การสอนงานนักส่งเสริมการเกษตรมือใหม่


ประสบการณ์ของทีมกำแพงเพชรในการสอนงานนักส่งเสริมฯบรรจุใหม่

    วันนี้ผมขอเล่าประสบการณ์ในการสอนงาน   โดยการถ่ายทอดประสบการณ์ จากนักส่งเสริมที่มีประสบการณ์สู่นักส่งเสริมการเกษตรที่บรรจุใหม่ (มือใหม่) ของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร โดยยกเนื้อหาและรายละเอียดกิจกรรมที่ได้ดำเนินการในวันที่ 17 พฤศจิกายน 48 ที่ผ่านมา ที่ได้เคยเขียนบันทึกและนำเสนอผ่านทางโฮมเพจของสำนักงานมาแล้ว เพื่อให้เพื่อนนักส่งเสริมจังหวัดอื่นๆ ที่สนใจได้นำไปปรับใช้ในการพัฒนาองค์กรของพวกเราต่อไปนะครับ

     การสอนงานนักส่งเสริมการเกษตรมือใหม่

     นักส่งเสริมการเกษตร  ที่มีความสามารถในการส่งเสริมเกษตรกรให้มีอาชีพที่มั่นคงและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนนั้น   จะต้องมีขีดความสามารถในการจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้     ดังนั้น เพื่อพัฒนานักส่งเสริมการเกษตรที่เริ่มเข้ามาทำงานใหม่ ๆ ได้รับการพัฒนาและเรียนรู้วิธีการทำงานขององค์กรที่มีอยู่แล้ว   การสอนงานจึงเป็นอีกกระบวนการหนึ่งของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ที่จะถ่ายทอดประสบการณ์จากนักส่งเสริมการเกษตรที่มีประสบการณ์ ให้แก่นักส่งเสริมการเกษตรรุ่นใหม่ได้เรียนรู้และพัฒนาตนเอง
 สำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร จึงจัดกิจกรรมการสอนงานให้แก่นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรบรรจุใหม่ (มือใหม่)  โดยกิจกรรมแยกเป็น 2 ประเภท คือ
   1.  กิจกรรมการถ่ายทอดความรู้ที่เป็นหลักวิชาการที่มีอยู่แล้ว และการเล่าวิธีการทำงานจากนักส่งเสริมการเกษตรที่มีประสบการณ์  มีความสำเร็จในการทำงานมาแล้ว
   2.  กิจกรรมการฝึกปฏิบัติการจริงในการเป็นวิทยากรกระบวนการ และการจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในภาคสนาม
ทั้ง 2 กิจกรรม กำหนดให้นักส่งเสริมการเกษตรมือใหม่ ร่วมเรียนรู้ เดือนละ 1 ครั้ง ๆ ละ 2 วัน  โดยกิจกรรมที่ 1 ใช้สถานที่ ณ ห้องประชุมของสำนักงานเกษตรจังหวัด ใช้เวลา 1 วัน ส่วนกิจกรรมที่ 2  เป็นการฝึกปฏิบัติงานจริงในภาคสนาม ที่มีกิจกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหากับกิจกรรมที่ 1 อีก 1 วัน
       การถ่ายทอดความรู้ที่เป็นหลักวิชาการและประสบการณ์ ที่เกี่ยวข้องครั้งนี้  กำหนดขึ้นหลังจากการนำนักส่งเสริมการเกษตรมือใหม่  ลงฝึกปฏิบัติภาคสนามแล้ว 1 ครั้ง ในวันที่ 21 กันยายน เนื่องทีมงานพิจารณาแล้วพบว่า น่าจะมีการเพิ่มความรู้วิชาการ หรือตำราวิชาการที่เกี่ยวข้องกับหลักการส่งเสริมการเกษตร  ที่สอดคล้องกับการลงฝึกปฏิบัติภาคสนาม และการเล่าประสบการณ์ของรุ่นพี่ๆ ที่ทำงานสำเร็จมาแล้วในพื้นที่ จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าการฝึกภาคสนามเพียงอย่างเดียว


     กิจกรรมการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ครั้งที่ 1


     "ผู้ฟัง"  รายชื่อนักส่งเสริมการเกษตรมือใหม่ที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  1. นายจุ้น  ขัดเกลา   นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร    สนง.เกษตรกิ่งอำเภอบึงสามัคคี
  2. นายพินิจ  พินิจผล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 3 สนง.เกษตรอำเภอลานกระบือ
  3. น.ส ชุรีพร  วัฒนจินดารัตน์  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 3  สนง.เกษตรอำเภอปางศิลาทอง
  4. น.ส นิตยา  บังคมเนตร         นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 3  สนง.เกษตรอำเภอไทรงาม
  5. น.ส วันวิสาข์  จันเพชร         นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร    สนง.เกษตรอำเภอคลองขลุง


       ”ผู้เล่า”  นักส่งเสริมการเกษตรที่ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ ประกอบด้วย คุณสายัณห์  ปิกวงค์  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 7 ว (ประสบความสำเร็จในการทำงาน เป็นเกษตรตำบลดีเด่นคนแรกของจังหวัดกำแพงเพชร และมีโอกาสเดินทางไปศึกษาดูงานด้านการส่งเสริมการเกษตรที่ประเทศอินโดนีเซีย) คุณสมเดช  สิทธิยศ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 7 ว  (มีประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร) และคุณวีรยุทธ  สมป่าสัก นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6 ว (ทำหน้าที่ในการบันทึกเรื่องเล่าเพื่อนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้) <p>                                                
       กิจกรรมและประสบการณ์ที่แบ่งบัน</p><p>
·       1) เริ่มต้นด้วยเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร นายสุรพล  เถาว์โท พบปะพูดคุยให้เห็นความจำเป็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนานักส่งเสริมการเกษตรมือใหม่ สู่มืออาชีพ</p><p>
·       2) การปรับเปลี่ยนแนวคิด  การเล่าประสบการณ์การทำงานในอาชีพนักส่งเสริมการเกษตร 24 ปี ได้ทำอะไร  ทำอย่างไร และเรียนรู้อะไรบ้าง  อะไรคือความรู้และทักษะที่จำเป็นต่ออาชีพนี้ สร้างทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนาตนเองของนักส่งเสริมการเกษตร  โดยคุณสายัณห์  ปิกวงค์  สรุปว่านักส่งเสริมการเกษตรต้องเป็นคุณอำนวยหรือวิทยากรกระบวนการ โดยต้อง
   o   จัดกระบวนการเป็น
   o   ฟังเป็น ฟังแล้วคิด ก่อนโต้ตอบ
   o   ตั้งคำถามเป็น                                           
   o   จับประเด็นเป็น
   o   สรุปประเด็น</p><p>
·       3) การจัดทำแฟ้มสะสมงานของนักส่งเสริมการเกษตรทุกคน เพื่อเก็บผลงาน และวัดสมรรถนะของแต่ละคน โดยนายวีรยุทธ  สมป่าสัก
   o   มีความคิดเห็นที่ถูกต้องกับอาชีพนักส่งเสริมการเกษตร ว่าเป็นนักพัฒนา  ที่ต้องพัฒนาตน  เองสู่ความเป็นมืออาชีพ
   o   ที่ต้องเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา
   o   ต้องมีการบันทึกและการจัดเก็บเป็นแฟ้มสะสมงาน</p><p>
·       4) การเขียนบันทึกและการรายงานผลการปฏิบัติงาน  การถอดบทเรียนจากการปฏิบัติงานทุกครั้ง เพื่อประเมินสมรรถนะพื้นฐานของนักส่งเสริมการเกษตร โดย นายวีรยุทธ  สมป่าสัก และนายสายัณห์  ปิกวงค์ โดยบันทึกในสิ่งที่ได้ทำอย่างต่อเนื่อง ประชาสัมพันธ์และเก็บเข้าแฟ้มสะสมงาน การเขียนมีข้อดีเพราะ
   o   การเขียนเป็นการบันทึกผลงาน
   o   เป็นการพัฒนาตนเอง
   o   เป็นการบันทึกความรู้ทั้งที่เป็นวิธีการ(กระบวนการ) และวิชาการ
   o   เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์</p><p>
·       5) ข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติ จากประสบการณ์ โดยสายัณห์  ปิกวงค์  นายสมเดช    สิทธิยศ และนายวีรยุทธ  สมป่าสัก ได้แนะนำมือใหม่ให้ถือปฏิบัติ เช่น</p><p>    - ต้องศึกษาวิชาการหรือศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการทำงานเพิ่มเติม</p><p>    - ควรลงพื้นทีปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีศิลป์ในการทำงาน</p><p>    - เกาะติดกับกลุ่มหรืองานอยู่ตลอดเวลา บางครั้งไม่จำเป็นต้องรองบประมาณก็ต้องลงพื้นที่</p><p>    - ต้องเป็นนักส่งเสริมรุ่นให่ที่มีการบันทึกผลการทำงาน /เก็บภาพที่ปฏิบัติงานตั้งแต่บัดนี้</p><p>
·       6) การสะท้อนความคิดเห็นของนักส่งเสริมการเกษตรมือใหม่ (ประเมินผล)  ดังนี้
   o   ดี และเห็นด้วยเพราะเป็นทางลัดของมือใหม่ แต่เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่ต้องลงมือทำด้วยจึงจะค่อยๆ เห็นภาพชัดเจน
   o   เริ่มทำงานมีทั้งคนที่รู้สึกโดดเดี่ยว แต่มีบางคนที่รุ่นพี่คอยแนะนำ หากได้มีการให้ความรู้และฝึกก่อนลงพื้นที่  จะทำให้มีความมั่นใจ และน่าจะทำงานในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น
   o  อยากเรียนรู้การถ่ายทอดความรู้ตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร ยินดีที่จะไปฝึกรับความรู้
   o  ควรวางแผนการพัฒนาไว้ล่วงหน้าในระยะยาว</p>  ·       7) ข้อตกลงของมือใหม่
   o   ต้องจัดทำแฟ้มสะสมงานทุกคนนับตั้งแต่วันนี้
   o   ร่วมเรียนรู้วิชาการ/ถ่ายทอดประสบการณ์ เดือนละ 1 วัน
   o   ลงฝึกปฏิบัติงานภาคสนามร่วมกัน เดือนละ 1 วัน
   o   บันทึกประสบการณ์และถอดบทเรียนจากการฝึกปฏิบัติงานภาคสนามทุกครั้ง <p>
สรุปบทเรียน
           จากการจัดการถ่ายทอดความรู้วิชาการและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ครั้งนี้  ทีมงานได้เรียนรู้และได้รับประสบการณ์ของทีมงาน  และหากจะดำเนินการในลักษณะนี้ในครั้งต่อๆไปต้องปรับปรุง ดังนี้
    1. ต้องมีการวางแผนและกำหนดเวลาไว้ล่วงหน้านานๆ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้เตรียมตัวและวางแผนการปฏิบัติงานให้สอดคล้อง  ซึ่งในครั้งนี้มีการนัดหมายกระชั้นชิด ทำให้นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรอำเภอเมือง ไม่สามารถมาร่วมเรียนรู้ได้ 3 ท่าน เพราะติดราชการ (ได้จัดเอกสารให้อ่านเพิ่มเติม)
    2. เอกสารวิชาการหรือตัวอย่างเอกสาร ควรจัดทำให้เป็นรูปเล่ม เพื่อสะดวกในการหยิบใช้และจัดเก็บ
    3. ควรเชิญนักส่งเสริมการเกษตรในระดับอำเภอที่มีประสบการณ์ในเนื้อหาที่ถ่ายทอด  มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพิ่มเติมหลายๆท่านด้วยในครั้งต่อๆไป
    4. ควรจัดเวลาให้นักส่งเสริมการเกษตรมือใหม่ได้ร่วมกันสรุปบทเรียนในระหว่างกลุ่มมือใหม่ด้วยกัน เพื่อทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ และฝึกการสรุปบทเรียนด้วยทุกครั้ง
         นี่เป็นอีกหนึ่งประสบการณ์หรือองค์ความรู้หนึ่งของทีมงานและองค์กรของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ที่ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติ   ซึ่งพอจะสรุปได้ว่าหน่วยงานที่ปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมการเกษตร ก่อนที่จะลงทำงานในพื้นที่ องค์กรจะต้องพัฒนาคนที่จะลงไปทำงานให้มีความเข้าใจ  มีความรู้ความสามารถและมีทักษะพื้นฐาน เป็นเบื้องต้น  จะทำให้องค์กรทำงานให้ประสบความสำเร็จ  และส่งผลสู่เป้าหมายคือเกษตรกรได้รับการพัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้อง อย่างยั่งยืน  องค์กรใดจะนำไปใช้ก็สามารถถอดประสบการณ์หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชรนะครับ ( 055-711060,หรือที่  http://kamphaengphet.doae.go.th)
                                                                                           วีรยุทธ  สมป่าสัก
                                                                                                                                                                          
</p>

คำสำคัญ (Tags): #การสอนงาน
หมายเลขบันทึก: 9061เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2005 15:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท