เวทีวิชาการหน่วยจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชน (ตอนที่ ๘)


ทิศทางการพัฒนาต่อไป

1.ใช้กลไกของสถานศึกษาผลักดันต่อไปในจังหวัดสงขลา คือ การพัฒนาหลักสูตรลดรายจ่าย 1 บาท สร้างระบบสวัสดิการอันนี้สอดคล้องกับกาสรพยายามสร้างเรื่องการปรับการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง

2.กิจกรรมการพัฒนานักเรียนนักศึกษา

ตอนนี้ได้คุณอำนวยระดับอำเภอละ 1 คนตอนนี้ได้คุณเอื้อ 15 อำเภอ (ผู้นำตามธรรมชาติ และผู้นำจากการแต่งตั้ง) แล้วจาก 16 อำเภอ ส่วนในระดับตำบลเราก็ได้ตำบลละ 1 คน โดยใช้ฐานความคิดว่าดูกันเอง

ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นคือการขับเคลื่อนงานนี้ระดับชาติยังอืดอาด ก็เลยตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัดมา 1 ชุดเพื่อทำหน้าที่การขับเคลื่อน มี 19 คน ประกอบด้วยนักวิชาการจกากสถาบันการศึกษา 1 คน ประธานมูลนิธิ 1 คน  เลขา 1 คน และที่เหลือก็จะเป็นตัวแทนกลุ่มสัจจะตำบลละ 1 คนซึ่งจะไม่ซ้ำกับคุณอำนวยที่กล่าวข้างต้น คนเหล่านี้จะทำหน้าที่ประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ 

หลักสูตรมี 3 ภาค

ภาคเช้าเป็นการบูรณาการเรื่องการประชุม

ผลผลิตของการเรียนรู้ทำให้เกิดความเชื่อมั่นและก่อให้อุดมการณ์สัจจะวันละ 1 บาท ก่อให้เกิดความสำเร็จได้และจะช่วยสร้างสังคมดีคนมีความสุขได้

ภาคเที่ยง ได้ระบบการสร้างสัมพันธ์ที่ดีในการทำงานร่วมกันในอนาคต

ภาคบ่าย  2 ชั่วโมง เน้นปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกในกลุ่ม

ผลผลิตของการเรียนรู้

1.เจตคติของการเรียนรู้ร่วมกัน

2.ความรู้ใหม่ ความคิดดี ดี อยู่ในกลุ่มย่อย

สรุป

การจัดการความรู้ระดับเครือข่ายเน้นการเรียนรู้ร่วมกัน ส่วนวิธีการการเรียนรู้มีอยู่หลายอย่าง เมื่อเรียนรู้แล้วนำมาถ่ายทอด มีการจดบันทึกและก่อให้เกิดการเชื่อมโยงต่าง ๆ ภายในชุมชน

สร้างความเชื่อมั่น ให้ความรู้เสริมกำลังใจ

ความรู้กับทักษะโดยสรุป

1.การเพิ่มจำนวนของสมาชิกให้ได้ร้อยละ 50 ของประชากร จำเป็นต้องอาศัยแกนนำที่มีอยู่เดิม เช่น คณะกรรมการ สมาชิกของกองทุนหมู่บ้าน และให้ความสำคัญของสมาชิกในระดับเครือญาติ

2.จำเป็นต้องอาศัยการสนับสนุนการประสานของผู้ว่าราชการจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาในการสร้างความรู้ ความเข้าใจ

3.ต้องไม่ละเลย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หน่วยราชการการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ ต้องให้ความสำคัญ

ความรู้ใหม่ คือ การติดต่อ กับ อบต.กลไกหนังสือราชการมีความสำคัญยิ่ง และในการผลักดันนโยบายสาธารณะจะต้องใช้ฐานข้อมูลความร่วมมือจาก อบต.

-  วิธีการบริหารจัดการงาน จัดการคน ทุกกลุ่มมีความต้องการที่จะให้หน่วยงานระดับจังหวัดสนับสนุน

-  ความเชื่อมโยง ความร่วมมือในชุมชนตอนนี้เริ่มเห็นแล้ว

-  นวัตกรรมอีกอันหนึ่ง คือ ตารางการออม ถือว่าเป็นนวัตกรรมที่ตำบลน้ำขาวคิดขึ้น

คำสำคัญ (Tags): #สรุปการประชุม
หมายเลขบันทึก: 9050เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2005 11:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท