พระบรมราโชวาท ปัญญา (๒)


ปัญญาและการจัดการความรู้

พระบรมราโชวาท ปัญญา (๒)

 

ปัญญา แปลตามพยัญชนะว่าความรู้ทั่ว ตามอรรถะหมายความได้หลายอย่าง อย่างหนึ่ง คือความรู้ทุกอย่าง ทั้งที่เล่าเรียนจดจำมา ที่พิจารณาใคร่ครวญคิดเห็นขึ้นมา และที่ได้ฝึกฝนอบรมให้คล่องแคล่วชำนาญขึ้นมาในตัวเอง อีกอย่างหนึ่ง เมื่อมีความรู้ความจัดเจนชำนาญในวิชาต่าง ๆ ดังว่า จะยังผลให้เกิดเป็นความเฉลียวฉลาดขึ้นในตัวบุคคล แต่ประการสำคัญคือความรู้ที่ผนวกกับความเฉลียวฉลาดนั้น จะรวมกันเป็นความสามารถพิเศษขึ้น คือความรู้จริงรู้แจ้งชัด รู้ตลอดในสิ่งที่ได้มีโอกาสศึกษา ซึ่งจะให้ผลต่อไปเป็นความรู้เท่าทัน เป็นต้นว่ารู้เท่าทันความคิด จริต ทฤษฎี และเจตนาของคนทั้งปวงที่สมาคมด้วย รู้เท่าทันเหตุการณ์ สภาพการณ์ทั้งหลายที่ผ่านพบ เมื่อรู้เท่าทันแล้ว ก็จะรู้จะเห็นแนวทางและวิธีการ ที่จะหลีกให้พ้นอุปสรรคปัญหา และความเสื่อม ความล้มเหลวทั้งปวงได้ แล้วดำเนินไปตามทางที่ถูกต้องเหมาะสม จนบรรลุความสำเร็จและความเจริญวัฒนาที่มุ่งหมาย "

 

(พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๒๑)

JJ (Yogjakarta,Indonesia)

 

 

หมายเลขบันทึก: 9105เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2005 01:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2013 09:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท