หลักการย่อความ


สุมิตรา นาแสวง
กราบเรียน ท่านอาจารย์ภาทิพที่เคารพ ดิฉันเป็นผู้หนึ่งที่เข้าดูเว็บไซด์ของท่านอาจารย์ค่ะ รู้สึกว่าอาจารย์จัดทำข้อมูลที่ให้ความรู้แก่บรรดานิสิตนักศึกษาในโรงเรียนของท่านได้เป็นอย่างดี ดิฉันกำลังจะศึกษาต่อในสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งการเข้าศึกษาต่อจะต้องผ่านการสอบคัดเลือกในวิชาการย่อความด้วย ดิฉันจึงอยากเรียนถามท่านอาจารย์ว่า มีหลักในการย่อความหรือไม่ แล้วการอ่านจับใจความกับการย่อความเหมือนกันหรือไม่ ถ้ามีหลักการย่อความขอความกรุณาท่านช่วยส่งอีเมลให้ด้วยจะเป็นพระคุณอย่างสูงค่ะ สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านอาจารย์มีสุขภาพแข็งแรง มีพลานามัยที่ดี และขอให้คุณพระคุ้มครองค่ะ ขอพระคุณมากค่ะ


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น

คำตอบ (1)

ภาทิพ
เขียนเมื่อ

หลักการย่อความ จากที่นี่ค่ะ   http://www.kanlayanee.ac.th/kn/work2544/40625/ch.html

1. เขียนคำนำตามประเภทของเรื่อง
           2. อ่านเรื่องทั้งหมดอย่างละเอียด อ่านถึง2-3เที่ยว เพื่อให้เข้าใจเรื่องให้ตลอด
           3. ทำความเข้าใจศัพท์สำนวน โวหารในเรื่อง
           4. ถ้าเรื่องที่จะย่อเป็นร้อยกรองต้องถอดคำประพันธ์เป็นร้อยแก้วก่อนจึงย่อ
           5. สังเกตใจความสำคัญแล้วแยกออกเป็นตอนๆ
           6. สรรพนามบุรษที่1,2ต้องเปลี่ยนเป็นบุรุษที่3หรือเอ่ยชื่อ
           7. ถ้าคำเดิมเป็นคำราชาศัพท์ให้คงไว้
           8. ข้อความที่เป็นคำพูดในเครื่องหมายอัญประกาศต้องเขียนใหม่ซึ่งเรียกว่าเปลี่ยน
เลขในเป็นเลขนอก
           9. เรื่องที่จะย่อถ้าไม่มีชื่อเรื่องผู้ย่อต้องตั้งชื่อเรื่องเอง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท