เวชระเบียน หัวใจของงานการแพทย์


เวชระเบียน หัวใจของงานการแพทย์

             เวชระเบียน เป็นสาขาหนึ่งทางด้านสาธารณสุขและการแพทย์ เป็นสาขาที่มีความเข้าใจแตกต่างกันพอสมควร เพราะโดยความหมายแล้วก็เป็น ระเบียนทางการแพทย์ซึ่งความหมายมันกว้างเหลือเกิน อะไรก็ตามที่มีการบันทึกในทางการแพทย์ก็เป็นเวชระเบียนทั้งหมด งานที่ติดตามมาหลังจากมีการบันทึกจึงเป็นงานที่สำคัญยิ่งในระบบงานสาธารณสุข โดยเฉพาะการติดตามการรักษา การดูมาตรฐานการรักษา การดูประสิทธิภาพการรักษา จึงสามารถดูได้จาก เวชระเบียนทั้งสิ้น ด้วยความสำคัญในลักษณะนี้ เวชระเบียน จึงเป็นหัวใจของงานการแพทย์ ไปโดยปริยาย

           อัตรากำลังในการดำเนินการทางเวชระเบียน จึงมีความหลากหลายของงานพอสมควร เนื่องจากงานทางด้านนี้แต่เดิมนั้น ผู้ดูแลจะต้องเป็นแพทย์ที่มีการลงทะเบียนเป็นผู้ที่ผ่านการอบรมและขึ้นทะเบียน ทางด้านเวชระเบียน (Medical Record) โดยเฉพาะ ดังปรากฏในเอกสารของ แพทย์หญิง สมพร เอกรัตน์ อดีตแพทย์ทางด้านเวชระเบียน ของโรงพยาบาลศิริราช แต่เนื่องจากการขาดแคลนแพทย์ของประเทศไทย จึงมีการดำเนินการทางด้านเวชระเบียนแค่เพียงบางส่วนเท่านั้น คือด้าน Medical Record Librarian เฉพาะการจัดทำ การจัดเก็บ การจัดค้น การบำรุงรักษา ตัวเอกสารทางด้านเวชระเบียนเท่านั้น จึงมีพยาบาลบ้าง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอื่น ๆ บ้างมาดูแลทางด้านนี้ โดยจ้างเจ้าหน้าที่เข้ามาทำงานโดยเน้นการทำงานที่ห้องบัตรเป็นหลัก การดำเนินการเลยเป็นไปอย่างไม่ค่อยเป็นระบบนัก การจัดเก็บข้อมูลก็มีเพียงจัดเก็บตามที่กระทรวงสาธารณสุข หรือหน่วยบังคับบัญชาต้องการให้ส่งรายงานเท่านั้น จนกระทั่งอาจารย์แพทย์หญิงสมพร เอกรัตน์ ร่วมกับนายแพทย์สมชาย สมบูรณ์เจริญ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติได้เสนอให้มีการดำเนินการเรียนการสอนทางด้านเวชระเบียนขึ้น โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนเวชสถิติ ที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ โดยมีที่เรียนคือโรงพยาบาลศิริราช และสถาบันมะเร็งแห่งชาติ หลังจากนั้นก็มีเจ้าหน้าที่ที่ชื่อว่าเจ้าหน้าที่เวชสถิติ เข้าไปดูแลงานเวชระเบียนของสถานประกอบการด้านสาธารณสุขต่าง ๆ งานด้านนี้จึงพัฒนามากขึ้น เนื่องจากการได้เรียนรู้เรื่องระบบฐานข้อมูล และระบบคอมพิวเตอร์จากโรงพยาบาลศิริราช ก็สามารถที่จะขยายงานตามสถานประกอบการด้านสาธารณสุขต่าง ๆ มากขึ้น ทั้งงานด้านสถิติ งานด้ายเวชสารสนเทศหรือคอมพิวเตอร์ทางการแพทย์ งานด้านเวชรเบียนผู้ป่วยนอกและเวชระเบียนผู้ป่วยในที่เคยทำมาแต่อดีตก็ได้พัฒนาเป็นระบบมากขึ้น ต่อมาทางมหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดให้มีการศึกษาต่อทางด้านเวชระเบียนขึ้น ผู้ที่ทำอยู่ในตำแหน่งเวชสถิติเดิม จึงมีโอกาสในการศึกษาทางตรงที่ตัวเองจบมา ได้ศึกษาเพิ่มเติมด้านเวชระเบียนสมัยใหม่ ด้านสถิติที่สูงขึ้น ด้านคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ และด้านการศึกษาวิจัย ทำให้ปัจจุบันงานทางด้านเวชรเบียนครอบคลุมไปหลายส่วนงานในสถานประกอบการด้านสาธารณสุขต่าง ๆ ขอบเขตงานมีมากมายขึ้น ทั้งด้านเวชสารสนเทศ งานวิจัยด้านการแพทย์ และอื่น ๆ

           งานเวชระเบียน จึงมีความสำคัญและเป็นหัวใจของสถานประกอบการด้านสาธารณสุขต่าง ๆ ที่ไม่สามารถมองข้ามงานทางด้านนี้ไปได้เลย และทำให้คนในระบบงานอื่น ๆ ของสถานประกอบการด้านสาธารณสุขต่าง ๆ เข้าใจงานด้านเวชระเบียนมากขึ้นด้วย

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 9083เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2005 20:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
     เห็นด้วยกับท่านแสงเทียนครับ แต่ก็ขึ้นอยู่กับการให้ความสำคัญที่จะนำไปใช้ประโยชน์นะครับ
เว็บของ ชมรมเวชระเบียนและสถิติแแห่งประเทศไทย สามารถเข้าไปดูเรื่องราวของ ชาวเวชระเบียน และเวชสถิติ ได้ครับ ที่ http://www.mrsthailand.org/
แต่ก็ยังไม่มีใครเห็นความสำคัญของเจ้าหน้าที่เวชระเบียนอีกนั่นแหละ
ไปๆมาๆก็ได้ทำแค่ห้องบัตร เป็นน๊อตตัวเล็กๆ
เสนออะไรไป กว่าจะอนุมัติได้ ปากก็จะฉีกถึงหูอยู่แล้ว
ปลายปีที จะเอาข้อมูลสารพัด ก็พยายามขวนขวายหาให้ล่ะนะครับ แต่ไม่เห็นจะใช้พัฒนาอะไรเลย ยังให้คนไข้นอนเหมือนเดิม สรุปโรคเดิมๆ มานอนแล้วมานอนอีก ด้วยโรคเดิม กลุ้ม!!

หล่อจังเพ่

เวชระเบียน งานที่มีคุณค่า

คนต้องการผลจากเวชระเบียนมากมาย

แต่ไม่เคยเห็นคุณค่าของผู้ทำงานด้านนี้

ผู้บริการที่ทำดีแค่เสมอตัว

ผิดพลาดเล็กน้อยเป็นเรื่องใหญ่ที่ถูกดูแคลน

คุณค่าของบุคลากร สภาพแวดล้อมที่ให้ทำงานอย่างมีความสุข แรงจูงใจในการทำงาน และกำลังใจที่บุคลากรทางการแพทย์ไม่เคยมีให้แก่เจ้าหน้าที่เวชระเบียน

มีความเสี่ยงเกี่ยวกับเวชระเบียนไหมครับ

จริงอย่างคุณมิ้นท์เขียนไว้ ทุกคนจะมองไม่เห็นคุณค่าต้องการแต่ประโยชน์ เมื่อได้ไม่ผลดังที่คิดก็ย้อนกับมาต่อว่างานเวชระเบียนว่าทำงานด่านหน้าไม่มีคุณภาพ แถมเสี่ยงต่อการถูกร้องเรียนเป็นที่1เลย เพราะต้องรับอารมย์ผู้มาติดต่อเป็นจุดแรก น้อยใจในงานของตนเอง เหมือนปิดทองหลังพระเลยจริง ๆ

 

ตัวชี้วัดสำหรับแผนกเวชระเบียน มีอะไรบ้างอยากรู้จังเลย

 ไม่ว่าจะอยู่ในส่วนไหนควรเคารพในหน้าที่ของกันและกัน เพราะทุกหน้าที่คือองค์กรเดียวกัน

ตอนที่บรรจุเข้าทำงานใหม่ ๆ แพทย์ท่านหนึ่งเคยพูดว่า งานเวชระเบียน ดือ... ."บัวใต้ตม"

เจ็บนะ ..แต่มันเป็นแรงผลักดันให้เราพยายามพัฒนา

ซึ่งก็ขึ้นอยู่ ผู้บริหาร "ยอม" ให้เราพัฒนา หรือไม่

ก็ยากนะ ...เราโดนเบรคงาน...ไป 2 ปี

และวันหนึ่งโอกาสก็มาถึง

ก้าวแรก ขยับขึ้น เป็น "บัวใต้น้ำ" ให้ได้

ถ้ามุ่งมั่น ตั้งใจ ก้อ ทำได้

ก้าวที่สอง ขยับขึ้น เป็น "บัวปริ่มน้ำ"

ใส่ใจ พร้อมใจ เต็มใจ มนุษยสัมพันธ์ ขอโทษ ขออภัย พร้อมแก้ไข

ก้าวปัจจุบัน ...เรามั่นใจ ..."บัวพ้นน้ำ".....

ก้าวถัดไป สำหรับเรา นำงานเวชระเบียน ให้เป็นที่ยอมรับ จากองค์กรภายนอก ให้ได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท