ครองตน ครองคน ครองงาน


ธรรมะอยู่ในใจ

 กำลังฝึกอยู่ค่ะ พยายามทำให้ได้มากที่สุด ณ ขณะนี้ เลยนำมาเผยแพร่ต่อค่ะ ประมาณว่าอยากจะมีธรรมะในหัวใจกะเขาบ้างค่ะ

ครองตน
ท่านให้ปฏิบัติตามฆราวาสธรรม 4 ซึ่งเป็นหลักการครองชีวิตของคฤหัสถ์ ใช้สำหรับเราๆท่าน ๆ ผู้มิใช่นักบวช
1. สัจจะ : มีสองความหมาย ความหมายแรก คือ ความจริง ส่วนอีกความหมาย พูดถึงการใช้ชีวิตโดยยึดความจริงเป็นที่ตั้ง ได้แก่ การเป็นคนถือความจริง เป็นหลักธรรม สำหรับคิด-พูด และกระทำ เรียกว่า เป็นคนจริง คนซื่อสัตย์ คนซื่อตรง รวมทั้งการใช้ความจริงเป็นหลักในการกำหนดความสัมพันธ์กับผู้อื่น เรียกว่า เป็นจริงใจ พูดจริง และทำจริง
2. ทมะ : มีสองความหมายเช่นกัน ความหมายแรก หมายถึง การฝึกใจตนเอง หรือข่มใจตนเองไม่ให้เป็นทาสของกิเลส ได้แก่ โลภ โกรธ หลง เรียกว่า เรียนรู้ด้วยตนเอง ฝึกใจตนเอง ฝึกนิสัยตนเอง จนสามารถควบคุมใจ ควบคุมวาจา และควบคุมการกระทำ ให้เป็นไปในสิ่งที่ดีที่ควรได้
อีกความมายหนึ่ง หมายถึง การแก้ไขข้อบกพร่องของตนและการปรับปรุงตนให้เจริญก้าวหน้าด้วยสติปัญญา ทมะมีจุดหมายที่ทำให้เกิดปัญญา
3. ขันติ : เป็นความอดทนที่ตั้งหน้าตั้งตาทำงานด้วยความขยันหมั่นเพียร โดยมุ่งมั่นอยู่ที่จุดหมายของงาน ไม่ท้อถอย หนักเอาเบาสู้ ไม่หวั่นไหว แต่เป็นคนแข็งแกร่ง ทนทานต่ออุปสรรค จนสุดท้ายไปถึงซึ่งความสำเร็จของงาน หรือความสำเร็จในแต่ละช่วงชีวิต
4. จาคะ : เป็นคนใจกว้างพร้อมรับฟังความทุกข์ ความคิดเห็น และความต้องการของคนอื่น เป็นคนใจไม่คับแคบ เห็นแก่ตนหรือเอาแต่ใจตน แต่พร้อมที่จะร่วมมือช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
เสียสละแม้ความสุขสบายส่วนตนหรือผลประโยชน์ส่วนตนได้

ครองคน
ท่านให้ปฏิบัติตามสังคหวัตถุธรรม 4 ซึ่งเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจคน หรือเครื่องประสานความสามัคคีในหมู่คน
1. ทาน : การให้ มีหลายรูปแบบ เช่น ให้โดยแสดงน้ำใจแก่กัน เช่น การปลอบประโลมใจ
ให้หรือแบ่งปันช่วยเหลือด้วยสิ่งของ ตลอดจนให้ความรู้ แนะนำสั่งสอน
2. ปิยวาจา : วาจาซาบซึ้งใจ วาจาอันทำให้ดูดดื่มใจ วาจาอันทำให้คนรัก ได้แก่ การกล่าวคำสุภาพ ไพเราะเพราะพริ้ง อ่อนหวานเป็นวาจาที่ทำให้เกิดไมตรีและเกิดสามัคคี ตลอดจนวาจาที่มีเหรุมีผลเป็นประโยชน์
3. อัตถจริยา : การประพฤติหรือการกระทำที่เป็นประโยชน์ เช่น การขวนขวายช่วยเหลือกิจการ การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ รวมทั้งการช่วยกันปรับปรุงแก้ไข และส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรมด้วย
4. สมานัตตตา : ความมีตนเสมอ ซึ่งมีหลายสถานการณ์ เช่น การทำตนเสมอต้นเสมอปลาย
การปฏิบัติต่อทุกคนเท่าเทียมกันในกฎเกณฑ์มาตรฐานเดียวกัน การร่วมทุกข์ร่วมสุขร่วมแก้ไข การวางตนให้เหมาะสมแก่ฐานะ เหตุการณ์ และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ครองงาน
ท่านให้ปฏิบัติตามอิทธิบาท 4 ซึ่งเป็นเครื่องมือไปสู่ความสำเร็จได้ผลตามมุ่งหมาย
1. ฉันทะ : ความพอใจ คือ ต้องการจะทำงานนั้น รักที่จะทำงานนั้น ไม่ถูกใครบังคับให้ทำ ทำด้วยใจชอบใจรัก
2. วิริยะ : ความเพียร คือ ทุ่มเท ขยันทำงานอย่างต่อเนื่อง ไม่ท้อแม้ แต่เข้มแข็ง อดทน สู้งานนั้นจนกว่าจะสำเร็จ
3. จิตตะ : ความคิดมุ่งมั่น คือ ตั้งจิตตั้งใจทำด้วยความคิดมุ่งมั่นไม่ปล่อยจิตให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอย
4. วิมังสา : การไตร่ตรอง เริ่มตั้งแต่การวางแผน ตรวจตรา ตรวจสอบ หมั่นใช้ปัญญาใคร่ครวญ ทดลอง แก้ไขปรับปรุง และวัดผล จนงานสำเร็จ

คำสำคัญ (Tags): #ธรรมะ
หมายเลขบันทึก: 90767เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2007 14:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 08:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ครูอ้อยอ่านแล้วนะคะ..ได้ประโยชน์มากเลยค่ะ
  • จัดเก็บไว้ในห้องทำงานของครูอ้อยแล้วค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ คุณวราภรณ์  ดีใจที่มีเพื่อนแวะมาเยี่ยมใน blog  เรื่อง มะหมา สี่ขา ผมก็ไปดูมาแล้ว  น่ารักดี 

ถ้าชอบเลี้ยงสุนัข ไว้รอให้มีลูกแล้วผมจะแบ่งบันให้ ถ้าสนใจ ครับ

มาครองใจใจเจ้าของบล็อกอิๆๆสดชื่นๆวันหยุดจ้า..คาปูชิโนสักถ้วยไหมพอลล่า..เช้าๆง่ะ..คริคริๆๆ

สวัสดีค่ะ

  • แวะมาอ่านบันทึกแล้ว ได้คุณธรรมในการปฏิบัติ ครบถ้วน
  • ขอคัดลอกไปใส่ไว้ในไดอารี่นะคะ
  •  ไม่ต้องไปหาที่ไหน ปฎิบัติได้อย่างนี้
  • ย่อมประสบผลสำเร็จในชีวิต
  • ขอบคุณมากๆค่ะ

            มิตรภาพ - Hi5 กราฟฟิคสำหรับคอมเมนต์   

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท