นกน้อยหัดบิน


Peer assist: เพื่อนช่วยเพื่อน

หนังสือ Learning to Fly ของ Chris Collison & Geoff Parcell สอนให้นกน้อยหัดบิน โดยเรียนรู้ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการฝึกบิน ในช่วงก่อนการฝึกบิน ไม่ควรผลีผลาม ต้องศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อน ถ้าในกลุ่มด้วยกันเองเกิดมาพร้อมๆ กัน ไม่มีใครสอนใครได้ ก็ต้องพึ่งผู้ที่อาวุโสกว่า ซึ่งผ่านประสบการณ์นี้มาแล้วมาช่วยสอน  เป็นการเรียนรู้แบบลัดและได้ผลเร็วที่สุด

วันที่ 14 และ 15 ธ.ค. 48  นกน้อย NU_AHS ซึ่งยังอยู่ในขั้นเริ่มฝึกบิน และทะเยอทะยานใฝ่สูง อยากจะเริ่มด้วยท่ายากถึง 2 ท่า ท่าแรก  เป็นโครงการวิจัยชุดของกลุ่มอาจารย์สหเวชฯด้านหัวใจและหลอดเลือด  ท่าที่สองเป็นโครงการวิจัยสถาบันของกลุ่มบุคลากรสำนักงานเลขานุการสหเวชฯ เรื่องต้นทุนการผลิตบัณฑิตต่อหัว

การเรียนรู้ก่อนบินของกลุ่มอาจารย์ ในโครงการวิจัยชุดด้านหัวใจและหลอดเลือด เริ่มต้นเมื่อเดือนตุลาคม เป็นการจูนคลื่น KV (เป้าประสงค์ของการทำชุดวิจัย) ให้มีความชัดเจนในกลุ่มกันเสียก่อน  และแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นกันว่า  ชุดวิจัยประกอบด้วยประเด็นใดบ้าง เรื่องไหนสำคัญกว่า ลำดับก่อนหลังการดำเนินงานเป็นอย่างไร และร่วมเข้าชื่อเป็นผู้วิจัยร่วมในแต่ละกลุ่มกันไปแล้ว

มาเดือนนี้ ( 14 ธันวาคม 48 ) จ่าฝูง(ดร.ศิริลักษณ์ ธีระภูธร ท่านรองคณบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ)  ลุยงานต่อด้วย idea ที่เยี่ยมยอดสมกับเป็น KF ของคณะ  นั่นก็คือการจัดกิจกรรม Peer assist ด้วยการเชิญ คุณหมอโตมร ทองศรี จากแผนกอายุรกรรม รพ.พุทธชินราชพิษณุโลก มาให้ข้อเสนอแนะตามทัศนะของแพทย์ดูบ้าง ดิฉันติดภารกิจไม่สามารถเข้าร่วมได้   แต่เมือถามไถ่จากผู้เข้าร่วมหลายๆท่าน  ก็อดปลื้มใจไม่ได้ที่ผลการจัดกิจกรรมครั้งนี้เป็นที่พึงพอใจของอาจารย์ทุกสาขา

ยุทธวิธีแบบนี้ก็นำมาใช้ในการฝึกบินท่าวิจัยสถาบัน เรื่องต้นทุนการผลิตบัณฑิตต่อหัว ของสำนักงานเลขานุการคณะเช่นกัน  ตอนขยับปีก คุณอนุวัทย์  เรืองจันทร์ (หัวหน้าสำนักงานเลขานุการ) ก็เป็นจ่าฝูง นำด้วยการเรียนเชิญท่านอาจารย์เทียมจันทร์ (รองศาสตราจารย์เทียมจันทร์  พานิชผลินไชย รองคณบดีฝ่ายนโยบายและแผนคณะศึกษาศาสตร์ มน.) บุคคลผู้ซึ่งเป็นทั้งครู นักวิจัย และนักบริหารชั้นยอด  ที่แทบจะไม่มีชาว มน.ท่านใด ไม่รู้จัก มาให้ความรู้ความเข้าใจ เรื่องการวิจัยสถาบันกันเมื่อเดือนที่ผ่านมา  และเดือนนี้อีกเช่นกัน ( 15 ธันวาคม 48 ) ก็จัดกิจกรรม Peer assist ด้วยการเชิญ คุณรุ้งทอง จากกองแผน และคุณปราณี จากงานแผนคณะศึกษาฯ  มาช่วยชี้แนะและเล่าประสบการณ์ที่มีคุณค่ามากมายแก่ชาวสหเวชฯ   ทำให้เค้าลางของงานวิจัยสถาบันเริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นทีละเล็กละน้อย

นกน้อย NU_AHS ยังกระเตาะกระแตะ ถลาบินอย่างไม่คล่องแคล่วและร่วงตกลงสู่พื้นเจ็บเนื้อเจ็บตัวอีกหลายครั้ง บทเรียนระหว่างฝึกบิน  คงช่วยให้บินได้แข็งขึ้นเรื่อยๆ ต้องหมั่นย่อยบทเรียนจากการปฏิบัติ บันทึกไว้บน Blog นี้ (เตือนตัวเองๆๆ)

 

หมายเลขบันทึก: 9667เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2005 22:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 12:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ขอยืนเชียร์ เอาใจช่วยด้วยอีกคนครับ ขอขอบคุณที่เอาความริเริ่มดี ๆ นี้มาลง blog เชื่อว่าจะเป็นตัวกระตุ้นหรือเป็นตัวแบบให้กับคณะอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดีอีกทางหนึ่งด้วยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท