วัตร "ของผู้สื่อข่าว" กับ km


แก้ไข เป็น วัตร แล้ว ขอความเห็นด่วยค่ะ

   ได้ไอเดียในการเขียนมาจากนพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล ผอ.พรพ. ในการทำ AAR กันของกลุ่ม km สัญจร เมื่อวันที่ 5-7 ก.ค. 48 ที่ผ่านมา เราทำ AAR กันทั้งนักข่าว ทีมงานสคส.  และคณาจารณ์ที่ร่วมเดินทางไปกับ เรา นพ.อนุวัฒย์ กล่าวว่า วัฏฏะนะของผู้สื่อข่าวเอง ก็มีการการจัดการความรู้อยู่บ้าง และหากท่านเป็นนักข่าว ก็จะลองเขียนเปรียบเทียบวัตร" ของผู้สื่อข่าวกับ km” น้ำจึงลองนึกๆ ดูได้ออกมาอย่างนี้ค่ะ

ใน วัตรของผู้สื่อข่าว

                1. อันดับแรกที่เห็นกันชัดๆ โดยทั่วไป คือ นักข่าวที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ เป็น ผู้จดบันทึก ที่ดี จับประเด็นได้อย่างแม่นยำ ยิ่งนักข่าวที่กระดูกแข็ง ช่ำชองอยู่ในวงการมานาน จะเป็น ผู้จดบันทึก ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด แบบว่าไม่ต้องอัดเทป จับประเด็นสำคัญได้ครบถ้วน ผู้จดบันทึกนี้เอง ก็ตรงกับแนวทาง km ที่เรียกว่า คุณลิขิต

2. ในกรณีของผู้สื่อข่าวนี้ น้ำคิดว่า คุณลิขิต และ คุณกิจ คือคน คนเดียวกัน และไม่น่าจะแปลกที่คุณกิจทุกคนจะเป็นคุณลิขิตได้ทั้งหมด และนับว่าเป็นข้อดี หากคุณกิจสามารถเป็นคุณลิขิตเสียเอง เมื่อเวลาเราทำขุมความรู้ คุณลิขิต จะไม่หลุดประเด็นแน่นอน

3. ส่วนคุณอำนวยน่ะหรือ เปรียบได้กับ บรรณาธิการข่าว หรือ หัวหน้าข่าว ที่ให้แนวทางของข่าวกับผู้สื่อข่าวในพื้นที่สำหรับการสัมภาษณ์

4.คุณเอื้อ ก็น่าจะเป็น บรรณาธิการบริการ กระมังค่ะ ที่คอยสนับสนุนทรัพยากรต่างๆ

5.คุณเชื่อม อันนี้มองได้หลายตัวเชื่อมค่ะ

                5.1 เชื่อมกันภายในกองบรรณาธิการ ก็คือ หัวหน้าเวร (หัวหน้าเวร= หัวหน้าข่าวที่ถูกแต่งตั้งขึ้นมาทำดูงานในภาพรวม ดึงข่าวจากทุกโต๊ะขึ้นหน้าหนึ่ง และคุณเชื่อมจำเป็นต้องรู้ประเด็นสำคัญของข่าวแต่ละโต๊ะ เพื่อชั่งน้ำหนักความเหมาะสมในการดึงมาขึ้นหน้า 1

                5.2 คุณเชื่อมระหว่าง สำนักข่าว กับ สังคมภายนอก ก็น่าจะเป็น ห้วหน้าข่าว หรือ นักข่าวทุกคน ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วจะปฏิสัมพันธ์อยู่กับคนอยู่แล้ว โดยเฉพาะกับแหล่งข่าว

                6.คลังมความรู้ของนักข่าว

                                6.1 อาจจะเป็นการเก็บรวมรวมต้นฉบับหรือที่ออกมาเป็นหนังสือพิมพ์นั้นก็อาจเรียกได้เป็นขุมความรู้ เพราะเมื่อใดที่ข่าวเก่าถูก มีความคืบหน้า ก็จะถูกค้นคว้าขึ้นมาพร้อมสำหรับการต่อยอดสาระนั้นเสนอต่อสาธารณะชนต่อไป

                        6.2 สมุดจดข่าว และ สมุดจดเบอร์โทรศัพท์ แหล่งข่าว
                        6.3และขุมความรู้ของนักข่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ แหล่งข่าว ที่เมื่อใดมีประเด็นที่ต้องการข้อคิดเห็น หรือต้องการความกระจ่างชัดของข่าวเฉพาะทางเมื่อใดต้องนึกถึงผู้รู้คนนั้นๆ เช่น เมื่อนึกถึงการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล นักข่าวจะนึกถึง หมอประเวศ, สุริยะใส กตะศิลา, นึกถึง ธีรยุทธ บุญมี, นึกถึงเสกสรร ประเสริฐกุล, แต่หากจะต้องการความเห็นด้านเศรษฐกิจ ก็อ.ณรงค์ เพร็ชประเสริฐ ,   ด้านสังคม ก็ วิทยากรเชียงกูร  หากต้องการความเห็นด้านสังคมเกี่ยวกับเด็ก ก็ครูหยุ่น ,ด้านสตรี ก็ เจ๊ระเบียบรัฐ, แต่ถ้านึกถึงเรื่อง KM เมื่อใด ก็ต้องนึกถึง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ,ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด เมื่อนั้น

                 นอกจากนี้ทุกสายงานต้องมีการทบทวนเนื้อหาของประเด็นข่าวอยู่เสมอ เช่น นักข่าวสายการเมือง ก็จำเป็นต้องทบทวนพฤติกรรมของนักการเมือง และเหตุการณ์ในอดีตเพื่อเชื่อมร้อยเข้ามา สู่สถานการณ์ปัจจุบัน หรือ วิเคราะห์อธิบายสถานการณ์ในปัจจุบันอย่างเชื่อมโยง เช่นเดียวกับนักข่าวสายเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ฯลฯ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 968เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2005 16:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ไม่แน่ใจว่าเขียน (วัด-ตะ-นะ) ถูกหรือเปล่า

อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล
ทีแรกงงอยู่เหมือนกันว่าใช้คำว่าอะไร เพิ่งนึกได้ว่าคำที่พูดออกไปคือ "วัตร" ครับ

แต่ในกลุ่มของผู้สื่อข่าวมีการทำ km ด้วยหรือครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท