บทความการอ่านคิดวิเคราะห์เขียน


การคิดวิเคราะห์

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อพัฒนาการอ่าน  คิดวิเคราะห์   และเขียนสื่อความ                       

       พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ   พ.ศ. 2542    ในหมวดการจัดการศึกษา      มีสาระบัญญัติเน้นความสำคัญของการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง    กระบวนการคิดของผู้เรียน    รักการอ่านและฝึกให้ผู้เรียนทำได้    คิดเป็น   และทำเป็น                        ในส่วนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน   พุทธศักราช  2544    (กรมวิชาการ,  2544)   ได้กำหนดจุดหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับ      การอ่าน   การคิด   และการเขียนโดยกำหนดจุดหมายให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์     ใฝ่รู้ใฝ่เรียน    รักการอ่าน     รักการเรียนและรักการค้นคว้า  ในด้านความรู้ให้ผู้เรียนมีความเป็นสากล    รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและความเจริญ ก้าวหน้าทางวิทยาการ     มีทักษะและศักยภาพในการจัดการ      การสื่อสาร   และการใช้เทคโนโลยี  ปรับการคิด    วิธีการทำงานได้เหมาะสมกับสถานการณ์                        นอกจากนั้นหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน     ยังกำหนดแนวการจัดการเรียนที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ในลักษณะองค์รวม   นั่นคือการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ    เป็นการกำหนดเป้าหมายการเรียนร่วมกัน     จัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ    การเรียนรู้แบบบูรณาการเป็นรูปแบบสำคัญในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะในการอ่าน    คิดวิเคราะห์    และเขียนสื่อความ    รวมถึงการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาการอ่าน   คิดวิเคราะห์   เขียนสื่อความ                     

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ                       

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เอาสาระความรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกันหรือต่างกลุ่มสาระการเรียนรู้มาผสมผสานกันให้เป็นสาระความรู้ที่มีความหมายต่อตัวผู้เรียน     ฝึกปฏิบัติที่เน้นกระบวนการและวิธีการเป็นหลัก     เพื่อให้ผู้เรียนหล่อหลอมความรู้ความสามารถด้านพุทธิพิสัย     ทักษะพิสัย     และจิตพิสัย      เกิดความคิดและนำความคิดไปสร้างความรู้   สร้างปัญญาในการแก้ปัญหา                       

แบบการเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อพัฒนาการอ่าน   คิดวิเคราะห์   และเขียน   เช่น1.       การเรียนรู้แบบบูรณาการโดยการศึกษาแหล่งเรียนรู้  /   สิ่งแวดล้อม

2.       การเรียนรู้แบบบูรณาการโดยการศึกษานิทาน   ตำนานพื้นบ้าน

3.       การเรียนรู้แบบบูรณาการโดยการใช้สารานุกรม /สื่อสิ่งพิมพ์

4.       การเรียนรู้แบบบูรณาการโดยการศึกษาศิลปวัฒนธรรม  ประเพณี  5.        การเรียนรู้แบบบูรณาการโดยการศึกษาวรรณคดี  วรรณกรรม  
                        การอ่าน   คิดวิเคราะห์   และเขียนสื่อความ   เป็นทักษะพื้นฐานสำคัญของบุคคลแห่งการเรียนรู้โดยมีรายละเอียดของแต่ละทักษะดังนี้                      การอ่าน   เป็นกระบวนการแปลความหมายของตัวอักษรที่มีการจดบันทึกไว้           ผู้อ่านต้องทำความเข้าใจกับความหมายของคำและเรื่องที่อ่าน    กระบวนการอ่านประกอบด้วย                       

 1.  การรู้จักคำ   คือการรับรู้สัญลักษณ์ในที่นี้หมายถึงอักษรที่มีการบันทึกไว้ 

  2.  การเข้าใจความหมายของคำ   วลี   ประโยค                         

3.  การใช้ความคิดกับเรื่องที่อ่าน                       

4.  การบูรณาการ   การนำความรู้ความคิดจากการอ่านไปสร้างสิ่งใหม่                        การคิดวิเคราะห์      เป็นกระบวนการคิดเชิงลึกที่ผู้เรียนต้องใช้ความสามารถและทักษะในการตั้งสมมติฐาน    การสังเกต     การสืบค้น      และการหาความสัมพันธ์ที่เชื่องโยงกันได้อย่างมีเหตุผล   ดังนั้นการคิดวิเคราะห์การอ่านจึงเป็นการอ่านเพื่อแยกแยะสาระที่อ่านเกี่ยวกับ ความสำคัญ     ความสัมพันธ์    และหลักการ   ในสิ่งที่อ่านโดยการคิดพิจารณาอย่างรอบคอบ    ใคร่ครวญ   อย่างมีเหตุผล     การอ่านเพื่อคิดวิเคราะห์มีขั้นตอนดำเนินการดังนี้                       

1.  รวบรวมข้อมูล   คือการรับรู้เรื่องที่อ่าน    เข้าใจความหมายของคำ   วลี   ประโยค   ข้อความที่อ่าน                       

2.  คิดวิเคราะห์    คือการจำแนก   จับใจความสำคัญเรื่องที่อ่าน   ตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่อ่านได้ว่า   ใคร   ทำอะไร   ที่ไหน  อย่างไร   ผลเป็นอย่างไร 

3.  สรุปสาระที่อ่าน  เป็นการสังเคราะห์ข้อมูลจากการอ่าน   สรุปและประเมินสิ่งที่อ่าน                       

4.  ประยุกต์และนำไปใช้         เป็นการนำผลที่เรียนรู้จากการอ่านไปปฏิบัติอย่างเหมาะสม                       

การเขียน    เป็นการถ่ายทอดความรู้   ความคิดออกมาเพื่อสื่อสารให้ผู้อ่านเข้าใจผ่านตัวอักษร    การเขียนเพื่อสื่อสารความคิดวิเคราะห์จากการอ่านเขียนได้ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้                                         

1.  การเขียนสรุปความ   เป็นการเขียนสรุปความสั้น    จากเรื่องที่อ่าน                       

2.  การเขียนเชิงประเมิน   เป็นการเขียนเพื่อสรุปการตัดสินสาระในเรื่องที่อ่าน    หรือตัดสินงานเขียนที่อ่าน   โดยอธิบายแนวคิดของตนเองมีเหตุผลสนับสนุน                        

3.  การเขียนเชิงวิเคราะห์   เป็นการเขียนที่ใคร่ครวญ    แยกส่วนเพื่อให้เห็นรายละเอียดของเรื่องที่อ่าน                       

4.  การเขียนเชิงสังเคราะห์   เป็นการเขียนอภิปรายที่เกิดจากการนำประเด็น   หรือข้อมูลจากการอ่านมาประมวลให้เป็นที่เข้าใจและมีเป้าหมายเดียวกัน                                                     

การสอนเพื่อเชื่อมโยงการอ่าน   คิดวิเคราะห์   และเขียน   เข้าด้วยกันนั้น              ผู้สอนต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีความหมาย    มีชีวิตชีวา   และคำนึงถึง  ความแตกต่างระหว่างบุคคล  นั่นคือ   การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ                                  

วิธีการสอนอ่าน  คิดวิเคราะห์    เขียน

การอ่าน   การคิดวิเคราะห์   การเขียน
กิจกรรมการอ่าน·        อ่านออกเสียง·        อ่านในใจ·        จับคู่อ่าน·        อ่านเป็นกลุ่ม·        ฯลฯสื่อการอ่าน·        บทความ / สารคดี·        นิทาน  นิยาย·        เรื่องสั้น  / การ์ตูน·        ข่าวประจำวัน·        โฆษณา·        บทร้อยกรอง·        บทเพลง·        ฯลฯ      กิจกรรมหลังการอ่านเพื่อคิดวิเคราะห์·        การใช้คำถาม·        เขียนแผนภาพ·        ใช้ตาราง / แผนภูมิ·        โต้วาที  / อภิปราย·        แสดงบทบาทสมมติ·        วิจารณ์เรื่อง ตัวละคร·        ฯลฯประเภทการคิดวิเคราะห์·        วิเคราะห์ความสำคัญ·        วิเคราะห์ความสัมพันธ์·        วิเคราะห์หลักการ·        คิดไตร่ตรอง·        คิดใคร่ครวญ กิจกรรมการเขียนเพื่อสื่อความ·        สรุปความ·        ตอบคำถาม·        บันทึก·        รายงาน·        โครงงาน·        เขียนอธิบาย·        เขียนจดหมาย·        เขียนคู่มือ

 ตัวอย่างการจัดกิจกรรมการอ่าน   คิดวิเคราะห์   และเขียนขั้นที่ 1   อ่าน      ให้นักเรียนอ่านข้อความ (รวบรวมข้อมูล)                                   ครอบครัวไทยมีความสัมพันธ์กัน    หลายครอบครัวอยู่ร่วมกันในหมู่บ้าน                           ทุกคนมีความรัก  มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน    ลูก ๆ  เมื่อโตขึ้นไปประกอบอาชีพต่าง ๆ  ก็ไม่ทอดทิ้งพ่อแม่   และรับผิดชอบเลี้ยงดูพ่อแม่   แต่ละครอบครัวประกอบอาชีพต่างกัน   บางครอบครัวมีอาชีพเกษตรกรรมเป็นชาวนา   ชาวไร่   เลี้ยงสัตว์    บางครอบครัวมีอาชีพรับราชการ  เป็นทหาร  ตำรวจ  ครู  บางครอบครัว  มีอาชีพค้าขาย   เป็นพ่อค้าแม่ค้า  บางครอบครัวมี    อาชีพให้บริการ เป็นพนักงานร้านอาหาร   ร้านเสริมสวย  ร้านซ่อมรถยนต์  และรับจ้างแบกหาม                                 การประกอบอาชีพทุกอาชีพ   ทุกคนต้องมีความขยัน   ความซื่อสัตย์  อดทน                                 ต่อความยากลำบาก   และความรับผิดชอบต่องานที่ทำขั้นที่ 2  คิดวิเคราะห์   กิจกรรมให้นักเรียนคิดวิเคราะห์     โดยเลือกใช้กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง    หรือใช้ทั้ง  2  กิจกรรม    เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนคิด   ดังนี้                        กิจกรรมที่ 1   การใช้คำถามผู้สอนควรตั้งคำถามอย่างหลากหลายเพื่อนักเรียนเก็บรายละเอียดของเรื่องที่อ่านให้ได้   เช่น  ข้อความนี้กล่าวถึงเรื่องอะไร  ข้อความกล่าวอาชีพอะไรบ้างคุณลักษณะที่ทำให้ประสบความสำเร็จในอาชีพมีอะไรบ้าง                        กิจกรรมที่ 2  การเขียนแผนภาพความคิดจากเรื่องที่อ่าน                        ขั้นที่ 3   สรุปและเขียนสื่อความ    ให้นักเรียนเขียนสรุปสาระสำคัญและรายละเอียดของเรื่องที่อ่าน      และแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่อ่านการประเมิน    ประเมินจากผลงานในกิจกรรมขั้นที่  3 

<td width="114" valign="top" style="border-right: windowtext 1pt solid; padding-right: 5.4pt; border-top: #ece9d8; padding-left: 5.4pt; padding-bottom: 0cm; border-left: #ece9d8; width: 85.25pt; padding-top: 0cm; border-bottom: windowtext 1pt solid
รายการ ระดับ 4 ระดับ 3 ระดับ 2 ระดับ 1
การอ่าน 1. บอกสาระสำคัญของเรื่องที่อ่านได้ถูกต้อง   2. บอกรายละเอียดของเรื่องที่อ่านได้ถูกต้องครบถ้วน 1. บอกสาระสำคัญของเรื่องที่อ่านได้ถูกต้อง   2. บอกรายละเอียดของเรื่องที่อ่านได้ถูกต้อง  3 ประเด็น 1. บอกสาระสำคัญของเรื่องที่อ่านได้ไม่ถูกต้อง   แต่สาระที่สรุปอยู่ในกรอบเรื่องที่อ่าน2. บอกรายละเอียดของเรื่องที่อ่านได้  1-2 ประเด็น  จับใจความของเรื่องที่อ่านได้กว้าง ๆ  ไม่สามารถบอกสาระสำคัญ  หรือรายละเอียดได้
การคิดวิเคราะห์ 1. ความคิดเห็นสัมพันธ์กับเรื่อง2.เหตุผลสนับสนุนความคิดน่าเชื่อถือ มีน้ำหนัก 1. ความคิดเห็นสัมพันธ์กับเรื่อง2.เหตุผลสนับสนุนความคิดไม่มีน้ำหนัก 1. ความคิดเห็นสัมพันธ์กับเรื่อง2.เหตุผลสนับสนุนไม่สอดรับกัน 1. ความคิดเห็นไม่สัมพันธ์กับเรื่อง2.เหตุผลสนับสนุนไม่สอดรับกัน  หรือไม่มีเหตุผล
การเขียน 1.  เขียนสะกดคำถูกต้องทุกคำ2.เขียนสื่อความชัดเจน3. ลำดับความคิดไม่วกวน 1.เขียนสะกดคำผิดไม่เกิน 2  แห่ง2. เขียนสื่อความ3. ลำดับเรื่องวกวนแต่อ่านแล้วเข้าใจ 1. เขียนสะกดคำผิด 3 5  แห่ง2. เขียนไม่สื่อความบางแห่ง3. ลำดับความวกวน
คำสำคัญ (Tags): #บูรณาการ
หมายเลขบันทึก: 99986เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2007 11:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 23:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท