การระบุปัญหาสุขภาพชุมชน


ลักษณะอย่างนี้ยังไงก็จะไม่ตรงกับแนวนโยบายทั้งหมด ไม่ตรงกับทิศทางที่ผู้บริหาร หรือผู้ปฏิบัติงานนึกคิดไว้แต่ต้น

     สืบเนื่องจากบันทึก ปัญหานี้เป็นปัญหาพี่หรือปัญหาของชุมชน ผมเลยได้ความคิดว่าเดิมเราเรียนรู้มาว่า

          ปัญหา = (ความคาดหวัง – ข้อเท็จจริง) X ความตระหนัก

     ซึ่งเมื่อนำมาปฏิบัติจริง ตัวแปรก็จะเท่ากับค่าต่าง ๆ ดังนี้

          ความคาดหวังตามนโยบาย ตามเกณฑ์ที่ถูกกำหนดโดยส่วนหลาง หรือจาก จนท.รัฐ
          ข้อเท็จจริงเราซึ่งเป็น จนท.รัฐ สังเกต รวบรวมบันทึกไว้ ขาดการมีส่วนร่วม และอาจเป็นเพียงข้อเท็จ (ไม่มีจริง) ก็ได้
          ความตระหนัก ก็เป็นความตระหนักของผู้บริหารเพียงฝ่ายเดียว อาจจะมีบ้างที่เกิดจากผู้ปฏิบัติงาน ยิ่งถ้าสัมพันธภาพของผู้ปฏิบัติงานกับผู้บริหารไม่ดีอีก ความลำเอียงในการให้น้ำหนักของความตระหนัก (ลำเอียง) จะสูงมาก

     ทีนี้ลองมาดูวิธีคิดที่ดัดแปลงจากเดิมเพื่อให้ลงถึงประชาชนเจ้าของปัญหาจริง ๆ น่าจะได้ใหม่ที่คล้ายเดิม แต่ฐานคิดต่างกันดังนี้

          ปัญหาสุขภาพของชุมชน = (ความคาดหวังของชุมชน – ข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่) X ความตระหนักร่วมกันของชุมชนเอง

     โดยปัญหาสุขภาพของชุมชน ต้องมาจากความคาดหวังของชุมชนเอง และมีข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่ที่ชุมชนรับทราบรับรู้ ส่วนตัวคูณก็มาจากความตระหนักร่วมกันของชุมชนเองอีกเช่นกัน ลักษณะอย่างนี้ยังไงก็จะไม่ตรงกับแนวนโยบายทั้งหมด ไม่ตรงกับทิศทางที่ผู้บริหาร หรือผู้ปฏิบัติงานนึกคิดไว้แต่ต้น (เพราะถ้าตรงจริง ๆ ปัญหาคงถูกแก้ไปหมดนานแล้ว) แต่ลองมาคิดดูว่าหากสภาพปัญหาเป็นของชุมชน เขาจะเป็นเจ้าภาพในการแก้ไขเอง ก็คงต้องใช้ฐานคิดนี้ครับ

หมายเลขบันทึก: 9378เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2005 01:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท