หนังสือส่งต่อผู้ป่วย & หนังสือรับรองสิทธิ


การพิจารณาว่าอย่างไรจึงจะเป็นหนังสือส่งตัวแล้วจะมาเป็นตัวกำหนดการใช้สิทธิของประชาชนนั้น ควรจะได้แยกแนวคิดกัน

     หนังสือส่งต่อผู้ป่วย หรือ บส.08 เท่าที่ผมรู้จักมาตั้งแต่จบทำงานใหม่ ๆ ก็ เกือบ 15 ปี มาแล้ว คือ เอกสารที่ใช้ส่งผ่านข้อมูลของผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลผู้ป่วย ประวัติการเจ็บป่วย ลักษณะการเจ็บป่วยในครั้งนี้ ตลอดจนการดูแลผู้ป่วยที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ผลถึงปัจจุบันเป็นอย่างไร ผมว่ามีความจำเป็นมาก ๆ ที่หน่วยรับการส่งต่อ หรือรับการส่งตัวกลับจำเป็นต้องใช้ เมื่อครั้งผมอยู่ที่สถานีอนามัยจึงได้บันทึกอย่างดี และละเอียด อย่างน้อยผู้ป่วยก็ได้ทราบในตอนนั้นว่าเหตุผลที่ส่งตัวเพื่ออะไร เป็นสิทธิของผู้ป่วยที่ควรจะได้ทราบในเบื้องต้น

     มาวันนี้มีโครงการหลักประกันสุขภาพ หรือ 30 บาท คนไทยห่างไกลโรค หนังสือส่งต่อผู้ป่วยถูกใช้เป็นหนังสือรับรองสิทธิ จนลืมที่มาที่ไปกัน เหตุที่ได้บันทึกนี้ขึ้นเพราะผมได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนที่มีบัตรทอง (สิทธิตามโครงการหลักประกันสุขภาพ หรือ 30 บาท คนไทยห่างไกลโรค) ว่าถูกโรงพยาบาล พ. เก็บเงิน 900 บาท และต่อรองกันเพราะมีเงินจ่ายไม่พอเหลือเพียง 290 บาท หลังจากที่ถูกส่งตัวกลับมาจากโรงพยาบาล ม.ซึ่งเป็นโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย เพื่อรับการรักษาต่อภายใต้ขีดความสามารถที่โรงพยาบาล พ. ทำได้ ทั้งนี้ก่อนที่จะไปรับบริการที่โรงพยาบาล ม. นั้น โรงพยาบาล พ. ก็ส่งตัวไปตามระบบเรียบร้อยใช้สิทธิได้โดยตลอด

     ผมดำเนินการหาข้อเท็จจริงในเบื้องต้น ก็พบว่าเป็นการเข้าใจผิดว่าหนังสือส่งตัวกลับที่โรงพยาบาล ม. นำส่งมาพร้อมกับผู้ป่วยนั้น ไม่ได้ระบุว่าใช้สิทธิบัตรทองได้ และไม่ได้ใช้แบบที่กระทรวงให้ใช้ (บส.08) เลยกลายเป็นไม่สามารถใช้สิทธิได้ ในส่วนของข้อมูลรายละเอียดอื่น ๆ นั้นต้องชื่นชมว่าแพทย์โรงพยาบาล ม. ระบุมาอย่างละเอียด ในกระดาษหนังสือส่งตัวแทบไม่มีที่ว่างให้เขียน

     ผลการหารือ (ยังไม่ถือว่าพิจารณา) โรงพยาบาล พ. ก็ยอมคืนเงินให้ผู้ป่วยรายนั้นไป ด้วยเหตุผลว่าเป็นผู้ป่วยที่ได้ถูกส่งไปจากกองทุนจังหวัดเดียวกับที่โรงพยาบาล พ.ตั้งอยู่ สิทธิของประชาชนไม่ได้อยู่ที่หนังสือส่งต่อผู้ป่วย (บส.08) แต่อยู่ที่ตัวประชาชนคนนั้น ๆ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นกรณีผู้ป่วยนอก ก็ได้รับเป็นค่าเหมาจ่ายรายหัวไปแล้ว กรณีผู้ป่วยใน ก็นำข้อมูลมาเบิกจ่ายกันตามระบบ DRGs (แล้วแต่กรณี อาจจะแตกต่างกันได้ในแต่ละจังหวัด) การที่แพทย์โรงพยาบาล ม. ไม่เขียนว่า “สามารถใช้สิทธิบัตรทองได้” ในหนังสือส่งตัวผู้ป่วยนั้น ก็น่าจะเป็นเพราะผู้ป่วยรายนี้ ในครั้งแรกเราส่งตัวไปเอง เขาเพียงส่งตัวกลับมาตามศักยภาพที่เราสามารถทำได้ และเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วยด้วย ไม้ต้องเดินทางไกล ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มอีกด้วย

     เรื่องการพิจารณาว่าอย่างไรจึงจะเป็นหนังสือส่งตัวแล้วจะมาเป็นตัวกำหนดการใช้สิทธิของประชาชนนั้น ควรจะได้แยกแนวคิดกัน และถือเป็นการประยุกต์ใช้ร่วมกันเพื่อสะดวกมากกว่า โดยเฉพาะในปัจจุบันที่สถานพยาบาลนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเข้าร่วมให้บริการด้วยแล้ว จะยิ่งยึดถือตามแบบเดิมอยู่ไม่ได้ ยังไงหนังสือส่งต่อผู้ป่วย ก็คงมีสาระเหมือนเมื่อ 15 ปีที่แล้ว ส่วนการรับรองสิทธิ จะเขียนลงบนหนังสือส่งตัว หรือจะแยกก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ทั้งนี้เห็นด้วยว่าให้รวมกันเพื่อสะดวก และประหยัด โดยไม่หลงประเด็น แล้วทุกข์จะไปเกิดแก่ประชาชนเช่นนี้

หมายเลขบันทึก: 9087เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2005 20:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
ดีมากครับ อ่านแล้วมีประโยชน์มากเลย ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเข้าใจเรื่องที่ ชายขอบ ว่ามากขึ้น การทำงานถ้าเอาประชาชน เป็นตัวตั้งเป็นศูนย์กลางก็ไม่มีปัญหา มีก็ช่วยกันแก้ไขครับ
     ปัญหานี้หากยังไม่มีการทบทวนกันอย่างจริงจัง น่าจะยังเป็นส่วนหนึ่งที่ปิดกั้นประชาชน แม้จะมีประโยชน์กับการที่ไม่ให้ประชาชนใช้บริการเกินความจำเป็น แต่ใช้ได้กับคนจนเท่านั้น
     ครับในระบบหลักประกันสุขภาพ หรือ แม้แต่ระบบบริการสุขภาพ ยังต้องมีการพัฒนาไปอีกครับในหลาย ๆ เรื่อง ทั้งนี้ต้องมุ่งเป้าหมายปลายแท้ ๆ ไปที่ สุขภาวะ ครับ

อาจารย์ มีหน้าตา ของตัวอย่างไหมครับ มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่อย่างไรครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท