กำหนดการ "โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการเป็น CKO, KF"


ขอขอบคุณที่กรุณาอ่านเอกสาร
ที่แนบมาก่อนการเข้าร่วมสัมมนา

กำหนดการ (ฉบับปรับปรุงใหม่)
"โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการเป็น CKO : Chief Knowledge Officer, KF : Knowledge Facilitator"
รุ่นที่ 1 สำหรับผู้บริหารด้านการวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา ระดับคณะวิชา 
วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม 2548 
ณ ทรัพย์ไพรวัลย์ แกรนด์ โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ต

**************************

วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม 2548

06.30 น.– 07.00 น. ขึ้นรถ ณ ลานจอดรถอาคารมิ่งขวัญ มหาวิทยาลัยนเรศวร ส่วนหนองอ้อ (กรุณาตรงเวลา)

07.30 น.– 07.45 น. ขึ้นรถ ณ บัณฑิตวิทยาลัย (เดิม) มหาวิทยาลัยนเรศวร ส่วนสนามบิน (กรุณาตรงเวลา)

07.45 น.– 08.45 น. การเดินทางไปยังทรัพไพรวัลย์ แกรนด์ โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท จ.พิษณุโลก 
                         - กรณีเดินทางไปกับรถที่ทางมหาวิทยาลัยจัดให้ จะมีการลงทะเบียน แจกเอกสาร และป้ายหมายเลขห้องพักสำหรับติดกระเป๋าเดินทางระหว่างการเดินทาง (กรุณาติดหมายเลขห้องที่กระเป๋าให้เรียบร้อยก่อนลงจากรถ เพื่อพนักงานของทางโรงแรมจะได้นำกระเป๋าไปยังห้องพักอย่างถูกต้องทันทีที่ลงจากรถ)

                         **กรุณาอย่านำของมีค่าไว้ในกระเป๋า ** 

                         - กรณีเดินทางไปเอง จะมีเจ้าหน้าที่ของโรงแรมบริการด้านห้องพักและเก็บกระเป๋าของท่านบริเวณเคาเตอร์ของโรงแรม และลงทะเบียนรับเอกสารบริเวณหน้าห้องสัมมนา

08.45 – 09.15 น. รับประทานอาหารเช้าที่ห้องอาหาร

09.15 – 09.30 น. เกริ่นนำกระบวนการเสวนา และชี้แจงวัตถุประสงค์

09.30 – 10.15 น. ผู้เข้าร่วมเสวนาแนะนำตัว ฝึก “Dialogue” และ “Deep Listening”

10.15 – 10.30 น. รับประทานอาหารว่าง

10.30 – 10.45 น. - นำเสนอ ธารปัญญา (River Diagram) และ บันไดแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  (Stair Diagram) ด้านการวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา 
                        
- นำเสนอ KPIs ด้านวิจัย และประกันคุณภาพของ สกอ. สมศ. กพร.

10.45– 12.00 น. แบ่งกลุ่ม ออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหาร QA 2 กลุ่ม และผู้บริหารวิจัย 2 กลุ่ม กลุ่มละประมาณ 10 คน เพื่อ 
                        
- สร้าง “ขุมความรู้” (Knowledge Assets) และสังเคราะห์ “ขุมความรู้” เป็น “แก่นความรู้ (Core competence)” ในลักษณะการเล่าเรื่อง (Storytelling) ในหัวข้อ “การบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษา หรือ งานวิจัย ที่มีผลสำเร็จ” โดยเล่าถึงปัญหาอุปสรรคข้อขัดข้องต่างๆ และการดำเนินการอย่างไรที่ทำให้เกิดผลสำเร็จภายในคณะวิชาของตนเอง หัวปลา (KV) คือ ทำอย่างไรให้ผลการประเมินด้านวิจัยและประกันคุณภาพออกมาดีที่สุดโดยพุ่งเป้าไปที่ 
                        
1. วิจัย : Research - Based Faculty และ Top ten 
                        
2. ประกันคุณภาพ : ผลประเมินทุกตัวบ่งชี้ เท่ากับหรือมากกว่า 3 และ ค่าเฉลี่ยโดยรวม เท่ากับหรือมากกว่า 4.5

12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 14.30 น. แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนเพื่อนำเสนอ ในหัวข้อ 
                        
- เรื่องเล่าเร้าพลังที่คิดว่าเป็น best practice ในลักษณะการเล่าเรื่อง 
                        
(Storytelling) (กลุ่มละประมาณ 10 นาที) 
                        
- “ขุมความรู้” (Knowledge Assets) ที่ได้จากการเล่าเรื่อง 
                        
(กลุ่มละประมาณ 10 นาที)

14.30 – 14.45 น. รับประทานอาหารว่าง

14.45 – 15.15 น. สรุป “ขุมความรู้” (Knowledge Assets) ที่ได้จากทุกกลุ่มในภาพรวมเป็น “แก่นความรู้ (Core competence)” ด้านการวิจัย และด้านประกันคุณภาพ โดยใช้ Card Technique

15.15 – 15.30 น. นำเสนอ “แก่นความรู้ (Core competence)” ด้านการวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา (ด้านละประมาณ 5 นาที)

15.30 – 16.30 น. สรุปรวบยอดความรู้พื้นฐาน ความสำคัญ และ key word ของการจัดการความรู้ ในการเป็น CKO : Chief Knowledge Officer, KF : Knowledge Facilitator

16.30 – 16.45 น. ผู้เข้าร่วมเสวนาเขียน AAR (After Action Review)

16.45 – 17.30 น. รวมกลุ่ม “Dialogue” และ “Deep Listening” เกี่ยวกับ AAR (After Action Review) / Plassion Plan

17.30 – 18.30 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย

18.30 – 21.30 น. รับประทานอาหารเย็นพร้อมคาราโอเกะ (เชิญท่านอธิการบดีเข้าร่วม)

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม 2548

07.00 น.– 08.00 น. รับประทานอาหารเช้าที่ห้องอาหาร

08.00 น.– 09.00 น. เดินทางกลับสู่มหาวิทยาลัยนเรศวรโดยสวัสดิภาพ เพื่อปฏิบัติงานตามปกติ

หมายเหตุ : 
         1. กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียด ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์จริง

         2. การแต่งกายวันที่ 19 ธ.ค. ชุดไปรเวท, วันที่ 20 ธ.ค. ชุดสุภาพพร้อมกลับมาปฏิบัติงานตามปกติ

         3. ผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่านควรหาโอกาสศึกษาความรู้เรื่อง KM ด้วยตนเองก่อนการเข้าร่วมสัมมนาจาก

         - หนังสือ “การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ” เขียนโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช หน้า 138 – 148 (เอกสารแนบท้าย) (ควรอ่านก่อนเข้าร่วมการสัมมนา) (Click เพื่ออ่าน)
         - หนังสือ “การจัดการความรู้ ฉบับมือใหม่หัดขับ” เขียนโดย ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด (เอกสารแจกในงาน) 
         - blog ของ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช และ ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด ที่ www.Gotoknow.org 
 
        - หนังสือ “การจัดการความรู้ กระบวนการปลดปล่อยมนุษย์ สู่ศักยภาพ เสรีภาพ และความสุข” เขียนโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี (เอกสารแจกในงาน) 
         - e-learning NUKM (สามารถขอรับได้ที่ QAU)

         วิบูลย์ วัฒนาธร

 

คำสำคัญ (Tags): #workshop#cko#kf
หมายเลขบันทึก: 9671เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2005 12:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท