การจัดการความรู้ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น


การจัดการความรู้ (KM)

การจัดการความรู้ ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น 

ตามที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น มอบหมายให้ศูนย์บริการวิชาการ เป็นผู้ประสานงานหลักในเครือข่ายจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย จากบันทึกความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2547
ณ มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดนครปฐม ซึ่งอธิการบดีมหาวิทยาลัย
ลงนามความร่วมมือเครือข่ายจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย

- รองศาสตราจารย์มณฑล สงวนเสริมศรี

อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร

- ศาสตราจารย์เกียรติคุณพรชัย มาตังคสมบัติ

อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล

- รองศาสตราจารย์ประเสริฐ ชิตพงศ์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

- รองศาสตราจารย์สุมนต์ สกลไชย
อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น

- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทวีชัย สิทธิศร
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาระบบสารสนเทศ

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

- ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พาณิช
ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม

และได้มีการประชุมเครือข่าย ปี 2548 ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่
25 มีนาคม 2548 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งมหาลัยขอนแก่น
ได้ส่งตัวแทนเข้าร่วม ประกอบด้วย รศ.นพ. จิตเจริญ ไชยาคำ รศ.ประจักษ์ พัวเพิ่มพูลศิริ และทีม KM มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ในส่วนที่เป็นความรับผิดชอบของศูนย์บริการวิชาการ
รศ.นพ.จิตเจริญ ไชยาคำ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ รศ.ประจักษ์ พัวเพิ่มพูลศิริ ประธานกรรมการ UKM มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ประชุมกรรมการเมื่อเดือนมีนาคม 2548 และเสนอแผนปฎิบัติการการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ในมหาวิทยาลัยขอนแก่นต่อมหาวิทยาลัย โดยมีดัชนีชี้วัด(KPIS) ที่หน่วยงานในมหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมใน KPI ดังนี้

- มีชุมชนนักปฎิบัติการ (Community of practice : COP)

- จำนวนครั้งในการอบรม/สัมมนา

- ผู้บริหารทุกระดับเกิดความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำแนวทางการจัดการความรู้ไปใช้ใน หน่วยงานที่รับผิดชอบได้ไม่ต่ำกว่า
ร้อยละ 50

- เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในมหาวิทยาลัย โดยมีการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อพัฒนาคน และงานในมหาวิทยาลัยไม่ต่ำกว่า
ร้อยละ 50 ของหน่วยงาน

JJ

หมายเลขบันทึก: 969เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2005 16:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2013 09:04 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียน ท่านอาจารย์จิตเจริญ

ตามมาอ่านบันทึก เมื่อ 2 ปีก่อน

บันทึกแรก

เรียน ท่านกัมปนาท เป็นบันทึกที่ 969 ครับ จำได้ว่าท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ ท่านเป็นผู้กระตุ้นให้หัดลิขิต ครับ และ ก็สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์เริ่มแรก ของ G2K ใช้เป็น Diary สำหรับบันทึกชีวิต ฅนทำงาน และ นำมา ลปรร ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท