การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของชุมชนแพรกหนามแดง


            จากการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคนตำบลแพรกหนามแดง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นกลุ่มคนเล็กๆ ที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ และร่วมใจร่วมคิด ร่วมทำ เพื่อแสวงหาทางออกในการแก้ปัญหาของชุมชนอันเนื่องมาจากผลกระทบของภัยแล้งและมีการสร้างเขื่อนศรีนครินทร์จากจังหวัดกาญจนบุรี ตามมาด้วยนโยบายการสร้างประตูระบายน้ำของกรมชลประทาน
            จากความที่กรมชลประทานเป็นผู้มีระบบความคิดแบบเดเสร็จ โดยไม่ได้ลงมาศึกษาวิถีชีวิตของชุมชนที่จะไปสร้างประตูระบายน้ำให้ ว่าในแต่ละชุมชนมีความเป็นอยู่อย่างไร ใช้ชีวิตกันอย่างไร ราชการเข้าไปเพียงเพื่อทำประตูน้ำให้เสร็จสิ้นตามนโยบายที่กำหนด หลังจากสร้างประตูน้ำแล้วก็ไม่เคยหันกลับไปมองดูว่าสิ่งที่เป็นผลกระทบจากการสร้างประตูน้ำได้ไปเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในชุมชนให้เป็นอย่างไร
            ชุมชนแพรกหนามแดงมีแหล่งน้ำ 2 ชนิด คือน้ำเค็มและน้ำจืด คนที่อยู่ฝั่งที่มีน้ำเค็มก็จะประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้ง ส่วนคนฝั่งน้ำจืดจะทำนา วิธีการแก้ปัญหาของคน 2 ฝั่งน้ำในสมัยโบราณ คือ การทำทำนบดิน (คันนาดิน) กั้นระหว่างฝั่งน้ำ เมื่อน้ำฝั่งใดมากก็จะเอ่อท่วมเข้าไปอีกฝั่งหนึ่ง แต่จะค่อยๆ เอ่อท่วมจึงทำให้เกิดเป็นน้ำกร่อย  ซึ่งจะไม่ก่อปัญหาให้กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพราะกุ้งก็สามารถอยู่ได้ในน้ำกร่อย ทำนาน้ำกร่อยก็ได้ เมื่อถึงหน้าแล้งน้ำลด ผู้คนก็จะมาช่วยกันลงแรงทำทำนบดินกั้นน้ำใหม่หากถูกน้ำเซาะพังเสียหาย
            ความเป็นอยู่จึงอยู่กันอย่างพึ่งพาอาศัยช่วยเหลือกัน ระบบน้ำก็เป็น 3 น้ำ คือ น้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม เป็นการอยู่อย่างสมดุลไม่เอาเปรียบ แต่เมื่อมีประตูน้ำเข้ามา ระบบการเปิด-ปิดน้ำ เมื่อเปิดน้ำจืดๆ จะไปลงสู่น้ำเค็มทันทีในปริมาณที่มาก ทำให้กุ้งที่อยู่ในระบบน้ำเค็มปรับตัวไม่ทันจึงสร้างความเสียหายให้กับคนฝั่งน้ำเค็มเพราะกุ้งตายหมด หรือเมื่อทางฝั่งน้ำเค็มเปิดน้ำไปทางฝั่งน้ำจืด ข้าวก็ไม่สามารถปรับตัวได้ก็ตายอีก ความเสียหายและความเครียด ความกดดันกับปัญหาของ 2 ฝั่งน้ำจึงค่อยๆ สะสมและมากขึ้นจนถึงขั้นทะเลาะเบาะแว้งกันเอง จากเล็กๆ เพียงเรื่องพูดจาต่อว่าก็เป็นเรื่องใหญ่โตจึงถึงขนาดจะฆ่ากันได้ เพราะเรื่องเปิด-ปิดประตูน้ำ ญาติพี่น้องซึ่งเคยไปมาหาสู่กันก็เริ่มบาดหมางใจ เพราะต่างอาชีพ ต่างน้ำและประตูน้ำเจ้าปัญหาก็เปรียบเสมือนกำแพงหนาทึบที่กั้นความสัมพันธ์อันดีของคนในชุมชนให้หมดสิ้นไป
            เมื่อพบวิกฤต หน่วยงานภาครัฐจึงเข้ามาเพื่อพาคน 2 ฝ่ายมาพูดคุยประนีประนอมกัน แต่ก็ไม่เห็นผล เพราะเป็นการกระทำเพียงนำคนมาพูดถึงปัญหา ซึ่งกลับกลายเป็นต่างฝ่ายต่างไม่ยอมกัน เพราะมองเห็นแต่ว่าปัญหาของตนเองสำคัญ เวทีประนีประนอมจึงกลายเป็นเวทีที่เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันขึ้นมาอีกครั้ง
            แต่แล้วก็มีอัศวินขี่ม้าขาวมาช่วย คือ กลุ่มของคุณธเนศ ซึ่งเข้ามาเก็บข้อมูลเรื่องของน้ำ ซึ่งได้คัดสรรคนในฝั่งน้ำเค็มเข้ามาร่วมงานวิจัยท้องถิ่น โดยเป็นผู้นำมาให้เกิดการเรียนรู้อย่างค่อยเป็นค่อยไป ด้วยการจัดเวทีชาวบ้านบ้าง พูดคุยเป็นรายบุคคลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้เขา รู้เรามากขึ้น เพื่อหาหนทางและวิธีการนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของชาวบ้าน
            วิธีการทำงานของทีมงานวิจัย
1.       คัดสรรคนในชุมชนที่มีแววว่าจะเป็นตัวประสานได้ทั้ง 2 ฝ่าย
2.       ทีมทำงานเข้าไปพูดคุยกับทุกคนที่มีปัญหา เพื่อทราบถึงปัญหาที่แท้จริง
3.       เปิดเวที-พื้นที่ให้คน 2 ฝั่งมาพูดคุยปัญหาและแลกเปลี่ยนความคิดเพื่อหาแนวทางแก้ไข
4.       ใช้หัวข้อการพูดคุยเรื่องประวัติศาสตร์ชุมชน เป็นหัวข้อเรื่องแล้วโยงสู่ปัญหาความขัดแย้งของปัจจุบัน
5.       ทำงานแบบเกาะติด ต่อเนื่อง
6.       ไม่ย่อท้อต่อปัญหาอุปสรรค
7.       หาพันธมิตร/เครือข่าย/ผู้ช่วยเหลือ (หาความรู้จากภายนอกมาเชื่อมโยงกับภายใน)
8.       นำสู่นโยบายของรัฐ
            ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
1.       ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เกิดขึ้น จากเวทีพูดคุยทุกเดือน นำปัญหามาคุยกัน
2.       การเปลี่ยนแปลงในตัวคน พัฒนาเรื่องการคิด การพูด
3.       มีวิธีการในการสร้างกระบวนการในเวทีเพื่อมุ่งสู่ประเด็น

นันท์นภัส รุ่งแสง และสุภาวดี แกมทับทิม
นักจัดการความรู้ท้องถิ่นจังหวัดสิงห์บุรี
วันที่ 8 ธันวาคม 2548

หมายเลขบันทึก: 9829เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2005 17:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 15:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มีที่อยู่ (ทางไปรษณีย์) ของคุณปราณีต  นาคะเสโน มั๊ยครับ?  ผมจะส่งรางวัล "ยอดคุณกิจแห่งเดือน" 

ที่อยู่ของพี่ณีตค่ะ

ปราณีต  นาคะเสโน

35 หมู่ที่ 3 ตำบลเชิงกลัด อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี

16130

โทร.01-1986245

(แล้วของทีมงานล่ะคะ...อยากได้จัง)

ขอบคุณครับ  

เขียน blog เล่าเรื่องราวเยอะๆเดี๋ยวก็ได้เองครับ

คุณสมโภชน์ นาคกล่อม   ก็เพิ่งได้ล่าสุด  "ยอดคุณลิขิติแห่งเดือน"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท