อันดับความสามารถในการแข่งขันของไทย ปี 2550


         ผมได้รับ e-mail แจ้งผลการวิเคราะห์อันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ปี 2550 ของ IMD จาก ดร. ภัทรพงศ์  อินทรกำเนิด  แห่ง สวทช.   อ่านได้ที่นี่ (click)

         ลองพิจารณาเรื่องนี้อย่างจริงจัง   ผมคิดว่าเราควรทั้งจริงจังและไม่จริงจังต่อเกณฑ์ของ IMD    เราควรจะเอาเกณฑ์ของ IMD มาปรับเป็นเกณฑ์ของเราเอง   สำหรับใช้เป็น "ธง" นำการพัฒนาของเราเอง   และสำหรับใช้เป็น "milestones" วัดความสำเร็จของเราเอง  ไม่ควรสะดุ้งตาม IMD มากเกินไป   เพราะบางเกณฑ์ก็ไม่เหมาะสำหรับเราและบางเกณฑ์ที่เราควรมีเขาก็ไม่มี

วิจารณ์  พานิช
 16 พ.ค.50

หมายเลขบันทึก: 96747เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2007 10:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 16:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็นด้วยกับอาจารย์วิจารณ์ แต่อยากชวนอาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านลองตั้งคำถามและช่วนกันตอยด้วยว่า สังคมไทยจะอยู่อย่างมีคุณค่าในสังคมโลกได้อย่างไร เกณฑ์บางตัวในการจัดทำ rankings ต่าง ๆ อาจมาจากกลุ่มคนที่มองคุณค่าในการธำรงอยู่แตกต่างออกไปซึ่งไม่น่าจะต้องเหมือนกันทั้งหมด แต่เรายังคงต้องตอบให้ได้ว่า หากไม่สนใจจะมีผลกระทบที่เราควรต้องสนใจหรือไม่อย่างไร และจะมีเกณฑ์อะไจที่จะสะท้อนคุณค่าของความเป็นไทยให้สังคมโลกขะต้องให้ความสำคัญบ้าง อาจจะต้องมีการระดมสมอง/แลกเปลี่ยนประสบการณ์แบบจริงจัง ซึ่งคงต้องอาศัยผู้ใหญ่ที่มองไกล และมีบารมีช่วยนำด้วยกระมังครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท