ความคิดเห็นของ ผอ.รพช. ในการพัฒนาศูนย์สุขภาพชุมชน


ควรจัดให้มีการบริหารจัดการที่ชัดเจน และควรจัดให้การบริหารงานที่เป็นระบบตั้งแต่ส่วนกลางถึงส่วนภูมิภาค โรงพยาบาลและสถานีอนามัยควรจะอยู่ระบบเดียวกันมีผู้บริหารคนเดียวกัน

     จากการศึกษาความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชนในการพัฒนาศูนย์สุขภาพชุมชน โดยกลุ่มพัฒนาระบบบริการ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (2548) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไป ความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชนในการพัฒนาศูนย์สุขภาพชุมชน ในด้าน การใช้คู่มือประเมินรับรองมาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชนของสำนักพัฒระบบบริการสุขภาพในการพัฒนา ความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนให้มีการพัฒนา ความรู้ความเข้าใจในหลักการพัฒนา งบประมาณที่ได้รับในการพัฒนา การสนับสนุนบุคลากรในการพัฒนา การสนับสนุนด้านเวลาในการพัฒนาและข้อเสนอแนะอื่นๆ ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน จำนวน70 คน ในการจัดประชุมวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน ระหว่างวันที่ 18 – 19 พฤษภาคม 2548 ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค ใช้การสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการเจาะจง Purposive Sample ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลเพื่อทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วัดระดับความคิดเห็น เป็น 5 ระดับ แล้วนำมาจัดเกณฑ์กำหนดเป็น 3 ระดับ คือ ระดับต่ำ ค่าเฉลี่ย1.00 – 2.33 ระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 2.34 – 3.66 ระดับสูงค่าเฉลี่ย 3.67 – 5.00 ซึ่งมีผลการศึกษาดังนี้

     ด้านข้อมูลทั่วไป พบว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชนส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 36 - 45 ปี วุฒิการศึกษาสูงสุดคือ แพทย์ศาสตร์บัณฑิต ระยะเวลาการเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชนต่ำกว่า 10 ปี 

     ด้านความคิดเห็น พบว่าความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน 6 ด้าน มีระดับความคิดเห็นเรียงลำดับจากสูงไปต่ำ ดังนี้

          1. ด้านความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนให้มีการพัฒนาศูนย์สุขภาพชุมชนในเครือข่าย เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 92.9 ( ค่าเฉลี่ย = 4.21 ) ความคิดเห็นอยู่ในระดับสูง

          2. ด้านมีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาศูนย์สุขภาพชุมชน เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 81.4 ( ค่าเฉลี่ย = 3.84 ) ความคิดเห็นอยู่ในระดับสูง

          3. ด้านการใช้คู่มือประเมินรับรองมาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชนของสำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพพัฒนาศูนย์สุขภาพชุมชน เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 77.1 ( ค่าเฉลี่ย = 3.81 ) ความคิดเห็นอยู่ในระดับสูง

          4. ด้านการสนับสนุนด้านเวลาในการพัฒนาศูนย์สุขภาพชุมชน เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 74.3 (ค่าเฉลี่ย = 3.71) ความคิดเห็นอยู่ในระดับสูง

          5. ด้านการสนับสนุนบุคลากรในการพัฒนาศูนย์สุขภาพชุมชน เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 72.9 (ค่าเฉลี่ย = 3.67) ความคิดเห็นอยู่ในระดับสูง

          6. ด้านการได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาศูนย์สุขภาพชุมชนเพียงพอ ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 54.3 ( ค่าเฉลี่ย = 2.51 ) ความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง

     ด้านข้อเสนอแนะเพิ่มเติม พบว่า ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชนส่วนมากมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ร้อยละ 85.7 ดังนี้

          1. การพัฒนาศูนย์สุขภาพชุมชนให้ได้คุณภาพมาตรฐาน เห็นด้วย ร้อยละ 82.9 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 17.1 โดยเห็นด้วย เหตุผลมากที่สุดคือ ประชาชนได้รับการดูแลที่ดีขึ้นมีคุณภาพมาตรฐาน ตรวจสอบได้ มีความน่าเชื่อถือ เพิ่มศักยภาพในการบริการ ลดภาระค่าใช้จ่ายประชาชนเป็นผลดีระยะยาวต่อประชาชน และไม่เห็นด้วย เหตุผลมากที่สุดคือ ต้องใช้กำลังสติปัญญา เวลา งบประมาณมาก บุคลากรไม่เพียงพอ งบประมาณไม่เพียงพอ

          2. ปัญหาในการพัฒนาศูนย์สุขภาพชุมชน มากที่สุดคือ งบประมาณไม่เพียงพอ บุคลากรไม่เพียงพอ นโยบายไม่ชัดเจน โครงสร้างไม่ชัดเจน

          3. การสนับสนุนจากหน่วยบริการคู่สัญญาเพื่อให้ได้ศูนย์สุขภาพชุมชนที่มีคุณภาพมาตรฐาน ข้อเสนอแนะมากที่สุดคือ หน่วยบริการคู่สัญญาจะต้องมีความพร้อมทุกด้าน ทั้งบุคลากร งบประมาณ วัสดุครุภัณฑ์ เวชภัณฑ์ และควรสนับสนุนงบประมาณตรงมาที่หน่วยบริการคู่สัญญา เพื่อที่จะสนับสนุนศูนย์สุขภาพชุมชนได้เพียงพอ

          4. สิ่งที่หน่วยบริการคู่สัญญาต้องการสนับสนุนจากส่วนกลางเพื่อให้หน่วยบริการคู่สัญญาและศูนย์สุขภาพชุมชน ข้อเสนอแนะมากที่สุดคือ ควรจัดให้มีการบริหารจัดการที่ชัดเจน และควรจัดให้การบริหารงานที่เป็นระบบตั้งแต่ส่วนกลางถึงส่วนภูมิภาค โรงพยาบาลและสถานีอนามัยควรจะอยู่ระบบเดียวกันมีผู้บริหารคนเดียวกัน ควรจะสนับสนุนด้าน งบประมาณ บุคลากร ครุภัณฑ์ สิ่งก่อสร้าง ให้เพียงพอ สนับสนุนด้านองค์ความรู้ เร่งจัดกรอบอัตรากำลัง ความก้าวหน้าทางวิชาชีพ ให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพื่อเป็นแรงจูงใจให้บุคลากรสนใจมาทำงานที่ศูนย์สุขภาพชุมชนมากขึ้นและมีกำลังใจที่จะพัฒนาศูนย์สุขภาพชุมชนให้ได้คุณภาพมาตรฐานบรรลุตามเป้าหมาย 

     ที่มา: กลุ่มพัฒนาระบบบริการ สำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ  

หมายเลขบันทึก: 9469เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2005 19:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ขอบคุณครับที่เอามาเผยแพร่ให้ได้อ่าน ผมได้ไปดูงานบริการปฐมภูมิของออสเตรเลีย เขามีมุมมองบางอย่างที่แตกต่างจากเรา เขาเน้นแนวคิดมากกว่ารูปแบบ เขาเน้นการปฏิบัติมากกว่าอาคารสถานที่ เขาใช้คลินิกแพทย์เล็กๆเป็นที่บริการปฐมภูมิ เล็กกว่าสอ.ขนาดเล็กบ้านเรามาก เขาไม่ทุ่มเงินไปสรางอาคารมากแต่เขาสนับสนุนเงินไปถึงตัวบริการโดยตรง ของเราเวลาพูดเรื่องการพัฒนาPCUจะมองที่สิ่งของสถานที่ก่อนที่จะมองคน ทั้งๆที่ความสำเร็จที่แท้จริงอยู่ที่คน เราน่าจะพัฒนาคนให้มีแนวคิดที่สอดคล้องกับแนวคิดของเวชปฏิบัติครอบครัวและบริการปฐมภูมิก่อนที่จะไปขยายขนาดอาคารหรือสถานบริการ คุณชายขอบคิดยังไงครับ

     ที่ผมคิดอยู่คือการพัฒนาคน ทั้งผู้ให้บริการ (สอ./สสอ./รพ.) และประชาชนด้วย ให้มีแนวคิดที่สอดคล้องกับแนวคิดของเวชปฏิบัติครอบครัวและบริการปฐมภูมิก่อน ซึ่งตรงกันครับ ผมจึงติดตามอ่านเรื่องที่หมอกลับจากออสเตรเลียอย่างใจจดใจจ่อ พร้อม ๆ กับ Review เรื่องราวในประเทศไทยไปด้วย ก็ตามที่เอามา(บันทึก)สะสมไว้ครับ

     ผมตั้งใจจะทำ Forcus Group และสัมภาษณ์(indept) ตามด้วยการสัมมนาเล็ก ๆ เรื่องนี้เร็ว ๆ นี้ที่พัทลุง เพื่อนำไปสู่ทางออกร่วมกัน (น่าจะได้ความร่วมมือที่เข้าใจกัน) แต่ยังเป็น Outline อยู่ อยากให้หมอได้ช่วย discuss ให้ด้วยครับ

     วันที่ 19 นี้ทราบว่าหมอจะมาที่ คณะแพทย์ มอ. ผมว่าจะขอ sit in ด้วย แต่ก็ติดที่นัดประชุมทีมงานไตรภาคีฯ เสียก่อนแล้ว เสียดายมากครับ

    

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท