ขอความอนุเคราะห์ให้ความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาตัวบ่งชี้รวมความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด


บล็อกนี้บรรจุองค์ประกอบหลัก ๒ องค์ประกอบ สำหรับองค์ประกอบหลักที่ 3 ถึง 5 โปรดอ่านที่บล็อกถัดไป บล็อกที่ 2ใน 2

 

เรียน คณาจารย์ นักวิชาการ นักบริหารและผู้สนใจทุกท่าน

      ด้วยผมกำลังทำการวิจัยเรื่องการพัฒนาตัวบ่งชี้รวมความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด โดยขั้นตอนแรกได้วิเคราะห์แนวคิดเชิงทฤษฏีจากเอกสารและงานวิจัยต่าง ๆ แล้ว ปรากฏเป็นโครงสร้างองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อยและตัวบ่งชี้ดังแนบต่อไปนี้ ซึ่งขั้นตอนต่อไปคือ รับฟังความคิดเห็นโดยอิสระจากคณาจารย์ นักวิชาการ นักบริหารและผู้สนใจผ่านเว็ปไซต์ เพื่อนำไปปรับปรุงให้สมบูรณ์ และขั้นต่อไปจะใช้เทคนิคเดลฟายโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญร่วมกันพิจารณากำหนดเป็นกรอบความคิดเชิงทฤษฏี และต่อจากนั้นจะนำไปทดสอบความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยการวิจัยเชิงปริมาณกับกลุ่มตัวอย่างจากผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ในสังกัดศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดทั่วประเทศ และสุดท้ายนำไปยืนยันความเหมาะสมของตัวชี้วัดโดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพในศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด ๒ แห่ง เพื่อได้ข้อเสนอแนะในการนำตัวบ่งชี้ไปใช้ในการพัฒนาศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดได้อย่างสมบูรณ์ต่อไป

        ในการนี้ใคร่ขอความอนุเคราะห์ให้ข้อคิดเห็นว่าองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ที่แสดงไว้นี้เหมาะสมหรือไม่ มีตัวใดจะเพิ่มจะตัดจะรวมโปรดให้ความคิดเห็นได้เต็มที่ ความคิดเห็นทุกความคิดเห็นล้วนมีคุณค่า ช่วยพัฒนาความคิดที่หลากหลายให้ได้ความเหมาะสมที่สุดต่อไป
ขอขอบพระคุณทุกความเห็นเป็นอย่างสูงครับ

การพัฒนาตัวบ่งชี้รวมความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด                     กรอบความคิดเชิงทฤษฎีทีได้จากศึกษาองค์ประกอบหลักความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ 5  องค์ประกอบหลัก  27       องค์ประกอบย่อย  และ       80  ตัวบ่งชี้  ดังนี้                  

                1.  องค์ประกอบหลักด้านการเรียนรู้                  

                 2.  องค์ประกอบหลักด้านองค์การ                   

                 3.  องค์ประกอบหลักด้านการเสริมสร้างพลังอำนาจบุคคล                  

                  4.  องค์ประกอบหลักด้านการจัดการความรู้                   

                   5.  องค์ประกอบหลักด้านเทคโนโลยี                   

                                  ซึ่งแสดงรายละเอียดตัวบ่งชี้ในด้านต่างๆดังต่อไปนี้                          

            1.  องค์ประกอบหลักด้านการเรียนรู้ ประกอบด้วย                     

                   1.1  องค์ประกอบย่อยด้านการเรียนรู้ มีตัวบ่งชี้ดังนี้                                               

                                  1.1.1 มีการจัดการเรียนรู้รายบุคคล            

                                  1.1.2 มีการจัดการเรียนรู้ระดับทีมงาน                                               

                              1.1.3 มีการจัดการเรียนรู้ระดับกลุ่มงาน                                               

                            1.1.4 มีการจัดการเรียนรู้ระดับองค์การ                                               

                          1.1.5 มีการจัดการเรียนรู้ระหว่างองค์การ                               

                1.2  องค์ประกอบย่อยรูปแบบการเรียนรู้ มีตัวบ่งชี้ดังนี้                                               

                       1.2.1  มีการเรียนรู้เพื่อปรับเปลี่ยนองค์การ                                               

                      1.2.2  มีการเรียนรู้อนาคตจากการคาดการณ์                                               

                     1.2.3  มีการเรียนรู้วิธีการเรียนรู้                                               

                     1.2.4  มีการเรียนรู้จากการปฏิบัติ                               

              1.3  องค์ประกอบย่อยวินัยในการเรียนรู้ มีตัวบ่งชี้ดังนี้                                              

           1.3.1  มีการส่งเสริมให้บุคลากรมีการคิดเชิงระบบ                                                  

            1.3.2  บุคลากรมีการพัฒนาแบบแผนความคิด                                              

             1.3.3  บุคลากรมีการเรียนรู้เป็นทีม                                               

             1.3.4  มีการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน                                               

               1.3.5  บุคลากรได้รับการพัฒนาให้มีความรอบรู้ส่วนตน                                               

              1.3.6  บุคลากรมีศักยภาพและความสามารถในการปฏิบัติงานให้เกิดผลงานที่ต้องการได้จริง                                               

             1.3.7  มีการปรับรูปแบบวิธีการคิดและวิธีการปฏิบัติงานให้ทันสมัยอยู่เสมออย่างสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การ                                               

            1.3.8  บุคลากรมีความพร้อมรับข้อมูลใหม่ๆและแสวง หาประสบการณ์ใหม่ๆเพื่อนำมาพัฒนาวิธีการคิดสร้างสรรค์ของตน                                              

              1.3.9  การสามารถปรับความคิดของตนให้เข้ากับความคิดของเพื่อนร่วมงานโดยคำนึงถึงเป้าหมายของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเป็นสำคัญ                                               

            1.3.10  การพัฒนาวิสัยทัศน์ของตนให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์การอันเป็นการรวมพลังให้เกิดความก้าวหน้าต่อไป                                               

             1.3.11  มีการชี้แจงประชาสัมพันธ์และเผยแพร่วิสัยทัศน์เพื่อสร้างความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานได้ถูกต้อง                                               

             1.3.12  มีการส่งเสริมให้บุคลากรมีทักษะการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม                                               

             1.3.13  มีการปฏิบัติงานเป็นขั้นตอนจัดลำดับความสำคัญอย่างเป็นระบบและสามารถตรวจสอบรายละเอียดได้                                               

             1.3.14  มีการสนทนาโต้ตอบแลกเปลี่ยนเรียนรู้                               

           1.4  องค์ประกอบย่อยโอกาสการเรียนรู้ มีตัวบ่งชี้ดังนี้                                               

           1.4.1   สามารถแสวงหาวิธีที่จะเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆทั้งในและนอกองค์การ                   

 2.    องค์ประกอบหลักด้านองค์การ  ประกอบด้วย 2.1 องค์ประกอบย่อยโครงสร้างขององค์การ มีตัวบ่งชี้ดังนี้    2.1.1  มีลักษณะการทำงานแบบตาข่ายงาน (Matrix Organization)    2.1.2  มีลักษณะองค์การแบบราบ (Flat Organization)    2.1.3  มีช่วงชั้นการบังคับบัญชาน้อย      2.1.4  มีการติดต่อประสานงานกันภายในและภายนอกองค์การอย่างคล่องตัว                                2.2  องค์ประกอบย่อยวิสัยทัศน์องค์การ  มีตัวบ่งชี้ดังนี้      2.2.1  มีการกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การโดยการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่และผู้บริหาร    2.2.2  วิสัยทัศน์มีความชัดเจนในการนำสู่การปฏิบัติ   2.2.3  วิสัยทัศน์มุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น    2.2.4  มีการนำเอาวิสัยทัศน์มาแปรเปลี่ยนให้เป็นแผนปฏิบัติการที่สอดคล้องกัน   2.3  องค์ประกอบย่อยวัฒนธรรมองค์การ มีตัวบ่งชี้ดังนี้     2.3.1  มีการปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง         2.3.2  การเปิดเผยไว้วางใจยอมรับสนับสนุนซึ่งกันและกัน       2.3.3  มีการส่งเสริมให้บุคลากรคิดริเริ่มสร้างสรรค์กล้าคิดกล้าทำใน       สิ่งใหม่ๆ   2.3.4  มีคำนิยมร่วมการทำงานเป็นทีม    2.3.5  มีวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งเน้นความพึงพอใจของผู้รับบริการ    2.3.6  มีวัฒนธรรมการทำงานสู่ระบบคุณภาพ         

          2.4  องค์ประกอบย่อยกลยุทธ์องค์การ มีตัวบ่งชี้ดังนี้       2.4.1  มีการใช้จุดแข็งขององค์การในการวางแผนอนาคต      2.4.2  การมีส่วนร่วมในการวางแผนกลยุทธ์ของบุคลากรทุกระดับ                               

          2.5  องค์ประกอบย่อยภาวะผู้นำ มีตัวบ่งชี้ดังนี้                                               

              2.5.1  ผู้บริหารสนับสนุนความคิดใหม่ๆภายในองค์การอย่างแข็งขัน                                               

             2.5.2  ผู้บริหารมีมาตรฐานสูงในการปฏิบัติงาน                                               

              2.5.3   ผู้บริหารแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ใต้บังคับบัญชา                                               

            2.5.4   ผู้บริหารเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติงาน                                               

            2.5.5  ผู้บริหารให้อิสระในการทำงาน                               

      2.6  องค์ประกอบย่อยพันธกิจองค์การ มีตัวบ่งชี้ดังนี้                                                   

            2.6.1  มีพันธกิจที่ชัดเจนสอดคล้องกับวิสัยทัศน์                                              

           2.6.2   แผนงานและโครงการของหน่วยงานสอดคล้องกับพันธกิจ                               

          2.7 องค์ประกอบย่อยการดำเนินงานด้านการจัดการ มีตัวบ่งชี้ดังนี้                                               

             2.7.1 มีการเรียนรู้จากความผิดพลาดต่างๆ                                               

             2.7.2  มีกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ                                               

             2.7.3  มีการจัดทรัพยากรในการจัดการศึกษาอย่างเพียงพอ                               

        2.8  องค์ประกอบย่อยระบบองค์การมีตัวบ่งชี้ดังนี้                                               

            2.8.1 มีระบบเสริมกำลังใจอย่างเป็นทางการ                                               

            2.8.2  ระบบการปฏิบัติงานภายในองค์การ                                               

            2.8.3   สามารถตรวจวัดการเรียนรู้ของบุคลากรในองค์การ                                               

           2.8.4   มีระบบสารสนเทศช่วยประมวลความรู้และประสบการณ์                                               

          2.8.5  มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์การออกแบบเพื่อช่วยในการเรียนรู้ในองค์การ                               

         2.9  องค์ประกอบย่อยบรรยากาศการทำงาน มีตัวบ่งชี้ดังนี้                                               

            2.9.1  มีการเรียนรู้และทำงานร่วมกันในบรรยากาศที่เปิดเผยและโปร่งใส                               

           2.10  องค์ประกอบย่อยการจูงใจมีตัวบ่งชี้ดังนี้   2.10.1 บุคลากรอุทิศตนเพื่อปฏิบัติงานให้สำเร็จตามยุทธศาสตร์และเป้าหมายขององค์การ  2.10.2 บุคลากรมีความกระตือรือล้นในการปฏิบัติงาน

(องค์ประกอบหลักด้านที่ 3 ถึง 5 กรุณาดูต่อที่บล็อกถัดไป ) ที่

http://gotoknow.org/blog/nfepadrew/90491

หมายเลขบันทึก: 90483เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2007 20:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

     องค์ประกอบย่อยระบบองค์การ มีระบบเสริมกำลังใจอย่างเป็นทางการนั้นควรมองถึงความต้องการ 5 ขั้นของ มาสโลว์ด้วยนะครับ  

                                             

เป็นตัวบ่งชี้ที่ค่อนข้างเป็นองค์กรของเอกชน  หากปฏิบัติได้  โฉมหน้าของการพัฒนาองค์กรของรัฐ
จะทันสมัยและสามารถก้าวสู่อนาคตได้ทันยุค ทันโลก ทันเหตุการณ์ ต่อไป
1.3.9  กาสามารถปรับความคิดของตนให้เข้ากับความคิดของเพื่อนร่วมงานโดยคำนึงถึงเป้าหมายของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเป็นสำคัญ                      เป็นสิ่งที่ดีถ้าคนในองค์การมีการปรับความคิดของตนให้เข้าเพื่อนร่วมงานโดยคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์ของงาน คือเป้าหมาย         แต่อ่านดูแล้วเนื้อหาของคำอาจดูติดหูนิดนึง
ขอบคุณ คุณวัชรินทร์ และคุณคนนอกโรงเรียนครับ
ท่านดิศกุลค่ะ  เจ๊ขอแจมด้วยคน สำหรับข้อ 1.3.4  มีการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน ขอแก้เป็น  1.3.4  ร่วมกันสร้างวิสัยทัศน์   เผยแพร่  และปฏิบัติตาม       (จะได้ครบวงจร  ส่วนใหญ่มักจะสร้างกันจริงวิสัยทัศน์น่ะ แต่ไม่ได้เผยแพร่ให้คนในองค์กรรับรู้ และปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ที่สร้าง  จึงไม่เกิดกระแสเปลี่ยนแปลงอะไรที่มองเห็นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน)                          

ผมได้เข้ามาดูหลายวันแล้วครับ  แต่เพิ่งแสดงความคิดเห็นวันนี้เอง  คิดว่ายังไม่สายนะครับ 

 เรื่องที่คุณขอให้ช่วยออกความเห็นก็คือ ให้ช่วยดู "องค์ประกอบ" และ "ตัวบ่งชี้" ว่าเหมาะสม หรือว่าพอแล้วยัง    แต่ผมอยากจะให้คุณ "นิยาม" คำว่า "การเรียนรู้"  "องค์ประกอบ" และ "องค์การแห่งการเรียนรู้" เสียก่อนนะครับ เพราะว่า คำเหล่านี้เป็นคำสำคัญของการวิจัยครั้งนี้   และที่เราท่านเข้าใจว่าเราต่างก็เข้าใจกันอยู่แล้วนั้น  อาจจะเข้าใจไม่ตรงกันก็ได้ นอกจากนี้ก็อยากจะให้คุณบอก"ปัญหาการวิจัย"ในครั้งนี้ด้วยครับ

ขอบคุณอาจารย์แอ้ว หรือเจ๊แอ้ว กจ. ครับ นำเสนอครบวงจรให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

เรียนอาจารย์ ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว ครับ

         ขอบคุณครับที่กรุณามาร่วมให้ความเห็นต่อการวิจัยครั้งนี้ด้วยครับ มีคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยนี้ที่ขอนำมาแสดงให้เข้าใจตรงกันตามที่อาจารย์เสนอแนะดังนี้ครับ

องค์การแห่งการเรียนรู้ หมายถึง องค์การที่สมาชิกสามารุเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง สามารถแสดงศักยภาพสำหรับสร้างผลงานที่ต้องการ สามารถแสดงความคิดเห็นใหม่อย่างเสรีและสามารถแลกเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ซึ่งกันและกันเพื่อร่วมกันสร้างความเป็นเลิศแก่องค์การ

องค์ประกอบ หมายถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง สำหรับในเรื่ององค์การแห่งการเรียนรู้แล้วหมายถึง ปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมหรือสนับสนุนให้เกิดองค์การแห่งการเรียนรู้

(๑) ดูตามหัวเรื่อง  คุณต้องการที่จะ "พัฒนาตัวบ่งชี้ของความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน"  คล้ายกับว่า ขณะนี้เรารู้ตัวบ่งชี้อยูพร้อมแล้ว  และเราต้องการจะพัฒนาตัวบ่งชี้เหล่านั้น  แต่กระบวนการข้างบนนี้  ไม่ใช่  เพราะว่า เรายังไม่รู้ตัวบ่งชี้ ?  จึงต้องค้นหาก่อน?  โดยเริ่มต้น "ค้นหาองค์ประกอบ"ขององค์การแห่งการเรียนรู้ก่อน,  จากนั้นจึงค้นหาตัวบ่งชี้ขององค์ประกอบนั้นๆ,  และจบ.  โดยยังไม่ได้พัฒนาตัวบ่งชี้ตามปัญหาข้างต้น?

(๒) "องค์การแห่งการเรียนรู้" ตามที่นิยามนั้น "มีธรรมชาติเป็นระบบหนึ่งหน่วยระบบ"  ประกอบด้วย หน่วยต่างๆคือ  (๑)สมาชิก ซึ่งเป็นคน, (๒) -- ? -- (ข้อความอื่นทั้งหมดในคำนิยาม  เป็น -- กระบวนการ -- ไม่ใช่หน่วย)  ลองเปรียบเทียบดูต่อไปนี้

(ก) รูปสามเหลี่ยม ถือเป็น "หนึ่งหน่วยระบบ" ประกอบด้วย "หน่วยย่อย" คือ "ด้าน  ๓ ด้าน"  กับ "มุม ๓ มุม" และ (ข) "ด้าน ๓ ด้าน" และ "มุม ๓ มุม" ต่างก็เป็น "องค์ประกอบ" ของ "หน่วยระบบ รูป ๓ เหลี่ยม"

คุณจะเห็นว่า "คำนิยามข้างบนยังไม่สมบูรณ์"  ต้องคิดดูว่า ยังมีอะไรที่ถือว่าเป็น "องค์ประกอบ" ของความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้นั้นได้อีกบ้าง

เมื่อได้"องค์ประกอบ" แล้ว  ขั้นต่อไปต้อง "ระบุความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยย่อยเหล่านั้นว่ามีลักษณะเป็เครือข่ายอย่างไร"  เมื่อพบเครือข่ายแล้ว  ก็ต้องพิจารณา "การปฏิสัมพันธ์กันของหน่วยย่อยในเครือข่ายนั้น"  ซึ่งถือว่าเป "กระบวนการ"

(๓) เมื่อเราพบ "ลักษณะ"ขององค์การแล้ว  ขั้นต่อไปเราจึงจะ "พัฒนา" องค์ประกอบนั้นๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพเป็นที่พอใจของเรา ครับ

(๔) คุณลองพิจารณาดู "องค์ประกอบหลักขององค์การแห่งการเรียนรู้ "  ๕  ประการของคุณดูอีกครั้งครับ  ว่า มัน "สอดตล้อง"กับคำนิยามขององค์การแห่งการเรียนรู้"หรือไม่?  องค์ประกอยสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามไปก็คือ "บรรยากาศขององค์การ"

(๕) เรื่องของการเรียนรู้นั้นจะมีเงื่อนไข "ภายนอกตัวผู้เรียน"-- "เงื่อนไขภายในตัวผู้เรียน" --- "กระบวนการเรียนรู้" -- และ "ผลของการเรียนรู้" ซึ่ง เงื่อนไขภายนอกตัวผู้เรียนก็ได้แก่ องค์ประกอบย่อยในเครือข่ายของระบบนั้นนั่นเอง ครับ

ข้อเสนอแนะเท่าที่มองเห็นในขณะนี้ก็มีเพียงเท่านี้ครับ  หากมองเห็นเพิ่มเติม  ผมจะเสนอแนะต่อไปนะครับ  ถ้าไม่ว่ากระไร

ขอขอบคุณมากที่ให้เกียรติผม ครับ  และขออวยพรให้บรรลุความสำเร็จให้จงได้ นะครับ  ความยุ่งยากเช่นนี้เป็นธรรมชาติของการวิจัยครับ แต่เป็นสิ่งธรรมดาของนักวิจัยที่จะต้องอดทนครับ

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

กราบขอบพระคุณ อาจารย์ ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว เป็นอย่างสูงครับในความกรุณาให้คำแนะนำ ผมจะนำไปใช้ในการปรับแต่งให้งานวิจัยนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น อาจารย์ครับหากมีอะไรคิดได้เพิ่มเติมผมยังน้อมรับอย่างต่อเนื่องครับ คงใช้เวลาเกือบปีกว่าจะจะเสร็จสิ้นการวิจัยชิ้นนี้ถึงแม้งานที่สมบูรณ์ที่สุดในโลกไม่มี แต่ก็จะพยายามทำให้ดีมีคุณค่าอย่างเต็มศักยภาพครับ 

องค์การแห่งการเรียนรู้ หมายถึง องค์การที่สมาชิกสามารุเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง สามารถแสดงศักยภาพสำหรับสร้างผลงานที่ต้องการ สามารถแสดงความคิดเห็นใหม่อย่างเสรีและสามารถแลกเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ซึ่งกันและกันเพื่อร่วมกันสร้างความเป็นเลิศแก่องค์การ

----นิยามที่ให้มาฟังเหมือนเน้นการพัฒนาบุคลากรไม่ใช่องค์กร

----ถ้าหากกล่าวถึงองค์กรแห่งการเรียนรู้ควรมีองค์ประกอบอื่นที่ทำให้เกิดองค์กรแบบนี้เ ข้ามารวมไว้ด้วย เช่น ที่มีองค์ประกอบ ด้านการเรียนรู้ องค์กร คน ความรู้ และเทคโนโลยี (ถ้าประยุกต์มาจากโมเดลของ Marquardt) เพราะการนำเสนอของเจ้าของแนวคิดพูดถึงความสัมพันธ์ในเชิงระบบขององค์ประกอบเหล่านี้ ที่เมื่อทำงานสัมพันธ์กันแล้วสามารถก่อให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้ แต่คนก็สำคัญ เพราะความรู้อยู่ที่คน และคนจะเป็นผู้ใช้ความรู้ เมื่อมีการจัดการกับมันในระดับต่างๆแล้วจึงจะสามารถสร้างความรู้และการเรียนรู้ขององค์กร ก่อนที่จะมาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในท้ายที่สุด

1.2  องค์ประกอบย่อยรูปแบบการเรียนรู้ มีตัวบ่งชี้ดังนี้       1.2.1  มีการเรียนรู้เพื่อปรับเปลี่ยนองค์การ    1.2.2  มีการเรียนรู้อนาคตจากการคาดการณ์        1.2.3  มีการเรียนรู้วิธีการเรียนรู้     1.2.4  มีการเรียนรู้จากการปฏิบัติ    

----รูปแบบการเรียนรู้ กับ วิธีการเรียนรู้ ต่างกันไหม? .   ในความรู้สึกดิฉันคิดว่าไม่ต่าง และถ้ามีรูปแบบหรือวิธีเรียนโดย/จาก การคาดการณ์, การปฏิบัติ  ข้อ 1.2.1 ก็น่าจะไม่ใกล้เคียงกับคำว่า รูปแบบหรือวิธี แต่ฟังเป็นจุดประสงค์ ที่มีการเรียนรู้หลายรูปแบบเพื่อการปรับเปลี่ยนองค์กร

----ถ้ารูปแบบการเรียนรู้จากการคาดการณ์เพื่ออนาคต, การเรียนรู้จากการปฏิบัติคือการประเมินเพื่อเรียนรู้ปัจจุบัน, การเรียนรู้จากอดีตเพื่อการปรับปัจจุบันและอนาคต (แต่น่าจะเรียงย้อนขึ้นไปจากอดีต ปัจจุบันและอนาคตมากว่า)

 1.3.9  การสามารถปรับความคิดของตนให้เข้ากับความคิดของเพื่อนร่วมงานโดยคำนึงถึงเป้าหมายของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเป็นสำคัญ    

----น่าจะแชร์/แลกเปลี่ยน ความคิดก่อนแล้วค่อยปรับเป็นกลุ่ม

----1.4 โอกาสในการเรียนรู้ และ 1.4.1 สามารถแสวงหาวิธีที่จะเรียน......น่าจะไปใส่ในระบบย่อยอื่น เช่น โอกาสในการเรียนรู้อาจอยู่วัฒนธรรมที่ให้โอกาส,  เพื่อแสวงหาความรู้ ก็ใช้เทคโนโลยี เป็นต้น

2.3  องค์ประกอบย่อยวัฒนธรรมองค์การ มีตัวบ่งชี้ดังนี้     2.3.1  มีการปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง         2.3.2  การเปิดเผยไว้วางใจยอมรับสนับสนุนซึ่งกันและกัน       2.3.3  มีการส่งเสริมให้บุคลากรคิดริเริ่มสร้างสรรค์กล้าคิดกล้าทำใน       สิ่งใหม่ๆ   2.3.4  มีคำนิยมร่วมการทำงานเป็นทีม    2.3.5  มีวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งเน้นความพึงพอใจของผู้รับบริการ    2.3.6  มีวัฒนธรรมการทำงานสู่ระบบคุณภาพ  

----และอีกนิดใน องค์ประกอบที่ 2 ด้านองค์กร ในองค์ประกอบย่อย 2.3 วัฒนธรรมองค์กร และตัวบ่งชี้ ...ความเข้าใจของดิฉัน นี่เป็นวัฒนธรรมที่เน้น การเรียนรู้ขององค์กร ที่คนทุกคนต้องยอมรับในความสำคัญของวัฒนธรรมการเรียนรู้ และการเรียนรู้เป็นหน้าที่ของคนทุกคน  ดังนั้นการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้คือบรรยากาศการเรียนรู้ และวัฒนธรรมนี้ที่จะเป็นตัวสนับสนุนวิสัยทัศน์ 

2.4  องค์ประกอบย่อยกลยุทธ์องค์การ มีตัวบ่งชี้ดังนี้       2.4.1  มีการใช้จุดแข็งขององค์การในการวางแผนอนาคต      2.4.2  การมีส่วนร่วมในการวางแผนกลยุทธ์ของบุคลากรทุกระดับ 

----กลยุทธ์--การสร้างแผนปฏิบัติเชิงรุก/รับ ที่จะทำให้องค์กรบรรลุวิสัยทัศน์ โดยการใช้ความรู้ที่ผ่านขั้นตอนการจัดการความรู้ มาสร้างเป็นแนวทางการปฏิบัติ

----การเอาจุดแข็งมาใช้และพัฒนานั้นดี แต่ขณะเดียวกันต้องแก้ไขและพัฒนาจุดอ่อนด้วย

ขอแลกเปลี่ยนเท่านี้ก่อนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท