบรรจุต่อทิศทางและเป้าหมายในระดับการจัดการโซ่อุปทาน

 

2.  Corporate Governance

          Corporate Governance เป็นการบริหารจัดการภาคธุรกิจด้วยความเป็นธรรมและมีความโปร่งใส มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และผลการกระทำของตนเองต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัท

 

องค์ประกอบ Corporate Governance

- มีความรับผิดชอบ

- มีความโปร่งใส

- มีความเสมอภาค

 

วัตถุประสงค์ Corporate Governance

1. เพิ่มศักยภาพ

2. เพิ่มโอกาส

3. ยึดความถูกต้อง

4. มีความรับผิดชอบ

5. มีความยุติธรรม

 

ประโยชน์ Corporate Governance

- มีความเที่ยงธรรม

- นำไปสู่การพัฒนาของประเทศ และสังคมที่ยั่งยืน

 

3.  Business  Plan

ความหมาย Business  Plan

     - รายงานระบุรายละเอียดของการวางแผนธุรกิจ

     - เอกสาร ที่แสดงรายละเอียดต่าง ๆ ในการวางแผนธุรกิจ

     - เนื้อหาบาส่วนอาจคล้ายแผนการตรวจ

 

องค์ประกอบ Business  Plan

1. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

2. วิสัยทัศน์

3. SWOT& Competitive Analysis

4. กลยุทธ์ทางธุรกิจ

5. กลยุทธ์ระดับหน้าที่

ประโยชน์ Business  Plan

-  เป็นเครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการ

-  เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจมีโอกาสประสบความสำเร็จ

-  เป็นข้อตกลง

 

4.  Customer Relationship Management (CRM)

          Customer Relationship Management หมายถึง การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า โดยใช้กฎพาเรโต 80:20 ในการพิจารณาสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าที่มีเพียง 20% จากทั้งหมดที่สร้างยอดขายให้บริษัท 80% เป็นลูกค้าที่องค์กรควรใส่ใจดูและเป็นอันดับแรก

 

กระบวนการทำงานของระบบ CRM มีขั้นตอนอยู่ 4 ขั้นตอนดังนี้

1. Identify  ต้องรู้ว่าลูกค้าคุณคือใคร

2. Differentiate  ต้องสร้างความแตกต่าง

3. Interact  พูดคุยกับลูกและนำสิ่งที่พูดมาบันทึกเพื่อเป็นประโยชน์

4. Customization  ผลิตเฉพาะเจาะจงของลูกค้า

 

หลักการสำคัญของ CRM

1. ปลูกจิตสำนึก

2. วิเคราะห์ความต้องการเบื้องต้นของลูกค้า

3. เก็บรวบรวมข้อมูล

4. จัดทำฐานข้อมูล

 

ประโยชน์ของCRM

- ช่วยเพิ่มความสามารถในการให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น

- ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้าให้ดีขึ้น

- ช่วยให้บริษัทรู้ความสนใจ ความต้องการ และพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า

- ทำให้บริษัทสามารถนำเสนอสินค้าที่เหมาะสมกับลูกค้าได้

- ช่วยให้บริษัทสามารถให้บริหารหลังการขายแก่ลูกค้าตามที่ลูกค้าต้องการ

- สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว

- ลดการสูญเสียลูกค้า

5.  Enterprise Resource Planning

          Enterprise Resource Planning  หมายถึง  ระบบทรัพยากรขององค์กร เป็นระบบที่ใช้จัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ขององค์กร

 

ลักษณะของERP

- การบูรณาการระบบต่าง ๆ

- รวมระบบงานแบบ Realtime

- ระบบ ERP มีฐานข้อมูลแบบสมุดลงบัญชี

 

ขั้นตอนของ ERP

1. ศึกษาและวางแผนแนวความคิด

2. การวางแผนนำระบงานมาใช้

3. การพัฒนาระบบ

4. การใช้งานและปรับเพิ่มความสามารถ

 

ประโยชน์ของ ERP

- มีกระบวนการทำงานที่รวดเร็ว

- มีการใช้เทคโช้เทคโนโลยีพื้นฐาน

 

6.  Total Quality Management

          Total Quality Management  เป็นระบบการบริหารคุณภาพที่เน้นการให้ความสำคัญ

คุณภาพของสินค้าหรือบริการ

 

การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า

- เพื่อสร้างความพึงพอใจ

- ลดต้นทุน

- ยกระดับคุณภาพของพนักงาน

- แสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

- ปรับปรุงคุณภาพของสินค้า

 

องค์ประกอบของ TQM

- การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

- สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วม

 

ประโยชน์ของ TQM

- ก่อให้เกิดคุณภาพของสินค้า

- ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิต

- เป็นผลดีต่อการเพิ่มผลผลิต

- มีการกำหนดจุดควบคุม

 

วงจรการบริหาร  P-D-C-A

Plan    การวางแผนงานจากวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย

Do       การปฏิบัติตามขั้นตอนในการแผนงานที่ได้เขียนไว้อย่างเป็นระบบ

Cheek การตรวจสอบการดำเนงานในแต่ละขั้นตอนของแผนงานว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น

Action การปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา

 

7.  Iso  26000

          Iso 26000  เป็นมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม

 

วัตถุประสงค์

- ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ มีความรับผิดชอบต่อสังคม

- เน้นการดำเนินงานและปรับปรุง

- มีความสอดคล้องที่มีอยู่

 

องค์ประกอบความรับผิดชอบต่อสังคม

- ธรรมาภิบาลขององค์กร

- การเคารพสิทธิมนุษย์

- การปฏิบัติต่อผู้ใช้แรงงานอย่างเป็นธรรม

- ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

- ดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรม

- การรับผิดชอบต่อผู้บริโภค

- การแบ่งปันสู่สังคมและชุมชน

 

ประโยชน์

- ช่วยให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างรอบคอบ

- ปรับปรุงแนวการบริหารไม่ให้มีความเสี่ยง

- สร้างความเชื่อมั่น

- ประหยัดใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

- ช่วยสนับสนุนให้องค์กรอยู่เป็นระยะยาว

 

8.  SA  8000

ข้อกำหนดของความรับผิดชอบทางสังคม

1. แรงงานเด็ก

2. แรงงานบังคับ

3. สุขภาพและความปลอดภัย

4. เสรีภาพในการสมาคมและสิทธิในการร่วมเจรจาต่อรอง

5. การเลือกปฏิบัติ

6. การลงโทษทางวินัย

7. ชั่วโมงการทำงาน

8. ค่าตอบแทน

9. ระบบการจัดการ

 

ประโยชน์

- สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร

- ทำให้แรงงานมีความจงรักภักดีต่อบริษัท

- สร้างความสัมพันธ์อันดี

- ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในตัวส้นค้า

- ช่องทางการตลาดใหม่

- ลดต้นทุนในการตรวจสอบ

- การปรับปรุงสภาพการทำงานให้เหมาะสม

 

 

 

นางสาวลลิตา คิดอ่าน เลขที่ 17 กจ. 2/1

สรุปเครื่องมือการบริหารจัดการ

Supply Chain Management and Logistic

Supply Chain Management

คือ การจัดการกลุ่มของกิจกรรมงาน กล่าวคือ ตั้งแต่การรับวัตถุดิบมาจาก Supplies แล้วเปลี่ยนวัตถุดิบนั้นให้เป็นสินค้าขั้นกลาง และสินค้าขั้นสุดท้ายจนกระทั่งจัดส่งสินค้าให้แก่ลูกค้า, ผู้ส่งมอบ (supplies), โรงงาน , ลูกค้า

หลักสำคัญ

แม้ว่าการผลิตจะมีความซับซ้อนและมีความเป็นเอกลักษณ์ที่ยากต่อการควบคุม แต่หน้าที่ทางการผลิตของทุกองค์กรจะมีหลักการพื้นฐานต่างๆ เหมือนกันสิ่งที่จะทำให้เข้าใจถึงหน้าที่ของการผลิตและวิธีการควบคุมการผลิตนั้น เราจะต้องเข้าใจในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวในกระบวนการผลิตอยู่ 2 สิ่งหลักๆ คือ

1. วัตถุดิบ (Materials)

2. สารสนเทศ (Information)

การบริหารการผลิตจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นเมื่อกระบวนการผลิตเคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่องไม่ติดขัด และมีระบบที่ง่ายๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ยิ่งมีระบบย่อยหรือแยกส่วนมากเท่าใด ก็จะยิ่งมีปัญหามากขึ้นเท่านั้น

ประโยชน์ในการนำไปใช้

1. ตอบสนองความต้องการของลูกค้า

2. ลดค่าใช้จ่ายอย่างเป็นระบบ

3. ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์การ

4. ติดตามกระบวนการทำงานได้อย่างใกล้ชิด

5. บริหารสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6. ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า

Logistic

คือ กระบวนการวางแผน การดำเนินงาน และการควบคุมการเคลื่อนย้ายทั้งไปและกลับ การเก็บรักษาสินค้า บริการ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการผลิตไปสู่จุดสุดท้ายของการบริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

ประโยชน์การนำไปใช้

1. ลดต้นทุนในการสั่งสินค้า

2. ลดต้อนทุนในการเก็บสินค้า

3. ตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างเต็มประสิทธิภาพ

4. เพิ่มความสะดวก รวดเร็ว

5. สร้างความได้เปรียบในการสร้างกำไร

6. เพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด

*********************************************************************

Corperate Governance

คือ การกำกับดูแลกิจการให้เจริญรุดหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเงื่อนไขของความถูกต้องโปร่งใส การมีจริยธรรมที่ดี โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียในกิจการเป็นหลัก

หลักสำคัญ

1. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

2. ความสุจริต ชัดเจน และโปร่งใส

3. ความพร้อมรับผิดชอบ

4. คุณธรรมจริยธรรมและมโนสุจริต

5. การมีส่วนร่วม

6. มีความเท่าเทียมกันในสังคมและเป็นธรรม

ประโยชน์ในการนำไปใช้

1. สร้างความตื่นตัว

2. ชัดเจน ง่ายและสั้น

3. กำหนดผู้รับผิดชอบในการสร้างความเข้าใจ

4. เกิดกิจกรรมการรณรงค์และการส่งเสริมที่ต่อเนื่อง

5. ยอมรับและมีความเข้าใจหลักธรรมาภิบาลมากขึ้น

6. มีความเที่ยงธรรมละมีประสิทธิภาพ

*********************************************************************

Business Plan

คือ กระบวนการนำแนวความคิด ที่จะจัดตั้งกิจการหรือขยายองค์กรธุรกิจที่มีอยู่เดิม มาสู่แผนปฏิบัติงานที่มีความเป็นรูปธรรม และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ภายใต้สภาวะแวดล้อมทางธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาถึงความคุ้มค่าต่อการลงทุน และเป็นเครื่องมือในการขอรับการสนับสนุนและช่วยเหลือด้านต่างๆ จากบุคคลหรือหน่วยงานภายนอก ทั้งทางด้านเงินทุน วัตถุดิบ และช่องทางการตลาด ทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จะแสดงให้ทราบถึงแนวทางการตระเตรียมความพร้อมด้าน ต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินงาน หรือแม้กระทั่ง การเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบและประเมินผล การดำเนินงานของกิจการหรือองค์กรในแต่ละช่วงเวลา

หลักสำคัญ

การทำแผนธุรกิจต้องมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเพื่อจะบรรลุเป้าหมายที่กิจการนั้น ๆ วางไว้

ประโยชน์การนำไปใช้

1. แผนธุรกิจทำให้ผู้ประกอบการมีเป้าหมายที่ชัดเจน กำหนดแนวทางของความคิดและช่วยให้ผู้ประกอบการแน่วแน่ต่อการใช้ทรัพยากรและกำลังความพยายามเพื่อไปสู่เป้าหมาย

2. ช่วยแสวงหาเงินทุนจากผู้ร่วมลงทุน จากกองทุนร่วมลงทุน และจากสถาบันการเงินต่างๆ

3. ให้รายละเอียดของกิจกรรม ต่างๆ ทั้งกิจกรรมในการจัดหาเงินทุน กิจกรรมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กิจกรรมการตลาด และอื่นๆ ในการบริหารกิจการใหม่ แผนธุรกิจยังใช้เพื่อกำหนดการปฏิบัติงานที่ต่อเนื่องในอนาคตของกิจการ

*********************************************************************

Customer Relation Management

คือ กลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับ ลูกค้า เรียนรู้ความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้า และตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยสินค้าหรือบริการที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ ละคนมากที่สุด กระบวนการทำงานของระบบ CRM

หลักสำคัญ

ลดต้นทุนในการสนับสนุนลูกค้า สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทั่วโลก สร้างการให้บริการเชิงรุก มอบอำนาจให้ลูกค้าสามารถแก้ปัญหาได้อย่างอิสระ สร้างโอกาสให้ลูกค้า เพื่อเข้าสู่กระบวนทางธุรกิจ สำหรับการบริการในขั้นสูงได้แก่ การเชื่อมสารสนเทศการขายเข้ากับหมายเลขประจำตัวของลูกค้าเพื่อให้สามารถสนับสนุนการขายผ่านระบบ helpdesk ใช้ระบบ workflow เพื่อติดตามประเด็นการแก้ไขปัญหาของลูกค้าสำหรับแผนกงานที่เกี่ยวข้อง การรายงานปัญหาเข้าสู่ระบบวิจัยและพัฒนาเพื่อหาทางแก้ไข หรือดำเนินการ ใช้การติดตามข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาเพื่อจัดการให้มีการบริการส่วนบุคคล

ประโยชน์การนำไปใช้

1. มีรายละเอียดข้อมูลของลูกค้าในด้านต่างๆ ได้แก่ Customer Profile Customer Behavior

2. วางแผนทางด้านการตลาดและการขายอย่างเหมาะสม

3. ใช้กลยุทธ์ในการตลาด และการขายได้อย่างรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพตรงความต้องการของลูกค้า

4. เพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ

5. ลดการทำงานที่ซับซ้อน ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานเพิ่มโอกาสในการแข่งขันก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์การ

*********************************************************************

Enterprise Relation Planning

คือ ระบบการวางแผนทรัพยากรขององค์กร เป็นระบบที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร โดยเป็นระบบที่เชื่อมโยงระบบงานต่างๆ ขององค์กรเข้าด้วยกันตั้งแต่ระบบงานทางด้านบัญชี และการเงิน ระบบงานทรัพยากรบุคคล ระบบบริหารการผลิต รวมถึงระบบการกระจายสินค้า เพื่อช่วยให้การวางแผน

และบริหารทรัพยากรขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยลดเวลาและขั้นตอนการทำงานได้อีกด้วย

หลักสำคัญ

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของผู้ขายส่ง ยกขีดจำกัดจำนวนลูกค้าที่สามารถดูแลได้ รักษาความถี่ในการเยี่ยมลูกค้า ลดความสูญเสียโอกาสจากการขาดสินค้าในคลังสินค้า

กระชับความสัมพันธ์โดยการให้ใช้ข้อมูลร่วมกันแก่ผู้ผลิต ผู้ขนส่ง ตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศ ทำให้ประสิทธิภาพของธุรกิจดีขึ้น

ประโยชน์การนำไปใช้

ERPจะทำให้การจัดการที่ดี ทำให้เกิดความชัดเจน รวมทั้งทำให้เกิดมาตรฐาน ในกระบวนการจัดการทางธุรกิจ และฐานข้อมูลในองค์กรที่นำซอฟต์แวร์ ERPเข้าไปใช้ ซอฟต์แวร์จะรวมข้อมูลต่าง ๆ ในระบบให้เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลต่อ ดังนั้นข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นสามารถนำไปใช้ในการทำธุรกิจต่อไปการจะ ระบุว่าระบบใดเป็น ERP หรือไม่นั้น ไม่ได้พิจารณาเพียงแต่การเป็นระบบที่ครอบคลุมถึงส่วนต่าง ๆ ในองค์กรเท่านั้น แต่ ERP ที่แท้จริงต้องประกอบไปด้วย

1.ความยืดหยุ่น

ระบบ ERP ต้องยืดหยุ่นพอที่จะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในองค์กรได้

2.ความเป็นสัดส่วนและง่ายต่อการแก้ไข

ERP จะต้องมีโครงสร้างที่ปรับเปลี่ยนได้ง่าย นั่นคือ สามารถเพิ่มเติมส่วนต่าง ๆ

ได้โดยง่าย และไม่กระทบต่อส่วนอื่น ๆ

3.ครอบคลุม

ERP จะต้องเป็นการรวบรวมระหว่างส่วนต่าง ๆ ขององค์กรได้

4.เหนือขอบเขตขององค์กร

ERP ควรจะสนับสนุนการเชื่อต่อกันกับระบบขององ๕กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท

5.เป็นแบบจำลองของธุรกิจในสภาพจริง

ERP ควรจำลองสถานการณ์จริงลงบนคอมพิวเตอร์ และควรให้ผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจให้เข้ากับ

*********************************************************************

Total Quality Management

คือ แนวทางในการบริหารขององค์กรที่มุ่งเน้น คุณภาพ โดยสมาชิกทุกคนขององค์กรมีส่วนร่วมและมุ่งหมายผลกำไรในระยะยาวด้วยการสร้าง ความพึงพอใจให้แก่ลูกค้ารวมทั้งการสร้างผลประโยชน์ตอบแทนแก่สมาชิก

หลักสำคัญ

1. การมุ่งเน้นที่คุณภาพ

2. การปรับปรุงกระบวนการ

3.ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วม

ประโยชน์การนำไปใช้

1. ก่อให้เกิดคุณค่าของสินค้าและบริการเพื่อนำเสนอต่อลูกค้า ซึ่งก็จะได้รับความพึงพอใจและเชื่อมั่นพร้อมทั้งภัคดีต่อผลิตภัณฑ์ของเรา

2. ก่อให้เกิดศักยภาพในการแข่งขันและความได้เปรียบทางธุรกิจ

3. ช่วยลดต้นทุนในการผลิตและการดำเนินงานในการเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด

4. เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มผลผลิตเนื่องจากมีการกระจายงาน และเอื้ออำนวยให้ทุกกระบวนงานมีความคล่องตัว

5. ทำให้มีการกำหนดจุดควบคุมที่เหมาะสม เพื่อติดตามผลของการดำเนินงานเป็นระยะและเมื่อผลเบี่ยงเบนไปจากเป้าหมายก็จะมีระบบในการวิเคราะห์หาสาเหตุ เพื่อทำการแก้ไข และป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ

*********************************************************************

SA 8000

คือ ระบบมาตรฐานสากลที่ให้ความสำคัญกับสิทธิ ขั้นพื้นฐานของแรงงาน ซึ่งเหมือนกับระบบ ISO 9000 ที่เป็นมาตรฐานสากลสำหรับระบบคุณภาพ อันเกี่ยวกับการจัดการด้านคุณภาพและการประกันคุณภาพ และ ISO 14000 ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม SA 8000 เป็นระบบมาตรฐานสากลที่ใช้ได้กับทุกธุรกิจ อุตสาหกรรมการผลิต หรือ การบริการ โดยไม่คำนึงถึง ขนาด สถานที่ เทคโนโลยีในการผลิต และความซับซ้อนขององค์กร

หลักการสำคัญ

กำหนดและพัฒนาระบบมาตรฐานสากลที่ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคมในด้านสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ หรือ ระบบมาตรฐาน SA 8000

ประโยชน์การนำไปใช้

1.สร้างภาพลักษณ์ของบริษัทให้เป็นที่ยอมรับในสังคมโดยเฉพาะในสายตาของผู้บริโภค 2.ทำให้แรงงานมีความจงรักภักดีต่อองค์กร ประสิทธิภาพในการทำงานของแรงงานเพิ่มขึ้นและนำไป สู่การเพิ่มผลผลิตในที่สุ

3.สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อสังคม

4.ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในตัวสินค้าและบริการและมีความภักดีต่อองค์กร

5. มีช่องทางการตลาดใหม่

6.มีโอกาสในการเลือกแรงงานที่มีคุณภาพ

7.ลดขั้นตอนและต้นทุนในการตรวจสอบ

*********************************************************************

ISO 26000

คือ เป็นมาตรฐานการแสดงความรับผิด ชอบต่อผลกระทบของสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืนทางธุรกิจ

หลักสำคัญ

1.หลักการปฏิบัติตามกฎหมาย

2. หลักการเคารพต่อแนวปฏิบัติระดับชาติหรือระดับสากล

3.หลักการให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

4.หลักของการแสดงรับผิดชอบที่สามารถตรวจสอบได้

5.หลักการความ

6.หลักการความเคารพในสิทธิมนุษยชน

7.หลักการความเคารพในความหลากหลาย

ประโยชน์การนำไปใช้

1. ช่วยในการตัดสินใจเป็นไปอย่างรอบคอบ

2. ปรับปรุงแนวปฏิบัติความเสี่ยง

3. ป้องกันและลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้น

4. เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมและปราศจากการทุจริต

5. สนับสนุนการคงอยู่ขององค์กรในระยะยาว

นางสาวปิยะดา กันทา เลขที่ 12 กจ.2/1

Supply Chain Management and Logistic

Supply Chain Management: SCM คือ กระบวนการโดยรวมของการไหลของวัสดุ สินค้า ตลอดจนข้อมูล และธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านองค์การที่เป็นผู้ส่งมอบ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ไปจนถึงลูกค้าหรือผู้บริโภคโดยที่องค์การต่าง ๆ เหล่านี้มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจต่อกันในการปรับตัวขององค์การเพื่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานนั้น สิ่งที่สำคัญ คือ เพื่อให้องค์การมี ความสามารถในการบริหาร ความเติบโตของธุรกิจ และความยั่งยืนของธุรกิจ

ประโยชน์ของ Supply Chain Management: SCM

1. สนองตอบตรงตามความต้องการของลูกค้า

2. ลดค่าใช้จ่ายอย่างเป็นระบบ

3. ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กร

4. ติดตามกระบวนการทำงานได้อย่างใกล้ชิด

5. บริหารสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6. ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่า

Logistic (ระบบการส่งกำลังบำรุง) คือ กระบวนการวางแผนการดำเนินงาน และการควบคุมการเคลื่อนย้ายทั้งไปและกลับ การเก็บรักษาสินค้า บริการ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการผลิตไปสู่จุดสุดท้ายของการบริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

ประโยชน์ของ Logistic

1. ลดต้นทุนในการสั่งซื้อสินค้า

2. ลดต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้า

3. ตอบสนองความต้องการผู้บริโภคอย่างเต็มประสิทธิภาพ

4. เพิ่มความสะดวกรวดเร็ว และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

5. สร้างความได้เปรียบในการเพิ่มกำไร เนื่องจากต้นทุนโดยรวมลดลง

6. เพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด และประสิทธิภาพในการผลิตขนส่งและการบริการลูกค้า

 

Cooperate Govemance

Cooperate Govemance (บรรษัทภิบาล) หมายถึง การบริหารจัดการภาคธุรกิจด้วยความเป็นธรรม มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และการกระทำของตนต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัท

 

 

วัตถุประสงค์

1. เพิ่มศักยภาพ

2. เพิ่มโอกาส

3. ยึดความถูกต้อง

4. มีความรับผิดชอบ

5. มีความยุติธรรม

6. มีความโปร่งใส

ประโยชน์ของ Cooperate Govemance

1. ช่วยลดต้นทุนการบริหารงาน

2. สร้างสิ่งจูงใจให้พนักงานมีขวัญและกำลังใจในการทำงาน

3. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจมากขึ้น

4. มีความเที่ยงธรรม มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

5. นำไปสู่การพัฒนาประเทศให้ยั่งยืน

 

Business Plan

Business Plan (แผนธุรกิจ) หมายถึง รายงานระบุรายละเอียดของการวางแผนธุรกิจหรือเอกสารที่แสดงรายละเอียดต่าง ๆ ในการวางแผนธุรกิจอันมาจากผู้เขียนหรือจากตัวธุรกิจเองซึ่งรวบรวมตั้งแต่วัตถุประสงค์ไปจนถึงกระบวนการปฏิบัติงานและเนื้อหาบางส่วนอาจคล้ายแผนการตลาด

ประโยชน์ Business Plan

1. เป็นเครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการ

2. เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจมีโอกาสประสบความสำเร็จ

3. ใช้เป็นข้อตกลง

 

Customer Relation Management: CRM

Customer Relation Management: CRM (การบริหารลูกค้าสัมพันธ์) หมายถึง การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า แบบพาราโต 80:20

ประโยชน์ Customer Relation Management: CRM

1. ช่วยเพิ่มความสามารถในการให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น

2. สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว หรือ การบริการหลังการขาย

3. ลดการสูญเสียลูกค้า ลดต้นทุนการตลาด

 

Enterprise Relation Management: ERP

Enterprise Relation Management: ERP หมายถึง ระบบทรัพยากรขององค์กรเป็นระบบที่ใช้จัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ขององค์กร

ประโยชน์ Enterprise Relation Management: ERP

1. สามารถรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ให้ผู้บริหารอย่างเที่ยงตรง

2. ช่วยเชื่อมโยงระบบงานต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ

3. การบูรณาการทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีระบบและรวดเร็ว

 

Total Quality Management: TQM

Total Quality Management: TQM คือ เป็นระบบการบริหารที่มุ่งเน้นการให้ความสำคัญสูงสุดต่อลูกค้า ระบบนี้ลูกค้าจะเป็นผู้กำหนดมาตรฐานหรือความต้องการ

Total = ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วม

Quality = การสร้างความพึงพอใจในลูกค้า

Management = ระบบบริหารจัดการคุณภาพ

ประโยชน์ Total Quality Management: TQM

1. ก่อให้เกิดคุณค่าสินค้าและบริการ

2. ก่อให้เกิดศักยภาพและข้อได้เปรียบในการแข่งขัน

3. ลดต้นทุน

4. ประโยชน์ต่อการผลิตอย่างต่อเนื่อง

 

Social accountability 8000: SA 8000

SA 8000 หมายถึง มาตรฐานระหว่างประเทศในเรื่องความรับผิดชอบทางสังคมสำหรับหน่วยผลิตต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดมาตรฐานการจ้างแรงงานให้สอดคล้องกันทั่วโลก โดยมีที่มาจากปัญหาการจ้างแรงงานอย่างไม่เป็นธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก มีการกดขี่แรงงาน การใช้แรงงานเด็ก สตรี หรือ สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยมาตรฐาน SA 8000 จะกำหนดเป็นระบบการจัดการ โดยเน้นการปรับปรุงสภาพการจ้างงาน

                ประโยชน์ Social accountability 8000: SA 8000

1. การป้องกันการกีดกันด้านการค้า

2. ปรับปรุงสภาพการจ้างงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย

3. ปรับปรุงสภาพการทำงานให้เหมาะสม

4. เพิ่มโอกาสทางการค้าโดยวาง Product Position ใหม่

5. สร้างภาพลักษณ์ของบริษัทให้เป็นที่ยอมรับในสังคม

6. ทำให้แรงงานมีความจงรักภักดีต่อองค์กร

7. สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อสังคม

8. ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในตัวสินค้าและบริการ

 

ISO 26000

ISO 26000 หมายถึง มาตรฐานการแสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบของสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการตัดสินใจในธุรกิจ

ประโยชน์ ISO 26000

1. ช่วยให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างรอบคอบ

2. ปรับปรุงแนวปฏิบัติต่อการบริหารกาเสี่ยง

3. ช่วยเสริมสร้างชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือ

4. ป้องกันและลดความขัดแย้ง

5. การประหยัด

6. ช่วยสนับสนุนการคงอยู่ขององค์กรในระยะยาว

นางสาวเบญจมาศ เขื่อนแก้ว กจ.2/1 เลขที่ 9

Customer Relationship Management: CRM
CRM (Customer Relationship Management) หมายถึง การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า โดยใช้กฎพาเรโต 80 : 20 ในการพิจารณาสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าที่มีเพียง 20 % จากทั้งหมดที่สร้างยอดขายให้บริษัท 80 % เป็นลูกค้าที่องค์กรควรใส่ใจดูแลเป็นอันดับแรก
หลักการสำคัญของ
CRM
1. ปลูกจิตสำนึก
2. วิเคราะห์ความต้องการเบื้องต้นของลูกค้า
3. เก็บรวบรวมข้อมูล
4. จัดทำฐานข้อมูล
กุญแจแห่งความสำเร็จของงานลูกค้าสัมพันธ์ ประกอบด้วยปัจจัยดังนี้ คือ

1.             มีการร่วมมือกันอย่างทุ่มเทในการดำเนินกลยุทธ์ CRM ของบุคลากรทุกระดับในองค์การ

2.             พนักงานทุกระดับ และทุกหน่วยเก็บข้อมูลเพื่อสนับสนุนระบบ CRM อย่างถูกต้อง

3.             CRM จะต้องสอดคล้องกับตัวระบบการให้บริหาร เพื่อให้พนักงาน และลูกค้ามีความสะดวกในการใช้งาน

4.             ใช้ข้อมูลรายงาน CRM ที่จำเป็น และมีการแบ่งปันไปสู่ทีมงาน

5.             การดำเนินกลยุทธ์ CRM นั้นไม่ใช่การมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีราคาแพงเป็นหัวใจสำคัญ SME สามารถใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ ถึงแม้ว่าจะเป็นเทคโนโลยีราคาถูก แต่สามารถใช้ให้เกิดประสิทธิภาพได้ หากเปรียบเทียบกับการนำเทคโนโลยีไฮเทคเข้ามาใช้ แล้วทำให้เกิดความวุ่นวาย และเพิ่มต้นทุนมหาศาล

ประโยชน์ของ CRM คือ
1. มีรายละเอียดข้อมูลของลูกค้าในด้านต่างๆ ได้แก่ Customer Profile, Customer Behavior
2. วางแผนทางด้านการตลาดและการขายอย่างเหมาะสม
3. ใช้กลยุทธ์ในการตลาด และการขายได้อย่างรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพตรงความต้องการของลูกค้า
4. เพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ
5. ลดการทำงานที่ซับซ้อน ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน เพิ่มโอกาสในการแข่งขันก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์การ
………………………………………………………………………………………………………………..

Enterprise resource planning: ERP

การบริหารทรัพยากรขององค์กร (Enterprise Resource Planning ย่อ ERP) หมายถึง การบริหารจัดการภายในองค์กร เนื่องจากมีการแข่งขันกันที่สูง องค์กรต่างๆจึงต้องมีการพัฒนากระบวนการและข้อมูลทั้งหมด ในองค์กร เพื่อที่จะได้มีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น โดยจะมีการนำอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในโซ่อุปทาน (Supply Chain) โดยเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคโดยตรง โดยการผลิตตามความต้องการของลูกค้า

ERP เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ในการบริหารธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์กร อีกทั้งยังช่วยให้สามารถวางแผนการลงทุนและบริหารทรัพยากรขององค์กรโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ERP จะช่วยทำให้การเชื่อมโยง ทางแนวนอนระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง การผลิต และการขายทำได้อย่างราบรื่น ผ่านข้ามกำแพงระหว่างแผนก และทำให้สามารถบริหารองค์รวมเพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดได้

ประโยชน์ของ ERP ต่อธุรกิจ

ERP มีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ดีขึ้น ผ่านรูปแบบที่ครอบคลุมทั้งทางเทคโนโลยี กลยุทธ์ และข้อกำหนดทางการดำเนินงานของระบบ ERP ในรูปแบบที่ไอทีทำหน้าที่เป็น Back bone ของโครงสร้างพื้นฐานและการรองรับกา อำนวยความสะดวก และติดตามดูแลทรัพยากรที่แตกต่างกันทั่วทั้งองค์กรในระดับที่หลากหลาย จึงมีโอกาสมากสำหรับองค์กรที่ต้องการดึงคุณค่าและศักยภาพทางการแข่งขันจากระบบ  ERP ที่มีอยู่

   เหตุผลหลักสามอย่างที่บริษัทต่างๆ ต้องหันมาให้ความใส่ใจกับระบบ ERP คือ

1.    เพื่ออินทิเกรตข้อมูลทางการเงิน จากเดิมที่แต่ละแผนกอาจจะมีตัวเลขของตัวเอง แต่เมื่อรวมเป็นระบบ  ERP ข้อมูลจะมีอยู่เพียงชุดเดียว

2.    เพื่อสร้างมาตรฐานในกระบวนการผลิต ด้วยระบบคอมพิวเตอร์แบบอินทิเกรตเพียงตัวเดียว

3.    เพื่อสร้างมาตรฐานข้อมูลทรัพยากรบุคคล โดยเฉพาะในบริษัทที่มีหน่วยธุรกิจหลายหน่วย ฝ่ายบุคคลจะมีวิธีการที่ง่ายและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการติดตาม และติดต่อสื่อสารกับพนักงาน

…………………………………………………………………………

Supply Chain Management and Logistic

Supply Chain Management = การจัดการโซ่อุปทาน คือการรวบรวมการวางแผนและการจัดการของกิจกรรมทั้งหมดที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดหา การจัดซื้อ การแปรสภาพ และกิจกรรมการจัดการทั้งหมด ที่สำคัญการจัดการโซ่อุปทานยังรวมถึงการประสานงาน (Coordination)และการทำงานร่วมกัน (Collaboration) กับหุ้นส่วนต่างๆในโซ่อุปทานซึ่งจะเป็นผู้จัดส่งวัตถุดิบ ตัวกลางผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการลอจิสติกส์และลูกค้า แก่นสำคัญ คือการจัดการโซ่อุปทานจะบูรณาการทั้งการจัดการอุปสงค์และอุปทานซึ่งรวมถึงภายในและภายนอกบริษัท

Supply Chain Management มาใช้บริหารงานภายในองค์กร
1)ต้องเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค เพราะเป็นลูกค้าที่ซื้อของเรา
2)จะขายของต้องบอกผู้ที่จะรับซื้อให้ชัดเจน มีการตรวจสอบอย่างใกล้ชิด
3)การกระจายสินค้าออกไปทั่วทุกแห่งนั้น ต้องมีศูนย์การจัดจำหน่ายสินค้าอยู่จุดเดียว และการจัดทำต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อน และเข้าใจคนซื้อของท่านก่อนตลอดจนต้องเข้าใจคนที่จะขายของให้ท่านด้วย

ประโยชน์ของ Supply Chain Management  มีดังนี้

 1. สนองตอบตรงตามความต้องการของลูกค้า

 2. ลดค่าใช้จ่ายอย่างเป็นระบบ

 3.  ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กร

 4.  ติดตามกระบวนการทำงานได้อย่างใกล้ชิด

 5. บริหารสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 6. ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่า

Logistics Management = การจัดการลอจิสติกส์เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการโซ่อุปทานซึ่ง วางแผน นำไปปฏิบัติ และควบคุมการไหลทั้งไปและกลับอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพของสินค้า บริการและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในระหว่างจุดเริ่มต้นและจุดที่มีการบริโภคเพื่อที่จะให้ได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า

 

  • Logistic management เป็นส่วนหนึ่งของ SCM โดยมุ่งเน้นการวางแผน การดำเนินงาน การควบคุม โดยการนำระบบคอมฯหรือเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหาร เช่นธุรกิจ Super Store

ประโยชน์ของ Logistic

  • ลดต้นทุนในการสั่งสินค้า
  • ลดต้นทุนในการเก็บสินค้า
  • ตอบสนองความต้องการผู้บริโภคอย่างเต็มประสิทธิภาพ
  • เพิ่มความสะดวกรวดเร็ว และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
  • สร้างความได้เปรียบในการเพิ่มกำไร เนื่องจากต้นทุนโดยรวมลดลง
  • เพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด และประสิทธิภาพในการผลิต ขนส่งและการบริการลูกค้า

………………………………………………………………………………………………………………

Total Quality Management: TQM

TQM หมายถึง ระบบการทำงานที่เป็นวัฒนธรรมขององค์การที่สมาชิกทุกคนต่างให้ความสำคัญ และมีส่วนร่วม ในการพัฒนาการดำเนินงานขององค์การอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งที่จะตอบสนองความต้องการ และสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้า

วัตถุประสงค์ทั่วไปของ TQM
 1. เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า  
 2. เพื่อพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในกิจกรรมทุกด้าน  
 3. เพื่อความอยู่รอดขององค์กรและสามารถเจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง ภายใต้ภาวการณ์ แข่งขันที่รุนแรง  
 4. เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานทุกคน  
 5. เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น  
 6. เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ประโยชน์ของ TQM
            1. ก่อให้เกิดคุณค่าของสินค้าและบริการเพื่อนำเสนอต่อลูกค้า ซึ่งก็จะได้รับความพึงพอใจและเชื่อมั่นพร้อมทั้งภักดีต่อผลิตภัณฑ์ของเรา
            2. ก่อให้เกิดศักยภาพในการแข่งขันและความได้เปรียบทางธุรกิจ
            3. ช่วยลดต้นทุนในการผลิตและการดำเนินงานในการเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด
            4. เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มผลผลิตเนื่องจากมีการกระจายงานและเอื้ออำนวยให้ทุกกระบวนงานมีความคล่องตัว
…………………………………………………………………………………………………………….

Business Plan
แผนธุรกิจ หมายถึง แนวทางหรือทิศทางการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจ ซึ่งควรประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปของกลุ่ม รายละเอียดกิจการของกลุ่ม แผนการตลาด แผนการจัดองค์การ และแผนการเงิน

สำหรับผู้ประกอบการแล้ว แผนธุรกิจเป็นเอกสารที่มีความสำคัญยิ่งกว่าเอกสารใดๆ ที่เคยมีการรวบรวมมาความสำคัญเหล่านี้ได้แก่

1. แผนธุรกิจสำคัญในฐานะที่จะให้รายละเอียดของการเริ่มต้นธุรกิจ แผนธุรกิจทำให้ผู้ประกอบการมีเป้าหมายที่ชัดเจน กำหนดแนวทางของความคิด และช่วยให้ผู้ประกอบการแน่วแน่ต่อการใช้ทรัพยากรและกำลังความพยายามเพื่อไปสู่เป้าหมาย
2. แผนธุรกิจสำคัญในฐานะเป็นเครื่องมือที่จะแสวงหาเงินทุนจากผู้ร่วมลงทุน จากกองทุนร่วมลงทุน และจากสถาบันการเงินต่างๆ
3. แผนธุรกิจสำคัญในฐานะที่เป็นเสมือนพิมพ์เขียวที่ให้รายละเอียดของกิจกรรมต่างๆ ทั้งกิจกรรมในการจัดหาเงินทุน กิจกรรมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กิจกรรมการตลาด และอื่นๆ ในการบริหารกิจการใหม่ แผนธุรกิจยังใช้เพื่อกำหนดการปฏิบัติงานที่ต่อเนื่องในอนาคตของกิจการอีกด้วย

ประโยชน์ คือ
1. เป็นเครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการ
2. เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจมีโอกาสประสบความสำเร็จ
3. ใช้เป็นข้อตกลง
………………………………………………………………………………………………………………

Social Accountability 8000 (SA 8000)
SA 8000 คือมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ โดยอิงหลักเกณฑ์ตามอนุสัญญาขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และแถลงการณ์สิทธิมนุษยชนและอนุสัญญาสิทธิเด็กขององค์การสหประชาชาติ มาตรฐานนี้มุ่งเน้นเรื่องการใช้แรงงานเด็ก การใช้แรงงานถูกเกณฑ์ ความปลอดภัยและสุขอนามัย เสรีภาพในการรวมกลุ่มและสิทธิในการต่อรองเป็นหมู่คณะ การเลือกปฏิบัติ ความเคร่งครัดในระเบียบวินัย เวลาทำงาน การจ่ายเงินชดเชย และการใช้ระบบการบริหารที่มีประสิทธิภาพ

SA 8000 มีหลักการพื้นฐานคือ
-ผู้บริหารระดับสูงมีส่วนร่วมในการเป็นผู้นำ
-เน้นการปรับปรุง  พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
-เน้นการป้องกันมากกว่าการโต้ตอบ
-มีการบันทึกจัดทำระเบียนข้อมูล

ประโยชน์ที่ได้รับการจัดทำระบบ SA 8000
1. ป้องกันการกีดกันด้านการค้า

นางสาวเบญจมาศ เขื่อนแก้ว กจ.2/1 เลขที่ 9

(ต่อ)

ประโยชน์ที่ได้รับการจัดทำระบบ SA 8000

1. ป้องกันการกีดกันด้านการค้า

2. ปรับปรุงสภาพการจ้างงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย

3. ปรับปรุงสภาพการทำงานให้เหมาะสม

4. เพิ่มโอกาสทางการค้าโดยวาง Product Position ใหม่

……………………………………………………………………………………………………….

Knowledge Management (KM)

การจัดการความรู้ Knowledge Management หมายถึงกระบวนการอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการประมาลข้อมูล สารสนเทศ ความคิด การกระทำ ตลอดจนประสบการณ์ของบุคคลเพื่อสร้างเป็นความรู้หรือนวัตกรรม และจัดเก็บในลักษณะของแหล่งข้อมูลที่บุคคลสามารถเข้าถึงได้โดยอาศัยช่องทางต่างๆ ที่องค์การจัดเตรียมไว้ เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน

วิธีการจัดการความรู้

-การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากวิธีการทำงานแบบ Best Practice

-การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน “ชุมชนนักปฏิบัติ” (Community of Practice ; CoP)

ประโยชน์ของการจัดการความรู้

1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร

2. ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา ในกรณีที่บุคคลากรเกษียณอายุ ลาออก หรือเสียชีวิต

3. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความอยู่รอด

4. เป็นการลงทุนในต้นทุนมนุษย์ ในการพัฒนาความสามารถที่จะแบ่งปันความรู้ที่ได้เรียนรู้มาให้กับคนอื่นๆ ในองค์กร และนำความรู้ไปปรับใช้กับงานที่ทำอยู่ให้เกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น เป็นการการพัฒนาคน และพัฒนาองค์กร

…………………………………………………………………………..

ISO 26000 Social Responsibility

ISO 26000 Social Responsibility เป็นมาตรฐานการแสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบของสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืนทางธุรกิจ

องค์ประกอบของความรับผิดชอบต่อสังคม

1.มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Organization governance) กล่าวคือ องค์กรควรกำหนดหน้าที่ให้คณะกรรมการฝ่ายจัดการ ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถสอดส่องดูแลผลงานและการปฏิบัติงานขององค์กรได้ เพื่อแสดงถึงความโปร่งใส พร้อมรับการตรวจสอบ และสามารถชี้แจงให้ผู้มีส่วนได้เสียได้รับทราบถึงผลการปฏิบัติงานได้

2.คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน (Human rights) ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ โดยสิทธิดังกล่าวควรครอบคลุมถึงสิทธิความเป็นพลเมือง สิทธิทางการเมือง สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และสิทธิตามกฎหมายระหว่าง

3.ข้อปฏิบัติด้านแรงงาน (Labor practices) องค์กรต้องตะหนักว่าแรงงานไม่ใช่สินค้า ดังนั้นแรงงานจึงไม่ควรถูกปฏิบัติเสมือนเป็นปัจจัยการผลิต

4.การดูแลสิ่งแวดล้อม (Environment) องค์กรจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงหลักการป้องกันปัญหามลพิษการบริโภคอย่างยั่งยืน (Sustainable consumption) และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพในการดำเนินการผลิตและบริการ

5.การดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรม (Fair operating practices) องค์กรต่างๆ ควรแข่งขันกันอย่างเป็นธรรมและเปิดกว้าง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการลดต้นทุนสินค้าและบริการ นวัตกรรมการพัฒนาสินค้าหรือกระบวนการใหม่ๆ รวมถึงจะช่วยขยายการเติบโตทางเศรษฐกิจและมาตรฐานการครองชีพในระยะยาว

6.ใส่ใจต่อผู้บริโภค (Consumer issues) องค์กรจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้รับทราบข้อมูลในการใช้สินค้าและบริการอย่างเหมาะสม ทั้งยังต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาสินค้าและบริการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยคำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้งานและสุขภาพของผู้บริโภค นอกจากนี้เมื่อพบว่าสินค้าไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด องค์กรก็จะต้องมีกลไกในการเรียกคืนสินค้า พร้อมทั้งยังต้องให้ความสำคัญกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค และถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดอีกด้วย

7.การแบ่งปันสู่สังคมและชุมชน (Contribution to the community and society)

ประโยชน์ คือ

1.ช่วยให้การตัดสินใจเป็นไปด้วยความรอบคอบ

2.ปรับปรุงแนวปฏิบัติต่อการบริหารความเสี่ยง

3.ช่วยสร้างเสริมชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือขององค์กรต่อสาธารณะชน

นายวิศรุต วงษ์เมตตา เลขที่.20 กจ.2/1

มาตรฐานว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม

หมายถึง ISO 26000 Social Responsibility เป็นมาตรฐานการแสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบของสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืนทางธุรกิจ

วัตถุประสงค์ของการมีมาตรฐานฉบับนี้

1.ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยความเคารพต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรม สังคม สิ่งแวดล้อม

2.เน้นผลการดำเนินงานและการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

3.เพิ่มความเชื่อมั่นและความพึงพอใจต่อองค์กรของลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร

4.มีความสอดคล้องและไม่ขัดแย้งกับเอกสารที่มีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น สนธิสัญญาระหว่างประเทศ

5.ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่จะลดทอนอำนาจหน้าที่ของภาครัฐเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรต่าง ๆ

6.ส่งเสริมคำนิยามทั่วไปที่ใช้ในวงการความรับผิดชอบทางสังคม

7.ทำให้เกิดความตระหนักในวงกว้างในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม

องค์ประกอบของความรับผิดชอบต่อสังคม

1.ธรรมาภิบาลขององค์กร (organization governance)

2.การเคารพสิทธิมนุษยชน (human rights)

3.การปฏิบัติต่อผู้ใช้แรงงานอย่างเป็นธรรม (labor practices)

4.ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม (environment)

5.การดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรม (fair operating practices)

6.การรับผิดชอบต่อผู้บริโภค(consumer issues)

7.การแบ่งปันสู่สังคมและชุมชน (contribution to the community and society)

7 หลักการของความรับผิดชอบต่อสังคม

1.มีความรับผิดชอบ (Accountability)

2.มีความโปร่งใส (Transparency)

3.มีจริยธรรม (Ethical)

4.ห้ความสำคัญกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Respect for and considering of stakeholder interests)

5.เคารพต่อหลักนิติธรรม (Respect for rule of law)

6.ยอมรับในมาตรฐานสากล (Respect for international norms)

7.เคารพต่อสิทธิมนุษยชน (Respect for human rights)

นายวิศรุต วงษ์เมตตา เลขที่.20 กจ.2/1

Supply chain Management (SCM)

หมายถึง กระบวนการโดยรวมของการไหลของวัตถุ สินค้า ตลอดจนข้อมูล และธุรกรรมต่างๆ

ขั้นตอนกระบวนการในการนำเครื่องมือไปใช้

-กระบวนการจัดซื้อ Procurement

-การผลิต Manufacturing

-การจัดเก็บ Storage

-เทคโนโลยีสารสนเทศ Information Technology

-การจัดจำหน่าย Distribution

-การขนส่ง Transportation

การนำหลักการของ Supply chain Management

1.การจัดหาสินค้าโดยเน้นความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก

2.การวางแผนเพื่อให้ได้มาเพื่อสินค้า

3.การควบคุมระดับสต็อกสินค้า

4.การขนส่งสินค้าจากผู้ผลิตไปยังลูกค้า

Logistic หมายถึง กระบวนการวางแผนการดำเนินงานและการควบคุมการเคลื่อนย้ายทั้ง

ไปและกลับ การเก็บรักษาสินค้า บริการ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการผลิตไปสู่จุดสุดท้ายของการบริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

ประโยชน์ของ Logistic

-ลดต้นทุนในการสั่งซื้อสินค้า

-ลดต้นทุนในการจัดเก็บสินค้า

-ตอบสนองความต้องการผู้บริโภคอย่างเต็มประสิทธิภาพ

-เพิ่มความสะดวกรวดเร็ว และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

-สร้างความได้เปรียบในการเพิ่มกำไรเนื่องจากต้นทุนโดยรวมลดลง

-เพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดและประสิทธิภาพในการผลิต ขนส่งและการบริการลูกค้า

Corporate Governance

หมายถึง คำว่า“บรรษัทภิบาล” หรือ Corporate Governance ตามความหมายของสมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย คือ หลักในการบริหารจัดการธุรกิจทุกประเภททุกขนาดให้เติบโตอย่างมั่นคง ด้วยการสร้างกลไกควบคุมการดำเนินงานขององค์กร ให้เป็นไปอย่างโปร่งใสและเกิดความเป็นธรรมต่อ ผู้ถือหุ้น คณะกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน คู่ค้า ลูกค้า ตลอดจนรับผิดชอบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม แนวคิดการทำธุรกิจตามหลัก"บรรษัทภิบาล

หลักการใช้ Corporate Governance

1.การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างถูกต้องและเท่าเทียม

2.ในการดำเนินการใดๆ ต้องคำนึงถึงประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทุกราย

3.บทบาทของคณะกรรมการในฐานะที่เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นทั้งหมดของบริษัท

4. องค์กรควรให้มีคู่มือในการบริหารงานและดำเนินการ การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส

5.การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส

ประโยชน์ของ Corporate Governance

1.เพิ่มศักยภาพในการสร้างสมรรถนะการแข่งขันให้แก่บริษัททั้งในระดับประเทศและระดับโลก

2.เพิ่มโอกาสในการเข้าสู่ตลาดทุนของโลก

3.เพิ่มโอกาสในการเสาะหาพันธมิตรทางธุรกิจได้ง่ายขึ้นและเป็นพันธมิตรที่มีบรรษัทภิบาลที่ดี

Business Plan แผนธุรกิจ

เอกสารสรุปรวมการวางแผน ซึ่งได้แสดงรายละเอียดอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการพัฒนาและปรับปรุงธุรกิจของธุรกิจที่ดำรงอยู่หรือธุรกิจที่ตั้งเป้าหมาย แผนนี้จะแสดงให้เห็นถึง สิ่งที่จะดำเนินการ วิธีการ และแหล่งที่มาของทรัพยากรของธุรกิจที่จะได้มาและใช้ประโยชน์ ซึ่งมีความจำเป็นในการที่จะประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของธุรกิจ

องค์ประกอบที่สำคัญในการเขียนแผนธุรกิจ

1.บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

2.ประวัติกิจการ / ภาพรวมของกิจการ

3.การวิเคราะห์สถานการณ์

4.วัตถุประสงค์ และเป้าหมายทางธุรกิจ

5.แผนการตลาดและการวิจัย

6.แผนการบริหารจัดการและแผนการดำเนินงาน

7.แผนการผลิต/ปฏิบัติการ

8.แผนการเงิน

9.แผนฉุกเฉิน

10.ภาคผนวก

ประโยชน์ ข้อดีของการนำเครื่องมือไปใช้

1 .เป็นเครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการ ในการวางแผนการดำเนินธุรกิจ ได้อย่างถูกต้อง

2. เป็นเครื่องมือ ที่ช่วยให้ธุรกิจ มีโอกาสประสบ ความสำเร็จสูง และลดโอกาสการเกิดความผิดพลาด

3. เป็นเครื่องมือเพื่อขอรับการสนับสนุนทางการเงิน

(Customer Relationship Management )

ความหมายของ CRM

• พัฒนาและรักษา ความสัมพันธ์ระยะยาว ที่เป็นประโยชน์ร่วมกันระหว่างองค์กรกับ

• ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ใช้วิธีการหลักผ่านทาง Webbasedและ internet

• เป็นการดูแลให้บริการลูกค้า แบบหนึ่งต่อหนึ่ง รับฟังเสียงของลูกค้าและศึกษาความต้องการของลูกค้าเฉพาะราย

• เป็นแนวทางการบริหารที่องค์กร กำหนด ดึงดูดรักษาความสัมพันธ์ของลูกค้าเป้าหมาย ที่นำกำไรมาสู่บริษัท

กระบวนการในการนำไปใช้ของเครื่องมือส่วนประกอบหลัก

1. ระบบการขายอัตโนมัติ

2. ระบบศูนย์เรียกใช้บริการ

3. ระบบการตลาดอัตโนมัติ

4. ระบบการจัดการข้อมูล

กระบวนการทำงานของระบบ CRM มี 4 ขั้นตอนดังนี้

1. Identify : เก็บข้อมูลว่าลูกค้าของบริษัทเป็นใคร

2. Differentiate : วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าแต่ละคน

3. Interact : มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อเรียนรู้ความต้องการของ

4. Customize : นำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีความเหมาะสมเฉพาะตัวกับลูกค้าแต่ละคน

ประโยชน์ของการนำเครื่องมือ CRM มาใช้ในกิจการ

1. มีรายละเอียดข้อมูลของลูกค้าในด้านต่างๆ ได้แก่ Customer Profile, Customer Behavior

2. วางแผนทางด้านการตลาดและการขายอย่างเหมาะสม

3. ใช้กลยุทธ์ในการตลาด และการขายได้อย่างรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพตรงความต้องการของลูกค้า

4. เพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ

5. ลดการทำงานที่ซับซ้อน ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน เพิ่มโอกาสในการแข่งขันก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์การ

ERP (Enterprise Resource Planning)

ระบบบริหารทรัพยากรองค์กร หรือ ERP คือ ระบบการวางแผนทรัพยากรขององค์กร

เป็นระบบที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆขององค์กร โดยเป็นระบบ

ที่เชื่อมโยงระบบงานต่างๆขององค์กรเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ระบบงานทางด้านบัญชีและการเงิน

เพื่อช่วยให้การวางแผนและบริหารทรัพยากรขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ

ลักษณะสำคัญของระบบ ERP คือ

1 การบูรณาการระบบงานต่างๆ ของระบบ ERP

2 รวมระบบงานแบบ Real time ของระบบ ERP

3 ระบบ ERP มีฐานข้อมูล (database) แบบสมุดลงบัญชี

ขั้นตอนการนำระบบ ERP มาใช้ในองค์การ

1. การศึกษาและการวางแนวคิด

2. การวางแผนนำระบบมาใช้

3. การพัฒนาระบบ

4. การใช้งานและปรับเพิ่มความสามารถ

ประโยชน์ของ ERP

1. กระบวนการบริหาร ERP เป็นระบบที่สามารถรวบรวมข้อมูลต่างๆ ให้กับผู้บริหารได้อย่างเที่ยงตรง ทำให้ผู้บริหารทราบผลการดำเนินงาน

2. เทคโนโลยีพื้นฐาน ERP ช่วยเชื่อมโยงระบบงานต่างๆที่กระจัดกระจายเข้าด้วยกันเสมือนเป็นระบบเดียวกันทั้งองค์การการสร้างมาตรฐาน

3. กระบวนการทำงานที่รวดเร็ว การบูรณาการงานหลักต่างๆขององค์การเข้าด้วยกันช่วยให้ประสานงานทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ข้อดีของระบบ ERP

1.ความยืดหยุ่น ระบบ ERP ต้องยืดหยุ่นพอที่จะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

ในองค์กรได้

2.ความเป็นสัดส่วนและง่ายต่อการแก้ไข ERP จะต้องมีโครงสร้างที่ปรับเลี่ยนได้ง่าย

3.ครอบคลุม ERP จะต้องเป็นการรวบรวมระหว่างส่วนต่าง ๆขององค์กรได้

4.เหนือขอบเขตขององค์กร ERP ควรจะสนับสนุนการเชื่อมต่อกันกับระบบขององค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท

TQM (Total Quality Management)

หมายถึง ระบบบริหารคุณภาพที่มุ่งเน้นการให้ความสำคัญสูงสุดต่อลูกค้าภายใต้ความร่วมมือของพนักงานทั่วทั้งองค์กรที่จะปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการได้ TQM จึงเป็นแนวทางที่หลายองค์กรนำมาใช้ปรับปรุงงาน

วัตถุประสงค์ทั่วไปของ

TQM (Total Quality Management)

1. เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า

2. เพื่อพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องในกิจกรรมทุกด้านและช่วยลดต้นทุน

3. เพื่อสร้างความพึงพอใจและยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานทุกคน

4. เพื่อความอยู่รอดขององค์กรและการเจริญเติบโตเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น

ส่วนประกอบของ

1. การให้ความสำคัญกับลูกค้า (Customer Oriented)

2. การพัฒนา/ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement)

3.สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วม (Employees Involvement)

PDCA คือ วงจรการบริหารงานคุณภาพ ประกอบด้วย

P = Plan

คือ การวางแผนงานจากวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย

D = Do

คือ การปฏิบัติตามขั้นตอนในแผนงานที่ได้เขียนไว้อย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง

C = Check

คือ การตรวจสอบผลการดำเนินงานในแต่ล่ะขั้นตอนของ แผนงานว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น

A = Action

คือ การปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา หรือถ้าไม่มีปัญหาใดๆ ก็ยอมรับแนวทางการปฏิบัติตามแผนงานที่ได้ผลสำเร็จ

เมื่อได้ว่างแผนงานเสร็จแล้วก็จะนำ PDCA ไปใช้โดย

(P) นำไปปฏิบัติ

(D) ระหว่างการปฏิบัติก็ดำเนินการตรวจสอบ

(C) พบปัญหาก็ทำการแก้ไขหรือปรับปรุง

(A)การปรับปรุงก็เริ่มจากการวางแผนก่อน วนไปได้ เรื่อยๆ จึงเรียก “วงจร PDCA”

ประโยชน์ของ TQM

1.ก่อให้เกิดคุณค่าของสินค้าและบริการเพื่อนำเสนอต่อ ลูกค้า ซึ่งก็จะได้รับความพึงพอใจและเชื่อมั่นพร้อมทั้ง ภัคดีต่อผลิตภัณฑ์ของเรา

2.ก่อให้เกิดศักยภาพในการแข่งขันและความได้เปรียบ ทางธุรกิจ

3.ช่วยลดต้นทุนในการผลิตและการดำเนินงานในการเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด

4.เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มผลผลิตเนื่องจากมีการ กระจายงาน และเอื้ออำนวยให้ทุกกระบวนการทำงานมีความ คล่องตัว

5.ทำให้มีการกำหนดจุดควบคุมที่เหมาะสม เพื่อติดตามผลของการดำเนินงานเป็นระยะและเมื่อผลเบี่ยงเบนไปจากเป้าหมายก็จะมีระบบในการวิเคราะห์หาสาเหตุเพื่อทำการแก้ไข และป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ

Social Accountability 8000

คือ มาตรฐานระหว่างประเทศในเรื่องของความรับผิดชอบทางสังคม สำหรับหน่วยผลิต ต่างๆ เช่น โรงงานนิคมอุตสาหกรรม โรงงานผลิตอาหารกระป๋อง เป็นต้น ซึ่งเป็นการกำหนดมาตรฐานการจ้างแรงงานเพื่อลดความไม่เป็นธรรม

ขั้นตอนหรือกระบวนการในการนำไปใช้ของเครื่องมือ

อนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO Convention) เป็นบรรทัดฐานโดยเฉพาะในเรื่องการใช้แรงงานเด็กและในเรื่องสิทธิมนุษยชน โดยจะแบ่งเป็น 9 หัวข้อและมีเนื้อหาในข้อกำหนดที่สำคัญ ดังนี้

1. แรงงานเด็ก

2. แรงงานบังคับ

3. สุขภาพและความปลอดภัย

4. เสรีภาพในสมาคมและสิทธิในการรวมกลุ่มเจรจาต่อรอง

5. การกีดกันหรือการแบ่งแยก

6. การลงโทษทางวินัย

7. ชั่วโมงทำงาน

8. ค่าตอบแทน

9. ระบบบริหาร

ประโยชน์ที่ได้รับการจัดทำระบบ SA 8000

1. ป้องกันการกีดกันด้านการค้า

2. ปรับปรุงสภาพการจ้างงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย

3. ปรับปรุงสภาพการทำงานให้เหมาะสม

4. เพิ่มโอกาสทางการค้าโดยวาง Product Position ใหม่

5. สร้างภาพลักษณ์ของบริษัทให้เป็นที่ยอมรับในสังคมโดยเฉพาะในสายตาของผู้บริโภค

6. ทำให้แรงงานมีความจงรักภักดีต่อองค์กร

7. สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อสังคม

8. ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในตัวสินค้าและบริการและมีความภักดีต่อองค์กร

ISO 26000 Social Responsibility

มาตรฐานว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม

หมายถึง ISO 26000 Social Responsibility เป็นมาตรฐานการแสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบของสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืนทางธุรกิจ

วัตถุประสงค์ของการมีมาตรฐานฉบับนี้

1.ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยความเคารพต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรม สังคม สิ่งแวดล้อม

2.เน้นผลการดำเนินงานและการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

3.เพิ่มความเชื่อมั่นและความพึงพอใจต่อองค์กรของลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร

4.มีความสอดคล้องและไม่ขัดแย้งกับเอกสารที่มีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น สนธิสัญญาระหว่างประเทศ

5.ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่จะลดทอนอำนาจหน้าที่ของภาครัฐเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรต่าง ๆ

6.ส่งเสริมคำนิยามทั่วไปที่ใช้ในวงการความรับผิดชอบทางสังคม

7.ทำให้เกิดความตระหนักในวงกว้างในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม

องค์ประกอบของความรับผิดชอบต่อสังคม

1.ธรรมาภิบาลขององค์กร (organization governance)

2.การเคารพสิทธิมนุษยชน (human rights)

3.การปฏิบัติต่อผู้ใช้แรงงานอย่างเป็นธรรม (labor practices)

4.ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม (environment)

5.การดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรม (fair operating practices)

6.การรับผิดชอบต่อผู้บริโภค(consumer issues)

7.การแบ่งปันสู่สังคมและชุมชน (contribution to the community and society)

7 หลักการของความรับผิดชอบต่อสังคม

1.มีความรับผิดชอบ (Accountability)

2.มีความโปร่งใส (Transparency)

3.มีจริยธรรม (Ethical)

4.ห้ความสำคัญกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Respect for and considering of stakeholder interests)

5.เคารพต่อหลักนิติธรรม (Respect for rule of law)

6.ยอมรับในมาตรฐานสากล (Respect for international norms)

7.เคารพต่อสิทธิมนุษยชน (Respect for human rights)

นางสาวศิวพร วิลาศ ห้อง กจ.2/1 เลขที่ 24

สรุปเครื่องมือ

1.) Supply Chain Management and Logistic

Supply Chain Management = การจัดการโซ่อุปทาน คือการรวบรวมการวางแผนและการจัดการของกิจกรรมทั้งหมดที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดหา การจัดซื้อ การแปรสภาพ และกิจกรรมการจัดการทั้งหมด ที่สำคัญการจัดการโซ่อุปทานยังรวมถึงการประสานงาน (Coordination)และการทำงานร่วมกัน (Collaboration) กับหุ้นส่วนต่างๆในโซ่อุปทานซึ่งจะเป็นผู้จัดส่งวัตถุดิบ ตัวกลางผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการลอจิสติกส์และลูกค้า แก่นสำคัญ คือ การจัดการโซ่อุปทานจะบูรณาการทั้งการจัดการอุปสงค์และอุปทานซึ่งรวมถึงภายในและภายนอกบริษัท

Logistics Management = การจัดการลอจิสติกส์เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการโซ่อุปทานซึ่ง วางแผน นำไปปฏิบัติ และควบคุมการไหลทั้งไปและกลับอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพของสินค้า บริการและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในระหว่างจุดเริ่มต้นและจุดที่มีการบริโภคเพื่อที่จะให้ได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า

การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management ; SCM)การจัดการโซ่อุปทาน คือการรวบรวมการวางแผน และการจัดการของกิจกรรมทั้งหมดที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดหา การจัดซื้อ การแปรสภาพ และกิจกรรมการจัดการทั้งหมด ที่สำคัญการจัดการโซ่อุปทานยังรวมถึงการประสานงาน (Coordination) และการทำงานร่วมกัน (Collaboration) กับหุ้นส่วนต่างๆในโซ่อุปทานซึ่งจะเป็นผู้จัดส่งวัตุดิบ ตัวกลางผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการลอจิสติกส์และลูกค้า แก่นสำคัญก็คือ การจัดการโซ่อุปทานจะบูรณาการ (Integrate) ทั้งการจัดการอุปสงค์และอุปทาน ซึ่งรวมถึงทั้งภายในและภายนอกบริษัท

2.) Corporate Governance

บรรษัทภิบาล หมายถึง การบริหารจัดการที่ดี ในปัจจุบันไม่ใช่คำแปลกใหม่แต่อย่างใด และได้มีการรณรงค์กันอย่างกว้างขวางมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับเรื่องของบรรษัทภิบาล ทางกองทุนของเราให้ความสำคัญอย่างมาก โดยหุ้นหรือหุ้นกู้ที่ทางกองทุนของเราจะลงทุน จะต้องได้รับการพิจารณาในเรื่องของบรรษัทภิบาลด้วย เพราะทางเราเชื่อว่าบริษัทที่เป็นบรรษัทภิบาล จะสามารถสร้างผลการดำเนินงานที่ดี และให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว

ซึ่งอาจสรุปเป็นประเด็นสำคัญได้ดังนี้

- การปฏิบัติกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างเป็นธรรม

- การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส

- การลดความเสี่ยง

- ความรับผิดชอบต่อสังคม

- ความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่

- ความเป็นอิสระและความเข้มแข็งของคณะกรรมการ

3.) Business Plan

แผนธุรกิจ (Business Plan) เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับผู้ประกอบการที่ริเริ่มจะก่อตั้งกิจการ แผนนี้เป็นผลสรุปหรือผลรวมแห่งกระบวนการคิดพิจารณา และการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนความคิดของผู้ประกอบการออกมาเป็นโอกาสทางธุรกิจ มีผู้เปรียบเทียบว่าแผนธุรกิจเปรียบเหมือนแผนที่ในการเดินทาง ที่จะชี้แนะขั้นตอนต่างๆ ทีละขั้นตอนในกระบวนการก่อตั้งกิจการ แผนจะให้รายละเอียดต่างๆ ทั้งเรื่องของการตลาดการแข่งขันกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ การคาดคะเนทางการเงิน ที่จะชี้นำผู้ประกอบการไปสู่ความสำเร็จหรือชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนและข้อควรระวังด้วยเช่นกัน

องค์ประกอบของแผนธุรกิจ

แม้ว่าองค์ประกอบของแผนธุรกิจจะไม่ได้มีกำหนดไว้ตายตัว หากแต่องค์ประกอบหลัก ซึ่งนักลงทุนพิจารณาว่าเป็นสิ่งสำคัญและต้องการรู้จะประกอบด้วยสิ่งเหล่านี้ คือ

1. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

2. ประวัติโดยย่อของกิจการ

3. การวิเคราะห์สถานการณ์

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมายทางธุรกิจ

5. แผนการตลาด

6. แผนการจัดการและแผนกำลังคน

7. แผนการผลิต/ปฏิบัติการ

8. แผนการเงิน

9. แผนการดำเนินงาน

10. แผนฉุกเฉิน

4.) Customer Relationship Management (CRM)

Customer Relationship Management (CRM) เป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้า เรียนรู้ความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้า และตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยสินค้าหรือบริการที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละคนมากที่สุด กระบวนการทำงานของระบบ CRM มี 4 ขั้นตอนดังนี้

1. Identify เก็บข้อมูลว่าลูกค้าของบริษัทเป็นใคร เช่น ชื่อลูกค้า ข้อมูลสำหรับติดต่อกับลูกค้า

2. Differentiate วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าแต่ละคน และจัดแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มตามคุณค่าที่ลูกค้ามีต่อบริษัท

3. Interact มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อเรียนรู้ความต้องการของลูกค้า และเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในระยะยาว

4. Customize นำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีความเหมาะสมเฉพาะตัวกับลูกค้าแต่ละคน

ประโยชน์ของ CRM ต่อธุรกิจของคุณ

CRM ช่วยเพิ่มความสามารถในการให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น เช่น ใช้เว็บไซต์ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า วิธีการใช้สินค้า และให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นช่องทางให้ลูกค้าแนะนำติชมต่อบริการของบริษัทได้ง่าย ช่วยให้ลูกค้าสามารถ customize ความต้องการของตนเองได้ทันที เป็นต้น

5.) Enterprise Resource Planning

ERP เป็นทั้งแนวความคิดในการบริหาร ระบบสารสนเทศ และโปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อวางแผนและจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั่วทั้งบริษัท โดยการเชื่อมโยงกระบวนการทางธุรกิจไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดซื้อ การผลิต การขาย ลอจิสติกส์ บัญชี การเงินและงานบุคคล เป็นต้น เข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบเพื่อมุ่งไปสู่ผลกำไรสูงสุดของบริษัท

ERP เหมาะสำหรับนำมาใช้ในการบริหารธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดกลาง สำหรับธุรกิจขนาดย่อมหรือเล็กนั้น อาจจะต้องเลือกใช้โปรแกรมขนาดเล็กลงมาหรือเลือกใช้เฉพาะบางโมดูลตามความจำเป็น จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้มีส่วนร่วมในโครงการชุบชีวิตธุรกิจไทยโดยให้บริการที่ปรึกษาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอที พบว่าอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs)ในบ้านเราส่วนใหญ่จะมีปัญหาในเรื่องของการไม่รู้ต้นทุนสินค้าที่ถูกต้อง การควบคุมสินค้าคงคลัง และการวางแผนและการควบคุมการผลิต ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกระบวนการผลิตที่ไม่ซับซ้อนมากนัก สามารถนำไอทีเข้ามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและความถูกต้องได้โดยง่าย หากได้รับคำแนะนำและนำระบบ ERP เข้าไปใช้อย่างเหมาะสม

6.) Total Quality Management

TQM คือ แนวทางการบริหารองค์กรที่เป็นระบบ ครอบคลุมทุกส่วนขององค์กร

มุ่งเน้นการผลิตสินค้าและบริการ "ที่มีคุณภาพ" และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า "ได้อย่างต่อเนื่อง" โดยพนักงานทุกคนขององค์กร "มีส่วนร่วม" ในกระบวนการสร้างคุณภาพ เพื่อให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจสูงสุด

ประโยชน์ของ TQM

1. ทำให้สินค้าและบริการที่ผลิตมีคุณภาพตรงตามความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า

2. ช่วยเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. พนักงานมีส่วนร่วมในการดำเนินการและแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง

4. แก้ปัญหาเรื่องคุณภาพได้อย่างเป็นระบบและมีตัวชี้วัดที่ชัดเจน

5. ลดปัญหาเรื่องข้อร้องเรียนจากลูกค้า และยกระดับความพึงพอใจของลูกค้า

6. พัฒนาองค์กรได้อย่างครอบคลุมทุกส่วนงาน

7.) Iso 26000

ไม่เกินปลายปี 2551 ISO 26000 ที่ว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (SR : Social Responsibility) ซึ่งถือเป็นมาตรฐานใหม่ของ ISO ที่ว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมโดยมีแนวคิดที่พูดถึงความรับผิดชอบที่ไม่จำกัดอยู่เพียงองค์กรธุรกิจ แต่ยังหมายถึงความรับผิดชอบขององค์กรต่างๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม โดยในปีที่ผ่านมาเริ่มมีการเผยแพร่มาตรฐานนี้มากขึ้นทั้งๆ ที่ร่างมาตรฐานยังไม่แล้วเสร็จ แต่ก็ดูเหมือนว่าสามารถสร้างความตื่นตัวให้องค์กรจำนวนมากในไทยได้ แม้ว่าในเบื้องต้นมาตรฐานที่ว่าจะเป็นเพียงแนวปฏิบัติแต่เพียงเท่านั้น

โดยกรอบกว้างๆ ของ ISO 26000 จะให้ความสำคัญกับ หลักพึงปฏิบัติ 7 ประการได้แก่

1.ผู้บริโภค (consumer Issues)

2.การกำกับดูแลกิจการ (organization governance)

3.การปฏิบัติต่อพนักงาน (labor practices)

4.สิทธิมนุษยชน (human right)

5.สิ่งแวดล้อม (environment)

6.การปฏิบัติอย่างเป็นธรรม (fair operation practices)

7.การพัฒนาสังคม (community involement/social development)

8.) SA 8000

SA 8000 หรือ Social Accountability 8000 เป็นระบบมาตรฐานสากลที่ให้ความสำคัญกับสิทธิ ขั้นพื้นฐานของแรงงาน ซึ่งเหมือนกับระบบ ISO 9000 ที่เป็นมาตรฐานสากลสำหรับระบบคุณภาพ อันเกี่ยวกับการจัดการด้านคุณภาพและการประกันคุณภาพ และ ISO 14000 ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม SA 8000 เป็นระบบมาตรฐานสากลที่ใช้ได้กับทุกธุรกิจ อุตสาหกรรมการผลิต หรือ การบริการ โดยไม่คำนึงถึง ขนาด สถานที่ เทคโนโลยีในการผลิต และความซับซ้อนขององค์กร

จุดเริ่มต้นของ SA 8000

ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีปัญหาเกี่ยวกับกฎระเบียบข้อบังคับในการทำงานของคนงานที่ไม่เป็นไปในทางเดียวกันในแต่ละ ทำให้เกิดข้อขัดแย้ง ขาดเอกภาพ และส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อสินค้าและบริการนั้นๆ ดังนั้น องค์กรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ CEP (Council on Economic Priorities) และตัวแทนจากอุตสาหกรรม สหภาพแรงงาน NGO'S และกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ได้เข้ามากำหนดและพัฒนาระบบมาตรฐานสากลที่ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคมในด้านสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ หรือ ระบบมาตรฐาน SA 8000 โดยได้จัดตั้งองค์กร CEPAA (The Council on Economic Priorities Accreditation Agency) ขึ้นมาดูแลในปี 1997

ประโยชน์ที่ได้รับจากการนำมาตรฐาน SA 8000 มาใช้

o สร้างภาพลักษณ์ของบริษัทให้เป็นที่ยอมรับในสังคมโดยเฉพาะในสายตาของผู้บริโภค

o ทำให้แรงงานมีความจงรักภักดีต่อองค์กร ประสิทธิภาพในการทำงานของแรงงานเพิ่มขึ้นและนำไป สู่การเพิ่มผลผลิตในที่สุด

o สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อสังคม

o ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในตัวสินค้าและบริการและมีความภักดีต่อองค์กร

o มีช่องทางการตลาดใหม่

o มีโอกาสในการเลือกแรงงานที่มีคุณภาพ

o ลดขั้นตอนและต้นทุนในการตรวจสอบ

นางสาวนภาพร วงค์สถาน เลขที่ 8 กจ.2/1

สรุปเครื่องมือการบริหารจัดการ

1.Supply chain management and logistic

Supply chain management คือ กระบวนการโดยรวมของการไหลของวัสดุ สินค้า ตลอดจนข้อมูล และธุรกรรมต่าง ๆ

ประโยชน์

- สนองตอบตรงความต้องการของลูกค้า

- ลดค่าใช้จ่ายอย่างเป็นระบบ

- ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กร

logistic คือ กระบวนการวางแผนการดำเนินงานและการควบคุมการเคลื่อนย้ายทั้งไปและกลับ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

ประโยชน์

- ลดต้นทุนในการสั่งสินค้า

- ลดต้นทุนในการเก็บสินค้า

- ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างเต็มประสิทธิภาพ

2.Corporate Governance

หมายถึง หลักในการบริหารจัดการธุรกิจทุกประเภททุกขนาดให้เติบโตอย่างมั่นคง ด้วยการสร้างกลไกควบคุมการดำเนินงานขององค์กร ให้เป็นไปอย่างโปร่งใสและเกิดความเป็นธรรม

ประโยชน์

- มีความเที่ยงธรรม

- นำไปสู่การพัฒนาของประเทศ

3.Business Plan

คือ กระบวนการนำแนวความคิด ที่จะจัดตั้งกิจการหรือขยายองค์กรธุรกิจที่มีอยู่เดิม มาสู่แผนปฏิบัติงานที่มีความเป็นรูปธรรม และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

ประโยชน์

- เป็นเครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการ

- เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจมีโอกาสประสบความสำเร็จ

- ช่วยเป็นข้อตกลง

4.Customer Relationship Mnagement

คือ การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยการใช้เทคโนโลยีและการใช้บุคลากรอย่างมีหลักการ

ประโยชน์

1. มีรายละเอียดข้อมูลของลูกค้าในด้านต่างๆ ได้แก่ Customer Profile Customer Behavior

2. วางแผนทางด้านการตลาดและการขายอย่างเหมาะสม

3. ใช้กลยุทธ์ในการตลาด และการขายได้อย่างรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพตรงความต้องการของลูกค้า

4. เพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ

5. ลดการทำงานที่ซับซ้อน ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน เพิ่มโอกาสในการแข่งขันก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์การ

5.Enterprise Resource Planning

คือ ระบบทรัพยากรขององค์การ เป็นระบบวิธีจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ

ประโยชน์

- กระบวนการบริหาร

- เทคโนโลยีพื้นฐาน

- กระบวนการทำงานที่รวดเร็ว

6.Total Quality Management

เป็นระบบบริหารคุณภาพที่เน้นการให้ความสำคัญ

ประโยชน์

- ก่อให้เกิดคุณค่าสินค้าและบริหาร

- ลดต้นทุน

- ประโยชน์ต่อการผลิตอย่างต่อเนื่อง

7.Social accountability 8000

คือ มาตรฐานระหว่างประเทศในเรื่องความรับผิดชอบทางสังคมสำหรับหน่วยผลิตต่าง ๆ

ประโยชน์

- การป้องกันการกีดกันดานการค้า

- ปรับปรุงสภาพการจ้างงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย

- ปรับปรุงสภาพการทำงานให้เหมาะสม

8.ISO 26000

เป็นมาตรฐานแสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบของสังคมและสิ่งแวดล้อม

ประโยชน์

- ช่วยให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างรอบคอบ

- ปรับปรุงแนวปฏิบัติต่อการบริหารการเสี่ยง

- ช่วยเสริมสร้างชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือ

- ป้องกันและลดความขัดแย้ง

- การประหยัด

- ช่วยสนับสนุนการคงอยู่ขององค์กรในระยะยาว

ณัฏฐ์ฑิกุล สมคำหล้า กจ.2/1 เลขที่ 6

สรุปเครื่องมือทางการบริหารจัดการ

1. Balanced Scorecard

ระบบการบริหารงานและประเมินผลทั่วทั้งองค์กร และไม่ใช่เฉพาะเป็นระบบการวัดผลเพียงอย่างเดียว แต่จะเป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ (vision) และแผนกลยุทธ์ (strategic plan) แล้วแปลผลลงไปสู่ทุกจุดขององค์กรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของแต่ละฝ่ายงานและแต่ละคน

มุมมองของระบบการวัดและประเมินผลใน 4 ด้านหลัก คือ

มุมมองด้านการเงิน (Financial Perspective; F)

มุมมองด้านลูกค้า (Customer Perspective; C)

มุมมองด้านการดำเนินการภายใน (Internal Perspective; I)

มุมมองด้านการเรียนรู้และพัฒนาการ (Learning and Growth; L)

ประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับจากการใช้ Balanced Scorecard

- ช่วยให้มองเห็นวิสัยทัศน์ขององค์กรได้ชัดเจน

- ได้รับการความเห็นชอบและยอมรับจากผู้บริหารทุกระดับ ทำให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติงานได้สอดคล้องกันตามแผน

- ใช้เป็นกรอบในการกำหนดแนวทางการทำงานทั่วทั้งองค์กร

- ช่วยให้มีการจัดแบ่งงบประมาณและทรัพยากรต่าง ๆ สำหรับแต่ละกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม

- เป็นการรวมแผนกลยุทธ์ของทุกหน่วยงานเข้ามาไว้ด้วยกัน ด้วยแผนธุรกิจขององค์กร ทำให้แผนกลยุทธ์ทั้งหมดมีความสอดคล้องกัน

- สามารถวัดผลได้ทั้งลักษณะเป็นทีมและตัวบุคคล

------------------------------------------------------

2. Key Performance Indicator

เครื่องมือที่ใช้วัด และประเมินผลการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญขององค์กร ซึ่งสามารถแสดงผลเป็นข้อมูลในรูปของตัวเลขเพื่อสะท้อนประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานขององค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์กร อาจแปลง่าย ๆ ว่า “ตัววัดความสำเร็จที่สำคัญ”

คุณลักษณะของตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักที่ดี คือ ต้อง "SMART" ได้แก่

1. Specific

ความเฉพาะเจาะจง ตัวชี้วัดควรมีความชัดเจนและมีความหมายมุ่งไปยังสิ่งที่วัด ควรกำหนดตัวชี้วัดให้ชัดเจน ไม่กำกวม เพื่อมิให้เกิดการตีความผิดพลาดและเพื่อสื่อสารความเข้าใจให้ตรงกันทั่วทั้งองค์กร

2. Measurable

เป็นตัวชี้วัดที่สามารถนำไปวัดผลการปฏิบัติงานได้จริง ข้อมูลที่ได้จากการวัดสามารถ นำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้จากตัวชี้วัดอื่นและใช้วิเคราะห์ความหมายทางสถิติได้

3. Attainable ( Achievable )

สามารถบรรลุผลสำเร็จได้ องค์กรไม่ควรใช้ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักที่องค์กรไม่สามารถควบคุมให้เกิดผลได้โดยตรง

4. Realistic

มีความสมจริง ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลักมีความเหมาะสมกับองค์กรและไม่ใช้ต้นทุน การวัดที่สูงเกินไป

5. Timely

สามารถใช้วัดผลการปฏิบัติงานได้ภายในเวลาที่กำหนด ควรปรับปรุงตัวชี้วัด ให้ทันสมัยอยู่เสมอ

--------------------------------------------------------

3.Six Sigma

กระบวนการคุณภาพ Six Sigma จะช่วยให้ผู้บริหารองค์กรหรือเจ้าของธุรกิจ รู้ว่าลูกค้าของคุณต้องการอะไร ช่วยให้คุณมองเห็นความสำคัญของคุณภาพแม้ว่ามันจะเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยก็ตาม และมันจะช่วยให้คุณสามารถควบคุมความผันแปรในกระบวนการของคุณได้เช่นกัน (Greg Brue, 2005 : 2)

กระบวนการมาตรฐานของ Six Sigma

กระบวนการมาตรฐานของ Six Sigma ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนสำคัญ คือ

D : Define

M : Measure

A : Analyze

I : Improve

C : Control

ซึ่งเรียกย่อๆ ว่า DMAIC โดยมีรายละเอียดในแต่ละขั้นตอน สรุปได้ ดังนี้

Define

D : Define คือ ขั้นตอนการระบุและคัดเลือกหัวข้อเพื่อการดำเนินการตามโครงการ

Six Sigma ในองค์กร โดยมีขั้นตอนการคัดเลือกโครงการ ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 โครงการนั้นต้องสอดคล้องกับเป้าหมายหลักขององค์กร (Business Goal)

ขั้นตอนที่ 2 มอบหมายให้ฝ่ายต่างๆ ที่เสนอโครงการไปพิจารณาหากลยุทธ์ (Strategy) ในการดำเนินงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายหลักขององค์กร (ตามขั้นตอนที่ 1)

ขั้นตอนที่ 3 แต่ละฝ่ายนำเสนอกลยุทธ์ในการดำเนินการให้ผู้บริหารทราบ และเมื่อผู้บริหารเห็นชอบแล้ว ให้กลับไปกำหนดพื้นที่ที่จะดำเนินงาน (High Potential Area)

ขั้นตอนที่ 4 ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย หลังจากกำหนดพื้นที่ที่จะดำเนินการได้แล้ว ให้แต่ละฝ่ายกลับไปพิจารณาหัวข้อย่อยที่จะใช้ในการดำเนินการ

Measure

M : Measure เป็นขั้นตอนการวัดความสามารถของกระบวนการที่เป็นจริงในปัจจุบัน

ขั้นตอนการวัดจะแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ

ขั้นตอน Plan Project with Metric คือ การวางแผนและดำเนินการคัดเลือกตัวชี้วัดที่เหมาะสมในการดำเนินการโครงการ

ขั้นตอน Baseline Project คือการวัดค่าความสามารถของกระบวนการที่เป็นจริงในปัจจุบัน โดยวัดผ่านตัวชี้วัดต่างๆ ที่เลือกสรรมาจากขั้นตอน Plan Project with Metric

ขั้นตอน Consider Lean Tools คือ วิธีการปรับปรุงกระบวนการด้วยการใช้เทคนิคต่างๆ ของวิศวกรรมอุตสาหการ

ขั้นตอน Measurement System Analysis (MSA) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากเป็นขั้นตอนการตรวจสอบเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการทำงานว่ามีความปกติหรือไม่ก่อนจะลงมือปฏิบัติงาน

ขั้นตอน Organization Experience หมายถึง ขั้นการนำประสบการณ์ที่ผ่านมาขององค์กร จะช่วยคิดในการแก้ไขปัญหา

ประโยชน์ Six Sigma

1. แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างกลยุทธ์ใหม่

2. ลดความสูญเสียโอกาสอย่างมีระบบและรวดเร็ว

3. พัฒนาบุคลากรในองค์การให้มีศักยภาพสูงขึ้น

4. ช่วยหารระดับคุณภาพของอุตสาหกรรม

5. บริหารจัดการและพัฒนาองค์กรโดยใช้ข้อมูลจริง และใช้หลักการทางสถิติ

-----------------------------------------------------

4.Knowledge Management : KM

หมายถึง กระบวนการอย่างมีระบบเกี่ยวกับการประมวลข้อมูล สารสนเทศ ความคิด การกระทำ ตลอดจนประสบการณ์ของบุคคลเพื่อสร้างเป็นความรู้หรือนวัตกรรม และจัดเก็บในลักษณะของแหล่งข้อมูลที่บุคคลสามารถเข้าถึงได้โดยอาศัยช่องทางต่าง ๆ ที่องค์กรจัดเตรียมไว้ เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งก่อให้เกิดการแบ่งปันและถ่ายโอนความรู้ และในที่สุดความรู้ที่มีอยู่จะแพร่กระจายและไหลเวียนทั่วทั้งองค์กรอย่างสมดุล เป็นไปเพื่อเพิ่มความสามารถในการพัฒนาผลผลิตและองค์กร

วัตถุประสงค์และประโยชน์ของการจัดการความรู้

เป้าหมายหลักของการจัดการความรู้ คือ การใช้ประโยชน์จากความรู้มาเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานขององค์การเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันขององค์การ การจัดการความรู้มีความสำคัญอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนาก็ตาม

วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้ มีดังนี้

1. เพื่อปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานทางธุรกิจที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

2. เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ

3. เพื่อปรับปรุงเทคนิค กระบวนการ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาองค์ ความรู้และนำความรู้นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์

หัวใจของการจัดการความรู้

1. Knowledge is Power : ความรู้คือพลัง

2. Successful knowledge transfer involves neither computers nor documents but rather in interactions between people. (Thomas H Davenport)

: ความสำเร็จของการถ่ายทอดความรู้ไม่ใช่อยู่ที่คอมพิวเตอร์หรือเอกสาร แต่อยู่ที่การมีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างคนด้วยกัน

3. The great end of knowledge is not knowledge but action

: จุดหมายปลายทางสำคัญ ของความรู้มิใช่ที่ตัวความรู้ แต่อยู่ที่การนำไปปฏิบัติ

4. Now the definition of a manager is somebody who makes knowledge productive

: นิยามใหม่ของผู้จัดการ คือ ผู้ซึ่งทำให้ความรู้ผลิตดอกออกผล

KM เป็นลำดับชั้นมาเริ่มแต่ข้อความแรกที่ว่า ความรู้คือพลังหรือความรู้คืออำนาจ ซึ่งเป็นข้อความเป็นที่ยอมรับที่เป็นสากล ทั้งภาคธุรกิจ เอกชน และภาคราชการ จากการยอมรับดังกล่าวมาสู่การเน้นที่ปฏิสัมพันธ์ของคนว่ามีความสำคัญในการถ่ายทอดความรู้กว่าเครื่องมือหรือเอกสารใดและมักกล่าวถึงว่า แม้ความรู้จะถูกจัดระบบและง่ายต่อการเข้าถึงของบุคคล ต่าง ๆ ดีเพียงใดก็ตาม ถ้ามีความรู้ เกิดความรู้ขึ้นแล้ว หากไม่นำไปใช้ประโยชน์ ก็ไม่ใช่จุดหมายปลายทางของ ความรู้และที่ชัดเจนก็คือ ประโยคสุดท้ายที่เน้นการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ให้เกิดมรรคผลมีคุณค่า

ประโยชน์ของของ KM

1. ป้องกันความรู้สูญหาย : การจัดการความรู้ทำให้องค์การสามารถรักษาความเชี่ยวชาญ ความชำนาญ และความรู้ที่อาจสูญหายไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของบุคลากร เช่น การเกษียณอายุทำงาน หรือการลาออกจากงาน ฯลฯ

2. เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ : โดยประเภท คุณภาพ และความสะดวกในการเข้าถึง ความรู้ เป็นปัจจัยของการเพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจ เนื่องจากผู้ที่มีหน้าที่ตัดสินใจต้องสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพ

3. ความสามารถในการปรับตัวและมีความยืดหยุ่น : การทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความเข้าใจในงานและวัตถุประสงค์ของงาน โดยไม่ต้องมีการควบคุม หรือมีการแทรกแซงมากนักจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานในหน้าที่ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดการพัฒนาจิตสำนึกในการทำงาน

4. ความได้เปรียบในการแข่งขัน : การจัดการความรู้ช่วยให้องค์การมีความเข้าใจลูกค้า แนวโน้มของการตลาดและการแข่งขัน ทำให้สามารถลดช่องว่างและเพิ่มโอกาสในการแข่งขันได้

5. การพัฒนาทรัพย์สิน : เป็นการพัฒนาความสามารถขององค์การในการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่ ได้แก่ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า และลิขสิทธิ์ เป็นต้น

6. การยกระดับผลิตภัณฑ์ : การนำการจัดการความรู้มาใช้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และบริการ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มคุณค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ อีกด้วย

7. การบริหารลูกค้า : การศึกษาความสนใจและความต้องการของลูกค้าจะเป็นการสร้างความพึงพอใจ และเพิ่มยอดขายและสร้างรายได้ให้แก่องค์การ

8. การลงทุนทางทรัพยากรมนุษย์ : การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันผ่านการเรียนรู้ร่วมกัน การจัดการด้านเอกสาร การจัดการกับความไม่เป็นทางการเพิ่มความสามารถให้แก่องค์การในการจังและฝึกฝนบุคลากร

--------------------------------------------------------

5.Re-engineering

รีเอ็นจิเนียริ่งกระบวนการทางธุรกิจเป็นแนวคิดทางธุรกิจในทศวรรษที่ 1990 แต่ในทางปฏิบัติจริงก็ยังไม่ได้เป็นอะไรที่มากไปกว่าแนวคิดของการพัฒนาคุณภาพทั่วทั้งองค์การ หรือ Total Quality Management (TQM) ซึ่งมุ่งเน้นที่กระบวนการ[2]

Reengineering หรือ “การรื้อปรับระบบ” เป็นคำที่ ไมเคิล แฮมเมอร์ และเจมส์ แชมปี้ ริเริ่ม

-หัวใจสำคัญของการ Re-engineering อยู่ที่กระบวนการ

ลักษณะสำคัญหรือจุดเน้นของการรื้อปรับระบบ หรือ การทำรีเอ็นจิเนียริ่งอยู่ที่ การมุ่งปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินงาน การทำความเข้าใจและปรับเปลี่ยนที่แนวคิดพื้นฐาน สมมุติฐาน หรือหลักเกณฑ์เดิม การเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน และการมุ่งสู่ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่หรือผลลัพธ์อันใหญ่หลวง

องค์ประกอบ ของ การรื้อปรับระบบ มี 6 ข้อ ดังนี้

-จัดโครงสร้าง ให้เป็น At come เหมาะแก่ประสิทธิภาพ และ Output เหมาะแก่ประสิทธิผล

-มีการกำหนดหน่วยงาน

-หน่วยงานแต่ละหน่วยงาน ต้องมีการเก็บข้อมูล

-เสมือนกระจุกตัว ถามไรรู้หมด

-มีการเชื่อมโยงกระบวนการต่างๆไปพร้อมกัน

-มีลักษณะ Online

ประโยชน์ Re-Engineering

1. เป็นการปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่ทั้งหมด

2. มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า

3. พนักงานสามารถทำงานได้อย่างเป็นอิสระมากขึ้น

4. ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงกระบวนการ ซึ่งเป็นหัวใจของการปรับปรุงงาน

-------------------------------------------------------

6.Benchmarking

เป็นกระบวนการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงขององค์กร ในอันที่จะพิจารณาว่า มีสภาพใดบ้างที่จะสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิม และทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับองค์กรอื่น แล้วนำความรู้ที่ได้มาจัดการวางแผนการปรับปรุงองค์กรของเรา ให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลดีขึ้น หรืออาจมองว่า เป็นกระบวนการเปรียบเทียบองค์กรกับหน่วยงานอื่น ในด้านต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะปรับปรุงให้ใกล้เคียง เพื่อเป็นผู้นำที่คนอื่นจะต้องใช้เราเป็น Benchmark ต่อไป

การทำ Benchmarking ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆ ได้แก่

1. การเปรียบเทียบวัด (Benchmark) ซึ่งในส่วนนี้ต้องมีการกำหนดตัววัด หรือที่เรียกว่า Key

Performance Indicator (KPIs) ว่าจะเปรียบเทียบกับใคร ในเรื่องใด

2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการปฏิบัติที่ดี/เป็นเลิศ (Best Practices) จากผู้ที่ทำได้ดีกว่า โดย

เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นหลังจากการเปรียบเทียบวัดให้รู้ถึงผู้ที่ทำได้ดีกว่า และเข้าไปเรียนรู้วิธีการปฏิบัติซึ่งทำให้ประสบความสำเร็จ หรือมีค่า Benchmark สูง เพื่อนำมาใช้ปรับปรุงองค์กรของตนเอง

ประโยชน์ของการทำ Benchmarking

Benchmarking เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการปรับปรุงองค์กรที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากทำให้มีการปรับปรุงองค์กรอย่างก้าวกระโดดแต่สำหรับประเทศไทย Benchmarking ยังค่อนข้างเป็นเรื่องใหม่ เริ่มมีการนำเครื่องมือนี้มาใช้ในการปรับปรุงองค์กรอย่างเป็นระบบในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น แต่ในต่างประเทศมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีบริษัท Xerox Corporation เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้บุกเบิกในการใช้เครื่องมือ

----------------------------------------------------

7. Activity Based Management

คือ เครื่องมือที่ใช้ในการตัดสินใจในการปฏิบัติการ บนสารสนเทศกิจกรรมและประเมินมูลค่าเพิ่มของเนื้องานในกระบวนการธุรกิจ ABM ใช้วิเคราะห์คุณลักษณะ วิเคราะห์กลยุทธ์ เทียบเคียงวิเคราะห์การปฏิบัติการ วิเคราะห์ความสามารถทำกำไร วิเคราะห์กิจกรรม และใช้ปรับปรุงกระบวนการ

วัตถุประสงค์หลักของ Activity-Based Management

1.การขจัดความสูญเปล่า

2.สร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่มุ่งการปรับปรุงกระบวนการธุรกิจและเกิดผลิตผลดี (Yield) มากขึ้น

3.ค้นหาสาเหตุหลักของปัญหาและทำการแก้ไข

4.ขจัดความบิดเบือนที่เกิดจากการตั้งสมมติฐานที่ผิดพลาดและการจัดสรรต้นทุนที่ไม่เหมาะสม

ประโยชน์จากการใช้ ABM

1.จะช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจถึงการปฏิบัติงานตามกิจกรรมต่างๆ ได้ดี

2.ทำให้สามารถใช้ต้นทุนในการวางแผนพัฒนากิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

3.ทำให้สามารถรู้เป้าหมายหลักในการสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าด้วยต้นทุนที่ลดลง

4.สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าทั้งด้านราคา และคุณภาพของสินค้า

5.ช่วยด้านระบบต้นทุนกิจกรรมมิได้มุ่งเน้นที่จะลดต้นทุนอย่างเดียว แต่จะมีการปรับปรุง และทบทวนกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศของธุรกิจ

-----------------------------------------------------

อาจารย์ค่ะหนูขอส่งอีกรอบนะค่ะครั้งที่แล้วส่งแล้วรุ้สึกว่าจาไม่มีค่ะ

------------------------------------------------------

ณัฏฐ์ฑิกุล สมคำหล้า กจ.2/1 เลขที่ 6

สรุปเครื่องมือการจัดการ

1.Supply Chain Management And Logistic

Supply Chain Management คือ กระบวนการโดยรวมของการไหลของวัสดุ สินค้า ตลอดจนข้อมูล และธุรกรรมต่างๆ ผ่านองค์การที่เป็นผู้ส่งมอบ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ไปจนถึงลูกค้าหรือผู้บริโภคโดยที่องค์การต่างๆ เหล่านี้มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจต่อกันในการปรับตัวขององค์การ

ประโยชน์ของการทำ SCM

• การเคลื่อนไหลของวัตถุดิบและสารสนเทศเป็นไปอย่างราบรื่น

• ปรับปรุงระดับของสินค้าคงเหลือ

• เพิ่มความเร็วได้มากขึ้น

• ขจัดความสิ้นเปลืองหรือความสูญเปล่าต่างๆ ในกระบวนการทางธุรกิจให้หมดไปได้

• ลดต้นทุนในกิจกรรมต่างๆ ได้

• ปรับปรุงการบริการลูกค้า

Logistic คือ เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร การเคลื่อนย้ายและการเก็บวัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิต และสินค้าสำเร็จรูป รวมทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากจุดกำเนิด ผ่านขั้นตอนการผลิตและการกระจายสินค้า จนถึงการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า

ประโยชน์ของการทำ SCM

• ลดต้นทุนในการสั่งซื้อสินค้า

• ลดต้นทุนในการจัดเก็บสินค้า

• ตอบสนองความต้องการผู้บริโภคอย่างเต็มประสิทธิภาพ

• เพิ่มความสะดวกรวดเร็ว และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

• สร้างความได้เปรียบในการเพิ่มกำไรเนื่องจากต้นทุนโดยรวมลดลง

2.Corporate Governance

คือ การบริหารจัดการภาคด้านความเป็นธรรมและโปร่งใส และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และผลการกระทำของตนต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัท

องค์ประกอบ

- ความรับผิดชอบ

- ความโปร่งใส

- ความเสมอภาค

ขั้นตอนในการสร้างบรรษัทภิบาล การกำกับดูแลกิจการที่ดี

1.ความเข้าใจที่ถูกต้อง (Right Understanding)

2.ความคิดที่ถูกต้อง (Right Thinking)

3.ความทุ่มเทที่ถูกต้อง (Right Commitment)

4.กระทำที่ถูกต้อง (Right Action)

5.การกำกับ-ควบคุมที่ถูกต้อง กระทำที่ถูกต้อง (Right Action)

6.การประเมินและการปรับแก้ที่ถูกต้อง (Right Assess and Alignment)

วัตถุประสงค์ของการมีบรรษัทภิบาลที่ดี

1. การเพิ่มศักยภาพในการสร้างสมรรถนะการแข่งขันแก่องค์การทั้งในระดับประเทศและระดับโลก

2. การเพิ่มโอกาสแก่องค์การสู่ตลาดทุนของธุรกิจได้ง่ายขึ้นและเป็นพันธมิตรที่มีบรรษัทภิบาลที่ดี

ประโยชน์บรรษัทภิบาล

1. มีความเที่ยงธรรม มีประสิทธิภาพประสิทธิผลสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจ สังคมไทยให้สามารถแข่งขันได้

2. นำไปสู่การพัฒนาประเทศ และสังคมที่ยั่งยืน มั่นคงและสงบสุข

3. Business Plan

คือ เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับผู้ประกอบการที่ริเริ่มจะก่อตั้งกิจการ แผนนี้เป็นผลสรุปหรือผลรวมแห่งกระบวนการคิดพิจารณา และการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนความคิดของผู้ประกอบการออกมาเป็นโอกาสทางธุรกิจ มีผู้เปรียบเทียบว่าแผนธุรกิจเปรียบเหมือนแผนที่ในการเดินทาง ที่จะชี้แนะขั้นตอนต่างๆทีละขั้นตอนในกระบวนการก่อตั้งกิจการ แผนจะให้รายละเอียดต่างๆ ทั้งเรื่องของการตลาดการแข่งขันกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ การคาดคะเนทางการเงิน ที่จะชี้นำผู้ประกอบการไปสู่ความสำเร็จหรือชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนและข้อควรระวัง

องค์ประกอบของแผนธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ

1. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary)

2. วิสัยทัศน์ (Vision)/พันธ์กิจ (Mission)/เป้าหมาย (Objective)

3. SWOT & Competitive Analysis

- การวิเคราะห์สถานการณ์ (Situation Analysis)

- การวิเคราะห์การแข่งขัน (Competitive Analysis)

4. กลยุทธ์ธุรกิจ (Business Strategy)

5. กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional Strategy)

- การตลาด (Marketing)

- การผลิตและการดำเนินการ (Production & Operations)

- การจัดการ (Management)

- การบัญชีและการเงิน (Accounting & Finance)

ประโยชน์

1.เป็นเครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการ

2.เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจมีโอกาสประสบความสำเร็จ

3.ใช้เป็นข้อตกล

4.Customer relationship management

คือ การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า โดยใช้กฎพาเรโต 80 : 20 ในการพิจารณาสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าที่มีเพียง 20 % จากทั้งหมดที่สร้างยอดขายให้บริษัท 80 % เป็นลูกค้าที่องค์กรควรใส่ใจดูแลเป็นอันดับแรก

กระบวนการทำงานของระบบ CRM มี 4 ขั้นตอนดังนี้

Identify เก็บข้อมูลว่าลูกค้าของบริษัทเป็นใคร เช่น ชื่อลูกค้า ข้อมูลสำหรับติดต่อกับลูกค้า

Differentiate วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าแต่ละคน และจัดแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มตามคุณค่าที่ลูกค้ามีต่อบริษัท

Interact มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อเรียนรู้ความต้องการของลูกค้า และเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในระยะยาว

Customize นำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีความเหมาะสมเฉพาะตัวกับลูกค้าแต่ละคน

ประโยชน์ของ CRM ต่อธุรกิจของคุณ

CRM ช่วยเพิ่มความสามารถในการให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น เช่น ใช้เว็บไซต์ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า วิธีการใช้สินค้า และให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นช่องทางให้ลูกค้าแนะนำติชมต่อบริการของบริษัทได้ง่าย ช่วยให้ลูกค้าสามารถ customize ความต้องการของตนเองได้ทันที เป็นต้น

CRM ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้าให้ดีขึ้น ช่วยให้บริษัทรู้ความสนใจ ความต้องการ และพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า ทำให้บริษัทสามารถนำเสนอสินค้าที่เหมาะสมกับลูกค้าได้ และช่วยให้บริษัทสามารถให้บริการหลังการขายแก่ลูกค้าตามที่ลูกค้าต้องการได้ การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาวจะช่วยเพิ่ม loyalty ที่ลูกค้ามีต่อบริษัท ลดการสูญเสียลูกค้า ลดต้นทุนการตลาด เพิ่มรายได้จากการที่ลูกค้าซื้อซ้ำหรือแนะนำให้คนรู้จักซื้อสินค้าของบริษัท และนั่นหมายถึงกำไรของบริษัทที่เพิ่มมากขึ้น

5.Enterprise Resource Planning

คือ เป็นระบบบริหารทรัพยากรองค์กร ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร โดยเชื่อมโยงระบบต่างๆ ขององค์กรเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ระบบงานทางด้านบัญชีและการเงิน ระบบงานทรัพยากรบุคคล ระบบบริหารการผลิต รวมถึงระบบการกระจายสินค้า โดยที่มีฐานข้อมูลเก็บข้อมูลทุกอย่างไว้ที่เดียวกัน เพื่อป้องกันความซ้ำซ้อนของข้อมูล และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสรรข้อมูลให้ได้ประโยชน์สูงสุด

ลักษณะสำคัญของระบบ ERP คือ

1.การบูรณาการระบบงานต่างๆ ของระบบ ERP

2.รวมระบบงานแบบ real time ของระบบ ERP

3.ระบบ ERP มีฐานข้อมูล(database) แบบสมุดลงบัญชี

ประโยชน์

1.กระบวนการบริหาร

2.เทคโนโลยีพื้นฐาน

3.กระบวนการทำงานที่รวดเร็ว

6. Total Quality Management

คือ มีความหมายเป็นพลวัต มีพัฒนาการ เป็นวัฒนธรรมขององค์การที่สมาชิกทุกคนต่างให้ความสำคัญ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาการดำเนินงานขององค์การอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งที่จะตอบสนองความต้องการ และสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้า ซึ่งจะสร้างโอกาสทางธุรกิจ ความได้เปรียบในการแข่งขัน และพัฒนาการที่ยั่งยืนขององค์การ

Total = ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วม

Quality = การสร้างความพึงพอใจ

Management = ระบบบริหารจัดการคุณภาพ

วัตถุประสงค์ของTQM

1. การลดต้นทุนและการพัฒนาคุณภาพสินค้าหรือบริการจะเป็นวัตถุประสงค์เบื้องต้นในการดำเนินงานด้านคุณภาพ เพื่อการดำรงอยู่ และการแข่งขันขององค์การ

2. สร้างความพอใจและความซื่อสัตย์ของลูกค้า

3. สร้างความพึงพอใจในงาน

4. ประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการเจริญเติบโตในอนาคต

ประโยชน์ของTQM

1.ช่วยให้ผู้บริหารและองค์การสามารถรับรู้ปัญหาของลูกค้า

2.ให้ความสำคัญกับระบบที่เรียบง่ายและผลลัพธ์ที่ลดความสูญเสีย

3.พัฒนาระบบ ขั้นตอน และการจัดเก็บข้อมูลการทำงาน ให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ 4.พนักงานมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน การแก้ไขปัญหา และการสร้างรายได้ของธุรกิจ ทำให้พนักงานมีความพึงพอใจในงาน

5.มุ่งพัฒนาการดำเนินงานขององค์การ ให้มีคุณภาพสูงสุดในทุกมิติ

7.Social Accountability 8000

คือ เป็นระบบมาตรฐานสากลที่ให้ความสำคัญกับสิทธิ ขั้นพื้นฐานของแรงงาน ซึ่งเหมือนกับระบบ ISO 9000 ที่เป็นมาตรฐานสากลสำหรับระบบคุณภาพ อันเกี่ยวกับการจัดการด้านคุณภาพและการประกันคุณภาพ และ ISO 14000 ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม SA 8000 เป็นระบบมาตรฐานสากลที่ใช้ได้กับทุกธุรกิจ อุตสาหกรรมการผลิต หรือ การบริการ โดยไม่คำนึงถึง ขนาด สถานที่ เทคโนโลยีในการผลิต และความซับซ้อนขององค์กร

ประโยชน์ที่ได้รับจากการนำมาตรฐาน SA 8000 มาใช้

• สร้างภาพลักษณ์ของบริษัทให้เป็นที่ยอมรับในสังคมโดยเฉพาะในสายตาของผู้บริโภค

• ทำให้แรงงานมีความจงรักภักดีต่อองค์กร ประสิทธิภาพในการทำงานของแรงงานเพิ่มขึ้นและนำไป สู่การเพิ่มผลผลิตในที่สุด

• สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อสังคม

• ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในตัวสินค้าและบริการและมีความภักดีต่อองค์กร

• มีช่องทางการตลาดใหม่

• มีโอกาสในการเลือกแรงงานที่มีคุณภาพ

• ลดขั้นตอนและต้นทุนในการตรวจสอบ

8. ISO 26000

คือ เป็นมาตรฐานการแสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบของสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืนทางธุรกิจ

ณัฏฐ์ฑิกุล สมคำหล้า กจ.2/1 เลขที่ 6

สรุปเครื่องมือการจัดการ

1.Supply Chain Management And Logistic

Supply Chain Management คือ กระบวนการโดยรวมของการไหลของวัสดุ สินค้า ตลอดจนข้อมูล และธุรกรรมต่างๆ ผ่านองค์การที่เป็นผู้ส่งมอบ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ไปจนถึงลูกค้าหรือผู้บริโภคโดยที่องค์การต่างๆ เหล่านี้มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจต่อกันในการปรับตัวขององค์การ

ประโยชน์ของการทำ SCM

• การเคลื่อนไหลของวัตถุดิบและสารสนเทศเป็นไปอย่างราบรื่น

• ปรับปรุงระดับของสินค้าคงเหลือ

• เพิ่มความเร็วได้มากขึ้น

• ขจัดความสิ้นเปลืองหรือความสูญเปล่าต่างๆ ในกระบวนการทางธุรกิจให้หมดไปได้

• ลดต้นทุนในกิจกรรมต่างๆ ได้

• ปรับปรุงการบริการลูกค้า

Logistic คือ เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร การเคลื่อนย้ายและการเก็บวัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิต และสินค้าสำเร็จรูป รวมทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากจุดกำเนิด ผ่านขั้นตอนการผลิตและการกระจายสินค้า จนถึงการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า

ประโยชน์ของการทำ SCM

• ลดต้นทุนในการสั่งซื้อสินค้า

• ลดต้นทุนในการจัดเก็บสินค้า

• ตอบสนองความต้องการผู้บริโภคอย่างเต็มประสิทธิภาพ

• เพิ่มความสะดวกรวดเร็ว และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

• สร้างความได้เปรียบในการเพิ่มกำไรเนื่องจากต้นทุนโดยรวมลดลง

2.Corporate Governance

คือ การบริหารจัดการภาคด้านความเป็นธรรมและโปร่งใส และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และผลการกระทำของตนต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัท

องค์ประกอบ

- ความรับผิดชอบ

- ความโปร่งใส

- ความเสมอภาค

ขั้นตอนในการสร้างบรรษัทภิบาล การกำกับดูแลกิจการที่ดี

1.ความเข้าใจที่ถูกต้อง (Right Understanding)

2.ความคิดที่ถูกต้อง (Right Thinking)

3.ความทุ่มเทที่ถูกต้อง (Right Commitment)

4.กระทำที่ถูกต้อง (Right Action)

5.การกำกับ-ควบคุมที่ถูกต้อง กระทำที่ถูกต้อง (Right Action)

6.การประเมินและการปรับแก้ที่ถูกต้อง (Right Assess and Alignment)

วัตถุประสงค์ของการมีบรรษัทภิบาลที่ดี

1. การเพิ่มศักยภาพในการสร้างสมรรถนะการแข่งขันแก่องค์การทั้งในระดับประเทศและระดับโลก

2. การเพิ่มโอกาสแก่องค์การสู่ตลาดทุนของธุรกิจได้ง่ายขึ้นและเป็นพันธมิตรที่มีบรรษัทภิบาลที่ดี

ประโยชน์บรรษัทภิบาล

1. มีความเที่ยงธรรม มีประสิทธิภาพประสิทธิผลสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจ สังคมไทยให้สามารถแข่งขันได้

2. นำไปสู่การพัฒนาประเทศ และสังคมที่ยั่งยืน มั่นคงและสงบสุข

3. Business Plan

คือ เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับผู้ประกอบการที่ริเริ่มจะก่อตั้งกิจการ แผนนี้เป็นผลสรุปหรือผลรวมแห่งกระบวนการคิดพิจารณา และการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนความคิดของผู้ประกอบการออกมาเป็นโอกาสทางธุรกิจ มีผู้เปรียบเทียบว่าแผนธุรกิจเปรียบเหมือนแผนที่ในการเดินทาง ที่จะชี้แนะขั้นตอนต่างๆทีละขั้นตอนในกระบวนการก่อตั้งกิจการ แผนจะให้รายละเอียดต่างๆ ทั้งเรื่องของการตลาดการแข่งขันกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ การคาดคะเนทางการเงิน ที่จะชี้นำผู้ประกอบการไปสู่ความสำเร็จหรือชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนและข้อควรระวัง

องค์ประกอบของแผนธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ

1. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary)

2. วิสัยทัศน์ (Vision)/พันธ์กิจ (Mission)/เป้าหมาย (Objective)

3. SWOT & Competitive Analysis

- การวิเคราะห์สถานการณ์ (Situation Analysis)

- การวิเคราะห์การแข่งขัน (Competitive Analysis)

4. กลยุทธ์ธุรกิจ (Business Strategy)

5. กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional Strategy)

- การตลาด (Marketing)

- การผลิตและการดำเนินการ (Production & Operations)

- การจัดการ (Management)

- การบัญชีและการเงิน (Accounting & Finance)

ประโยชน์

1.เป็นเครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการ

2.เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจมีโอกาสประสบความสำเร็จ

3.ใช้เป็นข้อตกล

4.Customer relationship management

คือ การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า โดยใช้กฎพาเรโต 80 : 20 ในการพิจารณาสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าที่มีเพียง 20 % จากทั้งหมดที่สร้างยอดขายให้บริษัท 80 % เป็นลูกค้าที่องค์กรควรใส่ใจดูแลเป็นอันดับแรก

กระบวนการทำงานของระบบ CRM มี 4 ขั้นตอนดังนี้

Identify เก็บข้อมูลว่าลูกค้าของบริษัทเป็นใคร เช่น ชื่อลูกค้า ข้อมูลสำหรับติดต่อกับลูกค้า

Differentiate วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าแต่ละคน และจัดแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มตามคุณค่าที่ลูกค้ามีต่อบริษัท

Interact มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อเรียนรู้ความต้องการของลูกค้า และเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในระยะยาว

Customize นำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีความเหมาะสมเฉพาะตัวกับลูกค้าแต่ละคน

ประโยชน์ของ CRM ต่อธุรกิจของคุณ

CRM ช่วยเพิ่มความสามารถในการให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น เช่น ใช้เว็บไซต์ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า วิธีการใช้สินค้า และให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นช่องทางให้ลูกค้าแนะนำติชมต่อบริการของบริษัทได้ง่าย ช่วยให้ลูกค้าสามารถ customize ความต้องการของตนเองได้ทันที เป็นต้น

CRM ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้าให้ดีขึ้น ช่วยให้บริษัทรู้ความสนใจ ความต้องการ และพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า ทำให้บริษัทสามารถนำเสนอสินค้าที่เหมาะสมกับลูกค้าได้ และช่วยให้บริษัทสามารถให้บริการหลังการขายแก่ลูกค้าตามที่ลูกค้าต้องการได้ การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาวจะช่วยเพิ่ม loyalty ที่ลูกค้ามีต่อบริษัท ลดการสูญเสียลูกค้า ลดต้นทุนการตลาด เพิ่มรายได้จากการที่ลูกค้าซื้อซ้ำหรือแนะนำให้คนรู้จักซื้อสินค้าของบริษัท และนั่นหมายถึงกำไรของบริษัทที่เพิ่มมากขึ้น

5.Enterprise Resource Planning

คือ เป็นระบบบริหารทรัพยากรองค์กร ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร โดยเชื่อมโยงระบบต่างๆ ขององค์กรเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ระบบงานทางด้านบัญชีและการเงิน ระบบงานทรัพยากรบุคคล ระบบบริหารการผลิต รวมถึงระบบการกระจายสินค้า โดยที่มีฐานข้อมูลเก็บข้อมูลทุกอย่างไว้ที่เดียวกัน เพื่อป้องกันความซ้ำซ้อนของข้อมูล และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสรรข้อมูลให้ได้ประโยชน์สูงสุด

ลักษณะสำคัญของระบบ ERP คือ

1.การบูรณาการระบบงานต่างๆ ของระบบ ERP

2.รวมระบบงานแบบ real time ของระบบ ERP

3.ระบบ ERP มีฐานข้อมูล(database) แบบสมุดลงบัญชี

ประโยชน์

1.กระบวนการบริหาร

2.เทคโนโลยีพื้นฐาน

3.กระบวนการทำงานที่รวดเร็ว

6. Total Quality Management

คือ มีความหมายเป็นพลวัต มีพัฒนาการ เป็นวัฒนธรรมขององค์การที่สมาชิกทุกคนต่างให้ความสำคัญ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาการดำเนินงานขององค์การอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งที่จะตอบสนองความต้องการ และสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้า ซึ่งจะสร้างโอกาสทางธุรกิจ ความได้เปรียบในการแข่งขัน และพัฒนาการที่ยั่งยืนขององค์การ

Total = ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วม

Quality = การสร้างความพึงพอใจ

Management = ระบบบริหารจัดการคุณภาพ

วัตถุประสงค์ของTQM

1. การลดต้นทุนและการพัฒนาคุณภาพสินค้าหรือบริการจะเป็นวัตถุประสงค์เบื้องต้นในการดำเนินงานด้านคุณภาพ เพื่อการดำรงอยู่ และการแข่งขันขององค์การ

2. สร้างความพอใจและความซื่อสัตย์ของลูกค้า

3. สร้างความพึงพอใจในงาน

4. ประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการเจริญเติบโตในอนาคต

ประโยชน์ของTQM

1.ช่วยให้ผู้บริหารและองค์การสามารถรับรู้ปัญหาของลูกค้า

2.ให้ความสำคัญกับระบบที่เรียบง่ายและผลลัพธ์ที่ลดความสูญเสีย

3.พัฒนาระบบ ขั้นตอน และการจัดเก็บข้อมูลการทำงาน ให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ 4.พนักงานมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน การแก้ไขปัญหา และการสร้างรายได้ของธุรกิจ ทำให้พนักงานมีความพึงพอใจในงาน

5.มุ่งพัฒนาการดำเนินงานขององค์การ ให้มีคุณภาพสูงสุดในทุกมิติ

7.Social Accountability 8000

คือ เป็นระบบมาตรฐานสากลที่ให้ความสำคัญกับสิทธิ ขั้นพื้นฐานของแรงงาน ซึ่งเหมือนกับระบบ ISO 9000 ที่เป็นมาตรฐานสากลสำหรับระบบคุณภาพ อันเกี่ยวกับการจัดการด้านคุณภาพและการประกันคุณภาพ และ ISO 14000 ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม SA 8000 เป็นระบบมาตรฐานสากลที่ใช้ได้กับทุกธุรกิจ อุตสาหกรรมการผลิต หรือ การบริการ โดยไม่คำนึงถึง ขนาด สถานที่ เทคโนโลยีในการผลิต และความซับซ้อนขององค์กร

ประโยชน์ที่ได้รับจากการนำมาตรฐาน SA 8000 มาใช้

• สร้างภาพลักษณ์ของบริษัทให้เป็นที่ยอมรับในสังคมโดยเฉพาะในสายตาของผู้บริโภค

• ทำให้แรงงานมีความจงรักภักดีต่อองค์กร ประสิทธิภาพในการทำงานของแรงงานเพิ่มขึ้นและนำไป สู่การเพิ่มผลผลิตในที่สุด

• สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อสังคม

• ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในตัวสินค้าและบริการและมีความภักดีต่อองค์กร

• มีช่องทางการตลาดใหม่

• มีโอกาสในการเลือกแรงงานที่มีคุณภาพ

• ลดขั้นตอนและต้นทุนในการตรวจสอบ

8. ISO 26000

คือ เป็นมาตรฐานการแสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบของสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืนทางธุรกิจ

นายวรพล ลีโชติจารุวงศ์ กจ.2/1 เลขที่ 31

สรุปเครื่องมือต่อครั้งที่ 2

Supply Chain Management and Logestic

คือ กระบวนการโดยรวมของการไหลของวัสดุ สินค้า ตลอดจนข้อมูล และธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านองค์การที่เป็นผุ้ส่งมอบ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่ายไปจนลูกค้าหรือผู้บริโภค

ประโยชน์ Supply Chain Management

  1. สนองตอบตรงความต้องการของลูกค้า
  2. ลดค่าใช้จ่ายอย่างเป็นระบบ
  3. ก่อนให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์การ
  4. ติดตามกระบวนการได้อย่างใกล้ชิด
  5. บริหารสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  6. ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างคุ่มค่า

Lofestec คือ กระบวนการว่างแผนการดำเนินงานและการควบคุมการเคลื่อนย้ายทั้งไปและกลับ การเก็บรักษาสินค้าบริการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ

 Corporate Governance

เป็นการบริหารธุรกิจอย่างโปรงใส่และผู้บริหารต้องมีความรับผิดชอบในหน้าที่ต่อตนเองและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย

ขั้นตอนการสร้างบรรษัทภิบาล

  1. การเข้าใจที่ถูกต้อง
  2. การคิดที่ถูกต้อง
  3. การทุ่มเทที่ถูกต้อง
  4. การกระทำที่ถูกต้อง
  5. การกำกับควบคุ่มที่ถูกต้อง
  6. การประเมินและปรับแก้ที่ถูกต้อง

ประโยชน์ของบรรษัทภิบาล

  1. มีความเทียงธรรมมีประสิทธิภาพฟื้นฟู้เศรษฐกิจสังคมไทยให้แข่งขันได้
  2. นำไปสู่การพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน

Business Plan

คือกระบวนการนำแนวคิดที่จัดตั้งกิจการหรือขยายองค์การธุรกิจที่มีอยู่เดิมมาสู่แผนงานที่เป็นรูปธรรมสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในภาวะแวดล้อมทางธุรกิจต่างๆ เพื่อพิจารณาถึงความคุ่มค่าการลงทุนและเป็นเครื่องมือการสนับสนุนด้านต่างๆ

ประโยชน์ของการนำเครื่องมือBusiness Planไปใช้

  1. เป็นเครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการในการวางแผนธุรกิจ
  2. เป็นเครื่องมือที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จอย่างสูง
  3. เป็นเครื่องมือรับการสนับสนุนทางการเงิน

Customer Relationship Management (CRM)

 คือเครื่องมือเทคนิคทางการตลาดที่มุ่งสู่การให้ความสำคัญกับลูกค้าเพื่อนำพาองค์การให้มีความสัมพันใกล้ชิด เรียนรู้ เข้าใจ เข้าถูกลูกค้ากระทั้งนำไปสู่การตอบสนองต้องการความพึงพอใจความภักดี ต่อองค์การและสินค้าการบริการขององค์กรในระยะยาว

กระบวนการทำงานของระบบ CRM มี 4 ขั้นตอนดังนี้

1.       Identify เก็บข้อมูลว่าลูกค้าของบริษัทเป็นใคร เช่น ชื่อลูกค้า ข้อมูลสำหรับติดต่อกับลูกค้า

2.       Differentiate วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าแต่ละคน และจัดแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มตามคุณค่าที่ลูกค้ามีต่อบริษัท

3.       Interact มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อเรียนรู้ความต้องการของลูกค้า และเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในระยะยาว

4.       Customize นำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีความเหมาะสมเฉพาะตัวกับลูกค้าแต่ละคน

Enterprise Resource Planning

คือการว่างแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวมเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดของทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร

 

 

น.ส.รัชดาภรณ์ ตื้อยศ กจ. 2/1 เลขที่ 16

สรุป เครื่องมือการบริหารการจัดการ

Supply Chain Management and Logistic

หลักการ  Supply Chain Management and Logistic เป็นสิ่งที่คู่กันเสมอ และสนับสนุนกันแม้จะมีความแตกต่างกัน

ความหมาย  Supply Chain Management and Logistic หมายถึง กระบวนการโดยรวมของการไหลของวัสดุ สินค้า ตลอดจนข้อมูลและธุรกรรมต่างๆ ผ่านองค์กรที่เป็นผู้ส่งมอบ

ประโยชน์ 1. ลดค่าใช้จ่ายอย่างเป็นระบบ

                  2. บริหารสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                  3. ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่า

 Logistic หมายถึง กระบวนการวางแผนการดำเนินงาน และการควบคุมการเคลื่อนย้ายทั้งไปและกลับ อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล

ประโยชน์ 1. สร้างความได้เปรียบในการเพิ่มกำไร

                 2 .เพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด และประสิทธิภาพในการผลิต การขนส่งและบริการ

                 3. เพิ่มความสะดวกรวดเร็ว และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

*********************************

 

Corporate Governance

หลักการ  วิถีแห่งการดำรงอยู่ของบริษัทหรือธุรกิจเอกชนและแนวทางหรือวิถีแห่งการปฏิบัติตนของคนในบริษัท หรือธุรกิจเอกชนเพื่อไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ คือ การเติบโตที่ยั่งยืน อย่างมีจริยธรรมและคุณธรรม10
ความหมาย - เป็นความสัมพันธ์อย่างหนึ่งระหว่างคณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ และผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียอื่นในการ กำหนดทิศทาง และสอดส่องดูแลผลปฏิบัติงาน ของบริษัท

                    -เป็นโครงสร้างและกระบวนการภายในที่จัดขึ้น เพื่อให้ความมั่นใจว่าคณะกรรมการสามารถประเมินผลงาน ของฝ่ายจัดการของบริษัทอย่างตรงไปตรงมา และมีประสิทธิผล

                     -ระบบที่จัดให้มีกระบวนการและโครงสร้างของภาวะผู้นำ และการควบคุมของกิจการ ให้มีความรับผิดชอบตามหน้าที่ด้วยความโปร่งใส และสร้างความสามารถในการ แข่งขันเพื่อรักษาเงินลงทุน และเพิ่มคุณค่าให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาว ภายในกรอบการมีจริยธรรมที่ดีโดย คำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น และสังคมโดยรวม

ประโยชน์  1.ทำให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในการดำเนินงาน

                  2.ทำให้บริษัทมีความสามารถในการแข่งขัน

                  3.เพิ่มความเชื่อมั่นแก่ผู้เกี่ยวข้อง

                  4.สร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผู้ถือหุ้น

*********************************

  

Enterprise Resource Planning (ERP)

หลักการเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ในการบริหารธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์กร อีกทั้งยังช่วยให้สามารถวางแผนการลงทุนและบริหารทรัพยากรขององค์กรโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ     

        ความหมาย การวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดของทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร

ประโยชน์  1. เป็นระบบที่สามารถรวบรวมข้อมูลแก่ผู้บริหาร

                  2. ช่วยเชื่อมโยงระบบงานต่างๆ

                  3. ช่วยให้ง่ายต่อการประสานงาน รวดเร็ว

 

*********************************

 

Business Plan

หลักการ  การทำแผนธุรกิจต้องมีการวางแผนเพื่อให้ทราบเป้าหมายและหาวิธีการที่จะบรรลุเป้าหมายนั้นๆ

ความหมาย เป็นแบบที่กำหนดเพื่อการจัดสรรทรัพยากร หรือตารางการปฏิบัติงานและกิจกรรมที่สำคัญอื่นๆ โดยมุ่งไปสู่การบรรลุเป้าหมาย การวางแผน แผนธุรกิจแสดงความเป็นไปได้ของธุรกิจ การจัดหาเงินทุน และการดำเนินงานในอนาคต

ประโยชน์ 1. เพื่อประเมินความเป็นไปได้ของโครงการต่างๆ ว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด

                 2. เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนธุรกิจหรือกิจการ

                 3. เพื่อจัดหาเงินทุนในการทำแผนหรือโครงการ

*********************************

 

Customer Relationship Management (CRM)

หลักการ  1. มีฟังก์ชันการทำงานบางอย่างที่ระบบ CRM ต้องใช้ซอฟต์แวร์ในการดำเนินงาน

                2. การนำระบบ CRM มาใช้ให้ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องมีทั้งการวางแผนที่ดีและการวางระบบที่เหมาะสม

Customer Relationship Management คือ การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า

ประโยชน์ 1.ช่วยเพิ่มความสามารถในการบริการลูกค้า

                  2.ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้า

                  3.ช่วยให้บริษัทรู้ความสนใจ ความต้องการ และพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า

                  4.ทำให้บริษัทสามารถนำเสนอสินค้าที่เหมาะสมกับลูกค้าได้                 

*********************************

 

Total Quality Management (TQM)

    หลักการ  การบรรลุถึงคุณภาพโดยรวม ด้วยการที่ทุกคนในองค์กรยึดมั่นผูกพันและปฏิบัติตาม                      

     ความหมาย เป็นระบบที่มุ่งการปรับปรุง วางแผน ลูกค้าเป็นผู้กำหนดการสร้างความพึงพอใจแก่         ลูกค้า พัฒนาปรับปรุงคุณภาพ แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

      ประโยชน์  1.ก่อให้เกิดคุณค่าของสินค้าและบริการ

                2.ก่อให้เกิดศักยภาพ

                3.เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มผลผลิต

*********************************

 

ISO 26000 Social Responsibility

หลัก 7 ประการ     1.หลักการปฏิบัติตามกฎหมาย

                              2.หลักการเคารพต่อแนวปฏิบัติระดับชาติหรือระดับสากล

                              3.หลักการให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

                              4.หลักของการแสดงรับผิดชอบที่สามารถตรวจสอบได้

                              5.หลักการความโปร่งใส

                              6.หลักการความเคารพในสิทธิมนุษยชน

                              7.หลักการความเคารพในความหลากหลาย

ความหมาย ความรับผิดชอบขององค์กรสำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจและการดำเนินงานต่อด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยอยู่บนพื้นฐานของความโปร่งใสและคุณธรรม/จริยธรรม

ประโยชน์ 1. สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน และความสมบูรณ์มั่งคั่งของสังคม

                 2. การตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

                 3. ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงแนวปฏิบัติระดับสากล

                 4. ผสานเข้าเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินธุรกิจ

*********************************

 

SA 8000 Social Accountability

หลักการ SA 8000 เป็นระบบการจัดการ โดยเน้นระบบการปรับปรุงสภาพการจ้างงานและการปรับปรุง

ความหมาย SA 8000 คือ มาตรฐานระหว่างประเทศในเรื่องความรับผิดชอบทางสังคมสำหรับหน่วยผลิตต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดมาตรฐานการจ้างแรงงานให้สอดคล้องกันทั่วโลก

ประโยชน์  1. การป้องกันการกีดกันด้านการค้า

                  2. ปรับปรุงสภาพการจ้างงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย

                  3. ปรับปรุงสภาพการทำงานให้เหมาะสม

                  4. เพิ่มโอกาสทางการค้าโดยวาง Product Position ใหม่

*********************************

น.ส.วราภรณ์ แก้วศักดิ์ กจ.2/1 เลขที่ 32

สรุป   เครื่องมือการบริหารการจัดการ

 

Corporate Governance

หลักการ  วิถีแห่งการดำรงอยู่ของบริษัทหรือธุรกิจเอกชนและแนวทางหรือวิถีแห่งการปฏิบัติตนของคนในบริษัท หรือธุรกิจเอกชนเพื่อไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ คือ การเติบโตที่ยั่งยืน อย่างมีจริยธรรมและคุณธรรม10
ความหมาย - เป็นความสัมพันธ์อย่างหนึ่งระหว่างคณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ และผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียอื่นในการ กำหนดทิศทาง และสอดส่องดูแลผลปฏิบัติงาน ของบริษัท

                    -เป็นโครงสร้างและกระบวนการภายในที่จัดขึ้น เพื่อให้ความมั่นใจว่าคณะกรรมการสามารถประเมินผลงาน ของฝ่ายจัดการของบริษัทอย่างตรงไปตรงมา และมีประสิทธิผล

                     -ระบบที่จัดให้มีกระบวนการและโครงสร้างของภาวะผู้นำ และการควบคุมของกิจการ ให้มีความรับผิดชอบตามหน้าที่ด้วยความโปร่งใส และสร้างความสามารถในการ แข่งขันเพื่อรักษาเงินลงทุน และเพิ่มคุณค่าให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาว ภายในกรอบการมีจริยธรรมที่ดีโดย คำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น และสังคมโดยรวม

ประโยชน์  1.ทำให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในการดำเนินงาน

                  2.ทำให้บริษัทมีความสามารถในการแข่งขัน

                  3.เพิ่มความเชื่อมั่นแก่ผู้เกี่ยวข้อง

                  4.สร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผู้ถือหุ้น

 

Supply Chain Management and Logistic

หลักการ  Supply Chain Management and Logistic เป็นสิ่งที่คู่กันเสมอ และสนับสนุนกันแม้จะมีความแตกต่างกัน

ความหมาย  Supply Chain Management and Logistic หมายถึง กระบวนการโดยรวมของการไหลของวัสดุ สินค้า ตลอดจนข้อมูลและธุรกรรมต่างๆ ผ่านองค์กรที่เป็นผู้ส่งมอบ

ประโยชน์ 1. ลดค่าใช้จ่ายอย่างเป็นระบบ

                  2. บริหารสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                  3. ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่า

 Logistic หมายถึง กระบวนการวางแผนการดำเนินงาน และการควบคุมการเคลื่อนย้ายทั้งไปและกลับ อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล

ประโยชน์ 1. สร้างความได้เปรียบในการเพิ่มกำไร

                 2 .เพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด และประสิทธิภาพในการผลิต การขนส่งและบริการ

                 3. เพิ่มความสะดวกรวดเร็ว และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

 

 

 

Enterprise Resource Planning (ERP)

หลักการเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ในการบริหารธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์กร อีกทั้งยังช่วยให้สามารถวางแผนการลงทุนและบริหารทรัพยากรขององค์กรโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ     

        ความหมาย การวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดของทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร

ประโยชน์  1. เป็นระบบที่สามารถรวบรวมข้อมูลแก่ผู้บริหาร

                  2. ช่วยเชื่อมโยงระบบงานต่างๆ

                  3. ช่วยให้ง่ายต่อการประสานงาน รวดเร็ว

 

Business Plan

หลักการ  การทำแผนธุรกิจต้องมีการวางแผนเพื่อให้ทราบเป้าหมายและหาวิธีการที่จะบรรลุเป้าหมายนั้นๆ

ความหมาย เป็นแบบที่กำหนดเพื่อการจัดสรรทรัพยากร หรือตารางการปฏิบัติงานและกิจกรรมที่สำคัญอื่นๆ โดยมุ่งไปสู่การบรรลุเป้าหมาย การวางแผน แผนธุรกิจแสดงความเป็นไปได้ของธุรกิจ การจัดหาเงินทุน และการดำเนินงานในอนาคต

ประโยชน์ 1. เพื่อประเมินความเป็นไปได้ของโครงการต่างๆ ว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด

                 2. เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนธุรกิจหรือกิจการ

                 3. เพื่อจัดหาเงินทุนในการทำแผนหรือโครงการ

 

 

Total Quality Management (TQM)

    หลักการ  การบรรลุถึงคุณภาพโดยรวม ด้วยการที่ทุกคนในองค์กรยึดมั่นผูกพันและปฏิบัติตาม                      

     ความหมาย เป็นระบบที่มุ่งการปรับปรุง วางแผน ลูกค้าเป็นผู้กำหนดการสร้างความพึงพอใจแก่         ลูกค้า พัฒนาปรับปรุงคุณภาพ แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

      ประโยชน์  1.ก่อให้เกิดคุณค่าของสินค้าและบริการ

                2.ก่อให้เกิดศักยภาพ

                3.เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มผลผลิต

 

SA 8000 Social Accountability

หลักการ SA 8000 เป็นระบบการจัดการ โดยเน้นระบบการปรับปรุงสภาพการจ้างงานและการปรับปรุง

ความหมาย SA 8000 คือ มาตรฐานระหว่างประเทศในเรื่องความรับผิดชอบทางสังคมสำหรับหน่วยผลิตต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดมาตรฐานการจ้างแรงงานให้สอดคล้องกันทั่วโลก

ประโยชน์  1. การป้องกันการกีดกันด้านการค้า

                  2. ปรับปรุงสภาพการจ้างงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย

                  3. ปรับปรุงสภาพการทำงานให้เหมาะสม

                  4. เพิ่มโอกาสทางการค้าโดยวาง Product Position ใหม่

 

Customer Relationship Management (CRM)

หลักการ  1. มีฟังก์ชันการทำงานบางอย่างที่ระบบ CRM ต้องใช้ซอฟต์แวร์ในการดำเนินงาน

                2. การนำระบบ CRM มาใช้ให้ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องมีทั้งการวางแผนที่ดีและการวางระบบที่เหมาะสม

Customer Relationship Management คือ การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า

ประโยชน์ 1.ช่วยเพิ่มความสามารถในการบริการลูกค้า

                  2.ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้า

                  3.ช่วยให้บริษัทรู้ความสนใจ ความต้องการ และพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า

                  4.ทำให้บริษัทสามารถนำเสนอสินค้าที่เหมาะสมกับลูกค้าได้                 

 

ISO 26000 Social Responsibility

หลัก 7 ประการ     1.หลักการปฏิบัติตามกฎหมาย

                              2.หลักการเคารพต่อแนวปฏิบัติระดับชาติหรือระดับสากล

                              3.หลักการให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

                              4.หลักของการแสดงรับผิดชอบที่สามารถตรวจสอบได้

                              5.หลักการความโปร่งใส

                              6.หลักการความเคารพในสิทธิมนุษยชน

                              7.หลักการความเคารพในความหลากหลาย

ความหมาย ความรับผิดชอบขององค์กรสำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจและการดำเนินงานต่อด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยอยู่บนพื้นฐานของความโปร่งใสและคุณธรรม/จริยธรรม

ประโยชน์ 1. สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน และความสมบูรณ์มั่งคั่งของสังคม

                 2. การตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

                 3. ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงแนวปฏิบัติระดับสากล

                 4. ผสานเข้าเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินธุรกิจ

นางสาวประกาย ใจประสิทธิ์ เลขที่ 11 ห้อง กจ.2/1

Learning     Organization

Learning Organization หมายถึง เป็นองค์การที่ซึ่งคนในองค์การได้ขยายขอบเขตความสามารถของตนอย่างต่อเนื่อง ทั้งในระดับบุคคลระดับกลุ่มและระดับองค์การเพื่อนำไปสู่จุดหมายที่บุคคลในระดับต่างๆต้องการอย่างแท้จริงเป็นองค์การที่มีความคิดใหม่ๆและการแตกแขนงของความคิดได้รับการยอมรับเอาในใส่และเป็นองค์การที่ซึ่งบุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ในเรื่องของวิธีการที่จะเรียนรู้ไปด้วยกันทั้งองค์การ

กระบวนการในการเรียนรู้ขององค์การ

 

                1.  การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง  CE  (Concrete  Experience) 

                2.  การเรียนรู้จากการสังเกตและไตร่ตรอง  RO (Reflective  Observation) 

                3.  การเรียนรู้โดยการหาและได้มาซึ่งแนวคิดเชิงนามธรรม AC (Abstract Conceptua-lization)  

                4.  การเรียนรู้โดยการทดลองทำและดูผล  AE (Active  Experimentation) 

ประโยชน์ ข้อดีของการนำเครื่องมือไปใช้

-  มีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ (Systematic problem Solving)

-  มีการทดลองปฏิบัติ (Experimental)

-  มีการเรียนรู้จากบทเรียนในอดีต (Learning from their own experience)

-  มีการถ่ายทอดความรู้

-  มีการเรียนรู้จากผู้อื่น (Learning from the Others)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

การผลิตแบบลีน

                คือวิธีการที่เป็นระบบในการระบุและกำจัดความสูญเสีย หรือสิ่งที่ไม่เพิ่มคุณค่าภายในกระแสคุณค่าของกระบวนการ โดยอาศัยการดำเนินตามจำนวนความต้องการของลูกค้าด้วยระบบดึง (Pull System) ทำให้เกิดสภาพการไหลอย่างต่อเนื่อง ราบเรียบ และทำการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างคุณค่าให้แก่ระบบอยู่เสมอ

แนวคิดของการผลิตแบบลีน

                1. ระบุคุณค่า (Value)

                2. สร้างกระแสคุณค่า (Value Stream)

                3. ทำให้กิจกรรมต่างๆ ที่มีคุณค่าเพิ่มดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง (Flow)

                4. ใช้ระบบดึง (Pull)

                5. สร้างคุณค่า และกำจัดความสูญเปล่า (Perfection)

ข้อดีของระบบการผลิตแบบลีน

                1. ต้นทุนต่อหน่วยต่ำ

                2. การวางแผนและควบคุมการผลิตทำได้ง่าย

                3. มีการใช้ประโยชน์สูงสุดจากเครื่องจักรและอุปกรณ์

                4. สามารถแก้ปัญหาได้ทันท่วงที

                5. ไม่มีต้นทุนจมกับของคงคลัง

                6. มีความยืดหยุ่นสูงสามารถปรับกระบวนการได้ง่าย

                7. สามารถแก้ปัญหาได้ทันท่วงที

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Human Capital

Human Capital คือ ทุนมนุษย์ หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ตลอดจนทักษะหรือความชำนาญรวมถึงประสบการณ์ของแต่ละคนที่สั่งสมอยู่ในตัวเอง และสามารถจะนำสิ่งเหล่านี้มารวมกันเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นศักยภาพขององค์กร หรือเป็นทรัพยากรที่สำคัญและมีคุณค่าซึ่งจะทำให้องค์กรนั้นมีความสามารถสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน

การประยุกต์ใช้ทฤษฏีทุนมนุษย์

                1. การลงทุนมนุษย์ในแต่ละปัจเจกชน

                2. การลงทุนในทางสังคม (Social capital)

ประโยชน์ ข้อดี

                1. การบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้น มุ่งเน้นไปที่การสร้างประสิทธิภาพและคุณภาพให้กับพนักงานขององค์กรนั้นๆ

                2. เป็นการมองพนักงานเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรและเป็นส่วนสำคัญที่สร้างความสำเร็จให้องค์กร

                3. มีการสร้างและรับรู้ถึงวัฒนธรรมในองค์กร และสรรค์สร้างองค์ความรู้ในองค์กรเพื่อให้เกิดแหล่งข้อมูลของความรู้

                4. ทำให้องค์กรนั้นๆ บรรลุเป้าหมายได้ตามกลยุทธ์ที่วางไว้

                5. ทำให้องค์กรมีการพัฒนา อยู่รอด และประสบความสำเร็จ

                6. ทำให้ไม่เกิดผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศ

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Five Forces

                Five Forces หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันทางการตลาดของธุรกิจ

1. Rivalry Among Current Competitors: การแข่งขันกันระหว่างคู่แข่งภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน

2. Bargaining Power of Suppliers: อำนาจต่อรองของ Supplier

3. Bargaining Power of Customers: อำนาจต่อรองของลูกค้า

4. Threat of Substitute Products or Services: ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน

5. Threat of New Entrance: ภัยคุกคามจากผู้แข่งขันหน้าใหม่

ประโยชน์ของ Five Forces

                1. ทำให้เกิดข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน

                2. ทำให้ได้กำไรที่สูงอย่างต่อเนื่อง

                3. ช่วยขัดขวางการเข้ามาขององค์กรรายใหม่ได้

                4. ช่วยรักษาความเป็นผู้นำทางการตลาดได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท