รักแล้วช้ำ


ก็คนมันรัก
วันนี้รู้สึกขี้เกียจจัง
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 9548เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2005 14:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 13:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
รูปนี้น่ารักอะดิก็ตอนอยู่ Hi school
รูปสวยนะยะ
ผศ.ประไพ สิทธิเลิศ

ยินดีด้วยที่สร้างบันทึกได้แล้ว  ให้นักศึกษารีบแก้ไขข้อมูลให้เป็นวิชาการหลังจากฝึกสร้างบล๊อกและบันทึกได้แล้ว ข้อมูลนี้จะปรากฎไปทั่ว นักศึกษาต้องพิจารณาการเขียนให้เหมาะสม ไม่ควรเขียนอะไรเพียงเพื่อสนุกแล้วทำให้ภาพพจน์เสียหาย

อาจารย์เข้ามาดูความก้าวหน้ายังไม่พบรายงานใด ๆ ให้รีบจัดทำให้สำเร็จตามกำหนดเวลา  ขณะนี้ครูได้ออกข้อสอบกลางภาคแล้ว  ให้เข้าไปดูในบันทึกของอาจารย์ และจัดการทำส่งภายใน 6 มกราคม 2549

เด็กไม่ได้เล่นตามวัย
click to view full image : vt_33_1.jpg , 24,742 bytes , 350x334 pixel
Eurythmy (ยูริธมี) คือศิลปะการเคลื่อนไหว เพื่อฝึกและพัฒนาร่างกาย สติ สัมปชัญญะ ชีวิต ตามแนวการศึกษาของ Waldorf

ระหว่าง 20-22 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ศูนย์การศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ ร่วมกับ โรงเรียนใต้ร่มไม้ โรงเรียนอนุบาลดิษฐพร และโรงเรียนวรพัฒน์ ร่วมกัน
ทำความรู้จักเกี่ยวกับเรื่องนี้ ในท่าทีที่สบายๆ ณ อาคารผาสุก ในมหาวิทยาลัยสงขลา
นครินทร์ ผู้เข้าร่วม มีทั้ง ครูระดับปฐมวัย อาจารย์ นักศึกษา และผู้ปกครอง

วิทยากร คือ Mr.Brian Cusack ซึ่งสอน Eurythmy อยู่ที่ โรงเรียน Mt.Barker Waldorf ,Australia ผู้เรียนจบ ด้าน Eurythmy มาจากมหาวิทยาลัย Waldorf ประเทศอังกฤษ

บนระบบการศึกษาที่ยังสับสนของสังคมไทยที่เห็นและเป็นอยู่ เช่น การยึดติดอยู่กับการขู่เข็ญให้เด็กเรียนวิชาการอย่างเอาเป็นเอาตาย การกวดวิชาตั้งแต่ยังไม่หย่านม ฯลฯ เหล่านี้ ถ้าลองเปิดใจให้กว้าง จะพบว่ายังมีแนวการศึกษาเพื่อพัฒนามนุษย์ในโลกนี้อีกมากมาย

ในวงเสวนา นอกจากการพูดคุยในเนื้อหา ยังมีกิจกรรม การฝึกสติสัมปชัญญะ
จังหวะชีวิตผ่านการเคลื่อนไหว เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในโรงเรียนและครอบครัว และสนใจ
ในเรื่องการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเด็กปฐมวัย โดยผ่านการเข้าใจเกี่ยวกับเด็ก

มีข้อมูลว่า เด็กปฐมวัย เป็นวัยที่ต้องการการพัฒนาองค์ประกอบสองอย่างเข้าด้วยกัน อย่างแรกคือเสียงพูดจากสระและพยัญชนะ ไปจนถึงโครงสร้างทางไวยากรณ์ อย่างที่สองคือดนตรี ในทุกองค์ประกอบ ตั้งแต่เสียงและขั้นคู่เสียงง่ายๆ ไปจนถึงกฎเกณฑ์ของเสียงประสานและคีตลักษณ์ โดยเราทุกคนต่างตระหนักกันอยู่แล้วว่า เสียงพูดและเสียงดนตรี มีผลในการพัฒนาและบำบัดมนุษย์ ดังกั้นการแสดงออกโดยการเคลื่อนไหวทางกายก็จะมีผลต่อโครงสร้างทั้งหมด รวมทั้งรูปลักษณ์ทางกาย การทำยูริธมี ช่วยให้เรียนรู้วิธีนำการเคลื่อนไหวมาใช้กับดนตรีหรือเสียงพูด ซึ่งจะมีผลในการจัดระเบียบ และสร้างความกลมกลืนทั่งทั้งตัวตน จิตและกาย การที่เด็กสามารถใช้ร่างกายในลักษณะนี้ได้ตั้งแต่แรก เด็กจึงไม่เพียงรู้จักใช้เสียงพูดและดนตรีให้เกิดผลเท่านั้น หากยังรู้จักที่จะควบคุมสติ และตอบสนองสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม

เพียงที่ "โฟกัสภาคใต้" ได้มีโอกาสได้เข้าร่วมในช่วงเวลาสั้นๆ ยังพบประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างมากมาย

ตถาตา สมพงศ์ ลูกสาวคนโตของ สาทร สมพงศ์ แห่งโรงเรียนใต้ร่มไม้ ซึ่งเป็นนักเรียนวุฒิเกรด 12 โรงเรียน Mt.Barker Waldorf ,Australia เล่าว่า
Eurythmy ทำให้จิตใจ และร่างกายของเราสมดุลขึ้น เธอได้เลือกเรียนวิชานี้ตอนอยู่
เกรด 12 ระหว่างการเรียนรู้ เธอรู้สึกได้ถึงพลังภายในจิตใจและร่างกาย เมื่อเรียนไป
ระยะหนึ่ง จึงเห็นได้ว่า การสื่อสารระหว่างตัวเธอกับ คนอื่นนั้นดีขึ้น เรียนรู้อะไรได้ดีขึ้น
รู้สึกว่าชีวิตช่วงนั้นมีจังหวะในการเรียน การทำงาน ได้เป็นอย่างดี

"ก่อนจบ เขาจะให้เด็กได้ลองทำ กิจกรรมสักอย่างหนึ่ง ส่วนมากจะเป็นเรื่องที่เด็กมักไม่กล้าทำ หรือไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะทำได้ แต่ในที่สุดผ่านกระบวนการเรียนแบบนี้ ก็จะรู้ว่าตัวเองทำได้" ตถาตาเล่า และนำวีซีดี ซึ่งบันทึกกิจกรรมดังกล่าวมาเปิดให้ชม
ในวีดซีดีชุดเดียวกันมีเพื่อนชาวต่างประเทศคนหนึ่งในชั้นเดียวกัน ที่ไม่เคยเล่นกีตาร์มา
ก่อน ออกมาแสดงการเล่นกีตาร์ประกอบการร้องเพลง ส่วนเธอใช้การร่ายรำมโนราห์ มา
นำเสนอแบบประยุกต์

"เด็ก ที่ไม่ได้เคลื่อนไหว หรือ เล่นตามวัย เมื่อโตขึ้นจะป่วยหรือเป็นโรคบาง
อย่างได้ " เธอเปิดประเด็นหนึ่ง ที่ได้รับทราบมา ที่ทำให้หลายคนสนใจ และถามต่อว่า
เกี่ยวกับเรื่องนี้ มีผลการวิจัยรองรับหรือไม่

"เรื่องนี้ ไม่มีผลวิจัย แต่มีข้อสังเกตว่าเป็นอย่างนั้น" Mr.Brian Cusack
ตอบแทนลูกศิษย์ เกี่ยวกับเรื่องนี้ เขาเห็นว่า เด็กที่ถูกทำให้เครียดเกินวัย อาจจะเกิด
อาการบางอย่างขึ้นได้ สิ่งที่เห็นได้ชัดอย่างหนึ่งอยู่แล้วคือ เด็กที่ถูกเร่งเรียนมากเกินไป
มักจะหน้าตาซีดเซียว ไม่สดใส หรืออาจต้องใส่แว่นตาตั้งแต่ยังเล็ก

"สำหรับเด็กแล้ว การไปโรงเรียนไม่ใช่ไปนั่งนิ่ง เพื่อเรียนรู้ อย่างเดียว สิ่งสำคัญคือเขาต้องไปเล่น ได้เคลื่อนไหวออกท่าทาง เพื่อพัฒนาการต่อไปในวันข้างหน้า"
Mr.Brian เล่าและว่า ในการเรียน ที่ใช้ท่าทางประกอบจึงได้ผลสำหรับการเรียนมากกว่า
เขาได้เชิญชวนทำกิจกรรมท่าทาง ที่ดูแล้วต้องยอมรับว่าน่าจะได้ผลต่อการเรียนรู้ ไม่
ว่าการท่องสูตรคูณ แบบใช้การออกท่าทาง การนับเลข การรู้จักเศษส่วน วงกลม ฯลฯ
ล้วนแต่ใช้การออกท่าทางมาสอนเด็กได้แบบเข้าใจง่าย โดยให้เด็กมีส่วนร่วม ไม่จำเป็น
ต้องนั่งท่องหรือก้มหน้าก้มตาเรียน ซึ่งนอกจากจะเข้าใจยากและเครียด จนเด็กอาจเบื่อ
หน่ายการเรียนรู้ เสียตั้งแต่เยาว์วัยอีกด้วย ทั้งที่การเรียนรู้เป็นเรื่องตลอดชีวิตของคน

Mr.Brian เล่าว่าแนวคิดยูริธมี อาจจะเป็นเรื่องเข้าใจยาก มันเป็นภาษาอีก
อย่างหนึ่ง เป็นภาพสะท้อนของโลก และจักรวาล มนุษย์เป็นสิ่งหนึ่งของระบบดังกล่าว
โลกและจักรวาลก็เป็นส่วนหนึ่งของเรา แนวคิดนี้คือการเข้าใจเชื่อมโยงกลับไปสู่ โลก
และจักรวาลมากยิ่งขึ้น การเรียนยูริธมีเพื่อซึมซับความสวยงามของโลกและจักรวาล

"ไม่ต้องสนใจคำว่ายูริธมีเลยก็ได้ หรือเก็บเอาไว้คิดต่อในใจ แต่ให้รู้ว่านี่คือ
แนวคิด ถ้าทำเลยก็จะค้นพบ โดยอาจไม่ต้องสนใจคำ" Mr.Brian เล่าและว่าเป็นเรื่อง
ที่มาจากแนวคิดทางศาสนาพุทธนั่นเอง


การที่เด็กไม่ได้เล่นตามวัยจากบทความที่กล่าวเพราะพ่อแม่ต้องการให้ลูกเรียนแต่วิชาการ และเรียนกวดวิชาทำให้เด็กรู้สึกเครียดและเด็กที่ไม่ได้เคลื่อนไหวหรือเล่นตามวัยบางครั้ง อาจทำให้ป่วยเป็นโรคบางอย่างได้ ดังนั้นพ่อแม่ควรจัดเวลาให้ลูกได้เล่นบ้างไม่อย่างนั้นจะทำให้เด็กรู้สึกเครียด และการที่เด็กไปโรงเรียนไม่ใช่ไปเพื่อเรียนรู้อย่างเดียวสิ่งที่สำคัญคือเด็กต้องไปเล่นได้เคลื่อนไหวออกท่าทางเพื่อพัฒนาการต่อไปในวันข้างหน้า ในการเรียนที่ใช้ท่าทางประกอบจึงได้ผลสำหรับการเรียนมากกว่า

ข้อคิดเห็นนี้มีประโยชน์สำหรับพ่อแม่ ครู บุคลที่เกี่ยวข้องกับเด็กและบุคลทั่วไปที่สนใจอาจนำไปใช้ในการดูแลเด็กเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีต่อไปในวันข้างหน้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท