โครงการพัฒนาศิริราชสู่สถาบันการแพทย์ชั้นเลิศในเอเชียอาคเนย์


โครงการพัฒนาศิริราชสู่สถาบันการแพทย์ชั้นเลิศในเอเชียอาคเนย์

         ได้บันทึกไว้แล้วเมื่อวันที่ 20 พ.ย.48   ในหัวข้อ "ทบทวนชีวิตใน 2 สัปดาห์ 7 - 20 พ.ย.48"  ดูได้ที่นี่ (click)

         วันที่ 13 ธ.ค.48   เป็นการประชุมครั้งที่ 3 และครั้งสุดท้ายของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการที่ผมเป็นประธาน

         เป็นโครงการ 5 ปี พ.ศ.2549 - 2553  ใช้เงิน 8,774.06 ล้านบาทเพื่อพัฒนาศิริราชสู่ World Class Medical Institute โดยมี 7 โครงการย่อยคือ
     1. ศูนย์ความเป็นเลิศทางการวิจัย
     2. ศูนย์ความเป็นเลิศในการบริการทางการแพทย์
     3. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศทางการแพทย์
     4. ศูนย์พัฒนาวิทยาการผู้สูงอายุ
     5. สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์
     6. พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช
     7. สวนเฉลิมพระเกียรติ   ทางเดินริมน้ำ   ท่าน้ำ   และอนุรักษ์อาคารสถานีรถไฟธนบุรี

         เงิน 8,774.06 ล้านบาทจะใช้สำหรับโครงการที่ 1, 2  และ 7   ซึ่งใช้พื้นที่ที่ได้รับมอบจากการรถไฟ 33 ไร่ 2 งาน 44 ตารางวา

         เป็นโครงการที่ถือว่าเป็นเกียรติเป็นศรีของประเทศ   และทุกคนที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมผลักดันมีความภูมิใจ

ความรู้ที่ผมได้รับจากการทำงานนี้ได้แก่
     - การเขียนโครงการพัฒนาเพื่อเสนอรัฐบาลเป็นงานเทคนิคอย่างหนึ่ง   ถ้าเราเขียนกันเองตามความคิดแบบนักวิชาการ   จะผ่านการพิจารณาได้ยาก   งานนี้ได้คุณวรัญญา  เตียวกุล จาก สศช. มาช่วยเขียน   โดย นพ. สุวิทย์  วิบุลผลประเสริฐ ช่วยแนะนำ
     - ในด้านการวิจัย   ศิริราชมองว่าสินทรัพย์ (assets) ของตนคือ  clinical material กับความรู้ด้าน basic biomedical สำหรับนำมาทำให้เกิด synergy กัน  และนำไป "ขาย" เพื่อร่วมมือกับต่างประเทศหรือธุรกิจเอกชนในการทำวิจัยต่อยอดไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อการวินิจฉัย  ป้องกัน  หรือรักษาโรค   เรื่องวิธีคิดด้านการวิจัยนี้มีวามซับซ้อนมาก   คนมักคิดแบบซับซ้อนไม่เป็น

วิจารณ์  พานิช
 13 ธ.ค.48

หมายเลขบันทึก: 9738เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2005 09:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 19:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท