การจ่ายขาดเงินสะสม


จ่ายขาดเงินสะสม

คำถามจากน้องที่ทำงานอยู่เทศบาลแห่งหนึ่ง พอดีผมตอบทางอีเมล์แล้ว แต่เมล์ตีกลับ อาจจะพิมพ์ชื่ออีเมล์ผิดพลาด ก็เลยนำคำถามมาลงไว้ และฝากท่านผู้รู้ได้ช่วยกันแสดงความคิดเห็นยและคำตอบนะครับ

คำถามมีอยู่ว่า

        ตาม พรบ.เทศบาล 2496 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉ.12) 2546)  มาตรา 67 ทวิ การจ่ายเงินตามมาตรา 67(8)  และการจ่ายเงินเพื่อการลงทุน เทศบาลจะกระทำได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากสภาเทศบาลและ ผวจ.อนุมัติแล้ว
        ถามว่า  การจ่ายขาดเงินสะสม  ในหมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง เมื่อสภาเทศบาลอนุมัติแล้ว  ต้องให้ ผวจ.อนุมัติด้วยหรือไม่
ตามระเบียบฯ มท ว่าด้วยการรับเงินฯ  2547  ข้อ 89 อปท.อาจใช้จ่ายเงินสะสมได้โดยได้รับอนุมัติจากสภาท้องถิ่นภายใต้เงื่อนไข

คำตอบผมตอบไว้ดังนี้ครับ (ส่งอีเมล์แล้วถูกตีกลับครับ)

      คำตอบนี้ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ เพราะยังไม่สามารถหาหนังสือสั่งการมาอ้างอิงได้ และเรื่องนี้อ้ำอึ้งกันมานานแล้ว ว่าจะใช้กฎหมายหรือใช้ระเบียบดี เอาความเข้าใจก่อน

    1.กฎหมายนะออกมานานแล้วสมัยก่อนระเบียบก็กำหนดนะว่าพอสภาเทศบาลอนุมัติให้จ่ายขาดเงินสะสมแล้ว ก็ต้องขอรับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดก่อน แล้วนำมาทำเทศบัญญัติเสนอต่อสภา อันนั้นสมัยนั้น ต่อมาก็เปลี่ยนระเบียบใหม่
    2.เข้าใจว่าตามกฎหมายมาตรา 67 ทวิ พูดเรื่องรายจ่ายของเทศบาลตามเทศบัญยัติงบประมาณรายจ่าย คือการจะจ่ายเงินสะสมกับงบลงทุนต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดก่อน หมายความว่า
        2.1 ถ้างบทั้งสองรายการมีในงบประมาณแล้วก็สามารถจ่ายได้เลย(เพราะผู้ว่าราชการจังหวัดได้อนุมัติงบประมาณแล้ว)
        2.2 ถ้ายังไม่มีในงบประมาณหรืองบประมาณยังไม่ได้ผ่านสภาและมีผลบังคับใช้ ก็ยังไม่สามารถใข้เงินอุดหนุนกับงบลงทุนได้ (แต่งบประมาณหมวดอื่นใช้ได้ เช่นเงินเดือน ค่าใช้สอย ฯลฯ โดยใช้งบประมาณปีที่ล่วงมาเป็นเกณฑ์) 
     3.ในส่วนของระเบียบนั้น เป็นเรื่องของการจ่ายขาดเงินสะสม ซึ่งไม่ใช้การใช้จ่ายเงินตามงบประมาณ เพราะไม่ต้องนำไปเข้างบประมาณ(เข้าใจเอาว่าเป็นคนละเรื่องกับเงินรายจ่ายตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.เทศบาลฯ) และหากระเบียบต้องการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติในระเบียบก็จะกำหนดไว้ชัดเจนว่าต้องขออนุมัติผู้ว่าราชการจังหวัด เช่นตามระเบียบฯข้อ 87 วรรค 2
       เพราะฉนั้นจึงอยู่ที่การตีความของปลัดเทศบาลแต่ละคนว่าต้องการทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก หรือต้องการทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องง่ายๆ ถ้าต้องการทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก เวลาจะขออนุมัติจ่ายขาดเงินสะสมก็อ้างระเบียบประกอบ พ.ร.บ.เทศบาล ก็จะยากเพราะต้องขออนุมัติผู้ว่าราชการจังหวัดด้วย
ถ้าต้องการทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องง่าย ก็อ้างระเบียบอย่างเดียว

หมายเลขบันทึก: 96640เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2007 19:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 สิงหาคม 2012 18:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)
คนเทศบาลเหมือนกัน

ระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายขาดเงินสะสมมีการปรับปรุง (เิพิ่มเติม)ถ้าจำไม่ผิด พ.ศ.2549ขอให้หามาประกอบและถือปฏิบัติตามนั้นด้วยน๊ะค๊ะ

เรื่อง เมือสภาอนุมัิติ เมื่่่อส่งรายงานประชุมสภาให้จังหวัดก็มีผลบังคับใช้ได้เลย

เคยเจอกรณีคล้าย ๆ แบบนี้ค่ะ แต่เป็นการโอนงบประมาณไปตั้งจ่ายใหม่เป็นค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้างค่ะ สภาฯ มีมติเห็นชอบแล้ว แล้วท่านปลัดก็ตีความว่าจะต้องเสนอให้ผู้ว่าฯ อนุมัติ ซึ่งในระเบียบฯ ได้มอบอำนาจให้นายอำเภอ ปฏิบัติราชการแทน

ก็เห็นด้วยกับท่านปลัดฯ นะค๊ะ เพราะว่ารายจ่ายต่าง ๆ ในงบประมาณรายจ่ายประจำปีนั้นต้องผ่านความเห็นชอบจากสภาฯ และผู้ว่าฯ แล้ว ถึงจะจ่ายได้

ส่วนรายการที่ตั้งจ่ายขึ้นมาใหม่นั้น ไม่ได้อยู่ในงบประมาณรายจ่ายประจำปี  เมื่อขอโอนไปตั้งจ่ายใหม่หรือจ่ายขาดจากเงินสะสม ถ้าสภาฯ เห็นชอบแล้ว ก็ยังไม่น่าจะจ่ายได้ เพราะผู้ว่าฯ ยังไม่อนุมัติ (ตาม พ.ร.บ.เทศบาลฯ) ค่ะ

 

ขอทราบหลักการที่เทศบาลจะกู้เงินเพื่อมาดำเนินการตามกิจการของเทศบาลว่ามีหลักสำคัญอย่างไรบ้าง

นายเกียรติศักดิ์ บุตรมาลา

เมื่อดำเนินการจ่ายขาดเงินสะสมเรียบร้อยแล้ว

- จนท.พัสดุ จะต้องจัดทำแผนการจัดหาพัสดุหรือไม่

- แนวทางการดำเนินการจััดหาพัสดุตามโครงการจ่ายขาดเงินสะสมจะทำอย่างไร

ขอบคุณมากครับ จาก อบต.

เมื่อดำเนินการขออนุมัติจ่ายขาดเงินสะสมเรียบร้อยแล้ว การดำเนินการขั้นตอนต่อไปก็เป็นเรื่องของการดำเนินการจัดซื้อ จัดจ้างตามระเบียบพัสดุ ซึ่งไม่มีอะไรพิเศษ ก็คิดว่าเป็นเงินรายจ่ายตามงบประมาณตัวหนึ่งแค่นั้นเอง เคยทำแผนจัดหาพัสดุก็ทำ ทำบันทึกขออนุมัติสั่งซื้อ สั่งจ้าง วงเงินและวิธีการจัดซื้อจัดจ้าง การแต่งตั้งคณะกรรมการคณะต่างๆ เหมือนกับการจ่ายจากเงินงบประมาณทั้งสิ้น

ขอทราบเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างทุกกรณี ระเบียบว่าด้วยพัสดุฯ ห้ามไม่ให้ฝ่ายบริหารเป็นคณะกรรมการตรวจการจ้างและคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ใช่หรือไม่

หากใช่แล้วแบนี้ ข้าราชการที่เป็นคณะกรรมการดังกล่าวมิตายหรือ

ขอความกรุณาช่วยส่งระเบียบพัสดุที่ใช้เป็นมาตราฐานด้วยครับ

พัสดุมือใหม่

เพิ่มเติมเรื่องการจ่ายขาดเงินสะสมนะครับ

1.คำว่าจ่ายขาดเงินสะสมไม่มีแล้ว ตามระเบียบใช้คำว่าใช้จ่ายเงินสะสม

2.การใช้จ่ายเงินสะสมสามารถดำเนินการได้ตามระเบียบ คือวัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายตามที่กำหนดในระเบียบ และขอรับความเห็นชอบจากสภาท้องถิ่น

3.สำหรับเทศบาลเมื่อสภาเทศบาลได้อนุญาตให้ใช้จ่ายเงินสะสมแล้ว ก่อนใช้จ่ายเงินต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด ตาม พ.ร.บ.เทศบาล ด้วย ซึ่งเรื่องนี้ทางเจ้าหน้าที่ของกรมฯชี้แจงว่า เนื่องจาก พ.ร.บ.เทศบาล มีบังคับใช้อยู่ก่อน และไม่ได้มีการแก้ไขหรือยกเลิก จึงต้องถือปฏิบัติ สำหรับ อบต. หรือ อบจ. ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ จึงไม่ต้องขออนุมัติต่อ ผวจ.

เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันนะครับ

ระเบียบพัสดุไม่ได้ห้ามแต่งตั้งข้าราชการการเมืองเป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ ก็จริง แต่ก็เหมือนห้าม เพราะกำหนดให้ แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุจาก ข้าราชการส่วนท้องถิ่น หรือข้าราชการอื่นตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป ระเบียบพัสดุที่เป็นมาตราฐานหาได้ในอินเทรอ์เน็ต หรือ ในเว็บไซท์ของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ในหมวดระเบียบ กฎหมายครับ

เพิ่มเติมเรื่องการจ่ายขาดเงินสะสม นะครับ ปัจจุบันกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้มีหนังสือที่ มท ๐๘๐๔.๓/ว ๔๙๐ ลงวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๓ เรื่อง หารือเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.๒๔๙๖ ส่งสำเนาหนังสือของ

(๑).กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่ มท ๐๘๐๔.๓/๒๐๑๓ ลงวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๓ เรื่อง ขอหารือการจ่ายเงินเพื่อการลงทุนตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.๒๔๙๖ ถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ มีสาระสำคัญคือ การตีความคำว่า การจ่ายเงินเพื่อการลงทุน ตามมาตรา ๖๗ ทวิ ซึงกำหนดว่า การจ่ายเงินตามมาตรา ๖๗(๘) และการจ่ายเงินเพื่อการลงทุน เทศบาลจะกระทำได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากสภาเทศบาลและผู้ว่าราชการจังหวัดแล้ว สรุปว่า คำว่ารายจ่ายเพื่อการลงทุนนั้น หมายความถึง การนำเงินไปใช้จ่ายลงทุนเพื่อแสวงหากำไร ไม่ใช่รายจ่ายที่เป็น ครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง หรือทรัพย์สินอื่น ดังนั้นการใช้จ่ายเงินสะสมที่ไม่ใช่เพื่อนำไปลงทุนแสวงหากำไร จึงไม่เข้าด้วยบทบัญญัติในมาตรา ๖๗ ทวิ จึงไม่ต้องขอรับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดก่อนใช้จ่าย สำหรับการใช้จ่ายเงินสะสมเพื่อไปตั้งจ่ายเป็นเงินอุดหนุนนั้น ไม่สามารถกระทำได้ ตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนมาก ที่ มท ๐๘๐๘.๒/ว ๗๔ ลงวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๓ ที่กำหนดให้ใช้จ่ายเงินอุดหนุนได้เฉพาะงบประมาณที่ตั้งจ่ายไว้ในหมวดเงินอุดหนุนเท่านั้น

(๒) หนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่ มท ๐๘๐๔.๓ / ๒๐๑๔ ลงวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท ตอบข้อหารือในทำนองเดียวกัน

(๓) หนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่ มท ๐๘๐๔.๓/ ๒๐๑๕ ลงวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ตอบข้อหารือในทำนองเดียวกัน

สรุปก็คือ การใช้จ่ายเงินสะสม ถ้าไม่ได้ใช้จ่ายเพื่อนำไปลงทุนแสวงหาผลกำไร ก็ไม่ต้องขอรับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัด ถึงแม้จะเป็นการใช้จ่ายในหมวดค่าครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้างก็ตาม แต่ก็มีข้อระมัดระวังในการใช้จ่ายเงินสะสมของเทศบาลไว้ตามสมควร คือตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๘ ข้อ ๘๙ กำหนดไว้ว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจใช้จ่ายเงินสะสม โดยได้รับอนุมัติจากสภาท้องถิ่นภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้

(๑) ให้กระทำได้เฉพาะกิจการซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

(๒) ต้องเป็นไปตามแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือตามที่กฎหมายกำหนด

(๓) ได้มีการส่งเงินสมทบกองทุนส่งเสริมกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามระเบียบแล้ว

และใช้จ่ายได้ภายใต้เงื่อนไขดังนี้

(๑) ที่เกี่ยวกับด้านการบริการชุมชนและสังคม

(๒) กิจการที่เป็นการเพิ่มพูนรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

(๓) กิจกรรมที่ทำเพื่อบำบัดความเดือดร้อนของประชาชน

ถ้ากรณีจ่ายขาดเงินสะสมของเทศบาล เพื่อชำระหนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี ที่กู้เพื่อเป็นเงินทุนสำรองในการรับจำนำของสถานธนานุบาลในระยะเริ่มแรก ซึ่งเทศบาลต้องรับผิดชอบไม่ผลักภาระให้สถานธนานุบาล กรณีนี้จะทำได้หรือไม่

ปกติผมทำโอดีกับธนาคารให้กับโรงรับจำนำ ก็ไม่เคยเอาเงินของเทศบาล หรือเอาเงินสะสม ไปใช้หนี้ให้นะครับ เลยไม่ทราบจริงๆว่ามีระเบียบให้ทำได้หรือเปล่า เราโอดีให้โรงรับจำนำ เพื่อเป็นทุนสำรองรับจำนำของ มันไม่ขาดทุนอยู่แล้ว เพราะดอกเบี้ยรับจำนำจะสูงกว่าดอกเบี้ยที่จ่ายให้ธนาคาร (เว้นแต่ไปเอาธนาคารที่คิดดอกแพงกว่า) เพราะฉะนั้นโรงรับจำนำก็มีหน้าที่ต้องส่งใช้ดอกเบี้ยไป ส่วนเงินต้นก็เป็นหนี้ไป เมื่อทุนสำรองหมดก็โอดีเพิ่มอีก เพราะเงินทุน ได้เปลี่ยนไปเป็นของที่รับจำนำไว้ เมื่อของขาดส่งดอก ก็นำออกจำหน่าย เป็นทุนหมุนเวียนของโรงรับจำนำ ลองสอบถาม จ.ส.ท.ดูนะครับ ว่ามีระเบียบให้ทำได้หรือไม่ โรงรับจำนำผมโอดีธนาคารไว้หกสิบกว่าล้านแล้ว ยังไม่เคยส่งต้นเลย ชำระแต่ดอกเบี้ย หมดก็ทำโอดีเพิ่ม

ถ้าอนุมัติจ่ายขาดเงินสะสมแล้ว ในปีงบประมาณ 49 (กุมภา)และก่อหนี้ผูกพัน ทันกำหนด เบิกจ่ายเงิน 50% แรกของงบประมาณที่อนุมัติ(ขยายเขตไฟฟ้า )เดือน พ.ค.

แต่งานเสร็จไม่ทัน กองคลังขอกันเงิน ต่อมางานส่งมอบงานอีกปีงบประมาณถัดมา (ต.ค.50) แต่ไม่ได้เบิกจ่าย 50%หลัง เพราะไม่ได้รับใบแจ้งหนี้

ผ่านมาหลายปี จนถึง ก.พ.53 มีใบแจ้งหนี้มา

กรณีหนี้จะดำเนินการอย่างไร?

ความเห็นของผู้ถาม เห็นว่า กรณีดังกล่าว สามารถเบิกจ่าย50%หลังได้เลยจากเงินสะสมที่ได้รับอนุมัตินั้น ตาม รบ.มท.ว่าด้วยการรับเงิน ฯฉบับที่ 2 2548 ข้อ 89 (3) เมื่อได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินสะสมแล้ว อปท.ต้องดำเนินการก่อหนี้ผูกพันให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปีถัดไป........... กรณีผู้ถามเห็นว่ามีความสมบูรณ์แล้ว เงินสะสมที่ได้อนุมัติไว้ยังคงอยู่เป็นเงินสะสมเหมือนเดิม แม้กองคลังจะกันเงินไว้ โดยอ้างตามข้อ 57 ระเบียบเดียวกัน แต่ผู้ถามเห็นว่า กรณี ข้อ57 เป็นเรื่องเป็นการก่อหนี้ของเงินงบประมาณประจำปี เพราะใช้คำว่า การเบิกจ่ายเงินไปชำระหนี้ผูกพันไม่ทันสิ้นปี "คำว่าสิ้นปี" หมายถึงปีงบประมาณ แต่กรณีเงินสะสม มีอายุหลังจากที่ได้รับอนุมัติระยะเวลาหนึ่งปีถัดมา ไม่เกี่ยวข้องกัน ดังนั้นการกันเงินจึงไม่ถูกต้องตามระเบียบนำมาพิจารณาไม่ได้

ความเห็นของผู้ถามถูกต้องหรือไม่ กรุณาตอบด้วย E-mail :[email protected] ขอขอบคุณมาล่วงหน้า

จนท.วิเคราะห์5

-การขออนุมัติในการใช้เงินทุกครั้ง(อะไรๆก็ต้องขอ ใช่หรือไม่)ไม่ทราบว่าอปท.ได้นำมาตรา 283 และ ม.6 แห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาประกอบในการพิจารณาด้วยหรือไม่

-เน้น หากทำให้ อปท.ไม่มีอิสระในการกำหนดนโยบาย การเงินการคลัง คงทำไม่ได้

การใช้จ่ายเงินสะสมในการจัดซื้อครุภัณฑ์(เตาเผาขยะ)ได้หรือไม่..? อย่างไร..?

เรียน สอบถามว่า

             สภาเทศบาลมีมติอนุมัติจ่ายขาดเงินสะสม โครงการเมื่อวันที่  24  มีนาคม  2553

แล้วเราจะสอบราคา ณ วันที่  17  มีนาคม  2554  สามารถทำได้ไหม

ตามระเบียบ ข้อ  89  (3)     คำว่าหนึ่งปีถัดไป  หมายความว่าอย่างไร

ตอบ #2391819

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงินการฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๗

ข้อ ๕  ในระเบียบนี้

ฯลฯ

(๒๖) “ปี” หมายความว่า ปีงบประมาณ

ดังนั้นคำว่าปีถัดไป จึงหมายความถึงปีงบประมาณถัดไป ครับ อนุมัติใช้จ่ายเงินสะสม(ในระเบียบไม่มีคำว่าจ่ายขาดนะครับ) เมื่อ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๓ ก็แสดงว่าอนุมัติในปีงบประมาณ ๒๕๕๓ (๑ ต.ค.๕๒ - ๓๐ ก.ย.๕๓) ต้องก่อหนี้ให้แล้วเสร็จในปีงบประมาณถัดไป คืองบประมาณ ๒๕๕๔ (๑ ต.ค.๕๓-๓๐ ก.ย.๕๔)

สามารถดำเนินการได้ครับ

ตอบ #2204237

การใช้จ่ายเงินสะสมจะต้องอยู่ในเงื่อนไขดังต่อไปนี้ โดยเฉพาะข้อ ๘๙ (๑)

ข้อ ๘๙[๒]  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจใช้จ่ายเงินสะสมได้ โดยได้รับอนุมัติจากสภาท้องถิ่นภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้

(๑) ให้กระทำได้เฉพาะกิจการซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเกี่ยวกับด้านการบริการชุมชนและสังคม หรือกิจการที่เป็นการเพิ่มพูนรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือกิจการที่จัดทำเพื่อบำบัดความเดือดร้อนของประชาชน ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือตามที่กฎหมายกำหนด

(๒) ได้ส่งเงินสมทบกองทุนส่งเสริมกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทตามระเบียบแล้ว

(๓) เมื่อได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินสะสมแล้ว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องดำเนินการก่อหนี้ผูกพันให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปีถัดไป หากไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนดให้การใช้จ่ายเงินสะสมนั้นเป็นอันพับไป

ทั้งนี้ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมียอดเงินสะสมคงเหลือเพียงพอที่จะจ่ายค่าใช้จ่ายประจำและกรณีฉุกเฉินที่มีสาธารณภัยเกิดขึ้น โดยการใช้จ่ายเงินสะสมให้คำนึงถึงฐานะการคลัง และเสถียรภาพในระยะยาว

ขอทราบหลักเกณฑ์ หรือหนังสือสั่งการ ในการขอกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินเพื่อดำเนินกิจกรรมตามภารกิจของเทศบาล

พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.๒๔๙๖

มาตรา ๖๖ เทศบาลอาจมีรายได้ ดังต่อไปนี้

(๑) ภาษีอากรตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้

(๒) ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับ ตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้

(๓) รายได้จากทรัพย์สินของเทศบาล

(๔) รายได้จากการสาธารณูปโภคและเทศพาณิชย์

(๕) พันธบัตร หรือเงินกู้ ตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้

(๖) เงินกู้จากกระทรวง ทบวง กรม องค์การ หรือนิติบุคคลต่าง ๆ

(๗) เงินอุดหนุนจากรัฐบาลหรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด

(๘) เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นที่มีผู้อุทิศให้

(๙) รายได้อื่นใดตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้

การกู้เงินตาม (๖) เทศบาลจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสภาเทศบาล และได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้ว

คนจาก อบต. เป็น เทศบาล

ถามผู้รู้ค่ะว่า เทศบาลจะก่อสร้างสำนักงานแห่งใหม่ สามารถใข้จ่ายเงินสะสมทั้งหมด ประมาณ 70 ล้าน โดยไม่ต้องตั้งงบประมาณรองรับไว้ได้หรือไม่ ทั้งนี้ไม่กระทบฐานะการคลัง

ขอบคุณค่ะ

ถ้าเป็นไปตามหลักเกณฑ์นี้ก็จ่ายได้ครับ

ตอบ #2204237การใช้จ่ายเงินสะสมจะต้องอยู่ในเงื่อนไขดังต่อไปนี้ โดยเฉพาะข้อ ๘๙ (๑) ข้อ ๘๙  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจใช้จ่ายเงินสะสมได้ โดยได้รับอนุมัติจากสภาท้องถิ่นภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑)ให้กระทำได้เฉพาะกิจการซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเกี่ยวกับด้านการบริการชุมชนและสังคม หรือกิจการที่เป็นการเพิ่มพูนรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือกิจการที่จัดทำเพื่อบำบัดความเดือดร้อนของประชาชน ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือตามที่กฎหมายกำหนด (๒) ได้ส่งเงินสมทบกองทุนส่งเสริมกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทตามระเบียบแล้ว (๓) เมื่อได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินสะสมแล้ว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องดำเนินการก่อหนี้ผูกพันให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปีถัดไป หากไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนดให้การใช้จ่ายเงินสะสมนั้นเป็นอันพับไปทั้งนี้ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมียอดเงินสะสมคงเหลือเพียงพอที่จะจ่ายค่าใช้จ่ายประจำและกรณีฉุกเฉินที่มีสาธารณภัยเกิดขึ้น โดยการใช้จ่ายเงินสะสมให้คำนึงถึงฐานะการคลัง และเสถียรภาพในระยะยาว

"ขออนุญาตนำมาตอบไว้ตรงนี้นะครับ เพราะตอบทางอีเมล์แล้วมีตีกลับ อาจลงอีเมล์ที่ไม่มีอยู่จริง"

จ่ายเงินสะสม.pdf


๑.ข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่นกำหนดว่าญัตติที่เสนอโดยสมาชิกต้องมีสมาชิกรับรองและถ้าเป็นญัตติที่เกี่ยวกับการเงินต้องให้นายกฯรับรองการที่นายกฯไม่ได้รับรอง ทำให้ญัตตินั้นไม่ชอบด้วยข้อบังคับการประชุมฯ
๒.หนังสือสั่งการของกระทรวงมหาดไทยที่ มท ๐๘๐๘.๒/ว ๒๐๘๖ ลงวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๙ เรื่องการเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายเงินสะสมเพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและสนับสนุนการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล สั่งการห้ามไว้โดยชัดเจนห้ามนำเงินสะสมไปซื้อรถยนต์ส่วนกลาง รวมถึงรถบรรทุกน้ำด้วย
๓.ให้บันทึกความเห็นเสนอในสองประเด็นนี้แย้งไว้เป็นหลักฐาน หากผู้บริหารยืนยันที่จะดำเนินการก็ต้องรับผิดชอบเอง ผู้แย้งไม่ต้องรับผิด
๔.หากผู้บริหารไม่เชื่อมั่นสามารถหารือแนวทางปฏิบัติไปที่กำกับดูแลได้


Date: Thu, 2 Jun 2016 11:55:53 +0700
From: [email protected]
To: [email protected]
Subject: [gotoknow.org] สภาอบต.ขอจ่ายขาดเงินสะสมซื้อรถบรรทุกน้ำ


จาก: นิติกรมือใหม่ [email protected]

หัวข้อ: สภาอบต.ขอจ่ายขาดเงินสะสมซื้อรถบรรทุกน้ำ

—————————————

สภาอบต.ลงมติขอซื้อรถบรรทุกน้ำ ซึ่งนายกอบต.ไม่ได้รับรอง

อ้างว่ารถคันเก่าใช้มาสิบปีชำรุดเสียหายไม่สามารถซ่อมได้

ซึ่งไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดไม่ชัดเจนเรื่องความเร่งด่วนและการทำประชาคม

เกรงว่าถ้ามีคำสั่งจ่ายขาดเงินสะสมครั้งนี้แล้ว

ภายหลังเรียกชดใช้เงินเฉพาะรายส่วนผู้เสนอก็รอดตัวไป

พอะมีแนวทางการแก้ไขปัญหาไหมคะ

ขอสอบถาม เราจะดำเนินขอการใช้จ่ายเงินสะสมจะต้องอยู่ในเงื่อนไขดังต่อไปนี้ โดยเฉพาะข้อ ๘๙ (๑)

ข้อ ๘๙[๒] องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจใช้จ่ายเงินสะสมได้ โดยได้รับอนุมัติจากสภาท้องถิ่นภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้

(๑) ให้กระทำได้เฉพาะกิจการซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเกี่ยวกับด้านการบริการชุมชนและสังคม หรือกิจการที่เป็นการเพิ่มพูนรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือกิจการที่จัดทำเพื่อบำบัดความเดือดร้อนของประชาชน ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือตามที่กฎหมายกำหนด ทางเทศบาลจะดำเนินใช้เงินสะสมในการดำเนินการโครงการปรับปรุงระบบแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน ได้หรือไม่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท