ถอดบทเรียน "การจัดงานมหกรรมคนพิการฯ"


งานนี้มีคนพิการและญาติมากเกินจำนวนตั้งตั้งไว้มาก คือตั้งไว้ประมาณ 250 คน เผื่อเหลือเผื่อขาดไว้อีก 50 คน แต่พอเอาเข้าจริง ๆ กลับมียอดรวมถึง 453 คน แม้ฝนจะตกตลอด ก็ย่อมขลุกขลักบ้าง แต่สามารถจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ อันนี้ต้องยอมรับความเป็นทีม พลังของทีมงาน

     เมื่อวันที่ 2 ธ.ค.2548 คปสอ.เขาชัยสน ก็ได้ทดสอบการทำงานเป็นทีมร่วมกันทั้งภาพรวมของ คปสอ. หลังผ่านการเรียนรู้มาเกือบ 1 ปี ในเรื่อง “คนพิการ” ด้วยการจัดงานมหกรรมคนพิการฯ เทิดพระเกียรติฯ 5 ธันวามหาราช ตามที่เคยได้บันทึกไว้ แต่ด้วยในวันงานผมไม่ได้อยู่ เพราะไปร่วมงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ที่ กทม.

     เมื่อวาน (8 ธ.ค.2548) ช่วงเช้า ผมก็ได้ไปช่วยในกระบวนการการถอดบทเรียนร่วมกัน ภาพที่ไม่เคยเห็นหลาย ๆ คนบอกว่า ได้ทำอย่างนี้หลังการทำงานจะเยี่ยมมาก ดีมาก ไม่มีใครโกรธกันเมื่อมีการตำหนิกันตรง ๆ แต่แบบกัลยาณมิตร งานนี้มีคนพิการและญาติมากเกินจำนวนตั้งตั้งไว้มาก คือตั้งไว้ประมาณ 250 คน เผื่อเหลือเผื่อขาดไว้อีก 50 คน แต่พอเอาเข้าจริง ๆ กลับมียอดรวมถึง 453 คน แม้ฝนจะตกตลอด ก็ย่อมขลุกขลักบ้าง แต่สามารถจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ อันนี้ต้องยอมรับความเป็นทีม พลังของทีมงาน ผมหาข้อมูลจากคนพิการที่มาร่วมงานบ้างที่ผมรู้จัก โดยการโทรศัพท์ไปสอบถาม รวมถึงได้สอบถามจากพี่อวยพร ดำเกลี้ยง จนท.จากกลุ่มงานกระกัน ที่ได้ไปร่วมงานนี้ด้วย เขาประทับใจมาก เขาเล่าให้ผมฟังว่ามีคนพิการบางคนซื้อเสื้อกันฝนใหม่เพื่อมางานนี้โดยเฉพาะ มาดูประเด็นที่ถอดบทเรียนออกมาได้นะครับ

     ประเด็นที่เป็นข้อยกย่อง และขอชื่นชมร่วมกัน
          1. เตรียมงาน เขียนโครงการ แบ่งงานและมอบหมายผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน
          2. ความร่วมมือของเจ้าหน้าที่ ด้านกำลังกาย กำลังทรัพย์ กำลังใจ เพื่อผู้พิการ
          3. ญาติให้ความสำคัญ (รวมถึงผู้นำชุมชน  อบต.ควนขนุน อบต.โคกม่วง เทศบาลเขาชัยสน)
          4. พิธีกรมีไหวพริบดี เป็นกันเอง
          5. ผู้บังคับบัญชาให้ความสำคัญ
          6. ผู้พิการมีความอดทน
          7. หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือดีมาก (กศน. โรงพยาบาลพัทลุง, CUP ตะโหมด แรงงานจังหวัด, การศึกษาพิเศษ)
          8. กลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจเกินเป้าหมาย
          9. การจัดลำดับกิจกรรมเป็นไปด้วยดี
          10. มีการประสานงานดี
          11. มีการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง
          12. รู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ ประยุกต์การใช้งานได้ดี
          13. มีผู้พิการขึ้นทะเบียนใหม่ 58 ราย
          14. ผู้พิการที่ไม่มีขาเทียมก็สามารถติดต่อขอรับขาเทียมได้ในงาน
          15. ผู้พิการมีความตั้งใจจริงให้ความสำคัญกับการร่วมงาน

     ประเด็นที่ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ
          1. การารรับประทานอาหารไม่สะดวก (ถุง น้ำเต้าหู้ แกง แกะไม่สะดวก ไม่มีที่วางอาหาร)
          2. ฝ่ายลงทะเบียนขาดการประสานงาน (มาช้า เอกสารไม่พร้อม)
          3. สถานที่ลงทะเบียนคับแคบ มีจุดเดียว
          4. เสื้อสำหรับผู้พิการมีไม่เพียงพอ ผู้ประสานงานเข้าใจผิด ไม่แน่ใจว่าแจกให้ใครบ้าง
          5. การเอาหมายเลขจับรางวัลพ่วงกับการประเมินผลทำให้ผู้ตอบแบบประเมินมุ่งไปที่รางวัลแทนการตอบแบบสอบถาม ทำให้ข้อมูลขาดความน่าเชื่อถือไป
          6. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ 1 คน มีหลายหน้าที่
          7. ฝ่ายสถานที่ไม่ตรวจตราดูแล ตั้งแต่ก่อนงาน ระหว่างงาน เสร็จสิ้นงาน
          8. มีแพทย์เฉพาะทางมาให้บริการ แต่ไม่มีการคัดกรองผู้ป่วยให้
          9. ฝ่ายต้อนรับ ไม่ได้มาต้อนรับผู้พิการ
          10. รถเข็นมีไม่เพียงพอ
          11. ห้องน้ำสำหรับผู้พิการไม่มี
          12. ห้องน้ำมีปริมาณไม่เพียง
          13. คณะกรรมการแต่ละฝ่าย ไม่ได้มีการประชุมย่อย
          14. แขกผู้มีเกียรติใช้เวลาพูดนานเกินไป
 
     หากมีโอกาสได้ทำใหม่/จัดใหม่ จะทำดีกว่าเดิมได้อย่างไรบ้าง
          1. น่าจะแจกผ้าขนหนูแทนเสื้อสำหรับผู้พิการทันที่หลังเสื้อหมด
          2. ให้ของขวัญสำหรับทุกคน
          3. น่าจะมีระบบการลงทะเบียนแยกระหว่างตัวแทนผู้พิการหรือผู้พิการเอง
          4. เปลี่ยนวิธีการประเมินเป็นการสังเกตและการสัมภาษณ์ โดย ใช้แนวคำถามกึ่งโครงสร้าง ไม่มีโครงสร้างแทน
          5. การมอบหมายงาน ควรให้ทุกคนมีส่วนร่วมในงานใหญ่  เช่น ฝ่าย สถานที่ ให้ความสำคัญ กับการมีส่วนร่วม อย่างทั่วถึง
          6. หากลวิธี ที่จะหาหรือทราบกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนก่อนถึงงานให้ได้
          7. ควรมีทีมหาสปอนเซอร์ ไม่ใช่ออกหาเพียงไม่กี่คน
          8. ควรมีสัญลักษณ์แสดงว่าเป็นเจ้าหน้าที่ เพื่อความสะดวกในการประสานงาน
          9. ควรมีการคัดกรองผู้พิการไว้ล่วงหน้า เพื่อพบแพทย์
          10. น่าจะมีการตรวจสอบสิทธิผู้พิการในงานได้เลย ควรอยู่ในส่วนหนึ่งของงาน
          11. น่าจะมีการจ้างทีมจัดงานโดยเฉพาะ เจ้าหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยทั่วไป เพื่อให้ กำลังคนได้ใช้ประโยชน์สูงสุด
          12. คณะกรรมการควรมีการประชุมย่อยในแต่ละฝ่าย
          13. ขอสปอนเซอร์จากบริษัทใหญ่ ๆ เช่น AIS
          14. สรุปกิจกรรมและมีหนังสือขอบคุณให้สปอนเซอร์
          15. น่าจะให้ชมรมผู้พิการเป็นผู้ขอสปอนเซอร์เอง
          16. เพิ่มระยะเวลาในการวางแผน
          17. น่าจะมีการจัดงานรวมกัน ทั้งผู้พิการ อสม. ผู้สูงอายุ เพื่อให้ทุกส่วนได้มีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
          18. ควรให้ผู้พิการแสดงกิจกรรมบนเวทีและดำเนินการในงานเอง
          19. ปรับเปลี่ยนวิธีการจากการพูดทีละคน เป็นการอภิปรายร่วมบนเวที และให้ผู้พิการเป็นการซักถามปัญหาดังกล่าว
          20. ควรเพิ่มการสื่อสารภาษามือ
          21. ควรมีการจัดกลุ่มผู้พิการแต่ละประเภท (สอบถามจากผู้พิการอีกที)
          22. ควรมีแผนสำรองไว้เสมอ ในทุกขั้นตอนของกิจกรรม

     ประเด็นที่ได้เรียนรู้จากการดำเนินงานในครั้งนี้
          1. การรับรู้ของผู้พิการแต่ละประเภท ไม่เหมือนกัน และแตกต่างจากคนปกติ จึงควรใช้วิธีการสื่อสาร หลาย ๆ วิธี
          2. ขั้นตอนการจัดเตรียมงาน ควรให้ผู้พิการเข้ามามีส่วนร่วมในการคิด วางแผน หรือรับผิดชอบ จะตรงกับความต้องการเขามากที่สุด
          3. เมื่อเรามีอารมณ์โกรธ หรือเหนื่อย แต่เมื่อเห็นผู้พิการแล้วหายโกรธ
          4. เรียนรู้เทคนิคการให้บริการคนพิการจากสามัญสำนึกของตนเอง
          5. เรียนรู้ว่าการให้ทำให้เกิดความสุข โดยไม่หวังอะไร
          6. มี Service mind เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ
          7. ได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม ได้เห็นได้รู้จุดอ่อน จุดแข็งของการดำเนินงาน
          8. การใช้โครงการหรือ กิจกรรม เป็นเครื่องมือในการประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ
          9. โครงการนี้เป็นเครื่องมือในการเกิดเครือข่ายในการประสานงานที่ดีขึ้น
          10. ได้เรียนรู้รูปแบบวิธีการการถอดบทเรียนหลังการทำงาน
          11. วิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนพิการ
          12. ได้เรียนรู้ขีดความสามารถของหน่วยงานอื่น
          13. เรียนรู้กระบวนการทำงานต้องมีการวางแผนและปรับแผน
          14. เรียนรู้การอยากมีส่วนร่วมและความสามารถของผู้พิการเพราะว่าบางครั้งเราไปปิดกั้นโอกาสของผู้พิการ
          15. การเปลี่ยนแปลงทัศนคติของ เจ้าหน้าที่ต่อ ผู้พิการโดยไม่ใช้นโยบาย
          16. การใช้กิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ซ้ำ ๆ จนเกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของเจ้าหน้าที่ ญาติ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การเอกชน ฯลฯ นำไปสู่ความสำเร็จ

     ที่ประชุมได้ร่วมกันสรุปปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินงานในครั้งนี้ ได้ดังนี้
          1. ความครอบคลุมของกิจกรรมที่ถูกนำมาใช้
          2. ความร่วมมือของทีมงาน สาธารณสุข อปท.
          3. ความต่อเนื่องของกิจกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่ต้น
          4. การจัดการ (Management ) ร่วมกันที่ดี
          5. การให้คุณค่ากับบุคคลอื่น (Value added)
          6. มีงบประมาณสนับสนุน
          7. วัสดุ ครุภัณฑ์ มีใช้สะดวก เพียงพอ
          8. การสนับสนุนจากผู้บริหาร (สอ. รพ. สสจ. สสอ.) และหน่วยงานอื่น ๆ
          9. เป็นวิชาการที่เรียบง่าย ไม่เอาวิชาการส่วนที่แข็งเข้ามา
          10. รู้สึกว่าเป็นศักดิ์ศรี ความภาคภูมิใจของชาวเขาชัยสน ในการเป็นโครงการนำร่อง ของจังหวัดพัทลุงเพียงแห่งเดียว

หมายเลขบันทึก: 9297เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2005 18:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท