รูปแบบของทฤษฎีเชิงประจักษ์ : 1


ทฤษฎีเชิงประจักษ์จะกล่าวถึงสิ่งที่สังเกตโดยตรงไม่ได้ แต่สามารถที่จะทำนาย หรือนิรนัย ไปสู่สิ่งที่สังเกคโดยตรงได้.

ในการจัดประเภทของทฤษฎี  ผมจะใช้รูปแบบ(Form) ซึ่งเป็นผลจากการอภิปรายของศาสตราจารย์ ดร.ธีระ อาชวเมธี มาเป็นเกณฑ์ในการจัดประเภท  และจัดได้เป็น  ทฤษฎีแบบอ่อน(Weak-Form Theory)  และทฤษฎีแบบแข็ง(Strong-Form Theory)  ทฤษฎีแบบอ่อนจะไม่มีรูปแบบ  มีแต่เนื้อหา(Content)  ส่วนทฤษฎีแบบแข็งจะมีทั้งรูปแบบและเนื้อหา

วันนี้ผมจะบันทึกเฉพาะทฤษฎีแบบอ่อน  โดยจะเลือกข้อความมาจากทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของ ฟรอยด์(Freud) ที่อธิบายเกี่ยวกับโรคประสาท(Neurosis)  และผมตั้งชื่อว่า Theory of Neurosis หรือทฤษฎีโรคประสาท  และปรับปรุงเล็กน้อย โดยเรียงลำดับจาก  คำนิยาม, คำอธิบายของทฤษฎี. ตามลำดับ ดังนี้

ทฤษฎีโรคประสาท

คำนิยาม :   Id คือ แหล่งพลังงานจิต(Reservoir of psychic energy)ที่ได้มาพร้อมกับการเกิด  กิจกรรมของ Id จะมุ่งที่ความสุขอย่างเดียว  ไม่คำนึงถึงความถูกต้องทางศิลธรรม  ยึดหลัก Pleasure Principle. Ego เป็นเหตุการณ์ทางจิตที่พัฒนาขึ้นมาจาก Id เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดจาก Id. Ego ยึดหลักความจริง (Reality Principle)

คำกล่าวของทฤษฎี : โรคประสาท เป็นผลของความขัดแย้งระหว่าง Ego  และ Id.

ข้อความเพียงประโยคเดียวนี้ คือทฤษฎี  ที่ว่าเป็นทฤษฎี ก็เพราะว่า (1) ข้อความนี้กล่าวถึงสิ่งที่สังเกตโดยตรงไม่ได้  สิ่งนั้นคือ Id, Ego. แต่เชื่อว่าทั้งสองสิ่งนี้มีอยู่จริง  เพราะว่า Id  เป็นองค์ประกอบทางชีววิทยา  และ Ego ก็พัฒนามาจาก Id และเป็นองค์ประกอบทางจิต ที่สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรม  (2) ข้อความนั้น อธิบาย โรคประสาท  คือ อธิบายว่า  Id ถือหลักความสุข ไม่คำนึงด้านศิลธรรม  และไม่คำนึงถึงโลกจริงภายนอกกาย  ซึ่งตรงกันข้ามกับ Ego ที่ถือหลักความจริงของโลกภายนอกกาย  สองสิ่งนี้จึงต้องขัดแย้งกันได้  ผลของความขัดแย้งก็คือ  ความวิตกกังวล (anxiety) ความกลัวต่าง ๆ (Phobia) เป็นต้น  จากสองข้อท่กล่าวมา  ทำให้ข้อความนั้นเป็นทฤษฎี

เนื่องจากทั้ง Id, Ego. อยู่ในคำกล่าวของทฤษฎี  ดังนั้น  ข้อความที่เป็นคำนิยามและคำกล่าวของทฤษฎี  ถือว่าเป็น เนื้อหา (Contents) ของทฤษฎี  เนื้อหานี้จะทำหน้าที่เป็นเงื่อนไขที่มาก่อน(Antecedent, or Premise) ที่ทำให้ได้ ข้อสรุป (Consequent,Conclusion, or Implication) ว่า " ถ้าให้คนเข้าไปอยู่ในห้องมืด และแคบคนเดียวเป็นเวลาสิบวัน  แล้วคนนั้นจะมีอาการผืดปกติทางจิต คือ  วิตกกังวล  หวาดกลัว อันเนื่องมาจากความขัดแย้งระหว่าง Id,Ego. "  

ถ้าเราให้ข้อความที่เป็น Premise เป็น  p:  และให้ข้อความที่เป็น Conclusion เป็น  q: แล้ว  เราสามารถเขียนเป็น Form ได้ว่า   p  (imply)  q.  และ  p (imply)  q  นี้ เป็น  Form  ซึ่งสรวมเอา Content ของทฤษฎีไว้ด้วย  ดังนั้น  p  (imply)  q  นี้  จึงมีทั้ง  Form  และ  Content  แต่เนื่องจาก  Form  ดังกล่าวไม่ได้ปรากฏจริงในทฤษฎีที่กล่าว   ที่ปรากฏแท้จริงก็มีแต่ Content เท่านั้น ดังนั้น  ทฤษฎีโรคประสาทนี้จึงไม่มี Form  มีแต่ Content  ดังนั้น  ผมจึงจัดทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีแบบอ่อน หรือ  Weak-Form Theory.          

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 9430เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2005 00:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ตามมาอ่านค่ะ ขอบคุณค่ะอันนี้น่ากลัว การขังเดี่ยวไม่ได้แก้ปัญหาใดๆเลย ถ้าทฤษฎีโรคประสาทเป็นจริง ใครจะกล้าทดลอง

ถ้าจะทำการทดลองเพื่อทดสอบทฤษฎี ก็เห็นทีจะต้องใช้สัตว์ เช่น ลิง หรือหนู เป็นผู้รับการทดลองแหละครับ จะใช้คนดงไม่มีใครสมัครเป็นผู้รับการทดลองแน่อน

สวัสดีคะพ่อครู ยินดีที่ได้อ่านคะ่

 

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

สวัสดี คุณวงศ์ปริวัตร

ขอบคุณครับที่เข้าไปทักทาย  และอ่าน 

อันที่จริง  คนทั่วไป  ที่อายุราวๆ  ๑๓ ปีกว่าๆขึ้นไป   เขามีความรู้จากประสบการณ์ที่สามารถสร้งทฤษฎีได้แล้วครับ   อาจจะเป็นข้อความสองสามประโยคก็ได้   แต่เขาไม่รู้ตัว  ว่าเขาทำได้   และกำลังทำเช่นนั้นอยู่   เพียงแต่ไม่เป็นระบบเหมือนของนักคิดในระดับที่ซับซ้อนเท่านั้น

ใกล้วันสงกรานต์แล้ว  ขอให้มีความสุขนะครับ

ดร.ไสว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท