บ้านดงสวนเขื่อน


ชาวมปีผู้มีวิถีของตนเอง
บ้านดงสวนเขื่อนชาวมปีผู้มีวิถีของตนเอง บทนำของหนังสือ บ้านดง (An Mpi Dictionary)[1]  ว่าไว้ในย่อหน้าที่ 2 ว่า  บรรพบุรุษของคนมปี อพยพมาจากแคว้นสิบสองปันนา ในประเทศจีน ประมาณ 300 ปีมาแล้ว  และมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านเสือกิน ตำบลยอด อำเภอปง จังหวัดเชียงราย   สาเหตุที่อพยพไม่มีใครทราบแน่นอน  ต่อจากนั้นคนมปีบางส่วนได้ย้ายจากหมู่บ้านเสือกิน มาอยู่ที่ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง จังหวัดแพร่  และเรียกชื่อหมู่บ้านของตนว่า บ้านมปี แต่คนอื่น ๆ เรียกว่า บ้านดง[2]ในที่ประชุมเตรียมการงานมหกรรมสร้างสุขภาคเหนือ  ซึ่งจะจัดในวันที่ 9 11 พฤศจิกายน 2550 ณ อบจ.แพร่นั้น    เราในกลุ่มย่อยคนเมืองแพร่ได้เสนอให้มีเวทีรวบรวมแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียงตามแบบมปี  และมานำเสนอในมหกรรมดังกล่าว   ครั้นคณะทำงานนำเรื่องนี้ไปเสนอที่กรุงเทพฯ ก็ได้รับความสนใจ  และอยากให้ชาวมปี  ได้ไปนำเสนอที่กรุงเทพในช่วงวันที่ 20-21 พฤษภาคม 2550[3]  ว่าน่าสนใจอย่างไรบ้างข้าพเจ้าถือว่าเป็นภาระของตัวเองที่จะต้องพยายามค้นหาออกมาให้ได้  ในระยะเวลาอันสั้น ว่า วิถีพอเพียงของมปีคืออะไร  โดยปราศจากความรู้เชิงวิชาการอื่น ๆ และมีเพียงสมมุติฐานที่ว่า มันน่าจะมีปรัชญาลึกซึ้งอีกมากที่เรายังไม่รู้ เมื่อเทียบเคียงกับ การขอทาน  ที่ในวัยเด็กของข้าพเจ้าได้รับรู้คือ ในฤดูหนึ่งชาวบ้านดงจะไปขอข้าวสารจากหมู่บ้านต่าง ๆ ในละแวกที่พอจะเดินไปได้  แต่ชาวมปีถือว่า การไปขอข้าวสารนั้นเป็นการไป โปรดสัตว์  ให้โอกาสกับผู้อื่นในการทำทานเราคุยกันครั้งแรกที่กุฏิเจ้าอาวาสวัดบ้านดงเหนือ 10 พฤษภาคม 2550 เวลา 1 ทุ่ม[4] คุยกัน 7 คน[5] ก็ได้เรื่องมาบ้าง  และนัดคุยกันครั้งที่ 2 ในวันที่ 11 และ ข้าพเจ้าจะตามไปกับพวกบ้านดง  อีก 3 คันรถ ในวันเสาร์ที่ 12  เพื่อนำชุดกลองซิ้งม้อง  และ โต๊ะหมู่บูชา ไปถวายวัดบ้านสะเกิน อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน[6]  เขตติดต่อกับอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา  ค้าง 1 คืนแล้วกลับวันที่ 13  ข้าพเจ้าคาดว่า น่าจะได้อะไรมากกว่าที่กำหนดไว้   หรือ ไม่ก็เปลี่ยนหัวข้อการนำเสนอเสียเลยชาวมปี พูดภาษามปีมาเป็นเวลาหลายร้อยปี  โดยไม่มีอักษรใช้เป็นของตัวเอง  (ทำได้อย่างไร )   ประเพณีฝังศพเพิ่งจะยกเลิกไปเมื่อประมาณ 20 ปีมานี้[7]  บริเวณฝังศพจะจัดเรียงไว้เป็นสกุล ๆ ไป แถวสกุลไม่ปะปนกัน  แล้วมีไม้ไขว้ไว้สามช่วงบนหลุม  เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าเป็นหลุมศพ   มีพิธีการตานเฮือนน้อย ที่ทำจากการหักพับไม้ไผ่ (ไม่มีการตัด) มุงด้วยผ้าทอ  ในเฮือนบรรจุด้วยข้าวของเครื่องใช้   ความน่าสนใจอีกสองอย่างอยู่ที่ 1) การจัดงานศพ  แต่ก่อนเมือมีชาวมปีตายเช้าก็ฝังบ่าย ตายบ่ายฝังกลางคืน  ตายกลางคืนก็ฝังเช้า  2) เรียกเทวดาว่า อ่าหล่า   (เกี่ยวหรือไม่กับอัลเลาะห์-ศาสนาอิสลาม?)ชาวมปีนับถือเทวดา ที่ใช้ศัพท์คนละคำกับคำว่าผี  มีสายสกุลที่ถือว่าสืบทอดบทบาททางลูกชาย[8]มานานเพื่อติดต่อกับเทวดา  เวลามีงานประเพณีต่าง ๆ เช่น แต่งงานก็จะเอาของกินของแห้งใส่ถุงลั้วะไปบอกกล่าวให้เทวดาได้รับรู้โดยผ่าน สื่อ นี้   ในวงคุยเราพูดถึงว่าชาวมปีมีความเคารพเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา  เวลาจะเข้าวัด ก็ถอดหมวก ถอดรองเท้า วางร่มไว้นอกวัด  ไม่ถ่มน้ำลายในวัด  เจ้าอาวาสวัดบ้านดงเหนือ  ซึ่งเป็นคนมปีทั้งร่างกายและจิตวิญญาณ บอกว่าอาจเป็นเพราะฮีตฮอยเหล่านี้บอกกล่าวอยู่ในธรรมมหาวิบาก   ว่ากันว่า คนมปีทุกวัยใกล้ชิดวัดการทำมาหากินของชาวบ้านดงนั้น คนมปีที่ข้าพเจ้ารู้จักคนหนึ่งมีความชำนาญในการเดินป่า หาของป่า  รู้จักต้นไม้ใบหญ้าในป่า   และคนมปีก็ทำไร่ทำนาเหมือนกับคนเมืองทั่วไป  มีมากก็คือรับจ้างใช้แรงงาน   ซึ่งเป็นยอมรับว่าถ้าได้มาทำงานรับจ้าง  คนที่จ้างก็จะมีความไว้วางใจสูงเพราะคนมปีมีความซื่อสัตย์สูง  อะไรเป็นพื้นฐานทางจิตใจของชาวมปีให้ซื่อสัตย์ คำทักทายของชาวมปีจะเป็นอย่างไรก็ไม่รู้  แต่เมื่อลาจากกันก็จะมีคำหนึ่งที่กล่าวลา มีความหมายทำนองว่า เป็นห่วงนะ ระวังตัวด้วย แสดงถึงพื้นฐานจิตใจอันอ่อนโยนนุ่มนวลของพวกเขา ทำไมคนมปีถึงมีความเข้มแข็งเพียงนี้  คนมปีมองมปี  อย่างไร   เป็นประเด็นที่น่าสนใจมาก  ซึ่งเราน่าจะตั้งวงคุยค้นคว้าร่วมกันระหว่างชาวมปีกันเอง  และ ผู้มาเยือนอย่างพวกเราคงจะมาได้บางครั้งบางคราวเท่านั้น . วุฒิไกร  ผาทอง  บันทึกไว้เมื่อ 11 พฤษภาคม 2550 ค่าวันที่ 11 เรา คนจากข้างนอกจำนวนเท่าเดิมไปช้ากว่าที่นัดหมายไว้หน่อยหนึ่ง  ฝนตกจึงหลบอยู่ชายคาด้านล่างกุฏิพระ  มีเจ้าหนุ่ม 2 คนขี่ซ้อนรถเครื่องมาถามว่าเจอตุ๊อาว์แล้วยัง   จะไปตามให้  สักพักอาจารย์รักเกียรติก็มาในชุดออกกำลังกาย บอกว่าเพิ่งเสร็จแล้วได้ จ้ำข้าว 2-3 คำ ช่วงหลังมีอดีตนายก อบต.สวนเขื่อนมาร่วมด้วย  ทำให้การพูดคุยได้อรรถรสมากขึ้น  ซึ่งปกติก็รื่นไหลดีอยู่แล้ว เนื่องจากคนบ้านดงคุ้นเคยกันดีกับตระกูลพนมขวัญของคุณสามชายเตรียมคนไปนำเสนอที่ กทม.ได้หนานม้วน ฟองนวล  ตนเก่งบ้านสะเกิน  หนานหนิด ที่พูดได้ 7 ภาษา และเป็นหมอยา  หนานหนิดน่าจะมีคำมปีโบราณอยู่เยอะ ส่วนในบ้านดง  คนแก่อายุ 70 ขึ้นไปก็เยอะ  อายุ 100 ก็มี ก็ยังคิดกันไม่ออกว่าจะเก็บข้อมูลอย่างไรถ้านำผู้เฒ่าเหล่านั้นมานั่งคุยกัน           ในวงผู้เฒ่าเหล่านั้นน่าจะมีนิทานพื้นบ้านตำนานบ้านดงออกมาด้วย  ใครจะไปรู้ในวงวันนี้คุยไปถึงเรื่องดนตรี  ก็มีทั้งอิเลคโทน  และ สะล้อ ซึง พื้นเมือง  มีคนหนึ่งที่มักจะนำซึงไปเล่นด้วยตอนเลี้ยงวัว แล้วบอกว่า  เชื้อสายนี้แหละที่เป็นเรื่องดนตรีกัน   ขบวนการฝายที่ต่อเนื่องไปทั้งเลาไม่มีแล้ว  งบราชการเข้ามาทำให้เปลี่ยนไป  แต่ฝายน้อยที่เป็นของแต่ละกลุ่มผืนนายังใช้ได้ เพราะยังมีมากที่ชาวบ้านช่วยเหลือกันเอง  ยังมีการศึกษาคาถาอาคม ซึ่งเราชวนคุยว่า อย่างกระแสจตุคามฯ แบบนี้ เราจะดึงเด็กเข้าหาวัฒนธรรมดั้งเดิมโดยใช้ความลึกลับแบบนี้น่าจะได้   ก็มีความเห็นว่า  มันเป็นคำแรง ๆ และ ดูเป็นไสยศาสตร์  เป็นของร้อน  ถ้ามีแล้วรักษาไม่ดี  ทำตัวไม่ดี ก็จะเป็นของร้อน  หรือ อันตรายต่อผู้นั้นเอง   จบไม่ลงที่เมนูบ้านดง   ทั้งพริกยัดใส้ พริกผักหละ เมนูหน่อไม้  ทั้งสด ทั้งดอง   จึงนัดหมายทำกับข้าว วันที่ 18 จะขอถ่ายรูปตั้งแต่ตอนเก็บผักข้างรั้ว ข้าพเจ้าชักอยากพิสูจน์ว่ารสชาติเป็นอย่างไร  เพราะชาวมปีรู้จักพืชผักแต่ละชนิดมากมาย  รู้จักที่จะรับประทาน ว่าชนิดไหนจะต้องกินกับชนิดไหนจึงจะชูรสซึ่งกันและกัน  แล้วแต่ละชนิดจะปรุงอย่างไร  จึงจะเลิศรสที่สุด   สดๆ แกง ต้ม ย่าง หรือ นึ่งกับข้าวเบือ  (ข้าวก้นหม้อข้าวหม่า)เข้ามาใกล้มากขึ้นถึงภาคปฏิบัติของชีวิตพอเพียงแล้วล่ะ   น่าจะไม่เปลี่ยนหัวข้อนำเสนอ


[1] พจนานุกรมมปี-ไทย-อังกฤษ โครงการวิจัยภาษาไทยและภาษาพื้นเมืองถิ่นต่าง ๆ  Phonetics and Phonology Volume 1, Number 1, April, 1976  ศรีนวล ดวงหอม ผู้ให้เสียง วรนุช พันธุพงศ์ บรรณาธิการ
[2]  ในปีนี้บ้านดงมีประมาณ 300 หลังคาเรือน  บ้านสะเกินมีประมาณ 100 หลังคาเรือน สมัยหนึ่งคนล้มตายเยอะเพราะโรคระบาด
[3] วันที่ 21 เวลา 10.00 12.00 น. เป็นการนำเสนอของภาคเหนือ
[4] ข้าพเจ้าจะพยายามทำบันทึกวันต่อวัน เพื่อรวบรวมประเด็นที่ได้เรียนรู้ 
[5] เจ้าอาวาส  อาจารย์รักเกียรติ สารแก้ว  และ .... เป็นฝ่ายบ้านดง   คุณสามชาย  พนมขวัญ  คุณสุนันท์ธนา แสนประเสริฐ  คุณวรากร สองใจ และ ข้าพเจ้า เป็นฝ่ายไปเยี่ยม
[6] เดิมคือ บ้านเสือกิน ตำบลยอด อำเภอปง จังหวัดเชียงราย  
[7] ที่ยังฝังอยู่ก็คือ ตายโหง ตายทั้งกลม  และ ทารก
[8] ในกรณีไม่มีลูกชาย ก็สืบทอดผ่านลูกเขยได้
หมายเลขบันทึก: 95752เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2007 06:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 10:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
บ้านดง๑๔กค๕๐

ช่วงแรกชวนกันคุยเรื่อง ถ้าจะเล่าเรื่องบ้านดง

หลังจากนั้นก็แบ่งกลุ่ม  ได้สาระดังนี้ 

กลุ่มภูมิปัญญา

  1. ใส่ข้าวที่แช่น้ำแล้ว

    เจาะรู

    น้ำ

    ไฟ

    ตำรายาแก้ผิดเดือน    ยางมะปิน มะแข้งขม เกล็ดปลาแห้ง ไม้เหียง   ผสมกันเป็นต้ม  ยางหน้อง
  2. ยาแก้เจ็บท้อง   ยอดอ่อนใบฝรั่ง  ยอดอ่อนใบทับทิม หัวปูเลย ใบเปลวแดง นำมาฝนกับหิน
  3. อาหารสำหรับคนอยู่ไฟ  ปลาก่อ  คั่วเกลือกินกับข้าว  ไก่ หมู แทงยางหน้องแล้วกินได้ ปลาอื่นกินไม่ได้
  4. แก้หวัดลูก  แมงจู้จี้ขายาวย่างไฟ มาห่อผ้าขาวแช่น้ำให้ลูกกิน
  5. ทำข้าวไร่ ข้าวสุก   บอกไม้ซางใส่น้ำกิน  ใส่ข้าวไร่หลังฝนตก  วิธีหุงข้าว
  6. ทำไร่ข้าวโพด ไร่ข้าว หว่านฝ้ายเม็ดสำลี ทำ ๓ อย่าง ๆ ละน้อย
  7. อาหารที่สำคัญหลัก ๆ ปลาทู หน่อไม้ นึ่งผัก ไก่ เนื้อ และ หมู ไม่ต้องกินบ่อย
  8. การตำข้าวด้วยครกกระเดื่อง (มองตำข้าว) ต้องเสียครึ่งต่อครึ่ง ลำบากกว่าการใช้โรงสีมาก
  9. การจุดไฟ  ใช้ขี้ขะย้าทุบละเอียด เอาใบตองตึงมามวนเป็นหลอดยาว ๆ แล้วจุดไฟ
  10. ขี้ขะหย้า และ เครือเขา (ชะแม้) และ ปูนขาว แช่รวมกันออกมาเป็นยางเหนียว ๆ ผสมทรายแล้วมาใช้แทนซีเมนต์สร้างโบสถ์ วิหาร  หรือ ขัดมันพื้นอุโบสถ
 

กลุ่มครูสุนา

  1. การคลอดลูก คลอดตามธรรมชาติโดยใช้หมอตำแยผู้ชาย ซึ่งต้องเป็นผู้ที่มีคาถาอาคม  พรมน้ำมนต์เป่าคาถาบนศรีษะและท้อง  เพื่อให้เด็กในท้องกลับหัวลง  เพื่อจะได้คลอดง่าย  พอคลอดแล้วใช้ผิวไม้ไผ่คม ๆ มาตัดสายสะดือ  เพื่อกันบาดทะยัก  แล้วนำรกไปฝังไว้ใต้บันได้  ไปขอผ้าซิ่นเก่า ๆ มาทำผ้าอ้อมห่อทารก  สำหรับแม่ต้องนั่งพิงบนที่นอน แล้วเอาผ้าเศษมาผูกที่ท้อง  เพื่อไม่ให้มดลูกหย่อนเข้าอู่เร็ว  และทำผ้าคลุมศรีษะ ไม่ให้ลมเข้ารูขุมขน  เพื่อกันโรคต่าง ๆ เข้ามาแทรกซ้อน  ส่วนอาหารการกินหลังคลอด  กินกับเกลือคั่ว และ ไข่ปิ้ง  พอได้ ๓ วัน ต้องกินยางน่อง  เพื่อให้มดลูกเข้าอู่  เป็นยาขมุ
  2. ผักสวนครัว การปลูกผักสวนครัวของชาวบ้านแต่อดีต  โดยการใช้ปุ๋ยธรรมชาติ มูลสตว์ต่าง ๆ
  3. ความเชื่อของคนในหมู่บ้าน เช่น  ไม่ใส่รองเท้าเข้าวัด  ไม่กางร่มใส่หมวก ถุยน้ำลายในวัด  ไม่เก็บของในวัดมาครอบครอง  ไม่ตัดเล็บสระผมวันพระ  
  4. บวชนาค เด็กชายจบ ป.๔  ไปฝากกับวัด ๓-๔ เดือน แล้วจึงบวช เอาพระนาคขี่คอ  เดินไปตามบ้านพี่บ้านน้องเพื่อผูกมือเอาขวัญ
  5. คารวะเทวดาประจำหมู่บ้าน โดยนำธูป ฝ้ายขาว หมากพลู อย่างละ ๔  น้ำส้มป่อย ไปไว้ที่บ้านคนทรง ในวันสงกรานต์ทุกหลังคาเรือนนำน้ำอบน้ำหอมไปคารวะ  ใครที่ลูกไปเป็นทหาร ต้องขอดินจากเทวดา ติดตัวไป  พอปลดทหารก็นำดินกลับมาไว้ที่เดิม
  6. ยี่เป็ง ชาวบ้านจะมีการตานเฮือนน้อยไปหาผู้ที่ล่วงลับ  มีบ้าน และ ภายในบ้านมีข้าวของเครื่องใช้เหมือนตอนที่มีชีวิตอยู่  และ มีต้นกัลปพฤกษ์
  7. การทำไร่เลื่อนลอย   นำเสียมมาขุดหลุมเอาเมล็ดข้าวเข้าหยอดพอออกผล  เก็บเกี่ยวแล้วตากให้แห้ง  นำข้าวมากองรวมกัน  เอาเท้าเหยียบให้เม็ดข้าวหลุดจากรวง  แล้วนำใส่กระบุง หาบจากบนดอยลงมาบ้าน  แล้วนำมาตากให้แห้ง  มาใส่ครกตำเอาเปลือกออกให้เป็นข้าวสาร
  

กลุ่มพ่อปั๋น สีตื้อ

  1. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือ คือ

·        วัด  (วัน ๘ ค่ำ บูชาผ้า สะเดาะเคราะห์)  พระพุทธรูปไม้เก่าแก่  (มาบูรณะปะไม้แทนที่ผุ  ทำสีใหม่)

·        เทวดา ให้ปกปักรักษา   ไม่ได้ขอหวย  (ไหว้ประจำวัน  วันสำคัญเช่นออกพรรษา เข้าพรรษา ที่มากที่สุดคือ วันปากปี ๑๖ เมษายน  ของไหว้ มี ข้าว น้ำ ผลไม้  ของหวาน)

·        ท้าวทั้งสี่ (คุ้มครองงานให้ดำเนินไปด้วยดี ทำทุกงาน  งานมงคล  อวมงคล)

·        ผีเจ้าวัด

  1. ประเพณี

·        สงกรานต์ (แต่ก่อน รดน้ำผ่านรินสรงน้ำพระในห้อง เดี๋ยวนี้ญาติโยมฮอมน้ำส้มป่อยในโอ่ง  แล้วพระตักไปสรงเองในห้องน้ำ)   สรงพระพุทธรูป สิ่งปลูกสร้างในวัด ต้นไม้  ไม้ค้ำศรี กลอง  (หอกลองกลายเป็นประปา)

·        ดำหัวเทวดา (เคี้ยวดิน)

·        นา เอาขวัญข้าว (ข้าวลานเดียวกัน เอาเข้าบ้านพร้อมกัน  รอวันดี)   เอาขวัญควาย (การผูกสวยดอกไม้วัวควายที่ทำงานจะผูกไว้ที่เขาทั้งสอง  ที่ไม่ได้ทำงานจะผูกไว้กลางกระหม่อม) บูชาแม่โพสพ (หลังจากปลูกแล้ว ๑ เดือน)

·        แช่น้ำอุปคุต หรือ การขอฝน มาทำนาในช่วงฝนแล้ง  ชาวบ้านที่ได้รับการคัดเลือกแล้ว ว่ามีศีลมีธรรม จะพากันไปในป่า ซึ่งจะมีจุดทำพิธี ๒ ที่  เป็นน้ำวังของน้ำแม่ลัว (เรียกภาษามปีว่า สิงแม้น่า) นำกระบอกไม้ไผ่สลักคาถาไปผูกติดกับก้อนหิน   ในแม่น้ำ  แล้วโยงเชือกไปมัดกับต้นไม้ หลังจากนั้นก็กลับหมู่บ้าน   พระสงฆ์ทำพิธีกรรมตลอด ๗ วัน ที่วัดเก๊า  คือวัดบ้านดงใต้ วันที่แปดจึงไปแก้มัด เอากระบอกไม้สลักคัมภีร์ออกมาจากแม่น้ำ  ว่ากันว่า  วันที่เอาออกมานั้น  บางทีมีฝนตกน้ำหลากไล่หลังจนออกมาไม่ทันก็มี

·        ส่งเคราะห์บ้าน เดือน ๘ แรม ๘ ค่ำ

·        ยี่เป็ง

·        ๑๒ เป็ง

·        ๔ เป็ง

·        ส่งข้าวญาติ วันสำคัญ เช่น เข้า ออกพรรษา ปีใหม่ 

·        ขอผ้าซิ่นเก่ามาทำผ้าอ้อม

  1. ภาษิต  คำสอน

·        กิน ตาน เก็บ

·        ๗ วันแอ่วหาคนเฒ่า ๙ วันแอ่วหาคนหนุ่ม

  1. นิทาน เพลง

·        ปู่สุข

·        เพลง สละสี   (สั่งเสียลูก ว่าพ่อกับแม่จะพากันไปทำไร่  ได้เตรียมปลาทู ปลาร้า เกลือ ข้าว ไว้แล้ว)

·        การเล่น  (แขก?)

  1. อาชีพ

·        ทำนา  ฝนก็ไม่แล้ง แต่น้ำมาเร็ว  ไปเร็ว

·        ปลูกพืชหลังนา   หอม กระเทียม  ถั่วเหลือง

·        รับจ้าง

·        ทำไม้กวาด 

นัดครั้งต่อไป ๔ สค. ๕๐ ๑๙.๐๐ น. วัดบ้านดง

 ความเห็นอื่น ๆ ที่ได้จากที่ประชุม
  • พระครูบอกว่า  ต้องไปหาแม่นางดาที่เชียงคำสักครั้ง   ถามด้วยตัวเองน่าจะดี
  • การที่ทาง อบต.สวนเขื่อน ถามว่า จะให้ช่วยอะไรนั้น      ชาวบ้านถามกันเองว่าจะหวังได้ไหม  เพราะเฉพาะเรื่องเม็ดพันธุ์ผักเงิน ๒ ๓ พัน ยังไม่ได้ความ
  • ชาวบ้านถามอีกว่า  เราจะได้แสดงในงานมหกรรมสร้างสุขจริงหรือ   จะแสดงอะไร  
 

วุฒิไกรหมายเหตุต่อความเห็นต่าง ๆ และ สภาพในที่ประชุมดังนี้

  • ในมหกรรมสร้างสุข  อย่างน้อยที่สุดจะอยู่ในส่วนนิทรรศการวัฒนธรรม  มปีจะได้แสดงวิถีชีวิตที่นั่น
  • ชาวบ้านกระตือรือล้นมาก   ถ้าได้แกนนำในพื้นที่  ที่มีศักยภาพในการจดบันทึก  จะได้เรื่องราวอีกมาก  แต่จะใช้งบประมาณจากที่ไหนมาสนับสนุนคนเหล่านั้น
  • กระบวนการในเวทีเป็นธรรมชาติดีมาก   ได้รับการจัดการอย่างใช้ได้  จาก อ.รักเกียรติ   ผอ.รร.บ้านดง  มีครูมาร่วมจดบันทึก  เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในโรงเรียน
  • ครูสุนาร้องเพลงอยู่คนเดียว คนอื่นไม่ร้อง  ทำไม  และจะทำอย่างไร
  • อาหารวันนี้  หน่อไม้ดองนึ่งข้าวเบือ   เห็ดนึ่งข้าวเบือ  หน่อไม้ก้งหน่อไม้ลาย   น้ำริกแดง ผักนึ่งข้าวเบือ ปลาเค็มตัวเล็กๆ ทอด
 

ปัจจุบัน คน บ้านมปี ทำงานอยู่ที่กรุงเทพ ก็เยอะ ถ้าผู้ที่ค้นหาข้อมูลอยากคุยด้วยก็น่า

จะติดต่อได้ครับ

ข้อมูลข้างต้น ขอรับรองว่าเป็นความจริงครับ

จาก คนมปี คนหนึ่ง ครับ

ผมก้ออยู๋บ้านดงคับ

ตอนนี้เป็นเณร

เรียนอยู ม. 2

อยู่บ้านใต้

ลูกบ้านดง โดยกำเนิดอยากเห็นบ้านเรารักษาประเพณีดั้งเดิมไว้โดยเฉพาะการพูดภาษา อึมปี้ ก่านอจู่..

โง๊ ปี้ มี ช๊อน

เรียนอยู่ ม.5 Thinopatwittaya School

Dong In Love ณ Phrae

ละอ่อนบ้านดงคร๊าฟผม

ช่วยกันรักษาภาษาบ้านเราด้วยนะคร๊าฟ

บ้านดง(ดงใต้) 21 ม.8 เทศบาลสวนเขื่อน

อ.เมือง จ.แพร่ คร๊าฟผม

wellcom To bandong

โง๊ มปี้ อาเย๊าะ

เดี๋ยววันแม่นี้จะกลับบ้าน หาแม่+หาน้องแพร จ้า

แล้วเจอกันนะคะ

วันนี้ ชาวอึมปี้

อย่าลืมดูรายการ พันแสงรุ้งนะคะ

เป็นคนกรุงเทพค่ะ อ่านเรื่องคนชาติพันธ์ุอึมปี้แล้วรู้สึกน่าสนใจมาก อยากพบปะพูดคุยเป็นเพื่อนคนอึมปี้บ้านดงจัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท