BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

การันต์ ทันตฆาต


การันต์ ทันตฆาต

คำว่า การันต์ คิดว่าคนไทยที่พอจะอ่านหนังสือและเขียนไทยได้คงจะเข้าใจทุกคน... ส่วน ทันตฆาต คิดว่าบางคนก็อาจลืมไปแล้ว แต่เมื่อได้อ่านก็คงจะพอนึกออก....

สองคำนี้เป็นภาษาบาลี... สำหรับคำว่า การันต์ ผู้เขียนเรียนบาลีอยู่หลายปีกว่าจะถึงบางอ้อซึ่งคำแปลที่แท้จริง....

.... ไปรษณีย์ สินเธาว์ องค์ จันทร์ ไพรวัลย์  เกณฑ์ ขันธ์ ....

อักษรตัวสุดท้ายของคำเหล่านี้ คือ ย์ ว์ ค์ ร์ ย์ ฑ์ ธ์... เราเรียว่าตัว การันต์ ... ส่วนเครื่องหมายข้างบนของอักษรเหล่านี้ เราเรียกว่า ทันตฆาต ...

การะ + อันตะ = การันต์

การะ แปลว่า อักษร

อันตะ แปลว่า ที่สุด

ดังนั้น การันต์ จึงแปลว่า ที่สุดแห่งอักษร

.......

ตอนผู้เขียนแรกเรียนบาลี สิ่งหนึ่งที่จะต้องเรียนก็คือ เรื่องการันต์ในภาษาบาลี... จะเล่าย่อๆ

คำศัพท์ในบาลีทั่วไป แต่ละคำจะจัดเป็น เพศ (ลิงค์) ว่าเป็น เพศชาย (ปุงลิงค์) เพศหญิง (อิตถีลิงค์) หรือ มิใช่เพศหญิงเพศชาย (นปุงสกลิงค์)... (เค้าว่า ภาษาฝรั่งเศสหรือภาษาอื่นๆ บางภาษา ก็จัดเป็นเพศทำนองนี้เหมือนกัน แต่ผู้เขียนไม่มีความรู้ด้านนี้)

การันต์ จะเป็นสิ่งกำหนดรู้ว่าศัพท์ใดเป็นเพศใด โดยรายละเอียดดังนี้

  • เพศชาย มีการันต์ ๕ ตัว คือ อะ อิ อี อุ อู
  • เพศหญิง มีการันต์ ๕ ตัว คือ อา อิ อี อุ อู
  • มิใช่เพศหญิงเพศชาย มีการันต์ ๓ ตัว คือ อะ อิ อุ

ตัวอย่างเช่น ปุริสะ เป็น อะการันต์ในเพศชาย .. กัญญา เป็น อาการันต์ในเพศหญิง... วัตถุ เป็น อุการันต์ในมิใช่เพศหญิงเพศชาย.. เป็นต้น

ดังนั้น การันต์ในภาษาบาลีตามความเข้าใจเบื้องต้น นักเรียนบาลีจึงคิดว่าเป็น สระที่สุดศัพท์ ....

แต่พอแปลคัมภีร์สูงๆ ขึ้น จึงเจอว่า การะ ตัวนี้ สามารถแปลว่า อักษร ได้... ดังนั้น การันต์ จึงแยกศัพท์ได้ว่า การะ+อันตะ แปลว่า ที่สุดแห่งอักษร ....

เรียนใหม่ๆ อาจารย์ก็ไม่ได้บอก สงสัยว่าอาจารย์ก็อาจไม่รู้ ... การเรียนบาลี เป็นไปทำนองพี่สอนน้อง... บางอย่างพี่ก็ไม่รู้ เพราะพี่ก็ความรู้ไม่สูงนัก... ส่วนน้องที่ตั้งใจเรียนสูงขึ้นก็จะค่อยๆ รู้ขึ้นเอง เช่น มา แปลว่า พระจันทร์ รส แปลว่า หน้าที่ .....ชล คงคา สินธุ นที แปลว่า ๔ อักษร (ในคัมภีร์ฉันทลักษณ์ เฉพาะคำศัพท์ที่หมายถึงแหล่งน้ำ สามารถแปลว่า  ๔ อักษร ได้ ... ยิ่งเรียนก็ยิ่งมึนไปเรื่อย....)

พอมาเรียนสันสกฤตตพื้นฐานก็ยิ่งมึนหนักไปอีก... เพราะ ในสันสกฤตนอกจากจะมี การันต์ที่เป็นสระที่สุดศัพท์แล้ว ยังมีการันต์ที่เป็นพยัญชนะที่สุดศัพท์อีก เช่น ราชัน เป็น น. การันต์ (ผู้เขียนเรียนสันสกฤตเพียงเล็กน้อย จึงจำรายละเอียดได้ไม่หมด ขี้เกียจไปรื้อตำราสันสกฤตมาลอก)...

................

เมื่อมาถึงภาษาไทย การันต์ ก็หมายถึง พยัญชนะที่ไม่ต้องออกเสียง โดยมีเครื่องหมาย ทันตฆาต อยู่ด้านบนอักษรตัวนั้น ซึ่งพวกเราเข้าใจกันดี....

ทันตะ + ฆาต = ทันตฆาต

ทันตะ แปลว่า ฟัน

ฆาต แปลว่า ฆ่า

ดังนั้น ทันตฆาต แปลว่า ฆ่าฟัน ... ซึ่งถ้าแปลอย่างนี้ก็ไม่ได้ใจความ  แต่ถ้าจะแปลให้พอได้ใจความก็น่าจะแปลว่า ฆ่าเสียซึ่งเสียงที่จะเปล่งออกมาตามช่องระหว่างฟัน ประมาณนี้...

........

อนึ่ง ชื่อเครื่องหมายอักษรไทยบรรดามี สมัยเด็กๆ ผู้เขียนรู้สึกว่าเรียกยากจำยากเหลือเกิน เช่น ทันตฆาต อัญญประกาศ สัญญประกาศ อัศเจรีย์ นิคหิต จุลภาค มหัพภาค .....เดียวนี้ แม้ผู้เขียนจะอ่านไม่ยากและแปลชื่อเหล่านี้ได้ แต่ผู้เขียนก็ยังจำได้ไม่หมด......

เค้าว่ากันว่า ภาษาไทยเป็นภาษาที่ยากที่สุดในโลก ผู้เขียนก็เห็นด้วย....โดยประการฉะนี้.

คำสำคัญ (Tags): #การันต์#ทันตฆาต
หมายเลขบันทึก: 96042เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2007 01:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

นมัสการ หลวงพี่ BM.chaiwut ค่ะ

ดิฉันเข้าใจผิดมาตลอด คิดว่า เครื่องหมายทันตฆาตคือการันต์

ขอบพระคุณมากค่ะ

สมัยเมื่อเรียนอยู่ชั้นมัธยม ดิฉันชอบเรียนบาลี สันสฤต คำสมาส สนธิ สนุกมากค่ะ

 

ทันตฆาต แปลว่า ฆ่าฟัน ??

เอ.. ที่เรียนกันมาเขียนว่า ทัณฑฆาต ไม่ใช่หรือครับ

หรือว่ามีหลายนัย

ไม่มีรูปปาน

 

อนุโมทนาที่มาช่วยย้ำเตือนข้อบกพร่อง คงจะมิได้มีหลายนัย เพียงแต่ทันตฆาตเรียกกันเล่นๆ ในหมู่นักเรียนบาลีเท่านั้น...

ทัณฑฆาต ตัวนี้ ไม่เคยเจอในไวยากรณ์บาลี คงจะเป็นศัพท์ที่โบราณาจารย์ของไทยบัญญัติขึ้นมา ถ้าจะแปลตามตัว...

  • ทัณฑ แปลว่า ไม้ หรือ อาชญา (เพ่งถึงการลงโทษ)
  • ฆาต แปลว่า ฆ่า หรือ การทำให้ตาย

ทัณฑฆาต ตามนัยนี้ คงจะแปลว่า ฆ่าด้วยไม้ นั่นคือ ห้ามออกเสียงด้วยอักษร  นั่นเอง

ขออนุโมทนาคุณโยมอีกครั้ง เพราะเขียนไปเรื่อยๆ ไม่มีใครทักท้วงก็ไม่ได้ตรวจ...

เจริญพร

ขอคำศัพท์บาลีที่แจกเหมือน ปุริส หน่อยครับ ขอบคุณมากครับ

เรานรารีนจยนวสยน

กราบนมัสการ ขอเรียนถามเพื่อนำไปวิเคราะห์ เกี่ยวกับการใช้เครื่องหมาย ทัณฑฆาต บนตัว ณ เนื่องจากมีความไม่ชัดเจนว่าทำไม

พระนามของ น.ม.ส. บ้างตำรา เขียนว่า พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ (ไม่มีเครื่องหมายทัณฑฆาต ) และบางตำราเขียนมีเครื่องหมายทัณฑฆาต เช่น พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

จึงขอเรียนถามว่า ตัวการันต์ นั้นเริ่มมีใช้กับภาษาไทยในสมัยใด ครับ

กราบนมัสการมาด้วยความเคารพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท