ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ศสช.และปัจจัยที่มีผล


ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ ได้แก่ การขาดแคลนบุคลากรตามมาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชนเป็นมโนภาพ งบประมาณด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไม่เพียงพอ

     จากการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชน ของ บุษบา บุศยพลากร (2548) โดยศึกษาศูนย์สุขภาพชุมชนที่สามารถผ่านเกณฑ์มาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชน ในปี 2547  จำนวน 80 แห่ง ซึ่งมี วัตถุประสงค์ เพื่อ 1.) ศึกษาระดับประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานศูนย์สุขภาพชุมชน 2.) ศึกษาระดับปัจจัยที่คาดว่าจะมีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชน ได้แก่ ความรู้ ความเข้าใจ บทบาทหน้าที่ และทัศนคติ 3.)  ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความเข้าใจ บทบาทหน้าที่และทัศนคติของเจ้าหน้าที่ กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชน  และ 4.) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานศูนย์สุขภาพชุมชนให้มีประสิทธิภาพ โดยใช้ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำศูนย์สุขภาพชุมชน 80 แห่ง รวม 142 คน ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ เพียรสัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการศึกษา พบว่า
          1. เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานศูนย์สุขภาพชุมชน ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง สถานภาพสมรส อายุระหว่าง 25 - 35 ปี  ระยะเวลาปฏิบัติงาน 10 – 20 ปี ตำแหน่งงานพยาบาลวิชาชีพ ระดับการศึกษาปริญญาตรี

          2. ระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชนอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 93.0 และระดับปานกลาง ร้อยละ 7.0 ตามลำดับ

          3. ระดับความรู้เกี่ยวกับศูนย์สุขภาพชุมชน เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มีความรู้ดี เคยได้รับการฝึกอบรมมาแล้ว 1 – 2 ครั้ง และสามารถนำมาพัฒนางานให้ดีขึ้นเพียงเล็กน้อย ร้อยละ 40.1 มีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ตามาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชนในระดับที่ดี ร้อยละ 76.1 และปานกลางร้อยละ 23.2 ตามลำดับ

          4. ระดับทัศนคติของเจ้าหน้าที่ 3 ด้าน ได้แก่ การปรับเปลี่ยนระบบงาน การนิเทศติดตาม และการสนับสนุนจากผู้บริหารหรือนโยบายที่เอื้อต่อการปฏิบัติงานส่วนใหญ่ อยู่ในระดับดี ร้อยละ 47.2 ระดับปานกลาง ร้อยละ 40.8 และระดับต่ำ ร้อยละ 12.0 ตามลำดับ

          5. ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชนตามโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชนที่ผ่านการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชน 5 ด้าน คือ การกำหนดพันธกิจ เป้าหมาย การบริหารจัดการองค์กร การให้บริการ การปฏิสัมพันธ์กับชุมชน ระบบข้อมูล การประเมินผล และการพัฒนาคุณภาพองค์กร พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพฯ ได้แก่ ความรู้ (r = .213) ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ (r = .169) และทัศนคติ 3 ด้าน (r = .361) โดยเฉพาะทัศนคติการสนับสนุนจากผู้บริหาร (r = .383) และปัจจัยส่วนบุคคล คือ ตำแหน่งงานสำหรับปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระยะเวลาการปฏิบัติงาน ระดับการศึกษา ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชน

     ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ  ได้แก่ การขาดแคลนบุคลากรตามมาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชนเป็นมโนภาพ งบประมาณด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไม่เพียงพอ

     ข้อเสนอแนะ  ได้แก่
          1. บุคลากร จะต้องให้ความสำคัญและจัดสรรบุคลากรตามมาตรฐาน หากมีอัตรากำลังเพียงพอ หรือจัดให้มีการหมุนเวียนบุคลากรไปปฏิบัติงานเป็นประจำ เพื่อให้ประชาชนสามารถมารับบริหารได้อย่างต่อเนื่อง

          2. สร้างขวัญ  กำลังใจในการปฏิบัติงานให้แก่ เจ้าหน้าที่อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม

          3. มาตรฐานการประเมินศูนย์สุขภาพชุมชนจะต้องส่งเสริม สนับสนุนองค์ความรู้ ประชุม    เชิงปฏิบัติการ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เพื่อนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานที่สามารถประเมิน / วัดผล  เชิงปริมาณ หรือคุณภาพได้อย่างเหมาะสม และจำเป็นจะต้องปรับเกณฑ์การประเมินมาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชนให้ชัดเจน และปฏิบัติงานได้อย่างเป็นรูปธรรม

          4. งบประมาณภายใต้งบประมาณที่มีจำนวนจำกัด ผู้บริหารทุกระดับจะต้องบริหารจัดการงบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยการจัดทำเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณตามปริมาณงาน และอื่น ๆ

          5. ผู้บริหารต้องให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชน ได้แก่ การให้ความรู้ กำหนดนโยบายที่ชัดเจน บทบาทหน้าที่ชัดเจน เพื่อเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือ สร้างขวัญกำลังใจ ในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

     ที่มา: กลุ่มแผนงานและบริหารประสิทธิภาพ สำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ  

หมายเลขบันทึก: 9465เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2005 18:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรามักจะบอกว่าปัญหาคือ คนไม่มี เงินไม่พอ ก่อนเสนอ ?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท