เรื่องเล่าจากออสเตรเลีย(8)


อย่างคำว่า “Some more wine ? : ซัม มอ ไวน์” กับ“Some more wife? : ซัม มอ ไวฟ์”

   เรื่องเล่าจากออสเตรเลีย(8)    

         วันที่ 21 ตื่นนอน 7 โมงเช้าอาบน้ำแต่งตัวออกไปทานอาหารที่ร้านตรงข้ามที่พักเป็นอาหารแบบฝรั่งประมาณ8.45 น.มีรถตู้แบบแท๊กซี่มารับ(มีศูนย์สามารถโทรเรียกได้)ไปที่ UNE Access Center Tamworthเป็นศูนย์ที่เกิดจากความร่วมมือของมหาวิทยาลัยนิวอิงแลนด์กับเมืองแทมเวอร์ธ เป็นอาคารสองชั้นเป็นที่สำหรับเรียนคล้ายๆกับวิทยาเขตเล็กๆของมหาวิทยาลัยที่มาเปิดต่างจังหวัดเริ่มเรียนตั้งแต่ 9.30 น. โดยเดวิด บริ๊กส์ปฐมนิเทศหลักสูตรทั้งหมดพร้อมบรรยายเรื่องระบบดูแลสุขภาพของออสเตรเลีย(จะมีรายละเอียดเพิ่มเติมให้ในตอนต่อไป) สิบโมงครึ่งพักเบรคแล้วเรียนต่อกับหมอจอห์น เฟรเซอร์เรื่องการศึกษาของแพทย์ในชนบทของออสเตรเลีย(จะมีรายละเอียดเพิ่มเติมตามมาเช่นกัน)จนพักเที่ยงก็ทานอาหารกลางวันเป็นแซนด์วิชกับผลไม้ตอนเที่ยงครึ่ง

         เรียนอีกครั้งตอนบ่ายโมงครึ่งหมอจอห์นสอนต่อในเรื่องของการเรียนการสอนกลุ่มเล็กสำหรับผู้ใหญ่เป็นการสอนความรู้ที่ให้แพทย์สามารถนำไปใช้สอนนักศึกษาแพทย์และแพทย์ที่จะเรียนต่อเนื่องโดยสอนให้ค้นหาความต้องการของผู้เรียนโดยการจับคู่กันแล้วซักถามคู่ของตนเองแล้วให้ไปแนะนำแต่ละคนสลับกันที่หน้าห้องเรียน ผมจับคู่กับอาจารย์บุญชอบก็ได้รุ้จักประวัติอาจารย์มาบ้างก็พูดได้ไม่ยากมีการสอนเรื่องการประเมินนักศึกษาการให้ข้อมูลย้อนกลับตามกฎของเพนเดินตัล  เรียนจนถึง 4โมงครึ่งก็กลับที่พัก

          ทานอาหารเย็นตอน 6โมงเย็นที่ร้านอาหารไทยชื่อBangkok Thairestaurant โดยนั่งแท็กซี่ไปพร้อมกันค่าแท็กซี่ประมาณ10 เหรียญ ที่ร้านอาหารไทยนี้มีน้องคนไทยร่วมเป็นเจ้าของ เป็นผู้ชายและมีพนักงานเสิร์ฟเป็นคนฟิลิปปินส์  พูดไทยได้เล็กน้อยกว่าจะได้ทานก็หนึ่งทุ่มพอดีกับอาจารย์สมบัติและอาจารย์ประวิทย์กลับจากการไปติดต่อประสานงานที่มหาวิทยาลัยนิวอิงแลนด์ที่เมืองอาร์มิเดล วันนั้นมีอาหารอร่อยถูกปากหลายอย่างโดยเฉพาะแกงป่าเสร็จจากรับประทานอาหารเย็นประมาณ 3ทุ่งกว่าๆกลับที่พักและมีการประชุมกลุ่มสรุปบทเรียนจนห้าทุ่มกว่าจะได้อาบน้ำนอนก็ประมาณเที่ยงคืนพอดี

          

อาจารย์สมบัติ นพรัก เป็นคณบดีคณะศึกษาศาสตร์

เป็นผู้ใหญ่และนักบริหารที่มีแง่คิด มุมมอง

รวมทั้งมุกตลกที่กระตุ้นความคิดได้ดี

อย่างที่เราได้อ่านกันในweblog

ของอาจารย์

อาจารย์มักมีคำพูดสนุกๆมาคุยเล่นในขณะเดินทางหรือขณะรับประทานอาหารเสมอ

อย่างตอนที่ขึ้นเครื่องบิน เวลาแอร์โฮสเตรส มาบริการเครื่องดื่ม

มักมีคำถามว่าต้องการอะไรเพิ่มไหม อย่างคำว่า “Some

more wine ? : ซัม มอ

ไวน์”

อาจารย์ก็จะบอกว่าต้องออกเสียงให้ชัดนะ อย่าเป็น

“Some more wife? : ซัม มอ

ไวฟ์”

เพราะความหมายจะเป็นคนละเรื่องเลย และอาจมีผลต่อคำตอบ

Yes หรือ No ได้

หรือคำว่า Vice-President กับ Wife president หากออกเสียงไม่ชัด

อาจตีความหมายผิดได้

           การไปออสเตรเลียคราวนี้ทำให้ได้ฝึกพูดภาษาอังกฤษมากขึ้นแต่เข้าใจว่าคนออสเตรเลียเองก็คงต้องพยายามฟังอย่างมากกว่าผมพูดอะไรและก็คิดว่าเขาอาจหัวเราะในใจว่าเราพูดตลกเหมือนกับเวลาเราฟังชาวเขาหรือชาวต่างชาติพูดไทยไม่ชัดผมก็พูดอังกฤษไม่ชัดเหมือนกัน 

 

Phichet

Amberroo apartment

Tamworth, NSW

21 Nov 2005

หมายเลขบันทึก: 9117เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2005 08:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2019 18:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อยากจะเรียนถามอาจารย์พิเชษฐ์น่ะค่ะว่าก่อนที่จะไปเรียนที่ UNE ได้เตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษบ้างหรือป่าวคะ แล้วในเรื่องของการปรับตัวหลังจากที่ไปอยู่ด้วยค่ะ

ทั้งเรื่องระบบการเรียนแพทย์และการใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น คือตอนนี้หนูกำลังจะสอบชิงทุนเพื่อไปเรียนต่อที่ UNE ถ้าเผื่อว่าได้คงต้องมีการไปเรียนภาษาอังกฤษเพิ่มเติมด้วย เพราะภาษาไม่แข็งแรงเลยค่ะ อยากให้อาจารย์ช่วยแนะนำในการเรียนและความแตกต่างระหว่างเรียนแพทย์ที่เมืองไทยกับ UNE ด้วยว่าแตกต่างกันอย่างไรบ้างค่ะ

ผมไปเรียนช่วงสั้นแค่ 19 วัน ไม่ได้เตรียมตัวอะไรมากและมีคนไทยด้วยกันช่วยแปลความบ้าง ทำให้ไม่ลำบากมาก มีทีมงานคอยดูแลที่นั่น และไม่ได้ไปเรียนหลักสูตรของUNEโดยตรงครับ

แนะนำลองคุยกับอาจารย์หมอประวิทย์ เตติวัฒน์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ท่านจบปริญญาเอกจากUNEโดยตรงและอยู่ที่นั่นเกือบ 5 ปีครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ พอลล่าแวะมาเยี่ยม คิดถึงๆๆๆๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท