ประสบการณ์ใหม่ อบรมทางไกล e-Training


ถึงแม้ จะค้นเคยกับการเป็นวิทยากรการอบรมมานานแล้วก็ตาม แต่เมื่อมาดำเนินการอบรมผ่าน Internet ก็ได้รับประสบการณ์แปลกๆ ดี เหมือนกัน เพาะคุยกับผู้เรียนผ่านทางการพิมพ์ข้อความ หรือฟังเสียงทางโทรศัพท์ ข้อเขียนนี้ จึงเป็นการรวบรวมประสบการณ์ในการอบรมทางไกล หรือ e-Training ตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงปัจจุบัน และบันทึกต่อไปเรื่องๆ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์จากการปฏิบัติจริง

     ข้อเขียนต่อไปนี้ เป็นข้อเขียนจากประสบการณ์ในการเปิดการอบรมทางไกล ผ่านเครือข่าย Internet หรือ e-Training ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551 เปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นข้อเขียนที่ตั้งใจว่า จะเขียนเป็นเรื่องยาว ตั้งแต่เริ่มดำเนินการ แล้วบันทึกเพื่อเล่าประสบการณ์ไปเรื่อยๆ เพื่อให้เห็นพัฒนาการของการทำงานว่า มีการพัฒนางานไปอย่างไร พบปัญหาอะไรบ้าง และแก้ไขอย่างไร ดังนั้น จึงสามารถเห็น Timeline ของการปฏิบัติงาน เพราะบันทึกแต่ละครั้งจะมีวันที่กำกับให้เห็นว่า เป็นเมื่อไร ดังนั้นถ้าต้องการทราบว่า e-Training ทำอย่างไร อ่านเฉพ่าะ ตัวบันทึกจะไม่ทราบได้เลย เพราะเป็นการเกริ่นเพื่อนำเข้าสู่เนื้อหาเท่านั้น แต่สาระของเนื้อหา จะอยู่ที่ส่วน Comment ซึ่งผู้บันทึก ได้เล่าประสบการณ์ในการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นจนนถึงปัจจุบัน ต่อเนื่องไปถึงในอนาคตข้างหน้า

      ประสบการณ์ที่ได้รับจากการเปิดการอบรมทางไกล ในรูปแบบ e-Training ที่ได้รับตอนนี้ จะมีทีมงาน 3 คน นั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ พร้อมทั้งระบบการสื่อสาร คือ โทรศัพท์มือถือ และโทรศัพท์ของสำนักงานที่พร้อมจะสื่อสารกับผู้เรียนตลอดเวลา โดยทั้ง 3 คน ทำหน้าที่ดังนี้

  • คนที่ 1 ผู้ดูแลระบบเครือข่าย (Network) เพื่อคอยตรวจสอบและแก้ไขให้ระบบ Internet ใช้งานได้ดี ระบบไม่ล่ม และตรวจสอบว่า ความเร็ว Internet เป็นอย่างไร มีปัญหาตรงไหน ก็รีบแก้ไข
  • คนที่ 2 ดูแลระบบ e-Training ตรวจสอบว่า มีคน Online อยู่มากน้อยแค่ไหน ระบบยังทำงานดีหรือไม่ พร้อมทั้งตอบประเด็นคำถามต่างๆ ผ่านทางหน้า website e-Training ทันที ที่มีปัญหาเข้ามา รวมทั้งแก้ปัญหาการใช้งานของผู้เข้าอบรม เช่น ลืม password ก็จัดการแก้ไข และแจ้ง Password กลับไปทันที
  • คนที่ 3 ผู้สอน งานหลักคือ เปิด e-Mail ที่เข้ามาวันละเป็นจำนวนมาก เกือบ 100 ฉบับ ทั้งถามปัญหามาสารพัด รวมทั้งถามกระบวนการเรียนการสอน ที่สำคัญ คือ แจ้งขอจบหลักสูตร ซึ่งครูผู้สอน ก็จะเข้าไปตรวจสอบข้อมูลว่า เรียนจริงหรือไม่ แล้ว Print ข้อมูลเวลาการเข้าเรียนแต่ละบท ส่งให้ผู้รับผิดชอบ พิจารณา เมื่อเห็นว่า เข้าเรียนจริง ก็ส่งแบบปฏิบัติกิจกรรม ให้ปฏิบัติ ทาง e-Mail เมื่อผู้เรียนทำกิจกรรมเสร็จ ก็ส่งกลับเข้ามา กรรมการก็จะนำไปประเมิน ถ้าผ่านก็อนุมัติให้จบหลักสูตร

   จะเห็นว่า ทั้งวัน จะนั่งทำงานกันหน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอด ดูๆแล้วก็สนุกดีแต่ที่สำคัญคือ ได้ทราบข้อมูลตลอดเวลาว่า การฝึกอบรมในรูปแบบนี้ ยังมีปัญหา และ อุปสรรค อะไรบ้าง และจะแก้ไขอย่างไร

   บันทึกด้านล่างนี้ จะเป็นบันทึกความก้าวหน้า และการพัฒนาระบบ e-Training ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นไป โดยบันทึกประสบการณ์ต่างๆ ในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มต้นการดำเนินงาน

หมายเลขบันทึก: 99572เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2007 11:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (51)
  • ปัญหาที่ยังแก้ไม่ตกประการหนึ่งก็คือ ไม่ทราบว่า ผู้ที่เข้ามาเรียนนั้นเป็นตัวจริงหรือไม่ หรือให้ผู้อื่นเข้ามาศึกษาแทน โดยบอกชื่อและรหัสผ่านไปให้
  • แต่ประเด็นปัญหานี้จะหายไปทันที ถ้าเรื่องที่เปิดการอบรมนั้น เป็นเรื่องที่ผู้เรียนอยากรู้จริงๆ ไม่ใช่เรื่องที่บังคับเรียน

ที่ ศนจ.สุรินทร์ ตอนนี้พากันหัดส่ง E-mail
เพื่อจะได้แจ้งจบครับ สนุกดี

เป็นประสบการณ์ที่ดีครับ เพราะต่อไปการพัฒนาการเรียนการสอนและการฝึกอบรมผ่านระบบ Internet จะมีความสำคัญมากขึ้น และที่สำคัญ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด ในอนาคต ก้จะต้องดำเนินการจัดการเรียนการสอนผ่านทาง Internet

เมื่อวันที่ 1 และ 2 มิ.ย. เป็น 2 วันที่นั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่เช้า จนถึง 2 ทุ่ม และวุ่นวายอยู่กับเรื่อง e-Training มีเหตุการณ์ที่เป็นการเรียนรู้สำหรับการจัดการอบรมผ่านระบบ e-Training ดังนี้

  • Internet Litteracy หรือความรู้พื้นฐานด้าน Internet เนื่องจากพบว่า มีคำถามเข้ามาจากผู้สมัครเรียนจำนวนมากคือ สมัครไม่ได้  จำรหัสผ่านไม่ได้

   จึงเริ่มนั่งวิเคราะห์จากปัญหา โดยลองเข้าไปสมัครจริงๆ บ้าง ก็พบประเด็นปัญหาที่น่าจะเกิดดังนี้

  1. ในการสมัครจะต้องใส่ชื่อที่จะ Login เมื่อป้อนเข้าไปแล้วพร้อมทั้งข้อมูลอื่นๆ และกดปุ่มสมัคร ปรากฏว่า ชื่อซ้ำกับคนอื่นที่สมัครไว้แล้ว โดยเฉพาะ คนที่ชื่อโหล จึงต้องสมัครใหม่ โดยเปลี่ยนชื่อไปเรื่อยๆ รวมทั้งข้อมูลอื่นๆ ดังนั้น เมื่อสมัครได้บางทีก็ลืมว่า ชื่อที่สมัครได้ และรหัสผ่านที่สมัครได้คืออะไร การแก้ไขก็คือ สมัครใหม่ และคราวนี้ตั้งใจจดอย่างดี แต่พอสมัคร ทำไม่ได้ เพราะเลขประจำตัวประชาชนซ้ำ กับเลขเดิมที่เคยสมัครไว้แล้ว ระบบไม่ยอมให่สมัคร ก็เลยต้องใส่เลขประจำตัวปลอมเข้าไป เลยยุ่งกันใหญ่
  2. ในการสมัคร ให้คนอื่นสมัครใหม่ แล้วก็มีปัญหาคล้ายๆ ข้อ 1 แต่ต่างกันคือ เมื่อคนที่สมัครบอกไว้แล้วก็ลืมว่า เขาบอกว่าอะไร
  3. ในขั้นตอนการสมัครนั้น เมื่อสมัครแล้ว จะต้องเข้าไปกรอกรายละเอียดข้อมูลส่วนตัวอีกครั้ง แล้วกรอกไม่ครบทุกช่อง โดยเฉพาะช่องรหัสผ่านไม่ได้กรอก ทำให้โปรแกรมบันทึกรหัสผ่านไม่ได้ เมื่อกดบันทึกข้อมูล แล้วต้องการเข้าระบบอีก ก็เข้าไมได้

  นี่แค่ปัญหาในการสมัครเข้าอบรมเท่านั้น สำหรับคนที่ใช้ Internet บ่อย และเคยสมัครสมาชิกเรื่องต่างๆ ประจำ ก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่ผู้ที่ใช้เป็นครั้งแรกๆ ก็น่าเห็นใจเป็นอย่างมาก แต่ก็ถือว่า ถ้าไม่มีก้าวที่ 1 แล้วจะมีก้าวต้อไปได้อย่างไร

   การแก้ไข 

  • เมื่อมีโทรศัพท์ถามเข้ามา จะต้องมาทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ แล้วเข้าไปตรวจสอบในระบบโดยเข้าไปค้นหาว่า สมัครไว้ที่ไหน โดยค้นจากข้อมูลที่เขาพอจะจำได้ เช่น ชื่อ Login  เลขประจำตัวประชาชน e-mail เป็นต้น เมื่อค้นพบแล้ว ก็จะพบข้อมูลเขาว่า Login ไว้ชื่ออะไร ส่วนรหัสผ่านนั้นไม่สามารถแก้ไขได้ แต่จะกำหนดให้ใหม่แล้วจึงแจ้งให้ใช้รหัสใหม่
  • กรณีที่สมัครได้ เพราะเคยสมัครไว้แล้ว แต่ลืมก็ต้องไปค้นชื่อที่สมัครไว้ครั้งแรกแล้วลบออกก่อน จึงจะสมัครชื่อใหม่โดยใช้เลขประจำตัวประชาชนที่ถูกต้องได้
      

ท่านศรีเชาวน์

  • แวะเข้ามาดูความก้าวหน้า ได้เห็นถึงความพยายามของทีมงาน  ยอดเยี่ยมมากจริง ๆ
  • ทีมงานต้องดูแลสุขภาพตัวเองด้วยนะ มีลูกค้าเข้ามารับบริการเยอะนั่งหน้าจอทั้งวันเดี๋ยวจะป่วยไข้
  • คงจะต้องขยายผลรูปแบบการฝึกอบมไปยังบุคลากรกลุ่มอื่น ๆ ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ด้วย   จะเป็นประโยชน์แก่ชาว กศน.มากโดยเฉพาะ ครู ศรช.
  • เอาใจช่วยค่ะ

ขอบคุณ อ. แอ๊วครับ ที่เข้ามาให้กำลังใจ

  • ความจริงแล้วการนั่งทำงานแบบนี้ เป็นประสบการณ์ใหม่ เป็นเรื่องใหม่ และเป็นเรื่องที่ทำแล้วมีความสุขครับ เพราะได้พูดคุยกับคนมากหน้าหลายตา ทั้งที่รู้จัก และไม่รู้จักกัน อาจารย์ ที่เขาเป็นครูประจำวิชา (อาจารย์แสงจันทร์) ตอบ e-Mail บางวันเป็นร้อยฉบับ ซึ่งไม่เคยทำมาก่อน
  • ถือว่าเป็นการอบรมทางไกลครั้งแรกของ ศนอ. และอาจจะเป็นหน่วยงานแรกๆ ของ กศน. ด้วยครับ ก็เลยขลุกขลักน่าดู เมื่อวานระบบคอมพิวเตอร์ ก็ล่ม กว่าจะแก้ไขกันได้ ก็ใช้เวลานาน
  • ประสบการณ์ครั้งนี้ คงได้ถ่ายทอดและเล่าต่อกันไปแน่นอน เพราะทุกคนที่ทำงาน ต่างช่วยกันบันทึกเอาไว้คนละเล็กละน้อยตลอดเวลา

จะพัฒนา e-Training ต่อไปอย่างไร

     นั่งคิดก้าวต่อไปของ e-Training ว่าจะทำอย่างไร เพราะจากที่ผ่านมา อาจจะคิดว่า ทำได้แล้ว แต่จริงๆ มันเป็นแค่เพียง ได้ทำแล้วเท่านั้น หรือเรียกว่า ก้าวที่หนึ่งเท่านั้น ของเส้นทางการพัฒนา e-Training ถึงแม้ว่าจะเหมือนมีสมาชิกมากถึง 1700 คน แต่กระบวนการที่เขาเข้ามานั้น เป็นกระบวนการเข้ามาแบบพิเศษ

  • เมื่อผู้เข้าอบรมเริ่มเข้ามาในระบบ และเริ่มรู้จักใช้ Internet มากขึ้นบนพื้นฐานของ อุปสรรคต่างๆ หลายเรื่อง จึงมีคำถามว่า ถ้าไม่บังคับ เขาจะเข้ามาเรียนรู้ในระบบนี้หรือไม่ เช่น สมัครก็ยุ่งยาก Internet ก็ช้า การสื่อสารก็ไม่สะดวก ดังนั้นสิ่งนี้คงจะต้องเก็บมาคิดว่า ทำอย่างไร จึงจำทำให้เขาติดใจ และเข้ามาใช้ ระบบ อย่างต่อเนื่อง กระบวนการบังคับในระยะแรกก็ถือว่าเป็นมาตรการหนึ่งที่อาจจะจำเป็นต้องทำ
  • การพัฒนากระบวนการเรียนรู้เป็นกระบวนการต่อไปที่ต้องคิด ว่า เมื่อเขาเข้ามาเรียนแล้ว เขาเกิดกระบสนการเรียนรู้ตามที่หลักสูตรต้องการหรือไม่ หรือเป็นยเพียงเข้ามากดผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้ครงตามบทเรียนเพื่อรับวุฒิบัตรเท่านั้น  
  • กิจกรรมการเรียนรู้ที่อยู้บนบทเรียนนั้น ถูกกำหนดไว้ด้วยการนำเสนอเนื้อหา เช่น เข้าไปอ่านเนื้อหา ตอบคำถาม เล่นเกมส์ ด็ Video หรืออื่นๆ แต่กิจกรรมอีกส่วนหนึ่งที่การเรียนรู้จะต้องทำ คือกิจกรรมการมีส่วนร่วม กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กิจกรรมเหล่านี้จะทำอย่างไร ในกระบวนการ e-Training สามารถทำได้หรือไม่ อย่างไร
  • ในระบบ e-Training มีอีกหลายส่วนที่แทบจะยังไม่ได้หยิบมาใช้เลยคือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนและครูผู้สอนผ่านทาง Mail เช่น การส่งแบบฝึกหัดจากผู้สอนให้ผู้เรียน ผู้เรียนจับกลุ่มกันช่วยกันทำกิจกรรม แล้วส่งกลับมายังครูผู้สอน ผู้เรียนมีการบันทึกความรู้ในสมุดบันทึก เป็นต้น ซึ่งสิ่งต่างๆ เหลานี้ คือกระบวนการที่มีในระบบ e-Training
  • นอกจากการเรียนรู้จากสื่อในระบบ e-Training แล้วการค้นคว้าหาความรู้ก็เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเช่นกัน ระบบ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ที่จะเข้ามาช่วยในการค้นคว้าหาความรู้ได้รองรับความต้องการในเรื่องนี้หรือไม่ เพียงใด

สิ่งต่างๆ เหล่านี้ คือ สิ่งที่จะต้องคิดและพัฒนาต่อไป

กำลังเข้าสู่ เดือนที่ 4 ของ e-Training

  • ตอนนี้ มีผู้สมัครสมาชิก จำนวน 2690 คน
  • มีผู้เรียนผ่านทุกบทเรียนแล้วประมาณ 1000 คน กำลังอยู่ระหว่างการทำกิจกรรมทบทวนบทเรียน
  • การดำเนินการค่อนข้างเป็นไปด้วยดี และช่วยให้การพัฒนาดีขึ้น เพราะได้เรียนรู้ และแก้ปัญหาต่างๆ มากมาย

ประสบการณ์ที่ไดรับ

  • เกือบทั้งวัน ต้องนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ พร้อมกับโทรศัพท์มือถือ เพราะจะมีผู้เรียนถามปัญหามาโดยตลอด เป็นตัวชี้ให้เห็นว่า การสื่อสารผ่านทาง Internet อย่างเดียวบางครั้งก็ไม่ได้คำตอบที่ทันใจ เพราะกว่าจะตอบ mail หรือ webboard มันช้าเกินไป
  • ทำให้ทราบว่า ระบบยังมีปัญหาที่ต้องแก้ไข รวมทั้งทราบว่า ความรู้พื้นฐานในการใช้ Internet ของครุ กศน. ยังต้องพัฒนากันอีกพอสมควร
  • สะท้อนให้เห็นว่า ถ้าเป็นข้าราชการอาจจะต้องมีการพัฒนากันมากกว่านี้ ถ้าไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถไปแนะนำชาวบ้านได้
  • ทำให้เห็นว่า การเรียนด้วยระบบ e-Learning สำหรับชาวบ้านนั้น ยังต้องใช้เวลาอีกพอสมควร แต่มีความเป็นไปได้

ประสบการ์ในการอบรม e-Training


    นับถึงวันนี้ ก็ประมาณ 4 เดือนแล้ว ที่ได้ดำเนินการเปิดการอบรมทางไกล ผ่านระบบ e-Training มีประสบการณ์หลายอย่าง ที่ควรจะบันทึกไว้เป็นอย่างมากดังนี้
  • จำนวนสมาชิก  ตอนนี้ มีผู้สมัครเข้มาเป็นสมาชิก 3009 คน  ตัวเลขนี้บอกอะไรบ้าง
       1.1 ในความเป็นจริงไม่ใช่มีผู้สมัครเข้ามาสู่ระบบ 3009 คน เพราะบางคนสมัครมากกว่า 1 ชื่อ เนื่องจากเมื่อสมัครแล้ว เข้าระบบไม่ได้ ด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม ก็เลยสมัครใหม่ จำนวนคนเรียนจริงๆ จึงยึดถือตามนี้ไม่ได้
         จากข้อมูลนี้จึงต้องสะท้อนไปถึงระบบ เพราะสาเหตุที่ทำให้ผู้สมัครเข้าระบบไม่ได้ หลังจากการสมัครแล้ว เพราะระบบได้ให้เข้าไปแก้ไขข้อมูลส่วนตัว และเพราะการเข้าไปแก้ไข ทำให้บางคนไม่ได้ใส่รหัสผ่านอีกครั้ง และเมื่อไม่ได้ใส่ ก็เลยเข้าระบบไม่ได้ และเป็นเพราะ เมื่อแก้ไขแล้ว บันทึก แต่ไม่เปลี่ยนไปหน้าไหน ก็เลยคิดว่า ไม่บันทึก ก็เลยกดบันทึกซ้ำอีก ผลก็คือ ไม่ได้ใส่ รหัสผ่าน
    ดังนั้น ต้องแก้ไขระบบตรงนี้ เพราะเป็นส่วนที่กระทบต่อการบอกจะนวนสมาชิกที่แท้จริง
       1.2 ตัวเลขนี้ จะมีจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้เป็นสมาชิดเพราะต้องการเข้าอบรม แต่เป็นสมาชิกเดิมตั้งแต่การทดลองใช้ระบบ และสมัครเมื่อเปิดการอบรมการใช้งานระบบให้กับ ศนจ. ซึ่งคาดว่า จะประมาณ 100 คนเศษ
       1.3 จำนวนสมาชิกนี้ เกิดจากกระบวนการบังคับ ว่า บุคลากร กศน. ต้องเข้ารับการอบรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครู กศน. เช่น ครู ศรช. พนักงานราชการ เป็นต้น
  • กระบวนการอบรม จะประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ
        ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาหาความรู้ ผ่านระบบ e-Training  โดยการเช้าไปเรียนรู้จากสื่อ ที่จัดทำในลักษณะ Web Based
    Instruction โดยมีกระบวนการให้เรียนรู้ มีกิจกรรมฝึกปฏิบัติ และทำแบบฝึกปฏิบัติ ในระหว่างเรียน จะสามารถติดต่อสื่อสารกับเพื่อน ที่เรียนร่วมกัน และติดต่อสื่อสารกับครูผู้สอน ผ่านทาง e-Mail และ Message (Private mail)
        ขั้นตอนที่ 2 ทำกิจกรรมต่อเนื่อง โดยผู้เข้าอบรม ที่เรียนครบทุกเนื้อหาแล้ว ครูผู้สอนจะประเมินให้ผ่าน แล้วแจ้งกลัยไปยังผู้เรียน พร้อมทั้งข้อมูลบันทึกการเข้าเรียน และให้ผู้เรียนไป Download กิจกรรมต่อเนื่องมาทำ โดยการทำกิจกรรมจะต้องบันทึกผลด้วยลายมือของตนเอง เสร็จแล้ว ให้ผู้บังคับบัญชารับรองการทำกิจกรรม แล้วส่งมาที่ ศนอ.
       ขั้นตอนที่ 3 ประเมินการจบหลักสูตร โดย ศนอ. จะประเมินจากข้อมูลการเข้าเรียน และผลงานจากสมุดกิจกรรมพร้อมทั้งคำรับรองของผู้บังคับบัญชา ถ้าผ่านการประเมินก๋อนุมัติให้จบหลักสูตร และได้รับวุฒิบัตร
       กระบวนการทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ พบว่า ส่วนมากจะผ่านขั้นตอนที่ 1 กันแล้ว โดยผู้ที่ผ่านขั้นตอนแรก มีประมาณมากกว่า สองพันคนแล้ว สิ่งที่เป็นปัญหาควรบันทึกไว้ก็คือ
       ประการที่ 1 ผู้เรียนหลายท่านไม่ค่อยมีเวลามาเข้าเรียน เพราะการเรียนใช้เวลาพอสมควร เนื่องจากสาเหตที่สำคัญคือความเร็วของ Internet และผู้เรียนจำนวนมาก ไปเรียนจากร้าน Internet จึงมีคำถามที่น่าสนใจว่า การเรียนนั้น เป็นการเรียนอย่างตั้งใจที่จะได้รับความรู้ หรือเป็นเพียงการเข้าไปนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ แล้วคลิกเข้าไปแต่ละบท เพื่อให้ผ่านครบตามที่กำหนด เพราะจากข้อมูลบันทึกการเข้าเรียนสามารถบอกบางอย่างได้ เช่น บางบทใช้เวลาเข้าเรียนเพียงไม่นานนัก ซึ่งเรื่องนี้ คงจะต้องมีการตรวจสอบแย่างจริงจัง โดยต้องเข้าไปเรียนอย่างจริงจัง แล้วจับเวลาว่า แต่ละบท ใช้เวลาเรียนเท่าไร โดยนำเอา ความเร็วของ Internet เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ต่อจากนั้น ก็เอาเวลานี้ลองไปเปรียบเทียบ กับเวลาที่ผู้เข้าเรียน ได้เข้าเรียนจริง
       ประการที่ 2 ปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับระบบ ที่ยังหาคำตอบไม่ได้คือ เรื่องการบันทึกการเข้าเรียน ที่พบมากคือ ผู้เรียนเข้าเรียนแล้ว แต่คอมพิวเตอร์ ไม่บันทึกการเข้าเรียน มีผลตามมาคือ ผู้เรียนไม่ผ่านสักที และผู้เรียนก็ไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ว่า บทใดที่ยังไมได้เข้าเรียน
         แนวทางการแก้ไข ครูผู้สอน คืออาจารย์แสงจันทร์ เข้าไปตรวจสอบทุกวัน ว่าใครเรียนจบแล้วบ้าง ใครยังไม่จบ และยังขาดบทใดบ้าง แจ้งกลับไปยังผู้เรียน ทำให้ปัญหานี้ลดลงอย่างมาก แต่ก็ทำให้ครูผู้สอนเสียเวลามาก เพราะมีอยู่คนเดียว ปัญหานี้จะหายไป ถ้ามีครูผู้สอนมากกว่า 1 คน ส่วนปัญหาเรื่องระบบคอมพิวเตอร์ไม่บันทึก ยังไม่ทราบสาเหตุ เข้าใจว่า น่าจะเป็นเรื่องของโปรแกรม ที่มีการกำหนดบันทึก ว่าให้บันทึกอบ่างไร
       ประการที่ 3 การเข้าเรียนผิดที่ เนื่องจาก ระบบการเข้าเรียน ก็เหมือนกับการอบรม คือเมื่อจบการอบรม ก็เหมือนกับหารออกจากห้องอบรม เข้าไปเรียนอีกไม่ได้ ดังนั้น จึงได้เปิดให้ผู้ที่ต้องการทบทวน หรือ สนใจ ศึกษาหาความรู้จากบทเรียนนี้ได้ โดยไม่ต้องลงทะเบียนเรียน แต่การเข้าไปเรียนในส่วนนี้ จะไม่ได้บันทึกการเข้าเรียน มีผู้เรียนส่วนมาก เข้าไปเรียนในส่วนนี้ แล้วแจ้งมาว่าจบแล้ว แต่เมื่อตรวจสอบ ไม่มีบันทึกการเข้าเรียน ผู้ที่เกิดปัญหานี้ จะเกิดที่จังหวัดยโสธร เนื่องจาก อาจารย์ที่ศูนย์แนะนำแก่บุคลากรในศูนย์ให้เข้าเรียนในส่วนนี้ จึงได้แก้ไขโดยเขียนรายละเอียดที่หน้า website ให้ชัดเจนขึ้น และประสานโดยตรงกับกลุ่มผู้เรียนที่ยโสธร ทางโทรศัพท์

ประสบการณ์เพิ่มเติม เสริมสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนทางไกล

  • ได้มีโอกาศแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับ คุณพรชัย เกี่ยวกับการระบบ LearnSquare ที่นำมาใช้ในระบบ e-Training ทำให้ทราบสาเหตุของปัญหาหลายประการ ที่มีผลต่อการเรียนทางไกล ผ่านเครือข่าย Internet
  • เมื่อครั้งที่แล้วได้เล่าถึงปัญหาที่เกิดจากผู้เรียนที่ไม่คุ้นเคยกับระบบ และการใช้งาน Internet แต่วันนี้ จะกล่าวถึงปัญหาที่เกิดจากตัวระบบ ที่กระทบต่อการเรียนของผู้เรียน ปัญหาแรก ผู้เรียนเข้าเรียนครบทุกบทเรียน แต่ระบบบอกว่า ยังเรียนไม่ครบ พร้อมทั้งแจ้งข้อมูลว่าบันทึกการเข้าเรียนว่า เข้าเรียน บทใด เมื่อไร ทำให้ผู้เรียนเริ่มหงุดหงิด และท้อถอย ถ้าไม่เป็นการบังคับให้เข้าเรียนคงจะเลิกเรียนไปนานแล้ว ปัญหาเกิดจากระบบคอมพิวเตอร์ ที่เกิดจากการเขียนคำสั่งมีปัญหา ทำให้ได้แนวคิดว่า ถ้าคนไม่สนใจ ก็ไม่สนใจไม่ว่าจะทำอย่างไร แม้ว่า จะเป็นการบังคับ แต่คนที่สนใจ แม้ไม่มีอะไรตอบแทนก็เข้ามาหาความรู้
  • ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่า จะจัดให้คนที่สนใจหรือไม่สนใจ แต่ความสำคัญอยู่ที่ ทำอย่างไร ให้ผู้ที่เข้ามาเรียนแล้วได้รับความรู้ เกิดการเรียนรู้ ปัญหานี้ถ้าคิดในแง่ดี ก็คือ ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหานั้น มากว่า 1 ครั้ง เท่ากับเป็นการทบทวนไปในตัว แต่สำหรับท่านที่ต้องการเข้ามาเรียนเพื่อเอาวุฒิบัตร และไม่ค่อยมีเวลาเข้าเรียน ก็คงจะน่าเบื่อ แต่บางคนก็ได้เคล็ดลับใหม่คือ เข้ามาเรียนแบบคลิกผ่านแต่ละบทพอให้เครื่องบันทึกการเข้าเรียนเท่านั้น
  • สิ่งที่มีค่าต่อการเรียนรู้อีกประการหนึ่งคือ แต่ละวันได้ประสบการณ์การสอนทางไกล คือ มีผู้เรียนติดต่อเข้ามาทางโทรศัพท์ตลอดเวลา โดยเรื่องที่ โทรเข้ามามี 2 เรื่องหลักๆ
         1 มีปัญหาในการเข้าระบบ เพื่อเข้าไปเรียน จะเป็นปัญหากับผู้สมัครใหม่  เพราะการแก้ปัญหาเรื่องนี้ ต้องโทรศัพท์ ไปถามผู้ดูแลระบบ หรือส่ง e-Mail ไปหาผู้ดูแลระบบ พบว่า การโทรศัพท์ได้รับความนิยมมากกว่า เพราะสะดวก และรวดเร็ว ดังนั้น ผู้รับผิดชอบทั้ง 2 ท่าน จึงนั่งรับโทรศัพท์ ทั้งวัน
         2 สอบถามว่าเรียนจบหรือยัง เพราะผู้เรียนที่ยังไม่จบ ไม่สามารถตรวจสอบได้เองว่าตนเองยังขาดการเข้าเรียนเรื่องอะไร
         จากการได้พูดคุยกับผู้เรียนจึงเป็นกำไร สำหรับผู้จัด เพราะได้มีโอกาสพูดคุย ไต่ถามผู้เรียนในเรื่องที่ต้องการ (แต่ไม่มากนัก เพราะเวลาจำกัด)
  • ผลที่เกิดขึ้นตอนนี้ มีสมาชิกประมาณ 3 พันคน ถือว่าเป็นการอบรมห้องเรียนใหญ่มาก การทำงานต่างๆ ต้องใช้เวลามาก แค่การประเมินผลจากการตรวจสอบการเข้าเรียนแต่ละวันก็แย่แล้ว เพราะครูผู้สอน ต้องไปตรวจสอบ ว่า วันนี้มีใครเข้าเรียนครบบ้าง แล้วทำการประเมิน ผลการเรียน เปลี่ยนจาก S เป็น P แค่นี้ก็ใช้เวลาหลายชั่วโมงแล้ว เพราะต้องเข้าไปดูผู้เรียนทุกกลุ่ม
  • ที่น่าดีใจคือ ตอนนี้มีผู้เข้าเรียนและศึกษาเนื้อหาครบทุกเรื่องแล้วประมาณ สองพันคน และกำลังอยู่ในช่วงของการทำกิจกรรมต่อเนื่อง ซึ่งก็เป็นอีกกิจกรรมหนึ่ง ที่จะนำเอาประสบการณ์มาเล่าสูกันฟังต่อไป

ปัญหาบางอย่างเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด

     วันนี้คงต้องบันทึกอีกครั้งว่า เป็นวันที่การใช้งานระบบก้าวเข้ามาสู่ขั้นตอนที่ต้องเรียกว่าได้รับความรู้และประสบการณ์ในการจัดการอบรมอีกมาก โดยเฉพาะในเรื่องของกระบวนการเรียนการสอนทางไกล ที่ต้องมีการติดต่อสื่สารกับผู้เรียนจำนวนมาก และเมือระบบมีปัญหา สิ่งที่ตามมาก็คือ การสื่อสารโดยตรงระหว่างผู้เรียนกับผู้จัดผ่านทางระบบโทรศัพท์ เรืองที่ไม่เคยคิดไม่เคยวางแผน และไม่เคยคิดว่าจะเกิดก็เกิดขึ้น

  • การสื่อสารผ่านโทรศัพท์ สิ่งที่อยากให้มองเห็นภาพก็คือ จากคนที่ไม่เคยได้ติดต่อกับใครทางโทรศัพท์เท่าไร กลายมาเป็นต้องรับโทรศัพท์ทั้งวัน รวมถึงกลางคืนด้วย จึงนึดถึงพนัดงานโทรศัพท์ที่เป็น Operator ที่ต้องคอยตอบคำถามคนทั่วไป สิ่งที่เกิดคือ
            1 การใช้ถ้อยคำในการสนทนา ทำอย่างไรจึงจะให้ผู้ที่คุยด้วยเกิดความสบายใจ เพราะจากประสบการณ์จริง บางท่านก็พูดคุยกับแล้วเข้าใจง่าย ใช้เวลานิดเดียวก้เข้าใจ  บางท่านใช้เวลานานมากกว่าจะเข้าใจ สิ่งที่ตามมาคือ ความหงุดหงิดด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งฝ่ายถามและฝ่ายตอบ หรือบ่างครั้งผู้ถามก็ค่อนข้างจะใช้คำที่ค่อนข้างไม่ให้เกียรติ ครูผู้ตอบ สิ่งนี้มันเป็นความรู้สึกที่สะสม ไปยังการตอบคำถามคนต่อๆ ไป
             จึงเป็นเรื่องใหม่ที่อาจจะต้องมาทบทวน วิธีการใช้ถ้อยคำในการตอบคำถาม วิธีการอธิบายความที่ไม่เห็นหน้าเห็นตากัน
            2 การอธิบายการใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยที่ไม่เห็นว่า หน้าจอของผู้ถามเป็นอย่างไร เป็นเหตุการณืที่เกิดบ่อยมาก ในการแนะนำการเข้าเรียน การลงทะเบียนหรืออื่นๆ บางครั้งใช้เวลานานมาก กว่าจะถึงบางอ้อ ว่าเปิดกันคนละ website
  • การสื่อสารผ่านทาง webboard ที่เป็นอีกช่องทางหนึ่งของการสื่สารทางไกลที่จะใช้มาก ประเด็นที่เกิดคือ
           1 มีการเปิดช่องทางการสื่อสารผ่าน Wbboard ที่หน้า website แต่ผู้เรียนบางท่านไม่รู้ว่า webboar คือคืออะไร และจะใช้สื่อสารกันอย่างไร
            2 บางช่วงเวลาไม่มีเวลาที่จะตอบ คำถามต่างๆ เช่นไปราชการต่างจังหวัด ทำให้คำถามสะสมและมากขึ้น
             3 การถามคำถาม มีการถามคำถามซ้ำๆ กันเข้ามามาก เช่น แจ้งการจบเข้ามา โดยไม่บอก Username และ ช่วงเวลาที่เข้าเรียน ผู้ตอบก็ตอบกลับไปว่า ให้แจ้งมาด้วย แต่คนถามคนอื่นๆ ก็มีลักษระเดียวกัน เป็นการชี้ให้เห็นว่า ไม่ค่อนได้เข้าไปอ่านกระทู้ของคนอื่นๆ ทำให้ผู้ตอบก็เบื่อหน่าย เพราะเป็นปัญหาซ้ำซาก
  • ไม่ค่อยศึกษาข้อความที่แจ้ง หรือบอกข่าว ประชาสัมพันธ์ ผ่านทาง website มีหลายเรื่องที่ได้ชี้แจง และอธิบายไว้อย่างชัดเจน แต่ก็ไม่อ่าน แต่จะใช้วิธีการโทรศัพท์มาถาม หรือทำผิดขั้นตอน เช่น
          1 การเข้าเรียนโดยไม่มีการบันทึกเวลาการเข้าเรียน โดยได้จัดเนื้อหาส่วนหนึ่ง ให้ผู้ที่สนใจทั่วไปเข้าเรียนโดยไม่ต้องลงทะเบียน และได้เขียนคำอธิบายไว้ชัดเจน แต่ก็มีผู้เรียนจำนวนมากไปเข้าเรียนตรงส่วนี้แล้วแจ้งจบเข้ามา ซึ่งผลก้คือ ไม่มีหลักบานการเข้าเรียน
         2 ชี้แจงปัญหา กรณีที่แก้ไขข้อมูลส่วนตัวแล้วจะทำให้เข้าระบบไม่ได้เนื่องจาก ไม่ได้กรอก Password แต่ก็ไม่ได้อ่าน แล้วมีปัญหาตามมาค่อนข้างมาก

     สิ่งที่เกิขึ้นทั้วหมดนี้ คือ ประสบการณ์และปัญหาที่จะต้องนำมาสู่กระบวนการแก้ไข และพัฒนาระบบ e-Training ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

เตรียมรับสถานกาณ์ใหม่

  • จากการดูสถิติการเข้าเรียน สถิติสมาชิกที่สมัครใหม่ จะเห็นว่าอยู่ในสภาพชลอตัว หมายความว่า ตอนนี้ มีผู้สมัครสมาชิกใหม่แต่ละวันลดลง บางวันเหลือเพียงไม่ถึง 10 คน แสดงว่า ถึงจุดอิ่มตัว คือ บุคลากร กศน. สมัครเข้าเรียนเกือบหมดแล้ว ขณะที่กลุ่มเป้าหมายอื่นๆ ไม่ได้สมัครเข้ามาเพิ่ม และจำนวนผู้เข้าเรียนแต่ละวันก็ลดลง เพราะเรียนจบกันเกือบหมดแล้ว และวิชาอื่นก็ไม่น่าสนใจ
  • ข้อมูลดังกล่าว เป็นตัวกระตุ้นว่า ระบบ e-Training ถึงเวลาแล้วที่จะต้องพัฒนาตัวเองไปอีกระดับหนึ่ง เพราะผู้เกี่ยวข้องเริ่มมีเวลามากขึ้น เนื่องจากเวลาที่ต้องใช้เพื่อการสื่อสารกับผู้เรียนเริ่มลดลง สิ่งที่ต้องคิดเพิ่มเติมเพื่อนำไปสู่การพัฒนา มีดังนี้
  1. ปรับระบบใหม่ ให้สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงระบะเวลาที่ผ่านมา โดยมี Indicator ที่จะช่วยชี้ว่า ระบบดีขึ้นหรือไม่ ดูจาก จำนวนโทรศัพท์ที่ถามปัญหาเข้ามา หรือคำถามผ่าน e-Mail ลดลง 
  2. คิดหาวิธีการ ที่จะทำให้ e-Training เป็นกระบวนการท่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาบุคลากรในการนำมาช่วยเสริมการอบรมแบบชั้นเรียน เช่น สำรวจความต้องการจาก ส่วนกลาง ภาค และ ศนจ. ว่า มีเรื่องอะไรบ้าง ที่ ศนจ. คิดว่า ต้องการพัฒนาบุคลากร ที่ต้องดำเนินการกับกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากๆ
  3. หาวิธีการที่เป็นแรงจูงใจ ให้กลุ่มเป้าหมายเข้ามาสนใจการแสวงหาความรู้ผ่านทางเครือข่าย Internet เช่น ศูนย์จังหวัด ต้องไปเปิดสอน e-Learning วึ่งจะช่วยให้กระบวนการนี้เผยแพร่ไปยังจังหวัดหรือ การมีเนื้อหาที่ผู้เรียนเข้าเรียนแล้ว สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ได้ หรือสุดท้าย อาจจะมีผลักสูตรที่ต้องบังคับเรียนเหมือนที่ผ่านมา
  4. พัฒนาสื่อให้มีประสิทธิภาพ และมีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อเป็นแรงจุงใจอีกทางหนึ่ง

ประสบการณ์ 2 ปี

  • เมื่อวันที่ 31 เดือนสิงหาคม ปี 2548 เป็นวันที่ติดตั้งระบบ e-Training ลงเครื่อง server และเผยแพร่ผ่าน Website ของ ศนอ. นับมาถึงตอนนี้ก็เป็นเวลา 2 ปีแล้ว ที่ดำเนินการเปิดใช้งานระบบ e-Training มาอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่า จะเริ่มมาใช้งานจริงจัง เมื่อเดือนเมษายน 2550หรือเมื่อ 4 เดือนที่ผ่านมา ก็ยังอดที่จะกลับไปมองย้อนหลังเมื่อสองปีที่ผ่านมาไม่ได้ เพราะคอมพิวเตอร์ได้เก็บข้อมูลย้อนหลังไวทั้งหมดว่า ที่เราเรียกว่า การเข้าไปดู Loging ว่าตลอด 2 ปีที่ผ่านมานั้น ใครเข้ามาในระบบบ้าง และมาทำอะไร 
    31-Aug-2005 10:00 [127.0.0.1] srichao : Logout
    31-Aug-2005 09:55 [127.0.0.1] srichao : Login
    31-Aug-2005 09:54 [127.0.0.1] admin : Logout
    31-Aug-2005 09:54 [127.0.0.1] admin : Add user Array
    31-Aug-2005 09:53 [127.0.0.1] admin : Login
    31-Aug-2005 09:53 [127.0.0.1] admin : Logout
    31-Aug-2005 09:43 [127.0.0.1] admin : Login
  • ข้อมูลนี้บอกว่า เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ปี 2005 sinv 2548 เวลา 09.43 น. ผู้ดูแลระบบได้ login เข้ามา และไม่ได้ Login มาจากเครื่องอื่น แต่ Login ผ่านหน้าเครื่อง server เข้ามา แล้วออกจากระบบ เมื่อผ่านไปได้ 10 นาที และเข้ามาใหม่อีกครั้ง เข้ามาเพิ่มชื่อผู้ใช้งาน
  • จากวันนั้นถึงวันนี้  มีผู้เข้ามาใช้งานและทำกิจกรรมต่างๆ จำนวน 2185x20หรือ 43700 ครั้ง (สามารถแสดงหน้า loging ได้ 2185 หน้า หน้าละ 20 รายการ) ซึ่งในจำนวน สี่หมื่นกว่ารายการนี้ ถ้านำมาศึกษา ก้พอจะรู้พฤติการรมการใช้ระบบ e-Training ของผู้เข้ามาในระบบได้พอสมควร

ได้เข้ารับการอบรม แล้วทำให้มีความรู้เพิ่มเติมในสิ่งที่ไม่รู้ และได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นค่ะ อยากให้มีการจัดลักษณะนี้บ่อยๆ

  • ไม่ได้นำเอาประสบการณ์มาถ่ายทอดเสียนาน เพราะติดภาระกิจหลายประการ ทั้งๆที่ช่วงเวลาที่ผ่านมาค่อนข้างจะมีประสบการณ์อย่างหลากหลาย
  • ตอนนี้การอบรมผ่านมาจนถึงเดือนตูลาคม ผู้เข้าอบรมส่วนมากเข้าเรียนและเรียนเนื้อหาไปครบทุกเรื่องแล้ว งานจึงเบาลงมาก แต่งานไปหนักสำหรับผู้รับผิดชอบสุดท้าย คือ การตรวจผลงานที่เป็นกิจกรรมต่อเนื่อง เพื่อประเมินผลว่า ควรจบหลักสูตรการฝึกอบรมหรือไม่ พบว่าเอกสารรายงานผลการทำกิจกรรมส่งมาเต็มโต๊ะผู้รับผิดชอบ
  • ประสบการณ์อีกทางหนึ่งที่ได้รับ คือการเข้าร่วมการประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา พร้อมทั้งแนวทางที่จะทำต่อไป ได้แนวทางว่า การดำเนินงานที่จะทำต่อไป ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างที่เราคิด คงต้องฝ่าฟันอีกค่อนข้างมาก โดยเฉพาะต่อสู้กับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับระบบงาน แต่ก็เป็นแนวทางที่ทำแต่สนุก ถึงแม้จะเหนื่อ แต่สิ่งที่ยากกว่านั้น คือต่อสู้กับผู้ที่แนวความคิดที่ไม่ตรง ที่มองว่า ไม่ควรดำเนินการในเรื่องนี้ต่อไป เพราะเป็นการทำงานที่ตอบสนองความต้องการของคนทำ มากกว่า การตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ เรื่องนี้หนักหน่อย คือหนักทั้งกายและใจ
  • แนวทางที่กำหนดไว้ในก้าวต่อไป คือ ขยายฐานการจัดการอบรมออกไปยังจังหวัดที่มีความพร้อมเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของเครื่อง Server ของศูนย์ภาค และแบ่งเบาภาระของครูที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาค แต่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า จะดำเนินการได้แค่ไหน ต้องลุ้นเหมือนกันกับนโยบายว่า จะเอาอย่างไร

 

วันนี้ได้อ่านบันทึกเกี่ยวกับผลการดำเนินงาน e-Training ที่สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนได้สรุป ซึง่เป็นผลที่เกิดขึ้นทั้ง 5 ภาค ดังนี้

เชิงปริมาณ

  • ครู/ผู้จัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนทั่วประเทศ สมัครและลงทะเบียนเข้ารับการอบรมผ่านทางอินเตอร์เน็ต จำนวน กว่า 5,000 คน และสำเร็จการศึกษาแล้วกว่า 1,600 คน
  • ครู/ผู้จัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนทั่วประเทศ ได้รับการพัฒนาในเรื่องที่เป็นนโยบายตามความจำเป็นของภาค 5 ภาค รวม 600 คน
  • แผ่นซีดีโปรแกรมพัฒนาบุคลากรในการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1,200 แผ่น
  • รายงานผลการพัฒนาบุคลากรในการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานผ่านทางอินเตอร์เน็ต จำนวน 1,200 เล่ม
  • เนื้อหา e-training หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพจำนวน 1 หลักสูตร ( 7 หัวข้อเรื่อง)

เชิงคุณภาพ

  • ครู/ผู้จัดกิจกรรมการสึกษานอกโรงเรียน ได้รับการพัฒนา และสามารถจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนขั้นพื้นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ครู/ผู้จัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนสามารถใช้อินเตอร์เน็ตในการแสวงหาความรู้และพัฒนาตนเองได้
  • ได้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรผ่านทาง e-Training เพื่อพัฒนาบุคลากรให้ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ

ข้อสรุปดังกล่าวนี้ ได้คัดลองมาจากสรุปผลที่กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียนสรุปและเสนอต่อผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน ที่สรุปให้เห็นว่า การพัฒนาการอบรมทางไกลผ่านทางอินเตอร์เน็ตของสำนักบริหารงานการสึกษานอกโรงเรียนที่ได้เริ่มต้นในปีงบประมาณ 2550 เกิดอะไรขึ้นบ้าง

สรุปผลการดำเนินงาน
(ประชุมเมื่อ 28-29 สิงหาคม 2550)
     การดำเนินงานทั้งหมดที่กล่าวมานี้ กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียนได้ดำเนินการร่วมกับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาค 5 ภาค โดยตลอด ซึ่งหากวิเคราะห์ความแตกต่างในการดำเนินงานของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาค นั้นพบว่า  หลังจากที่ได้หารือและกำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานร่วมกันแล้ว ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้มีการดำเนินงานอย่างแข็งขัน ซึ่งส่วนหนึ่งของความสำเร็จเนื่องมาจาก

  • การทำงานเป็นทีม เพราะแม้ว่าเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโดยตรงจะไม่มีความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต แต่มีความพยายามในการประสานการทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ในฝ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อบริหารจัดการให้การดำเนินงานบรรลุผลสำเร็จที่ตั้งไว้
  • การไม่ปฏิเสธเทคโนโลยีสมัยใหม่ แม้ว่าเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการพัฒนาบุคลากร จะไม่คุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตมาก่อน และเมื่อเป็นงานที่ได้รับมอบหมาย ก็พยายามเรียนรู้ และให้ความร่วมมือในการทดลองใช้ ทั้งในฐานะผู้เข้ารับการอบรม และผู้สอน โดยให้เหตุผลว่า หากผู้ที่ไม่เป็นครู ไม่พยายามเรียนรู้การการใช้เทคโนโลยีแล้ว จะสอนให้ผู้เรียนรู้จักการใช้เทคโนโลยีได้อย่างไร และถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการพัฒนาตนเองด้วยเช่นกัน
  • เจ้าหน้าที่รับผิดชอบโครงการมีความสม่ำเสมอในการเข้าร่วมประชุมทุกครั้ง และไม่ได้เปลี่ยนผู้รับผิดชอบโครงการ
  • มีความตั้งใจ และอดทนทำงาน เนื่องจากครู/ผู้จัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนส่วนใหญ่ ไม่มีพื้นความรู้ด้านเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต จึงจำเป็นต้องให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ สนับสนุน และตอบคำถามต่างๆ ตลอดทั้งทางโทรศัพท์และทางอินเตอร์เน็ต เพื่อให้บุคลากรในสังกัด ได้เข้ารับการอบรมจนครบเนื้อหาทั้ง 10 เรื่อง  รวมถึงการทำกิจกรรมทบทวนหลังเรียน เพื่อประเมินผลผู้เข้ารับการอบรมก่อนจะมีการมอบวุฒิบัตร การทำภารภารกิจดังกล่าวให้ลุล่วง จึงต้องมีความพยายาม ความอดทน และความตั้งในอย่างสูง


     จากความรับผิดชอบต่อภารกิจหน้าที่ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในความพยายามดำเนินการดังกล่าว จึงทำให้มีผู้เข้ารับการอบรมจากโปรแกรมพัฒนาบุคลาสกรในการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานผ่านทางอินเตอร์เน็ต และรับวุฒิบัตรไปแล้วจำนวนถึง 1,267 คน (นับเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2550) และจนถึงปัจจุบัน ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังได้ดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่อง

    สิ่งที่ดูเหมือนว่าจะเป็นคำถามตามมา โดยเฉพาะคำถามสำหรับผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน (ดร.สมบัติ สุวรรณพิทักษ์) คือ ระบบการอบรมทางไกล e-Training นี้ มี  Effectiveness และ Efficiency หรือ มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลอย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องตอบคำถามในประเด็นต่างๆ ที่ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม ดังนี้

  • ประเมินผลการดำเนินงาน ว่า ผู้เข้ารับการอบรมบังเกิดผล หรือได้รับผลตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรหรือไม่เพียงใด
  • การอบรมทางไกล e-Training  ได้รับผลตามที่กำหนดไว้ในโครงการหรือไม่ เพียงใด
  • เมื่อพิจารณาถึงองค์ประกอบที่เป็น Input และ Output ที่ได้รับ มองในเชิงประสิทธิภาพว่า รูปแบบการอบรมทางไกล

    สิ่งต่างๆเหล่านี้ เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการเพื่อค้นหาคำตอบต่อไป ดังนั้นภาระงานของ e-Training ต่อไปนี้ก็จะเพิ่มขึ้นอีก 3 ประการคือ

  • ประการที่ 1 ดำเนินการอบรมต่อเนื่องเหมือนที่ดำเนินการมาแล้ว ในหลักสูตรอื่นๆ ต่อไป
  • ประการที่ 2 ขยายงานไปยังจังหวัดที่มีความพร้อม
  • ประการที่ 3 ติดตามผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

    เห็นภาระกิจในวันข้างหน้า แทนที่จะเบาลง แต่ดูเหมือนว่า จะยิ่งเหนื่อยมากขึ้น

การดำเนินงานก้าวไปอีกขั้นหนึ่งแล้ว และเป็นขั้นตอนที่คิดว่าเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญว่า งานจะไปได้ตลอดรอดฝั่งหรือไม่ เพราะมีสิ่งที่เกิดขึ้น 2 ประการ คือ

  • ประการที่ 1 การขยายงาน
         ในการประชุมผู้บริหาร กศน. เมื่อวันที่ 7 พ.ย.ได้ตกลงในหลักการว่า ต่อไปนี้ ครู กศน. ทั้งหมด จะต้องเข้ารับการอบรมทางไกล epTraining ในเนื้อหาที่จำเป็น โดยผู้บริหาร ศนจ. จะยึดเป็นแนวปฏิบัติ ที่จะต้องให้บุคลากรในหน่วยงานเข้ารับการอบรม
  • ประการที่ 2 ในการกำหนดโครงสร้าง และบทบาทหน้าที่ในการปฏิบัติงาน กลุ่มงานที่จะรับผิดชอบเรื่อง e-Training คือ กลุ่มพัฒนาวิชาการ ซึ่งต่อไปจะเป็นผู้รับผิดชอบการอบรมทางไกล

จากความก้าวหน้าทั้ง 2 ประการ ดูเหมือนว่า จะเป็นการขยายงานให้กว้างขวางออกไป แต่ก็ต้องคิดให้ดีว่า เป็นการขยายงานที่เร็วเกินไปหรือไม่ หรือจะมีวิธีการอย่างไร ที่จะทำให้ผู้ที่จะมารับช่วง สามารถดำเนินการได้เหมือนที่เราได้ดำเนินการมาแล้ว

ความเปลี่ยนแปลงของ e-Training ในทางที่ดีขึ้น เราเรียกว่าการพัฒนา

  • การเปลี่ยนแปลงประการแรก เกี่ยวกับโครงสร้างการปฏิบัติงาน เดิมโครงสร้างการทำงานของงานสารสนเทศ ที่รับผิดชอบงาน e-Trainng เป็นงานที่ขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการ แต่เมื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารงานใหม่ ได้นำเอางาน ICT ไปเป็นส่วนหนึงของกลุ่มงานเทคโนโลยีทางการศึกษา ดังนั้นงานต่างๆ จึงต้องไปผ่านการพิจารณาของหัวหน้ากลุ่มงานชั้นหนึ่ง จึงจะเสนอผู้บริหาร ในแง่ดีคือ มีคนรับรู้งานนี้มากขึ้นว่าทำอะไรบ้าง และมีคนมาช้วยรับผิดชอบ ข้อเสียคือ งานผ่านขั้นตอนมากขึ้น
  • การเปลี่ยนแปลงประการต่อมา ยกงานการจัดการศึกษาทางไกลไปให้กล่มวิจัยและพัฒนาดูแล ส่วนงานสารสนเทศ ดูแลเฉพาะระบบหรือพูดง่ายๆ คือดูแลระบบคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ e-Training ข้อดีคือ งานเบาลง และให้ผู้อื่นเข้ามาเรียนรู้และรับผิดชอบงานมากขึ้น ข้อเสียคือ ทำให้ห่างจากข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาระบบ

จากการได้เข้าร่วมการประชุมที่สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน ในวันที่ 6-7 ที่ผ่านมามีข้อมูลเพิ่มเติมว่า งบประมาณที่ขอไปเพื่อนำมาพัฒนา e-Training ได้รับการพิจารณาจัดสรรมาให้ภาค ภาคละ 2 แสน ถ้าเป็นไปตามแผนที่วางไว้ จะดดำเนินการ 4 กิจกรรมคือ

  1. การพัฒนาระบบ e-Training (Software) ซึ่งกองพัฒนาเป็นเจ้าของเรื่อง
  2. การพัฒนาสื่อ e-Training ศูนย์ภาคเป็นเจ้าของเรื่อง
  3. การพัฒนาบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้าน e-Training ศูนย์ฯภาคเป็นเจ้าของเรื่อง
  4. ดำเนินการจัดการอบรมทางไกล ศูนย์ภาคเป็นเจ้าของเรื่อง

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การดำเนินงาน e-Training ได้มีการพัฒนาไปอีกขั้นหนึ่งในปีงบประมาณ 2551

ปัญหาใหม่ ที่รอการปรับแก้ไข
   แก้ปัญหาอย่างหนึ่ง ก็เกิดปัญหาอีกอย่างหนึ่ง ปัญหาที่ผ่านมาคือ อาจารย์ทั้งสองท่านที่ดูแลระบบ และดูแลการเรียนการสอน ต้องทำงานหลายด้าน โดยเฉพาะการตอบคำถามต่างๆ ร่วทั้งการตรวจสอบบันทึกการเข้าเรียนและแจ้งการจบ ผู้บริหารมาช่วยแก้ปัญหาโดยมอบให้อาจารย์อีกท่านหนึ่งมารับผิดชอบ ปรากฏว่า อาจารย์ท่านนั้น ก็มีภาระมากเช่นกัน ผลที่ตอบมาคือ ไม่มีใครตอบ webboard ดังนั้นเมื่อผู้เรียนถามมาคำถามก็จะคั่งค้างยาวมาก รวมทั้งการโทรศัพท์มาถามก็มาก

  • หลังจากได้ประชุมพูดคุยกันเกี่ยวกับงาน ICT ระหว่างผู้ปฏิบัติสองสามครั้งทำให้ได้แนวคิดหลายอย่าง และเรื่องการอบรมทางไกล ก็ดูเหมือนว่า ถูกสอดแทรก และเผยแพร่ไปยังภาคต่างๆ ทีละเล็กทีละน้อย โดยความเป็นไปได้ในแนวทางการดำเนินงานค่อนข้างจะเป็นไปได้ เพราะดูตัวอย่างจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • วันนี้ได้รับการติดต่อจากศูนยืการศึกษานอกโรงเรียนภาคกลาง  โดยอาจารย์อุษา บอกว่า จะมาขอดูงาน e-Training ในวันที่ 21-22 มกราคม 2551 ความจริงได้ประสานมาครั้งหนึ่งแล้ว ว่าจะมาในวันที่ 24-25 ซึ่งเราก็ได้ประสานเตรียมการกับทีมงานอีก 2 ท่าน คืออาจารย์แสงจันทร์ และอาจารย์อรัญญา
  • วันนี้อีกเช่นกัน ศูนย์ภาคตะวันออกโดยอาจารย์กระรอก ได้โทรศัพท์มาคุยกับอาจารย์แสงจันทร์ เกี่ยวกัยรายละเอียดต่างๆ ในการใช้งานในฐานะครูผู้สอน เช่น การประเมินการจบ การแจ้งผลการจบไปยังผู้เข้าอบรม ซึ่งแสดงว่า งานนี้ เกิดความเป็นจริง และดำเนินการจริงในภาคตะวันออก ซึ่งนับเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่งของ การอบรมทางไกลของ กศน. แต่เพิ่มจะเป็นก้าวแรกไ เท่านั้นยังเหลือระยะทางอีกไกลกว่าจะถึงเป้าหมาย และเราก็ยังดีใจ ที่สามารถดำเนินการได้อย่างจริงจังเป็นภาคแรกๆ ของ กศน.
  • ปลายเดือนนี้คงจะมีการพูดจากันอย่างจริงจังเกี่ยวกับการดำเนินงานในปี 2551 ว่าจะทำอะไรบ้าง ซึ่งดูเหมือนว่าทุกภาคพร้อมที่จะดำเนินการ
การพัฒนาระบบ LMS กำลังจะก้าวไปอีกขั้น โดยทาง NECTEC ส่ง Learnsquare ตัวใหม่มาให้ ซึ่งทดลองใช้แล้วได้ผลดี แต่ยังมี bug บางตัว และได้เผยแพร่ไปยังภาคต่างๆ ในการประชุมที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งถือว่า เป็นการพัฒนาอีกก้าวหนึ่งของการอบรมทางไกลของ กศน. ที่จะต้องบันทึกเอาไว้ ในช่วงปีที่ 2 ของการพัฒนา
  • ผ่านมาได้ประมาณ 9 เดือนแล้วสำหรับ e-Training ผู้เรียนก็ยังไม่หมด มีการเก็บตกตลอด แต่ตอนนี้กำลังจะเริ่มพัฒนาตัวใหม่ โดยเมื่อวานนี้ อาจารย์เล็กจากกองพัฒนา โทรศัพท์มานัดหมาย เพื่อประชุมเตรียมการดำเนินงานในปี 2551 โดยจะประชุมวันที่ 11 ก.พ. 2551 ซึ่งเป็นการประชุม 3 กลุ่ม คือ ผู้พัฒนาระบบ ผู้จัดการเรียนการสอน และผู้พัฒนาสื่อ ซึ่งคิดว่า ครั้งนี้ คงเป็นนิมิตรหมายที่ดีที่จะเป็นช่วงปรับปรุงการฝึกอบรมทางไกลไปสู่ก้าวที่ 2 ของการดำเนินงาน
  • เมื่อกลับมาติดตามงานเก่าวันนี้ก็ยังคงต้องรับผิดชอบประจำก็เข้ามาสร้างความวุ่นวายและสนุกสนานได้เหมือเดิมคือ ช่วยแก้ปัญหาให้ผู้เข้ารับการอบรมทางไกล ซึ่งมีโทรศัพท์เข้ามาเป็นระยะๆ แต่มีท่านหนึ่งที่เห็นใจเป็นอย่างมาก เป็นครูจากอำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ เดินทางจากศรีสะเกษ มาอุบล พร้อมทั้งเอางานมาส่ง คือ สมุดบันทึกกิจกรรมต่อเนื่อง สาเหตุที่ต้องเดินทางมาเพราะ ไม่มีบันทึกการเข้าเรียน ไม่รู้จะนำมาแนบอย่างไร เมื่อมาถึงเราจึงถาม User name เพื่อเข้าระบบ ก็บอกผิด เข้าระบบไม่ได้ ถามเลขประจำตัวประชาชน จึงหาได้ ว่าชื่ออะไร ปรากฏว่า ชื่อที่บอกมาไม่ใช่ ถามต่อว่า ลงทะเบียนเรียนเมื่อไรก็ไม่รู้ จึงต้องค้นอีก เมื่อเข้าระบบได้ จึงเห็นว่า ทางอาจารย์แสงจันทร์ ส่งข่าวแจ้งการจบ พร้อมทั้งบันทึกการเข้าเรียนไปแล้ว แต่ครูท่านนี้ไม่ทราบ และเปิดไม่เป็น ผลก็คือต้องมาอุบล เสียค่ารถ เสียเวลา 1 วัน จึงเป็นคำถามสำหรับเราว่า ปัญหาแบบนี้ จะทำอย่างไร สำหรับผู้ที่ไม่รู้จริงๆ แล้วตัดสินใจเเดินทางมาแบบนี้ ซึ่งความจริงโทรศัพท์มาถามก่อน ก็จะไม่เสียค่าใช้จ่ายอย่างนี้
  • จากบันทึกวันนี้ จึงยังเห็นว่า พื้นฐานการใช้ Internet ยังมีความจำเป็นสำหรับผู้เข้ารับการอบรม e-Training

แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคกลาง

    เมื่อวันที่ 21 อาจารย์ฐิติ และ อาจารย์อุษา จากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคกลาง มาเยี่ยมชาว e-Training ของภาคอีสาน สิ่งที่ได้รับอย่างมาก คือการแลเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนาระบบ e-Training พร้อมทั้งได้ทดลองศึกษาระบบ Learnsquare ตัวใหม่ พร้อมทั้งปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในการใช้งาน e-Training ครั้งแรกๆ  สิ่งที่ได้รับเป็นประสบการณ์มีดังนี้

  • เกี่ยวกับระบบ LMS พบว่า ระบบ Learnsquare ตัวใหม่ ยังมีปัญหาอีกหลายประการ หรือที่เราเรียกว่า bug พอสรุปได้ดังนี้
  • log ยังมีปัญหา เพราะไม่ได้บันทึกวันที่ที่แท้จริง แต่ไปบันทึกวันที่ 1 มกราคม ปี 97
  • ข่าว ยังไม่บันทึกวันที่ที่แท้จริง
  • การแก่ไขข้อมูล เมื่อแก้ไขแล้วยังไม่เปิดไปหน้าใหม่ ทำให้ผู้เรียนคิดว่ายังไม่ได้แก้ไข
  • การ Backup ถ้า Backup เนื้อหาด้วย และเนื้อหามีจำนวนมาก มักจะใช้เวลามาก และมักจะ error
  • การไม่บันทึกเวลาการเข้าเรียน ในบทเรียนที่ผู้เรียนเข้าศึกษาเป็นบทแรก
  • Message อัตโนมัติ ที่ส่งจาก Admin ไปถึงผู้เรียน ต้องมีการประปรับแก้ไข
  • การเพิ่มเติมข้อมูลที่ต้องการให้ผู้เรียนกรอก ว่าควรจะมีอะไรบ้าง โดยเฉพาะคำนำหน้าชื่อ

และอื่นๆ อีก จำไม่ได้ ทำให้ได้แนวคิดการพัฒนาระบบ e-Training หลายประการถ้าจะเริ่มต้นใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเริ่มต้นกับผู้ดำเนินการอบรมเอง เพราะบางครั้งปัญหาที่คาดไม่ถึงก็เกิดขึ้นสำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับการใช้งานคอมพิวเตอร์

พบปัญหาใหม่ ทำให้ท้อใจไปเลย

สัปดาห์นี้ คือตั้งแต่วันที่ 3 ก.พ. 2551  เป็นต้นมา ได้พบกับปัญหาที่ไม่เคยคิดว่าขจะเกิดมาก่อน แล้วกระทบกับ e-Learning 2 เรื่องคือ

  1. ปัญหาระบบไฟฟ้า เนื่องจะระบบไฟไม่คงที่ของ ศนอ. มีผลต่อเครื่องสำรองไฟ และมีผลไปถึงภาคจ่ายไฟของเครื่อง server ทำให้เมื่อวันที่ 3 เครื่อง Server มีเสียงร้อง พอดีมาทำงานในวันหยุดพบเข้าพอดี ไม่รู้ว่าจะแก้อย่างไร จึงปิดเครื่องไว้ก่อน ผล ก็คือ ระยบบ Internet ใช้ไม่ได้ รวมทั้งระบบ e-Training แก้เท่าไรก็ไม่หาย ทางแก้คือ ใช้โทรศัพท์มือถือ โทรถามพรรคพวก ปรากฏว่าได้คำตอบ จากอาจารย์อดิศักดิ์ ให้ reset ที่ปุ่มด้านหลังเครื่อง ทดลองทำ เสียงหายไป แต่เมือไฟตก ก็จะดังอีก ต้องโทรถามอาจารย์นิกร ได้คำตอบว่าให้ดูที่พัดลม เพราะที่โคราชเคยเป็น จึงถอดออกมา จริงๆด้วย พัดลมใช้งานมานาน ไม่หมุน 1 ตัว ต้องเอามาเป่าฝุ่นออก แล้วลองใส่เข้าไป แต่ก็ไม่ดี ขอซื้อพัดลมใหมใ ปรากฏว่า ร้านคอมพิวเตอร์ในเมืองอุบลไม่มีขาย
         การแก้ไขต่อมา คือเอาเครื่อง PC มาสำรองใช้งานแทน Server ไปก่อน รอจนกว่าจะได้อุปกรณ์มาใหม่
  2. ปัญหาที่ 2 ร้ายแรงกว่า เพราะเราหมดปัญญาแก้ไข คือ ผู้บุกรุกเข้าระบบ เพราะเรามีความรู้เพียงเป็น User จึงหมดปัญญาแก้ไข  เข้ามาทำอะไรก็ไม่รู้ ใน Server ทั้ง 3 เครื่อง ที่ออกอากาศ web รวมทั้งเครื่องที่ติดตั้ง IPCop ด้วย ถึงตอนนี้ก็จนปัญหา ต้องไปพบท่าน ผอ. ว่าจะทำอย่างไรดี ท่านให้ข้อเสนอแนะ ทางแก้ 3 แนวทางคือ
         1 หาผู้รู้มาช่วย
         2 จ้างบุคคลภายนอกมาดูแล
         3 เอา server ไปฝากไว้ที่บริษัทในกรุงเทพ

เจอปัญหาแบบนี้เหนื่อยใจ เพราะไม่มีความรู้ที่จะแก้ไข

ก้าวไปอีกขั้นของการพัฒนาการอบรมทางไกล

ระหว่างวันที่ 11-15 มีนาคม 2551 ถือได้ว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาการศึกษาทางไกลผ่านเครือข่าย Internet ของ กศน. เพราะระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว บุคลากรของกศน. ที่เป็นผู้แทนจากส่วนกลาง ภาค และจังหวัด ทั่วประเทศ ได้มาร่วมประชุมกันที่สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน เพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินการพัฒนาการฝึกอบรมทางไกลที่จะดำเนินการต่อเนื่องในปีงบประมาณ 2551 โดยมีสาระที่สำคัญ 3 ประการในการประชุมครั้งนี้ คือ

  • ประการที่ 1 ร่วมกันกำหนดแนวทางการพัฒนาการฝึกอบรมทางไกลว่า จะดำเนินการอย่างไร ในปีงบประมาณ 2551 โดยแต่ละภาคจะร่วมกันคิดและดำเนินการ
  • ประการที่ 2 ร่วมกันพัฒนาระบบ e-Training หรือระบบคอมพิวเตอร์ ที่จะรองรับการอบรมทางไกล ซึ่งการพัฒนานี้ไม่ได้พัฒนาใหม่ แต่นำเอาระบบ LearnSquare ที่พัฒนาโดย NECTEC เข้ามาใช้ ด้วยการปรับปรุงบางส่วนให้เหมาะสมกับการนำมาใช้สำหรับการศึกษานอกโรงเรียน
  • ประการที่ 3 ร่วมกันเรียนรู้ และพิจารณาสื่อการเรียนรู้ที่จะเปิดการอบรมใหม่คือ หลักสูตรการอบรมสำหรับครู ปวช. รวมทั้งฝึกประสบการณ์การเป็นครูสอนทางไกล

การดำเนินการประชุม ได้แยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

  • กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มผู้ดูแลระบบ ได้แก่ ผู้ที่จะต้องนำเอาระบบ Learnsquare ไปใช้โดยติดตั้งลงที่เครื่อง Server ของตนเอง แล้วเปิดการใช้งาน กลุ่มนี้ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้งาจากประสบการณ์ที่ได้ดำเนินการมาแล้ว พร้อมทั้งช่วยกันแก้ไขปัญหาการใช้งานของระบบ ร่วมทั้งปรับระบบให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มผู้ใช้งานที่เป็นครูผู้สอน ซึ่งผลการประชุมทั้ง  5 วัน ได้ร่วมแก้ปัญหาและปรับระบบไปได้มากมาย แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขได้ทั้งหมด
  • กลุ่มที่ 2 ตรวจสอบความเหมาะสมของสื่อที่จะใช้เพื่อการอบรมครู ปวช. โดยช่วยกันดู และตรวจสอบพร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะในการปรับระบบสำหรับกลุ่มผู้ดูแลระบบ และนอกจากนั้น ยังได้ร่วมกันสร้างกิจกรรมต่อเนื่องสำหรับผู้เข้ารับการอบรม

     หลักจากทั้งสองกลุ่มได้ช่วยกันดำเนินงานและปรับปรุงแก้ไขเรื่องราวต่างๆ ตลอดเวลา  4 วัน ในวันสุดท้าย จึงมาประชุมร่วมกัน เพื่่อเสนอผลงาน ต่อจากนั้น แต่ละภาคได้ร่วมกันวางแผนและแนวทางการดำเนินงานต่อเนื่อง

     จากการประชุมครั้งนี้ ทำให้เห็นว่า การจัดการศึกษาทางไกลผ่านเครือข่าย Internet ของสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนได้ก้าวไปอีกขั้นหนึ่งแล้ว โดยนำเอาประสบการณืที่ได้ดำเนินการผ่านมา 1 ปี มาดำเนินการต่อเนื่องและขยายให้กว้างขวางออกไปอีก โดยจะมีการขยายการดำเนินงานไปทุกภาค จากปีที่แล้ว ที่ดำเนินการไม่ครบทุกภาค โดยปีนี้ ยังกำหนดแนวทางที่จะขยายการดำเนินงานลงไปถึงระดับจังหวัด นอกจากนั้น การดำเนินการต่างๆ มีรูปแบบและแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

     คงจะต้องติดตามก้าวที่ 2 ของการฝึกอบรมทางไกลต่อไปอีกว่า ความก้าวหน้าาของการพัฒนางานด้านนนี้จะเป็นอย่างไร และจะดำเนินการจนกระทั้งไปถึงเรื่องe-Learning ของ กศน. ได้อย่าไร

ก้าวไปอีกขั้นของการพัฒนาการอบรมทางไกล

ระหว่างวันที่ 11-15 กุมภาพันธ์ 2551 ถือได้ว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาการศึกษาทางไกลผ่านเครือข่าย Internet ของ กศน. เพราะระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว บุคลากรของกศน. ที่เป็นผู้แทนจากส่วนกลาง ภาค และจังหวัด ทั่วประเทศ ได้มาร่วมประชุมกันที่สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน เพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินการพัฒนาการฝึกอบรมทางไกลที่จะดำเนินการต่อเนื่องในปีงบประมาณ 2551 โดยมีสาระที่สำคัญ 3 ประการในการประชุมครั้งนี้ คือ

  • ประการที่ 1 ร่วมกันกำหนดแนวทางการพัฒนาการฝึกอบรมทางไกลว่า จะดำเนินการอย่างไร ในปีงบประมาณ 2551 โดยแต่ละภาคจะร่วมกันคิดและดำเนินการ
  • ประการที่ 2 ร่วมกันพัฒนาระบบ e-Training หรือระบบคอมพิวเตอร์ ที่จะรองรับการอบรมทางไกล ซึ่งการพัฒนานี้ไม่ได้พัฒนาใหม่ แต่นำเอาระบบ LearnSquare ที่พัฒนาโดย NECTEC เข้ามาใช้ ด้วยการปรับปรุงบางส่วนให้เหมาะสมกับการนำมาใช้สำหรับการศึกษานอกโรงเรียน
  • ประการที่ 3 ร่วมกันเรียนรู้ และพิจารณาสื่อการเรียนรู้ที่จะเปิดการอบรมใหม่คือ หลักสูตรการอบรมสำหรับครู ปวช. รวมทั้งฝึกประสบการณ์การเป็นครูสอนทางไกล

การดำเนินการประชุม ได้แยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

  • กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มผู้ดูแลระบบ ได้แก่ ผู้ที่จะต้องนำเอาระบบ Learnsquare ไปใช้โดยติดตั้งลงที่เครื่อง Server ของตนเอง แล้วเปิดการใช้งาน กลุ่มนี้ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้งาจากประสบการณ์ที่ได้ดำเนินการมาแล้ว พร้อมทั้งช่วยกันแก้ไขปัญหาการใช้งานของระบบ ร่วมทั้งปรับระบบให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มผู้ใช้งานที่เป็นครูผู้สอน ซึ่งผลการประชุมทั้ง  5 วัน ได้ร่วมแก้ปัญหาและปรับระบบไปได้มากมาย แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขได้ทั้งหมด
  • กลุ่มที่ 2 ตรวจสอบความเหมาะสมของสื่อที่จะใช้เพื่อการอบรมครู ปวช. โดยช่วยกันดู และตรวจสอบพร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะในการปรับระบบสำหรับกลุ่มผู้ดูแลระบบ และนอกจากนั้น ยังได้ร่วมกันสร้างกิจกรรมต่อเนื่องสำหรับผู้เข้ารับการอบรม

     หลักจากทั้งสองกลุ่มได้ช่วยกันดำเนินงานและปรับปรุงแก้ไขเรื่องราวต่างๆ ตลอดเวลา  4 วัน ในวันสุดท้าย จึงมาประชุมร่วมกัน เพื่่อเสนอผลงาน ต่อจากนั้น แต่ละภาคได้ร่วมกันวางแผนและแนวทางการดำเนินงานต่อเนื่อง

     จากการประชุมครั้งนี้ ทำให้เห็นว่า การจัดการศึกษาทางไกลผ่านเครือข่าย Internet ของสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนได้ก้าวไปอีกขั้นหนึ่งแล้ว โดยนำเอาประสบการณืที่ได้ดำเนินการผ่านมา 1 ปี มาดำเนินการต่อเนื่องและขยายให้กว้างขวางออกไปอีก โดยจะมีการขยายการดำเนินงานไปทุกภาค จากปีที่แล้ว ที่ดำเนินการไม่ครบทุกภาค โดยปีนี้ ยังกำหนดแนวทางที่จะขยายการดำเนินงานลงไปถึงระดับจังหวัด นอกจากนั้น การดำเนินการต่างๆ มีรูปแบบและแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

     คงจะต้องติดตามก้าวที่ 2 ของการฝึกอบรมทางไกลต่อไปอีกว่า ความก้าวหน้าาของการพัฒนางานด้านนนี้จะเป็นอย่างไร และจะดำเนินการจนกระทั้งไปถึงเรื่องe-Learning ของ กศน. ได้อย่าไร

วันนี้ตรงกับวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2551 เกือบสิ้นเดือนแห่งความรัก และเป็นวันที่มีปัญหาใหม่เข้ามาให้แก้ไขเกี่ยวกับ e-Training ความจริงปัญหานี้เริ่มต้นขึ้นมาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และเป็นปัญหาที่ต่อเนื่องจากจาก server มีปัญหา

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เริ่มพบว่า รายชื่อของผู้เข้ารับการอบรม ไม่แสดงในรายการวิชาที่ลงทะเบียนเรียน จากการเข้าไปตรวจสอบของครูผู้สอน พอผ่านมาถึงวันนี้ปรากฏว่า ไม่สามารถเข้าใช้งานใน website ของ e-Training ได้ ไม่ทราบว่าเพราะสาเหตุอะไร เป็นปัญหาใหม่เข้ามาอีกแล้ว เป็นปัญหาที่แก้ไม่ตก

แต่จากวิกฤติที่เกิดขึ้น ถ้าพลิกให้เป็นโอกาส เมื่อเทียบกันแล้วเกิดผลดีหลายประการคือ

  1. ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ขึ้นมา
  2. แนวคิดที่จะไม่ใช้งานจาก server ของเราเอง เป็นไปได้มากขึ้น โดยจะเอาไปฝากที่อื่น เราเองก็จะได้สบายเสียที ไม่ต้องมานั่งเสียเวลากับการดูและ server เหมือนที่ผ่านมา มีเวลาไปพัฒนางานได้อีกมาก เรื่องเหล่านี้เอาไปให้มืออาชีพเขาทำ
  3. ถ้าไม่สามารถทำตามข้อสองได้ ก็มีโอกาสที่จะได้เรียนรู้หรือจัดหาเครื่องไม่เครื่องมือเข้ามาปรับปรุงได้อีก

ขอบคุณที่เกิดปัญหานี้ ให้เข้ามาได้เรียนรู้

หลังจากปัญหาเกิดขึ้นจึงทำให้เกิดการพัฒนา หลังจาก วันที่ 27 ก.พ. เป็นต้นมา ต้องเร่งพัฒนาระบบ e-Training ใหม่จนกระทั่งวันที่ 1 มีนาคม ก็ใช้งานได้อีกครั้งด้วยระบบใหม่ และหน้าตาใหม่ที่แปลกไปจากเดิม ทดลองใช้งานกันจนคิดว่าไม่มีปัญหาอะไร จึงเปิด Server และให้บริการ โดยเปิดให้ลงทะเบียนใหม่วันที 3 มีนาคม 2551 โดยผู้เข้ามาอบรมจะต้องสมัครสมาชิกใหม่ และลงทะเบียนเรียนใหม่ โดยเปิดให้ลงทะเบียนสัปดาห์ละ 1 รุ่น

การใช้งานขลุกขลักบ้าง ในระยะแรก มีการปรับปรุงโดยตลอด โดยเฉพาะคำแนะนำการใช้งาน จนถึงวันนี้ มีสมาชิดทั้งหมด 115 คน  และทะยอยลงทะเบียนในรุ่นวันที่ 3 วันที่ 5 วันที่ 10 วันที่ 17 และ วันที่ 24 ปรากฏว่า วันที่ 10 มีผู้ลงทะเบียน เกือบ 50 คนแล้ว

แต่ที่ยังแก้ไม่ได้คือ ผู้ที่ลงทะเบียนเรียนค้างไว้ จะทำอย่างไรดี เพราะไม่สามารถเปิดดูข้อมูลได้ ดังนั้นคำแนะนำจึงมีเพียงว่า ให้สมัคร และลงทะเบียนเรียนใม่ 

การแก้ไขปัญหาระบบที่ทำให้ได้ผลอย่างมากคือ การแก้ไขเรื่องการลืมรหัสผ่าน แทบจะหายไปเลย เพราะการเปิดครั้งหลังนี้ มีผู้โทรศัพท์มาถามเพียง 1 รายเท่านั้น และที่สำคัญคือ ได้ทราบข้อมูลชื่อผู้เข้าเรียนทุกคน เพราะทุกคนต้องกรอกชื่อ นามสกุลก่อนตั้งแต่การสมัคร จึงช่วยแก้ปัญหาได้อย่างมาก ทำให้งานเบาไปมาก

     วันนี้ มีการประชุมคณะครูผู้สอน e-Training โดยมีครูที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ครูประจำกลุ่ม 3 คน และผู้เข้าประชุมสมทบอีก 3 คน รวมกับผู้ดูแลระบบอีก 1 คน รวมเป็น 7 คน การประชุมวันนี้มีวัตถุประสงค์หลักคือ

  1. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบ e-Training ที่ได้ปรับปรุงใหม่ เพื่อให้ครูที่กำลังสอนปัจจุบัน ทราบว่า มีอะไรเปลี่ยนแปลงใหม่บ้าง และ ควรจะปฏิบัติอย่างไร หรือใช้งานอย่างไร
  2. เสนอแนะแนวทางการดำเนินงานข้างหน้า ตามแนวทางที่ผู้อำนวยการกำหนด
  • แนวทางที่กำหนดไว้ที่จะดำเนินการข้างหน้า คือ การพัฒนาระบบ e-Training เพื่อให้ครอบคลุมการพัฒนาบุคลากรในด้านต่างๆ ได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น โดยมีแนวคิดว่า ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาค (หรือปัจจุบันคือ สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและอัธยาศัยภาค) ที่มีบทบาทประการหนึ่งในการพัฒนาบุคลากร ถ้าจะนำเอาระบบการฝึกอบรมทางไกลมาใช้งาน จะทำอยางไร
        ตามแนวคิดนี้ พื้นฐานแรก คือ การดำเนินงาน จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนของการจัดกระบวนการอบรม กับส่วนของการบริหารจัดการระบบ ซึ่งถ้าพิจารณาแล้วจะพบว่า
  • ส่วนการจัดการระบบ ปัจจุบันดำเนินการโดยงานสารสนเทศ โดยนำเอาระบบ e-Training ที่ใช้ระบบ Learnsquare เข้ามาดำเนินการ แล้วเปิดการอบรมทางไกลผ่านเครือข่าย Internet
  • ส่วนการจัดกระบวนการอบรม เป็นการดำเนินการโดยงานสารสนเทศ ร่วมกับกลุ่มงานวิจัย โดยนำเนื้อหามาจาก กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน มาใช้

     การดำเนินการต่อไป จะเป็นการทำงานให้เป็นระบบมากยึ่งขึ้น โดยให้กลุ่มงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากร หรือต้องการพัฒนาบุคลากร พิจรณาว่า เรื่องใดบ้าง ที่ต้องการพัฒนาบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ทและเรื่องนั้นๆ สามารถใช้กระบวนการอบรมทางไกลได้หรือไม่ ถ้าสามารถใช้กระบวนการอบรมทางไกลได้ ก็ดำเนินการโดยพัฒนาหลักสูตร และสื่อพร้องทั้งกระบวนการเรียนรู้ แล้วใช้ระบบ e-Training เป็นระบบในการอบรม   

     การพัฒนาการอบรมทางไกล กำลังจะก้าวไปอีกก้าวหนึ่งที่เริ่มขยายงานกว้างขึ้น ซึ่งแน่นอนว่า จะต้องเกี่ยวข้องกับคนมากขึ้น เกี่ยวข้องกับระบบที่ซับซ้อนขึ้น และมีปัญหาที่ต้องแก้ไขมากขึ้น ระบบ จึงมีความสำคัญอย่างมาก ที่ต้องนำมาใช้ เพื่อที่จะขับเคลื่อนองค์กรที่ใหญ่ขึ้น   

การประชุมพัฒนาสื่อ e-Training

ระหว่างวันที่ 24-28 มีนาคม 2551

ณ ห้องอบรมคอมพิวเตอร์ 2 ชั้น 4 อาคารรัชมังคลาภิเษก 1

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

----------------------------------------

รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม

1 นายชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาหลักสูตร

(ประธาน เปิดการประชุม)

2 นายศรีเชาวน์ วิหคโต ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

3 นางอรัญญา บัวงาม ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

4 นายสุวัฒน์ ธรรมสุนทร ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคเหนือ

5 นายทวี เที้ยะธิทรัพย์ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคเหนือ

6 นางสาวนัชรี อุ่มบางตลาด ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคเหนือ

7 นางอุษา เทียนทอง ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคกลาง

8 นางสาวคนึงนิจ แซ่อั้ง ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออก

9 นายจิตรกร จินตะการ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออก

10 นางกุลธิดา รัตนโกศล ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออก

11 นางสาวบุษยา ปิยารมย์ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออก

12 นายไพโรจน์ คเชนทองสุวรรณ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคใต้

13 นางสายชล จักรเจริญ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคใต้

14 นางสาว ชาลีนี ธรรมธิษา กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน

15 นางสาวจุรีรัตน์ หวังสิริวัฒน์ กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน

16 นาวสาวเยาวรัตน์ คำตรง กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน

17 นางนัทธีรัตน์ พีระพันธ์ กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน

18 นางพรทิพย์ กล้ารบ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน

วิทยากร

1 นายศรีเชาวน์ วิหคโต ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

2 นายพรชัย ธรรมรัตนนนท์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

3 ผู้แทนบริษัท PIESOFT

เนื้อหาการประชุมปฏิบัติการ

1 ปฏิบัติการวิเคราะห์และจัดทำเนื้อหา

1.1 Concept ขั้นตอนการจัดทำสื่อ

1.2 วิเคราะห์โครงสร้างเนื้อหา

1.3 การสร้าง Flowchart และ Story board (แบบง่ายๆ)

1.4 การแบ่งต้นฉบับเนื้อหาตาม Story board

1.5 การแยกภาพออกจากเนื้อหา (กรณีต้นฉบับเป็น MS Word)

1.6 การสร้างต้นฉบับด้วยโปรแกรม Dreamweaver

2 ปฏิบัติการจัดทำ Graphic และ Animation

2.1 การตัดแต่งภาพอย่างง่าย ด้วยโปรแกรม Photoshop

2.2 หลักการเบื้องต้นในการสร้าง Animation ด้วยโปรแกรม Flash

3 ปฏิบัติการนำเนื้อหาเข้าสู่ระบบ CMS ของ Learnsquare

3.1 การสร้างเนื้อหาใน Spaw Editor

3.2 การสร้างแบบทดสอบ

3.3 การนำเอาเนื้อหาที่สร้างไว้แล้วเข้าสู่ระบบ CMS ของ Learnsquare

3.4 การทำสื่อให้อยู่ในมาตรฐาน SCORM และการ Import SCORM เข้าสู่ระบบ Learnsquare

4 เทคคนิคการใช้ระบบ Learnsquare

4.1การจัดการระบบ Learnsquare โดย Admin

4.2 การแก้ปัญหา ข้อบกพร่อง ของ Learnsquare v.2

การแก้ปัญหา Module logging

การแก้ปัญหา Module News

การเพิ่มการใช้งาน Modulr RSS FEED

การแก้ปัญหาการ Upgrade

สรุปผลการประชุมปฏิบัติการ

1 ด้านความรู้ความเข้าใจ

ผู้เข้าร่วมประชุม มีพื้นฐานความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ และการใช้งานระบบ e-Training แตกต่างกัน ดังนั้น การประชุมปฏิบัติการในครั้งนี้ จึงเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ที่มี พื้นฐานความรู้ และผู้ที่ยังไม่มีพื้นฐานความรู้ดังนี้

1.1 ผู้เข้าร่วมประชุม เป็นผู้แทนจาก 6 หน่วยงาน คือ สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาค (ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาค) ทั้ง 5 ภาค และ กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน ซึ่งแต่ละหน่วยงานได้จัดเตรียมต้นฉบับเนื้อหา เพื่อนำมาจัดทำเป็นสื่อในระบบ e-Training อย่างน้อย หน่วยงานละ 1 เรื่อง ซึ่งแต่ละหน่วยงานได้จัดเตรียมเนื้อหามาในรูปแบบ Document file

1.2 ฝึกปฏิบัติการเตรียมต้นฉบับเนื้อหา โดยวางแผนทำ Flowchart จัดทำ Story Board ผู้เข้าประชุมแต่ละภาคมีความเข้าใจในการจัดเตรียมและวางแผนการออกแบบเนื้อหา แต่ไม่ได้ดำเนินการอย่างสมบูรณ์ และครบถ้วน เพียงแต่ทำเป็นตัวอย่างเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากมีเวลาจำกัด

1.3 ฝึกปฏิบัติการจัดเตรียมเนื้อหา ในรูปแบบเอกสาร HTML ส่วนมากผู้เข้าร่วมประชุม จะเลือกใช้โปรแกรม Dreamweaver ในการจัดทำต้นฉบับเนื้อหาในรูปแบบ HTML โดยผู้ที่ไม่เคยทำมาก่อน ก็ได้ทดลองใช้โปรแกรม Dreamweaver โดยผู้ที่สามารถใช้โปรแกรมนี้ได้ คอยให้คำแนะนำช่วยเหลือ

ผลจากการปฏิบัติทำต้นฉบับเนื้อหาในรูปแบบ HTML ไม่มีภาคใดเลยที่ทำเนื้อหาได้เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ เพราะมีเวลาในการทำเพียง 2 วัน แต่ส่วนมากก็ได้ฝึกปฏบัติ และสามารถทำได้ตามความสามารถและความรู้พื้นฐานที่มี

1.4 ฝึกปฏิบัติการสร้าง Graphic และ Animation ผู้เข้าอบรมส่วนมาก จะใช้งานโปรแกรม PhotoShop ได้แล้ว การฝึกปฏิบัติ จึงเป็นการฝึกสำหรับผู้ที่ยังทำไม่เป็น ซึ่งเป็นการเรียนรู้การแต่ภาพแบบง่ายๆ ระหว่างการฝึกปฏิบัติ สามารถทำตามวิทยากรได้ แต่หลังจากการประชุม จะต้องไปฝึกปฏิบัติอีกครั้ง

การสร้าง Animation ด้วยโปรแกรม Flash ส่วนมากปฏิบัติตามได้ แต่สำหรับผู้ที่ไม่เคยใช้โปรแกรม Flash จะทำตามไม่ค่อยได้

โดยสรุป ผู้เข้าประชุม จะมี 2 กลุ่ม คือ ผู้ที่มีพื้นความรู้และใช้งานโปรแกรมทั้งสองอยู่แล้ว จะสามารถนำมาใช้งานได้ และมีการใช้โปรแกรมดังกล่าว มาตกแต่งเนื้อหาวิชาที่ได้สร้าง แต่สำหรับผู้ทีไม่มีประสบการณ์มาก่อน จะไม่สามารถทำได้ แต่ก็ได้เรียนรู้และทราบพื้นฐานง่ายๆ ในการแต่งภาพ

1.5 การสร้างเนื้อหาในระบบ CMS ของ Learnsquare ดำเนินการสร้าง 3 รูปแบบ คือ

รูปแบบที่ 1 การสร้างเนื้อหาโดยใช้โปรแกรม Spaw Editor ซึ่งเป็นโปรแกรมในการสร้างเนื้อหาของระบบ CMS ที่ใช้ในระบบ Learnsquare ผู้เข้าอบรมฝึกปฏิบัติการสร้างเนื้อหาโดยใช้ Spaw Editor ซึ่งเหมาะสำหรับผู้สร้างเนื้อหาที่ไม่สามารถใช้โปรแกรม Dreramweaver หรือโปรแกรมสร้างเอกสาร HTML อื่นๆ แต่ความสามารถในการใช้งานจะน้อยกว่าโปรแกรม ประเภท WYSIWYG ที่นิยมใช้โดยทั่วๆ ไป เช่น Dreamweaver ดังนั้น จึงไม่เป็นที่นิยมใช้นักสำหรับผู้มีทักษะในการสร้างสื่อด้วยภาษา HTML

รูปแบบที่ 2 การสร้างสื่อด้วยโปรแกรม Dreamweaver แล้วนำเข้ามาใช้ในระบบ CMS ของ Learnsquare ผู้เข้าประชุม ฝึกปฏิบัติการวางโครงสร้างเนื้อหาวิชา แล้ว Upload เนื้อหาที่สร้างด้วย Dreamweaver เข้าสู่ระบบ CMS ของ Learnsquare ซึ่งวิธีการดังกล่าวทำได้ง่าย ถ้าได้สร้างต้นฉบับเสร็จแล้ว แต่จะเสียเวลาถ้ามี file ที่ต้อง Upload จำนวนมาก เช่น File ภาพ เพราะสามารถ Upload ได้เพียงครั้งละ 10 file เท่านั้น

รูปแบบที่ 3 การปรับสื่อที่สร้างเสร็จแล้ว ให้อยู่ในมาตรฐาน SCORM แล้ว Import เข้าสู่ระบบ CMS ของ Learnsquare เป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย แต่ต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการสร้างสื่อ เพราะต้องสร้างต้นฉบับสื่อจนเสร็ แล้วจึงใช้โปรแกรม Reload editor ในการนำเอาเนื้อหาที่สร้างแล้วมาทำให้อยู่ในมาตรฐาน SCORM

โดยสรุปผู้เข้าร่วมประชุมที่มีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ค่อนข้างดี จะใช้วิธีการที่ 3 คือ สร้างสื่อต้นฉบับด้วยโปรแกรม Dreamweaver แล้วจึงนำมาทำให้เป็นมาตรฐาน SCORM แล้ว Import เข้าสู่ระบบ CMS ของ Learnsquare

2 ด้านเทคนิคการใช้งาน Learnsquare

นายพรชัย ธรรมรัตนนนท์ ผู้แทนจาก ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เป็นวิทยากรแนะนำเทคนิคการใช้งานระบบ Learnsquare ดังนี้

1 การจัดการระบบ ในเรื่องต่างๆ ดังนี้

1.1 การปรับแต่งหน้า Homepage ด้วย blog

1.2 การนำเสนอข่าวด้วย News

1.3 การปรัปบแก้รูปแบบ website ด้วย Site Setting

1.4 การกำหนดข้อมูลผู้ใช้งานด้วย User Configuration

1.5 กำหนดกลุ่มหลักสูตรด้วย School

1.6 สร้างรายวิชาด้วย Course

1.7 Import และ Export เนื้อหาวิชา ด้วย SCORM

1.8 กำหนดสิทธิในการใช้งานด้วย Permissions

1.9 การกำหนด Application ย่อยในการใช้งานด้วย Module

1.10 การรายงานการจัดการอบรมด้วย report

1.11 การนำเสนอข่าวจาก website ต่างๆ ด้วย RSS FEED

1.12 การ Backup ข้อมูล และ Upgrad ระบบ Learnsquare

2 การแก้ปัญหาการใช้ระบบ Learnsquare

2.1 การแก้ปัญหา Module Logging

2.2 การแก้ปัญหา Module News

2.3 การแก้ปัญหา การ Upgrade

2.4 การแก้ปัญหา Module RSS FEED

แผนการดำเนินงานต่อเนื่อง

1 กิจกรรมการพัฒนาระบบ e-Training

แต่ละภาคไปปรับแก้ข้อบกพร่องของระบบตามที่ได้รับการอบรม

2 กิจกรรมจัดการอบรมทางไกล

1.1 ติดตั้งบทเรียน การพัฒนาบุคลากรในการใช้หลักสูตร ปวช. ลงในระบบ e-Training และทดลองใช้งาน

1.2 ประชุมคณะทำงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมเปิดการอบรมทางไกล

1.3 เปิดการอบรมทางไกล หลักสูตร การพัฒนาบุคลากรในการใช้หลักสูตร ปวช. ตามรูปแบบที่เหมาะสมของแต่ละภาค

1.4 ติดตามผลการอบรม

1.5 รายงานผลการอบรม

1.6 ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน และวางแผนการดำเนินงานต่อเนื่อง (สิงหาคม 2551)

3 กิจกรรมการพัฒนาสื่อ e-Training

3.1 ประชุมปฏิบัติการจัดทำสื่อและกิจกรรม (ต่อเนื่อง)

3.2 ทดลองใช้

3.3 จัดทำต้นฉบับ SCORM เพื่อแลกเปลี่ยนบทเรียนระหว่างภาค

3.4 ติดตั้งบทเรียนเข้าสู่ระบบ Learnsquare

3.5 เตรียมการเปิดการอบรมทางไกล (เพิ่มเติมอีก 5 เรื่อง)

3.5 เปิดการอบรม

3.6 ติดตามผลการอบรม

ข้อตกลงร่วมกันในการประชุม

1 การกำหนดกลุ่มรายชื่อวิชา และรหัสประจำวิชา

การกำหนดกลุ่มวิชา แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

กลุ่มวิชาพื้นฐาน BC_ _ _ _

กลุ่มวิชาเสริมทักษะ SC_ _ _ _

กลุ่มวิชาทั่วไป GC_ _ _ _

กลุ่มวิชาเฉพาะภาคเช่น

กลุ่มวิชา ICT

กลุ่มวิชาการบริหาร

กลุ่มวิชาเปิด

(กลุ่มวิชาที่เข้าเรียนโดยไม่ต้องลงทะเบียน) เหมือนกับวิชาใน 2 กลุ่มแรก แต่เข้าเรียนโดยไม่ต้องลงทะเบียน)

รายละเอียดรหัสวิชา

• ตำแหน่ง 1-2 ตัวย่อรหัสวิชา

• ตำแหน่ง 3 รหัสตัวเลขแต่ละภาค ดังนี้

ภาคเหนือ=1

ภาคกลาง=2

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ =3

ภาคตะวันออก=4

ภาคใต้=5

• ตำแหน่ง 4-6 ลำดับที่ของรายวิชาในแต่ละกลุ่ม

2 การกำหนด LOGO และ คำคัญของ e-Training ได้ระดมความคิดเห็นจากที่ประชุม ซึ่งกลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียนจะดำเนินการต่อไป

การดำเนินการe-training มีการพัฒนาในเชิงลึกมากขึ้น พร้อมทั้งขยายการดำเนินงานมากขึ้น ปัญหาที่ตามมาคือ ปัญหาด้านการบริหารจัดการ ซึ่งกลายมาเป็นปัญหาหนักกว่าปัญหาในเชิงวิชาการ

เมื่อวานได้มีการหารือกับผู้เกี่ยวข้องบางท่านเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงาน e-Training ซึ่งตอนนี้ มีการพัฒนาไปดังนี้ การพัฒนากระบวนการจัดการ มีบุคลากรเข้ามาร่วมดำเนินการในฐานะผู้สอนเพิ่มเติมอีก รวมแล้วตอนี้ มีครูผู้สอนจำนวน 5 คน คือ อาจารย์อรัญญา อาจารย์คมขำ อาจารย์แสงจันทร์ อาจารย์นาลีวรรณ และตัวเราเอง การดำเนินการเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น เพราะแต่ละคนรับผิดชอบผู้เรียนไม่มากเท่าไรทำให้มีโอกาศติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนได้มากขึ้น แต่สิ่งที่ต้องคิดต่อไป คือ การติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนนั้น ทำอย่างไรจึงจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

นอกจากนั้น แนวนโยบายของผู้บริหาร ก็เริ่มก้าวไปที่การเปิดการเรียนการสอนแบบ e-Learning โดยเน้นที่การจัดการศึกษาทางไกล ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องหนักใจพอสมควร เพราะเรื่อง e-Training ก็ยังหนักหนาสาหัสอยู่พอสมควรกำลังจะเปิดศึกอีกด้านแล้ว

การพัฒนาระบบ ดำเนินการไปได้ดีมากขึ้น ใน 2 เรื่องคือ

เรื่องที่ 1 ปรับแก้ระบบให้ใช้งานได้ดีขึ้น โดยแก้ bug ต่างๆ หายไปมาก เหลืออีกไม่มากเท่าไร โดยเฉพาะระบบที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน คือ การลืมรหัสผ่าน แก้ปัญหาได้เกือบจะสิ้นเชิง

เรื่องที่ 2 การใช้งานระบบต่างๆ มีความพยายามที่จะนำมาใช้มากขึ้น เช่น การติดต่อสื่อสารผ่านทาง Message การแจ้งข่าวผ่านทาง webboard เป็นต้น การแก้ไขระบบต่างๆ นี้ ได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบมากขึ้น โดยภาคต่างๆ ได้มีการประชุมร่วมกันในการแก้ไข และดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งทาง NECTEC ก็ให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดี

การพัฒนาเครือข่ายไปยังภาคต่างๆ ได้ขยายการดำเนินงานเรื่อง e-Training ไปยังภาคต่างๆ ชัดเจน และเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยมีการประสานงานทำงานร่วมกน และเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการ

ได้แก้ไขปัญหาของระบบ Learnsquare อีก 1 จุด คือ Module forums ของกระดานข่าว ข้อผิดพลาดคือ ภาพของผู้ Post ข้อมูลขันกระดานข่าวเป็นกากบาท สาเหตุเนื่องจาก การเขียน Path ไปยังที่เก็บภาพผิด ที่ file index.php ของ module forums

คำสั่งเดิม

$avatar = 'images/avatar/' . $userinfo[_AVATAR];

แก้ไขเป็น

$avatar = 'images/avatar/userimage/' . $uid;

แก้ไขแค่นี้ ก็สามารถนำเอาภาพของผู้ Post มาแสดงได้

วันนี้ดูเหมือนว่า เป็นอีกวันหนึ่งที่มีปัญหากับระบบ e-Training ทั้งวัน แต่ก็เป็นวันที่ริเริ่มเรื่องใหม่ไปอีก 1 ขั้น

ปัญหาเรื่องเก่า คือเรื่องระบบ e-Training เนื่องจาก สัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่ผู้อบรมกำลังอบรม ครู กำลังทำกิจรรมติดต่อกับผู้เรียน อยู่ดีๆ หลักสูตรที่กำลังเรียนหายไปจากระบบ ครูสอนก็โทรถามกันว่า Course ที่กำลังสอนหายไปไหน เข้าไม่ได้ ผู้เข้าอบรมก็โทรมาว่า เข้าไม่ได้ เราจึงต้องตรวจสอบ หายจริงๆ หาวิธีการเอาคืน และค่อยๆ กู้คืนมาได้ แต่ก็มีปัญหาอื่นๆ ตามมา จนถึงวันนี้ ซึ่งปัญหานี้ บันทึกไว้ละเอียด และจะนำมาเสนออีกครั้ง

เรื่องที่ทำใหม่ คือ เปิดอบรมหลักสูตรที่ 2 อย่งเป็นทางการ แต่เป็นการแซงเปิด เพราะหลัดสูตรที่คาดว่าจะเปิดเป็นลำดับที่ 2 ยังไม่เรียบร้อย จึงต้องเปิดหลักสูตรที่ 3ขึ้นมาก่อน คือหลักสูตรการสร้างสื่อหนังสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) ซึ่งเป็นการเปิดการอบรมรูปแบบใหม่ คือ เป็นการอบรมทั้งแบบ e-Training และแบบชั้นเรียน โดยให้ผู้เข้ารับการอบร เรียนทางไกลทาง Internet ก่อน แล้วจึงเข้าอบรมแบบชั้นเรียน

ตอนนี้มีเนื้อหาพร้อมที่จะเปิดการอบรมอีก 1 หลักสูตร คือ หลักสูตร ปวช.

วันนี้ 1 พ.ค. 2551 วันแรกของการเปิดอบรมหลักสูตร e-Book โดยกลุ่มที่เรียนมีทั้งหมด 83 คน เริ่มเรียนวันแรก ก็มีปัญหาระบบเข้ามาเกี่ยวข้องทันที เพราะระบบฐานข้อมูลมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนไม่สามารถบันทึกรายละเอียดการเข้าเรียนได้ ต้องหาวิธีแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน และได้โทรไปปรึกษากับคุณพรชัย ที่ NECTEC ได้รับคำตอบที่เป็นประโยชน์มาก ที่ต้องนำมามาทดลองปฏิบัติ ซึ่งคิดว่า คงจะเป็นวันพรุ่งนี้จึงจะทดลอง

ระบบการอบรมใหม่ คือ ผู้เรียนจะต้องทำใบงานส่งมาให้ครูผู้สอนตรวจผ่านทาง Message หรือทางกระดานข่าว ซึ่งจะต้องทดสอบระบบอีกเช่นเดิมว่า จะรองรับได้แค่ไหน เป็นการเรียนรู้ใหม่อีก ที่ต้องศึกษา

เรื่องระบบมีปัญหาที่ต้องเรียนรู้อีกมาก เรื่องการบริหารงาน ยิ่งน่าปวดหัวกว่ามาก เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับบุคคล เช่นตัวอย่างววันนี้ สิ่งที่ได้รับฟังการ Feedback กลับมา คือ คณะทำงานมีการนำเสนอภาระการทำงานที่หนักมาก ต้องทุ่มเท และใช้เวลากับผู้เข้าอบรมเป็นพันคน ทำงานไม่มีวันหยุด แต่สิ่งที่คนอื่นคิดคือ ทำไมไม่แบ่งงานให้คนอื่นทำ คนในศูนย์ที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ก็มีมากมาย ทำไมไม่ตั้งกรรมการมาทำงาน กอดงานไว้ทำไม

ได้ยินก็สะท้อนถึงอะไรบางอย่างที่มันตรงข้ามกับการประชุมเมื่อครั้งที่แล้ว ที่เสนอว่า ทุกคนควรจะมาช่วยเป็นครูผู้สอน เพื่อจะได้ช่วยกัน ก็มีเสียงค้ดค้านว่า ไม่ควรทำอย่างนั้น เพราะบางคนก็มีงานมาก สรุปก็เข้าทำนอง ทำเองก็ว่ากอดงานเอาไว้ ไม่แบ่งให้คนอื่นทำ พอให้มาช่วยทำ ก็บอกว่างานตัวเองเยอะแล้ว จะต้องไปช่วยคนอื่นอีก นี่แหละปัญหาที่น่าปวดหัวมากกว่าการแก้ปัญหาระบบ

เมื่อวันที่ 7 พ.ค.2551 ได้มีการหารือกันระหว่างผู้ดูแลระบบ ครูผู้สอน และผู้รับผิดชอบโครงการ e-Training ในการเตรียมการเปิดอบรมหลักสูตร "โปรแกรมการพัฒนาบุคลากรในการใช้หลักสูตร ปวช." ในการพูดคุยครั้งนี้จะเห็นว่า การดำเนินการเรื่อง e-Training มีการพัฒนาขึ้นมาก ดังนี้

1 การทำงานร่วมกัน เริ่มมีคณะทำงาน ที่ทำหน้าที่ต่างๆกัน มาทำงานร่วมกัน และมาจากกลุ่มงานต่างๆ ทำให้เห็นว่า การทำงานถ้าทำร่วมกันได้ งานก็จะเบาขึ้น แต่สิ่งที่จะตามมีก็มีแน่นอน

2 การดำเนินงาน มีการพัฒนาจากเริ่มต้นที่ลองถูกลองผิด มาเป็นมีระบบ มากขึ้น โดยเฉพาะระบบการติดต่อสื่อสารกับผู้เข้าอบรม ระบบการบันทึกข้อมูลของครูผู้สอน ที่ต้องบันทึกทะเบียนประวัติและข้อมูลต่างๆ ของตนเองด้วย

จากข้อค้นพบเหล่านี้ สามารถที่จะนำมาเขียนเป็นคู่มือการดำเนินงานเพิ่มเติมได้ว่า จะต้องดำเนินการในเรื่องต่างๆ อย่างไรบ้าง

3 ระบบ e-Training มีการแก้ไขปัญหาต่างๆ ไปทีละขั้น จนมีความเหมาะสมและข้อผิดพลาดน้อยลงง และสามารถที่จะเขียนเป็นคู่มือสำหรับผู้ปฏิบัติงานได้บ้างแล้ว

วันที่มีการประชุม จึงได้เปิดให้ลงทะเบียนอีก จำนวน 6 รุ่น โดยมีครูประจำกลุ่ม 6 คน และได้กำหนดแนวทางร่วมกันว่า จะต้องทำอะไรบ้าง เช่น

การกำหนดแนวทางในการสื่อสารกับผู้เข้าอบรมให้เป็นแนวทางเดียวกัน เช่น การตอบคำถามเกี่ยวกับปลการเรียน การแจ้งผลการเรียน การใช้ webboard การใช้ Private Message และการลบจดหมายเก่า เป็นต้น

นอกจากนั้นแล้ว ได้วางแนวทางการปิด หลักสูตรเก่า ว่าจะดำเนินการอบ่างไร

การประชุมครั้งนี้ ถือว่า เป็นการบอกความก้าวหน้าของการดำเนินงาน e-Training ในปีที่ 2 ได้เป็นอย่างดีว่า คืบหน้าไปมาก

ระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในระบบ e-Training จะต้องอาศัยการสื่อสารทางไกล เป็นเครื่องมือหลัก ดังนั้นตอนนี้เหมือนกับกำลังหาวิธีการที่เหมาะสม (ขอใช้คำว่าเหมาะสม ไม่ใช่วิธีการที่ดีที่สุด) มาใช้ในการสื่อสาร คำว่าเหมาะสมหมายถึง

  1.  สะดวก สำหรับผู้สื่อสาร คือ ทั้งผู้เข้าอบรม และผู้สอน ใช้วฺธีการที่สะดวก จึงมีคำถามว่า วิธีการใดน่าจะสะดวก เช่น e-Mail Webboard Chat โทรศัพท์ ฯลฯ กำลังหาคำตอบ ในตอนนี้ เพราะเท่าที่ดู วิธีการสื่อสารผ่านมือถือ จะสะดวก รวดเร็วที่สุด โต้ตอบได้ทันที อาจจะเป็นวิธีที่ดี แต่ไม่แน่ใจว่าเหมาะสมหรือไม่ ผ่านทาง e-Mail เป็นวิธีการที่ใช้มากที่สุด ทั้ง Private Mail และ Public Mail แต่การสื่อสารอาจจะไม่ฉับไว
  2. รวดเร็ว ถ้าสามารถโต้ตอบกันได้แบบอยู่ในห้องเรียน ค่อนข้างจะดีที่สุด ซึ่ง การใช้ โทรศัพท์ จะดีกว่าวิธีอื่น รองลงมาคือ การ Chat แต่สำหรับบางท่านอาจจะไม่สะดวก และยังไม่เคยใช้
  3. ตอบสนองต่อการเรียนรู้ เหมือนกับการเรียนรู้ในชั้นเรียน
  4. ประหยัด คงไม่ต้องอธิบายความหมาย

กระบวนการอบรมเปลี่ยนไปจากเดิม โดยทดลองทำให้กระบวนการอบรม มีการสื่อสารระหว่าง ครู และ ผู้เรียนมากขึ้น ไม่ใช่เรียนจนจบ ไม่มีการสื่อสารกับผู้เรียนเลย ผู้เรียนไม่เคยคุยกับครูเลย สงสัยอะไร ก็ไม่รู้จะถามอย่างไร ดังนั้น กิจกรรมการฝึกปฏิบัติ จึงถูกบรรจุเข้าไปในบทเรียนมากขึ้น และผู้เรียนจะต้องสื่อสารกับครู ผ่านทาง Internet

   กำลังหาคำตอบอยู่ว่า จะทำอย่างไร และทำแล้วได้ผลแค่ไหน

เกิดปัญหาในการเข้าใช้งาน ความจริงเกิดมาหลายวันแล้ว แต่รอไว้แก้ปัญหาหลังจากปิดการอบรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ปัญหาคือ ระบบไม่สามารถบันทึกรายละเอียดการเข้าเรียนของผู้เรียนบางคนได้ ตอนแรกก็เข้าใจว่า ข้อมูลน่าจะมากเกินไป จึงรอเอาไว้ลบข้อมูลหลังจากปิดการอบรมหลักสูตรการศึกษษขั้นพื้นฐาน แต่เมื่อปิดหลักสูตรไปเมื่อวันที่ 11 พ.ค. จะเข้าไปลบ ปรากฏว่า ไม่รู้จะลบอย่างไร เพราะมีผู้เข้าเรียนหลักสูตร e-Book ต่อมาอีก และขณะเดียวกับ ก็พบว่า ใน courที่เปิดใหม่ ยังสามารถบันทึกได้

ต้องถามที่ปรึกษา คือถามไปทาง nectec ซึ่งทีมงานทาง NECTEC ให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดี และเต็มใจอย่างมาก ซึ่งต้องขอขอบคุณไว้ ณที่นี้ น้องทั้ง 2 คน ช่วยกันวิเคราะห์ว่า สาเหตุเป็นเพราะอะไร ใช้วิธีการต่างๆนานา วิธีการช่วยเหลือ ใช้วิธี Chat ผ่านทาง MSN ค่อยๆวิเคราะห์สาเหตุต่างๆ มากมาย ร่วมทั้งการส่งข้อมูลต่างๆ กลับไปให้ สุดท้ายก็ยังหาสาเหตุไมได้ว่าเป็นเพราะอะไร

สิ่งที่พบคือ ในตาราง ln_coursetracking ค่าของ ln_eid กลายเป็น 0 ทำให้ไม่มีการบันทึกข้อมูลของผู้เข้าเรียนคนนั้นๆ แต่จากคำตอบที่น่าสนใจประการหนึ่ง ที่น้องจาก NECTEC ตอบมาคือ มี bot เข้ามารบกวน

เมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2551 ได้เปิดเข้าไปดูรายชื่อผู้ลงทะเบียนเรียนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีผู้เข้าเรียนจำนวนทั้งสิ้น 190 คน เศษ เห็นแล้วกะงวลใจ เพราะไม่คิดว่า จะมีคนเรียนมากขนาดนี้ ที่คนมาลงในกลุ่มเดียวกันมาก เพราะเปิดไว้เพียงกลุ่มเดียว จึงต้องเปิดอีกกลุ่มหนึ่งทันที

สิ่งที่ได้พบใหม่โดยบังเอิญคือ จากปัญหาที่มีผู้ลงทะเบียนมาก จึงทดลองเปลี่ยนชื่อครูผู้สอน โดยดำเนินการดังนี้

1.log in เข้าไปในชื่อครูผู้สอน คือ ครูอรัญญา

2.เปิดดูรายชื่อผู้เรียน มีจำนวนทั้งสิ่น 190 คน และในรายการของแต่ละคน จะมีรายชื่อครูผู้สอน ว่าผู้เรียนคนนั้น เรียนกับใคร ซึ่งจะปรากฏชื่อ ครูอรัญญาทั้งหมด

3. ลองเปลี่ยนชื่อ จากครูอรัญญา เป็นชื่อครูคนอื่น คือครู srichao แล้วคลิกที่ปุ่ม Subbmit Change

4. ลอง log in เข้าในชื่อครู srichao ปรากฏว่า มีรายการตารางสอนเพิ่มขึ้นมา และเมื่อคลิกเข้าไป ก็จะพบชื่อนักเรียนที่ได้โอนมา

ผลที่ได้ทดลองนี้ เลยคิดถึงแนวทางว่า การลงทะเบียนแต่ละกลุ่ม ถึงแม้จะมาก แต่ก็สามารถแบ่งกันช่วยสอนได้ และคิดต่อไปว่า ถ้าเปิดสอนโดยไม่ต้องลงทะเบียนล่วงหน้า จะเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งจะต้องทดลองต่อไป

เห็นการขยายงานในวันนี้ ก็ต้องบอกว่า มีความก้าวหน้าไปมาก โดยดูจากตัวบ่งชี้ ดังนี้

1 ครูผู้สอน หรือที่เราเรียกกันว่า ครูประจำกลุ่ม มีทั้งหมด 6 คน มีทักษะในการใช้ Internet และ การสอนทางไกลมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องการสื่อสารกับผู้เรียนผ่านทาง Internet สามารถดำเนินการได้เป็นอย่างดี

2 ผู้เข้ารับการอบรม สามารถใช้ระบบการสื่อสารได้ดีขึ้น ทั้งผ่าน Webboard กลาง และ webboard ของแต่ละห้องเรียน การสื่อสารผ่านทาง Private Mail หรือที่เราเรียกว่า ส่งข้อความหรือ ส่ง Message มีการสื่อสารกัยมากขึ้น แต่ก็ยังมีจำนวนมากเหมือนกันที่ยังไม่ค่อยรู้

3 มีการเปิดสอน หลายหลักสูตร หลายกลุ่ม ผู้เรียนจำนวนมาก

4 ผู้เรียนมีการติดตามข่าวคราวทางหน้า website มากขึ้น สังเกตจาก พอเปิดให้ลงทะเบียน ก็จะมีผู้มาลงทะเบียนทันที หรือบางครั้ง ส่ง Message ไป ได้รับการตอบกลับในวงันเดียวกัน หรือวันรุ่งขึ้น ขณะเดียวกัน การสื่อสารผ่านทาง โทรศัพท์ น้อยลง ส่วนมากเป็นเรื่องการลืมรหัสผ่าน (เกือบทุกรายที่ลืม เนื่องจาก คนอื่นสมัครให้)

5 คณะครูคุยกันรู้เรื่องมากขึ้น เพราะเข้าใจระบบ และเห็นช่องทางที่จะพัฒนาระบบให้ดีขึ้น เช่น แนวคิดที่จะจัดตารางสอน และมีครูประจำในช่วงเวลาที่ตนเองรับผิดชอบ เพื่อการติดตต่อกับผู้เรียนแบบ Online

ทั้งหมดนี้ คือความคืบหน้าของการอบร e-Training ที่ผ่านไป 1 ปีกว่าๆ

เริ่มเข้าปีที่ 3 ของการดำเนินการ e-Training ซึ่งในปีที่ 3 นี้ มีอุปสรรค หลายประการ เช่นไม่มีงบประมาณ สนับสนุนโดยตรง จึงต้องโยกงบประมาณ เพื่อการพัฒนา ICT มาใช้เพื่อการพัฒนา e-Training แล้วในที่สุดก็เปิดการอบรม รุ่นแรกของปีนี้ได้เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2552 โดยรุ่นแรก มีผู้ลงทะเบียน 4 คน โดยมีหลักสูตรเปิดใหม่ 1 หลักสูตร คือ เรียนรู้เข้าใจ ทันภัยอินเตอร์เน็ต

วันที่ 18 พ.ค. 52 เกิดเหตุการณืที่สำคัญประการหนึงคือ มีการอบรมครูที่จะสอนทาง อินเตอร์เน็ตของ ศน. จำนวน 15 คน เพื่อเตรียมการเป็นครู จากปีแรก (50) มีครู 2 คน ปี 51 เพิ่มเป็น 6 คน ไม่รู้ว่า ปี 52 จะเพิ่มครูได้กี่คน

วันนี้ถือว่า เป็นความก้าวหน้าอีกประการหนึ่ง ของ e-Training สิ่งที่ตั้งใจ คือ ยกฐานะครู 4 ท่าน เมื่อปีที่แล้ว จากครูประจำกลุ่ม มาเป็นครู ประจำวิชา ส่วนครูที่อบรมใหม่ บางท่านจะให้เป็นครูประจำกลุ่ม บางท่านอาจจะเป็นครูช่วยสอน

วันที่ 19 จัดการอบรมอีกครั้งเป็นวันที่ 2 วันนี้มีคนมาเรียน 5 คน เรื่องที่เรียนรู้ คือ บทบาทของครูในการจัด e-Training จากวันแรก 15 คน เหลือวันที่ 2 เพียง 5 คน น่าจะบอกอะไรบางอย่างได้

ในปีงบประมาณ 2552 ได้ส่งสรุปรายงานการดำเนินงาน e-Training ดังนี้

รายงานสรุป

--------------------------------------------------------

1 โครงการ พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประจำปีงบประมาณ 2552

วัตถุประสงค์

1 เพื่อพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัด ให้มีความรู้และทักษะด้าน ICT เพื่อการเรียนรู้

2 เพื่อพัฒนาระบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในรูปแบบ e-Learning

2.1 เพื่อพัฒนาหลักสูตร และสื่อ

2.2 เพื่อพัฒนาระบบ LMS (e-Training)

2.3 เพื่อพัฒนารูปแบบและกระบวนการอบรมทางไกลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

เป้าหมาย

1 เป้าหมายเชิงปริมาณ

1.1 ครูและบุคลากรทางการศึกษาของหน่วยงานสังกัดสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะในด้านการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้ไม่น้อยกว่า 655 คน

1.2 มีรูปแบบการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต อย่างน้อย 1 รูปแบบ

2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ

2.1 ครูและบุคลากรทางการศึกษาของหน่วยงานสังกัดสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีทักษะและความรู้ด้านการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้เพิ่มขึ้น

2.2 มีระบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือ e-Learning ที่สามารถเผยแพร่ไปใช้ในหน่วยงาน กศน.

กระบวนการดำเนินงาน

การดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประจำปีงบประมาณ 2552 เป็นการดำเนินงานร่วมกัน ของสถาบัน กศน. ภาค ทั้ง 5 ภาค ในส่วนของ สถาบัน กศน. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีกระบวนการดำเนินงานโครงการดังนี้

1 ขั้นเตรียมการ

1.1 วางแผนการดำเนินงานร่วมกัน

1.2 พัฒนาหลักสูตร และ สื่อการเรียนรู้

1.3 พัฒนารูปแบบ e-Training โดยปรับปรุงจากระบบ Learnsquare

1.4 กำหนดรูปแบบและแนวทางการอบรมทางไกลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

2 ขั้นดำเนินการ

2.1 อบรมครูประจำกลุ่ม

2.2 ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน

2.3 อบรมการผลิตสื่อการเรียนรู้ตามมาตรฐาน SCORM

2.4 ดำเนินการจัดการอบรมทางไกล e-Training กับกลุ่มเป้าหมายครู และบุคลากรทางการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

2.5ติดตามการอบรม

3 ขั้นสรุป

3.1 ประเมินผลการดำเนินงาน

3.2 สรุปผล

3.3 รายงานผลการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงาน

เป้าหมาย

ผลที่ได้รับ

เป้าหมายเชิงปริมาณ

1 ครูและบุคลากรทางการศึกษาของหน่วยงานสังกัดสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะในด้านการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้ไม่น้อยกว่า 655 คน 1 ครูและบุคลากรทางการศึกษาของหน่วยงานสังกัดสำนักงาน กศน. ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับการพัฒนาทักษะในด้านการใช้ ICT ดังนี้

1.1 ความรู้และทักษะในการใช้อินเตอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย โดยการเข้ารับการอบรมตามผลักสูตร “เรียนรู้ เข้าใจ ทันภัยอินเตอร์เน็ต” จำนวน 1,035 คน

1.2 ความรู้ความเข้าใจในการผลิตสื่อการเรียนรู้ตามมาตรฐาน SCORM จำนวน 36 คน

1.3 ความรู้ความสามารในการเป็นครูประจำกลุ่มการอบรมทางไกลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จำนวน 50 คน

นอกจากความรู้และทักษะทางด้าน ICT แล้ว ยังมีความรู้และทักษะในด้านอื่นๆ อีก ดังนี้

1.4 ความรู้และทักษะในการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 222 คน

1.5 ความรู้และทักษะในการสอนตามหลักสูตร ปวช. จำนวน 74 คน

รวมทั้งสิ้น 1,417 คน

2 มีรูปแบบการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต อย่างน้อย 1 รูปแบบ ได้รูปแบบในการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในรูปแบบของการอบรมทางไกล หรือe-Training จำนวน 1 รูปแบบ ซึ่งเป็นรูปแบบที่ทดลองดำเนินการร่วมกัน ระหว่างสถาบัน กศน. ภาค ทั้ง 5 ภาค

เป้าหมายเชิงคุณภาพ

1 ครูและบุคลากรทางการศึกษาของหน่วยงานสังกัดสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีทักษะและความรู้ด้านการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้เพิ่มขึ้น 1 ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้และทักษะในการใช้อินเตอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย โดยประเมินผลจากการประเมินผลตาม Learning Object พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมได้เข้าศึกษาและปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละบทเรียน ทำให้มีความรู้และทักษะตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้แต่ละบทเรียน ตามหลักการของสื่อการเรียนรู้แบบ Learning Object

2 ครูและบุคลกรทางการศึกษาสามารถนำความรู้และทักษะจากการเรียนรู้เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัยไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน โดยการประเมินผลจากการปฏิบัติกิจกรรมต่อเนื่อง

3 ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้และความสามารถในการผลิตสื่อการเรียนรู้ตามมาตรฐาน SCORM โดยการประเมินจากผลงานที่เป็นสื่อ Online จำนวน 19 เรื่อง

4 ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้และทักษะในการเป็นครูประจำกลุ่มการศึกษาทางไกลผ่านเครื่องข่ายอินเตอร์เน็ต

2 มีระบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือ e-Learning ที่สามารถเผยแพร่ไปใช้ในหน่วยงาน กศน. สถาบัน กศน.ภาค ทั้ง 5 ภาค มีรูปแบบในการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีรายละเอียดของรูปแบบดังนี้

1 ระบบการเรียนการสอนผ่านอินเตอร์เน็ต ใช้ระบบ Learnsquare ซึ่งพัฒนาโดย NECTEC มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยใช้วิธีการเรียนผ่านอินเตอร์เน็ต หรือระบบ LMS (Learning Management System)

2 รูปแบบในการผลิตสื่อการเรียนรู้ ในลักษณะสื่อ Online ซึ่งเป็นสื่อการเรียนรู้ตามมาตรฐาน SCORM ซึ่งใช้ในการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ e-Learning

3 รูปแบบการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีกระบวนการจัดการเรียนการสอน Online ดังนี้

3.1 การสมัครสมาชิกหรือการขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา

3.2 การลงทะเบียนเรียน

3.3 การเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติ

3.4 การทำกิจกรรมต่อเนื่องหลังเรียน

3.5 การประเมินผล

3.6 การมอบวุฒิบัตร

3.7 การแนะแนวการศึกษา

ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ

1 ปัญหาด้าน Hardware และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

1.1 ปัญหาด้านความเร็วในการใช้ อินเตอร์เน็ต พบว่า ผู้เรียนในหลายพื้นที่ อินเตอร์เน็ตมีความเร็วต่ำ ทำให้เกิดอุปสรรคต่อการเข้าเรียน โดยเฉพาะเนื้อหาที่มีการนำเสนอในรูปแบบ Video จะใช้เวลาค่อนข้างนาน และมีผลต่อการใช้งานในระบบอื่นๆ ตามมา

1.2 ปัญหาที่เกิดจากระบบ e-Training (ระบบ Learnsquare) ยังมีปัญหาอีกหลายประการที่มีอุปสรรคต่อการกระบวนการเรียนการสอน เช่น การลงทะเบียน การทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นต้น

2 ปัญหาด้านการดำเนินงาน มีปัญหาที่สำตัญคือ จำนวนบุคลากรผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานยังไม่เพียงพอต่อกระบวนการเรียนการสอน ทำให้ครูผู้สอนต้องรับผิดชอบจำนวนผู้เรียนมากเกินไป ทำให้ไม่กิจกรรมการสนับสนุนการเรียนรู้และการสื่อสารกับผู้เรียนทำได้น้อย

ววันนี้เข้าไปตรวจสอบในกล่องข้อความของ e-Training พบว่า ใน Outbox ซึ่งหมายถึงกล่องจดหมายที่ส่งแล้ว แต่ผู้รับยังไม้เปิด มีประมาณ 500 ฉบับ โดยจดหมายดังกล่าว เป็นจดหมายที่ส่งจาก Admin ไปถึงผู้เรียนทุกคนที่ลงทะเบียนเรียน และโดยมากแล้ว ผู้เรียนเมื่อเข้าระบบ ก็จะเห็นว่า มีรูปซองจดหมายกระพริบอยู่ ลแล้วเปิดอ่าน แต่ในจำนวนประมาณ 500 คน นี้ ทำไมไม่อ่านจดหมาย ก็เดาสาเหตุ 3 ประการคือ

1 ไม่รู้ว่า เมื่อคลิกตรงนี้แล้วจะเปืดจดหมายมาอ่าน

2 มาทดลองลงทะเบียนไว้เล่นๆ เข้าระบบมาครั้งเดียวแล้วไม่เคยเข้ามาอีก

3 ระบบมีปัญหา

แต่ไม่ว่าจะเพราะอะไรก็ตาม สิ่งที่ต้องสนใจคือ ทำไมจำนวนมันจึงค่อนข้างมาก

วันนี้ได้เข้าไปตอบจดหมายจากผู้เรียน จากทั้ง Mail ของระบบ e-Training และ hotmailพบปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำซากทุกวัน คือ ปัญหาการแจ้งการจบการเรียน ซึ่งจะต้องแจ้งไปที่ครูผู้สอน แต่เราจะได้รับจบหมายที่ไม่ใช่กลุ่มที่เราสอนทุกวัน ก็ต้องตอบไปว่า ครูผู้สอนคือใครให้แจ้งห้ถูกต้อง

ประเด็นที่เป็นคำถามคือ ทำไมจึงแจ้งมาที่เราบ่อยมากทั้งๆ ที่แจ้งบอกที่หน้า website แล้วว่า ให้แจ้งให้ถูก หรือว่า ผู้เรียนไม่รู้ว่าใครเป็นครูประจำกลุ่ม หรือเพราะว่า หน้า webมีรูปเรา

ต้องหาสาเหตุต่อไปว่า เพราะอะไร

สวัสดีครับ

คุณอาอยู่ สุพรรณบุร๊ มีลูกหลาน ชื่อทวีป ใหมครับ ถ้ามี ช่วยติดต่อ ให้กระผมด้วย คือผมกับทวีป เป็นเพื่อนกัน

สมัยเป็นทหาร อยู่ปราณบุร๊ แล้วก็ไม่ได้พบ กันอีกเลย ครับ ขอขอบพระคุณล่วงหน้านะครับ

ด้วยความนับถือ

กมล สุโขทัย tel 081 962 99 78

ปีนี้เป็นปี 53 การดำเนินงาน etraining ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท