เกร็ดเล็ก ๆ กรณีการใช้ t-test


เมื่อมีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติใดแล้วก็น่าจะใช้ประโยชน์จากผลการวิเคราะห์นั้นให้ครบถ้วน และสมบูรณ์ที่สุดในการตอบคำถามวิจัย

     เราลองมาดูกรณีตัวอย่างที่ยกขึ้นมาก่อนนะครับ ดังนี้
          ประเด็นที่ 1 “จากการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มี “อายุ” ต่างกัน มีทักษะในการจัดทำแผนงานและงบประมาณ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t-value =-2.03, p-value = .006)

          ประเด็นที่ 2 จากผลที่ได้ในประเด็นที่ 1 “พบว่าขัดแย้งกับการศึกษาของ XXXX (2534) ได้ศึกษาความสามารถในการปฏิบัติงานบริหารเวชภัณฑ์ของ...

     ทีนี้เราลองมาวิเคราะห์จากผลการวิจัย และจากการอภิปรายผลข้างต้น จะเห็นได้ว่าเมื่อผู้วิจัยได้นำเสนอผลการทดสอบสมมติฐานซึ่งพบว่ามีความแตกต่างกันแล้ว แต่ผู้วิจัยไม่ได้นำเสนอว่ากลุ่มอายุของกลุ่มตัวอย่างไหน ที่มีทักษะในการจัดทำแผนงานและงบประมาณ มากกว่าอีกกลุ่มอายุของกลุ่มตัวอย่างหนึ่งอย่างไร ทั้ง ๆ ที่พบว่าแตกต่างกัน และผลจากการวิเคราะห์ด้วย t-test สามารถบอกได้อยู่แล้ว เป็นประเด็นที่ 1

     ในส่วนของประเด็นที่ 2 คือการยกผลการวิจัยมาอภิปราย โดยบอกว่าขัดแย้งกันนั้น ไม่น่าจะนำผลการวิจัยที่ค่อนข้างจะแตกต่างกันในการเปรียบเทียบ คือ ทักษะในการจัดทำแผนงานและงบประมาณ และ ความสามารถในการปฏิบัติงานบริหารเวชภัณฑ์

     ที่ยกมานำเสนอไว้ก็ด้วยเหตุว่า เมื่อมีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติใดแล้วก็น่าจะใช้ประโยชน์จากผลการวิเคราะห์นั้นให้ครบถ้วน และสมบูรณ์ที่สุดในการตอบคำถามวิจัย ส่วนการอภิปรายผลก็เพื่อสนับสนุนสิ่งที่ค้นพบได้จากการวิจัย ก็น่าจะต้องใช้งานวิจัยที่ค่อนข้างจะมีประเด็นคล้าย ๆ กันให้มากที่สุด จึงจะสนับสนุนได้ดีขึ้นครับ

หมายเลขบันทึก: 9911เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2005 19:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ช่วยหาทีตางรางให้หน่อยค่ะ จำนวนเด็ก 10คน ในระดับ.05ค่ะ ค่าทีตารางหาได้แล้วค่ะรบกวนส่งด้วยนะค่ะ ขอบคุณมากค่ะ ต้องการด่วนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท