การสอนซ่อมเสริมภาษาไทย


การใช้แบบฝึกในการสอนซ่อมเสริมวิชาภาษาไทย

จากการรับราชการครูมานานถึง  16  ปี  พบว่านักเรียนในแต่ละปีจะมีปัญหาต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไปในรายละเอียด  แต่จะมีปัญหาทางด้านการเรียนการสอนที่เหมือนกันคือ  มีเด็กที่อ่านและเขียนยังไม่คล่องอยู่จำนวนหนึ่ง  เป็นเด็กที่อยู่ใต้เงาของผู้อื่นอยู่เป็นประจำ  ปีการศึกษา  2549  ก็เช่นกัน  ในชั้น  ป.3  มีเด็กที่อ่านและเขียนยังไม่คล่องอยู่  5  คน  ได้จัดทำแบบฝึกการสอนภาษาไทยโดยให้เริ่มเรียนรู้ตั้งแต่พยัญชนะ  สระ  การประสมคำ  มาตราต่าง ๆ  โดยให้เด็กทำในห้องเรียนก่อน  แล้วค่อยขยายให้เด็กไปทำเป็นการบ้าน  การตรวจงานและการเฉลยจะทำในห้องเรียน  และให้การเสริมแรงนักเรียนทุกคนทันที  แต่พบว่ามีเด็กอยู่คนหนึ่ง  คือ  เด็กชายอนุวัตร  ขันทองชัย  มีความขยันเป็นพิเศษ  ส่งงานก่อนคนอื่นและมีการติดตามผลงานของตนเองอย่างสม่ำเสมอ  ซึ่งแปลกกว่าทุกคน  ทำให้ครูแปลกใจและถามว่ามีใครช่วยสอนทำการบ้านที่บ้านบ้าง  พบว่าเด็กชายอนุวัตรบอกว่าคุณพ่อเป็นผู้ช่วยสอนการบ้าน  และเขามีความดีใจที่พ่อให้ความสนใจในตัวเขา  จากคำตอบนี้  ได้มีการศึกษาลงไปในเด็กชายคนนี้เพิ่ม  พบว่า  การที่คุณพ่อช่วยสอนเขาทำการบ้านและเขามีความสนใจในการเรียนมากขึ้น  เพราะว่าเขาต้องการให้พ่อภูมิใจในตัวเขา  เขาดีใจที่มีพ่ออยู่ใกล้ชิด  นับได้ว่าการสอนซ่อมเสริมวิชาภาษาไทยด้วยแบบฝึกประสบความสำเร็จในทุกคนในระดับที่น่าพอใจ  และพบว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวมีส่วนช่วยอย่างมากในการศึกษา

คำสำคัญ (Tags): #edkm#erkm
หมายเลขบันทึก: 91218เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2007 15:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 11:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เยี่ยมมากค่ะ คุณครูฑูรย์

        สมกับเป็นแม่พิมพ์ของชาติจริง ๆ ได้ใจนักเรียนและใจผู้ปกครองด้วย

        อยากอ่านการช่วยเหลือเด็กเกี่ยวกับการอ่านออกเขียนได้ของคุณครูอีก  

        จะรอนะคะ

เป็นกำลังใจให้ทำงานในครั้งต่อๆไปนะคะ ขอบคุณค่ะสำหรับความรู้ดีๆ ขอขอบคุณค่ะ

ชอบจังค่ะ เวลาครูสอนซ่อมเสริมเด็กแล้วประสบผลสำเร็จ ตัวหนูเองถนัดสอนภาษาอังกฤษ แต่มีวิชาที่ต้องสอนเพิ่มอีก3วิชา คือ ประวัติฯ สังคมฯ และนาฏศิลป์ พบว่าเด็กบางคนอ่านและเขียนหนังสือไม่ได้เลย ทำให้เบื่อในการเรียนเพราะตัวเองอ่านและเขียนไม่ออกทำให้เรียนไม่ทันเพื่อน บางทีคุณครูเองก็หงุดหงิดใจค่ะ จะให้มานั่งซ่อมเสริมภาษาไทยให้เด็กกลุ่มนั้นทุกคาบก็คงเป็นไปไม่ได้ ครูภาษาไทยก็ช่วยอะไรไม่ได้มาก (หรืออาจไม่ได้ช่วยเลยด้วยซ้ำค่ะ) เป็นปัญหาที่หนักใจหนูมาก เพราะนอกจากเด็กกลุ่มนี้จะจัดเรียงลำดับพยัญชนะและสระในสมองไม่ได้แล้ว ผลที่ตามมาก็คือวิชาภาษาอังกฤษค่ะ เด็กกลุ่มนี้จะใช้เวลาในการสะกดคำศัพท์นานมาก เพราะพวกแกไม่รู้จักวิธีการเทียบพยัญชนะและสระในภาษาอังกฤษและภาษาไทย (บางทีไม่รู้แม้กระทั่งการออกเสียงพยัญชนะและสระในภาษาไทยตัวง่ายๆด้วยซ้ำ)...สอน 4 ห้องก็พบเด็กที่เป็นแบบนี้ทั้ง 4 ห้อง รวมแล้วน่าจะเกิน 10 คน หนูควรทำอย่างไรดีคะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท