KM ในบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) - มหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ 2


ระบบ E-Learning นั้นต้องปรับวัฒนธรรมของคนในองค์กรให้เป็น E-Culture เสียก่อน ไม่เช่นนั้นระบบที่สร้างมาจะเป็นการลงทุนที่สูญเปล่า

KM  ในบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย  จำกัด (มหาชน)
โดย  คุณสุรสิทธิ์  ตันธนาศิริกุล


เริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจว่า  Knowledge คืออะไร   ซึ่งเชื่อว่าตัว  Knowledge  นั้น  เมื่อเขียนออกมาเป็น pattern แล้ว   คนที่อ่านสามารถทำตามได้    ในเรื่อง KM  ปูนซิเมนต์ไทยให้ความสำคัญใน 3 องค์ประกอบใหญ่ (3P)  นั่นคือ  People,  Process และ Platform
                People เป็นการพูดถึงการพัฒนาคน  ซึ่งต้องคำนึงถึง  Personal Improvement  สร้างคนที่รักจะพัฒนาตัวเอง, Knowledge Responsibility  สร้างคนที่ใฝ่รู้  เรียนรู้อยู่เสมอ  ไม่หวงความรู้  แบ่งปันไปยังคนอื่น, Solution Focus Mindset  สร้างคนให้มีวิธีคิดแบบมุ่งการแก้ปัญหา 
                Process  กล่าวถึงกระบวนการที่ต้องมองตั้งแต่การค้นหา Knowledge Gap  ในองค์กร   ต้องรู้ว่าความรู้ที่บริษัทต้องการนั้นมีความรู้อะไรบ้าง     เมื่อทราบแล้วก็จะได้วางแผนต่อว่าความรู้ที่ต้องการไปหาจากที่ใคร  ที่ไหนได้บ้าง   หรือหากมีอยู่แล้ว  ทำอย่างไรจึงจะแลกเปลี่ยนถ่ายทอดความรู้เหล่านั้นไปยังคนอื่นได้  ซึ่งทำให้เกิดการนำไปสู่การปรับปรุงผลงาน  สร้างความรู้ใหม่   และมีตัวชี้วัดความรู้   และต้องมีการบันทึกความรู้ในตัวคนเอาไว้   หากเป็นเรื่องในทางดีเก็บเป็น  case study  หากเรียนรู้จากความผิดพลาดเก็บเป็น lesson learned  เพื่อไม่ให้ผิดพลาดเช่นเดิมอีก    การเรียนรู้ไม่ได้เกิดจากการอ่านตำราความรู้     คนอื่นที่เรียนรู้ต้องเอาไปปฏิบัติ   และเมื่อนำไปปฏิบัติแล้วเกิดความผิดพลาด   นั่นก็คือ  Knowledge Gap  ที่ต้องค้นหาต่อว่าสิ่งที่ขาดหายไปนั้นคือ ความรู้อะไร      ทำอย่างนี้หมุนไปเรื่อยๆจนกลายเป็นความรู้ชัดแจ้ง      KM นั้นหากเกิดขึ้นจริงในองค์กรได้นั้นต้องทำให้คนสามารถเข้าถึงได้ง่าย   พนักงานที่มีประสบการณ์น้อย สามารถเรียนรู้ต่อยอดได้เร็ว     จำนวนความผิดพลาดซ้ำๆต้องลดลง    ความรู้เหล่านั้นต้องถูกจัดเก็บเป็นสมบัติขององค์กร  และสามารถยกระดับความสามารถทางการแข่งขันเหนือคู่แข่งขันได้     
การพัฒนาในระยะแรกจึงเป็นต้องสร้างให้เกิดเป็น Knowledge Based    ส่งเสริมให้คนในองค์กรต้องการเรียนรู้  และสามารถเข้าไปเรียนรู้ได้เร็ว   ความรู้เหล่านี้จะถูกพัฒนาจนมี pattern ที่มีน้ำหนักมากขึ้น     ความรู้จะถูกแยกออกมาเป็นความรู้เพื่อการทำงานเฉพาะเรื่อง  เป็นกระบวนการทำงานที่มีขั้นตอน  ซึ่งได้จาก core process ของการทำงานอย่างใด  อย่างหนึ่งนั่นเอง   เช่น  การบริหารค่าจ้าง   ความรู้อีกแนวหนึ่งคือ  case study  และ lesson learned จำเป็นต้องเก็บรวบรวมเพื่อชุดความรู้ให้คนในองค์กรได้เรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ใหม่ต่อไป   เช่น  การเรียนรู้ประสบการณ์ล้มเหลวของธุรกิจกระดาษยักษ์ใหญ่อย่าง Siam Craft  เป็นต้น     การย่อยความรู้จากตำราโดยมอบหมายให้กลุ่มไปอ่านแล้วแลกเปลี่ยนมุมมอง   ย่นย่อเป็น report สั้นๆ   และเก็บบันทึกไว้ใน Knowledge based     ส่วนระบบ E-Learning   นั้นต้องปรับวัฒนธรรมของคนในองค์กรให้เป็น E-Culture เสียก่อน  ไม่เช่นนั้นระบบที่สร้างมาจะเป็นการลงทุนที่สูญเปล่า

คำสำคัญ (Tags): #best#practice
หมายเลขบันทึก: 9023เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2005 07:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
อยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆที่น่าสนใจ ที่ปูนซิเมนต์ไทย และจัดทำขึ้นเพื่อสังคม หรือบุคคลส่วนรวม อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ได้รับข่าวสาร สามารถถ่ายทอดทางสื่อได้

อยากทราบว่าใช้เกณฑ์หรือนำนโยบายของบริษัทมาเป็นพื้นฐานในการดำเนินการให้บริษัทเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  และอยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนพนักงานล่าสุดของเครือปูนซิเมนต์ไทยเพื่อใช้ในการทำวิทยานิพนธ์ค่ะ

ต้องติดต่อไปที่ปูนซิเมนต์เองครับ

 

กำลังคิดที่จะทำ  ตัวชี้วัด km  ควรจะเริ่มอย่างไรดี 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท