มาตรการการเฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก จังหวัดตราด


มาตรการการเฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก  จังหวัดตราด
1.  มาตรการด้านการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก
1.1  ติดตามสถานการณ์โรคอย่างใกล้ชิดเพื่อเป็นการเฝ้าระวังโรคพร้อมทั้งนำเสนอต่อผู้บังคับบัญชาเป็นระยะตามความเหมาะสม  โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดของโรค
1.2  มีทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วในและอำเภอ[SRRT]  ที่สามารถปฏิบัติงานได้ภายใน 24 ชั่วโมง  ทั้งทีมสอบสวนควบคุมโรคและทีมรักษาพยาบาล        เพื่อเป็นการควบคุมโรคให้สงบโดยเร็ว
1.3  เตรียมความพร้อมด้านวัสดุอุปกรณ์สำหรับการเฝ้าระวังสอบสวนโรค  ตลอดจนการป้องกันควบคุมโรคให้เพียงพอและปลอดภัยต่อการปฏิบัติงานอยู่เสมอ
1.4  ใช้กลยุทธ์  “รู้โรคเร็ว  ควบคุมโรคเร็ว  ทำลายเชื้อโรคอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว”  โดยเน้นการประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในหมู่บ้านและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่  เช่น  กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน  อสม.  อาสาสมัครปศุสัตว์
1.5  เมื่อพบว่ามีการตายผิดปกติของสัตว์ปีก ทีม  SRRT  ต้องลงพื้นที่เพื่อทำ    การสอบสวนโรคทันทีที่ได้รับแจ้ง  โดยให้ประสานงานกับปศุสัตว์อำเภอ  พร้อมทั้งรายงานให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราดทราบโดยด่วน
1.6  ส่งรายงาน Zero  report  มายังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด  ก่อนเวลา  9.00  น.  ของทุกวัน
1.7  ให้ผู้บังคับบัญชาในพื้นที่ ติดตาม  กำกับ  การดำเนินงานในพื้นที่อย่าง  จริงจังและต่อเนื่อง  โดยให้คงความต่อเนื่องในช่วงนี้เพราะเป็นช่วงเสี่ยงต่อการระบาดใหญ่
2.  มาตรการด้านการรักษาโรคไข้หวัดนก
2.1 หากพบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่หรือปอดบวมมารับการรักษา  ขอให้ทำการซักประวัติการสัมผัสกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆโดยละเอียดทุกราย  ดังนี้
 - ผู้ป่วยมีอาการไข้และอาศัยอยู่ในบ้าน/หมู่บ้านที่มีสัตว์ปีก / ตาย ในรอบ 14  วัน
- ผู้ป่วยมีอาการไข้และสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ปีกที่ตายในรอบ  7  วัน
 - ผู้ป่วยมีอาการและสัมผัสกับผู้ป่วยปอดบวมที่สงสัยโรคไข้หวัดนกในรอบ 10  วัน
                                                                  2.2  หากมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยโรคปอดบวม  ให้ดำเนินการสอบสวนโรคทุกราย
2.3  มีห้องแยกผู้ป่วยหรือผู้สงสัยโรคไข้หวัดนกในทุกโรงพยาบาล
2.4  เตรียมความพร้อมด้านเวชภัณฑ์  วัสดุอุปกรณ์สำหรับการดูแลรักษาให้   เพียงพอและปลอดภัยต่อการปฏิบัติงานอยู่เสมอ
2.5  ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม    
3.  มาตรการด้านการประชาสัมพันธ์
3.1  ให้ความรู้แก่ประชาชนในทุกกลุ่มอายุ  โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานหรือเกี่ยวข้องกับสัตว์ปีก  ในเรื่องการเกิดโรค  การติดต่อของโรค  โดยระยะนี้หากมีการป่วย  การตายของสัตว์ปีกในจำนวนผิดปกติ  ห้ามมิให้ไปสัมผัสตลอดจนจับสัตว์ปีกในฝูงนั้นมาชำแหละเป็นอาหาร    และโดยเฉพาะเด็กเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ
3.2  กรณีที่ต้องสัมผัสกับสัตว์ปีกที่เลี้ยงไว้หรือต้องเกี่ยวข้องกับการทำลายสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตาย  ให้มีการป้องกันตนเองด้วยการใส่หน้ากากอนามัย  สวมถุงมือ  สวมแว่นตาที่สามารถป้องกันมิให้ของเหลวจากสัตว์กระเด็นเข้าตา    ใส่เสื้อผ้ามิดชิด  ล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ    อาบน้ำหลังเสร็จภารกิจ
3.3  ผู้ที่มีประวัติสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตาย  โดยเฉพาะผู้ที่ทำหน้าที่ฆ่าหรือชำแหละสัตว์ปีก  หากมีไข้เกิดขึ้นภายใน  10  วันหลัง    การสัมผัส    แนะนำให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็วพร้อมทั้งเน้นการแจ้งประวัติการสัมผัสสัตว์ปีกด้วยต่อแพทย์ด้วย
3.4  ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนบริโภคสัตว์ปีกที่สุกและอย่านำสัตว์ปีกที่ป่วยหรือสงสัยว่าติดเชื้อไข้หวัดนกมาชำแหละเพื่อปรุงอาหาร 
3.5  สนับสนุนข้อมูลสถานการณ์ วิชาการ แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ

คำสำคัญ (Tags): #ข่าว
หมายเลขบันทึก: 9032เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2005 08:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2013 11:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท