KM กับงานวิจัยสถาบัน (2)


กรอบแนวคิด : คิดค่าใช้จ่ายในการผลิตบัณฑิตของนิสิตที่จบในปีการศึกษา 2547 (รหัส 44) ตั้งแต่เริ่มเข้ามาจนจบเป็นบัณฑิตใน 4 สาขาวิชาของคณะสหเวชศาสตร์ (เทคนิคการแพทย์ เทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก รังสีเทคนิค และกายภาพบำบัด) โดยคิดจากนิสิตที่เรียนตามปกติ (ไม่รวมถึงการลงทะเบียนซ้ำ) ค่าใช้จ่ายที่นำมาคิดคือ งบรายจ่ายทุกประเภท และให้มีวิธีคิด 2 แบบ คือ 1. แบบที่คิดจากงบดำเนินงาน 2. แบบที่คิดจากงบดำเนินงานรวมงบลงทุน

     วันนี้ได้มีการจัดกิจกรรมแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ในงานวิจัยสถาบันของสำนักงานเลขานุการ คณะสหเวชศาสตร์ กัลยาณมิตรที่ได้ทำหนังสือเชิญเมื่อวาน มากันอย่างพร้อมเพรียงก่อนเจ้าของบ้าน ทางคณะสหเวชศาสตร์ได้ทำหนังสือเชิญ คุณรุ้งทอง ไวทยะกุล (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน) และคุณปราณี ศิริวัฒน์ (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผนจากคณะศึกษาศาสตร์ กำลังเดินเครื่องเรื่อง ค่าใช้จ่ายต่อหัวนิสิต) ซึ่งกัลยาณมิตรทั้งสองท่านถือได้ว่าเป็นคุณกิจตัวจริงที่จะมาแบ่งปันความรู้ ผมเองยังไม่เข้าใจเรื่องเทคนิค "เพื่อนช่วนเพื่อน" จึงศึกษาค้นคว้าจาก Blog ของอาจารย์หมอวิจารณ์ จึงถึงบางอ้อ

      ท่านให้หลักคิดไว้ว่า ในเรื่องที่เราอยากพัฒนาหรือปรับปรุง ไม่ควรเสียเวลาคิดขึ้นใหม่ด้วยตนเองควร "เรียนลัด" โดยเอาอย่างจากผู้ที่ทำได้ดีอยู่แล้ว เอามาปรับใช้กับงานของเรา แล้วพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ย้ำว่าการเรียนรู้จากกัลยาณมิตรนี้จะต้องไม่ไช่ไปลอกวิธีการของเขามาทั้งหมด แต่ไปเรียนรู้แนวคิดและแนวปฏิบัติของเขาแล้วเอามาปรับปรุงใช้งานให้เหมาะสมต่อสภาพการทำงานของเรา

       กำหนดการเริ่มเวลา10.00 น. แต่รอความพร้อมเพรียงก็ช้าไปนิดหนึ่ง ท่านคณบดีให้ผมเริ่มก่อน ผมเปิดฉากด้วยบรรยากาศแบบสบาย ๆ ด้วยภาษาบอย + KM + แดจังกึม เพื่อให้บรรยากาศสดใส คนอ่านอาจจะงงว่าแล้วเกี่ยวกับแดจังกึมอย่างไร เรื่องค่าใช้จ่ายต่อหัวนิสิต ผมนำโมเดลของปลาทูมาพูดว่า วันนี้หัวปลาทีเรามาพูดคุยกันชัด เหลือส่วนลำตัวและหาง ที่ยังขาดไป และเมื่อได้ทั้งสามส่วนในวันนี้ครบ ผมเองก็จะนำไปปรุงรส โดยลำดับแรกจะนำไปเสริฟ์ให้กับรศ.เทียมจันทร์ พานิชผลินไชย ลองลิ้มรสดูก่อน (จะมีกิจกรรมวิพากษ์โครงร่างงานวิจัยในเดือนกุมภาพันธ์ โดยเชิญรศ.เทียมจันทร์มาวิพาษ์โครงร่างงานวิจัย) และเมื่อรศ.เทียมจันทร์ได้ชิมแล้วอาจจะยังไม่ถูกปาก ผมเองก็จะนำไปปรุงรสใหม่ (อาจจะมีวิพากษ์รอบ 2) หลังจากรศ.เทียมจันทร์พอใจในรสชาดของปลาตัวนี้แล้ว ก็จะนำไปเสริฟ์ให้กับท่านคณบดี เพราะเป็นอาหารจานโปรดที่ท่านต้องการให้สำนักงานเลขานุการได้ร่วมกันทำงานวิจัยสถาบัน และถ้าอาจารย์พอใจในอาหารจานโปรดที่ทางสำนักงานเลขานุการได้ร่วมกันปรุงรสแล้ว ผมก็จะตักแบ่งไปให้คณะศึกษาศาสตร์ และกองแผนงาน ที่มาร่วมเป็นกัลยาณมิตร ซึ่งโดยตัวผมเองได้เปิดสำรับในเรื่องดังกล่าว (ค่าใช้จ่ายต่อหัวนิสิต) มาหลายสำรับแล้วยังไม่มีรสชาดไหนที่ได้มาตรฐาน วันนี้บอยและทีมงานวิจัยสถาบันของสำนักงานเลขานุการ พร้อมกัลยาณมิตรจะช่วยกันปรุงรสชาดอาหารจานนี้อย่างสุดฝีมือครับผม

         หลังจากที่ผมเปิดฉากด้วยภาษาบอย+KM+แดงจังกึม เสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านคณบดีเริ่มพูดเกี่ยวกับโครงการเสวนาภาษาออฟฟิศ และให้แต่ละท่านแนะนำตัวเอง เริ่มจากดร. ศิริลักษณ์ ผม กัลยาณมิตร และทีมงานวิจัยสถาบันของสำนักงานเลขานุการ ทุกท่านความจริงก็คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะอยู่ในหน่วยงานเดียวกัน หลังจากบรรยายจบ ท่านคณบดีได้เริ่มให้คุณรุ้งทอง ไวทยะกุล เล่าเรื่อง เกี่ยวกับการคิดค่าใช้จ่ายต่อหัวนิสิต โดยมีผมทำหน้าที่เป็นคุณลิขิต

          คุณรุ้งทอง เล่าเรื่องอย่างน่าสนใจดังนี้ครับ

          การคิดค่าใช้จ่ายต่อหัวนิสิตยังไม่มีเกณฑ์การคิดที่แน่นอน  ส่วนใหญ่ค่าใช้จ่ายต่อหัวนิสิตที่นำมาคิดคือ งบดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายต่อหัวของแต่ละมหาวิทยาลัยมีค่าใช้จ่ายต่อหัวที่แตกต่างกัน มหาวิทยาลัยเก่า  จะมีค่าใช้จ่ายในงบดำเนินงานสูงในส่วนที่เป็นเงินเดือน มหาวิทยาลัยใหม่ก็มีงบลงทุนสูงในส่วนที่เป็นอาคาร ค่าใช้จ่ายต่อหัวนิสิต ทางสำนักงบประมาณยังไม่ได้บังคับ ตัวที่รัฐบาลจะพยายามให้มาทำใหม่คือ คือ กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (ICL) เริ่มใช้กับนิสิตปี 49 การคิดค่าใช้จ่ายต่อหัวจะต้องนำงบดำเนินงานและงบลงทุน ทั้งจากงบประมาณแผ่นดิน และงบประมาณรายได้มาคิด ต้องคิดต้นทุนทุกอย่าง ค่าใช้จ่ายทุกประเภทนำมาหารหมด คิดต่อคนต่อปีการศึกษา สำหรับครุภัณฑ์ คิดตามเกณฑ์ระบบบัญชี 3 มิติ ปกติครุภัณฑ์ที่คิดค่าเสื่อมราคาจะมีอายุการใช้งาน 10 ปี  โดยการเอาจำนวนนิสิตทั้ง 10 รุ่นมาหาร รุ่นที่ 11 ไม่นำมาคิด ส่วนจำนวนนิสิตที่นำมาคิดให้นำจำนวนนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนจริงมาคิด กรณีค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถแยกได้ ให้ใช้วิธีหาร 4 (คณะสหเวชศาสตร์มี 4 สาขาวิชา)

           คุณปราณี เล่าเรื่องให้ฟังดังนี้ครับ

           สำหรับคณะศึกษาศาสตร์ การคิดค่าใช้จ่ายต่อหัวนิสิตในตอนนี้ มีการคิดค่า FTES  และมีความยินดีที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคณะสหเวชศาสตร์ในการคิดค่าใช้ต่อหัวนิสิตกับคณะสหเวชศาสตร์

            เจ้าของบ้าน (ทีมงานวิจัยสถาบันของสำนักงานเลขานุการคณะสหเวชศาสตร์) มีหลายคนที่สนใจซักถาม บรรยากาศจึงเป็น  แบบคุยคุ้ยค่าใช้จ่าย   มีผู้ซักถามกันหลายท่าน เช่น คุณต้อย (คุณเสาวภาคย์ ) นักวิชาการเงินและบัญชี ได้มีตัวเลขเกี่ยวกับการคิดค่าใช้จ่ายต่อหัวในส่วนที่เป็นงบดำเนินงานไว้พอสมควร สนใจในตัวเลขที่เป็นค่าใช้จ่ายซึ่งไม่สามารถระบุเป็นรายวิชาได้ เนื่องจากคุณต้อยจะมีการรวบรวมตัวเลขไว้ในส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายของรายวิชาแต่ละสาขาวิชา ซึ่งจะทำให้สามารถรู้ต้นทุนของรายวิชาได้  คุณลดารัตน์ นักวิชาการศึกษา สนใจในตัวเลขของจำนวนนิสิตที่มีการลงทะเบียนเรียนไม่เท่ากันในแต่ละรายวิชา ปัญหาคือจะนำจำนวนนิสิตไหนมาเป็นตัวหาร คำตอบคือเอาจำนวนนิสิตจริงมาเป็นตัวหาร  คุณกาญดา หัวหน้าหน่วยวิชาการศึกษา มีข้อสงสัยว่าบางคนมีการลงทะเบียนซ้ำ ซึ่งเป็นรายได้ของคณะฯ จะนำมาคิดด้วยหรือเปล่า คำตอบคือ เอาตัวเลขที่นิสิตลงทะเบียนตามปกติ

             สำหรับตัวผมเองรับบทเป็นชาวนา ไม่ได้พูดอะไรเลย ตั้งใจฟังอย่างลึก ฟังแบบไม่ฟันธง ทำหน้าที่เก็บเกี่ยวความรู้ให้ได้มากที่สุดและบันทึกลงในแผ่นกระดาษ และได้บทสรุปที่เป็นกรอบของงานวิจัยสถาบันดังนี้ครับ

  • ชื่อเรื่องงานวิจัย : ต้นทุนการผลิตบัณฑิตต่อหัวของนิสิตคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • กรอบแนวคิด : คิดค่าใช้จ่ายในการผลิตบัณฑิตของนิสิตที่จบในปีการศึกษา 2547 (รหัส 44)  ตั้งแต่เริ่มเข้ามาจนจบเป็นบัณฑิตใน 4 สาขาวิชาของคณะสหเวชศาสตร์ (เทคนิคการแพทย์ เทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก รังสีเทคนิค และกายภาพบำบัด)  โดยคิดจากนิสิตที่เรียนตามปกติ (ไม่รวมถึงการลงทะเบียนซ้ำ) ค่าใช้จ่ายที่นำมาคิดคือ งบรายจ่ายทุกประเภท และให้มีวิธีคิด 2 แบบ คือ 1. แบบที่คิดจากงบดำเนินงาน     2. แบบที่คิดจากงบดำเนินงานรวมงบลงทุน      

        งานที่แบ่งกันทำคือ

  • งานนโยบายและแผน คุณสริตา รับผิดชอบในการออกแบบตาราง เพื่อวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายต่อหัวนิสิต โดยอาจทำเป็นโปรแกรมแบบง่าย เช่น EXCEL
  • งานบริการการศึกษา รับผิดชอบหาค่าลงทะเบียนแต่ละมหาวิทยาลัยของรัฐ เพี่อนำมาเปรียบเทียบ และหาจำนวนนิสิตของ 4 สาขา
  • งานการเงิน หนักกว่าเพื่อนนิดหนึ่งที่ต้องหาตัวเลขค่าใช้จ่าย
  • งานพัสดุ หาตัวเลขค่าเสื่อมราคาของครุภัณฑ์ (ทางกองแผนซึ่งเป็นกัลยาณมิตรยินดีให้ความอนุเคราะห์งบค่าก่อสร้างอาคาร)
  •  อนุวัทย์ (บอย) เตรียมเขียนเค้าโครงงานวิจัยในแบบที่นำเสนอนเรศวรวิจัย    

     หลังจากที่ได้มีกิจกรรมแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเสร็จ ท่านคณบดีได้มอบของที่ระลึกให้กับคุณรุ้งทอง และคุณปราณี ซึ่งท่านเตรียมมาเอง (ความจริงท่านฝากให้ผมช่วยเตรียม ตอนเช้าผมได้ให้น้องในสำนักงานเลขานุการไปเลือกซื้อของให้ที่พิพิธภัณฑ์ผ้าของมน. แต่ปรากฎว่าอาจารย์เตรียมมาให้เรียบร้อยแล้ว รู้สึกละอายใจอยู่เหมือนกันครับ )     

      วันนี้หลังจากที่ได้ทำกิจกรรมแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเสร็จ ตอนบ่ายผมไปเข้าร่วม งาน meeting of mind เจอท่านอาจารย์วิบูลย์ อาจารย์ได้สอบถามถึง UKM ที่มหาสารคามว่าไปได้หรือเปล่า ผมได้ตอบท่านไปว่า ไปเข้าร่วมได้ อาจารย์บอกว่าตอนนี้ไม่ค่อยมีเวลาเดินทางบ่อย แต่ขนาดอาจารย์เดินทางบ่อยยังมีงานเขียน Blog อย่างต่อเนื่อง (เป็นแบบอย่างที่ดี ของคนเขียน blog ในมน.ครับ) เจออาจารย์แล้วก็ลืมถามท่านไปว่า วันที่ 21 ธันวาคมนี้ ท่านจะไปช่วยจุดไฟ QA KM ให้กับคณะสหเวชศาสตร์ได้หรือเปล่า แต่คิดว่าท่านคงไม่มีปัญหาอะไร เพราะได้ประสานกับคุณตูน (ผุ้อำนวยการหน่วยประกันคุณภาพการศึกษา) ไว้เรียบร้อยแล้ว สำหรับงานวิจัยสถาบันของสำนักงานเลขานุการ จะมีนำมาเล่าใน Blog ต่อไปครับ วันนี้ช่างถ่ายรูปของที่คณะกำลังยุ่งเลยไม่ได้นำบรรยากาศในกิจกรรมวันนี้มาฝาก วันพรุ่งนี้ถ้าไม่ยุ่งจะนำภาพมาฝากครับ

บอย

ชุมชนสำนักงานเลขานุการ

  

 

คำสำคัญ (Tags): #วิจัยสถาบัน
หมายเลขบันทึก: 9833เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2005 20:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 12:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอชื่นชมกิจกรรม Peer Assist เรื่องวิจัยสถาบันของคุณบอยและคณะมากเลยครับ เป็นแบบอย่างที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับอีกหลายเรื่อง ขอขอบคุณทุกท่านที่เกี่ยวข้อง

วันที่ 21 ไม่มีปัญหาอะไรครับ ผมกันวันเวลาไว้ให้เรียบร้อยแล้ว แล้วเจอกันตามนัดครับ

เห็นภาพการร่วมกิจกรรมทุกครั้งที่คุณบอยทำ(เขียน)  และจะทำในสำนักงานตัวเองบ้าง ถึงแม้ว่าจะไม่เห็นชัดเจนเท่าที่คณะสหเวชฯ ทำ แต่ก็คิดว่าเราได้เริ่ม ดีกว่าไม่มีการเริ่ม ใช่ไหมครับ
คงต้องขอบคุณ(ท่านคณบดี) อาจารย์มาลินี ที่ทำหน้าที่เป็นคุณอำนวยให้อย่างดียิ่ง และขอให้กำลังใจคุณ sompornpcmu ในการทำกิจกรรม Peer Assist ในสำนักงานของตนเอง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท