การเขียนหนังสือราชการ หนังสือโต้ตอบและรายงานการประชุม


ชอบการอบรม เพราะได้รับความรู้ในสิ่งที่เรายังไม่รู้หรือรู้แต่อาจจะรู้แบบผิดๆ

ผู้เขียน  ได้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร  การเขียนหนังสือราชการ  หนังสือโต้ตอบและรายงานการประชุม  รุ่นที่  61  เมื่อวันที่  23 25 เมษายน  2550  ณ  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  จังหวัดนนทบุรี

ผู้เขียนได้เข้ารับการอบรมครบถ้วนตามหลักสูตร  ซึ่งการอบรมผู้เขียนได้รับประโยชน์จากการอบรมในครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง

-  หัวข้อการอบรมและวิทยากร  หัวข้อการอบรม การเขียนหนังสือราชการ  หนังสือโต้ตอบและรายงานการประชุม  วิทยากรคือ  รองศาสตราจารย์นภาลัย  สุวรรณธาดา,  พันเอก(พิเศษ)กิจคณิตพงษ์   อินทอง  และอาจารย์อดุล  จันทรศักดิ์  จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  ท่านต่างก็เป็นผู้มีความรู้ความสามารถมาก

  รูปแบบและวิธีการฝึกอบรม  มีการทดสอบก่อนและหลังการฝึกอบรม  วิทยากรบรรยายโดยมีสื่อคอมพิวเตอร์และตำราประกอบ  ผู้เข้าอบรมฝึกปฏิบัติงานเป็นกลุ่มและรายบุคคลนำเสนองานโดยมีวิทยากรเสนอแนะ  นอกจากนั้นยังมีกรณีศึกษา  ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมฝึกการแก้ไขและวิจารณ์หนังสือราชการ

-  ผลที่ได้รับ   ผู้เขียนสำเร็จการอบรม  ได้รับวุฒิบัตรจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  ได้รับความรู้ความเข้าใจและสามารถเขียนหนังสือราชการประเภทต่างๆ  ได้  สามารถวิเคราะห์และตรวจแก้หนังสือราชการได้อย่างถูกต้องตามหลักการ  และทำให้ให้ผู้เขียนรู้ว่า  ปัจจุบัน  คำว่า  จัก  กับ  ใคร่  เค้าไม่ให้ใช้กันแล้ว    ซึ่งผู้เขียนก็หลงใช้มาตลอด

หากใครสนใจอบรมหลักสูตรไหนก็สามารถเข้าไปดูได้นะคะที่นี่เค้าตั้งใจอบรมกับผู้เข้าอบรมมากๆ  ไม่ใช่อบรมเพียงแต่หวังกำไรจากเรา  แต่หน่วยงานเค้าต้องการให้ผู้เข้าอบรมจะได้รับประโยชน์จะการอบรมในครั้งนี้ อย่างสูงสุด  (พูดจากความรู้สึกของตัวเอง  เพราะตอนที่ไปอบรมทางวิทยากรทำให้เรารู้สึกแบบนั้นจริงๆ) http://www.stou.ac.th/thai/Offices/Oce/ce/  ถึงแม้จะอบรมไม่กี่วันแต่ผู้เขียนก็รู้สึกประทับใจและภูมิใจ  เพราะผู้เข้าร่วมอบรมทุกคนต่างเป็นกันเอง  ทั้งๆ  ที่บางคนตำแหน่งระดับผู้บริหารก็ยังมาอบรมและร่วมรับฟังความคิดเห็นจากเราด้วย  เค้าบอกว่าจะได้นำไปใช้ในหน่วยงานของเค้าให้ถูกต้องตามหลักวิธี  ซึ่งแต่ก่อน  ก็เข้าใจหลักการเขียนหนังสือราชการ  และรายงานการประชุมแบบผิดๆมาตลอด  

หมายเลขบันทึก: 93851เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2007 14:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 สิงหาคม 2019 21:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)
เก่งจัง ได้รับความรู้มากเลย
  • ดีมากๆเลยจะได้นำมาใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง
นิติกรอัตราส่วนไขมันสูง

ถูกส่งไปอบรมบ่อยๆ นิสัยไม่ดีสิเนี่ยะ อิอิ

น่าสนใจดีนะครับ ไว้วันหลังจะให้ทางสถานศึกษาไปอบรมมั่ง

อ่านง่ายดีครับ

อยากมีโอกาสไปอบรมอย่างผู้เขียนบ้าง

เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญ

อิจฉาจัง  อยากไปบ้าง  แต่ไม่เป็นไร  ว่างๆ  จะไปให้สอน na ja..
ดีแล้วจ้า เราจะได้นำเสนอที่เราอบรมให้คนอื่นได้รู้ด้วย เป็นการเผยแพร่ความรู้แก่คนอื่นด้วย จริงป่าว  สู้ สู้  จงทำต่อไป

ขอบคุณคุณ boo  ที่เข้ามาทักทาย

ขอบคุณคุณ  busara  ใช่ค่ะ  นำไปปฏิบัติงานได้จริง

ขอบคุณคุณนิติกรอัตราไขมันสูง  การอบรมไม่จำเป็นต้องนิสัยไม่ดีถึงต้องอบรม  แต่เป็นเพราะผู้เขียนดีเกินไป  อิอิ

ขอบคุณคุณนิติกรน้อย  มีประโยชน์มากๆค่ะ 

ขอบคุณคุณ  yujaa  ยินดีค่ะ

ขอบคุณคุณ  ttmatom  มีโอกาสก็ไปได้ค่ะ

ดีจัง ได้เรียนรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์มากๆ โดยเฉพาะการเขียนหนังสือราชการ รายงานการประชุม ฯลฯ ซึ่งมีความจำเป็นมากเหมือนกันสำหรับการทำงานราชการ แต่ทว่า หากมีการจัดทำเป็นหนังสือคู่มือหลักการเขียนหนังสือราชการเพื่อให้แต่ละคณะมีรูปแบบการเขียนที่เหมือนๆกัน ก็คงจะดีไม่น้อย
เห็นด้วยกับความคิดเห็นคุณ  Chadap  ค่ะ
  • น่าสนใจดีจังเลยนะค่ะ ความจริงน่าจะอบรมทั้งหน่วยงานเลย จะได้เข้าใจตรงกัน
  • แต่ว่าความรู้จะดีถ้าได้บอกต่อนะค่ะ
  • ว่างๆ สอนเขียนจดหมายราชการก็ดีนะค่ะ (ยังเขียนไม่เก่งเลย หุหุ)

เห็นด้วยนะคะที่ทางคณะฯ สนับสนุนให้บุคลากรเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการเขียนหนังสือราชการ และรายงานการประชุม เพราะบรรณารักษ์ห้องสมุดทุก ๆ คณะฯ ส่วนใหญ่แล้วต้องบริหารจัดการงานหลาย ๆ อย่างควบคู่กันไปกับงานประจำ ฉะนั้น การอบรมด้านนี้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ หลาย ๆ ด้าน เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น...หากมีโอกาสผู้เขียนก็อยากไปค่ะ...

คุณวิรอง  หากมีโอกาสผู้เขียนก็เห็นด้วยค่ะ  เพราะได้รับความรู้และนำมาปฏิบัติได้จริงค่ะ

สวัสดีครับ แวะมาทักทาย มาอ่าน มาชมเอาความรู้พัฒนาสมองครับ

ขอบคุณคุณนิเวศน์  อรุณเบิกฟ้า  ค่ะ  ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ

สวัสดี่ค่ะพี่เตี้ย อ่านแล้วได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกเยอะเลยยังไงก้อยก็จะเข้ามาติดตามเรื่องต่อๆ ไปอีกนะคะ

**** ถ้ามีโอกาสจะไปช่วยขนหนังสืออีกนะคะ ****

อยากรู้จังมีหนังสือขายมั้ย  แล้วอยู่โคราชจะมีโอกาสได้รับการอบรมไหมคะ รบกวนตามผ่านe-mailขอบคุณคะ

ไม่ทราบว่าคุณได้เขียนหนังสือขายรึปล่าว แนะนำได้ไหมคะ [email protected]

เรียน  ครูบ้านโคก 

ทางผู้เขียนไม่ได้เขียนหนังสือราชการฯ  ค่ะ  เพียงแต่เป็นผู้ได้เข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้  และนำมาเขียนเผยแพร่ผลการอบรมให้ผู้อื่นได้ทราบถึงประโยชน์ที่ผู้เขียนได้รับค่ะ 

 

ดีมากหนู อย่างน้อยก็นำปัญหาที่พบมาพูดคุยแก้ไขกันให้ถูกต้อง แต่อย่างไรก็ดี การเขียนหนังสือราชการ และการจัดทำรายงานการประชุม ลุงเกเข้าใจว่า มันเป็นทักษะนะ และเกี่ยวเนื่องกับเรื่องของการใช้ภาษาด้วย บางคนภาษาดีสละสลวยมาก บางคนอ่านแล้วรู้สึกขัดๆยังไงชอบกล

สรุปแล้วทั้งสองรายการคงต้องอาศัยเวลาฝึกฝนด้วยการปฏิบัติจริงสักระยะหนึ่ง ยิ่งประสบการณ์มากก็ยิ่งปฏิบัติได้ดี ลุงเกไปประชุมที่ไหนหากพบรายงานประชุม หรือวาระการประชุม ถ้าเห็นว่าไม่ถูกต้อง ลุงเกมักจะแอบกระซิบเสนอแนะให้ฝ่ายเลขฯทุกครั้ง

อีกนิดหนึ่ง

ที่ค้างไว้เพราะ เครื่องคอมเด้งกลับไปโดยที่ยังไม่ทันจบข้อความ

อีกนิดหนึ่ง ในการบันทึกวาระการประชุมตามหัวข้อในวาระ จะต้องสรุปสรุปประเด็นให้ชัดเจน และสรุปด้วยว่ามติที่ประชุมว่าอย่างไร

ส่วนใหญ่จะขาดใจความสำคัญเหล่านี้

อาจารย์เก

ปัจจุบัน  คำว่า  จัก  กับ  ใคร่  เค้าไม่ให้ใช้กันแล้ว     เพราะอะไรคะ

ขอบคุณคุณใบบุญที่เข้ามาทักทาย  จากคำถาม  ที่อาจารย์วิทยากรผู้สอนได้บอก  เป็นเพราะ...

การใช้คำ
จะ = เป็นคำเบา ใช้กรณีทั่วไป เช่น จะกระทำทิได้ จะขอบคุณยิ่ง
จัก = เป็นคำหนักแน่น ใช้เป็นคำขู่ คำสั่ง คำกำชับ เช่น ผู้ใดฝ่าฝืน จักต้องได้รับโทษ
ในหนังสือราชการทั่วไป ไม่ควรใช้คำว่า "จัก" เช่น "จักขอบคุณยิ่ง" ควรใช้ว่า"จะขอบคุณยิ่ง"
ใคร่ = เป็นคำบอกความรู้สึก เป็นภาษาพูดไม่ควรใช้ ถ้าจะใช้เขียนย่อหน้า 1 หรือ 2 ไม่ควรใช้ย่อหน้าท้าย (จึงเรียนมา)
ไม่ควรใช้คำว่า "จัก" และ "ใคร่" แต่ถ้าเจ้านายเราชอบ ก็ไม่เป็นไร
ไม่ควรใช้คำว่า "ระหว่างวันที่" ควรใช้คำว่า "ตั้งแต่วันที่"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท