การจัดการความรู้ของสถาบันบำราศนราดูร


"การจัดการความรู้ ไม่ทำไม่รู้ ไม่ทำไม่ได้" (คำคมในงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่2 โดย ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด)

ต่อจากครั้งที่แล้ว (ก่อนงานมหกรรม)

ในการประชุมภาคีภาคราชการ ครั้งที่ 1

ณ ห้องประชุม สกว.1 ชั้น 14 อาคารเอส เอ็ม ทาวเวอร์ ตรงข้าม ททบ5 (สนามเป้า)

ตั้งแต่เวลา 9.00 น. -13.00 น.

ครั้งนี้มีวาระการประชุมทั้งหมด 3 วาระ

วาระที่1 (เรื่องเพื่อทราบ) รูปแบบและจุดประสงค์การจัดการประชุมภาคีภาคราชการ

(ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช)

วาระที่ 2 (เรื่องเพื่อพิจารณา)

2.1 การจัดการความรู้เรือนจำพิษณุโลก (นายธวัช พันมา)

2.2 สถาบันบำราศนราดูร (พ.ญ.อัจฉรา เชาวะวิช และคณะ)

2.3 ความก้าวหน้า การจัดการความรู้กรมอนามัย

(คุณศรีวิภา เลี้ยงพันธุ์สกุล และ พ.ญ.สายพิณ คูสมิทธิ)

2.4 ความก้าวหน้า การจัดการความรู้กรมส่งเสริมการเกษตร

(คุณธุวนันท์ พานิชโยทัย และคณะ)

2.5 แนวทางความร่วมมือด้าน KM ของ TRIS (คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์)

และแขกผู้มีเกียรติอีกหลายท่าย หลายหน่วยงาน ที่ผู้เขียนไม่ได้เอ่ยถึง

วาระที่ 3 (เรื่องอื่นๆ) กำนดการประชุมครั้งต่อไป

ซึ่งครั้งก่อน ผู้เขียนได้เขียนเล่าเรื่อง ประสบการณ์ การเริ่มต้นการจัดการความรู้ของ...

เรือนจำพิษณุโลก (นายธวัช พันมา) ซึ่งสามารถติดตามอ่านกันได้ในบล็อกของผู้เขียน

และครั้งนี้หลังจากงานมหกรรมเสร็จสิ้นลงแล้ว รู้สึกชื่นใจ และหายเหนื่อยบ้างแล้ว ก็เลยมาเล่าเรื่องการจัดการความรู้ของ สถาบันบำราศนราดูร (พ.ญ.อัจฉรา เชาวะวิช และคณะ)

พ.ญ.อัจฉรา เล่าว่า สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เมื่อครั้งมีการแพร่ระบาดของโรคซาร์ SARS ประเทศไทยมีการเชิญหน่วยงานทั่วประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้อง มาประชุมร่วมกัน ซึ่งรูปแบบหนึ่งของการรักษาและป้องกันผู้ป่วยโรคซาร์ คือ การใช้ห้องแยกโรคแบบ Nagative โดยเจ้าหน้าที่ต้องรู้หลักการของห้องแยกโรค ซึ่งสถาบันบำราศฯ ได้เชิญบริษัทใหญ่จากต่างประเทศมาช่วยสร้างห้องดังกล่าว และทางสถาบันฯ ใช้การดัดแปลงห้องห้องผู้ป่วย มาใช้ดัดแปลงเป็นห้องควบคุมผู้ป่วยโรคซาร์ โดยปรับให้ความดันเป็นลบ ซึ่งมีส่วนช่วยในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคซาร์ได้

   หลังจากทำห้องรักษาและป้องกันผู้ป่วยโรคซาร์เรียบร้อย ในวันเดียวกันนั้นเอง ช่วงกลางดึก มีผู้ป่วย ที่มาจากแหล่งที่แพร่ระบาดโรคซาร์มาพอดิบพอดี ทางโรงพยาบาลบำราศนราดูร ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่ต้องทำเรื่องควบคุมโรค จึงต้องป้องกันเป็นการด่วน โดยไม่มีใครรู้มาก่อนว่าโรคดังกล่าวจะเข้ามาเมื่อใด ซึ่งในวันนั้นเอง เจ้าหน้าที่จึงปรับเป็นห้องเดี่ยว และจัดเตรียมอุปกรณ์ตรวจโรคที่ใช้ในผู้ป่วยโรคเอดส์ มาเตรียมการไว้ อย่างรวดเร็ว(เป็นองค์ความรู้ที่อยู่ในตัวพนักงานทุกคนอยู่แล้ว สามารถเตรียมได้อย่างอัตโนมัติ)

คนไข้รายนั้นมาตั้งแต่วันที่ 11 โรงพยาบาลก็เชิญหมอจากต่างประเทศมาช่วยในการวินิจฉัย กว่าจะรู้ว่าเป็นโรคซาร์ ก็ประมาณวันที่ 15 ซึ่งก็สามารถช่วยให้ผ่านพ้นจากเหตุการณ์มาได้ด้วยดี

หลังจากนั้นโรงพยาบาลยังดำเนินการเฝ้าระวังและป้องโรคซาร์อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีการแพร่ระบาดเกิดขึ้นในประเทศไทย

ซึ่งความรู้ด้าน Explicit Knowledge ที่โรงพยาบาลได้ดำเนินการต่อคือ

1.จัดประชุมชี้แจงโรคซาร์

2.จัดทำหนังสือให้ความรู้เรื่องโรคซาร์ เรื่อง The First Sars

สำหรับความรู้ด้าน Tacit Knowledge ที่โรงพยาบาลได้ดำเนินการต่อคือ

1. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับโรงพยาบาล โรคทรวงอก ฯลฯ

2.แพทย์อายุรกรรม แลกเปลี่ยนความรู้ ทางโทรศัพท์ กับประเทศเวียตนาม และฮ่องกง

ซึ่งหลังจากทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ระยะหนึ่งแล้ว ประเมินได้ว่าไม่มีผู้ป่วยโรคซาร์ (Sars)

นี่เป็นเรื่องเล่าที่ พ.ญ.อัจฉรา เชาวะวิช เล่าให้ที่ประชุมฟัง ซึ่งผู้เขียนเห็นว่ามีการจัดการความรู้กันโดยที่ยังไมรู้จัก การจัดการความรู้ ด้วยซ้ำ และในปีนี้เอง (2548 )โรงพยาบาลบำราศนราดูร ได้จัดตั้งสำนักการจัดการความรู้ ของสถาบัน

โดยมีการจัดการความรู้เรื่อง ความคาดเคลื่อนทางยา ซึ่งในหน่วยงานจะมีหัวหน้าแต่ละทีมคุยกัน และให้คะแนนตัวเอง ในการจัดการเกี่ยวกับงานที่ตนเองได้ทำ (ภาษา สคส. เรียกว่า ประเมินตัวเอง ตามขั้นบันไดขอการเรียนรู้) จากนั้นก็นำมาสร้างธารปัญญา และจัดทำแผนภูมิขั้นบันได ต่อไป

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช กล่าวเสริมว่า ความหลากหลายของหน่วยงาน ถือ เป็นต้นทุนทางปัญญาที่ดี และสถานการณ์ของ สถาบันบำราศนราดูร ก็ทำการจัดการความรู้ ด้วยสถานการณ์ที่คับขันตลอดเวลา

อ.จิรัชชา กล่าว่า หน่วยงานภาครัฐ มีความเอื้อในการจัดการความรู้อยู่แล้ว และหากสถาบันหน่วยงานไหนยังไม่รู้ว่าจะเริ่มการจัดการความรู้ในสถาบันอย่างไร ก็อยากให้ลองหันกลับเหลือบไปมอง ยุทธศาสตร์ ของหน่วยงาน และตัวชี้วัดที่ กพร. ให้ไว้ด้วย

ซึ่งการจัดการความรู้ของ โรงพยาบาลบำราศนราดูร จะเป็นอย่างไรต่อไป คงต้องติดตามกันต่อไป และหากใครอยากทำความรู้จักกับ สถาบันบำราศนราดูรมากกว่านี้สามารถลิงค์เข้าไปได้ที่

http://www.bamras.org/

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 9186เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2005 21:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 08:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท