เวทีวิชาการหน่วยจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชน (ตอนที่ ๑๒)


นครศรีธรรมราช

ตัวแทนที่เข้าร่วมเวทีมี 3 ฝ่ายหลักคือ

1.       นักวิจัยชุมชน

2.       หน่วยงานสนับสนุนภาคท้องถิ่นและภาครัฐบาล

3.       นักวิจัยจากสถาบันการศึกษา ม.วลัยลักษณ์
ข้อมูลทั่วไป

ตำบลกะหรอมีทั้งหมด 9 หมู่บ้าน ประชากรประมาณ 6800 กว่าคน อาชีพส่วนมากจะทำสวนยางพารา ลักษณะพื้นที่จะอยู่ติดเชิงเขาใกล้น้ำตกกรุงชิง มีวัดประมาณ 6 วัด สถานีอนามัย 2 แห่ง หน่วยงานราชการที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในชุมชน 1) พช. ที่เข้ามาส่งเสริมเกี่ยวกับเรื่องความเป็นอยู่ของชุมชน 2)ส่งเสริมเกษตร มีการจัดตั้งโรงเรียนมังคุดเพื่อที่จะจัดทำเป็นมังคุดนอกฤดูกาล 3)สถานีอนามัยดูแลเกี่ยวกับสุขภาพของชุมชน 4)กศน.มาสร้างศูนย์การเรียนรู้เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี นี่คือการเรียนรู้คือพยายามให้คนที่จบ ป.4 ป.6 ปรับระดับการศึกษาตามมาตรฐานให้มากขึ้น และส่งเสริมการเรียนรู้ตามศักยภาพของชุมชน เช่น ชุมชนต้องการเรียนรู้อะไร กศน.ก็จะจัดให้ 5)กลุ่มของรัฐบาลท้องถิ่น คือ อบต.ก็จะส่งเสริมในรูปของโครงสร้างพื้นฐาน และเรื่องของสวัสดิการชุมชน ได้จัดสรรเงินให้กับ เด็ก คนชรา โดยจะได้รับการคัดเลือกเป็นบางคน ซึ่งส่วนนี้สามารถเชื่อมกับงานที่เราทำได้แต่ได้อย่างไรนั้นต้องศึกษากันต่อไป

วัตถุประสงค์โครงการ
1.       จะค้นหารูปแบบและวิธีการการจัดการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านตำบลกะหรอ ทำอย่างไรให้มี ประสิทธิภาพให้ลองจัดสวัสดิการให้กับชุมชน และถอดรูปแบบ วิธีการจัดการ ที่ทำให้เกิดสวัสดิการชุมชนรูปแบบและวิธีการจัดการในระดับครัวเรือน (ถอดรูปแบบ และวิธีการ)

2.  วิเคราะห์บทบาทของหน่วยงานสนับสนุน ระบบการดำเนินงาน การจัดการความรู้ที่เข้ามาหนุนเสริมในพื้นที่ เป็นอย่างไรที่เอื้อต่อการพัฒนากองทุนให้เกิดประสิทธิภาพ

 

คำสำคัญ (Tags): #สรุปการประชุม
หมายเลขบันทึก: 9160เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2005 13:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท