วิเคราะห์แผนงานพัฒนาโรงเรียนชุมชน


ร่วมประชุม อบต.ประดู่ยืนเรื่องการวางแผนวิเคราะห์งานพัฒนา รร.ผู้นำ รร.เกษตรกร รร.ศูนย์เด็กเล็ก เพื่อหาแนวทางร่วมในการวางแผนงาน โดยได้ทำหน้าที่คุณอำนวยกลุ่มเกษตรกรได้ความรู้ และประสบการณ์ที่แลกเปลี่ยนกันระหว่างกลุ่มเกษตรกรประดู่ยืนและเรา นจท.อีกพื้นที่
ณ ที่นี้เราได้เรียนรู้เพิ่มเติมต่อวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของทีมโครงการ สรส.ที่ขยายพื้นที่การเรียนรู้เข้า อบต.ประดู่ยืน ความคาดหวังก็เพื่อให้แกนนำ + ทีมทำงานในพื้นที่ มีขีดความสามารถในการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายของตำบล ชุมชนเป็นสุขเป็นตัวตั้ง คนจะเป็นสุขเอาการเรียนรู้เป็นตัวตั้ง หลุดจากปัญหาเกิดปัญญาและทางออก นั้นคือเป้าหมายหลักของทีมทำงานพี่ทรงพล
ในการร่วมกันวิเคราะห์และทำหน้าที่ของ นจท .และการเป็นคุณอำนวยในวงสนทนาเป้าหมายและหัวใจสำคัญในวันนี้ก็เพื่อที่จะวิเคราะห์การเดินงานตามต่องานเพื่อไปให้ถึงธงที่กำหนดร่วมกันของแต่ละโรงเรียนที่ตั้งไว้ในขีดการพัฒนาศักยภาพของ อบต.ประดู่ยืน เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการเกิดสถาบันการจัดการความรู้ของ อบต.ประดู่ยืน ด้านต่างๆ ก็คือด้านการเกิด รร.พ่อแม่ เริ่มจากศูนย์เด็กเล็ก รร.เกษตรกร เป้าหมายคือเป็นศูนย์การเรียนรู้และการถ่ายทอดความรู้ จากกลุ่มโรงเรียนเกษตรที่มี รร. ผู้นำ จากการนำสมาชิก อบต.มาร่วมพัฒนาศักยภาพเดือนละ 1 ครั้งในด้านต่างๆบนฐานการทำงานจริง จากการที่ นจท.ได้เข้าร่วมเวทีวิเคราะห์และฐานะคนเป็นคุณอำนวยกลุ่มโรงเรียนเกษตรกร จึงได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนกันกับการเรียนรู้ รร.เกษตรกรของ ต. ประดู่ยืน ซึ่งตั้งมาตั้งแต่ปี 2546 น่าสนใจมากเกี่ยวกับเรื่องกระบวนการเรียนรู้ที่เรียนรู้จากปัญหาที่แท้จริง ตั้งแต่ปุ๋ยชีวภาพ เรียนรู้สารเคมี แมลง ปรับปรุงบำรุงดินอื่นๆ ซึ่งวิธีการสอนก็คือ ให้เกษตรกรเรียนรู้จากฐานอาชีพและปัญหาของแต่ละพื้นที่ ตรงนี้เองที่สร้างความเข้าในถึงกระบวนการเรียนรู้ที่สร้างพลังกลุ่มเข้มแข็ง ด้านการจัดการความรู้ ทุน คนของกลุ่มเกษตรกร รวมไปถึงการเรียนรู้เพื่อวิเคราะห์การเกิด แหล่งถ่ายทอดความรู้ต่อไป
ในการร่วมวิเคราะห์การเรียนรู้โดยใช้หลักการจัดการความรู้เพื่อกำหนดและวิเคราะห์ การเดินไปข้างหน้าแต่ละก้าว และเป้าหมายที่ปักธงไว้ ว่าจะสามารถสร้างให้เกิด โรงเรียนแต่ละโรงเรียนได้จริงหรือไม่ ผลการวิเคราะห์ก็คือ สามารถวัดกลุ่มที่สามารถเกิดได้จริงในเรื่องของ รร.เกษตรกร ซึ่งตั้งและดำเนินการมานานแล้วมีแนวโน้มความยั่งยืนสูงเกิดได้จริงในรูปสถาบันการจัดการความรู้ รร.พ่อแม่ เพราะครูเห็นด้วยทุกคนกับแนวคิดของท่านายก จึงมีแนวโน้มที่จะพัฒนาต่อเนื่องและเกิดผลจริง

โดย พิมพ์พร  ช้างทองคำ
นักจัดการความรู้ท้องถิ่นตำบลไชยภูมิ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
(23พ.ย.48)

หมายเลขบันทึก: 9366เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2005 18:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท